วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 17:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จักอานาปานสติ

คำว่า “อานาปานสติ” แยกออกเป็นสามคำ คือ คำว่า “อานะ” แปลว่า ลมหายใจเข้า ตรงกับคำว่า “อัสสาสะ” คำว่า “อาปานะ” ลมหายใจออก ตรงกับคำว่า “ปัสสาสะ” และคำว่า “สติ” แปลว่า ความกำหนดพิจารณา ความระลึกรู้ตาม รวมสามคำเข้าด้วยกัน เป็นอานาปานสติ แปลว่า ความกำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า และลมหายใจออก หมายถึง การใช้สติเป็นตัวกำหนดดูลมหายใจเข้า และลมหายใจออกที่เป็นปัจจุบันแต่ละขณะๆ เป็นหนึ่งในวิธีฝึกกัมมัฏฐาน 40 วิธี โดยจัดอยู่ในข้อที่ 9 แห่งกัมมัฏฐานประเภทที่ใช้สติเป็นตัวนำ ซึ่งเรียกว่า อนุสติ 10

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสำคัญของอานาปานสติ


อานาปานสติกัมมัฏฐาน เป็นวิธีการฝึกสมาธิเจริญวิปัสสนาที่นิยมกันมากที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะสามารถเจริญเป็นสมถกัมมัฏฐานให้สมบูรณ์ และยังสามารถเจริญเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้สติปัฏฐาน ๔ สมบูรณ์ได้อีก ทั้งยังเป็นสมาธิภาวนาแบบที่พระเจ้าตรัสยืนยันว่า เป็นระบบที่พระองค์ได้ทรงปฏิบัติ และตรัสรู้ เพราะพระองค์คุ้นเคยกับการฝึกสมาธิแบบนี้มาตั้งแต่ยังทรงเยาว์ ดังหลักฐานปรากฏในหนังสือพุทธประวัติตอนเสด็จพิธีแรกนาขวัญ ความว่า สิทธัตถราชกุมาร ได้ตามเสด็จพระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาไปในพิธีแรกนาขวัญของชาวกรุงกบิลพัสดุ์ ขณะที่พิธีการกำลังดำเนินอยู่นั้น ได้ปลีกตัวไปประทับใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง เจริญอานาปานสติ คือทรงใช้สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ซึ่งนับว่า พระองค์เป็นนักภาวนาหรือนักสมาธิโดยกำเนิดก็ว่าได้ ดังนั้น พุทธบริษัททั้งในอดีต และปัจจุบันจึงนิยมใช้อานาปานสติเป็นแบบอย่าง ในการฝึกกัมมัฏฐาน เพราะศรัทธาเชื่อมั่นว่า เป็นสมาธิภาวนาที่พระพุทธองค์ใช้โดยมีหลักฐานอ้างอิงในพระไตรปิฎกหลากที่หลายแห่งมากที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูตัวอย่างพุทธพจน์สักเล็กน้อย


“ดูกรราหุล เมื่อเจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ แม้แต่ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ซึ่งมีในท้ายที่สุด ก็ดับไปโดยรู้ มิใช่ดับโดยไม่รู้”

พุทธพจน์แสดงวิธีปฏิบัติ

“ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ เจริญให้มากอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก?

มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

ฯลฯ

เมื่อหายใจออกยาว - ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว - ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น - ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น - รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

ฯลฯ

แค่นี้พอ คนมีภูมิรู้อยู่บ้าง เห็นก็จับหลักได้แล้ว แต่ลมหายใจเข้า กับ ออกจริงๆ มันไม่เป็นลำดับหนึ่ง สอง สาม สี่ แบบที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนั่น ดังนั้น อ่านแล้วอย่าติดในตัวอักษร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ค. 2016, 08:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปราชญ์บางท่านชี้ให้สังเกตความแตกต่างระหว่างอานาปานสติ กับ วิธีฝึกหัดเกี่ยวกับลมหายใจของลัทธิอื่นๆ เช่น การบังคับควบคุมลมหายใจของโยคะ ที่เรียกว่า ปราณยาม เป็นต้น ว่าเป็นคนละเรื่องกันทีเดียว โดยเฉพาะว่า อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ ส่วนการฝึกบังคับลมหายใจนั้น บางอย่างรวมอยู่ในวิธีบำเพ็ญทุกรกิริยา ที่พระพุทธเจ้าเคยบำเพ็ญ และละเลิกมาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2016, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2016, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันไม่ง่ายอย่างที่คิด คือ ชีวิตคือรูปนาม ขันธ์ ๕ เป็นธรรมชาติที่ซับซ้อนลุ่มลึก โดยเฉพาะนามธรรม ที่วางหลักข้างบนนั่น บ้างก็คิดว่ายังงั้นๆแหละไม่มีอะไร แต่พอทำภาวนาคือลงมือทำเข้าจริง ๆ มีอะไรมากมายที่ตนเองแทบจะวิ่งหนีตนเอง

ตย.เสริมคำพูดนั้น

อ้างคำพูด:
เนื่องจาก จขกท.ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย สมาธิเป็นอะไรที่สำคัญมาก เมื่อไม่นานมานี้ได้หัดอานาปานสติภาวนาด้วยตนเองหลังจากที่ได้สวดมนต์มาตลอด โดยได้คำปรึกษาจากเพื่อนคนนึง แต่เพื่อนฝึกแบบภาวนาพุทโธ ซึ่งจขกท.ได้ลองภาวนาพุทโธแล้ว แต่รู้สึกอึดอัดเลยเปลี่ยนมาเป็นอานาปานสติภาวนา

หลังจากอานาปานสติภาวนาก้อเข้าสมาธิได้เรื่อยมา จนครั้งล่าสุดที่เข้าสมาธิ เมื่อประมาณสามวันที่แล้ว คือ เห็นนิมิตรู้สึกตัวยืด กับ การหายใจลำบาก แน่นหน้าอก จนถึงกับว่าจะหายใจไม่ได้ ด้วยความตกใจจึงออกจากสมาธิไปแล้วหลังจากนั้นก้อไม่เคยเข้าสมาธิได้อีกเลย

อาการแน่นหน้าอกส่วนนึงอาจเกิดจากการที่ไม่สบายเป็นหวัดอยู่ด้วยก้อเป็นได้

คือ จขกท.เป็นคนขี้ตกใจและขี้กลัวมาก เข้าสมาธิครั้งแรกก้อตกใจ แต่หลังๆมาเมื่อรู้สึกปีติก้อมีความรู้สึกยึดติด คือพอเริ่มนั่งสมาธิจะคิดตลอดว่านี่คือเข้าสมาธิหรือยัง กังวลตลอดว่าเข้าสมาธิหรือยัง เพื่อนบอกว่าเป็นการหลงในปีติ จขกท.รู้ตัวว่าเป็นแบบที่เพื่อนบอก แต่ไม่รู้จะแก้ยังไง

ตอนนี้กำลังคิดว่าจะลองกลับไปสวดมนต์อย่างเดียวสักพักแล้วค่อยเริ่มใหม่

อยากได้คำแนะนำในเรื่องการแก้อาการหลงในปีติ

http://pantip.com/topic/35221660

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2016, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยคีที่เดินทางสายนี้ ไม่มีทางจะใช้วิธีอย่างอื่นแก้ปัญหาได้ นอกจากกำหนดรู้ตามเป็นจริง คือ ตามสภาวะของมัน ขณะนั้น รู้สึกยังไง เป็นยังไง พึงกำหนดจิตว่าในใจ ยังงั้นๆ

ตย. รู้สึกตัวยืด "ตัวยืดหนอๆๆๆ" รู้สึกกลัว "กลัวหนอๆๆๆ" ตกใจ "ตกใจหนอๆๆๆ" รู้สึกอึดอัด "อึดอัดหนอๆๆๆ" รู้หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ก็ว่าในใจตามที่รู้สึกนั้น นี่เรียกว่ารู้ตามที่มันเป็น คือ ทุกข์พึงกำหนดรู้

เมื่อกำหนดรู้ตามสภาวะมันแล้ว ใช้กัมมัฏฐานอะไร ก็เกาะจับกัมมัฏฐานที่ใช้ ใช้ลมเข้าออก-ออก ก็ตามลมเข้า ลมออกต่อไป ใช้ท้องพองกับท้องยุบ ก็เกาะจับพอง-ยุบ ว่าไปใหม่ ฯลฯ ว่าไปๆๆๆ รู้สึกยังไงอีก วางลม พอง-ยุบ กำหนดความรู้สึกนั้น (จับจุดตรงหัวใจอกด้านซ้าย)


คำเสริม "หนอ" ไม่สำคัญ เปลี่ยนเป็นคำอื่นได้ บางขณะตัดทิ้งได้ เช่น ขณะนั้น หายใจเร็ว (หนอไม่ทัน) ก็ว่า พอง-ยุบๆๆๆๆๆๆ เข้า-ออกๆๆๆ ตัดคำหนอไปเลย อย่าตั้งท่ายึดติดหนอก่อนลงมือทำ เหมือนท่านอโศก คิกๆๆ :b32:

แต่สภาวะที่เน้นปล่อยเฉยๆไม่กำหนดมิได้ คือต้องกำหนดทุกๆขณะที่รู้่สึกๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2016, 20:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
รูปภาพ

อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

onion
อานาปานสติ ไม่ใช่แค่เพียงวิธีการฝึกสติ
แต่อาปานสติตามมีมาในอานาปานสติสูตรนั้น เป็นวิธีปฏิบัติธรรม โดยการเจริญสมถะควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา
ลองพากันสังเกตพิจารณาให้ดี จะเห็นว่าวิธีปฏิบัตินี้มีถึง 16 ขั้นตอนไปตามลำดับแห่งธรรม 16 ขั้นตอนเหล่านั้นมิใช่ว่าต้องกำหนดให้เกิดขึ้นมา แต่เขาจะเป็นไปเองตามลำดับแห่งธรรมชาติของลมหายใจและของจิตเมื่อถูกสติและปัญญาเข้า มากำกับ ที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือลมหายใจจะสงบลงน้อยลงไปเรื่อยๆ จนหยุดหายใจ ฌาณ ญาณปัญญาต่างๆก็จะเจริญขึ้นไปเรื่อยๆเป็นลำดับๆ

สังเกตสิ2-3ข้อแรกจะเป็นการกำหนดรู้อาการของลมหายใจจนเมื่อลมหายใจสงบลงมากแล้ว นิวรณ์ทั้ง 5 จะสงบตามลงไปด้วย จนก้าวเข้าสู่องค์ฌาณ ดังคำสอนที่ว่า
เราจะเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่แล้วหายใจออก
เราจะเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่แล้วหายใจเข้า

เราจะเป็นผู้กำหนดรู้ปีติอยู่แล้วหายใจออก
เราจะเป็นผู้กำหนดรู้ปีติอยู่แล้วหายใจเข้า

ละเอียดเข้าๆไปจนสุดท้าย

เราจะเป็นผู้กำหนดเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำอยู่แล้วหายใจออก
เราจะเป็นผู้กำหนดรู้ความจางคลายอยู่เป็นประจำอยู่แล้วหายใจเข้า

ดูให้ดี

ตอนกำหนดรู้ สภาวธรรมเช่น กายสังขารสงบรำงับ จิตสังขารสงบรำงับ ปีติ
ความจางคลาย ความดับไม่เหลือต่างๆเหล่านั้นเป็นตอนวิปัสสนาภาวนา

ส่วนการรู้ลมหายใจออกหายใจเข้านั้นเป็นสมถะภาวนา

จึงได้กล่าวไว้แต่ต้นว่า

อานาปานสติเป็นวิธีปฏิบัติธรรม โดยการเจริญสมถะควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา

กรัชกายจะเห็นนัยยะสำคัญอันนี้หรือเปล่า

หรือจะคอยแต่กล่าวตู่ดูถูกซ้ำเติมว่าอโศกะหรือท่านอื่นรู้มาผิดๆ ต้องอย่างที่กรัชกายรู้กรัชกายอธิบายนั้นจึงจะถูกต้อง และอาจเป็นเพราะด้วยเหตุโมหะอันนี้ด้วยกระมังที่ฟังคำอธิบายของคุณรสรินไม่รู้เรื่อง

รีบกลับตัวกลับใจแก้ไขเสียนะกรัชกาย

onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2016, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
รูปภาพ

อานาปานสติ เป็นวิธีฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกหายใจ คือ อาศัยลมหายใจ เป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับฝึกสติ

onion
อานาปานสติ ไม่ใช่แค่เพียงวิธีการฝึกสติ
แต่อาปานสติตามมีมาในอานาปานสติสูตรนั้น เป็นวิธีปฏิบัติธรรม โดยการเจริญสมถะควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา
ลองพากันสังเกตพิจารณาให้ดี จะเห็นว่าวิธีปฏิบัตินี้มีถึง 16 ขั้นตอนไปตามลำดับแห่งธรรม 16 ขั้นตอนเหล่านั้นมิใช่ว่าต้องกำหนดให้เกิดขึ้นมา แต่เขาจะเป็นไปเองตามลำดับแห่งธรรมชาติของลมหายใจและของจิตเมื่อถูกสติและปัญญาเข้า มากำกับ ที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือลมหายใจจะสงบลงน้อยลงไปเรื่อยๆ จนหยุดหายใจ ฌาณ ญาณปัญญาต่างๆก็จะเจริญขึ้นไปเรื่อยๆเป็นลำดับๆ

สังเกตสิ2-3ข้อแรกจะเป็นการกำหนดรู้อาการของลมหายใจจนเมื่อลมหายใจสงบลงมากแล้ว นิวรณ์ทั้ง 5 จะสงบตามลงไปด้วย จนก้าวเข้าสู่องค์ฌาณ ดังคำสอนที่ว่า
เราจะเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่แล้วหายใจออก
เราจะเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่แล้วหายใจเข้า

เราจะเป็นผู้กำหนดรู้ปีติอยู่แล้วหายใจออก
เราจะเป็นผู้กำหนดรู้ปีติอยู่แล้วหายใจเข้า

ละเอียดเข้าๆไปจนสุดท้าย

เราจะเป็นผู้กำหนดเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำอยู่แล้วหายใจออก
เราจะเป็นผู้กำหนดรู้ความจางคลายอยู่เป็นประจำอยู่แล้วหายใจเข้า

ดูให้ดี

ตอนกำหนดรู้ สภาวธรรมเช่น กายสังขารสงบรำงับ จิตสังขารสงบรำงับ ปีติ
ความจางคลาย ความดับไม่เหลือต่างๆเหล่านั้นเป็นตอนวิปัสสนาภาวนา

ส่วนการรู้ลมหายใจออกหายใจเข้านั้นเป็นสมถะภาวนา

จึงได้กล่าวไว้แต่ต้นว่า

อานาปานสติเป็นวิธีปฏิบัติธรรม โดยการเจริญสมถะควบคู่ไปกับการเจริญวิปัสสนา

กรัชกายจะเห็นนัยยะสำคัญอันนี้หรือเปล่า

หรือจะคอยแต่กล่าวตู่ดูถูกซ้ำเติมว่าอโศกะหรือท่านอื่นรู้มาผิดๆ ต้องอย่างที่กรัชกายรู้กรัชกายอธิบายนั้นจึงจะถูกต้อง และอาจเป็นเพราะด้วยเหตุโมหะอันนี้ด้วยกระมังที่ฟังคำอธิบายของคุณรสรินไม่รู้เรื่อง

รีบกลับตัวกลับใจแก้ไขเสียนะกรัชกาย

onion



อโศกเหนื่อยก็พักเถอะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2016, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b12: :b17: :b19: :b11: :b38:
สบายๆ
smiley
https://youtu.be/3nlwg6Bku7I
:b36:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2016, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b13: :b12: :b17: :b19: :b11: :b38:
สบายๆ
smiley
https://youtu.be/3nlwg6Bku7I
:b36:


มอบให้ท่านอโศกอีกคน คิกๆๆ

https://www.youtube.com/watch?v=GysoYuSqbaw

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2016, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b36:
ลองฟังดู 16 ขั้นตอนของอานาปานสติ

https://youtu.be/0F7f-XzcW_8

:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2016, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b36:
ลองฟังดู 16 ขั้นตอนของอานาปานสติ

https://youtu.be/0F7f-XzcW_8

:b38:



ภาคปฏิบัติทางจิต จะท่านอโศกหรือใครๆ

ลมหายใจเข้า ว่า "พุท" ลมหายใจออก ว่า "โธ" (พุท-โธๆๆๆๆ) หรือ

ลมหายใจเข้า ว่า "ธัม" ลมหายใจออก ว่า "โม" (ธัม-โมๆๆๆ) หรือ

ลมหายใจเข้า ว่า "สัง" ลมหายใจออก ว่า "โฆ" (สัง-โฆๆๆๆ)

ฯลฯ

หรือ ดูอาการพองของท้อง (เพราะลมเข้า) ว่า "พองหนอ" ดูอาการท้องที่ยุบ (เพราะลมออก) ว่า "ยุบหนอ" พองหนอ ยุบหนอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ร้อยหน พันหน หมื่นๆหน เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี โดยไม่ต้องนับขั้น คิดพวงถึงขั้น 16 ขั้นอย่างที่ท่านอโศกนำมาเลย ไม่ต้อง กองไว้ที่หน้าประตูเลย :b32: เพียงตามดูรู้ทัน ลมเข้า - ลมออก ตามดูรู้ทันอาการท้องพอง ท้องยุบ แต่ละขณะๆๆ

นี่แหละความหมายปัจจุบันขณะ,ขณะปัจจุบัน ในการปฏิบัติทางจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 17:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b7:
โธ่เอยอนิจจากรัชกาย ไม่มีปัญญาเข้าใจและปฏิบัติตาม 16 ขั้นตอนของอานาปานสติวิชชาที่พระพุทธเจ้าทรงสอน กลับมาเอาวิชชาหนอซึ่งหยาบกว่ามายกย่องแทนด้วยความเขลา หารู้ไม่ว่านี่เป็นการดูแคลนธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนโดยตรงเลยเชียวนะ บาปและตกนรกได้นะกรัชกาย
:b28:
ไปหามาให้ดูหน่อยว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนวิชาหนอไว้ที่ตรงไหนในพระสูตร?

s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2016, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b7:
โธ่เอยอนิจจากรัชกาย ไม่มีปัญญาเข้าใจและปฏิบัติตาม 16 ขั้นตอนของอานาปานสติวิชชาที่พระพุทธเจ้าทรงสอน กลับมาเอาวิชชาหนอซึ่งหยาบกว่ามายกย่องแทนด้วยความเขลา หารู้ไม่ว่านี่เป็นการดูแคลนธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนโดยตรงเลยเชียวนะ บาปและตกนรกได้นะกรัชกาย
:b28:
ไปหามาให้ดูหน่อยว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนวิชาหนอไว้ที่ตรงไหนในพระสูตร?

s006



อโศกเอ้ย บอกเท่าไหร่ไม่ฟัง จุดสำคัญคือ ว่าในใจ (กำหนดรู้ตามที่มันเป็น) รู้สึกยังไง เป็นยังไง ว่าในใจยังงั้น เช่นรู้สึก ปวด....รำคาญ....ฟุ้งซ่าน....เห็นภาพทางใจ...นี่แหละสภาวะของมัน นะ :b32:

ปวด ก็ปวดหนอ รำคัญหนอ ฟุ้งซ่านหนอ เห็นหนอ

หนอตัดออกได้ ปวดๆๆ รำคาญๆๆๆ ฟุ้งซ่านๆๆๆ เห็นๆๆๆ เห็นมะไม่เอาหนอ คิกๆๆๆ

ใส่คำอื่นก็ได้ เอาอะไรดีล่ะ ยกตัวให้ดูแล้วกันนะ ถ้าไม่เอาหนอจะเป็นยังไง ตย.เช่น รู้สึกปวด ปวดนะจ๊ะๆๆๆ รำคาญนะๆๆๆ ฟุ้งซ่านจังค่ะ เห็นนะคะ คิกๆๆ

มันเป็นวิธีปฏิบัติ เป็นมรรค เข้าใจมั้ย เพื่ออะไร เพื่อให้ตามขณะปัจจุบันแต่ละขณะๆทัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 83 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร