วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 04:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันสงกรานต์

ตรุษสงกรานต์ เป็นเทศกาลสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของไทย ตามประเพณีโบราณ เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อน เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว ประชาชนส่วนใหญ่ว่างจากการทำไร่ไถนาที่เป็นงานประจำ จึงถือเอาระยะเวลานี้ เป็นตอนที่จะทำบุญใหญ่แล้วเล่นสนุกสนานรื่นเริงกัน

วันตรุษ คือวันสิ้นปี ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๔ วันสงกรานต์ เป็นวันสิ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน

พึงสังเกตว่า วันตรุษ ถือตามจันทรคติ วันสงกรานต์ ถือตามสุริยคติ แต่เทศกาลตรุษยังมีถือกันอยู่เพียงในบางท้องที่เท่านั้น และตามปกติทำกัน ๓ วัน ตั้งแต่วันแรม /๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ถึงขึ้นค่ำหนึ่งเดือน ๕

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อแยกวันสิ้นปีเก่า กับวันขึ้นปีใหม่ออกห่างกัน ประชาชนก็มีช่วงเวลาสำหรับทำบุญ และเล่นสนุกสนานรื่นเริง หรือเที่ยวเตร่พักผ่อนติดต่อกันหลายวัน จึงอาจฉลองกันตั้งแต่วันตรุษ ไปจนถึงวันเปลี่ยนศักราชใหม่ในวันสงกรานต์

พวกแม่บ้านก็จะทำขนมเตรียมไว้ สำหรับต้อนรับแขกที่มาเที่ยวที่บ้าน และนำไปเยี่ยมแจกญาติมิตร ขนมที่ทำระยะนี้ คือ ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว

หนุ่มสาวก็ร่วมทำขนม ช่วยกันกวนข้าวเหนียว คุยกันไป ร้องรำทำเพลงกันไป หรือมีการละเล่น เช่น เล่นเพลงพวกมาลัยกันในตอนค่ำคืน สนุกสนานกันไปจนถึงสงกรานต์

ในภาคอีสานบางแห่ง เขาทำบุญตรุษสงกรานต์แยกเป็น ๒ ระยะ คือ ทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ และทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์ บางแห่งในจังหวัดนครราชสีมามีก่อพระเจดีย์ทรายเป็น ๒ ตอน คือ ก่อที่ลานวันในวันตรุษ และก่อที่กลางบ้านในวันสงกรานต์

ในที่นี้ มุ่งจะกล่าวเรื่องสงกรานต์ พูดถึงตรุษแต่พอท้าวความเท่านั้น


https://www.youtube.com/watch?v=K7ITie9C_-8

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 เม.ย. 2016, 18:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงกรานต์” เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า เคลื่อนย้าย ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์ คือ พระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปในจักรราศีใดราศีหนึ่ง ก็เรียกว่า สงกรานต์

จักรราศี คือ รูปวงกลมในท้องฟ้า ซึ่งสมมติว่าเป็นทางที่พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดาวพระเคราะห์โคจรเวียนผ่านไป

โคจร แปลว่า การเที่ยวไป หรือทางที่เที่ยวไปของพระอาทิตย์

จักรราศีนั้น แบ่งตามขวางออกเป็น ๑๒ ส่วนเท่ากัน เรียก ๑๒ ราศี แต่ละราศี มีกลุ่มดาวอยู่ในนั้นเป็นเฉพาะแต่ละ ราศี (ราศี แปลว่า กอง หรือหมู่ ในที่นี้หมายถึง หมู่ดาว หรือกลุ่มดาว) กลุ่มดาวในราศีหนึ่งๆ มีหลายดวง เรียงรายกัน คนมองเห็นเป็นรูปต่างๆ และสมมติเรียกชื่อกลุ่มดาวนั้นๆ ไปตามรูปที่มองเห็น เช่น เป็นกลุ่มดาวแพะ (ราศีเมษ) กลุ่มดาววัว (ราศีพฤษภ) เป็นต้น


เราเห็นว่าพระอาทิตย์โคจรเข้าไปในราศีใด จนกว่าจะผ่านพ้นราศีนั้นไปสู่ราศีอื่น ก็เป็นเวลาเดือนหนึ่ง เมื่อผ่านไปครบ ๑๒ ราศี ก็นับโดยประมาณว่าเป็นปีหนึ่ง

ราศีนั้น แบ่งตามมาตราวัดเป็นราศีละ ๓๐ องศา รวมทุกจักรราศีเป็น ๓๖๐ องศา แต่ดาวต่างๆ ในกลุ่มของราศีทั้งหลาย มีคาบเกี่ยวหรือเหลี่ยมกันบ้าง การแบ่งเดือนจึงมีวันและเวลาไม่เท่ากัน



ชื่อเดือนต่างๆ เราก็ตั้งไปตามชื่อสมมติของกลุ่มดาวแต่ละราศี โดยเอาคำว่า อายน หรือ อาคม ต่อท้ายเข้าไป

อายน และ อาคม แปลว่า มาถึง เหมือนกันทั้งสองคำ แต่เราแยกใช้ให้ต่างกัน เพื่อแยกเป็นเดือนที่มี ๓๐ วัน (ต่อด้วยอายน) และเดือนที่มี ๓๑ วัน (ต่อด้วยอาคม) เป็นที่สังเกตได้ง่าย

ราศีหรือกลุ่มดาว ๑๒ นั้น คือ

เมษ = กลุ่มดาวแพะ พฤษภ = กลุ่มดาววัว มิถุน = กลุ่มดาวคนคู่ กรกฏ = กลุ่มดาวปู

สิงห = กลุ่มดาวสิ่งห์ กันย = กลุ่มดาวรูปหญิงสาว ตุล = กลุ่มดาวคันชั่ง พฤศจิก = กลุ่มดาวแมงป่อง

ธนู = กลุ่มดาวธนู มกร = กลุ่มดาวมังกร กุมภ = กลุ่มดาวหม้อ มีน = กลุ่มดาวปลา

เอาอายน หรืออาคม ต่อเข้าไป เป็น เมษายน (พระอาทิตย์มาถึงราศีดาวแพะ) มกราคม (พระอาทิตย์มาถึงราศีดาวมังกร) ดังนี้เป็นต้น

วันและเวลาที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่ง และยกไปสู่อีกราศีหนึ่ง ท่านเรียกว่า สงกรานต์เดือน แต่ในวันและเวลาที่ พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ คือในเดือนเมษายน เขาเรียกเป็นพิเศษว่า “มหาสงกรานต์” เพราะเป็นวันย้ายปี คือ ย้ายจากปีเก่า ยกขึ้นสู่ปีใหม่ด้วย แต่บัดนี้ เมื่อพูดถึงสงกรานต์ ก็หมายถึงมหาสงกรานต์นั่นเอง สงกรานต์เดือน ไม่มีพูดถึงกัน

การที่ถือเอาวันมหาสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ คือตั้งแต่ปีในวันที่ ๑๓ เมษายนนั้น เป็นเรื่องมาจากอินเดียภาคเหนือ ซึ่งอยู่เหนือเลยเขตร้อนขึ้นไป มีฤดูกาลไม่เหมือนกับของเรา

ที่นั่น ต่อจากฤดูหนาว เขามีฤดูวสันต์ แปลว่า ฤดูใบไม่ผลิ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ธรรมชาติและผู้คนสดชื่น แจ่มใส ร่าเริง เบิกบาน ด้วยได้ผ่านพ้นฤดูหนาวที่แสนจะยากเข็ญทรมาน และเงียบหงอยเหี่ยวแห้ง มาสู่ฤดูกาลที่อุ่นสบาย ต้นไม้ประดังกันผลิดอกสวยงาม แตกใบใหม่เขียวชอุ่ม ธรรมชาติก็สดชื่น ผู้คนก็ร่าเริงยินดีเหมือนได้ฟื้นคืนชีวิตใหม่ จึงถือเอาต้นฤดูวสันต์เป็นวันขึ้นปีใหม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในประเทศของเรา ถึงจะไม่มีฤดูวสันต์ก็ตาม แต่เทศกาลนี้ก็เหมาะเข้ากับความเป็นของเราด้วย เพราะเป็นระยะเสร็จสิ้นฤดูทำงาน เป็นเวลาเหมาะสำหรับพักผ่อนสนุกสนานร่าเริงดังได้กล่าวแล้ว

สงกรานต์ของไทย ตามปกติมี ๓ วัน คือ วันที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ เมษายน

วันที่ ๑๓ คือ วันต้น เป็น วันมหาสงกรานต์ นับเป็นวันขึ้นปีใหม่

วันที่ ๑๔ คือวันกลาง เป็น วันเนา คือ วันอยู่เฉยๆ ว่าง มีแต่เล่นสนุก

วันที่ ๑๕ คือ วันสุดท้าย เป็นวันเถลิงศก หรือพระยาวัน คือ วันขึ้นศักราชใหม่

สมัยก่อน บางปี สงกรานต์ มี ๔ วัน คือ วันที่ ๑๓-๑๖ เมษายน วันกลางระหว่างวันต้นและวันสุดท้าย เป็นวันเนา ๒ วัน คือ ถ้าปีใด พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เป็นเวลาเลยเที่ยงคืนไปแล้ว สงกรานต์ปีนั้น มี ๔ วัน

วันจ่าย คือ วันที่ ๑๒ เมษายน ก่อนถึงวัน สงกรานต์วันหนึ่ง เป็นวันเตรียมซื้อสิ่งของสำหรับทำบุญในวันมหาสงกรานต์ เตรียมซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ ไว้แจก และทำขนมกวนกันแทบทุกบ้าน สำหรับนำไปทำบุญถวายพระและแจกแก่ผู้นับถือและเพื่อนบ้าน เป็นการแสดงไมตรีจิต พร้อมทั้งเป็นการแสดงฝีมือกวนขนมกันไปด้วยในตัว

ขนมที่ทำกันสามัญ ก็คือ ขนมเปียก ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ก่อนถึงวันจ่ายนี้ พวกผู้หญิงโดยเฉพาะสาวๆ จะตระเตรียมตัว หาผู้นุ่งผ้าห่มใหม่ๆ อย่างดีไว้ มีการตัดผม...และจัดหาแป้งหอมน้ำมันหอมไว้พร้อม เพื่อแต่งตัวให้สวยงาม และผัดลูบไล้ให้จรุงกลิ่นในวันสงกรานต์

ทางฝ่ายวัด ตามปกติ พระก็กวาดลานวัด เณรและเด็กๆศิษย์ก็ช่วยกันทำหน้าที่ถอนหญ้ากันอยู่แล้ว ก่อนวันสงกรานต์ พระเณรและศิษย์ก็จะช่วยกันทำความสะอาดเป็นพิเศษ ตระเตรียมสถานที่ไว้ให้ชาวบ้านมาทำบุญโดยสะดวก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันมหาสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันต้นของปีใหม่ ถือว่าเป็นวันสำคัญ มีการทำบุญกันทั่วไปเป็นงานใหญ่ ชาวบ้าน ตื่นนอนกันแต่มืด จัดแจงหุงข้าวอุ่นแกง เตรียมอาหารเพื่อไปตักบาตรถวายพระ

ครั้นหุงอาการเสร็จ จัดเตรียมอาหารและสิ่งของถวายพระบรรลุลงภาชนะเสร็จแล้ว ก็เอาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใหม่ที่เตรียมหาไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนสงกรานต์ มาแต่งตัว โดยเฉพาะพวกผู้หญิงจะพยายามแต่ให้สวยเป็นพิเศษ เพื่อไปอวดกัน

เสร็จแล้วก็แบกบ้าง หามบ้าง นำอาหารเครื่องไทยธรรมไปวัด เดินกันเป็นหมู่ๆ มีหน้าสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน สบายใจ

ถึงวัดแล้ว ก็เริ่มพิธีทำบุญ ตักบาตรกลางลานวัดแล้ว ก็เลี้ยงพระ ฉันเช้าที่ศาลาการเปรียญ หรือปะรำที่สร้างขึ้นสำหรับงาน พระฉันเสร็จ อนุโมทนา ก็กลับบ้าน


ต่อจากนั้น พวกหนุ่มๆสาวๆ ก็รีบกินข้างแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสำรับใหม่ พากันไปเก็บดอกไม้ที่ในป่า ซึ่งกำลังบานสะพรั่งสวยงามทั่วทั้งป่าในระยะตรุษสงกรานต์ ไปกันเป็นหมู่ๆ ๕ คนบ้าง ๑๐ คนบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง ปนกันไปทั้งหญิงทั้งชาย เก็บดอกไม้ไป ก็คุยหยอกล้อกันไป สนุกสนานเบิกบานใจ

เมื่อเก็บดอกไม้ได้แล้ว ก็ไปที่บริเวณโบสถ์ หรือเจดีย์ในวัด แยกหญิงชายเป็นคนละพวก แล้วเล่นว่าเพลงพิษฐาน คือ อธิฐานเกี่ยวกับเนื้อคู่หรือคู่รักกัน

เสร็จบูชาว่าเพลงพิษฐานกันแล้ว ก็ไปเล่นสนุกกันที่ลานวัด หรือลานหมู่บ้านก็ได้ เช่น เล่นพวกมาลัย ชักเย่อ มอญซ่อนผ้า เป็นต้น เล่นกันตลอดวัน พักเฉพาะตอนไปหุงหากินอาหาร

ครั้นถึงตอนเย็น หลังอาหารแล้ว ก็มีการเล่นรวมใหญ่ที่ลานของหมู่บ้าน เป็นตอนที่สนุกสนานมากที่สุด เรียกว่าเล่นนักขัตฤกษ์สงกรานต์ เล่นจนค่ำ บางทีก็ต่อเนื่องถึงกลางคืน การเล่น มีหลายอย่าง เช่น เล่นรำหมู่ เล่นเพดงลำไยแก้กัน ระบำบ้านไร่ เข้าแม่ศรี หนูผี ลิงลม นางดังเป็นต้น แล้วแต่เลือกกัน

เล่นกัน ๓ วันบ้าง ถึง ๗ วันบ้าง บางทีเล่นกันไปถึง ๑๕ วันก็มี เพราะถ้าฝนยังไม่ตก เริ่มทำนายังไม่ได้ ก็เล่นสนุกกันไปก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันมหาสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายนนี้ ทางเมืองเหนือ เรียกว่า “วันสังขารล่อง” ชาวบ้านปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนและซักฟอกเสื้อผ้ากันเป็นการใหญ่ เป็นการกำจัดอัปรีย์จัญไรเก่าๆ ให้หมดไป เป็นมงคลสำหรับปีใหม่

นอกจากนี้ ในสมัยก่อน ยังมีการยิงปืนอีกด้วย คงเป็นทำนองขับไล่ผีร้ายหรือเสนียดให้หายสูญไป

ในวันเนา คือ วันที่ ๑๔ และวันเถลิงศก หรือ พระยาวัน คือ วันที่ ๑๕ เมษายน ก็มีการทำบุญตักบาตร และการเล่นสนุกสนานสืบเนื่องไปแต่วันต้นนั้นเอง

เฉพาะวันเนา ทางเมืองเหนือ เรียกว่า “วันเน่า” เป็นวันพักผ่อนอยู่บ้าน ไม่ไปไหนๆ มีแต่หุงต้มอาหาร จัดสำรับเตรียมไว้สำหรับไปทำบุญอุทิศให้บรรพบุรุษในวันพระยาวัน คือ วันรุ่งขึ้น และแจกปันอาหารไปตามญาติมิตร มีการขนทรายจากแม่น้ำปิดไปก่อนพระเจดีย์ทรายในวัด และเริ่มเล่นสาดน้ำกันในวันเน่านี้ ในขณะที่ขนทรายเข้าวัดนั่นเอง

กิจกรรมพิเศษ ที่เป็นลักษณะพิเศษของวันสงกรานต์ นอกจากการทำบุญตักบาตร และการเล่นสนุกนานต่างๆ แล้วก็ได้แก่ การก่อพระเจดีย์ทราย การปล่อยนกปล่อยปลา การบังสุกุลอัฐิ การรดน้ำดำหัว และสรงน้ำพระ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การก่อพระเจดีย์ทราย มักทำในวัดในวันสงกรานต์ แต่ก็ไม่มีกำหนดตายตัว ที่ก่อนใกล้เคียงวันสงกรานต์ และทำที่หาดทรายบ้าง ที่กลางลานบ้านบ้างก็มี ที่ก่อในวัด ก็เป็นการช่วยขนทรายเข้าวัด ได้ทั้งบุญและความสนุกสนานด้วยในตัว

การปล่อยนก ปล่อยปลา โดยมากเป็นการปล่อยปลา ทำกันระหว่างสงกรานต์ได้ทั้ง ๓ วัน ในหมู่บ้านคนเชื้อมอญ มีประเพณีแห่ปลาไปปล่อยกันอย่างสนุกสนานด้วย

การทำบุญปล่อยปลานี้ สันนิษฐานว่า คงจะเป็นการช่วยปลาที่ตกคลักอยู่ในแอ่ง่ในหนองที่น้ำกำลังแห้งงวดในฤดูร้อน ให้รอดมีชีวิตสืบพันธุ์อยู่ได้ต่อไป


การบังสุกุลอัฐิ ญาติผู้ใหญ่ หรือบรรพบุรุษ จะทำในวันสงกรานต์ วันไหนก็ได้ แต่โดยมากทำกันในวัดเดียวกับสรงน้ำพระ โดยเฉพาะวันท้ายของสงกรานต์


ถ้าเก็บอัฐิไว้ที่บ้าน ก็นำอัฐิไปรวมกันที่วัด โดยมากทำกันที่ศาลาการเปรียญที่เลี้ยงพระ เป็นการทำบุญรวมญาติ นิมนต์พระสงฆ์ทั้งวัดให้สวดมาติกาบังสุกุลอัฐิ เป็นการทำบุญอุทิศกุศลแก่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความระลึกถึงท่านเหล่านี้ ในโอกาสอันถือกันว่าสำคัญ และเป็นสิริมงคล เท่ากับให้ท่านได้มีส่วนร่วมในความสุขสดชื่นกับลูกหลาน คนที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีส่วนหนึ่ง

ถ้าอัฐิของท่านบรรจุไว้ที่เจดีย์ หรือที่แห่งอื่นในวัด ก็นิมนต์พระไปบังสุกุลที่ตรงนั้น

การสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ตามปกติทำในวัดสุดท้ายของสงกรานต์ เป็นพิธีท้ายสุด

สำหรับพระพุทธรูปนั้น แต่เดิมเขาไม่มีไว้ในบ้านเรือน เพราะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาอย่างสูง ไม่ควรไว้ในบ้านเรือน แม้เมื่อเริ่มมีพระไว้บูชาที่บ้าน เขาก็สร้างหอพระขึ้นเป็นที่ประดิษฐานโดยเฉพาะต่างหาก

เมื่อพระพุทธรูปมีอยู่แต่ที่วัด การไปสรงน้ำพระพุทธรูปก็ดูจะยิ่งมีคามหมายสำคัญมากขึ้น

การสรงนั้น อย่างง่ายๆ ก็มีดอกไม้ธูปเทียนไปบูชา แล้วเอาน้ำอบประพรมที่องค์พระพอเป็นพิธี

บางแห่งอัญเชิญพระพุทธรูปออกมาจากโบสถ์ หรือวิหารเป็นต้น มาตั้งในที่จัดไว้เป็นพิเศษให้ประชาชนได้สรงน้ำ

บางแห่งก็จัดทำเป็นรางท่อน้ำให้ประชาชนเทน้ำสรงลงไปในราง ปล่อยให้ไหลไปตกที่ประพุทธรูปหรือพระธาตุ ซึ่งตั้งอยู่ที่สรงปากท่อ บางแห่งตั้งให้สรงอยู่ทุกวันตลอด ๑๕ วันจึงเลิก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนการสรงน้ำพระสงฆ์ อาจสรงเฉพาะเจ้าอาวาส สรงกันจริงๆ อย่างอาบน้ำให้ หรือเทน้ำอบน้ำหอมรดลงที่มือ ให้น้ำไหลลงไปในขันที่ตั้งรองไว้ บางแห่งทำเป็นรางหรือท่อไหลมาสรงอย่างเดียวกับสรงพระพุทธรูป

สรงเสร็จแล้ว ครองไตรจีวรชุดใหม่ที่ชาวบ้านจัดถวายจากนั้นขึ้นธรรมาสน์ เทศน์อวยพระปีใหม่ หรืออาจเทศน์ก่อนทำพิธีสรงก็ได้

เสร็จจากสรงน้ำสมภารแล้ว จึงไปสรงพระอื่นๆ ที่ตนรู้จักหรือนับถือ แต่ทั่วไปในบัดนี้นิยมจัดสรงน้ำพระสงฆ์หมดวัด รวมทั้งเจ้าอาวาสพร้อมทีเดียวกัน เมื่อสรงน้ำพระแล้ว ก็เล่นสนุกสาดน้ำกันเอง

การรดน้ำผู้ใหญ่ บางแห่งนัดให้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ซึ่งจัดไว้ในวัด นิมนต์พระมาให้ศีลแล้ว เริ่มพิธีรดน้ำ คือ อาบน้ำให้ แล้วเอาผ้านุ่งห่มใหม่ให้ผลัด พร้อมทั้งมีดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องสักการะ แต่ที่ทำกันทั่วไปคือ ไปขอรดผู้ใหญ่ที่ตนคุ้นเคยหรือเคารพนับถือ แล้วท่านให้ศีลให้พรเพื่อความสุขปีใหม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การดำหัว เป็นประเพณีของทางเมืองเหนือ คือการไปรดน้ำผู้ใหญ่ในวันพระยาวัน ได้แก่ ในวันเถลิงศกที่ ๑๕ เมษายน นั่นเอง

พิธีทำ คือ นำดอกไม้ธูปเทียน และผ้าใหม่สำหรับผลัดไปพร้อมทั้งหมากพลู กับน้ำส้มป่อยสำหรับใช้แทนสบู่และน้ำอบ ผู้ใหญ่รับเครื่องดำหัวแล้ว ก็เอาน้ำส้มป่อย และน้ำอบประพรมบนศีรษะ แล้วให้ศีลให้พรตามธรรมเนียม

ปัจจุบัน พิธีส่วนนี้มักทำกันรวบรัดสงวนเวลาตามกาลสมัย คือ จัดพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์หมดทั้งวัดพร้อมในคราวเดียวในวันท้ายของสงกรานต์ (ถ้ามีงานวันเดียว ก็ทำในวันที่ ๑๓) และเล่นสาดน้ำกัน เสร็จแล้วกลับบ้าน เอาน้ำอบไทยไปรดน้ำญาติผู้ใหญ่หรือท่านที่ตนเคารพนับถือตามบ้านต่างๆ รับศีลรับพรจากท่านเพื่อความสุขสวัสดีสืบต่อไป

จาก

http://www.ebooks.in.th/covers/23282/coverl.jpg


https://www.youtube.com/watch?v=XAhwT-UVDw4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2016, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮ นี่เขาจัดสวดมนต์ข้ามปีกันอีกแล้ว โฮฮับว่าเป็นอุปาทานเป็นเปลือกเป็นกระพี้ไหม ? :b32:



นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในกิจกรรม สงกรานต์ในวัดสวดมนต์ข้ามปีวิถีไทย ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า
โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น.ที่วัดอรุณราชวราราม รมว.วธ. พร้อมด้วยผู้บริหารข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชน ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร
จากนั้นเวลา 10.00 น. รัฐ มน ตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้เดินทางไปร่วมที่วัดปทุมวนาราม เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์
และร่วมกิจกรรมธรรมยาตราสักการะ 9 สิ่งมงคลสถานแห่งวัดปทุมวนารามและกิจกรรมการกุศล"

"ในส่วนกรุงเทพมหานคร ยังให้วัดจำลองบรรยากาศงานสงกรานต์ 4 ภาค
ได้แก่ ภาคกลาง ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ภาคอีสาน ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ภาคเหนือที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร และภาคใต้ที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
เพื่อให้ประชาชนที่ไม่ได้กลับภูมิลำเนาได้สัมผัสบรรยากาศกลิ่นอายของภาคต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นปีแรกที่วัดทั่วประเทศ
จะจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีใหม่ไทย ระหว่างวันที่ 13-15 เม.ย.2559 เพื่อใช้เวลาในการเจริญจิตภาวนาสวดมนต์ เพื่อให้เกิดมงคลแก่ตนเอง
ครอบครัวและญาติทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามความเชื่อที่ว่า วันปีใหม่ไทยคือ วันที่พระอาทิตย์โคจรขึ้นสู่ราศีเมษคือ วันที่ 13 เมษายน 2559
เวลา 20.00 น. หรือ ดำเนินตามหลักการของปีสากล หรือ วันเถลิงศก คือ วันที่ 16 เมษายน 2559 เวลา 0.00 น.

กรมการศาสนาจึงจัดกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีจุลศักราช 1378 เถลิงศกรับปีใหม่ไทย
เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ 2559 สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่วัดต่างๆ ทั่ว กทม. 14 วัด
ได้แก่ วัดประยุรวงศาวาส วันที่ 15-16 เม.ย. 59
วัดคณิกาผล วันที่ 13-15 เม.ย. 59
วัดลานบุญ วันที่ 13-15 เม.ย. 59
วัดราชผาติการาม วันที่ 13-15 เม.ย. 59
วัดนาคปรก วันที่ 15 เม.ย. 59
วัดบางนานอก วันที่ 12 เม.ย. 59
วัดเทพลีลา วันที่ 15 เม.ย. 59
วัดอมรคีรี วันที่ 15 เม.ย. 59
วัดแสมดำ วันที่ 15-16 เม.ย. 59
วัดประดู่ฉิมพลี วันที่ 13-15 เม.ย. 59
วัดชิโนรสาราม วันที่ 15 เม.ย. 59
วัดหนองใหญ่ วันที่ 13-15 เม.ย. 59
วัดลาดพร้าว วันที่ 13-15 เม.ย. 59
วัดโมลีโลกยาราม วันที่ 13-15 เม.ย. 59"

http://pantip.com/topic/35032682

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2016, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเงียบ ถามไม่ตอบ คิกๆๆ ถ้างั้นเอาอีกนะ :b32:

รูปภาพ


http://www.matichon.co.th/news/106091

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2016, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ มาอีกแว้ว :b1: (เขาว่าเป็นนางงาม ไม่รู้จริงป่าวไม่ได้ติดตาม)

รูปภาพ

http://pantip.com/topic/35038521


พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของคนเรื่องของจิตใจ ที่มนุษย์ทุกรูปทุกนามควรสนใจ ยิ่งยุคเทคโน ฯ ก้าวไกลเท่าไหร่ จิตใจก็ยิ่งสำคัญเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2016, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เชื่อมโยงถึงกันไปหมด คือ ไม่อยากตาย แต่อยากหลบปัญหาสักพักหนึ่ง :b5:


อ้างคำพูด:
มียาอะไรที่ทำให้กินแล้วเราสามารถเข้าโรงพยาบาล และหลับไปสักเดือนสองเดือนไหมคะ

เคยได้ยินแต่พวกกินยานอนหลับฆ่าตัวตาย อยากรู้ว่ามียาที่กินแล้วไม่ตาย แต่ไม่ต้องตื่นมาใช้ชีวิตไหมคะ ให้หายไปจากโลกใบนี้สักเดือนสองเดือนอะคะ ขอบคุณนะคะ

ปล. ไม่ต้องดราม่ากันนะคะ 555

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2016, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงสัยซัดสี่คูณร้อยเข้าไปถึงได้พร่ามไม่หยุด :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2016, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
สงสัยซัดสี่คูณร้อยเข้าไปถึงได้พร่ามไม่หยุด :b32:


โฮฮับหมดมุขออกทะเล ลัดไปเกาะสีชังไปแล้ว คิกๆๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สงกรานต์: ก้าวผ่านร้าย ย้ายสู่ดี

ในทางดาราศาสตร์โบราณ และโหราศาสตร์ สงกรานต์ หมายถึง การที่ดวงอาทิตย์โคจรย้ายราศี คือ ออกจากกลุ่มดาวหนึ่ง เข้าสู่อีกกลุ่มดาวหนึ่ง ดังได้พูดถึงมาครั้งหนึ่งแล้ว

การเคลื่อนย้ายก้าวไปอย่างนี้ หมายถึงการผ่านไปของกาลเวลา สงกรานต์มาถึงครั้งหนึ่ง ก็หมายถึงเวลาผ่านไปปีหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านล่วงไป ก็หมายถึงความเปลี่ยนแปลงของสิ่งทั้งหลายด้วย เริ่มแต่ชีวิตและวัยของมนุษย์ ส่วนที่ผ่านไปแล้วเพิ่มขึ้น และส่วนที่เหลือน้อยลง

ภาวะเช่นนี้ มองจากทางธรรม ย่อมเป็นเครื่องเตือนสติให้ได้นึกได้คิด ทบทวนความเป็นไปข้างหลัง และคิดตระเตรียมสิ่งที่หวังข้างหน้า สิ่งใดผิดพลาด ก็เป็นโอกาสที่จะละเลิกเสีย สิ่งใดดีงาม เป็นไปเพื่อความเจริญก้าวหน้า ก็ควรจะไม่ประมาท เร่งขวนขวายทำให้จริงจังต่อไป

สงกรานต์ แปลว่า ก้าวไปดี หรือก้าวไปอย่างดี ก็ได้ ถ้าแปลอย่างนี้ ก็เป็นเครื่องสนับสนุนความหมายในทางที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยให้คติว่า สิ่งใดเป็นความผิดพลาดเสียหาย นอกจากละเลิกแล้ว ก็ให้ลืมเสียได้ สิ่งที่ผ่านไปแล้ว ก็ให้เป็นอันผ่านพ้นไป ต่อไปนี้มาก้าวไปสู่ที่ใหม่ ที่สดใสดีงาม

ถ้าแปลอีกอย่างหนึ่ง สงกรานต์ ก็หมายถึงการก้าวไปด้วยกัน หรือพร้อมกันก้าวไป ตามความหมายอย่างนี้ เล็งถึงความสามัคคี หรือการกระทำของหมู่ชน

สงกรานต์ เป็นเวลาสำหรับทุกคนจะร่วมใจกันแสดงความพร้อมเพรียงสามัคคีและน้ำใจไม่ตรี ช่วยกันทำกิจเพื่อส่วนรวม นำสังคมหรือชุมชน ให้ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

สงกรานต์ ยังแปลได้อีกว่า การก้าวไปรวมกัน เมื่อแปลอย่างนี้ ย่อมให้ความหมายว่า คนทั้งหลาย แม้อยู่ต่างแห่งกัน ถึงเวลานี้ ต่างก้าวเข้าไปหากัน ไปรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ผนึกกันเป็นอันหึ่งอันเดียว

เมื่อถือคตินี้จากสงกรานต์ ผู้ที่มีเรื่องผิดพ้องหมองใจกัน แตกแยกกระจัดกระจายกัน หรือผิดพลาดพลั้งเผลอต่อกัน ถึงเวลานี้ลืมเรื่องผิดพ้องกันเสีย ให้อภัย หันมาปรองดองสามัคคีกัน ทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคง เป็นฐานที่จะให้หมู่คณะมีกำลังแข็งแรงยิ่งขึ้น

...........

แปลความหมายคำว่า สงกรานต์ มาแล้วหลายอย่าง ควรยุติเสียที แต่ก่อนที่จะจบ นึกขึ้นมาถึงตำนานเกี่ยวกับกำเนิดสงกรานต์ เห็นควรนำมากล่าวไว้ด้วย พอให้เรื่องสงกรานต์ใกล้ความสมบูรณ์มากขึ้น และบางทีจะได้คติสอนใจเพิ่มขึ้น

ใจความของตำนานนั้น มีว่า กาลนานมาแล้ว มีมาณพหนึ่งชื่อธรรมบาลกุมาร เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งนัก ได้เรียนรู้แตกฉาน เจนจบศิลปะศาสตร์

ครั้งนั้น ท้าวกบิลพรหมทราบกิติศัพท์ จึงมาหยั่งดูสติปัญญาของธรรมบาล โดยตั้งคำถาม ๓ ข้อว่า เวลาเช้า เวลากลางวัน และเวลาค่ำ สิริอยู่ที่ใด

การแพ้ชนะในการตอบคำถามนี้ เอาศีรษะเป็นเดิมพัน ถ้าธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้ จะต้องยอมให้ตัดหัวถวายแด่กบิลพรหม แต่ถ้าธรรมบาลตอบได้ ท้าวกบิลพรหมจะยอมสละศีรษะตอบแทน

เบื้องแรก ธรรมบาลกุมารหาคำตอบไม่ได้ จนปัญญา แม้ กบิลพรหมจะให้เวลาถึง ๗ วัน แต่เวลา ๖ วันแรกก็จวนจะผ่านไปเปล่า จนธรรมบาลกุมารท้อแท้ใจทอดอาลัยชีวิต บังเอิญไปนอนใต้ต้นไม้ใหญ่ที่มีนกอินทรีผัวเมียจับอยู่ ได้ยินคำตอบปัญญาจากนกอินทรีนั้น ซึ่งสนทนากันด้วยความหวังว่าจะได้กินเหยื่อคือศพของธรรมบาลกุมาร

คำตอนนั้นว่า เวลาเช้า สิริ หรือราศีอยู่ที่หน้า คนจึงล้างหน้า เวลากลางวัน อยู่ที่อก คนจึงประพรมอก เวลาค่ำ อยู่ที่เท้า คนจึงล้างเท้าก่อนเข้านอน

เมื่อได้คำตอบเช่นนี้ ผู้ที่เสียศีรษะจึงกลายเป็นฝ่ายท้าวกบิลพรหม และท้าวกบิลพรหมนั้น ก็รักษาปฏิญญามั่นคง ปฏิบัติตามสัญญาโดยเคร่งครัด

อย่างไรก็ตาม ท้าวกบิลพรหมนั้นทรงมหิทธานุภาพ หากตัดเศียรแล้ว ภัยอาจเกิดแก่โลกได้ เพราะหากเศียรตกถึงแผ่นดิน ไฟจะไหม้โลก หากปล่อยไปในอากาศ ฝนก็จะแล้ง หากทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง

ด้วยความกรุณาต่อสัตว์โลก ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสสั่งธิดาทั้ง ๗ ให้เอาพานมารองรับเศียร นำไปประดิษฐานไว้ที่ไกรลาส

เมื่อครบกำหนด ๓๖๕ วัน ตามสมมติว่า เป็นหนึ่งปี ในวันสงกรานต์ ธิดาทั้ง ๗ ก็ผลัดเวรกันมาอัญเชิญเศียรนั้น แห่รอบเขาพระสุเมรุคราวหนึ่ง แล้วประดิษฐานไว้ที่เดิม ทำอย่างนี้ หมุนเวียนกันไปคนละปี จนครบรอบธิดาทั้ง ๗ องค์

ตามตำนานนี้ ให้เห็นคติอย่างหนึ่งว่า อันมนุษย์ทั้งหลายที่เกิดมา ดิ้นรนต่อสู่เพื่อชีวิต แล้วก็สิ้นสุดด้วยตายไปในโลกนี้ ต่างถูกครอบงำด้วยอวิชชา ไม่รู้ความจริงของธรรมชาติที่แวดล้อมตน ที่สุดแม้แต่ชีวิตของตน ก็ไม่เข้าใจสภาวะที่แท้จริง

ผู้ที่ไม่รู้แจ้งความจริงของธรรมชาติ ไม่รู้เท่าทันชีวิต ก็ย่อมต้องเสียศีรษะ ปล่อยชีวิตถูกกลืนหายหมดไปเปล่า

แต่มนุษย์บางคน เพราะถูกธรรมชาติบีบคั้น ด้วยความหวาดกลัวนั่นแหละ เป็นเหตุให้ศึกษาค้นคว้าแสวงสัจธรรม ใฝ่หาคำตอบแก่ชีวิตของตน ผู้ที่คนคว้าหาคำตอบได้ เป็นผู้รู้เท่าทันชีวิต ย่อมกลับเป็นผู้มีชัยต่อธรรมชาติ เป็นผู้ที่ธรรมชาติยอมมอบชีวิตให้ เป็นผู้ดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริง คุ้มกับการที่เกิดมา เมื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างแท้จริงแล้ว ก็ไม่ต้องหวั่นต่อการเกิด การตาย

อย่างไรก็ตาม ความมีชัยต่อธรรมชาติในที่นี้ มิได้หมายเพียงการเอาชนะธรรมชาติภายนอกอย่างเดียว แต่หมายถึงการเอาชนะธรรมชาติภายในตนด้วย คือ ธรรมชาติซึ่งอยู่ที่ชีวิตจิตใจของตนนี่แหละ ชัยชนะที่เกิดจากความรู้เท่าทันสภาวะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย และรู้จักวางจิตใจอย่างถูกต้องต่อโลกและชีวิต

เมื่อมองดูไป สงกรานต์ ก็มีความหมายให้มองได้หลายอย่าง ทั้งที่มองอย่างชาวบ้านและชาววัด ทั้งลึกซึ้ง และที่เป็นพื้นๆ

แม้จะมองอย่างง่ายๆ ก็ยังได้ความหมายว่า เพราะ สงกรานต์เป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนที่สุดในรอบปี ในฤดูกาลที่ร้อนจัดเช่นนี้ คนจึงสนุกสนานรื่นเริงและแสดงความปรารถนาดีต่อกัน ด้วยการดน้ำสาดน้ำ ช่วยดับความเร่าร้อนให้เกิดความชุ่มชื่นเยือกเย็น เป็นความสุขอย่างหนึ่ง

จะมองความหมายอย่างไหน และจะคิดไปกี่อย่างก็ตาม เมื่อวันสงกรานต์มาถึงแล้ว ก็ควรให้ได้ความหมายสักอย่าง จะได้เป็นสงกรานต์ที่ไม่ผ่านไปเสียเปล่า

ขอเพียงว่า ความหมายที่ได้นั้น ควรจะเป็นความหมายที่ดีงาม ช่วยเชิดชูชีวิตจิตใจให้เบิกบานและประณีตผ่องใสมากขึ้น หากได้หลายอย่าง หรือครบทุกอย่าง ก็ยิ่งดี

ถ้านึกอะไรไม่ได้ ก็เอาแค่หัวเรื่องว่า “สงกรานต์... ก้าวผ่านร้าย ย้ายสู่ดี” วันสงกรานต์นี้ ก็จะไม่เป็นหมันเสียทีเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร