วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ศาสดาโฮฮับ ได้เผยแผ่ศาสนาของตน คือ ตอบคำถามสาวิกาที่

viewtopic.php?f=1&t=52666&p=395187#p395187


อ้างคำพูด:
Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:

รูป ที่บาลีเรียก"รูปัง"นั้น ไม่ใช่กาย แต่เป็นองค์ธรรมในสังขตธรรม (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน) รูป เป็นเหตุให้เกิด....มหาภูติรูป ๔
ส่วนกายก็คือ.....ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

...........

คุณโฮ คะ นิดนึงไม่เข้าใจตรงที่วา
รูป เป็นเหตุให้เกิด....มหาภูติรูป๔

มหาภูติรูป ๔ ไม่ใช่ ธรรมแท้ ที่ไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่ง เหรอ?
ทำไมว่า ว่ามีเหตุเกิดจาก รูปล่ะ

........

มหาภูติรูป เป็นธรรมแท้ ที่ไม่ใช่การปรุงแต่งครับ

ที่ว่ารูป (รูปัง) เป็นเหตุให้เกิดมหาภูติรูป๔ เป็นเพราะเราไม่สามารถรู้ความเป็นสังขตธรรมได้โดยตรง
การจะรู้สังขตธรรมได้นั้น....เราก็ต้องอาศัยดูที่กายใจของตนเองครับ

เมื่อกายใจเราเกิดการกระทบ สังขตธรรมจะเกิดทันที แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า
เกิดสังขตธรรมที่ไหนอย่างไร เราก็ต้องไปดูที่กายใจของเรา

ก่อนที่จะพิจารณาเราต้องระลึกไว้เสมอว่า....แม้จะกล่าวเพียงองค์ธรรมตัวหนึ่งตัวใด
นั้นหมายถึงมีองค์ธรรมตัวอื่นประกอบอยู่ด้วยเสมอ เช่นกล่าวรูปอย่างเดียวก็หมายถึง
ยังมี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ประกอบด้วย กายก็เช่นกันต้องมีใจประกอบด้วย
การกล่าวเพียงอย่างเดียวท่านเรียก การวิปัสสนา(แยกรูปนาม)

เราจะรู้ทันองค์ธรรมในสังขตธรรมได้อย่างไร นั้นก็ต้องไปดูที่กายใจของเรา
ยกตัวอย่าง เกิดการกระทบที่หู เราก็ต้องไปพิจารณาที่หู
หูเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้ากล่าวเพียงเท่านี้ หูก็คือกาย
แต่ตามที่บอกไว้ตอนต้นว่า กายไม่สามารถอยู่เดียวโดดได้ จะต้องมีใจ(ผู้รู้)อยู่ด้วย
เหตุนี้รูปในสังขตธรรม จึงต้องเรียกว่า มหาภูติรูป๔

แท้จริงแล้ว รูปในสังขตะก็คือกาย (ธาตุ๔) เพียงแต่กายหรือธาตุ๔มันไม่สามารถอยู่ตัวเดียวโดดๆ
มันยังมีใจ (ผู้รู้) อาศัยซึ่งกันและกันอยู่ จึงต้องเรียกให้ถูกต้องตามลักษณะ เพื่อให้รู้ว่า...
มันไม่สามารถอยู่เดียวโดดๆได้ ฉะนั้นถ้ากล่าวถึงรูปในสังขตะและกาย จะต้องกล่าวว่า มหาภูติรูป๔

มันยังมีองค์ธรรมที่เหลืออีก คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน สี่ตัวนี้ที่เกิดพร้อมรูปอย่าลืม
แต่ขออธิบายแค่ที่เป็นปัญหา เดียวจะงง ...หรือถ้าอยากรู้ก็ถามมาได้ครับ :b13:

ปล. ธรรมใดเกิดตามเหตุปัจจัย นับเป็นตถตา
ตถตาคือธรรมมันเกิดตามธรรมชาติหลีกเลี่ยงไม่ได้ สังขตะก็เป็นธรรมชาติ
มหาภูติรูป๔นั้นก็เกิดตามเหตุปัจจัยก็คือสังขตะ มหาภูติรูป ๔ จึงเป็นธรรมแท้ ไม่ใช่สิ่งปรุงแต่ง
ถ้าหลังจากมีการยึดมั่นแล้วเท่านั้นจึงถือว่ามีการปรุงแต่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่ของศาสนาพุทธ :b1: (รูป มีหลายนัยนะดูดีๆ)

รูป ๑. สิ่งที่ต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆอันขัดแย้งกัน, สิ่งที่มีรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะของมัน,
ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูต หรือ ธาตุ ๔
และ อุปาทายรูป ๒๔ (= รูปขันธ์ ในขันธ์ ๕)
๒. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖) ๓. ลักษณะนามใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้องค์


รูป ๒๘ รูปธรรมทั้งหมดในรูปขันธ์ จำแนกออกไปตามนัยแห่งอภิธรรม เป็น ๒๘ อย่าง จัดเป็น ๒ ประเภท คือ

ก. มหาภูตรูป ๔ รูปใหญ่, รูปอันเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ที่เรียกกันให้ง่ายว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม, ภูตรูป ๔ ก็เรียก (ในคัมภีร์ไม่นิยมมหาภูตรูป)

พึงทราบว่า ธาตุ ๔ ปฐวี อาโป เตโช วาโย หรือดิน น้ำ ไฟ ลม อย่างที่พูดกันในภาษาสามัญนั้น เป็นการกล่าวถึงธาตุในลักษณะที่คนทั่วไปจะเข้าใจ และสื่อสารกันได้ ตลอดจนที่จะให้ให้สำเร็จประโยชน์ เช่น ในการเจริญกรรมฐาน เป็นต้น
แต่
ในความหมายที่แท้จริง ธาตุเหล่านี้เป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง เช่น ปฐวีธาตุที่เรียกให้สะดวกว่าดินนั้น มีอยู่แม้แต่ในสิ่งที่เรียกกันสามัญว่าน้ำว่าลม อาโปธาตุที่เรียกให้สะดวกว่านั้น ก็เป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้ (เราไม่สามารถรับรู้อาโปธาตุด้วยประสาททั้ง ๕ แต่มันเป็นสุขุมรูปที่รู้ด้วยมโน) และอาโปนั้น ก็มีอยู่ในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในก้อนหินแห้ง ในก้อนเหล็กร้อน และในแผ่นพลาสติก ดังนี้เป็นต้น จึงมีประเพณีจำแนกธาตุสี่แต่ละอย่างนั้นเป็น ๔ ประเภท ตามความหมายที่ใช้ในแง่และละดับต่างๆ คือ เป็นธาตุในความหมายที่แท้โดยลักษณะ (ลักขณะ)
ธาตุในสภาพมีสิ่งประกอบปรุงต่างที่มนุษย์เข้าถึงเกี่ยวข้องตลอดจนใช้งานใช้การ ซึ่งถือเป็นธาตุอย่างนั้นๆ ตามลักษณะเด่นที่ปรากฏ (สสัมภาร)
เป็นธาตุในความหมายที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน (นิมิต หรือ อารมณ์)
เป็นธาตุในความหมายตามที่สมมติ เรียกกัน (สมมติ) ดังนี้เป็นต้น

ปฐวีธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักษณะปฐวี ปฐวีโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะแข้นแข็งแผ่ไป เป็นที่ตั้งอาศัยให้ปรากฏตัวของประดารูปที่เกิดร่วม (เรียก ปรมัตถปฐวี บ้าง กักขฬปฐวี บ้างก็มี)

๒. สสัมภารปฐวี ปฐวีโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ภายนอกตัว เช่น ทอง เงิน เหล็ก กรวด ศิลา ภูเขา

๓. อารัมมณปฐวี ปฐวีโดยอารมณ์ คือดินเป็นอารมณ์ในกรรมฐาน โดยเฉพาะมุ่งเอาปฐวีกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต (เรียกนิมิตปฐวีบ้าง กสิณปฐวี บ้างก็มี)

๔. สมมติปฐวี ปฐวีโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือแผ่นดินเป็นเทวดาว่าแม่พระธรณี (บัญญัติปฐวี ก็เรียก)

อาโปธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณอาโป อาโปโดยลักษณะ ได้แก่ ภาวะไหลซ่าน เอิบอาบ ซาบซึม เกาะกุม (เรียกปรมัตถอาโป ก็ได้)

๒. สสัมภารปฐวี อาโปโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบภายในกาย เช่น ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ
ภายนอกตัว เช่น น้ำดื่ม น้ำชา น้ำยา น้ำผลไม้ น้ำฝน น้ำผึ้ง น้ำตาล ห้วยละหาน แม่น้ำ คลอง บึง

๓. อารัมมณอาโป อาโปโดยเป็นอารมณ์ คือน้ำที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตอาโปบ้าง หรือกสิณอาโป ก็ได้)

๔. สมมติอาโป อาโปโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือน้ำเป็นเทวดาว่าแม่พระคงคา พระพิรุณ เป็นต้น (บัญญัติอาโป ก็เรียก)

เตโชธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณเตโช เตโชโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่ร้อน ความร้อน ภาวะที่แผดเผา สภาวะที่ทำให้ย่อยสลาย (เรียกปรมัตถเตโช ก็ได้)

๒. สสัมภารเตโช เตโชโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ไอร้อนของร่างกาย ไฟที่เผาผลาญย่อยอาหาร ไฟที่ทำกายให้ทรุดโทรม
ภายนอกตัว เช่น ไฟถ่าน ไฟฟืน ไฟน้ำมัน ไฟป่า ไฟหญ้า ไฟฟ้า ไอแดด

๓. อารัมมณเตโช เตโชโดยเป็นอารมณ์ คือไฟที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตเตโช หรือกสิณเตโช ก็ได้)

๔. สมมติเตโช เตโชโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือไฟเป็นเทวดาว่าแม่พระเพลิง แม่พระอัคนีเทพ เป็นต้น (บัญญัติเตโช ก็เรียก)


วาโยธาตุ ๔ อย่าง คือ

๑. ลักขณวาโย วาโยโดยลักษณะ ได้แก่ สภาวะที่สั่นไหว ค้ำจุน เคร่งตึง (เรียกปรมัตถวาโย ก็ได้)

๒. สสัมภารวาโย วาโยโดยพร้อมด้วยเครื่องประกอบ ภายในกาย เช่น ลมหายใจ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมหาว ลมเรอ
ภายนอกตัว เช่น ลมพัดลม ลมสูบยางรถ ลมเป่าไฟให้โชน ลมร้อน ลมหนาว ลมพายุ ลมฝน ลมเหนือ ลมใต้

๓. อารัมมณวาโย วาโยโดยเป็นอารมณ์ คือลมที่เป็นนิมิตในกรรมฐาน (เรียกนิมิตตวาโย หรือกสิณวาโย ก็ได้)

๔. สมมติวาโย วาโยโดยสมมติเรียกกันไปตามที่ตกลงบัญญัติ เช่น ที่นับถือลมเป็นเทวดา เรียกว่าแม่พระวารุต พระพาย เป็นต้น (บัญญัติวาโย ก็เรียก)


อุปาทายรูป ๒๔ รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูต,อาการของภูตรูป, อุปาทารูป ๒๔ ก็เรียก

มี ๒๔ คือ

ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่ จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย กาย, มโน ใจ,

ข. โคจรรูป หรือวิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (โผฏฐัพพะไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)

ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย

ง. หทัยรูป คือ หทัยวัตถุ หัวใจ

จ.ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่

ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา

ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง

ญ. วิญญัตติรูป ๒ คือ กายวิญญัตติ ไหวกายให้รู้ความ วจีวิญญัตติ ไหววาจาให้รู้ความ คือ พูด

ฏ. วิการรูป ๕ อาการตัดแปลงต่างๆ ได้แก่ ลหุตา ความเบา มุทุตา ความอ่อน กัมมัญญตา ความควรแก่งาน (อีก ๒ คือ วิญญัตติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)

ฎ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ ความเติบขึ้นได้ สันตติ สืบต่อได้ ชรตา ทรุดโทรมได้ อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูปเพียง ๓ จึงได้ ๒๔)




รูป ๒๘ นั้น นอกจากจัดเป็น ๒ ประเภทหลักอย่างนี้แล้ว ท่านจัดแยกประเภทเป็นคู่ๆ อีกหลายคู่ พึงทราบโดยสังเขป ดังนี้

คู่ที่ ๑ นิปผันนรูป (รูปที่สำเร็จ คือ เกิดจากปัจจัยหรือสมุฏฐาน อันได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร โดยตรง มีสภาวลักษณะของมันเอง) มี ๑๘ คือ ที่มิใช่อนิปผันนรูป (รูปที่มิได้สำเร็จจากปัจจัยหรือสมุฏฐานโดยตรง ไม่มีสภาวะลักษณะของมันเอง เป็นเพียงอาการสำแดงของนิปผันนรูป) ซึ่งมี ๑๐ คือ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔

คู่ที่ ๒ อินทรียรูป (รูปที่เป็นอินทรีย์ คือ เป็นใหญ่ในหน้าที่) มี ๘ คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ ชีวิตรูป ๑
อนินทรียรูป (รูปที่มิใช่อินทรีย์) มี ๒๐ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๓ อุปาทินนรูป (รูปที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครอง คือ รูปซึ่งเกิดแต่กรรม ที่เป็นอกุศลและโลกียกุศล) ได้แก่ กัมมชรูป มี ๑๘ คือ อินทรีย์รูป ๘ นั้น หทัยรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑
อนุปาทินนรูป (รูปที่ตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดครอง มิใช่กัมมชรูป) ได้แก่ รูป ๑๐ อย่างที่เหลือ (คือ สัททรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔)

สำหรับข้อที่ ๓ นี้ มีข้อที่ต้องทำความเข้าใจซับซ้อนสักหน่อย คือ ที่กล่าวมานั้น เป็นการอธิบายตามคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี
แต่ในโมหวิจเฉทนี ท่านกล่าวว่า อุปาทินนรูป มี ๙ เท่านั้น ได้แก่ อินทรียรูป ๘ และหทัยรูป ๑
อนุปาทินนรูป ได้แก่ รูป ๑๙ อย่างที่เหลือ (คือ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ สัททรูป ๑ วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔)


ที่ท่านว่าอย่างนี้ มิได้ขัดกัน ดังที่บัญจิกา ชี้แจงว่า ที่นับอุปาทินนรูปเป็น ๙ ก็เพราะเอาเฉพาะเอกันตกัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียวแท้ๆ (ไม่มีในอุตุชรูป เป็นต้น) ซึ่งมีเพียง ๙ อย่างดังที่กล่าวแล้ว (คือ อินทรียรูป ๘ และหทัยรูป ๑)
ส่วนกัมมชรูปอีก ๙ อย่าง (อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑) ไม่นับเข้าด้วย เพราะเป็น อเนกันตกัมมชรูป คือ มิใช่เป็นรูปที่เกิดจากกรรมอย่างเดียวแท้ (จิตตชรูปก็ดี อุตุชรูปก็ดี อาหารชรูปก็ดี ล้วนมีรูป ๙ อย่าง นี้เหมือนกับกัมมชรูปทั้งนั้น)


โดยนัยนี้ เมื่อนับอเนกันตกัมมชรูป (ยอมนับรูปที่ซ้ำกัน) รวมเข้ามาด้วย ก็จึงมีวิธีพูดแสดงความหมายของรูปคู่ที่ ๓ นี้แบบปนรวมว่า อุปาทินนรูป ได้แก่ กัมมชรูป ๑๘ คือ อินทรียรูป ๘ หทัยรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)
อนุปาทินนรูป ได้แก่ จิตตชรูป ๑๕ (รูปที่เกิดแต่จิต วิญญัตติรูป ๒ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)
อุตุชรูป ๑๓ (รูปที่เกิดแต่อุตุ วิการรูป ๓ สัททรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)
อาหารรูป ๑๒ (รูปที่เกิดแก่อาหาร วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑)

คู่ที่ ๔ โอฬาริกรูป (รูปหยาบ ปรากฏชัด) มี ๑๒ คือ ปสาทรูป ๕ วิสัยรูป ๗
สุขุมรูป (รูปละเอียด รับรู้ทางประสาททั้ง ๕ ไม่ได้ รู้ได้แต่ทางมมโนทวาร) มี ๑๖ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๕ สันติเกรูป (รูปใกล้ รับรู้ง่าย) มี ๑๒ คือ ประสาท ๕ วิสยรูป ๗
ทูเรรูป (รูปไกล รับรู้ยาก) มี ๑๖ คือ ที่เหลือจากนั้น (เหมือนคู่ที่ ๔)

คู่ที่ ๖ สัปปฏิฆรูป (รูปที่มีการกระทบให้เกิดการรับรู้) มี ๑๒ คือ ประสาท ๕ วิสยรูป ๗
อัปปฏิฆรูป (รูปที่ไม่มีการกระทบต้องรู้ด้วยใจ) มี ๑๖ คือ ที่เหลือจากนั้น (เหมือนคู่ที่ ๔)

คู่ที่ ๗ สนิทัสสนรูป (รูปที่มองเห็นได้) มี ๑ คือ วัณณะ ๑ ได้แก่ รูปารมณ์
อนิทัสสนรูป (รูปที่มองเห็นไม่ได้) มี ๒๗ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๘ วัตถุรูป (รูปเป็นที่ตั้งอาศัยของจิตและเจตสิก) มี คือ ปสาทรูป ๕ หทัยรูป ๑
อวัตถุรูป (รูปอันไม่เป็นที่ตั้งอาศัยของจิต และเจตสิก) มี ๒๒ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๙ ทวารรูป (รูปเป็นทวาร คือเป็นทางรับรู่ของวิญญาณห้า และทางทำกายกรรม และวจีกรรม) มี ๗ คือ ปสาทรูป ๕ วิญญัตติรูป ๒
อทวารรูป (รูปอันมิใช่เป็นทวาร) มี ๒๑ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๑๐ อัชฌัตติกรูป (รูปภายใน ฝ่ายของตนที่จะรับรู้โลก) มี คือ ปสาทรูป ๕
พาหิรรูป (รูปภายนอก เหมือนเป็นพวกอื่น) มี ๒๓ คือ ที่เหลือจากนั้น

คู่ที่ ๑๑ โคจรัคคาหิกรูป (รูปที่รับโคจร คือ รับรู้อารมณ์ห้า) มี ๕ คือ ปสาทรูป ๕ (แยกย่อยเป็น ๒ พวก ได้แก่ สัมปัตตโคจรัคคาหิกรูป รูปซึ่งรับอารมณ์ที่ไม่มาถึงตนได้ มี ๒ คือ จักขุ และโสตะ กับ อสัมปัตตโคจรัคคาหิกรูป รูปซึ่งรับอารมณ์ที่มาถึงตน มี ๓ คือ ฆานะ ชิวหา แลกาย)
อโคจรัคคาหิกรูป (รูปที่รับโคจรไม่ได้) มี ๒๓ คือ ที่เหลือจากนั้น (เหมือนคู่ที่ ๑๐)

คู่ที่ ๑๒ อวินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันไม่ได้) มี ๘ คือ ภูตรูป ๔ วัณณะ ๑ คันธะ ๑ รสะ ๑ โอชา (คืออาหารรูป) ๑ (ที่ประกอบกันเป็นหน่วยรวมพื้นฐานของรูปธรรม ที่เรียกว่า สุทธัฏฐกกลาป)
วินิพโภครูป (รูปที่แยกจากกันได้) มี ๒๐ คือ ที่เหลือจากนั้น

นอกจากรูปที่จัดประเภทเป็นคู่ดังที่กล่าวมานี้แล้ว ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงรูปชุดที่มี ๒ ประเภท ซึ่งเทียบได้กับที่แสดงข้างต้น คือ (เช่น ที.ปา.11/228/229)

สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่มองเห็นและมีการกระทบให้เกิดการรับรู้ได้) มี ๑ ได้แก่รูปารมณ์ คือ วัณณะ
อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป (รูปที่มองเห็นไม่ได้ และไม่มีการกระทบให้เกิดการรับรู้ ต้องรู้ด้วยใจ) ได้แก่ สุขุมรูป ๑๖

รูปอีกชุดหนึ่งที่กล่าวถึงบ่อย และควรทราบ คือ ชุด ที่จัดตามสมุฏฐาน เป็น ๔ ประเภท ได้แก่ กัมมชรูป ๑๘ จิตตชรูป ๑๕ อุตุชรูป ๑๓ และอาหารชรูป ๑๒ พึงทราบตามที่กล่าวแล้วในคู่ที่ ๓ ว่าด้วยอุปาทินนรูป และ อนุปาทินนรูป ข้างต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงรูปแล้วก็ลงนามคู่ไปด้วย :b1:


นาม ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้, ๑. ในที่ทั่วไปหมายถึงรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ๒. บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั่น และ นิพพาน (รวมทั้งโลกุตรธรรมอื่นๆ) ๓. บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย, เทียบ รูป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีก นามๆรูปๆ รูปๆนามๆ :b1:


นามกาย "กองแห่งนามธรรม" หมายถึง เจตสิกทั้งหลาย, เทียบ รูปกาย

รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่ รูปขันธ์หรือร่างกาย

นามขันธ์ ขันธ์ที่เป็นฝ่ายนามธรรม มี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

นามธรรม สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ

นามรูป นามธรรม และรูปธรรม นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่ รูปขันธ์ ทั้งหมด

นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่า สิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่า สิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)

นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณ กำหนดปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖) เรียกสั้นๆวา ปริคคหญาณ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2016, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คคห. บน มีอ้างอิงถึงญาณ 16 ลงญาณเข้าอีก


ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้,


ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. อตีตังสญาณ ญาณในอดีต ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในอนาคต ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน

อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจจ์แต่ละอย่าง ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจจ์ ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจจ์

อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓


ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงสิ่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธจริต)


ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็น กล่าวคือการหยั่งรู้ การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึงถึงวิปัสสนาญาณ
นอกนั้น ในที่หลายแห่ง หมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง และ
ในบางกรณี หมายถึง ผลญาณ บ้าง ปัจจเวกขณญาณ บ้าง สัพพัญญุตญาณ บ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ


ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือ มรรค ผล นิพพาน ๑๖ อย่าง,

ญาณ ๑๖ นี้ มิใช่เป็นหมวดธรรมที่มาครบชุดในพระบาลีเดิมโดยตรง แต่พระอาจารย์ปางก่อนได้ประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิทสุทธิมัคค์ แล้วสอนสืบกันมา
บางทีเรียกให้เป็นชื่อชุดเลียนคำบาลีว่า "โสฬสญาณ" หรือเรียกกึ่งไทยว่า "ญาณโสฬส"
ทั้งนี้ ท่านตั้งวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลักอยู่ตรงกลาง แล้วเติมญาณขั้นต่างๆ ที่ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ เพิ่มเข้าก่อนข้างหน้า และเติมญาณขั้นสูงที่เลยวิปัสสนาญาณไปแล้ว เข้ามาต่อท้ายด้วย ให้เห็นกระบวนการปฏิบัติตลอดแต่ต้นจนจบ จึงเป็นความปรารถนาดีที่เกื้อกูลแก่การศึกษาไม่น้อย


ญาณ ๑๖ นั้น ดังนี้ (ในที่นี้ จัดแยกให้เห็นเป็น ๓ ช่วง เพื่อความสะดวกในการศึกษา) คือ

ก) ก่อนวิปัสสนาญาณ: ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป (นามรูปปริคคหญาณ หรือสังขารปริจเฉทญาณ ก็เรียก)

๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป (บางทีเรียก กังขารวิตรณญาณ หรือ ธัมมัฏฐิติญาณ)

๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์

ข) วิปัสสนาญาณ ๙ : ๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและดับแห่งนามรูป

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นเฉพาะความดับเด่นชัดขึ้นมา

๖. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง

๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร

๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์


ค) เหนือวิปัสสนาญาณ: ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน

๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค

๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน


อนึ่ง คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ถือต่างจากที่กล่าวมานี้บ้าง โดยจัดญาณที่ ๓ (สัมมสนญาณ) เป็นวิปัสสนาญาณด้วย จึงเป็นวิปัสสนาญาณ ๑๐ อีกทั้งเรียกชื่อญาณหลายข้อให้สั้นลง เป็น ๔. อุทยัพพยญาณ ๕. ภังคญาณ ๖ ภยญาณ ๗. อาทีนวญาณ ๘. นิพพิทาญาณ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ๑๒. อนุโลมญาณ (นอกนั้นเหมือนกัน) ทั้งนี้ พึงทราบเพื่อไม่สับสน


มีข้อควรทราบพิเศษว่า เมื่อผู้ปฏิบัติก้าวหน้ามาจนเกิดวิปัสสนาญาณข้อแรก คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ชื่อ ว่าได้ตรุณวิปัสสนา (วิปัสสนาอ่อนๆ) และในตอนนี้ วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้น ชวนให้สำคัญผิดว่าถึงจุดหมาย แต่เมื่อรู้เท่าทัน กำหนดแยกไดว่าอะไรเป็นทางอะไรมิใช่ทาง ก็จะผ่านพ้นไปได้ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณนั้น ก็จะพัฒนาเป็นมัคคามัคคญาณ เข้าถึงวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ที่สำคัญขั้นหนึ่ง เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ (วิสุทธิข้อที่ ๕) อุทยัพพยญาณ ที่ก้าวมาถึงตอนนี้ คือ เป็นวิปัสสนาญาณที่เดินถูกทาง ผ่านพ้นวิปัสสนุปกิเลสมาได้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพลววิปัสสนา (วิปัสสนาที่มีกำลัง หรือแข็งกล้า) ซึ่งจะเดินหน้าเป็นวิปัสสนาญาณที่สูงขึ้นต่อๆไป


บางที ท่านกล่าวถึงตรุณวิปัสสนา และพลววิปัสสนา โดยแยกเป็นช่วง ซึ่งกำหนดด้วยญาณต่างๆ คือ ระบุว่า (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ สังขารปริจเฉทญาณ กังขารวิตรณญาณ สัมมสนญาณ มัคคามัคคญาณ เป็นตรุณวิปัสสนา และ (ช่วงของ) ญาณ ๔ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ และสังขารุเปกขาญาณ เป็นพลววิปัสสนา

ในญาณ ๑๖ นี้ ข้อ ๑๔ และ ๑๕ (มัคคญาณ และผลญาณ) เท่านั้น เป็นโลกุตรญาณ อีก ๑๔ อย่างนอกนั้น เป็นโลกียญาณ


ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 09:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนศาสดาโฮฮับ

อ้างคำพูด:
โฮฮับ
จิตบริสุทธิ์จากกิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดจิต
เมื่อหมดกิเลส จิตย่อมหมดไป ดังคำที่ว่า ....
ธรรมล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อหมดเหตุธรรมก็ย่อมหมดไปตามเหตุนั้น


viewtopic.php?f=1&t=52666&p=395259#p395259



พระพุทธจ้าสอนให้เพียรเพื่อกำจัดกิเลสให้หมดไปจากจิตใจ

แต่ศาสดาโฮฮับว่ากิเลสเป็นเหตุให้เกิดจิต ถ้ากำจัดกิเลสหมดแล้ว จิตจะหมดไปด้วย คงจะหมายถึงว่า เมื่อกิเลสหมดแล้ว คงลงไปนอนในโลงให้พระสวดกุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ฯลฯ

https://www.youtube.com/watch?v=Ny6Ga_QOzRA

เป็นแน่แท้ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้างบนเป็นคำสอนของศาสดาโฮฮับให้ทะนุบำรุงกิเลสไว้ เพื่อรักษาจิตให้คงอยู่

นี่ชื่อกิเลสทั้งหลายแหล่


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ ่ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์,

กิเลส ๑๐ (ในบาลีเดิม เรียกว่า กิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตัปปะ,

กิเลสพันห้า (กิเลส ๑,๕๐๐) เป็นคำที่มีใช้ในคัมภีร์รุ่นหลังจากพระไตรปิฎก เริ่มปรากฏในชั้นอรรถกถา ซึ่งกล่าวไว้ทำนองเป็นตัวอย่าง โดยระบุชื่อไว้มากที่สุดเพียง ๓๓๖ อย่าง ต่อมาในคัมภีร์ชั้นหลังมาก อย่างธัมมสังคณีอนุฎีกา จึงแสดงวิธีนับแบบต่างๆ ให้ได้ครบจำนวน เช่น กิเลส ๑๐ * อารมณ์ ๑๕๐ = ๑,๕๐๐ (อารมณ์ ๑๕๐ ได้แก่ อรูปธรรม ๕๗ และรูปรูป ๑๘ รวมเป็น ธรรม ๗๕ เป็นฝ่ายภายใน และฝ่ายภายนอก ฝ่าย ละเท่ากัน รวมเป็น ๑๕๐)

อนึ่ง ในอรรถกถา ท่านนิยมจำแนก กิเลส เป็น ๓ ระดับ ตามลำดับขั้นของการละด้วยสิกขา ๓ (เช่น วินย.อ.1/22 ฯลฯ) คือ

๑. วีติกกมกิเลส กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกาย และวาจา เช่น เป็นกายทุจริต และวจีทุจริต ละด้วย ศีล (อธิศีลสิกขา)

๒. ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสอย่างกลางที่พลุ่งขึ้นมาเร้ารุมอยู่ในจิตใจ ดังเช่น นิวรณ์ ๕ ในกรณีที่จะข่มระงับไว้ ละด้วยสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

๓. อนุสัยกิเลส กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันยังไม่ถูกกระตุ้นให้พลุ่งขึ้นมา ได้แก่ อนุสัย ๗ ละด้วยปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

ทั้งนี้ บางแห่งท่านแสดงไว้โดยอธิบายโยงกับพระไตรปิฎก คือ กล่าวว่า อธิศีลสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระวินัยปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละวีติกกมกิเลส, อธิจิตตสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระสุตตันตปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละปริยุฏฐานกิเลส, อธิปัญญาสิกขา ตรัสไว้เป็นพิเศษในพระอภิธรรมปิฎกๆ จึงว่าด้วยการละอนุสัยกิเลส

กิเลสกาม กิเลสเป็นเหตุใคร่, กิเลสที่ทำให้อยาก, เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ ได้แก่ ราคะ โลภะ อิจฉา (อยากได้) เป็นต้น

กิเลสธุลี ธุลีคือกิเลส, ฝุ่นละอองคือกิเลส

กิเลสมาร มารคือกิเลส, กิเลสเป็นมาร โดยอาการที่เข้าครอบงำจิตใจ ขัดขวางไม่ให้ทำความดี ชักพาให้ทำความชั่ว ล้างผลาญคุณความดี ทำให้บุคคลประสบหายนะและความพินาศ

กิเลสวัฏฏ์ วนคือกิเลส, วงจรส่วนกิเลส, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน

กัมมวัฏฏ์ วนคือกรรม, วงจรส่วนกรรม, หนึ่งใวัฏฏ์ ๓ แห่ปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยสังขาร และกรรมภพ

กิเลสานุสัย กิเลสจำพวกอนุสัย, กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน จะปรากฏเมื่ออารมณ์มายั่วยุ เหมือนตะกอนน้ำที่อยู่ก้นโอ่ง ถ้าไม่มีคนกวนตะกอนก็นอนเฉยอยู่ ถ้ากวนน้ำเข้าตะกอนก็ลอยขึ้นมา

กุกกุจจะ ความรำคาญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ, ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่น ว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้นๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่างนั้นๆ เป็นความผิดข้อนี้ๆ เสียแล้วกระมัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2016, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทายรูป รูปอาศัย คือ อาศัยมหาภูตรูป

แต่ศาสดาโฮฮับก็ว่า อุปาทายรูป เป็นรูปที่เกิดจากการปรุงแต่งมหาภูติรูปสี่


อ้างคำพูด:
โฮฮับ
จักขุมันเป็น อุปาทายรูป เป็นรูปที่เกิดจากการปรุงแต่งมหาภูติรูปสี่
ถามหน่อยการปรุงแต่งคือการทรงไว้หรือกรัชกาย




viewtopic.php?f=1&t=52642&start=15

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2016, 05:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เป็นความเข้าใจคุณ Duangrat เกี่ยวกับรูปนาม ๕ ขันธ์ ๕ กอง ๕ หมวด

อ้างคำพูด:
จขกท ผู้ถามในพันทิป

"ที่ปฏิจจสมุปบาทว่าสังขารเป็นเหตุแห่งวิญญาณ แต่มีความคิดว่าแล้วสัญญาล่ะไม่เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณเหรอ"

....

ผู้ถามเขา เอาเรื่องของปฏิจจฯ มาปนกะเรื่องขบวนการเกิดขันธ์๕

สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ นั้นเป็นเรื่องมาปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท เรื่องนอกกายใน เป็นธรรมฐิติ คือธรรมดาของธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น

แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์๕
สังขตธรรม เกิดหลังผัสสะ ก็หมายถึงเกิดหลังวิญญาณไปรู้การกระทบ ทางทวารทั้ง๖


viewtopic.php?f=1&t=52602


แต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสังขตธรรม ที่เกิดในกายใจบุคคล เป็นเหตุให้เกิดขันธ์ ๕


ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในกาย-ใจ บุคคล เป็นเหตุให้เกิด ขันธ์ ๕ (๕ หมวด) เข้าใจผิดอย่างแรง ทำนองเดียวกับโฮฮับ ต้องการเลี่ยงบัญญัติว่า คน กลัวเป็นโลกียะ กลัวไม่เป็นพุทธพจน์ เป็นโวหาร :b32:

กาย - ใจ (กาย - มโน) พูดตามภาษาสมมติว่า บุคคล นี่แหละ ทางธรรมจำแนกออกเป็น ๕ กอง ดังว่ากัน เป็นสังขตธรรม นี่ใช่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่อีกที่เด่นชัด

รูปภาพ

viewtopic.php?f=1&t=52836&start=30


บ่งบอกว่าขาดพื้นฐานทางภาษาของเค้า เพื่อให้ถูกใจตัวก็ตัดตอนดัดแปลงเอา นี่แหละศาสดาโฮฮับ


จาตุมฺมหาภูติกสฺส กายสฺส

จาตุมฺมหาภูติกสฺส บทขยาย กายสฺส แปลว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูต 4

-มหาภูต ศัพท์ไม่มีสระอิที่ติ ที่เห็นเช่นนั้นเขาลงปัจจัยนาม (นามกิตก์) เพื่อนำไปแจกวิภัตตินาม ตาม กาย (กายสฺส)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2016, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังมิหน่ำใจ เอาอีก (ลิงค์เดิม)

รูปภาพ

จตฺตาโร มหาภูตา ก่อนหน้าว่า เป็นสระ อิ คราวนี้เป็นสระ อา เป็นไปได้ไง

ศาสดาโฮฮับ ถามน้องคนนี้ซี่

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 1441638601

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร