วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 15:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ๓

ปัญญานั้น แท้จริงก็มีอย่างเดียว ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นความรู้เข้าใจสภาวะ คือ หยั่งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แต่ก็นิยมจำแนกแยกประเภทออกไปเป็นหลายอย่าง ตามระดับของความรู้เข้าใจบ้าง ตามหน้าที่หรือแง่ด้านของการทำงานของปัญญาบ้าง ตามทางที่ปัญญานั้นเกิดขึ้นบ้าง เป็นต้น

ปัญญาชุดหนึ่งซึ่งจำแนกตามแหล่งที่มา หรือทางเกิดของปัญญา ได้แก่ ปัญญา ๓ อย่าง ชุดที่แยกออกไปเป็น สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา คำท้ายคือปัญญาเป็นตัวกลางร่วมกัน ส่วนคำข้างหน้าที่ต่างกัน บอกที่มาหรือแหล่งเกิดของปัญญานั้น ว่า หนึ่ง เกิดจากสุตะ (การสดับฟัง การอ่าน และเล่าเรียน) สอง เกิดจากจินตะ (การคิดไตร่ตรองพิจารณา) และสาม เกิดจากภาวนา (การปฏิบัติต่อจากนั้น)

ปัญญา ๓ ชุดนี้ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อย แต่มีผู้นำมาพูดค่อนข้างบ่อย ข้อสำคัญคือเข้าใจความหมายกันไม่ค่อยชัด จึงควรแสดงคำอธิบายที่พ่วงมากับถ้อยคำเหล่านี้สืบแต่เดิมไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา

เริ่มด้วยการเรียงลำดับ ปัญญา ๓ นั้น ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ของเดิมในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และในพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เริ่มต้นด้วยจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก อย่างไรก็ตามในเนตติปกรณ์ ซึ่งพระเถรวาทสายพม่าถือเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย (จัดรวมไว้ใน ขุททกนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก) เรียงสุตมยปัญญาขึ้นก่อน (และเรียกชื่อต่างไปเล็กน้อยเป็น สุตมยีปัญญา จินตามยีปัญญา ภาวนามยีปัญญา) และต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฎีกา นิยมมากขึ้นในทางที่จะเรียกชื่อเป็น สุตมยญาณ จินตามยญาณ และภาวนามยญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในที่นี้ ขอเรียงลำดับ ปัญญา ๓ ตามพระไตรปิฎกชั้นเดิมไว้ก่อน พร้อมด้วยแสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (ปัญญาเกิดจากโยนิโสมนสิการที่ตั้งขึ้นในตนเอง)

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปัญญาเกิดจากปรโตโฆสะ)

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (ปัญญาเกิดจากปัญญาสองอย่างแรกนั้นแล้วหมั่นมนสิการ)

การที่ท่านเรียงจินตามยปัญญาขึ้นก่อน หรือสุตมยปัญญาขึ้นก่อน จับความได้ว่า อยู่ที่การคำนึงถึงบุคคลเป็นหลัก หรือมองธรรมตามความเกี่ยวข้องของบุคคล

ในกรณีที่เรียงจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก ก็คือ ท่านเริ่มที่บุคคลพิเศษประเภทมหาบุรุษก่อน หมายความว่าพระพุทธเจ้า (และพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ค้นพบและเปิดเผยความจริงขึ้นนั้น มิได้อาศัยสุตะ ไม่ต้องมีปรโตโฆสะ คือ การฟังจากผู้อื่น แต่รู้จักคิดพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการของตนเอง สามารถสืบสาว เรียงต่อ ไล่ตามประสบการณ์ทั้งหลายอย่างถึงทันทั่วรอบทะลุตลอด จนหยั่งเห็นความจริงได้ จากจินตามยปัญญา จึงต่อเข้าภาวนามยปัญญาไปเลย (ไม่ต้องอาศัยสุตมยปัญญา)

แต่เมื่อมองที่บุคคลทั่วไป ท่านเริ่มด้วยสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก โดยมีคำอธิบายตามลำดับว่า บุคคลเล่าเรียนสดับฟังได้สุตะ ได้ข้อธรรม ได้ข้อมูลแล้ว เกิดศรัทธาขึ้นเป็นพื้นเบื้องต้น จึงนำไปใคร่ครวญตรวจสองพิจารณาได้ความรู้เข้าใจในสุตะนั้น ก็เกิดเป็นสุตมยปัญญา แล้วในขั้นต่อไป อาศัยสิ่งที่ได้เรียนสดับนั้นเป็นฐาน เขาตรวจสอบชั่งตรองเพ่งพินิจขบคิดลึกชัดลงไป มองเห็นเหตุผลความสัมพันธ์เป็นไปชัดเจน เกิดเป็นจินตามยปัญญา เมื่อเขาใช้ปัญญาทั้งสองนั้นขะมักเขม้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย (พูด อีกสำนวนหนึ่งว่า อาศัยหรือตั้งอยู่ในปัญญาทั้งสองนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา - สุตจินฺตามยญาเณสุ หิ ปติฏฺฐิโต วิปสฺสนํ อารภติ. เนตฺติ. ๕๓) แล้วเกิดญาณ มีความรู้สว่างประจักษ์แจ้งความจริง เป็นมรรคที่จะให้เกิดผลขึ้น ก็เป็นภาวนามยปัญญา

พึงสังเกตด้วยว่า สำหรับคนทั่วไปนี้ ถึงจะได้รับสุตะ คือ ข่าวสารข้อมูลมากมาย แต่คนจำนวนมากก็ได้แค่สุตะเท่านั้น (ได้แค่ฟังเท่านั้น) หาได้ปัญญาไม่ คือ ในข้อที่ ๑ นั้น ต้องแยกว่า คนจำนวนมากได้แต่สุตะ มีเพียงบางคนที่อาศัยสุตะนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดสุตมยปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าสังเกตว่า ในคัมภีร์วิภังค์แห่งอภิธรรมปิฎก ท่านอธิบายภาวนามยปัญญาว่า ได้แก่ สมปนฺนสฺส ปญฺญา ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า ปัญญาของผู้ประกอบ หรือ ปัญญาของผู้ถึงพร้อม (สมาปนฺน คือประกอบ หรือถึงพร้อมนี้ ในที่ทั่วไป ใช้ได้ทั้งทางดีและทางร้าย เช่น ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ ประกอบการบรรพชา ถึงพร้อมด้วยอิจฉาและโลภะ ประกอบการสนุกสนาน เล่นหัว ประกอบด้วยโสกะปริเทวะ เปี่ยมด้วยกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก ฯลฯ แต่เวลาใช้โดดๆ ในทางธรรม มักหมายถึงเข้าฌานสมาบัติ) และอรรถกถาแห่งคัมภีร์วิภังค์นั้น (วิภงฺค.อ.441) ไขความว่า

"สมาปตฺติสมงฺคิสฺส อนฺโตสมาปตฺติยํ ปวตฺตา ปญฺญา ภาวนามยา นาม" (ปัญญาของผู้ประกอบด้วยสมาบัติ อันเป็นไปในสมาบัติ ชื่อว่าเป็นภาวนามัย) ทำให้รู้สึกว่าความหมายจำกัดเฉพาะมาก แต่คัมภีร์ต่างๆ เช่น ปรมัตถมัญชุสา อธิบายว่า คำไขความดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการแสดงตัวอย่าง โดยสาระก็มุ่งเอาการเห็นแจ้งความจริงที่เป็นมัคคปัญญา อันเป็นไปด้วยวิปัสสนานั่นเอง

มีแง่ของการอธิบายที่กินความคลุมถึงฌานสมาบัติ และมองได้กว้างออกไป พร้อมทั้งเข้าใจง่ายขึ้นด้วย คือจับที่คำว่า อัปปนา ซึ่งหมายถึงสมาธิที่เป็นแกนของฌานทั้งหมด ดังที่ท่านไขความว่า

"ปัญญาที่สำเร็จด้วยอำนาจภาวนา อันถึงอัปปนา ขื่อว่า ภาวนามัย คำไขความตรงนี้ ที่กล่าวถึงภาวนา โยงไปถึงข้อความข้างต้นที่ว่าขะมักเขม้นมนสิการในประดาสภาวธรรม ซึ่งก็คือวิปัสสนาปัญญาเห็นแจ้งชัดถึงขีด จิตก็เป็นสมาธิถึงอัปปนา ความประจักษ์แจ้งจดจิตสนิทแน่ว ถึงกับให้สิ่งหมักหมมผูกรัดหุ้มพอกจิต ที่เรียกกิเลส ถูกสลายล้างออกไป จิตพ้นจากกิเลสสิ้นเชิงหรือบางส่วนก็ตาม ความรู้แจ้งถึงขั้นทำให้เกิดความเปลี่ยนของชีวิตอย่างนี้ได้ คือภาวนามยปัญญา ซึ่งเป็นมรรคญาณ

มีความรู้ประกอบอีกหน่อยว่า ในเนตติปกรณ์ (เนตฺติ ๘) ท่านโยงปัญญา ๓ นี้ กับการจัดประเภทบุคคล ๔ ด้วย โดยแสดงความหมายของบุคคล ๓ ประเภทแรกที่เป็นเวไนย (เวไนย ๓) ให้เห็นทุนเดิมก่อนจะก้าวสู่ภาวนามยปัญญาว่า

คนที่มี ๒ อย่าง ทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา เป็นอุคฆฎิตัญญู (ผู้รู้ได้ฉับพลันเพียงแค่ฟังหัวข้อก็เข้าใจ) คนที่มีสุตมยปัญญาอย่างเดียว เป็น วิปจิตัญญู (ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อมีการขยายความ) คนที่ยังไม่มีปัญญา ๒ อย่าง ทั้งสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา เป็นเนยยะ (ผู้ที่จะพึงแนะนำโดยฝึกสอนอบรมให้เข้าใจต่อไป) ส่วนปทปรมะ ไม่เป็นเวไนย เป็นอันไม่ต้องพูดถึง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้เข้าใจหลักต่างๆ ข้างต้นเป็นพื้นฐานแล้ว อาจจะประมวลเป็นคำอธิบาย ปัญญา ๓ สำหรับคนทั่วไป ที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ คร่าวๆ

ทวนความก่อนว่า อัจฉริยบุคคล ในขั้นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นนักคิดที่แท้จริง คือมีปัญญายิ่งใหญ่เหนือคนทั่วไป อย่างที่ว่า ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ทั้งหลาย ที่ คนอื่นๆพบเห็นกันมาเป็นสิบปีร้อยปีพันปีแล้ว กี่รุ่นกี่ชั่วคน เขาก็อยู่กันมา ก็รู้เข้าใจตามๆ กันมาอยู่แค่นั้น แต่พระพุทธเจ้า เกิดขึ้นมา ทรงมีโยนิโสมนสิการ ที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายในแง่มุมอื่นๆ ที่คนทั่วไปนึกไม่ถึง มองไม่เห็น สามารถคิดสืบสาวหยั่งเห็นความจริงที่ลึกล้ำอยู่เบื้องหลัง คิดริเริ่มใหม่ๆ ในสิ่งที่คนยังไม่เคยคิด ทำให้มีการมองใหม่เห็นใหม่ค้นพบใหม่ ได้ความรู้ความเข้าใจใหม่ และก้าวต่อไปในโยนิโสมนสิการนั้น จนเข้าถึงความจริงที่ไม่มีใครอื่นหยั่งถึงได้

ปัญญาที่เกิดจากการรู้จักคิดด้วยโยนิโสมนสิการของตนเองอย่างนี้ เรียกว่าจินตามยปัญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงมีโดยไม่ต้องอาศัยการสั่ง สอนแนะนำจากผู้อื่น (และไม่มีคนอื่นมีปัญญารู้ที่จะะมาบอกมาสอนให้ได้) จึงเป็นปัญญาของบุคคลพิเศษ ที่คนทั่วไปไม่มี ถ้าไม่มีบุคคลพิเศษที่มีจินตามยปัญญาอย่างนี้ การค้นพบใหม่ การแหวกวงล้อมหรือกรอบทางปัญญาออกไป ก็ไม่อาจเป็นไปได้ และคนก็อยู่ก็รู้ก็คิดตามๆ กันเรื่อยๆไป

ในเมื่อคนทั่วไปไม่มีจินตามยปัญญาจากการใช้โยนิโสมนสิการเริ่มคิด ด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยการสดับรับฟังเล่าเรียนคำแนะนำสั่งสอนจากผู้ อื่นเป็นจุดเริ่ม ที่คือเริ่มจากการสร้างสุตมยปัญญาก่อน ในขณะที่บุคคลพิเศษข้ามสุตมยปัญญานี้ไปเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับในที่นี้ เมื่อแยกบุคคลพิเศษออกไปแล้ว จึงกล่าวถึงปัญญา ๓ ครบจำนวน และเรียงลำดับโดยถือเอาคนทั่วไปเป็นที่ตั้ง ดังนี้

๑. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากสุตะ ได้แก่ ปัญญาที่คนทั่วไปจะพัฒนาขึ้นไป โดยต้องอาศัยสุตะ คือ เมื่อยังคิดเองไม่เป็น หรือคิดไปไม่ถึง มองอะไรไม่ออก ไม่เข้าใจ ก็ต้องมีผู้แนะนำสั่งสอนบอกให้ เช่น มีท่านที่เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร อย่างพระพุทธเจ้า ท่านผู้รู้ ครูอาจารย์ มาแนะนำชี้แจงอธิบาย จึงรู้เข้าใจหยั่งความจริงได้ในระดับหนึ่ง

๒. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากจินตะ ได้แก่ การรู้จักคิด คือ เมื่อได้ความรู้เข้าใจในสุตะ เกิดมีสุตมยปัญญาการเล่าเรียนสดับฟังแล้ว ก็ฝึกโยนิโสมนสิการให้มองเห็นรู้เข้าใจกว้างไกลลึกรอบทั่วตลอดแยกโยงได้ ทำให้ก้าวต่อไปในการเข้าถึงความจริง และใช้ความรู้อย่างได้ผล

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากภาวนา คือการปฏิบัติบำเพ็ญ ทำให้เป็นให้มีขึ้นได้จริง โดยลงมือทำกับประสบการณ์ตรง หมายถึงปัญญาที่พัฒนาต่อจากสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญาสองอย่างแรกนั้น คืออาศัยปัญญาสองอย่างแรกนั้น พัฒนาต่อไปด้วยการมนสิการ (หมายถึงโยนิโสมนสิการ) ที่ตัวสภาวะ จนเกิดปัญญารู้แจ้งจริงที่สำเร็จเป็นมรรคได้บรรลุผล

ขอให้สังเกตไว้เป็นข้อสำคัญประการแรกว่า ภาวนามยปัญญานี้ อาศัยและต่อจากสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา ไม่ใช่ว่ายังไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย ไปนั่งสมาธิ แล้วมาบอกว่าเข้าฌานได้ภาวนามยปัญญา อย่างนั้นไม่ใช่ พึงตระหนักว่า คนทั่วไปนี้ แม้แต่จินตามยปัญญาก็ยังทำให้เกิดเองไม่ได้ ต้องเริ่มจากสุตมยปัญญา (สุตมยปัญญาก็ยังไม่ค่อยจะได้ มีแต่ได้แค่สุตะ อย่างที่พูดข้างต้น)

จุดสังเกตสำคัญประการที่สอง คือ โยนิโสมนสิการ เป็นตัวทำงาน เรียกได้ว่าเป็นแกนในการพัฒนา หรือสร้างปัญญาทั้งสามอย่างนี้ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่บุคคลพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า ที่ว่าตั้งต้นด้วยจินตามยปัญญา โดยไม่ต้องอาศัยสุตะจากคนอื่น (ไม่ต้องพึ่งปรโตโฆสะ) ก็คือ ใช้โยนิโสมนสิการที่มีขึ้นมาเป็นของเริ่มต้นในตนเอง เป็นที่มาของปัญญาที่เกิดจากการคิด ที่ทำให้คิดเป็นได้อย่างเฉพาะพิเศษ ส่วนคนทั่วไป แม้จะได้พึ่งสุตะจากผู้อื่น แต่เมื่อจะก้าวต่อไปจากนั้น จะให้ปัญญาพัฒนาขึ้นไป ก็ต้องใช้โยนิโสมนสิการ จนกระทั่ง ในที่สุด การเกิดของปัญญาข้อที่ ๓ อันสูงสุดนั้น มีการทำงานของโยนิโสมนสิการเป็นสาระสำคัญเลยทีเดียว

เรื่องจึงเป็นอย่างที่พูดแล้วแต่ต้นว่า ปัญญา ๓ อย่างในชุดสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา นี้ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อยนัก พระสารีบุตรประมวลมาแสดงไว้ เป็นการให้มองเห็นแหล่งเกิดที่มาของปัญญา ไม่เป็นหลักที่ท่านเน้นย้ำมาก

เรื่องที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำบ่อยมาก ตรัสอยู่เสมอ ก็คือ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการทำให้เกิดปัญญา เมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้ว ปัญญาทั้งสามนั้นก็มาได้ และให้สัมฤทธิ์บรรลุจุดหมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 ก.ย. 2018, 15:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็มาสรุปไว้ท้ายนี้อีกทีว่า คนทั้งหลายที่รับข่าวสารข้อมูลกันนั้น

- บางคน ได้แต่สุตะ โดยไม่ได้ปัญญาเลย แม้แต่สุตมยปัญญาก็ไม่ได้

- บางคน รู้จักมนสิการไตร่ตรองพิจารณาสุตะนั้นแล้ว สามารถทำสุตมยปัญญาให้เกิดขึ้น

- บางคน ได้สุตมยปัญญาแล้ว รู้จักมนสิการคิดพินิจยิ่งขึ้นไป ก็พัฒนาจินตามยปัญญาให้เกิดขึ้นมา

- บางคน ใช้สุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา ที่มีที่ได้แล้วนั้น เป็นฐาน พัฒนาปัญญาด้วยโยนิโสมนสิการยิ่งขึ้นไป ก็อาจทำภาวนามยปัญญาให้เกิดขึ้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2018, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตฺโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว - พ้นจาก สุ จิ ปุ ลิ เสียแล้ว พึงเป็นบัณฑิตได้อย่างไร

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2018, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประธานกรรมการปฏิรูป ฯ ถามจริงต่อที่ประชุม
'ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ คำสอนพระพุทธเจ้าดีเลิศ
ทำไมชาวพุทธไทยจึงขัดแย้งได้ขนาดนี้
?'
ทางรอด การศึกษาต้องเข้าไปช่วยแก้ไข

@ ในงานเดียวกันนี้
ศ.กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวัณโณ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา กล่าวเปิดงานและแสดงปาฐกถานำ สรุปความได้ว่า

๑. ทำอย่างไรในการเรียนการสอน จะปลูกศีล ๕ ธรรม ๕ ลงไปในจิตใจของนักเรียน ? เหตุผลคือ ศีลธรรมเป็นรากฐานของคุณธรรมทั้งหลาย ?

๒. ต้องสอนให้ จำ แต่ไม่ใช่ จำ อย่างเดียว ทว่าต้องให้เข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ จะสอนอย่างไร ?

๓. ต้องพัฒนา ปัญญา ไม่ใช่แค่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา แต่ต้องถึง "ภาวนามยปัญญา" จะสอนอย่างไร ?

ท่านอธิบายขยายความว่า การไปให้ถึง ภาวนามยปัญญา ด้วย ๒ วิธีที่เหมาะสมแก่วัย คือ ไหว้พระสวดมนต์ และฝึกสมาธิ

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์วิชาพระพุทธศาสนาที่จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง เช่น ด้านจิตวิทยา ด้านการศึกษา มาเข้าร่วมให้คำแนะนำ เพราะท่านประธานเน้น "การให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่วัย" เป็นเรื่องสำคัญหลัก

https://www.facebook.com/bannaruji.home ... =3&theater

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2018, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาที่เกิดจากภาวนานั้น เกิดจากความสงบความสุขภายในซึ่งเขาประสบเองโดยไม่ต้องพึงพาวัตถุภายนอกฝ่ายเดียว จึงจะทำให้ผู้นั้นเลิกละสิ่งผิดได้เองโดยไม่ต้องใช้อาชญา ตัวอย่าง

อ้างคำพูด:
แฟนเป็นคนที่เสเพลมาก กินเหล้า แบบว่าไม่ได้เรื่องน่ะค่ะ

แต่มีหมอดูหลายท่านทักว่าถ้าแฟนได้ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังจะบวชไม่สึกตลอดชีวิต
ตอนแรกดิฉันคบกับแฟนก็ไม่ทราบหรอกนะคะว่ามีหมอดูเคยทักไว้กับพ่อแม่แฟน

ดิฉันเป็นคนชอบทำบุญทำทาน นั่งสมาธิและสวดมนต์ แฟน ก็ทำตามดิฉันเพราะดิฉันบังคับแรกๆเมื่อไม่กี่วันนี้พาแฟนไปนั่งสมาธิมา (แบบยุบหนอพองหนอ) แค่ไม่กี่ชั่วโมง แฟนดิฉันก็ผิดปกติไปค่ะ

เค้าตื่นมาจากสมาธิ เค้าถามดิฉันว่า รู้สึกถึงลมหายใจที่ชัดเห็นเค้ารู้สึกว่าส่วนท้องเค้ามันยุบลงไปแค่ไหนอย่างไรเวลาหายใจเข้าออก เวลาเดินจงกรม เค้ารู้สึกถึงเท้าที่ย่ำลงพื้นว่าส่วนไหนที่กระทบพื้นชัดเจน

เค้าถามดิฉันว่ามันคืออะไร ดิฉันได้แต่นั่ง ไม่เคยเป็นแบบนี้เลยค่ะ

กลับมาจากวัดเค้าพูดว่า เค้าสดชื่น จับพวงมาลัยรถรู้ว่า มือเค้าจับพวงมาลัย รู้สึกชัดเจนมากๆ มีสติ
เค้าบอกเค้าเข้าใจถึงคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานว่ามันมีจริงๆ เหมือนคนใส่เเว่นมัวๆมาแล้วเช็ดจนมันใสชัดเจน

เค้าพูดแต่เรื่องนั่งสมาธิ กลับมาเค้าไม่ดื่มเหล้า สวดมนต์ นั่งสมาธิ ยิ้ม ใจเย็นและดูจะอิ่มบุญมากมาหลายวันแล้วค่ะ

ดิฉันดีใจค่ะ ที่เค้าเป็นแบบนี้ เค้าบอกเค้ากลัวที่ไปสูบบุหรี่ หรือ กินเหล้าอีก ความรู้สึกแบบนี้จะหายไป
เค้ากำลังเข้าถึงสมาธิใช่ไหมคะ ดิฉันจะพาเค้าไปนั่งบ่อยๆเค้าจะได้เป็นคนดี

ดิฉันอยากนั่งได้แบบเค้าจังเลยค่ะ ทำมาตั้งนานก็ยังไม่เป็นเหมือนเค้า เค้านั่งแป๊บเดียวเองไม่เคยสนใจเรื่องนี้ด้วย

มันน่าน้อยใจนัก!!

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2018, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างนี้ก็เช่นเดียวกัน สมมติว่าแม้บุคคลนั้นๆจะประสบทุกข์ภายนอก แต่ก็มีสุขภายในเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตอยู่ในกำมือซึ่งทำให้มันเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้

อ้างคำพูด:
ฯลฯ
ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไร ก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่
ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ (ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่ รร. สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจ จะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔ แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ ในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย ฯลฯ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ฯลฯ จนรู้สึกว่ากายหายไป ความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ
มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆ เพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่า ลมหายใจตอนนี้ มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่า ลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้ เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่
จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดี กับ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"
จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2018, 16:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ประธานกรรมการปฏิรูป ฯ ถามจริงต่อที่ประชุม
ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ คำสอนพระพุทธเจ้าดีเลิศ ทำไมชาวพุทธไทยจึงขัดแย้งได้ขนาดนี้ ?


ข้อสังเกตนั้น ดูเรื่องนี้ประกอบความเข้าใจ (เทียบ กับปัญญา ๓ ด้วย)

ทำไมมีปีกล่ะหนู ทำไมมีหูล่ะนก อ๋อ ไม่ต้องถกเถียงกัน มันชื่อว่าค้างคาว

ตามปกติ คนเราคิดเห็นไปได้ในขอบเขตของความรู้ ทีนี้ ถ้ารู้จักคิด ก็จะช่วยให้ก้าวไปในการหาความรู้ จึงให้คิดควบคู่ไปกับการหาความรู้ ให้การคิดเป็นเครื่องมือของการหาความรู้ แล้วหาความรู้เพื่ออะไร ก็เพื่อให้ถึงความจริง

มองในทางกลับกัน ในการหาความรู้นั้น เมื่อยังไม่ถึงความจริง ก็จึงยังคิดเห็นกันไป แต่พอถึงความจริง เมื่่อเห็นความจริงแล้ว ก็ไม่ต้องคิดเห็น คือไม่ต้องคิดเห็นเพื่อหาความรู้ให้เห็นความจริงในเรื่องนั้น พูดสั้นๆว่า พอรู้แน่ชัดแล้ว เมื่อเห็นความจริงแล้ว ก็ไม่ต้องมัวคิดเห็น ถ้าจะคิด ก็คิดในการที่จะเอาความรู้ไปใช้ต่อไป

ทีนี้ ในตอนที่ยังไม่เห็นความจริง ก็หาความรู้กันอยู่นั่น คนก็คิดเห็นกันไปในขอบเขตของความรู้ที่ตัวมี ตอนนี้ ก็จะคิดเห็นปรุงแต่งไปต่างๆ ก็คือเอาความรู้ที่มีอยู่นั่นแหละมาปรุงแต่ง ก็ปรุงแต่งออกมาในรูปต่างๆ รวมทั้งที่เรียกว่าการวิจารณ์

ถ้าปรุงแต่งดี ก็เป็นการสร้างสรรค์ รวมทั้งเป็นการก้าวไปในการหาความรู้ ที่จะไปถึงความจริง แต่ถ้าปรุงแต่งไม่เป็น หรือแต่งร้าย ก็จะกลายเป็นเสียหาย เหลวไหล จนเตลิดเปิดเปิง เริ่มตั้งแต่เป็นการปั้นแต่ง แล้วเรื่องไม่เป็นเรื่อง หรือเรื่องไม่เข้าเรื่อง ก็จะเกิดขึ้น แทนที่จะเพิ่มความรู้ ก็กลายเป็นความหลอก แทนที่จะใกล้ความจริงเข้าไป ก็กลายเป็นยิ่งห่างไกลความจริง

ที่ว่านี้ ในแง่หนึ่งก็คือบอกว่า ในการคิดเห็นต่างๆ รวมทั้งการวิจารณ์ จะต้องมีความจริงเป็นฐาน คือบนฐานของความรู้ในความจริง ที่มีอยู่ เราจะได้ก้าวต่อสู่ความรู้ในความจริงยิ่งขึ้นไป ตลอดถึงว่า เมื่อยืนอยู่บนฐานของความรู้ที่เป็นจริง เราก็จะสามารถคิดการในทางที่ดีงามสร้างสรรค์แก้ปัญหาได้อย่างดีที่สุดด้วย

เป็นอันว่า เมื่อเห็นความจริง ก็ไม่ต้องมัวอยู่กันแค่ความคิดเห็น ไม่่ต้องอยู่กันแค่วิจารณ์ จึงควรก้าวไปในความรู้ที่จะเข้าถึงความจริง ไม่ควรจมอยู่กับความคิดเห็น หรือแม้แต่วิจารณ์กันไป เหมือนดังไม่มีจุดหมาย อันถือได้ว่าเป็นความประมาทอย่างหนึ่ง

เล่าเป็นนิทานว่า ครั้งหนึ่ง มีค้างคาวตัวหนึ่ง บินไปตกลงที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ที่ชาวหมู่บ้านไม่เคยเห็น ไม่รู้จักค้างคาวกันเลย

ชาวบ้านคนหนึ่งมาเห็นค้างคาวนั้น ก็แปลกใจมาก มองดูก็ไม่รู้ว่าเป็นตัวอะไร มีปีกบินได้เหมือนนก แต่ทำไมมีหู แล้วรูปร่างก็เหมือนหนู แต่ทำไมมีปีก คิดไม่ออก จึงไปเรียกเพื่อนชาวบ้านมาดู

พอหลายคนดู ต่างคนก็ต่างคิดเห็น แล้วก็วิจารณ์กันไป บ้างว่านกนั่นแหละแต่มันเกิดมาผิดพวก จึงมีหูด้วย บ้างว่าหนูนั่นแหละ แต่เป็นพันธ์พิเศษมีปีก คิดเห็นกันไป ก็วิจารณ์กันไป บางคนว่ากันแรง แล้วก็เถียงกัน แรงขึ้นๆ เสียงดังขึ้นๆ ทำท่าจะมีเรื่อง

พอดีมีคนมาจากต่างถิ่น ได้ยินเสียงเถียงกันดัง ก็เข้ามาดู ถามรู้เรื่องแล้ว คนต่างถิ่นนั้นก็บอกให้ฟังว่า นี่ไม่ใช่ตัวประหลาดอะไรหรอก มันเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ในถิ่นของเขามีมาก มันชอบอยู่กันในถ้ำ ออกไปหากินกลางคืน เป็นอย่างนั้นๆ มันมีชื่อว่าค้างคาว

พอรู้ความจริง ทุกอย่างก็สงบ ชาวบ้านเลิกเถียงกัน หันมาบันเทิง

นี่คือ คนคิดเห็นกันไปในขอบเขตของความรู้ที่มี พอความรู้ไปถึง เห็นความจริง ก็ไม่ต้องคิดเห็น จึงควรก้าวกันไปในความรู้ อย่าอยู่แค่ความคิดเห็น จงฝึกคิดให้ดี คิดให้เป็น ให้ได้ความรู้ ให้ถึงความจริง ที่จะแก้ปัญหาได้ ทำจุดหมายที่ดีงามให้สำเร็จ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47919

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2018, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โรงเรียนไฮสคูลกลางเมืองมัณฑะเลย์ มีนักเรียน 4,000 คน สวดธัมมะจักก์ทุกวัน แยกสวดตามห้องเรียนช่วงเช้าก่อนเข้าเรียน ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน กล่าวว่า นักเรียนสวดธัมมะจักก์ทุกวัน ทำให้มีสมาธิในการเรียน กริยามารยาทเรียบร้อยขึ้น และผลการเรียนดีขึ้นด้วย

https://www.facebook.com/dhammayadana07 ... zOTYxMjk2/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2018, 01:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ถูกต้อง คือ

สุกขวิปัสสโก
เตวิชโช
ฉฬภิญโญ
ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งหมด ต้องผ่าน การศึกษา นวังคสัตถุศาสตร์ ในคำสอนของพระบรมศาสดา ประกอบด้วยองค์ 9
และเจริญกัมฐาน เจริญวิปัสสนา และเจริญตามมหาสติปัฎฐาน อันเป็นทางเอก ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2018, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อสชฺฌายมลา มนฺตา - อนุฏฺฐานมลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ - ปมาโท รกฺขโต มลํ.


มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน เรือนทั้งหลายมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
ความเกียจคร้าน เป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร