วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 07:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จับท่านอโศกเข้าห้องเรียนธรรม :b1: :b31:

คือจะนำคำศัพท์ที่ท่านอโศกพูดจากล่าวขานบ่อยๆ แต่ไม่เข้าใจความหมายของเขา คือนำศัพท์นั้นๆมาพูดแล้วก็ด้นเดาความหมายเอาเอง ความหมายจึงเพี้ยนไป จึงเสียประโยชน์ทั้งสอง คือ ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น :b32:


ศัพท์ เสียง, คำ, คำยากที่ต้องแปล, คำยากที่ต้องอธิบาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ 1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง (ข้อ 2 ในไตรลักษณ์) 2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฏขึ้นหรืออาจปรากฏขึ้น ได้แก่ คน (ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ 1 ในอริยสัจจ์ 4) 3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา 5) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา 3) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือ ทุกข์กายและทุกข์ใจ


ทุกขเวทนา ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์,การเสวยอารมณ์ไม่สบาย


ทุกขสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เรียกสั้นๆว่า สมุทัย เรียกเต็มว่า ทุกข์สมุทัยอริยสัจจ์


ทุกขสัญญา ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์


สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา คือ ความทะยานอยาก เช่น อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่


นิโรธ ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน


ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ หมายถึงพระนิพพาน เรียกสั้นๆว่า นิโรธ เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธอริยสัจจ์


มรรค ทาง, หนทาง 1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ” เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ เป็นที่สุด 2 มรรค ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรมคู่กับผล

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด เรียกสั้นๆว่า มรรค เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

มรรคจิต จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 18:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b4:
อธิบายศัพท์ได้ดีสมกับความเป็นนักวิชาการ
อนุโมทนา
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา การกำหนดหมาย, ความจำได้หมายรู้ คือ หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่นทุเรียน รสมะปรางเป็นต้น และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก

มี 6 อย่าง ตามอารมณ์ที่หมายรู้นั้น เช่น รูปสัญญา หมายรู้รูป สัททสัญญา หมายรู้เสียง เป็นต้น ความหมายสามัญในภาษาบาลีว่าเครื่องหมาย ที่สังเกตความสำคัญว่าเป็นอย่างนั้นๆ,

ในภาษาไทยมักใช้หมายถึง ข้อตกลง, คำมั่น


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจหรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้วแม้นานได้

สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้, มักมาคู่กับสติ

สัมปชัญญะ ๔ ได้แก่
๑. สาตถกสัมปชัญญะ รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย

๒. สัปปายสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน

๓. โคจรสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน

๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน

สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆและความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจของกิเลส มี 4 อย่าง คือ

๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย

๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา

๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต

๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม,

เรียกสั้นๆว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

อธิบายศัพท์ได้ดีสมกับความเป็นนักวิชาการ
อนุโมทนา


สาธุที่เข้าใจ :b8:

ปอลอ. ถ้าท่านอโศกได้พบได้สนทนากับกรัชกายก่อนหน้าอย่างน้อยสัก 10 ปี คงถึงญาณ 16 จริงๆไม่ปลอมไปแล้ว :b1: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 20:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกาย วาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกาย วาจาและอาชีพ, มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา


สัมผัส ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖) ผัสสะ ก็เรียก


โสกะ ความโศก, ความเศร้า, ความมีใจหม่นไหม้, ความแห้งใจ, ความรู้สึกหมองไหม้ใจแห้งผาก เพราะประสบความพลัดพรากหรือสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง (บาลี โสก สันสกฤต โศก)


สมมติ,สมมุติ รู้ร่วมกัน, ตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน,
การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจหรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น
ในภาษาไทย ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า


สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์ เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือ ขันธ์ ๕ เท่านั้น ตรงข้าม กับ ปรมัตถสัจจะ


ปรมัตถสัจจะ จริงโดยปรมัตถ์ คือ ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2017, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์,

กิเลส 10 (ในบาลีเดิม เรียกว่ากิเลสวัตถุ คือสิ่งที่ก่อความเศร้าหมอง 10 ) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ

อนึ่งในอรรถกถา ท่านนิยมจำแนกกิเลสเป็น 3 ระดับ ตามลำดับขั้นของการละด้วยสิกขา 3 (เช่น วินย.อ. 1/22 ที.อ.1/19 สงฺคณี อ.23) คือ

1. วีติกกมกิเลส กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกาย และวาจา เช่น เป็นกายทุจริต และวจีทุจริต ละด้วยศีล (อธิศีลสิกขา)

2. ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสอย่างกลางที่พลุ่งขึ้นมาเร้ารุมอยู่ในจิตใจ ดังเช่น นิวรณ์ 5 ในกระณีที่จะข่มระงับไว้ ละด้วยสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

3. อนุสยกิเลส กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานอันยังไม่ถูกระตุ้นให้พลุ่งขึ้นมา ได้แก่ อนุสัย 7 ละด้วยปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)


กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี 2 อย่าง คือ
1. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่

2. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ 5


กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น


สังกิเลส ความเศร้าหมอง, ความสกปรก, สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ธรรมที่อยู่ในหานภาคคือในฝ่ายข้างเสื่อม ได้แก่ ธรรมจำพวกที่ทำให้ตกต่ำเสื่อมทราม เช่น อโยนิโสมนสิการ อคติ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อวิชชา ตรงข้ามกับ โวทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิด รู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น


วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานคือวิปัสสนา, งานเจริญปัญญา


วิปัสสนาปัญญา ปัญญาที่ถึงขั้นเป็นวิปัสสนา, ปัญญาที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเข้าใจสังขารตามความเป็นจริง


วิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนา


ภาวนา การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ, การพัฒนา, 1.การฝึกอบรมหรือการเจริญพัฒนา มี 2 อย่าง คือ

1. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตใจให้อยู่กับความดีงามเกิดความสงบ

2. วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมเจริญปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง,

อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น 2 เหมือนกันคือ

1. จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ

2. ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์


นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


นิพพิทา “ความหน่าย” หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าชายหญิงอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา, ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์

ภาษามคธ ภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ, ภาษาของชาวมคธ หมายถึงภาษาบาลี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 07:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

อธิบายศัพท์ได้ดีสมกับความเป็นนักวิชาการ
อนุโมทนา


สาธุที่เข้าใจ :b8:

ปอลอ. ถ้าท่านอโศกได้พบได้สนทนากับกรัชกายก่อนหน้าอย่างน้อยสัก 10 ปี คงถึงญาณ 16 จริงๆไม่ปลอมไปแล้ว :b1: :b13:

:b12:
คงไม่จำเป็นถึงขนาดต้องมาพึ่ง รู้ศัพท์แสงทางธรรมจากกรัชกายเสียก่อนจึงจะผ่านญาณ 16 ได้หรอกกระมัง

ศัพท์แสงที่กรัชกายยกมาแปะผมก็รู้ดีอยู่แลรู้ลึกซึ้งกว่านี้ด้วย

คำแปลชุดนี้ดีแต่บางคำยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ที่มาของคำ
ตัวอย่างเช่นคำแปลของคำว่า ศีล ยังแปลไม่ถึงที่ดี

ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา
สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ เขาจะมีธรรมชาติที่ไม่ล่วงศีลโดยธรรม คือล่วงไม่เป็นอย่างเช่นพระโสดาบันไม่ล่วงศีล 5 เป็นธรรมชาติ เป็นปกติของท่าน อย่างนั้นเป็นต้น

อย่างคำว่า "ปกติ" นี่ก็มีความหมายลึกซึ้งมากในทางปฏิบัติ
กรัชกายลองเอาความหมายของคำว่า "ปกติ" เท่าที่กรัชกายเข้าใจมาหรือค้นหาได้มาแสดงอีกสักคำสิแล้วจะวิเคราะห์ให้ฟังว่าคนแปลหรือให้ความหมายท่านนั้น ท่านแปลได้ถึงเนื้อธรรมของคำว่าปกติไหม?

wink


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

อธิบายศัพท์ได้ดีสมกับความเป็นนักวิชาการ
อนุโมทนา


สาธุที่เข้าใจ :b8:

ปอลอ. ถ้าท่านอโศกได้พบได้สนทนากับกรัชกายก่อนหน้าอย่างน้อยสัก 10 ปี คงถึงญาณ 16 จริงๆไม่ปลอมไปแล้ว :b1: :b13:

:b12:
[size=150]คงไม่จำเป็นถึงขนาดต้องมาพึ่ง รู้ศัพท์แสงทางธรรมจากกรัชกายเสียก่อนจึงจะผ่านญาณ 16 ได้หรอกกระมัง

ศัพท์แสงที่กรัชกายยกมาแปะผมก็รู้ดีอยู่แลรู้ลึกซึ้งกว่านี้ด้วย

คำแปลชุดนี้ดีแต่บางคำยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ที่มาของคำ
ตัวอย่างเช่นคำแปลของคำว่า ศีล ยังแปลไม่ถึงที่ดี

ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา
สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ เขาจะมีธรรมชาติที่ไม่ล่วงศีลโดยธรรม คือล่วงไม่เป็นอย่างเช่นพระโสดาบันไม่ล่วงศีล 5 เป็นธรรมชาติ เป็นปกติของท่าน อย่างนั้นเป็นต้น

อย่างคำว่า "ปกติ" นี่ก็มีความหมายลึกซึ้งมากในทางปฏิบัติ
กรัชกายลองเอาความหมายของคำว่า "ปกติ" เท่าที่กรัชกายเข้าใจมาหรือค้นหาได้มาแสดงอีกสักคำสิแล้วจะวิเคราะห์ให้ฟังว่าคนแปลหรือให้ความหมายท่านนั้น ท่านแปลได้ถึงเนื้อธรรมของคำว่าปกติไหม?


อ้างคำพูด:
ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ


นี่ไงที่อย่างว่า ยกเอาศัพท์เอาถ้อยคำของเขามาแล้วมาด้นมาเดาเอาเอง อิอิ

อ้างคำพูด:
คนมีศีลเป็นอธิในใจ


อธิ ได้แก่อะไรหรอ :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูป 1. สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย (จำแนกเป็น 28 รูปธรรมทั้งหมดในรูปขันธ์) 2. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ (ตา), สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (จักษุ) 3. ลักษณะนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร 5 รูป ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้องค์


นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1. ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ 4 นั่นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตรธรรมอื่นๆ) 3. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณี หมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย


นามกาย “กองแห่งนามธรรม” หมายถึงเจตสิกทั้งหลาย


รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่ รูปขันธ์ หรือ ร่างกาย


นามขันธ์ ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


รูปฌาน ฌานที่มีรูปธรรมเป็นอารมณ์


รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม คือ ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต


รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป, สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา (จักษุ)


รูปธรรม สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป


นามธรรม สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา (จักขุ) หู (โสต) จมูก (ฆาน) ลิ้น (ชิวหา) กาย (กาย) แต่รู้ได้ทางใจ (มโน)


นามรูป นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ (มโน) ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ทั้งหมด


นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม


นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น เรียกสั้นๆว่า ปริคคหญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทาน ความถือมั่น, ความยึดติดถือค้างถือคาไว้ (ปัจจุบันมักแปลกันว่า ความยึดมั่น) ไม่ปล่อยไม่วางตามควรแก่เหตุผล เนื่องจากติดใคร่ชอบใจ หรือใฝ่ปรารถนาอย่างแรง ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี 4 คือ

1. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม

2. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ

3. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต

4. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะของตน

ตามสำนวนทางธรรม ไม่ใช้คำว่า “ถือมั่น” หรือ “ยึดมั่น” กับความมั่นแน่วในทางที่ดีงาม แต่ใช้คำว่า “ตั้งมั่น” เช่น ตั้งมั่นในศีล ตั้งมั่นในธรรม ตั้งมั่นในสัจจะ
ในภาษาไทย มักใช้ “อุปาทาน” ในความหมายที่แคบลงมาว่า ยึดติดอยู่กับความนึกคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือจะต้องเป็นไปเช่นนั้นเช่นนี้


กามุปาทาน ความยึดติดถือมั่นในกาม ยึดถือว่าเป็นของเราหรือจะต้องเป็นเรา จนเป็นเหตุให้เกิดริษยาหรือหวงแหน ลุ่มหลง เข้าใจผิด ทำผิด


วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อกำหนดสำหรับควบคุมความประพฤติ ไม่ให้เสื่อมเสีย และฝึกฝนให้ประพฤติดีงามเป็นคุณเกื้อกูลยิ่งขึ้น วินัย มี ๒ อย่าง คือ

๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือ วินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ หรือโดยสาระ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔

๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจาก อกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 10:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

อธิบายศัพท์ได้ดีสมกับความเป็นนักวิชาการ
อนุโมทนา


สาธุที่เข้าใจ :b8:

ปอลอ. ถ้าท่านอโศกได้พบได้สนทนากับกรัชกายก่อนหน้าอย่างน้อยสัก 10 ปี คงถึงญาณ 16 จริงๆไม่ปลอมไปแล้ว :b1: :b13:

:b12:
คงไม่จำเป็นถึงขนาดต้องมาพึ่ง รู้ศัพท์แสงทางธรรมจากกรัชกายเสียก่อนจึงจะผ่านญาณ 16 ได้หรอกกระมัง

ศัพท์แสงที่กรัชกายยกมาแปะผมก็รู้ดีอยู่แลรู้ลึกซึ้งกว่านี้ด้วย

คำแปลชุดนี้ดีแต่บางคำยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ที่มาของคำ
ตัวอย่างเช่นคำแปลของคำว่า ศีล ยังแปลไม่ถึงที่ดี

ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา
สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ เขาจะมีธรรมชาติที่ไม่ล่วงศีลโดยธรรม คือล่วงไม่เป็นอย่างเช่นพระโสดาบันไม่ล่วงศีล 5 เป็นธรรมชาติ เป็นปกติของท่าน อย่างนั้นเป็นต้น

อย่างคำว่า "ปกติ" นี่ก็มีความหมายลึกซึ้งมากในทางปฏิบัติ
กรัชกายลองเอาความหมายของคำว่า "ปกติ" เท่าที่กรัชกายเข้าใจมาหรือค้นหาได้มาแสดงอีกสักคำสิแล้วจะวิเคราะห์ให้ฟังว่าคนแปลหรือให้ความหมายท่านนั้น ท่านแปลได้ถึงเนื้อธรรมของคำว่าปกติไหม?


อ้างคำพูด:
ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ


นี่ไงที่อย่างว่า ยกเอาศัพท์เอาถ้อยคำของเขามาแล้วมาด้นมาเดาเอาเอง อิอิ

อ้างคำพูด:
คนมีศีลเป็นอธิในใจ


อธิ ได้แก่อะไรหรอ :b10:

onion
ไปเปิดดูในตำราหลายๆเล่มหลายๆสำนวนจึงจะเจอ ศีล=ศิลา=ปกติ
:b34:
อธิ=อธิบดี=สตินทรีย์
:b38:
ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย [size=150]โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้น ...
:b41:
คำว่า ศีล แปลว่าอะไร ความหมาย ของศีลในเบื้องต้นท่านก็ให้ไว้หลายอย่าง แต่คำแปลที่ง่ายที่สุด ท่านแปลกันว่า ปกติ ก็เลยมีผู้นำเอาคำว่า ศีล มาอธิบายในความหมายว่า ปกติ คือ คนเราถ้ามีศีล ก็เรียกว่ารักษาปกติ หรือสภาพที่เป็นปกติของตนๆ เช่น เป็นพระเมื่อรักษาศีลของพระก็เรียกว่าเป็นการรักษาสภาพปกติของพระ ถ้าไม่ปฏิบัติตามศีลก็ไม่ใช่อยู่ในสภาพปกติของพระ กลายเป็นประพฤติเหมือนชาวบ้าน เป็นต้น แม้แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มีศีลของชาวบ้าน อย่างศีล ๕ ก็แสดงถึงความเป็นอยู่ปกติของคนทั่วไป หมายความว่าตามสภาพปกตินั้น คนเราก็ไม่ฆ่าแกงกัน ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน ไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินกันอย่างนี้ เป็นต้น เรียกว่าเป็นอยู่กันกันตามปกติ แต่เมื่อใดทำอะไรผิดแปลกขึ้นมาโดยละเมิดในสิ่งเล่านี้ มีการเบียดเบียนกันก็แสดงว่ามีอาการไม่ปกติเกิดขึ้น จากการทำไม่ปกติของบุคคลหนึ่ง ก็มีผลทำให้สังคมนี้ไม่ปกติ

ความปกตินั้นรวมไปถึงการอยู่อย่างสบายๆ มีความสุขซึ่งเป็นภาวะทีสงบ แต่ถ้ามีการละเมิดศีลขึ้นมาก็ไม่เป็นปกติสุข ไม่เรียบร้อย ก็เกิดความวุ่นวายสูญเสียความสงบ แต่ภาวะที่ไม่ปกติอย่างนั้นมันก็เริ่มมาจากจิตใจคน ก่อนที่จะแสดงออกภายนอกไม่ปกติ จิตใจก็ไม่ปกติ ถ้าจิตใจปกติก็อยู่เรื่อยๆ ไปตามธรรมดา ความคิดนึกทำอะไร ก็ดำเนินไปตามเรื่อง ในชีวิตประจำวัน แต่พอเกิดความโลภนั้น เช่น ไปลักของเขา นี้ก็ทำผิดปกติออกมาภายนอก หรือมีความโกรธ จิตใจก็ผิดปกติ เมื่อทำตามจิตใจที่ไม่ปกตินั้น ก็ไปฆ่าฟันเบียดเบียนคนอื่น ทำร้ายเขาก็เกิดความไม่ปกติขึ้นในความประพฤติของตน แล้วขยายความผิดปกติออกไปในหมู่ชนในสังคมเรื่อยไป ท่านก็เลยให้ความหมายของศีลในแง่หนึ่งว่า เป็นความปกติ

การมีศีลทำให้มนุษย์ได้อยู่กันเป็นปกติ เพราะแต่ละคนๆ ก็รักษาสภาพปกติของตน เมื่ออยู่เป็นปกติ จิตใจเป็นปกติแล้ว ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไร จะคิดนึกในสิ่งทั้งหลายก็จะทำได้ราบรื่นดี แต่ถ้าจิตใจไม่ปกติ พูดและทำผิดปกติแล้ว ก็จะเกิดความขัดแย้ง ปั่นป่วนวุ่นวาย จะไปคิดทำการทำงานอะไรที่เป็นไปในทางที่ดีงาม ก็เป็นไปได้ยาก มีแต่จะนำไปสู่ความทุกข์ อันนี้ก็เป็นความหมายหนึ่งของคำว่า ศีล
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูป เป็นต้น เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น


สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นต้น นั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว


โสดาบัน ผู้ถึงกระแสที่จะนำไปสู่พระนิพพาน, พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล


สังขตะ สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยแต่งขึ้น ได้แก่ สภาพที่เกิดแต่เหตุทั้งปวง, สังขตธรรม ตรงข้ามกับ อสังขตะ


สังขตธรรม ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ตรงกับสังขารในคำว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น


อสังขตธรรม ธรรมอันมิได้ถูกปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน


อสังขาริก “ไม่เป็นไปกับด้วยการชักนำ” ไม่มีการชักนำ ใช้แก่ จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูงจากภายนอก มิใช่เริ่มขึ้นเอง จึงมีกำลังอ่อน


สสังขาริก “เป็นไปกับด้วยการชักนำ” มีการชักนำ ใช้แก่ จิตที่คิดดีหรือชั่วโดยเริ่มขึ้นเอง มิใช่ถูกกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก จึงมีกำลังมาก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ม.ค. 2017, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

อธิบายศัพท์ได้ดีสมกับความเป็นนักวิชาการ
อนุโมทนา


สาธุที่เข้าใจ :b8:

ปอลอ. ถ้าท่านอโศกได้พบได้สนทนากับกรัชกายก่อนหน้าอย่างน้อยสัก 10 ปี คงถึงญาณ 16 จริงๆไม่ปลอมไปแล้ว :b1: :b13:

:b12:
คงไม่จำเป็นถึงขนาดต้องมาพึ่ง รู้ศัพท์แสงทางธรรมจากกรัชกายเสียก่อนจึงจะผ่านญาณ 16 ได้หรอกกระมัง

ศัพท์แสงที่กรัชกายยกมาแปะผมก็รู้ดีอยู่แลรู้ลึกซึ้งกว่านี้ด้วย

คำแปลชุดนี้ดีแต่บางคำยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ที่มาของคำ
ตัวอย่างเช่นคำแปลของคำว่า ศีล ยังแปลไม่ถึงที่ดี

ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา
สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ เขาจะมีธรรมชาติที่ไม่ล่วงศีลโดยธรรม คือล่วงไม่เป็นอย่างเช่นพระโสดาบันไม่ล่วงศีล 5 เป็นธรรมชาติ เป็นปกติของท่าน อย่างนั้นเป็นต้น

อย่างคำว่า "ปกติ" นี่ก็มีความหมายลึกซึ้งมากในทางปฏิบัติ
กรัชกายลองเอาความหมายของคำว่า "ปกติ" เท่าที่กรัชกายเข้าใจมาหรือค้นหาได้มาแสดงอีกสักคำสิแล้วจะวิเคราะห์ให้ฟังว่าคนแปลหรือให้ความหมายท่านนั้น ท่านแปลได้ถึงเนื้อธรรมของคำว่าปกติไหม?


อ้างคำพูด:
ศีล อีกความหมายหนึ่งแปลว่า ปกติ มั่นคงเหมือนศิลา สภาวะของคนที่มีศีลเป็นอธิในใจ


นี่ไงที่อย่างว่า ยกเอาศัพท์เอาถ้อยคำของเขามาแล้วมาด้นมาเดาเอาเอง อิอิ

อ้างคำพูด:
คนมีศีลเป็นอธิในใจ


อธิ ได้แก่อะไรหรอ :b10:

onion
ไปเปิดดูในตำราหลายๆเล่มหลายๆสำนวนจึงจะเจอ ศีล=ศิลา=ปกติ
:b34:
อธิ=อธิบดี=สตินทรีย์
:b38:
ความหมายของศีลนั้นแปลได้หลายความหมาย [size=150]โดยศัพท์แปลว่า ความปกติกายวาจา กล่าวคือความปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ และยังมักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า "อธิศีลสิกขา" อันได้แก่ข้อปฏิบัติขั้นต้น ...
:b41:
คำว่า ศีล แปลว่าอะไร ความหมาย ของศีลในเบื้องต้นท่านก็ให้ไว้หลายอย่าง แต่คำแปลที่ง่ายที่สุด ท่านแปลกันว่า ปกติ ก็เลยมีผู้นำเอาคำว่า ศีล มาอธิบายในความหมายว่า ปกติ คือ คนเราถ้ามีศีล ก็เรียกว่ารักษาปกติ หรือสภาพที่เป็นปกติของตนๆ เช่น เป็นพระเมื่อรักษาศีลของพระก็เรียกว่าเป็นการรักษาสภาพปกติของพระ ถ้าไม่ปฏิบัติตามศีลก็ไม่ใช่อยู่ในสภาพปกติของพระ กลายเป็นประพฤติเหมือนชาวบ้าน เป็นต้น แม้แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มีศีลของชาวบ้าน อย่างศีล ๕ ก็แสดงถึงความเป็นอยู่ปกติของคนทั่วไป หมายความว่าตามสภาพปกตินั้น คนเราก็ไม่ฆ่าแกงกัน ไม่เบียดเบียนทำร้ายกัน ไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินกันอย่างนี้ เป็นต้น เรียกว่าเป็นอยู่กันกันตามปกติ แต่เมื่อใดทำอะไรผิดแปลกขึ้นมาโดยละเมิดในสิ่งเล่านี้ มีการเบียดเบียนกันก็แสดงว่ามีอาการไม่ปกติเกิดขึ้น จากการทำไม่ปกติของบุคคลหนึ่ง ก็มีผลทำให้สังคมนี้ไม่ปกติ

ความปกตินั้นรวมไปถึงการอยู่อย่างสบายๆ มีความสุขซึ่งเป็นภาวะทีสงบ แต่ถ้ามีการละเมิดศีลขึ้นมาก็ไม่เป็นปกติสุข ไม่เรียบร้อย ก็เกิดความวุ่นวายสูญเสียความสงบ แต่ภาวะที่ไม่ปกติอย่างนั้นมันก็เริ่มมาจากจิตใจคน ก่อนที่จะแสดงออกภายนอกไม่ปกติ จิตใจก็ไม่ปกติ ถ้าจิตใจปกติก็อยู่เรื่อยๆ ไปตามธรรมดา ความคิดนึกทำอะไร ก็ดำเนินไปตามเรื่อง ในชีวิตประจำวัน แต่พอเกิดความโลภนั้น เช่น ไปลักของเขา นี้ก็ทำผิดปกติออกมาภายนอก หรือมีความโกรธ จิตใจก็ผิดปกติ เมื่อทำตามจิตใจที่ไม่ปกตินั้น ก็ไปฆ่าฟันเบียดเบียนคนอื่น ทำร้ายเขาก็เกิดความไม่ปกติขึ้นในความประพฤติของตน แล้วขยายความผิดปกติออกไปในหมู่ชนในสังคมเรื่อยไป ท่านก็เลยให้ความหมายของศีลในแง่หนึ่งว่า เป็นความปกติ

การมีศีลทำให้มนุษย์ได้อยู่กันเป็นปกติ เพราะแต่ละคนๆ ก็รักษาสภาพปกติของตน เมื่ออยู่เป็นปกติ จิตใจเป็นปกติแล้ว ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไร จะคิดนึกในสิ่งทั้งหลายก็จะทำได้ราบรื่นดี แต่ถ้าจิตใจไม่ปกติ พูดและทำผิดปกติแล้ว ก็จะเกิดความขัดแย้ง ปั่นป่วนวุ่นวาย จะไปคิดทำการทำงานอะไรที่เป็นไปในทางที่ดีงาม ก็เป็นไปได้ยาก มีแต่จะนำไปสู่ความทุกข์ อันนี้ก็เป็นความหมายหนึ่งของคำว่า ศีล
onion


อ้างคำพูด:
ไปเปิดดูในตำราหลายๆเล่มหลายๆสำนวนจึงจะเจอ ศีล=ศิลา=ปกติ

อธิ=อธิบดี=สตินทรีย์


บอกนับครั้งไม่ถ้วนแล้วว่า ไปเอาศัพท์แสงของเขามา แล้วก็ด้นเดามโนนึกเอาเอง ศีล = ก้อนหิน (ศิลา) อิอิ

เอาเข้าไปพ่อมหาจำเริญ กู่ไม่กลับแล้ว

(อธิสีลสิกขา) อธิ เท่ากับอธิบดี เท่ากับสตินทรีย์เข้าไปอีก เออ เอาเข้าไป คิกๆๆ

เอ๊ะ ถ้ายังงั้น อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา จะว่ายังไงทีนี้ :b32:

นี่แหละยาน 16 ของปลอม อยากได้อะไร อยากรู้อะไรก็เอาศัพท์เขามาแล้วก็คิดว่าข้าได้นั่นนี่แล้ว เออ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร