วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 10:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้ยกขึ้นพูด

อ้างคำพูด:
"วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง" เอาออกเสียให้ได้ ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก (โลกย์) โลกในที่นี่คือผัสสะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


viewtopic.php?f=1&t=52250&start=195

มีต้นสายปลายเหตุมาจากไหน จริงๆเป็นยังไง ตามดู ดู :b14: อยู่ๆโผล่มายังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การที่สติเข้าไปตั้งอยู่ คือมีสติกำกับอยู่บ้าง ฯลฯ ว่าโดยหลักการก็ คือ การใช้สติ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิดผลดีที่สุด ดังความแห่งพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน ๔"*
(*ที.ม.10/273/245 ฯลฯ)


การเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว ผู้ปฏิบัติอาจเจริญสมถะจนได้ฌาน อย่างที่จะกล่าวถึงในเรื่องสัมมาสมาธิอันเป็นองค์มรรคข้อที่ ๘ ก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐานไปจนถึงที่สุดก็ได้ หรือจะอาศัยสมาธิเพียงขั้นต้นๆ เท่าที่จำเป็นมาประกอบ เจริญวิปัสสนาเป็นตัวนำตามแนวสติปัฏฐานนี้ ไปจนถึงที่สุดก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับที่มีความเข้าใจไขว้เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจตามสมควร

จากการศึกษาคร่าวๆ ในเรื่องสติปัฏฐานต่อไปนี้ จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในความหมายของวิปัสสนาดี ขึ้น ทั้งในแง่สาระสำคัญ ขอบเขตความกว้างขวาง และความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ ตลอดจนโอกาสที่จะฝึกฝนปฏิบัติ โดยสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ว่าเป็นไปได้ และมีประโยชน์เพียงใด เป็นต้น


อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ไม่ได้มุ่งศึกษาเรื่องวิปัสสนาโดยตรง คงมุ่งเพียงให้เข้าใจวิปัสสนา เท่าที่มองเห็นได้จากสาระสำคัญของสติปัฏฐานเท่านั้น

สติปัฏฐาน ๔ มีใจความโดยสังเขป คือ

1. กายานุปัสสนา การพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย

1. 1 อานาปานสติ คือไปในที่สงัด นั่งขัดสมาธิ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยอาการต่างๆ
1.2 กำหนดอิริยาบถ คือ เมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือร่างกายอยู่ในอาการอย่างไร ๆ ก็รู้ชัดในอาการ ที่เป็นอยู่นั้นๆ
1.3 สัมปชัญญะ คือ สร้างสัมปชัญญะในการกระทำทุกอย่าง และความเคลื่อนไหวทุกอย่าง เช่นการก้าวเดิน การเหลียวมอง การเหยียดมือ นุ่งห่มผ้า กิน ดื่ม เคี้ยว ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะการตื่น การหลับ การพูด การนิ่ง เป็นต้น
1.4 ปฏิกูลมนสิการ คือ พิจารณาร่างกายของตนตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้าซึ่งมีส่วนประกอบที่ไม่สะอาด ต่างๆ มากมายมารวมๆ อยู่ด้วยกัน
1.5 ธาตุมนสิการ คือ พิจารณากายของตน โดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ
1.6 นวสีวถิกา คือ มองเห็นศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ กัน โดยระยะเวลา 9 ระยะ ตั้งแต่ตาย ใหม่ๆ ไปจนถึงกระดูกผุ แล้วในแต่ละกรณีนั้น ให้ย้อนมานึกถึงร่างกายของตนว่าก็จะต้องเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

2. เวทนานุปัสสนา การตามดูรู้ทันเวทนา คือ เมื่อเกิดรู้สึกสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดีทั้งที่เป็นชนิดสามิส และนิรามิส ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ

3. จิตตานุปัสสนา การตามดูรู้ทันจิต คือ จิตของตนในขณะนั้นๆ เป็นอย่างไร เช่น มี ราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ ฟุ้งซ่านเป็นสมาธิ หลุดพ้น ยังไม่หลุดพ้นฯลฯ ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ ในขณะนั้นๆ

4. ธัมมานุปัสสนา การตามดูรู้ทันธรรม คือ

4.1 นิวรณ์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า นิวรณ์ 5 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้วไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปอย่างไร รู้ชัดตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆ
4.2 ขันธ์ คือ กำหนดรู้ว่าขันธ์ 5 แต่ละอย่าง คือ อะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ดับไปได้อย่างไร
4.3 อายตนะ คือ รู้ชัดในอายตนะภายใน ภายนอกแต่ละอย่างๆ รู้ชัดในสัญโญชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะนั้นๆ รู้ชัดว่า สัญโญชน์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ละเสียได้อย่างไร ที่ละได้แล้ว ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปอย่างไร
4.4 โพชฌงค์ คือ รู้ชัดในขณะนั้นๆ ว่า โพชฌงค์ 7 แต่ละอย่างๆ มีอยู่ในใจตนหรือไม่ ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้อย่างไร ที่เกิดขึ้นแล้วเจริญเต็มบริบูรณ์ได้อย่างไร
4.5 อริยสัจ คือ รู้ชัดอริยสัจ 4 แต่ละอย่างๆ ตามความเป็นจริง ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร

ในตอนท้ายของทุกข้อที่กล่าวนี้ มีข้อความอย่างเดียวกันว่า

“ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายใน (= ของตนเอง) อยู่บ้าง ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย ภายนอก (=ของคนอื่น) อยู่บ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอก อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไปในกาย อยู่บ้าง


“ก็แล เธอมีสติดำรงต่อหน้าว่า “มีกายอยู่” เพียงแค่เพื่อความรู้ เพียงแค่เพื่อความระลึก แลเธอเป็นอยู่อย่างไม่อิงอาศัย ไม่ถือมั่นสิ่งใดๆในโลก” *

........

*คำว่า "กาย" เปลี่ยนเป็น เวทนา จิต และธรรม ตามกรณี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาระสำคัญของสติปัฏฐาน

จากใจความย่อของสติปัฏฐานที่แสดงไว้แล้วนั้น จะเห็นว่า สติปัฏฐาน (รวม ทั้งวิปัสสนาด้วย) ไม่ใช่หลักการที่จำกัดว่าจะต้องปลีกตัวหลบลี้ไปนั่งปฏิบัติอยู่นอกสังคม หรือจำเพาะในกาลเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเหตุนี้ จึงมีการสนับสนุนให้นำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันทั่วไป


ว่าโดยสาระสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ บอกให้รู้ว่า ชีวิตของเรานี้ มีจุดที่ควรใช้สติคอยกำกับดูแลทั้งหมด เพียง ๔ แห่งเท่านั้นเอง คือ
๑ ร่างกายและพฤติกรรมของมัน

๒ เวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ต่างๆ

๓ ภาวะจิตที่เป็นไปต่างๆ

๔ ความคิดนึกไตร่ตรอง ถ้า ดำเนินชีวิตโดยมีสติคุ้มครอง ณ จุดทั้งสี่แล้ว ก็จะช่วยให้เป็นอยู่อย่างปลอดภัย ไร้ทุกข์ มีความสุขผ่องใส และเป็นปฏิปทานำไปสู่ความรู้แจ้งอริยสัจธรรม


จากข้อความ ในคำแสดงสติปัฏฐานแต่ละข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่าในเวลาปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ใช้สติเพียงอย่างเดียว แต่มีธรรมข้ออื่นๆ ควบอยู่ด้วย ธรรมที่ไม่บ่งถึงไว้ ก็คือ “สมาธิ” ซึ่งจะมีอยู่ด้วยอย่างน้อยในขั้นอ่อนๆ (เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ อยู่ในระดับระหว่างขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ) ส่วนธรรมที่ระบุไว้ด้วย ได้แก่

1. อาตาปี = มีความเพียร (ได้แก่ องค์มรรคข้อ 6 คือ สัมมาวายามะ ซึ่งหมายถึงเพียรระวัง และละความชั่ว กับเพียรสร้างและรักษาความดี)

2. สัมปชาโน = มีสัมปชัญญะ (คือ ตัวปัญญา)

3. สติมา = มีสติ (หมายถึง ตัวสตินี้เอง)


ข้อพึงสังเกต คือ สัมปชาโน ซึ่งแปลว่า มีสัมปชัญญะ จะเห็นว่า สัมปชัญญะ คือปัญญานี้ จะเห็นได้ว่า เป็นธรรมที่มักปรากฏควบคู่กับสติ
สำหรับที่นี้คือบอกว่า การฝึกในเรื่องสตินี้ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาปัญญานั่นเอง


สัมปชัญญะ หรือ ปัญญา ก็คือ ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักชัดในสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้น หรือต่อการกระทำในกรณีนั้นว่า มีความมุ่งหมายอย่างไร สิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไร พึงปฏิบัติต่อมันอย่างไร และไม่เกิดความหลง หรือความเข้าใจผิด ใดๆ ขึ้นมาในกรณีนั้นๆ


ข้อความต่อไปที่ว่า "ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก" แสดงถึงท่าทีเป็นผลจากการมีสติสัมปชัญญะว่า เป็นกลาง เป็นอิสระ ไม่ถูกกิเลสผูกพัน ทั้งในแง่ติดใจอยากได้ และขัดเคืองเสียใจ ในกรณีนั้นๆ


ข้อความต่อท้าย เหมือนๆกันของทุกข้อที่ว่า มองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไป แสดงถึงการเข้าใจตามหลักไตรลักษณ์
จากนั้น จึงมีทัศนคติที่เป็นผลเกิดขึ้น คือ การมองและรู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้น ตามภาวะของมันเอง เช่นที่ว่า "มีกายอยู่" เป็นต้น ก็หมายถึงรับรู้ความจริงของสิ่งนั้นตามที่เป็นอย่างนั้นของมันเอง โดยไม่เอาความรู้สึกสมมติ และยึดมั่นต่างๆ เข้าไปสวมใส่ให้มัน ว่าเป็นคน เป็นตัวตน เป็นเขา เป็นเรา หรือกายของเรา เป็นต้น
ท่าทีอย่างนี้ จึงเป็นท่าที่ของความเป็นอิสระ ไม่อิงอาศัย คือไม่ขึ้นต่อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ที่เป็นปัจจัยภายนอกและไม่ยึดมั่นสิ่งต่างๆ ในโลกด้วยตัณหาอุปาทาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกบาลีที่สำคัญมาแปล และแสดงความหมายไว้ โดยย่อ ดังนี้


กาเย กายานุปสฺสี แปลว่า "พิจารณาเห็นกายในกาย" นี้เป็นคำแปลตามแบบที่คุ้นๆกัน ซึ่งต้องระวังความเข้าใจไม่ให้เขว แต่ก็พึงเห็นใจท่านที่พยายามแปลกันมา เพราะบางคำบางข้อความนั้น จะหาถ้อยคำที่สื่อความหมายให้ตรงและชัดได้แสนยาก


ความหมายของข้อความนี้ก็คือ มองเห็นโดยรู้เข้าใจทันความจริงทุกขณะหรือตลอดตลอดเวลา เห็นกายในกาย คือ มองเห็นในกาย ว่าเป็นกาย หมายความว่า
มองเห็นกายตามสภาวะ ซึ่งเป็นที่ประชุม หรือประกอบกันเข้าแห่งส่วนประกอบ คืออวัยวะน้อยใหญ่ต่างๆ เห็นตรงความจริง และเห็นแค่ที่เป็นจริง
ไม่ใช่มองเห็นกาย เป็นเขา เป็นเรา เป็นนายนั่นนายนี่ เป็นของฉัน ของคนนั้นคนนี้ หรือในผมในขน ในหน้าตา เห็นเป็นชายนั้น หญิงนี้ เป็นต้น


เป็นอันว่า เห็นตรงตามความจริง ตรงตามสภาวะ ให้สิ่งที่ดู ตรงกันกับสิ่งที่เห็น คือ ดูกาย ก็เห็นกาย ไม่ใช่ดูกาย ไพล่ไปเห็นนาย ก. บ้าง ดูกาย ไพล่ไปเห็นคนชัง บ้าง ดูกาย ไพล่เห็นเป็นของชอบ อยากชม บ้าง เป็นต้น เข้าคติคำของโบราณาจารย์ว่า “สิ่งที่ดู มองไม่เห็น ไพล่ไปเห็นสิ่งที่ไม่ได้ดู เมื่อไม่เห็น ก็หลงติดกับ เมื่อติดอยู่ ก็พ้นไปไม่ได้”


อาตาปี สัมปชาโน สติมา แปลว่า "มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ" ได้แก่ มีสัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสติ ซึ่งเป็นองค์มรรคประจำ 3 ข้อ ที่ต้องใช้ควบไปด้วยกันเสมอ ในการเจริญองค์มรรคทั้งหลายทุกข้อ *


ความเพียรคอยหนุนเร้าจิต ไม่ให้ย่อท้อหดหู่ ไม่ให้รีรอ ล้า หรือถอยหลัง จึงไม่เปิดช่องให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่เป็นแรง เร่งให้จิตเดินรุดหน้าไป หนุนให้กุศลธรรมต่างๆ เจริญยิ่งขึ้น


สัมปชัญญะ คือ ปัญญา ที่พิจารณา และรู้เท่าทันอารมณ์ที่สติกำหนด ทำให้ไม่หลงใหลไปได้ และเข้าใจถูกต้องตามสภาวะที่เป็นจริง


สติ คือ การกำหนด หมายตัว คอยจับอารมณ์ไว้ ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน


วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ แปลอย่างสำนวนเก่าว่า กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ คือปลอดไร้ความยินดียินร้ายชอบชัง หมายความว่า เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ จิตใจก็จะปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีทั้งความติดใจอยากได้ และ ความขัดใจเสียใจ เข้ามาครอบงำรบกวน


อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปฏิสฺสติมตฺตาย แปลว่า เธอมีสติดำรงตรงหน้า หรือมีสติพร้อมหน้ากับความรู้ว่า "กายมีอยู่" หรือมีกายเป็นกาย เพียงเพื่อเป็นความรู้ และแค่สำหรับระลึกเท่านั้น คือ มีสติตรงชัดต่อความจริงว่า แค่ที่ว่า มีกายเป็นกาย ไม่ใช่เลยไปเป็นสัตว์ บุคคล หญิง ชาย ตัวตน ของตน ของเขา ของใคร เป็นต้น ทั้งนี้เพียงเพื่อเป็นความรู้ และสำหรับใช้ระลึก คือ เพื่อเจริญสติสัมปชัญญะ หรือ เพื่อให้สติปัญญาเจริญเพิ่มพูน มิใช่เพื่อจะคิดฟุ้งเฟ้อละเมอฝัน ปรุงแต่งฟ่ามเฝือไป

แม้ในเวทนา ในจิต และในธรรม ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกันนี้


อนิสฺสิโต จ วิหรติ แปลว่า และเธอเป็นอยู่ไม่อิงอาศัย คือ มีใจเป็นอิสระ ไม่ขึ้น ต่อสิ่งใด ไม่ต้องเอาใจไปฝากไว้กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ บุคคลนั้นบุคคลนี้ เป็นต้น ว่าตามหลัก คือ ไม่ต้องเอาตัณหาและทิฐิเป็นที่อิง อาศัย หรือ ไม่ต้องขึ้นต่อตัณหาและทิฐินั้น เช่น เมื่อรับรู้ประสบการณ์ต่างๆ ก็ รับรู้โดยตรงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ไม่ต้องอิงอาศัยตัณหา และทิฐิมาช่วยวาดภาพ ระบายสี เสริมแต่ง และกล่อมให้เคลิ้มไป ต่างๆ โดยฝากความคิดนึก จินตนาการ และสุขทุกข์ไว้กับตัณหาและทิฐินั้น เป็นต้น

น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ แปลว่า อีกทั้งไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก คือ ไม่ยึดติดถือมั่นสิ่งใดๆ ไม่ว่า จะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญญาณว่า เป็นอัตตา หรืออัตตนียา เช่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน เป็นต้น


อชฺฌตฺตํ วา...พหิทฺธา วา...แปลว่า...ภายในบ้าง...ภายนอกบ้าง

ข้อความนี้ อาจารย์หลายท่านอธิบายกันไปต่างๆ แต่มติของอรรถกถาทั้งหลายลงกันว่า "ภายใน" หมายถึง ของตนเอง "ภายนอก" คือ ของผู้อื่น มติของอรรถกถานี้ สอดคล้องกับบาลีแห่งพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขยายความไว้ชัดแจ้ง เช่นว่า "ภิกษุตามเห็นจิตในจิต ภายนอก อยู่อย่างไร ? ในข้อนี้ ภิกษุ เมื่อจิตของผู้นั้น มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของผู้นั้นมีราคะ ฯลฯ" * (*อภิ.วิ.35/445-7/263-5)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 19:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน *

* ที.อ.2/472/ ม.อ.1/333 วิภงฺ. อ. 284

* ข้อความว่า "กายในกาย" นี้ อรรถกถาอธิบายไว้ถึง ๔-๕ นัย โดยเฉพาะชี้ถึงความมุ่งหมาย เช่น ให้กำหนดโดยไม่สับสนกัน คือ ตามดูกายในกาย ไม่ใช่ตามดูเวทนา หรือจิต หรือธรรม

ในกาย อีกอย่างหนึ่งว่า ตามดูกายส่วนย่อย ในกายส่วนใหญ่ คือตามดูกายแต่ละส่วนๆ ในกายที่เป็นส่วนรวมนั้น เป็นการแยกออกดูไปทีละอย่าง จนมองเห็นว่าทั้งหมดนั้นไม่มีอะไร นอกจากเป็นที่รวมของส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป ไม่มี นาย ก. นาง ข. เป็นต้น เป็นการวิเคราะห์หน่อยรวมออก หรือคลี่คลายความเป็นกลุ่มก้อน เหมือนกับลอกใบกล้วยและกาบกล้วย ออกจากต้นกล้วย จนไม่เห็นมีต้นกล้วย ดังนี้เป็นต้น

(เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2016, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางท่านอาจสงสัยว่า ควร หรือที่จะเที่ยวสอดแทรกตามสืบดูความเป็นไปในกาย ใจของคนอื่น และจะรู้ตามเป็นจริงได้อย่างไร เรื่องนี้ขอให้เข้าใจเพียงง่ายๆว่า ท่านมุ่งให้เราใช้สติกับสิ่งทั้งหลายทุกอย่างที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง และกำหนดรู้เพียงแค่ที่มันเป็น


เป็นการแน่นอนว่า ในชีวิตประจำวัน เราจะต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นๆ เมื่อเราเกี่ยวข้องกับเขา ก็พึงเกี่ยวข้องโดยมีสติ รู้เขาตามที่เขาเป็น และตามที่ประจักษ์แก่ เราเท่านั้น คือ รู้ตรงไปตรงมา แค่ที่รู้เห็นเกี่ยวข้องแค่ไหนก็แค่นั้น (ถ้ามีญาณหยั่งรู้จิตใจของเขา ก็รู้ตรงไปตรงมาเท่าที่ญาณนั้นรู้ ถ้าไม่มีญาณ ก็ไม่ต้องไปสอดรู้) จะได้ไม่คิดปรุงแต่งวุ่นวายไปเกี่ยวกับคนอื่น ทำให้เกิดราคะบ้าง โทสะบ้าง เป็นต้น
ถ้าไม่รู้ หรือ ไม่ได้เกี่ยวข้องก็แล้วไป มิได้หมายความว่า จะให้คอยสืบสอดตามดูพฤติการณ์ทางกายใจของผู้อื่นแต่ประการใด


ในทางตรงข้าม เวลาไปพูดกับคนอื่น เขามีอาการโกรธ ก็ไม่รู้ว่าเขาโกรธ แล้วจะมาบอกว่าปฏิบัติสติ-ปัฏฐานได้อย่างไร และสติปัฏฐานจะใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร


อาจพูดสรุปได้แนวหนึ่งว่า การเจริญสติปัฏฐาน คือการเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ซึ่งทำให้ภาพตัวตนที่จิตอวิชชาปั้นแต่ง ไม่มีช่องที่จะแทรกตัวเข้ามาในความคิดแล้วก่อปัญหาขึ้นได้


การปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐานนี้ นักศึกษาฝ่ายตะวันตกบางท่าน นำไปเปรียบเทียบกับวิธีการแบบจิต วิเคราะห์ ของจิตแพทย์ (Psychiatrist) สมัยปัจจุบัน และ
ประเมินคุณค่าว่า สติปัฏฐานได้ผลดีกว่า และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางกว่า เพราะทุกคนสามารถปฏิบัติได้เอง และใช้ในยามปรกติ เพื่อความมีสุขภาพจิตที่ดีได้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับคนมีพื้นฐาน

รูปภาพ

กระบวนการปฏิบัติ

๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติ นี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยสังเกต ตามดูรู้ทัน) กับ ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกสังเกต ตามดูรู้ทัน)

ก. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ คือ สภาวะที่ถูกมอง หรือถูกตามดูรู้ทัน ได้แก่ สิ่งธรรมดาสามัญ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่กับตัวของทุกคนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิด ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน คือกำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ


ข. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ องค์ธรรมที่ถึง ที่ทันอยู่ต่อหน้ากับสิ่งนั้นๆ ไม่คลาดคลา ไม่ทิ้งไป คอยตามดูรู้ทัน เป็นองค์ธรรมของสติ ปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ


สติเป็นตัวดึงตัวเกาะจับสิ่งที่จะมองจะดูจะรู้เอาไว้ สัมปชัญญะ คือปัญญา ที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการ ที่ถูกมอง หรือตามดูนั้น โดย ตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น ขณะ เดิน ก็มีสติให้ใจอยู่พร้อมหน้ากับการเดิน และมีสัมปชัญญะที่ รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดินไปไหน อย่างไร เพื่ออะไร รู้ตระหนักภาวะและสภาพของผู้เดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องในการเดินนั้น เป็นต้น เข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความ รู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ เป็นต้น ของตน เข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

รูปภาพ


มีข้อควรระวังที่ควรย้ำไว้ เกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่อาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้ กล่าวคือ บางคนเข้าใจความหมายของคำแปล “สติ” ที่ว่าระลึกได้ และ “สัมปชัญญะ” ที่ว่า รู้ตัว ผิดพลาดไป โดยเอาสติมากำหนดนึกถึงตนเอง และรู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา แล้วจิตก็ไปจดจ่ออยู่กับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรืออย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป


สำหรับคนที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ หรือคุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ และมองความหมายของสัมปชัญญะในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าเราทำนั่นทำนี่) ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ) ไม่ใช่นึกถึงตัวตน (ผู้ทำ) ให้สติดึงใจไว้ให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังเป็นไปจนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉัน หรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย


๒. อาการที่ว่าตามดูรู้ทัน มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู – เห็น – เข้าใจ ว่าอะไร กำลังเป็นไปอย่างไร ปรากฏผลอย่างไร เข้าไปอยู่ต่อหน้า หรือพร้อมหน้า รับรู้ เข้าใจ ตามดูรู้มันไป ให้ทันทุกย่างขณะเท่า นั้น ไม่สร้างกิริยาใดๆ ขึ้นในใจ ไม่มีการคิดกำหนดค่า ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นต้น ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงในใจ ความยึดมั่นต่างๆลงไปว่า ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น เพียงเห็นเข้าใจตามที่มันเป็น ของ สิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้นๆเองโดยเฉพาะ ไม่สร้างความคิดผนวกว่าของเรา ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข.เป็นต้น


ตัวอย่าง เช่น ตามดูเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น มีทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไรหรือตามดูธรรมารมณ์ เช่น มีความกังวลใจเกิดขึ้น เกิดความกลุ้มใจขึ้น ก็ตามดความกลุ้มหรือกังวลใจนั้นว่า มันเกิดขึ้นอย่างไร เป็นมาอย่างไร หรือเวลาเกิดความโกรธ พอนึกได้ รู้ตัวว่า โกรธ ความโกรธก็หยุดหายไป จับเอาความโกรธนั้นขึ้นมาพิจารณาคุณ โทษ เหตุเกิด และอาการที่มันหายไป เป็นต้น กลายเป็นสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณาเลยเพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เอง ล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์ ฯลฯ


แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตาม ที่มีอยู่หรือปรากฏขึ้นในจิตใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้า ไม่เลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง แล้วก็ตามดูสิ่งอื่นต่อไป เหมือนดูคนเล่นละคร หรือดุจเป็นคนข้างนอก มองเข้ามาดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นท่าทีที่เปรียบได้กับแพทย์ที่กำลังชำแหละตรวจดูศพ หรือนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังสังเกตดูวัตถุที่ตนกำลังศึกษา ไม่ใช่ท่าทีแบบผู้พิพากษา ที่กำลังพิจารณาคดี ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย เป็นการดูแบบสภาววิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)


อาการที่เป็นอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือ สติตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ หรือกระทำอยู่ขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ ไม่ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคา หรืออ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้า เลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มี และยังไม่มีไม่เลื่อนไกลถอยลงสู่อดีต ไม่เลือนลอยไปในอนาคต


หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณาอย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่องนั้นๆกลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอยละห้อยเพ้อ ของความเป็นอดีตหรืออนาคต


การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่ถูกตัณหาล่อไว้ หรือชักจูงไปนั่นเอง แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญาทำให้พ้นจากอาการต่างๆของความทุกข์ เช่น ความเศร้า ซึม เสียดาย ความร้อนใจ กลุ้ม กังวล เป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบายของจิตใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอโศก คุณโรส โฮฮับ พอเข้าใจ พอมองออกมั้ยนะ :b10: :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2016, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
อ้างคำพูด:
สติ คือ การกำหนด หมายตัว คอยจับอารมณ์ไว้
ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน

:b12:
อ่านแล้วไม่จำมีแต่ลืมตัวเสมอใช่รึเปล่าคุณกรัชกาย
อ่านดูโพสต์อ้างอิงข้างล่างสิดูสิอกุศลจิตดับสะสมแล้ว
:b32:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52485&start=30
อ้างคำพูด:
แนะๆยังเถียงว่า "คนจนไม่มีเงินไม่มีเวลามานั่งฟัง..." พูดยังงี้ก็แสดงว่า คนมีเงินเท่านั้น ถึงจะมีเวลานั่งฟังยังงั้นซี่ ไม่จริงน๊า คนรวยแต่ขาดศรัทธาก็ไม่ฟัง :b32: รึจะเถียง ถึงจะฟังก็ฟังไปงั้นๆแหละ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ฟังไปหาวไปจนน้ำหูน้ำเล็ด เมื่อไหร่จะจบสะทีนะ ...ปัญญาไม่เกิด

:b32:
ปัญญาคุณกรัชกายน๊าไม่เกิดลืมธัมมะมีตัวตนเต็มๆไปแล้วค่ะ
อ้างคำพูด:
Kiss
ฟังด้วยดีต้องได้ปัญญา
ยังไม่รู้อีกอยู่หรือคะว่า
คลิปน่ะไม่มีกิเลสเลยอ่ะ
แต่กิเลสตัวเองนะที่ไม่ฟัง
สะสมอกุศลแล้วตอนเผลอ
ฟังเข้าใจเป็นปัญญาเจตสิกเกิด
ไม่เข้าใจอวิชชาฟุ้งซ่านรำคาญ
มีง่วงหงาวหาวนอนอีกของใครคะ
อกุศลจิตทั้งนั้นของตนทุกขณะเลย
:b32: :b32:

:b32:
ลองฟังใหม่ก็ได้ดูสิว่าสติอยู่ไหนฟังสิ่งที่ได้ยินหรือฟุ้งไปที่อื่นกิเลสตนดับแล้วทั้งนั้นน๊า
https://m.youtube.com/watch?v=oGpQg2Td-9g
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2016, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
อ้างคำพูด:
สติ คือ การกำหนด หมายตัว คอยจับอารมณ์ไว้
ทำให้ตามทันทุกขณะ ไม่ลืมเลือนเลอะพลาดสับสน

:b12:
อ่านแล้วไม่จำมีแต่ลืมตัวเสมอใช่รึเปล่าคุณกรัชกาย
อ่านดูโพสต์อ้างอิงข้างล่างสิดูสิอกุศลจิตดับสะสมแล้ว
:b32:
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52485&start=30
อ้างคำพูด:
แนะๆยังเถียงว่า "คนจนไม่มีเงินไม่มีเวลามานั่งฟัง..." พูดยังงี้ก็แสดงว่า คนมีเงินเท่านั้น ถึงจะมีเวลานั่งฟังยังงั้นซี่ ไม่จริงน๊า คนรวยแต่ขาดศรัทธาก็ไม่ฟัง :b32: รึจะเถียง ถึงจะฟังก็ฟังไปงั้นๆแหละ เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ฟังไปหาวไปจนน้ำหูน้ำเล็ด เมื่อไหร่จะจบสะทีนะ ...ปัญญาไม่เกิด

:b32:
ปัญญาคุณกรัชกายน๊าไม่เกิดลืมธัมมะมีตัวตนเต็มๆไปแล้วค่ะ
อ้างคำพูด:
Kiss
ฟังด้วยดีต้องได้ปัญญา
ยังไม่รู้อีกอยู่หรือคะว่า
คลิปน่ะไม่มีกิเลสเลยอ่ะ
แต่กิเลสตัวเองนะที่ไม่ฟัง
สะสมอกุศลแล้วตอนเผลอ
ฟังเข้าใจเป็นปัญญาเจตสิกเกิด
ไม่เข้าใจอวิชชาฟุ้งซ่านรำคาญ
มีง่วงหงาวหาวนอน
อีกของใครคะ
อกุศลจิตทั้งนั้นของตนทุกขณะเลย
:b32: :b32:

:b32:
ลองฟังใหม่ก็ได้ดูสิว่าสติอยู่ไหนฟังสิ่งที่ได้ยินหรือฟุ้งไปที่อื่นกิเลสตนดับแล้วทั้งนั้นน๊า
https://m.youtube.com/watch?v=oGpQg2Td-9g
:b4: :b4:


แบบนี้คุณโรสมีวิธี มีสติยังไงดีอ่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=PhQWHz_dmz4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2016, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
พี่เณรกำลังสะสมอกุศลกรรมอยู่
ถ้าเรานะเรามีตัวตนดูเขาคิดอะไรใจเราค่ะ
กว้านเอาอกุศลที่เห็นมาเป็นอกุศลกรรมของตนน๊า
เพราะกุศลจิตตนคือรู้ตัวในสิ่งที่จิตตนกำลังมีต้องเข้าใจจิต
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2016, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
พี่เณรกำลังสะสมอกุศลกรรมอยู่
ถ้าเรานะเรามีตัวตนดูเขาคิดอะไรใจเราค่ะ
กว้านเอาอกุศลที่เห็นมาเป็นอกุศลกรรมของตนน๊า
เพราะกุศลจิตตนคือรู้ตัวในสิ่งที่จิตตนกำลังมีต้องเข้าใจจิต
:b32: :b32:



อ้างคำพูด:
พี่เณรกำลังสะสมอกุศลกรรมอยู่


คุณโรสนึกรึว่า เณรต้องการอกุศล ไม่แต่เณรหรอกที่ไม่ต้องการ คน มนุษย์ทุกคนในโลกก็ไม่ต้องการ แต่เขาไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับความง่วงเหงาหาวนอนนี้ดี ทำให้มันพ้นไปจากจิตใจนี้

คุณโรสทำยังไง บอกเณรเป็นต้นไปถี่ :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2016, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
พี่เณรกำลังสะสมอกุศลกรรมอยู่
ถ้าเรานะเรามีตัวตนดูเขาคิดอะไรใจเราค่ะ
กว้านเอาอกุศลที่เห็นมาเป็นอกุศลกรรมของตนน๊า
เพราะกุศลจิตตนคือรู้ตัวในสิ่งที่จิตตนกำลังมีต้องเข้าใจจิต
:b32: :b32:



อ้างคำพูด:
พี่เณรกำลังสะสมอกุศลกรรมอยู่


คุณโรสนึกรึว่า เณรต้องการอกุศล ไม่แต่เณรหรอกที่ไม่ต้องการ คน มนุษย์ทุกคนในโลกก็ไม่ต้องการ แต่เขาไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับความง่วงเหงาหาวนอนนี้ดี ทำให้มันพ้นไปจากจิตใจนี้

คุณโรสทำยังไง บอกเณรเป็นต้นไปถี่ :b14:

Kiss
เหตุปัจจัยที่กำลังมีตอนนี้กำลังมีอะไร
สถานการณ์พี่เณรอยู่ไหนดับแล้ว
แต่เดี๋ยวนี้พี่เณรอยู่ไหนทำอะไร
ที่ผ่านไปแล้วสะสมอกุศลแล้ว
แก้ยังไงดับแล้วรอให้ผลละ
ไม่รู้ว่าจะให้ผลชาติไหน
แล้วให้ผลยังไงอีก
ใครแก้ได้ล่ะคะ
:b32:
ก็อย่างที่คุณกรัชกายว่าไม่มีใครอยากไม่ดีแต่ไม่รู้
เดี๋ยวนี้เองที่ธัมมะแต่ละ1ที่ปรากฏผ่านอายตนะ6
ดับแล้วทั้งหมดเปลี่ยนสิ่งที่ดับไปแล้วได้ไหมคะ
เกิดธัมมะอันใหม่แล้วทั้ง6ทางนั่นแหละรู้ทีละ1คำ
สติตามรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปัญญาของตน
แก้ที่ตนที่เหตุปัจจัยที่กำลังเกิดดับของตนแก้ที่อื่นผิดน๊า
แล้วคืนนี้เตรียมตัวว่าจะนอนหลับเป็นสุขไหมถ้ารู้ว่าเป็นอกุศล
:b16:
:b4: :b4:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 136 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร