วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 22:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน

วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ เรียก สั้นๆว่า วิธีคิดแบบอยู่กับปัจจุบัน มีแง่ที่ควรทำความเข้าใจพิเศษ และมีความสำคัญโดยลำพังตัวของมันเอง

วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันนี้ มีเนื้อหารวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ที่กล่าวถึงในองค์มรรคข้อที่ ๗ คือสัมมาสติด้วย กล่าวคือ ในสติปัฏฐาน เพ่งถึงการตั้งสติระลึกรู้เต็มตื่น อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น กำลังเป็นไปอยู่ กำลังรับรู้ หรือกำลังกระทำในปัจจุบันทันทุกๆขณะ ส่วนในที่นี้ เพ่งถึงการใช้ความคิด และเนื้อหาของความคิดที่สติระลึกรู้กำหนดอยู่นั้น

ข้อที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิธีคิดแบบนี้ ก็คือ การที่มีผู้เข้าใจผิดเกี่ยว กับความหมายของ การเป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ โดยเห็นไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้คิดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า กำลังเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น ไม่ให้คิดพิจารณาเกี่ยวกับ อดีต หรือ อนาคต ตลอดจนไม่ให้คิดเตรียมการ หรือ วางแผนงานเพื่อกาลภายหน้า

เมื่อเข้าใจผิดแล้ว ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ก็เลยปฏิบัติผิดจากหลักพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นบุคคลภายนอกมองเข้ามา ก็เลยเพ่งว่า ถึงผลร้ายต่างๆ ที่พระพุทธศาสนาจะนำมาให้แก่หมู่ชนผู้ปฏิบัติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยสรุป ความหมายที่ควรเข้าใจเกี่ยวกับปัจจุบัน อดีต และอนาคต สำหรับการใช้ความคิด นี้ มีดังนี้


- ความคิดที่ไม่อยู่กับปัจจุบัน คือ ความคิดที่เกาะติดอดีต และเลื่อนลอยไปในอนาคตนั้น มีลักษณะสำคัญที่พูดได้สั้นๆว่า เป็นความคิดในแนวทางของตัณหา หรือ คิดด้วยอำนาจตัณหา คิดไปตามความรู้สึก หรือใช้คำสมัยใหม่ว่า ตกอยู่ในอำนาจอารมณ์ * โดยมีอาการหวนละห้อยโหยหาอาลัยอาวรณ์ถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว เพราะความเกาะติด หรือค้างคาในรูปใดรูปหนึ่ง หรือเคว้งคว้างเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไปในภาพที่ฝันเพ้อปรุงแต่ง ซึ่งไม่มีฐานแห่งความเป็นจริงในปัจจุบัน เพราะอึดอัด ไม่พอใจสภาพที่ประสบอยู่ ปรารถนาจะหนีจากปัจจุบัน


ส่วนความคิดชนิดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะที่พูดสั้นๆ ได้ว่า เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือ คิดด้วยอำนาจปัญญา ถ้าคิดในแนวทางของความรู้ หรือ คิดด้วยอำนาจปัญญาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้ หรือ เป็นเรื่องล่วงไปแล้ว หรือ เป็นเรื่องของกาลภายหน้า ก็จัดเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งนั้น


ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่า ความรู้ การคิดการพิจารณาด้วยปัญญาเกี่ยวกับเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคตก็ตาม เป็นสิ่งที่ถูกต้อง และมีความสำคัญตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในทุกระดับ ทั้งในระดับชีวิตประจำวัน เช่น การสั่งสอนเกี่ยวกับบทเรียนจากอดีต ความไม่ประมาทระมัดระวังป้องกันภัยในอนาคต เป็นต้นในระดับการรู้แจ้งสัจธรรม ตลอดจนการบำเพ็ญพุทธกิจ เช่น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้อดีต) อดีตังสญาณ (รู้อดีต) อนาคตังสญาณ (รู้อนาคต) เป็นต้น


- ว่า โดยความหมายทางธรรม ในขั้นการฝึกอบรมทางจิตใจที่แท้จริง คำว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็ไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วไป คำว่า “ปัจจุบัน” ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ มักครอบคลุมกาลเวลาช่วงกว้างที่ไม่ชัดเจน ส่วนในทางธรรม เมื่อว่า ถึงการปฏิบัติทางจิต "ปัจจุบัน” หมายถึงขณะเดียว ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นอยู่


ในความหมายที่ลึกลงไปนี้ เป็นอยู่ในปัจจุบัน หมายถึง มีสติตามทันสิ่งที่รับรู้เกี่ยวข้อง หรือ ต้องทำอยู่ในเวลานั้นๆ แต่ละขณะทุกๆขณะ ถ้า จิตรับรู้สิ่งใดแล้ว เกิดความชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจขึ้น ก็ติดข้องวนเวียนอยู่กับภาพของสิ่งนั้น ที่สร้างซ้อนขึ้นในใจ ก็เป็นอันตกไปอยู่ในอดีต (เรียก ว่า ตกอดีต) ตามไม่ทันของจริง หลุดหลงพลาดไปจากขณะปัจจุบันแล้ว หรือ จิตหลุดลอยจากขณะปัจจุบัน คิดฝันไปตามความรู้สึกที่เกาะเกี่ยวกับภาพเลยไปข้างหน้าของสิ่งที่ยังไม่มา ก็เป็นอันฟุ้งไปในอนาคต


โดยนัยนี้ แม้แต่อดีต และ อนาคตตามความหมายทางธรรม ก็อาจยังอยู่ในขอบเขตแห่งเวลาปัจจุบัน ตามความหมายของคนทั่วไป


- ตามเนื้อความที่กล่าวมาแล้วนี้ จะมองเห็นความหมายสำคัญแง่หนึ่งของคำว่า “ปัจจุบัน” ใน ทางธรรมว่า มิใช่เพ่งที่เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในโลกภายนอกแท้ทีเดียว แต่หมายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องในขณะนั้นๆเป็นสำคัญ ดังนั้น มองอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่ตามความหมายของคนทั่วไปว่าเป็น อดีต หรือ เป็น อนาคต ก็อาจกลายเป็นปัจจุบัน ตามความหมายทางธรรมได้ เช่น เดียวกับที่ปัจจุบันของคนทั่วไป อาจกลายเป็น อดีต หรือ อนาคต ตามความหมายทางธรรมดังได้กล่าวแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2016, 19:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2016, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปง่ายๆว่า ความเป็นปัจจุบันกำหนดเอาที่ความเกี่ยวข้องต้องรู้ ต้องทำเป็นสำคัญ ขยายความหมายออกมา ในวงกว้างถึงระดับชีวิตประจำวัน สิ่งที่เป็นปัจจุบันคลุมถึงเรื่องราวทั้งหลาย ที่เชื่อมโยงต่อกันมาถึงสิ่งที่กำลังรับรู้ กำลังพิจารณา เกี่ยวข้องต้องทำอยู่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจหน้าที่ เรื่องที่ปรารภเพื่อทำกิจ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ หรือ ปฏิบัติได้ ไม่ใช่คิดเลื่อนลอยฟุ้งเพ้อฝันไปกับอารมณ์ที่ชอบใจ หรือ ไม่ชอบใจ ติดข้องอยู่กับความชอบ ความชัง หรือ ฟุ้งซ่านพล่านไปอย่างไร้จุดหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่อ้างอิงข้างบน *

* อารมณ์ในที่นี้ หมายถึงคำที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า emotion ไม่ใช่อารมณ์ในภาษาธรรม (แต่ถ้ามองให้ลึกจริงๆก็เป็นการตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์ในภาษาธรรมด้วย)


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายแง่ต่างๆเหล่านี้ จะมองเห็นได้จากพุทธพจน์ต่างๆ ที่จะยกมาแสดงในที่นี้ แม้แต่พุทธพจน์ที่ตรัสแนะนำไม่ให้รำพึงหลัง ไม่ให้หวังอนาคต ก็จะโยงถึงและเพ่งไปที่การทำกิจหน้าที่ ดังจะขอให้สังเกตจากบาลีที่ยกมาอ้าง ต่อไปนี้

“ไม่พึงหวนละห้อยถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่พึงเพ้อหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดเป็นอดีต สิ่งนั้นก็ล่วงเลยไปแล้ว สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง ส่วนผู้ใดมองเห็นแจ้งชัด ซึ่งสิ่งที่เป็นปัจจุบันในกรณีนั้นๆ ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน ครั้นรู้ชัดแล้ว เขาพึงบำเพ็ญสิ่งนั้น”


“ควรทำความเพียรเสียแต่วันนี้ ใครเล่าจะรู้ได้ว่าจะตายวันพรุ่ง กับพญามัจจุราชแม่ทัพใหญ่นั้น ไม่มีการผัดเพี้ยนได้เลย


“ผู้ที่เป็นอยู่อย่างนี้ มีความเพียร ไม่ซึมเซาทั้งคืนวัน พระสันตมุนีทรงเรียกขานว่า ผู้มีแต่ละวันเจริญดี”

อีกแห่งหนึ่ง

“ผู้ถึงธรรม ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดำรงอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นปัจจุบัน ฉะนั้น ผิวพรรณจึงผ่องใส

“ส่วนชนผู้อ่อนปัญญา เฝ้าแต่ฝันเพ้อถึงสิ่งที่ยังไม่มา ละห้อยหาสิ่งที่ล่วงแล้ว จึงซูบซีดหม่นหมอง เสมือนต้นอ้อสด ที่เขาถอนทึ้งขึ้นทิ้งไว้ที่ในกลางแดด”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสังเกต การวางท่าทีของจิตใจเกี่ยวกับกาลเวลา ในแง่ที่ไม่เป็นไปตามอำนาจตัณหาตามบาลีข้างต้นนี้ แล้วเทียบกับการปฏิบัติต่ออนาคตด้วยปัญญา ที่ใช้บำเพ็ญกิจตามบาลีข้อต่อๆไป เริ่มตั้งแต่คำสอน เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ไปจนถึงการบำเพ็ญกิจของพระภิกษุ และเริ่มตั้งแต่ การบำเพ็ญกิจส่วนตัว ไปจนถึงความรับผิดชอบ ต่อกิจการของส่วนรวม ดังนี้


“พึงระแวงสิ่งที่ควรระแวง พึงป้องกันภัยที่ยังไม่มาถึง ธีรชนตรวจตราโลกทั้งสอง เพราะคำนึงภัยที่ยังไม่มาถึง”


“เป็นคนควรหวังเรื่อยไป บัณฑิตไม่ควรท้อแท้ เราเป็นประจักษ์มากับตนเอง เราปรารถนาอย่างใด ก็ได้สมตามนั้น”


“เธอทั้งหลาย จงยังกิจของตนและผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2016, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการคำนึงอนาคตแล้วปฏิบัติตนเองของพระภิกษุ


"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมองเห็นภัยอนาคต ๕ ประการต่อไปนี้ ย่อมควรแท้ที่ภิกษุจะเป็นอยู่โดยเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศตัวเด็ดเดี่ยว เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อเข้าถึงธรรมที่ยังไม่เข้าถึง เพื่อประจักษ์แจ้งธรรมที่ยังไม่ประจักษ์แจ้ง ๕ ประการ คืออะไร ? ได้แก่


๑.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ เรายังหนุ่ม ยังเยาว์ มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความหนุ่มแน่นยามปฐมวัย แต่ก็จะมีคราวสมัยที่ความชราจะเข้าต้องกายนี้ได้ ก็แลการที่คนแก่เฒ่าถูกชราครอบงำ แล้วจะมนสิการคำสอของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมมิใช่จะทำได้โดยง่าย การที่จะเสพเสนาสนะ อันสงัดในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้โดยง่าย อย่ากระนั้นเลย ก่อนที่สภาพอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบ ไม่น่าพึงใจนั้นจะมาถึง เรารีบเริ่มระดมความเพียรเสียก่อนเถิด เพื่อจะได้บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ...ซึ่งเมื่อเรามีพร้อมแล้ว แม้จะแก่เฒ่าลงก็จักเป็นอยู่ผาสุก...


๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ เรามีอาพาธน้อย มีความเจ็บไข้น้อย ประกอบด้วยแรงไฟเผาผลาญย่อยอาหารที่สม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไปไม่ร้อนเกินไป พอดี เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ก็จะมีคราวสมัยที่ความเจ็บไข้จะเข้าต้องกายนี้ได้ ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้เจ็บไข้ ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...


๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ ข้าวยังดี บิณฑบาตหาได้ง่าย การยังชีพด้วยการอุ้มบาตรเที่ยวไป ก็ยังทำได้ง่าย แต่จะมีคราวสมัยที่อาหารขาดแคลน ข้าวไม่ดี หาบิณฑบาตได้ยาก การยังชีพด้วยการอุ้มบาตรเที่ยวไป จะมิใช่ทำได้ง่าย พวกประชาชนในที่หาอาหารได้ยากก็จะอพยพไปยังถิ่นที่หาอาหารได้ง่าย วัดในถิ่นนั้น ก็จะเป็นที่คับคั่งจอแจ ก็เมื่อวัดคับคั่งจอแจ การที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมมิใช่จะทำได้ง่าย การที่จะเข้าเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด ในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้ง่าย อย่ากระนั่นเลย ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้อาหารขาดแคลน ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...


๔.อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ ประชาชนทั้งหลาย พร้อมเพรียง ร่วมบันเทิงไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันด้วยสายตารักใคร่ แต่ก็จะมีคราวสมัยที่เกิดมีภัย มีการก่อกำเริบในแดนดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานหนีแยกย้ายกันไป ในเมื่อมีภัย ประชาชนทั้งหลายย่อมอพยพไปยังถิ่นที่ปลอดภัย วัดในถิ่นนั้นก็จะเป็นที่คับคั่งจอแจ ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้เมื่อมีภัย ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...

๕. อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เวลานี้ สงฆ์ยังพร้อมเพรียง ร่วมบันเทิงไม่วาทกัน มีการสวดปาติโมกข์ร่วมกัน เป็นอยู่ผาสุก แต่ก็จะมีคราวสมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน ครั้นเมื่อสงฆ์แตกแยกกันแล้ว การที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย ย่อมจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำได้โดยง่าย การที่จะเข้าเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด ในราวป่าแดนไพร ก็มิใช่จะทำได้ง่าย อย่ากระนั่นเลย ฯลฯ เราจะรีบเริ่มระดมความเพียร...แม้สงฆ์แตกแยกกัน ก็จักเป็นอยู่ผาสุก...”

(องฺ.ปญฺจก.22/78/117)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2016, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
:b1:
สภาพธรรมเกิดดับนับไม่ถ้วนเลยที่กะพริบตาดับทั้ง6ทวาร
ทันไหมคะถ้าจิตยังไม่มั่นคงว่าทุกอย่างเป็นธัมมะเป็นอนัตตา
แค่กะพริบตาหมดวาระร่างนี้ตายแล้วเกิดสืบต่อทันทีใครจะรู้
ถ้าจะให้ทันมีวิธีเดียวคือฟังคำสอนให้สัญญาเจตสิกจำถูกต้อง
ว่าไม่มีเรามีแต่ธัมมะแต่ละ1ขณะเกิดดับตามเหตุปัจจัยที่กำลังมี
รู้แต่ละขณะ1ขณะที่เกิดว่าเป็นทวารไหนเป็นปัญญาหรืออวิชชา
แต่ละ1ขณะที่กำลังปรากฏเพียงปรากฏให้รู้ว่ามีจริงๆไม่ใช่ตัวตน
ถ้าไม่รู้ตรงปัจจุบันตามเป็นจริงสะสมกิเลสเพิ่มแล้วค่ะเพราะไม่รู้ค่ะ
เข้าใจหรือเปล่าว่าตายจากสิ่งที่กำลังมีทุกขณะด้วยความไม่เข้าใจเลย
https://m.youtube.com/watch?v=ZHPU226rEUA
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2016, 07:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2016, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion


อ้างคำพูด:
ธัมมวิจัย


ที่เคยว่า ท่านอโศก พูดไปประโยคสองประโยค จะต้องยกศัพท์แสงอ้างอิง แต่ไม่รู้ความหมายเขา เพราะอะไร ? เพราะกลัวไม่เป็นธรรมะ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2016, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion



ถ้าอโศกเคยภาวนา ถามที ทำไงเอ้า

อย่าบอกอีกนะว่า "กลั้นลมหายใจ" ไม่เอาแล้วนะ พอๆ พอแล้ว :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 06:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion



ถ้าอโศกเคยภาวนา ถามที ทำไงเอ้า

อย่าบอกอีกนะว่า "กลั้นลมหายใจ" ไม่เอาแล้วนะ พอๆ พอแล้ว :b32:

onion
ถ้ามันกำลังคิดก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังคิด

ถ้ามันกำลังนึกก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังนึก
สักพักหนึ่งความคิดนึกมันก็ดับไป

อะไรจะเกิดก็ให้มีสติรู้ทัน มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)
แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดับไป รู้ให้ได้ถึงแค่ตรงนี้ไม่มียินดียินร้าย ไม่ช้าเหตุปัจจัยจากวิบากเก่าทั้งหมดก็หมดกำลังไม่มีอะไรมาแสดงให้ดูในจิต ถึงตรงนั้นก็จะได้ความสงบอย่างยิ่งคือจิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเป็นรางวัล เป็นฐานของการเปิดประตูเข้าสู่นิพพาน

:b38:
พูดอย่างนี้กรัชกายจะพอเข้าใจได้ไหมนี่?
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion



ถ้าอโศกเคยภาวนา ถามที ทำไงเอ้า

อย่าบอกอีกนะว่า "กลั้นลมหายใจ" ไม่เอาแล้วนะ พอๆ พอแล้ว :b32:

onion
ถ้ามันกำลังคิดก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังคิด

ถ้ามันกำลังนึกก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังนึก
สักพักหนึ่งความคิดนึกมันก็ดับไป

อะไรจะเกิดก็ให้มีสติรู้ทัน มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)
แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดับไป รู้ให้ได้ถึงแค่ตรงนี้ไม่มียินดียินร้าย ไม่ช้าเหตุปัจจัยจากวิบากเก่าทั้งหมดก็หมดกำลังไม่มีอะไรมาแสดงให้ดูในจิต ถึงตรงนั้นก็จะได้ความสงบอย่างยิ่งคือจิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเป็นรางวัล เป็นฐานของการเปิดประตูเข้าสู่นิพพาน

:b38:
พูดอย่างนี้กรัชกายจะพอเข้าใจได้ไหมนี่?
s004


ท่านอโศกจะเปิดประตูนิพพานอีกแระ นิพพานมีประตูหรอ

อ้างคำพูด:
มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)


มันยังไง มีปัญญาสังเกต ไม่ต้องพิจารณา มันต่างกันยังไง ปัญญา กับ พิจารณา

นี่แหละคือการพูดเอาไม่ได้ทำ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2016, 08:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion



ถ้าอโศกเคยภาวนา ถามที ทำไงเอ้า

อย่าบอกอีกนะว่า "กลั้นลมหายใจ" ไม่เอาแล้วนะ พอๆ พอแล้ว :b32:

onion
ถ้ามันกำลังคิดก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังคิด

ถ้ามันกำลังนึกก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังนึก
สักพักหนึ่งความคิดนึกมันก็ดับไป

อะไรจะเกิดก็ให้มีสติรู้ทัน มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)
แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดับไป รู้ให้ได้ถึงแค่ตรงนี้ไม่มียินดียินร้าย ไม่ช้าเหตุปัจจัยจากวิบากเก่าทั้งหมดก็หมดกำลังไม่มีอะไรมาแสดงให้ดูในจิต ถึงตรงนั้นก็จะได้ความสงบอย่างยิ่งคือจิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเป็นรางวัล เป็นฐานของการเปิดประตูเข้าสู่นิพพาน

:b38:
พูดอย่างนี้กรัชกายจะพอเข้าใจได้ไหมนี่?
s004


ท่านอโศกจะเปิดประตูนิพพานอีกแระ นิพพานมีประตูหรอ

อ้างคำพูด:
มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)


มันยังไง มีปัญญาสังเกต ไม่ต้องพิจารณา มันต่างกันยังไง ปัญญา กับ พิจารณา

นี่แหละคือการพูดเอาไม่ได้ทำ :b32:

:b29:
ประตูนิพพานนี่เป็นการสื้อภาษาแบบอุปมาอุปมัยให้คนทั่วไปพอนึกเทียบเข้าใจได้ ส่วนการเข้าถึงนิพพานจริงๆนั้นเป็นเรื่องปัจจัตตัง ต้องทำเองจึงจะรู้ได้
onion
นี่แหละพิสูจน์ได้จริงๆว่ากรัชกายดีแต่พูดตามตำราไม่เคยลงมือปฏิบัติจริง

สังเกต....ไม่ใช้ความคิด

พิจารณา....ใช้ความคิดนึก

กรัชกายเข้าใจถึงความลึกซึ้งของบัญญัติภาษาไทย 2 คำนี้อย่างนี้ไหม ไม่เข้าใจให้ลงมือพิสูจน์ทันทีเดี๋ยวนี้

1.ให้สังเกตผัสสะของทวารทั้ง 6 เป็นเวลา 3 นาที

2.ให้พิจารณาผัสสะของทวารทั้ง 6 เป็นเวลา 3 นาที

แล้วมาสรุปผลการทดลองให้ฟังในนี้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
:b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2016, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b13:
ตลกมากๆกับคำว่า "คิดอยู่กับปัจจุบัน"

เพราะถ้ามีคิดไปในอนาคตหรือ นึกไปในอดีต สติและจิตก็หลุดจากปัจจุบันแล้ว

กรัชกายไม่เคยภาวนาจริงๆหรือนี่จึงไม่รู้ว่า ถ้ามีคิดนึกมันจะไม่เป็นอนาคตก็อดีต ลองไปนั่งภาวนาสัมผัสความจริงภายในจิตของตนแล้วพินิจพิเคราะห์ดูให้ดีๆ ทำธัมมวิจัยมาดีๆ

onion



ถ้าอโศกเคยภาวนา ถามที ทำไงเอ้า

อย่าบอกอีกนะว่า "กลั้นลมหายใจ" ไม่เอาแล้วนะ พอๆ พอแล้ว :b32:

onion
ถ้ามันกำลังคิดก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังคิด

ถ้ามันกำลังนึกก็มีสติรู้ทันว่ามันกำลังนึก
สักพักหนึ่งความคิดนึกมันก็ดับไป

อะไรจะเกิดก็ให้มีสติรู้ทัน มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)
แล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จะดับไป รู้ให้ได้ถึงแค่ตรงนี้ไม่มียินดียินร้าย ไม่ช้าเหตุปัจจัยจากวิบากเก่าทั้งหมดก็หมดกำลังไม่มีอะไรมาแสดงให้ดูในจิต ถึงตรงนั้นก็จะได้ความสงบอย่างยิ่งคือจิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเป็นรางวัล เป็นฐานของการเปิดประตูเข้าสู่นิพพาน

:b38:
พูดอย่างนี้กรัชกายจะพอเข้าใจได้ไหมนี่?
s004


ท่านอโศกจะเปิดประตูนิพพานอีกแระ นิพพานมีประตูหรอ

อ้างคำพูด:
มีปัญญาสังเกต (ไม่ต้องพิจารณา)


มันยังไง มีปัญญาสังเกต ไม่ต้องพิจารณา มันต่างกันยังไง ปัญญา กับ พิจารณา

นี่แหละคือการพูดเอาไม่ได้ทำ :b32:

:b29:
ประตูนิพพานนี่เป็นการสื้อภาษาแบบอุปมาอุปมัยให้คนทั่วไปพอนึกเทียบเข้าใจได้ ส่วนการเข้าถึงนิพพานจริงๆนั้นเป็นเรื่องปัจจัตตัง ต้องทำเองจึงจะรู้ได้
onion
นี่แหละพิสูจน์ได้จริงๆว่ากรัชกายดีแต่พูดตามตำราไม่เคยลงมือปฏิบัติจริง

สังเกต....ไม่ใช้ความคิด

พิจารณา....ใช้ความคิดนึก

กรัชกายเข้าใจถึงความลึกซึ้งของบัญญัติภาษาไทย 2 คำนี้อย่างนี้ไหม ไม่เข้าใจให้ลงมือพิสูจน์ทันทีเดี๋ยวนี้

1.ให้สังเกตผัสสะของทวารทั้ง 6 เป็นเวลา 3 นาที

2.ให้พิจารณาผัสสะของทวารทั้ง 6 เป็นเวลา 3 นาที

แล้วมาสรุปผลการทดลองให้ฟังในนี้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
:b41:


มาอีกแระ ปัจจัตตัง เคยถามโฮฮับ แต่ไม่ได้คำตอบว่าหมายถึงอะไร

ถามท่านอโศกแล้วกันนะ ปัจจัตตัง นี่มันอะไรขอรับ


อ้างคำพูด:
สังเกต....ไม่ใช้ความคิด

พิจารณา....ใช้ความคิดนึก


อ้าวๆ ไม่ใช้ความคิด ก็นั่งหลับ หรือนอนหลับซี่ท่านอโศก ไม่คิดก็ไม่มีไม่ใช้โยนิโสมนสิการซี่


ก่อนหน้าพูดยังงี้

อ้างคำพูด:
มีปัญญาสังเกต ไม่ต้องพิจารณา


ยิ่งพูดยิ่งยุ่งเหมือนยุ่งตีกันนะท่านอโศก :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 63 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร