วันเวลาปัจจุบัน 29 ก.ค. 2025, 00:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 05:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b37:
ทุกท่านคงจับประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4 ได้แล้วว่า
ไม่ว่าจะเห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม

สิ่งที่จะเกิดตามมาคือเวทนาทางกายและมาลงท้ายเป็นเวทนาทางจิต คืออภิชฌาและโทมนัสสัง หรือแปลเป็นไทยง่ายๆว่า

"ความยินดียินร้ายในโลก"

โลกในที่นี้ก็หมายถึงผัสสะของทวารทั้ง 6 นั่นเอง

ความยินดียินร้ายที่มีต่อผัสสะนีแหละที่จะทำให้สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งทุกข์อันได้แก่ ตัณหา มันเกิดขึ้น เมื่อตัณหาความทะยานอยากทั้ง 3 เกิดขึ้นแล้ว กรรมต่างๆมันจึงเกิดขึ้นแล้วมีวิบากของกรรมเป็นผลตามมาให้ต้องเสวย เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แห่งกรรมและผลกรรมต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า

"วัฏฏสงสาร"

การที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียให้ได้นั้น จึงเป็นกระบวนการแห่งการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า

"วิปัสสนาภาวนา"

คือกระบวนการเข้าไปรู้ความจริงอันเป็นสมุทัยหรือเหตุทุกข์
แล้วเอาเหตุทุกข์นั้นออกเสียให้ได้ทุกๆปัจจุบันขณะและอารมณ์

สมุทัยเหตุทุกข์คืออะไร?...พระพุทธองค์ทรงตอบไว้ชัดเจนแล้วว่าคือ "ตัณหา"

การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก มันไปขจัดตัณหาออกได้อย่างไร? นี่คือประเด็นสนทนาธรรมที่เราจะได้สนทนากันต่อไปในกระทู้นี้ครับ


onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 06:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b37:
ทุกท่านคงจับประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4 ได้แล้วว่า
ไม่ว่าจะเห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม

สิ่งที่จะเกิดตามมาคือเวทนาทางกายและมาลงท้ายเป็นเวทนาทางจิต คืออภิชฌาและโทมนัสสัง หรือแปลเป็นไทยง่ายๆว่า

"ความยินดียินร้ายในโลก"

โลกในที่นี้ก็หมายถึงผัสสะของทวารทั้ง 6 นั่นเอง

ความยินดียินร้ายที่มีต่อผัสสะนีแหละที่จะทำให้สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งทุกข์อันได้แก่ ตัณหา มันเกิดขึ้น เมื่อตัณหาความทะยานอยากทั้ง 3 เกิดขึ้นแล้ว กรรมต่างๆมันจึงเกิดขึ้นแล้วมีวิบากของกรรมเป็นผลตามมาให้ต้องเสวย เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แห่งกรรมและผลกรรมต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า

"วัฏฏสงสาร"

การที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียให้ได้นั้น จึงเป็นกระบวนการแห่งการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า

"วิปัสสนาภาวนา"

คือกระบวนการเข้าไปรู้ความจริงอันเป็นสมุทัยหรือเหตุทุกข์
แล้วเอาเหตุทุกข์นั้นออกเสียให้ได้ทุกๆปัจจุบันขณะและอารมณ์

สมุทัยเหตุทุกข์คืออะไร?...พระพุทธองค์ทรงตอบไว้ชัดเจนแล้วว่าคือ "ตัณหา"

การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก มันไปขจัดตัณหาออกได้อย่างไร?
นี่คือประเด็นสนทนาธรรมที่เราจะได้สนทนากันต่อไปในกระทู้นี้ครับ


onion


อโสกะคับ....ที่ผมขีดเส้นใต้เอาใว้...อันนี้แหละ..ที่แสดงถึงต้นตอปัญหาทางความคิดของอโสกะ..เลยนะคับ

ความยินดียินร้าย....มันเป็นผล

ส่วน..ตัณหา...มันเป็นเหตุ...

การที่อโสกะ...ทำการดับตัวผลคือความยินดียินร้ายแล้วนึกว่าจะเป็นการไปดับตัณหาอันเป็นต้นเหตุ..นั้น...มันไม่ต่างอะไรกับที่โยคีเข้ารูปฌาณ..อรูปฌาณ...เพื่อดับทุกข์เลยนะคับ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 06:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
เวทนาปัจจัยยา ตัณหา

กบเข้าใจขั้นตอนนี้ไหม?
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 07:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
เวทนาปัจจัยยา ตัณหา


s006

จากความคิดของอโสกะ...ข้างต้น..แสดงตัวตนของอโสกะได้หลายๆอย่าง...

อย่างแรก..
แสดงว่าอโสกะ..เข้าใจประโยตนี้ว่า...เวทนาเป็นเหตุเกิดของตัณหา..ใช่มั้ยคับ?

อย่างที่สอง...แสดงว่าอโสกะยังไม่เข้าใจคำว่า..เวทนาในปฏิจจสมุปบาท...เพราะอโสกะหลงไปเข้าใจปะปนกับ...โสกะ..ปริเทวะ..ทุกขะ..โทมนสะ..อุปายาท...

เอาแค่นี้ก่อน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 07:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
กบเข้าใจอะไรดีแล้วก็ขอให้กบเจริญไปตามเส้นทางเดินของกบนะครับ

ส่วนกระทู้นี้ผมตั้งใจจะมาวิเคราะห์วิตก วิจารณ์และให้ข้อสังเกตแก่ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 ทั้งหลายได้เห็นประเด็นสำคัญของสติปัฏฐานสูตรที่มารวมลงในคำพูดเดียวกันทั้ง
4 ฐานว่า

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" นั้น มันมีความหมายลึกซึ้งเพียงใดในเชิงปฏิบัติ


คุณกบจะเห็นเสริมก็เห็นได้ แต่ถ้าจะมาเห็นขวาง ก็พึงพิจารณาให้ดี ว่าเป็นการขวางทางธรรมหรือไม่ จะกลายเป็นการทำบาปชั่วด้วยความหลงว่าปารถนาดีนะครับ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12:
กบเข้าใจอะไรดีแล้วก็ขอให้กบเจริญไปตามเส้นทางเดินของกบนะครับ

ส่วนกระทู้นี้ผมตั้งใจจะมาวิเคราะห์วิตก วิจารณ์และให้ข้อสังเกตแก่ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 ทั้งหลายได้เห็นประเด็นสำคัญของสติปัฏฐานสูตรที่มารวมลงในคำพูดเดียวกันทั้ง
4 ฐานว่า

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" นั้น มันมีความหมายลึกซึ้งเพียงใดในเชิงปฏิบัติ[/color]

คุณกบจะเห็นเสริมก็เห็นได้ แต่ถ้าจะมาเห็นขวาง ก็พึงพิจารณาให้ดี ว่าเป็นการขวางทางธรรมหรือไม่ จะกลายเป็นการทำบาปชั่วด้วยความหลงว่าปารถนาดีนะครับ


ลึกยังไงอ่ะ

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"

กิเลสมันเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม มองไม่เห็น ท่านอโศกจะหยิบไปวางตรงนั้นตั้งตรงนี้เหมือนถ้วยโถโอชาได้ยังไงอ่ะ ถ้าเป็นแปรงสีฟันเป็นต้นว่าไปอย่าง ไม่พอใจก็หยิบโยนถังขยะได้ จริงไม่จริง :b32:

ท่านอโศกพูดถึงสิ่งที่พึงทำด้วยใจ ให้เขาเห็นด้วยตานะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b12:
ความไม่ยินดีความไม่ยินร้ายในโลกตามคำสอนเกิดจากการปล่อยวางความยึดมั่นในตัวตนได้
ถ้าไม่เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะปล่อยวางความยึดมั่นในตัวตนได้เลย
ชาตินี้ได้เกิดเป็นคนมีครบอาการ32จำเป็นต้องศึกษาและหมั่นฟังพระพุทธพจน์ให้เข้าใจก่อนนะคะ
https://www.youtube.com/watch?v=dLgnOm8Zed4
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

ทุกท่านคงจับประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4 ได้แล้วว่า
ไม่ว่าจะเห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม

สิ่งที่จะเกิดตามมาคือเวทนาทางกายและมาลงท้ายเป็นเวทนาทางจิต คืออภิชฌาและโทมนัสสัง หรือแปลเป็นไทยง่ายๆว่า

"ความยินดียินร้ายในโลก"

โลกในที่นี้ก็หมายถึงผัสสะของทวารทั้ง 6 นั่นเอง

ความยินดียินร้ายที่มีต่อผัสสะนีแหละที่จะทำให้สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งทุกข์อันได้แก่ ตัณหา มันเกิดขึ้น เมื่อตัณหาความทะยานอยากทั้ง 3 เกิดขึ้นแล้ว กรรมต่างๆมันจึงเกิดขึ้นแล้วมีวิบากของกรรมเป็นผลตามมาให้ต้องเสวย เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แห่งกรรมและผลกรรมต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า

"วัฏฏสงสาร"

การที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียให้ได้นั้น จึงเป็นกระบวนการแห่งการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า

"วิปัสสนาภาวนา"

คือกระบวนการเข้าไปรู้ความจริงอันเป็นสมุทัยหรือเหตุทุกข์
แล้วเอาเหตุทุกข์นั้นออกเสียให้ได้ทุกๆปัจจุบันขณะและอารมณ์

สมุทัยเหตุทุกข์คืออะไร?...พระพุทธองค์ทรงตอบไว้ชัดเจนแล้วว่าคือ "ตัณหา"

การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก มันไปขจัดตัณหาออกได้อย่างไร? นี่คือประเด็นสนทนาธรรมที่เราจะได้สนทนากันต่อไปในกระทู้นี้ครับ




อ้างคำพูด:
เห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม


อิอิ ว่าตามตำราเด๊ะเลย

เอาล่ะ ทีนี้จะถาม ท่านอโศกว่า เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม แต่ละอย่างๆ เห็นยังไง

เอาเห็นๆเลย "เห็นกายในกาย" เห็นแบบไหนยังไง เห็นกายในกาย ว่าไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
กบเข้าใจอะไรดีแล้วก็ขอให้กบเจริญไปตามเส้นทางเดินของกบนะครับ

ส่วนกระทู้นี้ผมตั้งใจจะมาวิเคราะห์วิตก วิจารณ์และให้ข้อสังเกตแก่ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 ทั้งหลายได้เห็นประเด็นสำคัญของสติปัฏฐานสูตรที่มารวมลงในคำพูดเดียวกันทั้ง
4 ฐานว่า

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" นั้น มันมีความหมายลึกซึ้งเพียงใดในเชิงปฏิบัติ[/color]

คุณกบจะเห็นเสริมก็เห็นได้ แต่ถ้าจะมาเห็นขวาง ก็พึงพิจารณาให้ดี ว่าเป็นการขวางทางธรรมหรือไม่ จะกลายเป็นการทำบาปชั่วด้วยความหลงว่าปารถนาดีนะครับ


ลึกยังไงอ่ะ

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"

กิเลสมันเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม มองไม่เห็น ท่านอโศกจะหยิบไปวางตรงนั้นตั้งตรงนี้เหมือนถ้วยโถโอชาได้ยังไงอ่ะ ถ้าเป็นแปรงสีฟันเป็นต้นว่าไปอย่าง ไม่พอใจก็หยิบโยนถังขยะได้ จริงไม่จริง :b32:

ท่านอโศกพูดถึงสิ่งที่พึงทำด้วยใจ ให้เขาเห็นด้วยตานะ :b32:

:b38:
กิเลสเป็นนามธรรม ก็ต้องใช้ทั้งรูปธรรมและนามธรรมจัดการกับกิเลสนั่นแหละ ไม่มีอะไรพิเศษ เป็นเรื่องธรรมดาๆ
อย่างเช่นความโกรธ เป็นนามธรรม เราก็ใช้ขันติ ตบะ เมตตา
การให้อภัย ซึ่งเป็นนามธรรมเช่นกันไปกำหราบปราบมัน

ส่วนเรื่องตามประเด็น ที่ว่า "วิเนยยะ โลเกอภิชฌาโทมนัสสัง"
เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกนั้น มันเป็นเรื่องที่จะต้องระดมเอาธรรมที่เป็นคู่ปรับของความยินดียินร้ายมาแก้ไขกัน
อย่างเช่น ความยินดีเกิดขึ้นในใจ เราต้องมีสติรู้ทันความยินดีนั้นก่อนแล้วมีปัญญานำเอาขันติความอดทน ตบะความข่มใจ
มาหยุดความยินดีนั้นไว้ก่อน จากนั้นก็ใช้สติปัญญานิ่งรู้นิ่งสังเกตปฏิกิริยาที่จะเกิดต่อจากความยินดีอันนั้น ซึ่งโดยธรรมชาติความดิ้นรนทะยานอยากไปด้วยอำนาจความยินดีจะเกิดขึ้นตามมาเราก็ใช้ทั้งสติ ปัญญา ขันติ ตบะหยุดยั้งความทะยานอยากนั้นไว้นิ่งดูนิ่งสังเกตมันต่อไป ก็จะเห็นหรือรู้ถึงความดิ้นรนด้วยอำนาจความยินดีและความอยากที่มีกำลังเพิ่มทวีมากขึ้นๆจนถึงที่สุดคือทนไม่ได้ หรือทุกขัง ความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจังก็จะเกิดขึ้น เป็น 2 ทาง

ทางที่ 1 สติ ปัญญา ขันติ ตบะ ทนอำนาจความอยากไม่ได้
จึงกระทำกรรมตอบสนองความอยากเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องกันไปแล้วก็เป็นไปตามทิศทางของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปอย่างที่เคยเป็น

ทางที่ 2 สติ ปัญญา ขันติ ตบะ สู้อำนาจของความยินดีและความอยากได้ไม่กระทำการหรือมีปฏิกิริยาใดๆไปตามอำนาจความยินดีและความอยาก ความเฉยหรืออุเบกขาก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ปฏิกิริยาจะเป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไปถ้าสติ ปัญญา ขันติ ตบะ สู้อำนาจความยินดีและความอยากได้

การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ได้อยู่ตลอดเวลาจนชำนาญเช่นนี้ ก็จะมีแต่อุเบกขาเหลืออยู่เป็นผลในทุกผัสสะ อารมณ์และความรู้สึก จนเกิดนิสัยและอุปนิสัยใหม่คือไม่ยินดียินร้ายต่อการกระทบสัมผัสอารมณ์และความรู้สึก กรรมก็ไม่เกิด ผลกรรมก็ไม่มี มีแต่อโหสิกรรมในทุกการกระทบสัมผัส นี่เป็นชีวิตใหม่ที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน 4

:b44:
ผลพลอยได้ที่จะเกิดตามมาจากการเจริญสติปัฏฐาน 4 เขาจะเกิดมาเองตามธรรม เป็นมรรคเป็นผลเป็นนิพพานเองตามมา
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
กบเข้าใจอะไรดีแล้วก็ขอให้กบเจริญไปตามเส้นทางเดินของกบนะครับ

ส่วนกระทู้นี้ผมตั้งใจจะมาวิเคราะห์วิตก วิจารณ์และให้ข้อสังเกตแก่ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน 4 ทั้งหลายได้เห็นประเด็นสำคัญของสติปัฏฐานสูตรที่มารวมลงในคำพูดเดียวกันทั้ง
4 ฐานว่า

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" นั้น มันมีความหมายลึกซึ้งเพียงใดในเชิงปฏิบัติ[/color]

คุณกบจะเห็นเสริมก็เห็นได้ แต่ถ้าจะมาเห็นขวาง ก็พึงพิจารณาให้ดี ว่าเป็นการขวางทางธรรมหรือไม่ จะกลายเป็นการทำบาปชั่วด้วยความหลงว่าปารถนาดีนะครับ


ลึกยังไงอ่ะ

"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง"

กิเลสมันเป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม มองไม่เห็น ท่านอโศกจะหยิบไปวางตรงนั้นตั้งตรงนี้เหมือนถ้วยโถโอชาได้ยังไงอ่ะ ถ้าเป็นแปรงสีฟันเป็นต้นว่าไปอย่าง ไม่พอใจก็หยิบโยนถังขยะได้ จริงไม่จริง :b32:

ท่านอโศกพูดถึงสิ่งที่พึงทำด้วยใจ ให้เขาเห็นด้วยตานะ :b32:


กิเลสเป็นนามธรรม ก็ต้องใช้ทั้งรูปธรรมและนามธรรมจัดการกับกิเลสนั่นแหละ ไม่มีอะไรพิเศษ เป็นเรื่องธรรมดาๆ
อย่างเช่นความโกรธ เป็นนามธรรม เราก็ใช้ขันติ ตบะ เมตตา
การให้อภัย ซึ่งเป็นนามธรรมเช่นกันไปกำหราบปราบมัน

ส่วนเรื่องตามประเด็น ที่ว่า "วิเนยยะ โลเกอภิชฌาโทมนัสสัง"
เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลกนั้น มันเป็นเรื่องที่จะต้องระดมเอาธรรมที่เป็นคู่ปรับของความยินดียินร้ายมาแก้ไขกัน
อย่างเช่น ความยินดีเกิดขึ้นในใจ เราต้องมีสติรู้ทันความยินดีนั้นก่อนแล้วมีปัญญานำเอาขันติความอดทน ตบะความข่มใจ
มาหยุดความยินดีนั้นไว้ก่อน จากนั้นก็ใช้สติปัญญานิ่งรู้นิ่งสังเกตปฏิกิริยาที่จะเกิดต่อจากความยินดีอันนั้น ซึ่งโดยธรรมชาติความดิ้นรนทะยานอยากไปด้วยอำนาจความยินดีจะเกิดขึ้นตามมาเราก็ใช้ทั้งสติ ปัญญา ขันติ ตบะหยุดยั้งความทะยานอยากนั้นไว้นิ่งดูนิ่งสังเกตมันต่อไป ก็จะเห็นหรือรู้ถึงความดิ้นรนด้วยอำนาจความยินดีและความอยากที่มีกำลังเพิ่มทวีมากขึ้นๆจนถึงที่สุดคือทนไม่ได้ หรือทุกขัง ความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจังก็จะเกิดขึ้น เป็น 2 ทาง

ทางที่ 1 สติ ปัญญา ขันติ ตบะ ทนอำนาจความอยากไม่ได้
จึงกระทำกรรมตอบสนองความอยากเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องกันไปแล้วก็เป็นไปตามทิศทางของปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปอย่างที่เคยเป็น

ทางที่ 2 สติ ปัญญา ขันติ ตบะ สู้อำนาจของความยินดีและความอยากได้ไม่กระทำการหรือมีปฏิกิริยาใดๆไปตามอำนาจความยินดีและความอยาก ความเฉยหรืออุเบกขาก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ปฏิกิริยาจะเป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไปถ้าสติ ปัญญา ขันติ ตบะ สู้อำนาจความยินดีและความอยากได้

การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ได้อยู่ตลอดเวลาจนชำนาญเช่นนี้ ก็จะมีแต่อุเบกขาเหลืออยู่เป็นผลในทุกผัสสะ อารมณ์และความรู้สึก จนเกิดนิสัยและอุปนิสัยใหม่คือไม่ยินดียินร้ายต่อการกระทบสัมผัสอารมณ์และความรู้สึก กรรมก็ไม่เกิด ผลกรรมก็ไม่มี มีแต่อโหสิกรรมในทุกการกระทบสัมผัส นี่เป็นชีวิตใหม่ที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน 4

ผลพลอยได้ที่จะเกิดตามมาจากการเจริญสติปัฏฐาน 4 เขาจะเกิดมาเองตามธรรม เป็นมรรคเป็นผลเป็นนิพพานเองตามมา



อ้างคำพูด:
กิเลสเป็นนามธรรม ก็ต้องใช้ทั้งรูปธรรมและนามธรรมจัดการกับกิเลสนั่นแหละ ไม่มีอะไรพิเศษ เป็นเรื่องธรรมดาๆ
อย่างเช่นความโกรธ เป็นนามธรรม เราก็ใช้ขันติ ตบะ เมตตา
การให้อภัย ซึ่งเป็นนามธรรมเช่นกันไปกำหราบปราบมัน


นี่ชัดแจ้งแดงเป็นจ้ำๆ เลย คิกๆๆๆ :b32:

บอกหลายครั้งแล้วว่า ท่านอโศกคิดๆเอาผสมกับมโน ไร้ประสบการณ์ภาวนา :b13: พูดชัดๆก็คือไม่เคยปฏิบัติธรรมแบบเข้มข้นเลย ไม่เคยทำกรรมฐานเลย ไม่เคยภาวนาอะไรมาเลย ไม่ต้องเถียงแล้ว

มันจบแล้วครับนาย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 20:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




ทาง 5 เส้น_resize.jpg
ทาง 5 เส้น_resize.jpg [ 45.59 KiB | เปิดดู 3711 ครั้ง ]
:b8:
จบแล้วก็แยกย้ายกันเดินไปตามทางของใครของมันก็แล้วกันนะกรัชกาย
555555555
:b13:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2016, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
จบแล้วก็แยกย้ายกันเดินไปตามทางของใครของมันก็แล้วกันนะกรัชกาย


ดูแล้วยิ่งพูดยิ่งเลอะเทอะ ไปนอนดีว่าเรา :b32: พอ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

ทุกท่านคงจับประเด็นสำคัญของสติปัฏฐาน 4 ได้แล้วว่า
ไม่ว่าจะเห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม

สิ่งที่จะเกิดตามมาคือเวทนาทางกายและมาลงท้ายเป็นเวทนาทางจิต คืออภิชฌาและโทมนัสสัง หรือแปลเป็นไทยง่ายๆว่า

"ความยินดียินร้ายในโลก"

โลกในที่นี้ก็หมายถึงผัสสะของทวารทั้ง 6 นั่นเอง

ความยินดียินร้ายที่มีต่อผัสสะนีแหละที่จะทำให้สมุทัยหรือต้นเหตุแห่งทุกข์อันได้แก่ ตัณหา มันเกิดขึ้น เมื่อตัณหาความทะยานอยากทั้ง 3 เกิดขึ้นแล้ว กรรมต่างๆมันจึงเกิดขึ้นแล้วมีวิบากของกรรมเป็นผลตามมาให้ต้องเสวย เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แห่งกรรมและผลกรรมต่อเนื่องกันไปไม่รู้จบกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า

"วัฏฏสงสาร"

การที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้เอาความยินดียินร้ายในโลกออกเสียให้ได้นั้น จึงเป็นกระบวนการแห่งการปฏิบัติธรรมที่เรียกว่า

"วิปัสสนาภาวนา"

คือกระบวนการเข้าไปรู้ความจริงอันเป็นสมุทัยหรือเหตุทุกข์
แล้วเอาเหตุทุกข์นั้นออกเสียให้ได้ทุกๆปัจจุบันขณะและอารมณ์

สมุทัยเหตุทุกข์คืออะไร?...พระพุทธองค์ทรงตอบไว้ชัดเจนแล้วว่าคือ "ตัณหา"

การเอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก มันไปขจัดตัณหาออกได้อย่างไร? นี่คือประเด็นสนทนาธรรมที่เราจะได้สนทนากันต่อไปในกระทู้นี้ครับ




อ้างคำพูด:
เห็นกายในกาย
เห็นเวทนาในเวทนา
เห็นจิตในจิต
เห็นธรรมในธรรม


อิอิ ว่าตามตำราเด๊ะเลย

เอาล่ะ ทีนี้จะถาม ท่านอโศกว่า เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม แต่ละอย่างๆ เห็นยังไง

เอาเห็นๆเลย "เห็นกายในกาย" เห็นแบบไหนยังไง เห็นกายในกาย ว่าไป



ท่านอโศกตอบคำถามนี่สิครับ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2016, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกตัดมาหน่อยเดียว แล้วก็บรรยายเป็นคุ้งเป็นแควไปตามอัธยาศัย :b1: แต่ที่จริง ยังมีอีกหลายอยู่ เอามาให้ดู ให้แปล คือ ให้ว่าเอาเอง แต่ตรงที่ตัดมานำคำแปลเขามาด้วย ดู


"กาเย กายานุปสฺสี" ....

"อาตาปี สมฺปชาโน สติมา"...

"วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺสํ" แปลอย่างสำนวนเก่าว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ คือปลอดไร้ความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ (ปฏิบัติสติปัฏฐานถูกต้อง) จิตใจก็จะปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีทั้งความติดใจอยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน

"อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย" ...

"อนิสฺสิโต จ วิหรติ" ...

"น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ" ...

"อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา." ...

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2016, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศกไม่มา เอ้าเผื่อเป็นประโยชน์บ้าง เสริมความหมาย "เห็นกายในกาย" ให้อีกท่อนหนึ่ง

เคยว่าหลายครั้งว่า ธรรมะก็ที่บัญญัติเรียกว่าคน,ว่ามนุษย์ เป็นต้น ซึ่งเดินแกว่งไปแกว่งมา ส่ายไปส่ายมานี่แหละ แต่พอเรียกว่าคน ว่า...แล้วเราคิดว่าไม่ใช่ธรรมะ เพราะถูกสมมุติบัญญัติว่านั่น ว่านี่บัง

รูปภาพ

"เห็นกายในกาย" (พุทธธรรม หน้า ๗๖๗)

“ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอก (=ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอก อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปในกายอยู่บ้าง

“ก็แล เธอมีสติดำรงต่อหน้าว่า “มีกายอยู่” เพียงแค่เพื่อความรู้ เพียงแค่เพื่อความระลึก แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก”

(บาลีพร้อมคำแปล)

กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า "พิจารณาเห็นกายในกาย" นี้เป็นคำแปลตามแบบที่คุ้นๆกัน ซึ่งต้องระวังความเข้าใจไม่ให้เขว แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหาถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก

ความหมายของข้อความนี้ก็คือ มองเห็นโดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะ หรือตลอดเวลา

เห็นกายในกาย คือ มองเห็นในกายว่าเป็นกาย หมายความว่า

มองเห็นกายตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุม หรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบคืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง ไม่ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนายนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผม ในขน ในหน้าตา เห็นเป็นชายนั้นหญิงนี้ เป็นต้น

เป็นอันว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดูตรงกันกับสิ่งที่เห็น
คือ
ดูกาย ก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง

ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง

ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชม บ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้” *

..........

* ข้อความว่า "กายในกาย" นี้ อรรถกถาอธิบายไว้ถึง ๔-๕ นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา ไม่ใช่ตามดูจิต ไม่ใช่ตามดูธรรม

ในกาย อีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อย ในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่าทั้งหมดนั้นไม่มีอะไร นอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มี นาย ก. นาง ข. เป็นต้น

เป็นการวิเคราะห์หน่อยรวมออก หรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วยและกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้เป็นต้น

(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร