วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 06:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2020, 12:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1128

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใส่ดีใส่กล้องเดินทางหลายพันตัว​ ใส่ร้ายริษยาแค้นทุกข์ฉิบหายหลายล้านเท่า​ เพราะไม่เอาใส่ดีรู้ทันจะคิดดับๆ​

เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา​ ถ้ารู้ทันก็พ้นทุกข์​ (จุ๊บๆ)​

จากสายสืบนิสัยศาสตร์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2020, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แปะ กท. "ยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น" (ยึด ความคิด (ที่คิด) ว่า เราไม่ยึด) :b1:

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56022

นิดหน่อย เช่น

ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น


กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ อาจเรียกชื่อตามองค์ธรรมที่เป็นตัวการสำคัญว่า กระบวนการฝ่าย อวิชชา ตัณหา

ส่วนกระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ ก็อาจเรียกชื่อตามองค์ธรรมที่สำคัญว่า กระบวนการฝ่าย วิชชา วิมุตติ
ถ้าเรียกอย่างง่ายๆ ฝ่ายแรก คือ ไม่รู้ จึงติด ฝ่ายหลังเป็น พอรู้ ก็หลุด


ในฝ่ายอวิชชา - ตัณหา องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาเข้าไป หรือ นำไปสู่ชาติภพ ก็ คือ อุปาทาน ที่แปลว่า ความถือมั่น ความยึดมั่นหรือความยึดติดถือมั่น
ส่วนในฝ่าย วิชชา -วิมุตติ องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาออกไป หรือ เป็นจุดแยกออกจากสังสารวัฏ ได้แก่ นิพพิทา แปลกันว่า ความหน่าย คือ หมดใคร่ หายอยาก หรือ หายติด องค์ธรรมฝ่ายนี้ มาจับคู่ตรงข้ามกัน เป็นอุปาทาน กับ นิพพิทา


อุปาทานเกิดจากอวิชชา ที่ไม่รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะที่แท้จริง เปิดทางให้ตัณหาอยากได้ใคร่จะเอามาครอบครองเสพเสวย แล้วเอาตัวตนเข้าผูกพันถือมั่นถือ หมายว่า ต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ที่เรียกว่า อุปาทาน


ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจ สิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะว่ามีข้อเสียข้อบกพร่อง ไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่า และไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้ แล้วเกิดความหน่าย หมดความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย

จะเห็นว่า อุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ

ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้ เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ข้อที่พึงย้ำในที่นี้ก็คือ การที่นิพพิทาจะเกิดขึ้น หรือ การที่จะถอนทำลายอุปาทานได้นั้น เป็นเรื่องที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้ว นิพพิทาก็เกิดเอง อุปาทานก็หมดไปเอง เป็นเรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย หรือ ภาวะที่เป็นไปเอง ตามเหตุปัจจัยของมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร