วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือนี้ หน้า ๑๗๓

รูปภาพ

ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง

ต่อไปนี้จะได้พูดเรื่อง ธรรมวิภาคสำหรับสอนผู้บวชใหม่ หรือผู้ที่เข้ามาใหม่ในพระพุทธศาสนา เพื่อจะให้รู้เรื่องของธรรมอันมีประเภทต่างๆ เท่ากับว่าเรียนศัพท์เกี่ยวกับธรรมะ ให้รู้ความหมายของศัพท์นั้นๆ และให้รู้ว่าจะเอาไปใช้เป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างไร.

ธรรมะทุกข้อทุกตอน เป็นสิ่งมีประโยชน์ สำหรับเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้น การเรียนรู้ในชื่อ และความหมายของข้อธรรมะนั้น ก็เพื่อประโยชน์ที่จะนำเข้าไปใช้เป็นหลักปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ เป็นความสุขความเจริญต่อไป

ธรรมะที่ท่านเรียงไว้ทั้งหมดนี้ เรียกว่าเป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาชีวิต เป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไข เป็นเครื่องมือสำหรับป้องกัน ไม่ให้ความทุกข์ความเดือดร้อนเกิดขึ้น สุดแล้วแต่จะเอาไปใช้ คือ ใช้เป็นเครื่องกันก็ได้ ถ้ามันผิดอะไรไปแล้วก็ใช้เป็นเครื่องแก้ไขก็ได้ จึงมีประโยชน์ทุกเวลานาทีแก้ผู้ปฏิบัติ

ธรรมะต่างๆ ที่ท่านจัดไว้เป็นหมู่เป็นหมวดก็เพื่อสะดวกแก่การศึกษา ถ้าเราดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหมือนยาสำเร็จรูปที่ท่านปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว เราไม่ต้องไปเที่ยวหา ไม่ต้องไปเที่ยวค้นหา พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านค้นไว้เรียบร้อย แล้วก็เอามาจัดไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ให้เราหยิบไปใช้ได้ทันที ไม่เกิดความลำบากในการปฏิบัติ

พวกเราที่เกิดมาในชั้นหลัง ถ้าจะพูดก็พูดได้ว่า ได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องไปลงทุนค้นคว้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ลงทุนค้นคว้าไว้อย่างเรียบร้อย จัดไว้เป็นหมวดเป็นหมู่ ง่ายต่อการศึกษา ง่ายต่อการปฏิบัติ เราเพียงแต่ไปดูให้เข้าใจ แล้วก็ใช้ให้ถูกต้องเท่านั้น

บรรดาธรรมะเหล่านี้ ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหนึ่ง ก็เหมือนแผนที่ชี้บอกแนวทางชีวิตของเรา ให้เรารู้ว่าจะไปสู่จุดนั้นโดยวิธีใด ท่านบอกไว้เสร็จว่าจะต้องการอะไร อยากได้อะไร เราดำเนินตามหลักฅธรรมะที่วางไว้เป็นเรื่องๆ สำหรับให้เอาไปใช้ได้เลย

เพราะฉะนั้น ธรรมะเหล่านั้น ก็เหมือนกับแผนที่นำทางชีวิตเรา ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เราก็มีสมุดนำทางอย่างวิเศษ ที่จะนำเราไปสู่ความสุขในเวลานี้ก็ได้ ในเวลาต่อไปข้างหน้าก็ได้ ไปสู่ความสุขอย่างแท้จริง คือพระนิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่เราจะวางจุดการเดินทางไว้จุดไหน เราก็เดินตามเส้นทางที่ท่านขีดไว้ให้เราเดิน เราเดินไปตามนั้นก็จะถึงจุดหมายที่วางไว้ได้ มันได้ประโยชน์ตรงนี้ จึงควรที่จะสนใจศึกษา

เรื่องของธรรมะนั้น เราจะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าปฏิบัติถูกย่อมเกิดประโยชน์ ถ้าปฏิบัติผิดย่อมเกิดโทษ

แต่ไม่รู้ก็เป็นการเสียง เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องนั้น แต่ถ้าเรารู้ชัดเจนแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นก็สะดวก คล้ายกับว่เราจะเดินทางเราต้องศึกษาเส้นทางเดินเสียก่อน ก่อนที่จะขับรถไปตามทางนั้น วิ่งไปตามทางนั้น ไม่ต้องเที่ยววกวนไปมาค้นหาทางอีกต่อไป สะดวกแก่ผู้ที่จะเดินทางต่อไปได้รู้

แต่ถ้าไม่รู้ก็เที่ยวคลำไปคลาวนเวียนอยู่กว่าจะหลุดไปได้ เสียเวลามาก เป็นการขาดทุน เพราะฉะนั้น การเรียนธรรมะไว้จึงไม่ขาดทุน แล้วการเรียน กับ การปฏิบัติต้องคู่กัน

บางครั้ง เรียนแล้วไม่เอาไปใช้ปฏิบัติ มันก็ไม่เกิดอะไรขึ้น นอกจากเอาไว้คุยกันเล่น แบบคนบ้าน้ำลายเท่านั้นเอง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นก็ไม่มี เพราะฉะนั้น เรารู้แล้วก็ควรใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติด้วย จึงมีคุณค่าแก่ชีวิตเรา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะที่ท่านจัดไว้ เรียกว่า ธรรมวิภาค แปลว่า การแจกธรรม แบ่งเป็นหมวดๆ เพื่อสะดวกแก่การศึกษา เริ่มต้นก็ทุกะ หมวดทุกะ หมวดสอง ธรรมมีอุปการะมาก ๒ อย่าง

๑. สติ ความระลึกได้

๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

ธรรม ๒ อย่างนี้ เรียกว่า มีอุปการะมาก ยิ่งกว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์ หรือใครๆที่เป็นมนุษย์ ผู้ให้อุปการะแก่เรา เพราะว่าผู้อุปการะแก่เราที่เป็นมนุษย์นั้น เขาอุปการะในทางวัตถุ ให้อาหาร ให้เสื้อผ้า ให้เงินให้ทอง ให้ข้าวของ แล้วเราก็ไปกินไปใช้กันสบาย อุปการะได้เพียงเท่านี้

ถ้าเราอยู่ห่างไกลไปแล้วอาจไม่ได้ความคุ้มครองก็ได้ จึงไม่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้อุปการะอย่างแท้จริง ผู้อุปการะอย่างแท้จริงแก่เรา ก็คือธรรมะ ๒ ข้อนี้ เรียกว่า สติ กับ สัมปชัญญะ

ธรรม ๒ ประการนี้ อุปการะทุกเวลานาที แต่มันก็ขึ้นกับตัวเราว่ายอมรับอุปการะของมันหรือไม่ ถ้าเราไม่ยอมรับ มันก็ไม่อุปการะเรา เราก็ไม่ได้ประโยชน์จากธรรมทั้ง ๒ ประการนี้

คำว่า “ยอมรับ” หมายความว่าอย่างไร ? หมายความว่า เราเอามาใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เอาธรรมะ ๒ ตัวนี้เป็นหลักกำกับไว้ อย่างนี้ เรียกว่า เรารับอุปการะจากธรรมะ ๒ ข้อนี้

แต่เราไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้รับอุปการะจากธรรม ๒ ประการนี้ ผู้ที่ไม่ได้รับอุปการะจากธรรม ๒ ประการนี้ ย่อมเกิดปัญหาบ่อยๆ ทำไมเราจึงทำอะไรผิดพลาดบ่อยๆ สมมติว่าเราใช้มีด ทำไมมันจึงบาดมือเรา เวลาเดินทำไมไปสะดุดกระโถน หรือว่า สุดก้อนหิน ตอไม้ เล็บหลุดไป ได้รับความเจ็บปวด หรือเวลากินอาหารทำไมก้างปลาติดคอ หรืออะไรอื่นๆ ทีเกิดขึ้นในชีวิต นี่แหละคือผลของการไม่มีอุปการธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองรักษา จึงได้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ

คนที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือได้รับทุกข์เจียนตาย ก็เพราะไม่ยอมรับอุปการะของธรรม ๒ ประการนี้ เมื่อไม่ใช้มันก็เกิดทุกข์ เกิดโทษ เกิดอันตายแก่คนด้วยประการต่างๆ มีตัวอย่างถมไป เช่น เราลงจากรถ พอลงก็เดินตัดข้ามถนน ไม่เห็นรถที่มันโผล่มาจากท้ายรถที่บังไว้ โผล่ปั๊บก็โครมเข้าให้เลย ขาหัก คอหักไปเลย

ที่หน้าวัด เคยมีเวลามาจากกรุงเทพฯ ลงตรงต้นไม้ใหญ่หน้าวัด เวลาลงก็ไม่ฟังอีร้าค่าอีรมละ วิ่งข้ามถนนเลย เจอโครมเข้าให้ หามไปโรงพยาบาล แล้วก็หามไปป่าช้าเลย ไม่ได้เข้าวัดอีกต่อไป นี่เขาเรียกว่า ขาดผู้อุปการะ จึงเดือดร้อน

แม้ในการในการปฏิบัติของเรา เช่น เราประพฤติตนเหลวไหลขี้เกียจหลังยาว ประพฤติเกียจคร้านต่างๆ นี่ก็เรียกว่า ขาดผู้อุปการะ จึงได้กระทำสิ่งนั้นลงไป เรียกว่า ลืมตัว เช่น สามเณรลืมความเป็นเณร เที่ยววิ่งเล่นกับเด็กๆ ในสนามหญ้า บางทีก็ไปเตะฟุตบอลตึงตัง ก็เรียกว่าขาดผู้อุปการะเสียแล้ว จึงได้ลืมว่าเราเป็นเณร ไปเตะฟุตบอลบ้าง อะไรบ้าง นี่เรียกว่าขาดธรรมเป็นเครื่องอุปการะ จึงได้เกิดความเสียหาย คนที่โตแล้ว ไปติดฝิ่น ติดกัญชา ติดหญิง แล้วก็ติดรูปอะไรต่างๆ นั้น ก็ไอ้อย่างเดียวกัน คือขาดธรรมเป็นอุปการะ จึงได้เกิดปัญหาในชีวิตขึ้น

เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า การมีธรรมเป็นเครื่องอุปการะ กับ ขาดธรรมเป็นเครื่องอุปการะนั้น มันแตกต่างกันอย่างไร สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตมันแตกต่างกันอย่างไร เห็นผลอย่างนี้
ฉะนั้น ถ้าเรา ไม่ต้องการความทุกข์ เราก็ต้องหัดใช้ธรรมะ ๒ ประการนี้ ให้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร คุ้มเกล้าเกสา จะไปมาไหนก็ไม่ทุกข์ร้อน ไม่เดือดร้อน คือ ใช้สติ สัมปชัญญะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ แปลตรงตัวว่า ความระลึกได้. ระลึกได้อย่างไร ? ความหมายของคำว่า “สติ” นั้น คือ ความรู้สึกตัวก่อนที่จะทำ ก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ก่อนที่จะเคลื่อนไหวอะไรทุกอย่างในร่างกาย ให้รู้สึกตัวก่อน.

ความรู้สึกตัวก่อนที่จะทำนั้น เรียกว่า สติ เช่น เรานั่ง แล้วจะลุกขึ้นก็ต้องทำสติให้เกิดขึ้นเสียก่อน แล้วก็จะต้องรู้ตัวว่าจะลุกได้ไหม ร่างกายของเรามันปกติหรือเปล่า ร่างกายเป็นเหน็บชาหรือเปล่า ในขณะนั่งนานๆ จะลุกยืนได้ไหม

ถ้ารู้สึกว่าร่างกายไม่ปกติ ก็ค่อยๆยืดเส้นยืดสายค่อยๆ ยืนขึ้นจนกระทั่งเป็นปกติ แล้วจึงค่อยก้าวเดินต่อไป.

เวลาจะก้าวเท้าขวา หรือก้าวเท้าซ้าย ก็ต้องมีสติอยู่ รู้ตัวอยู่ ว่าจะก้าวเท้าซ้ายหรือก้าวเท้าขวา รู้ตัวว่า กำลังจะก้าวเท้าซ้ายหรือก้าวเท้าขวา เรียกว่ามีความรู้สึกมีสติ

ไม่ใช่นั่งแล้วลุกพรวดขึ้นมา เป็นการแสดงว่าไม่ได้ทำสติก่อน ถ้ามีสติ เขาต้องยกช้าๆ แล้วขณะยกนั้น ต้องมีความรู้สึกจะยกขึ้นไป หรือจะเหยียดมือออกไป จะหดเข้ามา หรือจะจับแก้วน้ำ จับกระโถน จับจานข้าว จับถ้วยแกง ให้รู้สึกตัวก่อนจะทำอะไร อันนี้ สำคัญมาก ความรู้สึกตัวว่าจะทำอะไร มันคุ้มครองไม่ให้ผิดพลาด ไม่ให้เสียหายในกิจกรรมที่เราจะกระทำ

คนที่ทำอะไรผิดพลาดนั้น เพราะขาดตัวนี้ ไม่มีสติคอยกำกับ เพราะฉะนั้น ต้องฝึกหัด เช่น เราไปเดินจงกรมทำกัมมัฏฐาน เท้ายกขึ้นไป กำหนดรู้ว่าเท้ากำลังยกขึ้น แล้วย่างไป ก็กำหนดว่า ยกหนอ ย่างหนอ อะไรอย่างนั้น ก็ต้องคอยกำหนดตามไป ให้มีสติ ไม่ทำด้วยความพลั้งเผลอ อย่างนี้ เรียกว่า มีความรู้สึกตัวก่อนจะทำสิ่งนั้นๆ ให้มีความรู้สึกตัวก่อนทำ

แม้การพูดก็เหมือนกัน ต้องมีความรู้สึกตัวว่าจะพูดอะไร คนที่พูด ได้พูดคำหยาบ คำเหลวไหลเพ้อเจ้อ คำที่ไม่เหมาะไม่ควรในการพูดออกไป นั่นเรียกว่า ไม่ได้นึกก่อนพูด ไม่ได้มีสติในการที่จะพูด นึกจะพูดอะไรก็พูดออกไป ไม่มีอารมณ์ในการจะควบคุมตัวเอง อย่างนั้นเสียหายมาก

การพูดเป็นเรื่องสำคัญมาก มันหลุดออกไปแล้วเอาคืนไม่ได้ แม้จะไปของโทษเขา ว่าเราพูดผิดไป มันก็ขุ่นใจกัน ทำให้เกิดความบาดหมางกัน จึงไม่ควรจะใช้ถ้อยคำ โดยไม่ได้คิดเสียก่อน คำพูดนั้นเป็นวจีทุจริต คือพูดโกหก พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อส่อเสียดคนนั้นคนนี้ คำเช่นนั้นไม่ควรจะพูดออกไป เพราะพูดออกไปแล้วมันกระทบกระทั่งกับคนอื่น

เขียนก็เหมือนกัน หนักกว่าพูด เพราะมันปรากฏเป็นลายลักษณะอักษรในกระดาษ ถ้าจะพูดฟ้องร้องจะง่ายกว่าพูด เรื่องพูดยังปฏิเสธว่า เราไม่ได้พูดอย่างนั้นนี่ แต่เขียนไว้เป็นลายลักษณะอักษรแล้วมันแก้ตัวยาก เพราะมันปรากฏอยู่ในหน้ากระดาษ เขาจะเอาไปฟ้องร้องเมื่อไรก็ได้ อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเหมือนกัน เรียกว่าสติคุมในการพูด ควบคุมในการกระทำ เรื่องการคิดก็เช่นกัน ต้องรู้ตัวในการคิด อย่าคิดไปในทางโลภ ทางโกรธ ทางหลง เราต้องรู้ตัว มีสติคอยกำกับ

พระพุทธภาษิตบทหนึ่งตรัสว่า “สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา” แปลว่า สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง สติเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ไม่ว่าอยู่ในที่ใดเป็นต้องใช้ทุกเมื่อ คนขับรถยนต์ต้องใช้สติอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช้สติแล้วเกิดเรื่อง ทำงานอยู่กับเครื่องยนต์กลไก ซึ่งจะเป็นอันตรายให้ถึงตาย ต้องมีสติ เผลอไม่ได้

มีพระองค์หนึ่ง เป็นหลวงพ่อไปเจิมเครื่องโรงสีที่เขาจะเปิดใหม่ พอเจิมเสร็จเขาก็เดินเครื่อง ท่านก็พรมน้ำมนต์ เดินพรมเรื่อยไปจีวรก็ถูกลมปลิวเรื่อยไป สายพานเกิดดูดชายจีวรเข้าไปในเครื่อง หยุดเครื่องไม่ทัน หลวงพ่อองค์นั้นเลยตาย เรียกว่า เจิมจนตัวตายเลย เพราะมัวแต่พรมน้ำมนต์ แสดงให้เห็นว่าไม่มีสติ ลืมนึกไปว่าอันตราย อย่างนี้เป็นตัวอย่าง

ยังมีหลวงพ่ออีกองค์หนึ่ง มือขวาท่านขาดเกือบถึงศอก ถามว่า มือขวาหลวงพ่อหายไปไหน

ท่านบอกว่า หายไปนานแล้ว ตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก ถามว่า เป็นอะไร หีบอ้อย หีบอ้อยโบราณ มีท่อนไม้ ๒ ท่อน มีควายเดินรอบนอกเรื่อยๆ ไม้มันก็จะหมุน ก็เอาอ้อยใส่เข้าไป ไม่ใส่แต่อ้อย ใส่มือเข้าไปด้วย หีบนั้นมันก็หนีบมือ หนีบจนแตกเลย จะไปหยุดควายก็หยุดไม่ได้ เพราะมือติดอยู่นี่แล้ว เลยตวาดให้ควายหยุด ควายก็ยังดี ได้ยินเสียงตวาดยังหยุดได้ แต่ก็ด้วนอยู่อย่างนั้น นี่คือความพลั้งเผลอนั่นเอง

เล็บของผมที่ดำอยู่อย่างนี้ ก็เหมือนกัน เกิดจากความไม่มีสติ เมื่อเขาเอาเก้าอี้มาถวาย ใช้นอนได้ เอกเขนก ก็พอดีเจ้าคุณมาจากวัดมหาธาตุ เลยนิมนต์ให้มานอนบนนี้เลย พอท่านนอนก็เข้าไปดึงเก้าอี้ ไม่รู้ดอกว่ามันจะหนีบมือ พอดึงพรืดเข้ามาก็หนีบมือจนดำอย่างนี้ ทีเห็นอยู่นี่แหละ มันก็เป็นบทเรียนว่าเพราะความเผอเรอ ไม่มีสติอุปการะในขณะนั้น จึงได้เล็บดำอยู่อย่างนี้ เห็นทีไรนึกได้ทุกทีว่า ทีหลังอย่าเผลอ สติคือความรู้สึกตัวก่อนทำอะไรทุกอย่างนั่นเอง เป็นความหมายง่ายๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2017, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า สัมปชัญญะ หมายความว่า รู้อยู่ในขณะที่ทำ.

เรียกว่า สติ หมายถึง รู้ก่อนทำ และขณะที่ว่ารู้อยู่ขณะที่ทำ นั้น เรียกว่า สัมปชัญญะ แปลว่า รู้พร้อมในขณะนั้น ไม่หายไปไหน มันคงอยู่ตลอดเวลา อาการที่รู้พร้อมอยู่ นั้นแหละ เป็นทางให้เกิดความก้าวหน้า เกิดความเรียบร้อยในการงาน ผู้ปฏิบัติทางจิต เรียกว่า ภาวนา มีหลักว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา มี ๓ คำ ที่จะต้องใช้ในการภาวนา

อาตาปี หมายความว่า มีความเพียรเผากิเลสให้ร้อน สัมปชาโน มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สติมา มีสติ

ถ้า ๓ ตัวนี้ อยู่ในขณะปฏิบัติ นั้น เราก็จะก้าวหน้าในการปฏิบัติเรื่อยไป เพราะมีความเพียร มี สติ มีสัมปชัญญะ การปฏิบัตินั้นก็ก้าวหน้าเรื่อยไป เช่น กำหนดลมหายใจเข้า - ออก ก็มี ๓ ตัว มีความเพียร มี สติ แล้วก็มี สัมปชัญญะอยู่ การกระทำนั้นก็เรียบร้อย ถ้าไม่มีสัมปชัญญะมันลืมง่าย เผลอง่าย

สมมติว่า เราบอกว่าฟัง มีคนจะพูดให้ฟัง แล้วก็นั่งฟัง พอฟังได้ประเดี๋ยวใจก็ไปแล้ว ที่ไปก็เพราะไม่มีสัมปชัญญะ ไม่ได้ควบคุมไว้ พอฟังแล้วรู้สึกแล้วก็ต้องควบคุมไว้ ให้ความรู้สึกนั้นมีตลอดไป ความรู้สึกนั้น เรียกว่า สัมปชัญญะ มันอยู่คู่กันตลอดไป

ถ้าว่าไม่มีสัมปชัญญะก็ไม่ได้เรื่อง เช่นว่า จิตกำหนดลม เรามีสัมปชัญญะ ก็กำหนดรู้ว่าลมเข้า ลมออก พอเผลอปั๊บ มันไป อันนี้ถ้าไปแล้ว ไม่มีสติรู้สึก ไปใหญ่เลย มันลืมการกระทำ สติต้องควบคุมเหมือนกัน สัมปชัญญะคอยกำกับต่อไป อยู่กันอย่างนี้ตลอดเวลา จึงจะก้าวหน้าในการปฏิบัติ

การเรียนหนังสือ การอ่านหนังสือก็เหมือนกัน ต้องมีสติว่าจะท่องหนังสือนะ แล้วขณะท่องต้องมีสัมปชัญญะกำกับอยู่จึงจะจำได้

ถ้าว่าท่องไม่มีสติ สัมปชัญญะ มันจำไม่ได้ เพราะว่าปากว่า แต่ใจมันไม่ได้ว่าด้วย เลยจำไม่ได้ อย่างนั้น ก็ไปไม่รอด

สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว เรียกว่า เป็นธรรมมีอุปการะมาก ๒ ประการ.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ


รูปภาพ


ฝึกสติ,ฝึกรู้สึกตัว โดยใช้อิริยาบถยืน, เดิน, กลับตัว เป็นต้น เป็นเหมือนอุปกรณ์สำหรับฝึก


อ้างคำพูด:
ผู้พันในคลิปดังเข้าพบตำรวจขอโทษสังคม หลังทะเลาะกับคนขี่รถจักรยานยนต์รับโมโหขาดสติ อ้างโดนให้ของลับก่อน


ธรรมะจะมีค่าต่อเมื่อประสบทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก, ใช้อาการพอง-ยุบของท้อง เป็นต้น เป็นเสมือนอุปกรณ์สำหรับฝึกสติเป็นอาทิ

รูปภาพ



อ้างคำพูด:
เนื่องจากผมทำงานประจำ และมีความเครียดสะสมเยอะ จนสมองฟุ้งซ่าน คิดโน่นนี่ตลอดเวลา กลางคืนยังตื่นมาคิดสารพัดเรื่อง วนเวียนจนเหมือนคนบ้า
แนวทางที่ผมแก้ปัญหาทำมาสารพัด ตั้งแต่เล่นกีฬา ออกไปท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ก็ไม่หายเครียด แม้ตอนขับรถก็เครียด รถติดก็เครียด โมโหร้าย สุดท้ายคงต้องพึ่งแนวทาง นั่งสมาธิ เพื่อให้จิดใจสงบ อาจจะหลุดพ้นจากความเครียด
เวลาผมไปตามวัดเจอโบสถ์ที่สงบๆ ไม่มีคน หรือในถ้ำที่เงียบๆ เปลี่ยวๆ วังเวงๆ ใจนึกอยากนั่งมาธิทันที (ทั้งที่นั่งไม่เป็น)
จึงขอคำแนะนำ ผมควรเริ่มฝึกอย่างไรดี ลองนั่งเองมันคิดฟุ้งซ่านไปตลอด ไม่ก็วูบหลับไปเลย ฝึกตามอานาปานสติครับ (กำหนดลมหายใจ)
ค้นใน Google ก็เจอแต่สถานที่ ที่บอกว่ามีแต่เจ้าสำนัก เจ้าลัทธิ ที่ทำให้คนหลงทาง ไม่ใช่แนวทาง สมาธิที่แท้จริง หรือตามหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้


ถ้าจิตไม่ฟุ้งซ่าน เราก็ไม่ต้องฝึก แต่นี่มันฟุ้งเราจึงต้องฝึกให้มันหยุดฟุ้งซ่าน คือ ฝึกให้มันอยู่กับสิ่งที่เป็นเหมือนอุปกรณ์นั้น เมื่อมันอยู่กับสิ่งนั้นมันก็หยุดฟุ้งซ่าน เรื่องมันก็แค่นี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2018, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจับหลักได้แล้ว จะเห็นแนวการฝึกโล่งไปเลย แต่ขณะฝึกหัดจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสิ่งนี้เลย เพียงแต่คุมจิตให้อยู่กับงานคือลมเข้า-ออก, อาการพอง-ยุบของท้อง แต่ละขณะๆไป ลมเข้ารู้ ลม ออกรู้ ท้องพองรู้ ท้องยุบรู้ คิดนั่นคิดนี่รู้ ฯลฯ ผู้เริ่มฝึกควรใช้คำบริกรรมกำกับตรึงจิตไปด้วย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 00:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ถ้าจับหลักได้แล้ว จะเห็นแนวการฝึกโล่งไปเลย แต่ขณะฝึกหัดจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสิ่งนี้เลย เพียงแต่คุมจิตให้อยู่กับงานคือลมเข้า-ออก, อาการพอง-ยุบของท้อง แต่ละขณะๆไป ลมเข้ารู้ ลม ออกรู้ ท้องพองรู้ ท้องยุบรู้ คิดนั่นคิดนี่รู้ ฯลฯ ผู้เริ่มฝึกควรใช้คำบริกรรมกำกับตรึงจิตไปด้วย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน



การปฎิบัติธรรม ต้องมีปริยัติที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานรองรับในการปฎิบัติธรรม

การแทงตลอดในปฎิเวธธรรมที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นได้ค่ะ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนา จึงประกอบด้วย ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ

แต่ถ้าคนสอนไม่รู้ปริยัติธรรมเอาเสียเลย ไม่เอาไหนในปริยัติเสียแล้ว

ก็ไม่รู้เรยว่า

ว่าปัญญาจะเกิดได้ จะต้องอาศัยสัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย

และสติ ก็ยังต้องอาศัยสัญญาในพระปริยัติธรรม เป็นเหตุไกล้ ทำให้เกิดสติขึ้น เป็นสัมมาสติ

คนพวกนี้ที่ไม่รู้ปริยัติธรรม จึงสอนให้ปฎิบัติได้ เพียงแค่สติธรรมดา ไม่ใช่สัมมาสติ

แล้วแถมยังพาหลงปฎิบัติคลาดเคลื่อน ไปเป็นมิฉาสติ อีกด้วยค่ะ

ไม่ตรงตามพระไตรปิฎกอีกด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ ทรงสอนคันธุระให้

และให้ศึกษาคันธุระ

คือการศึกษาในคันถะ ซึ่งหมายถึง นวังคสัตถุศาสตร์ 9

อันเป็นปริยัติที่ถูกต้องในพระศาสนา

นำมาซึ่งการปฎิบัติที่ถูกต้อง

และปฎิเวธที่ถูกต้องค่ะ

เพราะปัญญาที่แท้จริงในพระศาสนา ที่ถูกต้อง

และปัญญาที่ถูกต้อง จะเกิดได้ จะต้องอาศัยสัญญา ที่ถูกต้อง เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถ้าจับหลักได้แล้ว จะเห็นแนวการฝึกโล่งไปเลย แต่ขณะฝึกหัดจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสิ่งนี้เลย เพียงแต่คุมจิตให้อยู่กับงานคือลมเข้า-ออก, อาการพอง-ยุบของท้อง แต่ละขณะๆไป ลมเข้ารู้ ลม ออกรู้ ท้องพองรู้ ท้องยุบรู้ คิดนั่นคิดนี่รู้ ฯลฯ ผู้เริ่มฝึกควรใช้คำบริกรรมกำกับตรึงจิตไปด้วย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน



การปฎิบัติธรรม ต้องมีปริยัติที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานรองรับในการปฎิบัติธรรม

การแทงตลอดในปฎิเวธธรรมที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นได้ค่ะ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนา จึงประกอบด้วย ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ

แต่ถ้าคนสอนไม่รู้ปริยัติธรรมเอาเสียเลย ไม่เอาไหนในปริยัติเสียแล้ว

ก็ไม่รู้เรยว่า

ว่าปัญญาจะเกิดได้ จะต้องอาศัยสัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย

และสติ ก็ยังต้องอาศัยสัญญาในพระปริยัติธรรม เป็นเหตุไกล้ ทำให้เกิดสติขึ้น เป็นสัมมาสติ

คนพวกนี้ที่ไม่รู้ปริยัติธรรม จึงสอนให้ปฎิบัติได้ เพียงแค่สติธรรมดา ไม่ใช่สัมมาสติ

แล้วแถมยังพาหลงปฎิบัติคลาดเคลื่อน ไปเป็นมิฉาสติ อีกด้วยค่ะ

ไม่ตรงตามพระไตรปิฎกอีกด้วย



ชัดแจ๋วเลย ไม่เคยทำไม่เคยปฏิบัติอะไรมาเลย ฟุ้งน้ำลายแตกฟอง อิอิ

เขาเป็นอะไร

อ้างคำพูด:
ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ


ไหนนู๋เมโลกสวยผู้มากปริยัติ มากปฏิบัติ มากพระไตรปิฎกตอบทีสิ ว่าไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถ้าจับหลักได้แล้ว จะเห็นแนวการฝึกโล่งไปเลย แต่ขณะฝึกหัดจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสิ่งนี้เลย เพียงแต่คุมจิตให้อยู่กับงานคือลมเข้า-ออก, อาการพอง-ยุบของท้อง แต่ละขณะๆไป ลมเข้ารู้ ลม ออกรู้ ท้องพองรู้ ท้องยุบรู้ คิดนั่นคิดนี่รู้ ฯลฯ ผู้เริ่มฝึกควรใช้คำบริกรรมกำกับตรึงจิตไปด้วย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน



การปฎิบัติธรรม ต้องมีปริยัติที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานรองรับในการปฎิบัติธรรม

การแทงตลอดในปฎิเวธธรรมที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นได้ค่ะ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนา จึงประกอบด้วย ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ

แต่ถ้าคนสอนไม่รู้ปริยัติธรรมเอาเสียเลย ไม่เอาไหนในปริยัติเสียแล้ว

ก็ไม่รู้เรยว่า

ว่าปัญญาจะเกิดได้ จะต้องอาศัยสัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย

และสติ ก็ยังต้องอาศัยสัญญาในพระปริยัติธรรม เป็นเหตุไกล้ ทำให้เกิดสติขึ้น เป็นสัมมาสติ

คนพวกนี้ที่ไม่รู้ปริยัติธรรม จึงสอนให้ปฎิบัติได้ เพียงแค่สติธรรมดา ไม่ใช่สัมมาสติ

แล้วแถมยังพาหลงปฎิบัติคลาดเคลื่อน ไปเป็นมิฉาสติ อีกด้วยค่ะ

ไม่ตรงตามพระไตรปิฎกอีกด้วย



ชัดแจ๋วเลย ไม่เคยทำไม่เคยปฏิบัติอะไรมาเลย ฟุ้งน้ำลายแตกฟอง อิอิ

เขาเป็นอะไร

อ้างคำพูด:
ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ


ไหนนู๋เมโลกสวยผู้มากปริยัติ มากปฏิบัติ มากพระไตรปิฎกตอบทีสิ ว่าไป



คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดง มาก ก็มี

คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดงน้อย ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะมาก ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะน้อยก็มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถ้าจับหลักได้แล้ว จะเห็นแนวการฝึกโล่งไปเลย แต่ขณะฝึกหัดจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสิ่งนี้เลย เพียงแต่คุมจิตให้อยู่กับงานคือลมเข้า-ออก, อาการพอง-ยุบของท้อง แต่ละขณะๆไป ลมเข้ารู้ ลม ออกรู้ ท้องพองรู้ ท้องยุบรู้ คิดนั่นคิดนี่รู้ ฯลฯ ผู้เริ่มฝึกควรใช้คำบริกรรมกำกับตรึงจิตไปด้วย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน



การปฎิบัติธรรม ต้องมีปริยัติที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานรองรับในการปฎิบัติธรรม

การแทงตลอดในปฎิเวธธรรมที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นได้ค่ะ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนา จึงประกอบด้วย ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ

แต่ถ้าคนสอนไม่รู้ปริยัติธรรมเอาเสียเลย ไม่เอาไหนในปริยัติเสียแล้ว

ก็ไม่รู้เรยว่า

ว่าปัญญาจะเกิดได้ จะต้องอาศัยสัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย

และสติ ก็ยังต้องอาศัยสัญญาในพระปริยัติธรรม เป็นเหตุไกล้ ทำให้เกิดสติขึ้น เป็นสัมมาสติ

คนพวกนี้ที่ไม่รู้ปริยัติธรรม จึงสอนให้ปฎิบัติได้ เพียงแค่สติธรรมดา ไม่ใช่สัมมาสติ

แล้วแถมยังพาหลงปฎิบัติคลาดเคลื่อน ไปเป็นมิฉาสติ อีกด้วยค่ะ

ไม่ตรงตามพระไตรปิฎกอีกด้วย



ชัดแจ๋วเลย ไม่เคยทำไม่เคยปฏิบัติอะไรมาเลย ฟุ้งน้ำลายแตกฟอง อิอิ

เขาเป็นอะไร

อ้างคำพูด:
ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ


ไหนนู๋เมโลกสวยผู้มากปริยัติ มากปฏิบัติ มากพระไตรปิฎกตอบทีสิ ว่าไป



คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดง มาก ก็มี

คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดงน้อย ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะมาก ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะน้อยก็มี



ไม่ไปไหน คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2018, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ถ้าจับหลักได้แล้ว จะเห็นแนวการฝึกโล่งไปเลย แต่ขณะฝึกหัดจริงๆ ไม่ต้องคิดถึงสิ่งนี้เลย เพียงแต่คุมจิตให้อยู่กับงานคือลมเข้า-ออก, อาการพอง-ยุบของท้อง แต่ละขณะๆไป ลมเข้ารู้ ลม ออกรู้ ท้องพองรู้ ท้องยุบรู้ คิดนั่นคิดนี่รู้ ฯลฯ ผู้เริ่มฝึกควรใช้คำบริกรรมกำกับตรึงจิตไปด้วย

สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้


สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่ ๑. สาตถกสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย ๒. สัปปายสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ - รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน



การปฎิบัติธรรม ต้องมีปริยัติที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานรองรับในการปฎิบัติธรรม

การแทงตลอดในปฎิเวธธรรมที่ถูกต้องจึงเกิดขึ้นได้ค่ะ

ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนา จึงประกอบด้วย ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ

แต่ถ้าคนสอนไม่รู้ปริยัติธรรมเอาเสียเลย ไม่เอาไหนในปริยัติเสียแล้ว

ก็ไม่รู้เรยว่า

ว่าปัญญาจะเกิดได้ จะต้องอาศัยสัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย

และสติ ก็ยังต้องอาศัยสัญญาในพระปริยัติธรรม เป็นเหตุไกล้ ทำให้เกิดสติขึ้น เป็นสัมมาสติ

คนพวกนี้ที่ไม่รู้ปริยัติธรรม จึงสอนให้ปฎิบัติได้ เพียงแค่สติธรรมดา ไม่ใช่สัมมาสติ

แล้วแถมยังพาหลงปฎิบัติคลาดเคลื่อน ไปเป็นมิฉาสติ อีกด้วยค่ะ

ไม่ตรงตามพระไตรปิฎกอีกด้วย



ชัดแจ๋วเลย ไม่เคยทำไม่เคยปฏิบัติอะไรมาเลย ฟุ้งน้ำลายแตกฟอง อิอิ

เขาเป็นอะไร

อ้างคำพูด:
ขณะสวดมนต์แล้วได้เอนตัวลงนอนอย่างมีสติ...ได้บริกรรมพอง กับ ยุบ ไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดอะไร...จนหลับไปไม่รู้ตัว...ระยะหนึ่ง...จิตได้เกิดกลางดึก คือ มีสติรู้ขึ้นมาทันทีของการพองยุบของท้อง และรู้สึกว่ามีนิ้วมือมากดที่สะดือแรงมาก เวลาที่พองออก ท้องก็จะพองออกมาก มือที่กดก็จะแรงไปตามการพองและยุบ จนรู้สึกกลัวมากเหมือนไส้จะหลุดออกมา.. แต่ผมก็พยายามดึงสติให้อยู่กับคำบริกรรมพอง ยุบอีก แต่พยายามแล้วจิตก็ทนไม่ได้ จิตสั่นไปหมดเหมือนท้องจะแตก จิตคิดตอนนั้นครับ


ไหนนู๋เมโลกสวยผู้มากปริยัติ มากปฏิบัติ มากพระไตรปิฎกตอบทีสิ ว่าไป



คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดง มาก ก็มี

คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดงน้อย ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะมาก ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะน้อยก็มี



ไม่ไปไหน คิกๆๆ


แสดงธรรมให้คนเขลา ก็ต้องกล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นธรรมดาค่ะ


คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดง มาก ก็มี

คนฉลาดพูดในธรรมะตามพระธรรมที่ทรงแสดงน้อย ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะมาก ก็มี

คนโง่ เอาลิ้งมาตัดแปะน้อยก็มี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร