วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 22:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทสอนภิกษุ แต่ก็มีที่คฤหัสถ์นำไปขบคิดได้

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลัง แล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้น ย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้ว จำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้น มีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 เม.ย. 2016, 05:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2016, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "ธรรมะ, ธรรม" ชาวพุทธทั่วโลกได้ยินได้ฟังบ่อย แต่บางครั้งก็ไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรกันแน่

หัวข้อนี้ จะลอกความหมายให้ดู จากหนังสือเล่มนี้

รูปภาพ

สังเกตสั้นๆก่อน

"ธรรม" แปลกันมาว่า ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม,

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2016, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เดี๋ยวจะคิดเลยไปว่า เป็นหลักธรรมเฉพาะผู้พิพากษาเท่านั้น จึงนำบทความปกหลังให้ดูก่อน

อ้างคำพูด:
ธรรมะสำหรับผู้พิพากษา ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่รักษาชีวิต และสังคมมนุษย์ ที่ต้องใช้สำหรับทุกคนนั่นเอง แต่ผู้พิพากษา เป็นแบบอย่างในเรื่องนี้ เพราะถือว่าผู้พิพากษาเป็นตุลา คือเป็นตราชูของสังคม

ในการที่จะรักษาสังคมไว้นั้น ท่านผู้ พิพากษาเป็นแบบอย่างในขั้นปฏิบัติการเลยทีเดียวว่า เราจะต้องรักษาสังคมให้อยู่ดี มีความสุขความเจริญโดยเฉพาะมีความมั่นคงอยู่ได้ ด้วยความเป็นธรรมที่ตั้งอยู่บนฐานของจิตใจที่มีพรหมวิหาร ๔ ประการ อันมีอุเบกขาลงไปอยู่ในธรรมที่ปัญญาบอกให้แล้ว ก็ออกสู่ปฏิบัติการด้วยสมานัตตตา ซึ่งเป็นที่แสดงออกของอุเบกขา แล้วก็มั่นใจแน่ว่าแนบสนิทอยู่กับธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2016, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตความหมาย เจตนา,ปัญญาไว้ (เอาแต่เนื้อๆ ตัดข้อความที่ฟุ่มเฟื่อยออกบ้าง)


โฮฮับวิจารณ์หัวข้อนี้ด้วยนะขอรับ :b13: :b32:


ผู้พิพากษาเป็นตราชู ดำรงตนอยู่ในธรรม ดำรงธรรมไว้แก่สังคม


เราถือกันว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม เป็นตราชู ซึ่งทำหน้าที่ที่เรียกว่าดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม

เมื่อจะดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม ตัวผู้พิพากษาเองก็ต้องมีธรรมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม หรือรักษาธรรมด้วยตนเอง และจะให้เป็นอย่างนั้นได้ ก็ต้องชัดเจนว่า ธรรมที่ผู้พิพากษาจะต้องมีนั้นคืออะไร ผู้พิพากษาจะต้องตั้งอยู่ในธรรมอะไร หรือว่าธรรมสำหรับผู้พิพากษานั้นคืออะไร

เมื่อพูดถึงธรรมที่บุคคลนั้นบุคคลนี้ หรือคนประเภทนั้นประเภทนี้จะต้องมี โดยทั่วไปก็จะนึกกันถึงความประพฤติดีปฏิบัติชอบ การเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตามหลักที่เรียกว่าศีลธรรมบ้าง จริยธรรมบ้าง

สำหรับผู้พิพากษา ซึ่งทำงานสาธารณะ ค้ำชูสังคม ก็แน่นอนว่าต้องมีธรรมอย่างที่เรียกว่า ศีลธรรม หรือจริยธรรมนั้น และต้องมีไม่ใช่แค่ในขั้นธรรมดาเท่านั้น แต่ต้องมีในระดับที่อาจจะเรียกว่า เข้มงวด เป็นพิเศษทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดอย่างจำเพาะ ธรรมในระดับความประพฤติศีลธรรมทั่วไป ยังไม่ถือว่าเป็นธรรมสำหรับผู้พิพากษา แต่เป็นเพียงธรรมสำหรับบุคคลที่จะมาเป็นผู้พิพากษา หรือเป็นธรรมสำหรับผู้พิพากษาในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสังคม หรือเป็นพลเมืองคนหนึ่ง

หมายความว่า ความประพฤติตามหลักศีลธรรมทั่วไป เป็นเพียงส่วนประกอบ แต่เหนือนั้นขึ้นไป ผู้พิพากษายังมีธรรมสำหรับการทำหน้าที่เฉพาะของตนอีกต่างหาก และธรรมสำหรับการทำหน้าที่เฉพาะของผู้พิพากษานั่นแหละ ที่เรียกว่า “ธรรมสำหรับผู้พิพากษา”

แม้โดยการเปรียบเทียบ งานของผู้พิพากษาก็มิใช่อยู่ในวงความประพฤติทางศีลธรรมทั่วไป ความประพฤติที่อยู่ในศีลธรรมเป็นเพียงพื้นฐานที่รองรับการทำงานของผู้ พิพากษาเท่านั้น แต่ธรรมสำหรับการทำงานของผู้พิพากษาตรงๆแท้ๆ อยู่ที่เจตนา กับ ปัญญา

ตัวงานของผู้พิพากษาพูดได้ว่า อยู่ที่ธรรมสำคัญ ๒ อย่าง คือ เจตนา กับ ปัญญา ขยายความว่า ถ้าพูดกว้างๆ ก็เป็นเรื่องของการรักษาจิตใจ กับการมีและใช้ปัญญา แต่ในที่นี้ ที่ใช้คำว่าเจตนา ไม่พูดว่าจิตใจ ก็เพราะว่า เรื่องของจิตใจอยู่ที่เจตนา เพราะเจตนาเป็นหัวหน้า และเป็นตัวแทนของแดนจิตใจทั้งหมด เจตนาเป็นตัวนำ ตัวทำการ เป็นตัวเลือก ตัวตัดสินใจ

เจตนา จะตัดสินใจเลือกทำการใด และอย่างไร ก็มีแรงจูงใจต่างๆ มีสภาพจิต เช่น อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ความสุข ความทุกข์ ความขุ่นมัว ความผ่องใส ตลอดจนคุณสมบัติ เช่น คุณธรรมและบาปธรรมทั้งหลาย อันมากมายในแดนของจิตใจนั้น คอยหล่อเลี้ยงปรุงแต่งคอยสนอง หรือมีอิทธิพลต่อเจตนา แต่ในที่สุดก็ต้องสำเร็จด้วยเจตนานี้แหละ เพราะฉะนั้น ในด้านจิตใจ งานของผู้พิพากษาอยู่ที่การรักษาและตั้งเจตนาให้ถูกต้อง

ปัญญา คือความรู้เข้าใจ ตั้งแต่รู้ข้อมูล รู้ข้อเท็จจริง เข้าถึงความจริง รู้หลักและรู้ตัวบทกฎหมาย รู้หลักการตัดสินคดี ฯลฯ พูดรวบยอดก็ คือ รู้ธรรม

ถึงแม้เจตนาจะตรง แต่เจตนานั้นจะเลือกตัดสินได้ถูกต้อง เจตนาจะต้องอาศัยแสงสว่าง การบอกทาง การให้ตัวเลือก และการแก้ไขปัญหาด้วยปัญญา

เพราะฉะนั้น บนพื้นฐานแห่งความประพฤติที่ดีงามมีศีลธรรม ผู้พิพากษาจะต้องใช้และต้องจัดการธรรมสำคัญ ๒ อย่าง คือ เจตนา กับ ปัญญา ให้ดีให้พร้อมและให้ทำงานอย่างได้ผลดีที่สุด

เรื่อง เจตนา กับ ปัญญา บนพื้นฐานแห่งความมีศีลธรรมนี้ ควรจะพูดขยายความอีกข้างหน้า

นี่คือธรรมสำหรับผู้พิพากษา แต่ยังไม่หมดเท่านี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2016, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สังเกตความหมาย เจตนา,ปัญญาไว้ (เอาแต่เนื้อๆ ตัดข้อความที่ฟุ่มเฟื่อยออกบ้าง)


โฮฮับวิจารณ์หัวข้อนี้ด้วยนะขอรับ :b13: :b32:


ผู้พิพากษาเป็นตราชู ดำรงตนอยู่ในธรรม ดำรงธรรมไว้แก่สังคม


เราถือกันว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม เป็นตราชู ซึ่งทำหน้าที่ที่เรียกว่าดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม

เมื่อจะดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม ตัวผู้พิพากษาเองก็ต้องมีธรรมเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม หรือรักษาธรรมด้วยตนเอง และจะให้เป็นอย่างนั้นได้ ก็ต้องชัดเจนว่า ธรรมที่ผู้พิพากษาจะต้องมีนั้นคืออะไร ผู้พิพากษาจะต้องตั้งอยู่ในธรรมอะไร หรือว่าธรรมสำหรับผู้พิพากษานั้นคืออะไร

เมื่อพูดถึงธรรมที่บุคคลนั้นบุคคลนี้ หรือคนประเภทนั้นประเภทนี้จะต้องมี โดยทั่วไปก็จะนึกกันถึงความประพฤติดีปฏิบัติชอบ การเป็นอยู่หรือดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตามหลักที่เรียกว่าศีลธรรมบ้าง จริยธรรมบ้าง

สำหรับผู้พิพากษา ซึ่งทำงานสาธารณะ ค้ำชูสังคม ก็แน่นอนว่าต้องมีธรรมอย่างที่เรียกว่า ศีลธรรม หรือจริยธรรมนั้น และต้องมีไม่ใช่แค่ในขั้นธรรมดาเท่านั้น แต่ต้องมีในระดับที่อาจจะเรียกว่า เข้มงวด เป็นพิเศษทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดอย่างจำเพาะ ธรรมในระดับความประพฤติศีลธรรมทั่วไป ยังไม่ถือว่าเป็นธรรมสำหรับผู้พิพากษา แต่เป็นเพียงธรรมสำหรับบุคคลที่จะมาเป็นผู้พิพากษา หรือเป็นธรรมสำหรับผู้พิพากษาในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสังคม หรือเป็นพลเมืองคนหนึ่ง

หมายความว่า ความประพฤติตามหลักศีลธรรมทั่วไป เป็นเพียงส่วนประกอบ แต่เหนือนั้นขึ้นไป ผู้พิพากษายังมีธรรมสำหรับการทำหน้าที่เฉพาะของตนอีกต่างหาก และธรรมสำหรับการทำหน้าที่เฉพาะของผู้พิพากษานั่นแหละ ที่เรียกว่า “ธรรมสำหรับผู้พิพากษา”

แม้โดยการเปรียบเทียบ งานของผู้พิพากษาก็มิใช่อยู่ในวงความประพฤติทางศีลธรรมทั่วไป ความประพฤติที่อยู่ในศีลธรรมเป็นเพียงพื้นฐานที่รองรับการทำงานของผู้ พิพากษาเท่านั้น แต่ธรรมสำหรับการทำงานของผู้พิพากษาตรงๆแท้ๆ อยู่ที่เจตนา กับ ปัญญา

ตัวงานของผู้พิพากษาพูดได้ว่า อยู่ที่ธรรมสำคัญ ๒ อย่าง คือ เจตนา กับ ปัญญา ขยายความว่า ถ้าพูดกว้างๆ ก็เป็นเรื่องของการรักษาจิตใจ กับการมีและใช้ปัญญา แต่ในที่นี้ ที่ใช้คำว่าเจตนา ไม่พูดว่าจิตใจ ก็เพราะว่า เรื่องของจิตใจอยู่ที่เจตนา เพราะเจตนาเป็นหัวหน้า และเป็นตัวแทนของแดนจิตใจทั้งหมด เจตนาเป็นตัวนำ ตัวทำการ เป็นตัวเลือก ตัวตัดสินใจ

เจตนา จะตัดสินใจเลือกทำการใด และอย่างไร ก็มีแรงจูงใจต่างๆ มีสภาพจิต เช่น อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ความสุข ความทุกข์ ความขุ่นมัว ความผ่องใส ตลอดจนคุณสมบัติ เช่น คุณธรรมและบาปธรรมทั้งหลาย อันมากมายในแดนของจิตใจนั้น คอยหล่อเลี้ยงปรุงแต่งคอยสนอง หรือมีอิทธิพลต่อเจตนา แต่ในที่สุดก็ต้องสำเร็จด้วยเจตนานี้แหละ เพราะฉะนั้น ในด้านจิตใจ งานของผู้พิพากษาอยู่ที่การรักษาและตั้งเจตนาให้ถูกต้อง

ปัญญา คือความรู้เข้าใจ ตั้งแต่รู้ข้อมูล รู้ข้อเท็จจริง เข้าถึงความจริง รู้หลักและรู้ตัวบทกฎหมาย รู้หลักการตัดสินคดี ฯลฯ พูดรวบยอดก็ คือ รู้ธรรม

ถึงแม้เจตนาจะตรง แต่เจตนานั้นจะเลือกตัดสินได้ถูกต้อง เจตนาจะต้องอาศัยแสงสว่าง การบอกทาง การให้ตัวเลือก และการแก้ไขปัญหาด้วยปัญญา

เพราะฉะนั้น บนพื้นฐานแห่งความประพฤติที่ดีงามมีศีลธรรม ผู้พิพากษาจะต้องใช้และต้องจัดการธรรมสำคัญ ๒ อย่าง คือ เจตนา กับ ปัญญา ให้ดีให้พร้อมและให้ทำงานอย่างได้ผลดีที่สุด

เรื่อง เจตนา กับ ปัญญา บนพื้นฐานแห่งความมีศีลธรรมนี้ ควรจะพูดขยายความอีกข้างหน้า

นี่คือธรรมสำหรับผู้พิพากษา แต่ยังไม่หมดเท่านี้


เลอะเทอะ!!! จับนู้นโยงนี้มั่วไปหมด ดูแล้วเหมือนกำลังเมากัญชา :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2016, 16:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีหลายตอน ตอนแรกมี เจตนา ปัญญา ตอนนี้ก็ สภาวธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรม

จะตัดสินให้เป็นธรรม ต้องรู้ธรรมที่เป็นเกณฑ์ตัดสิน

ธรรมสำหรับผู้พิพากษายังมีความสำคัญมากอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่มีชื่อตรงเลยว่า "ธรรม"

อย่างที่พูดแต่ต้นว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม เป็นผู้ดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคม เป็นตราชูของธรรม ต้องเป็นคนมีธรรม ต้องตัดสินให้เป็นธรรม ฯลฯ อะไรๆก็ธรรม

เมื่อพบคำว่า ธรรมในข้อความต่างๆ มากมาย บางทีก็สงสัยหรือ อย่างน้อยก็ชักไม่ชัดว่า คำว่า "ธรรม" ในข้อความต่างๆเหล่านั้น มีความหมายเหมือนกันหรือต่างกัน ถ้าต่างกัน ในแต่ละแห่งมีความหมายว่าอย่างไร

เฉพาะอย่างยิ่ง ในเมื่อหน้าที่ของผู้พิพากษาเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรม หรือเป็นการกระทำต่อธรรมและเพื่อธรรมโดยตรง ถึงกับเป็นผู้ดำรงธรรม และทำให้เกิดความเป็นธรรม ฉะนั้น ผู้พิพากษาจะต้องมีความชัดเจน ในเรื่องธรรมว่าธรรมคืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นความหมายรวม หรือความหมายเฉพาะที่

ถ้าเปิดหาความหมายในพจนานุกรม พอดูแล้ว ก็อาจจะงงไปเลย อย่างน้อยก็อาจจะรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ต้องจดจำ และทำท่าจะจำไม่ไหว

ผู้พิพากษาซึ่งอยู่กับธรรมนั้น ต้องให้ถึงขั้นที่ว่า พอเห็น พอพูดถึงหรือได้ยินคำว่า "ธรรม" ก็มองเห็นความหมายทุกแง่มุมทะลุปรุโปร่งไปเลย

การที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ผู้พิพากษาจะต้องมีความรู้เข้าใจในเรื่องธรรมอย่างทั่วตลอด คือรู้ระบบแห่งธรรม อย่างน้อยก็รู้ระบบที่ใกล้ตัวที่สุด คือระบบแห่ง สภาวธรรม (ที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่า สัจธรรม) จริยธรรม และบัญญัติธรรม

ธรรมชุดที่ ๒ นี้ สัมพันธ์โดยตรง กับ ธรรมชุดแรกที่พูดถึงก่อนแล้ว คือ ต้องมีปัญญาที่รู้เข้าใจเข้าถึงธรรมเหล่านี้ และเจตนาที่ต้องมุ่งให้ได้ผลตามธรรมเหล่านี้ หรือให้เป็นไปตามธรรมเหล่านี้

เป็นอันว่า ธรรมสำหรับผู้พิพากษา พูดไว้ที่นี่ ๒ ชุด คือ

ธรรมชุดที่ ๑ คือ ปัญญา กับ เจตนา
ธรรมชุดที่ ๒ ธรรมในระบบแห่ง สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ

แค่สองชุดนี้ก็พอ เพราะครอบคลุมธรรมทั่วทั้งหมดแล้ว ชุดแรก อยู่ที่ตัวผู้พิพากษา ชุดหลังอยู่รอบตัวข้างนอก และเป็นจุดหมายของชุดแรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2016, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

เลอะเทอะ!!! จับนู้นโยงนี้มั่วไปหมด ดูแล้วเหมือนกำลังเมากัญชา


แค่สองตอนนั่น โฮฮับ ก็ฮงเป็นไก่ตาแตกแล้ว ยิ่งต่อไปอีก ทีนี้ล่ะเป็นคนเลย (คนตามนิยามโฮฮับ หมายถึงคนบ้า :b9: )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2016, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้เชื่อมกันตั้งแต่ต้นถึงสุดท้าย ควรอ่านจับความแต่ต้น

สังเกตความหมาย ธรรม (ความจริง, ความถูกต้อง, ความดีงาม) เชื่อมโยงกับคน

เป็นธรรมก็ถูกต้องตามความจริง ถูกต้องตามความจริง ก็ดีงาม

ก่อนที่จะพูดถึงธรรมสำหรับผู้พิพากษา ๒ ชุดนั้น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สักหน่อย ก็มาพูดคุยกันในข้อปลีกย่อยต่างๆ เกี่ยวกับธรรม ให้เป็นเรื่องเบาๆเป็นพื้นไว้ ก่อนจะพูดเรื่องที่ยากขึ้นไป

เราบอกว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งความยุติธรรม เป็นตราชูอันทำหน้าที่ที่เรียกว่าดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคมนั้น

"ธรรม" นี้ แปลกันมาว่า ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม

ความหมายที่เป็นหลักเป็นแกนของธรรมนั้น ก็คือ ความจริง หรือสภาวะที่เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นๆ เป็นธรรมดา

มนุษย์เรานั้น ต้องการสิ่งที่เกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตน แต่สิ่งทั้งหลายที่จะเกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่คนแท้จริง จะต้องสอดคล้องกับความจริง มิฉะนั้น ก็จะไม่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ได้แน่แท้ยั่งยืน

สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่มนุษย์แท้จริง เรียกว่า เป็นความดีงาม

ความดีงาม จึงอยู่สอดคล้อง คือถูกต้องตามความจริง

ความจริง เป็นหลักยืนตัว ความดีงาม เป็นคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ ความถูกต้องเป็นความสัมพันธ์ที่น่าพอใจ ระหว่างคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ กับความจริงที่เป็นหลักยืนตัวนั้น

ที่ว่าผู้พิพากษาดำรงธรรมนั้น เราเน้นความหมายในแง่ของการรักษาความถูกต้อง ทำให้เกิดความถูกต้อง หรือพูดให้ตรงว่า ทำความถูกต้องให้ปรากฏ และความถูกต้องที่ว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับความจริง แล้วความจริงและความถูกต้องนี้ก็พ่วงความดีงามมาด้วย

ถ้าไม่มีความจริง ไม่มีความถูกต้อง ความดีงามก็ไม่แท้ไม่จริง เหมือนอย่างที่คนหลอกลวงก็สามารถทำให้คนรู้สึกว่า เขาเป็นคนดีได้ แต่แล้วในเมื่อไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความจริง พอขาดความจริงเท่านั้น ที่ว่าดีก็หมดความหมายไป กลายเป็นไม่ดี ดังนั้น ความจริงและความถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

ทีนี้ ความจริงนั้น มีอยู่เป็นสภาวะของมันเอง หรือเป็นธรรมดาของธรรมชาติ และความถูกต้องก็อยู่กับความจริงนั้นด้วย แต่เมื่อเรื่องมาถึงคน หรือว่าเมื่อคนไปเกี่ยวข้องกับมัน ก็มีข้อผูกพันขึ้นมา ซึ่งทำให้คนเกิดมีเรื่องในภาคปฏิบัติว่า

๑.จะทำอย่างไร ให้ความจริงนั้นปรากฏขึ้นมา เพราะว่า บางทีความจริงมีอยู่ แต่ความจริงนั้นไม่ปรากฏ

๒.จะทำอย่างไร ให้คนดำรงอยู่ในความจริงนั้นได้ จะได้มีความถูกต้องที่จะตรึง หรือรักษาความดีงามไว้ และ

๓.จะทำอย่างไร ให้คนทำการได้ถูกต้องโดยสอดคล้องกับความจริงนั้น เพื่อให้คนอยู่กับความดีงาม ซึ่งเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของเขา


นี่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น ตอนนี้ก็จึงเหมือนกับว่า ในเรื่องธรรมนี้ เรามอง ๒ ด้าน คือ

หนึ่ง มองด้านความเป็นจริง หรือตัวสภาวะก่อนว่า ความจริงเป็นอย่างไร แล้วก็

.สอง บนฐานของความจริงนั้น มองว่า เราจะทำอย่างไรให้มนุษย์นี้ ดำเนินไปกับความจริงนั้น โดยอยู่กับความจริง แล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริง

ต้องครบทั้ง ๒ ขั้น ขาดขั้นใดขั้นหนึ่งไม่ได้ ทั้งนั้น

บางทีเราจะเอาขั้นที่ ๒ คือ จะให้คนปฏิบัติถูกต้อง แต่เราไม่รู้ว่า ความจริง คือ อะไร มันก็ไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น จึงต้องมีหลักยันอยู่เป็น ๒ ด้าน คือ ด้านสภาวะที่เป็นความจริงตามธรรมชาติ และด้านที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับความจริง

อย่างไรก็ตาม ตามที่ใช้กันอยู่นั้น "ความจริง" มีความหมายค่อนข้างหลวมๆ ไม่เคร่งครัดนัก คือไม่จำเป็นต้องถึงกับเป็นความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ แต่รวมทั้งความจริงตามที่มนุษย์ตกลงยอมรับกันด้วย เช่น หลักการ และข้อที่ตกลงยึดถือกันมาเป็นพวกสมมติสัจจะต่างๆ ดังนั้น ความดีงาม ความถูกต้อง บางทีจึงวัดเพียงด้วยความสอดคล้องกับความจริงระดับนี้ก็มี

สำหรับ บุคคลทั่วไป เอาเพียงว่า ถ้ารักษาปฏิบัติทำความดีงาม ตามที่บอกกล่าวเล่าสอนกันมา ก็ใช้ได้ หรือนับว่าเพียงพอ เมื่ออยู่กับความดีงามแล้ว ก็ถือว่าดำรงความจริง และความถูกต้องพร้อมไปในตัวด้วย

แต่สำหรับผู้ทำหน้าที่ในการรักษาธรรมนั้น จะต้องเข้าถึงธรรมทั้งระบบ

เริ่มด้วยด้านหนึ่ง คือ ด้านความจริง และความจริงก็ต้องลงไปถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติด้วย

ที่พูดไปแล้ว ก็เป็นระบบของธรรมนั่นเอง แต่ใช้ภาษาง่ายๆ และยังค่อนข้างจะหลวม ทีนี้ ก็จะเดินหน้าไปดูให้ถึงระบบของธรรมทั้งหมด ให้ชัดยิ่งขึ้นอีกที

...................

โฮฮับว่าไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2016, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ของมันตามธรรมดา

ธรรม ในความหมายที่ ๑ ซึ่งเป็นความหมายหลัก เป็นพื้นฐาน ก็คือความจริง การที่เราศึกษาธรรมกัน ก็ศึกษาเพื่อหาเพื่อรู้ความจริงนี่แหละ คือทำอย่างไรจะรู้เข้าใจเข้าถึงความจริงได้

ทางพระบอกว่า ความจริงมีอยู่ของมันตามธรรมดา อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ขอยกคำบาลีมาให้ดูว่า

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา...

แปลว่า ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า) ทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม ธาตุ (สภาวะหรือหลักแห่งความจริง) นั้น คือ ความดำรงอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปแน่นอนแห่งธรรม ก็ตั้งอยู่อย่างนั้นเอง.....ตถาคตตรัสรู้ ค้นพบธาตุนั้น ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย ว่าดังนี้ๆ

ยกตัวอย่าง เช่น หลักไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด สิ่งทั้งหลายก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของมันอยู่อย่างนั้น แต่ มนุษย์ทั้งหลายไม่รู้ความจริงนี้ พระพุทธเจ้าได้พัฒนาปัญญาขึ้นมาจนกระทั่งได้รู้เข้าใจความจริงนั้น เรียกว่าตรัสรู้ หรือค้นพบแล้ว จึงทรงนำมาเปิดเผยแสดงอธิบาย

"ธรรม" ในความหมายที่ ๑ คือความจริงนั้น มีความหมายต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเรียกว่าธรรมชาติ หรืออะไรก็ตาม ก็มีความจริงเป็นอย่างนั้น และมันก็เป็นไปตามความจริงนั้น เช่น ความเป็นไปตามเหตุปัจจัย บางทีเราเรียกธรรมในความหมายนี้ว่า "กฎธรรมชาติ"

เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ และสิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามความจริงนั้น หรือตามกฎธรรมชาตินั้น เรื่องก็โยงมาถึงมนุษย์คือคนเรานี้ว่า เราก็ต้องการผลดีต่างๆ เช่นว่า เราต้องการให้ชีวิตของเราดี ตลอดไปถึงว่า เราต้องการให้สังคมของเราดี มีความเจริญมั่นคง อยู่กันร่มเย็นเป็นสุข แต่การที่ชีวิตจะดี สังคมจะดี อะไรๆ จะดี ทุกอย่างนี้ ก็ต้องตั้งอยู่บนฐานของความจริงนั้น

ดังเช่น ความจริงมีอยู่อย่างหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย เหตุอย่างไรก็ทำให้เกิดผลอย่างนั้น ผลเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยของมัน เมื่อเราทำชีวิตให้ดี ทำสังคมให้ดี เราจะทำอย่างไร เราจะให้เกิดความเจริญงอกงาม ก็ทำหรือส่งเสริมเหตุปัจจัยนั้น และในทางตรงข้าม เหตุปัจจัยไหนจะทำให้เกิดความเสื่อมความเสียหาย ก็ป้องกันแก้ไขกำจัดเหตุปัจจัยนั้น

รวมความย้ำว่า เราก็ปฏิบัติจัดการไปตามความจริงนั้น โดยป้องกันแก้ไขกำจัดเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดผลร้าย แล้วก็ไปทำหรือส่งเสริมเหตุปัจจัยที่จะนำมาซึ่งผลดี อันนี้ก็คือต้องปฏิบัติไปตามความจริง

ก็จึงเป็นอันว่า มนุษย์ต้องรู้ความจริง แล้วก็เอาความรู้ในความจริงมาใช้ประโยชน์ โดยนำมาปฏิบัติการให้เป็นไปตามความจริงนั้นแล้วก็จะได้ผลตามต้องการ

จาก หลักความจริงนี้ จึงเป็นเหตุให้เราต้องพัฒนามนุษย์ คือให้มนุษย์ศึกษา (สิกขา) เพื่อจะได้รู้ความจริง และปฏิบัติได้ผลผลตามความจริงนั้น

"ธรรม" คือความจริง ที่มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ เวลาพระพุทธเจ้าตรัสธรรมะ พระองค์ทรงใช้คำว่า "แสดง" หมายความว่า ความจริงมันเป็นอย่างนั้น ก็เอามาแสดง ให้คนทั้งหลายรู้ด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 06:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 07:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:



มันมีความจริงที่ปิดอยู่อีกมากนัก

รูปภาพ

ความจริงรอวันเวลาเปิดอยู่ :b13:

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/954 ... ?s=459x456

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนตอนต่อไปแทรกด้วย :b1:

รูปภาพ

เพราะเกี่ยวกับวินัย แต่เป็นวินัยตามแนวคิดพระพุทธเจ้า แต่ก็เกี่ยวกับคนในสังคมนั่นแหละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ จะแลเห็นความหมาย วินัย, บัญญัติ ใครที่ชอบพูดบัญญัติๆๆๆ สังเกตความหมายให้ดี :b1:

คนอยู่ในกำกับของกฎธรรมชาติ จะอยู่กันให้ดี ก็บัญญัติ "วินัย" เป็นกฎมนุษย์ขึ้นมา

ทีนี้ เราจะเอาความจริง (ธรรม ตามนัยแรก) นั้น มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เรา ต้องการให้สังคมของเราเป็นอย่างไร ต้องการให้ชีวิตของเราเป็นอย่างไร เรามองเห็นว่า อ้อ...ต้องทำอย่างนี้นะๆๆ ถ้าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดผลดีขึ้นมา เราต้องการให้มีการปฏิบัติอย่างนั้น ซึ่งสอดคล้องกับความจริงในทางที่เกิดผลดี

พร้อมกันนั้น เราก็ไม่ต้องการให้เกิดการปฏิบัติตรงข้ามที่จะเป็นเหตุปัจจัยนำมาซึ่งความเสื่อม

ถึง ตอนนี้ เราก็เลยอาจจะมาตกลงกัน หรือว่าใครมีอำนาจ หรือได้รับความเชื่อถือศรัทธา ก็มาพูดกัน บอกกันว่า เออ...พวกเรา เอาอย่างนี้นะ เพื่อให้สังคมของเราดี เพื่อให้ชีวิตของพวกเราดี เราทำกันอย่างนี้นะๆ เราละเว้น ไม่ทำอย่างนั้นๆนะ

แล้วก็ เพื่อให้แน่นอนมั่นใจว่าจะทำจะปฏิบัติกันจริงจังตามนั้น ก็วางลงไปเป็นกฎ เป็นกติกา เป็นระเบียบ ให้ยึดถือปฏิบัติกันในสังคมในครอบครัว จนกระทั่งในชีวิต ว่าต้องทำอย่างนี้ๆ ต้องไม่ทำอย่างนั้นๆ

ยิ่ง กว่านั้น ก็ยังสำทับให้หนักแน่นแม่นมั่นยิ่งขึ้นไปอีกว่า ถ้าขัดขืน หรือฝ่าฝืน ไม่ทำตาม หรือละเมิดข้นนั้นๆ สังคมคือคนด้วยกันนี้จะลงโทษอย่างนั้นๆ

(ตาม ความจริงของ กฎธรรมชาติ ก็จะเกิดผลร้าย ซึ่งเรียกเป็นบุคลาธิษฐานว่า ธรรมชาติจะลงโทษอยู่แล้ว แต่โทษตามธรรมชาตินั้น คนอาจจะไม่เห็นชัดเจน ไม่ทันใจ หรือซับซ้อนเกิดกว่าที่คนทั่วไปจะเข้าใจ คนด้วยกันก็ลงโทษเสียเลยให้ได้ผลในทางปฏิบัติจนพอใจ)

อันนี้ก็เลยกลายเป็นการจัดตั้งวางแบบแผน ระเบียบ กฎเกณฑ์ กติกา ตลอดจนกฎหมายขึ้นมา

กฎกติกา ระเบียบ แบบแผน ตลอดจนกฎหมาย ที่จัดตั้งวางลงไปให้ถือปฏิบัติกันนี้ เรียกรวมๆ ตามภาษาพระเป็นคำเดียวว่า "วินัย"

ส่วนการกระทำในการจัดตั้งวางหรือกำหนดลงไป เรียกว่า "บัญญัติ"

ก็จึงมี "วินัย" คือ กฎกติกา ข้อบังคับ ระเบียบ แบบแผน ฯลฯ ตลอดจนกฎหมาย ที่คนเรานี้เอง "บัญญัติ" ขึ้น คือจัดตั้งสั่งการหรือตกลงกันวางกำหนดหรือตราลงไว้

นี้ก็มาเข้าคู่กับ "ธรรม" คือความจริงตามธรรมดาของธรรมชาติ (หรือตามกฎธรรมชาติ) ที่เป็นของมันอย่างที่มันเป็นอยู่ และเป็นไปนั้น ซึ่งท่านรู้หรือค้นพบแล้ว ก็นำมา "เทศน์" คือ แสดง ให้รู้ให้เข้าใจกัน

รวมความว่า เป็นเรื่องของคน หรือสังคมมนุษย์ที่มีการบัญญัติ กฎเกณฑ์ กติกา กฎหมาย (วินัย) ขึ้นมา เพื่อจะให้ความจริงที่ มีอยู่ตามธรรมดาของธรรมชาติ (ธรรม) นั้น เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมมนุษย์ หรือว่าเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติให้สอดคล้องกับความจริงของธรรมดาในทางที่จะ เกิดผลดีแก่ชีวิตและสังคมของตนเอง

ทีนี้ ในด้านของมนุษย์นั้น เมื่อจะให้สมความประสงค์ของตน ก็ต้อง จัดการให้มีหลักประกันที่จะให้ "วินัย" ได้ผลจริง ดังนั้น เมื่อบัญญัติกฎ กติกา ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย ฯลฯ ขึ้นมาแล้ว ก็จึงต้องพัฒนาระบบ กระบวน การ และมาตรการต่างๆ มากมายขึ้นมารับทอดต่อจากกฎหมาย เป็นต้น ที่ตนได้บัญญัติขึ้นนั้น จึงเกิดมีการบริหารการปกครองให้เป็นไปตาม กฎหมายที่ได้บัญญัติ ตลอดมาถึงกระบวนการพิจารณาตัดสินโทษ และการลงโทษผู้ที่ขัดขืน และผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นต้น ที่ได้บัญญัติเหล่านั้น

ระบบ กระบวนการ และมาตรการเหล่านี้ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของบัญญัติทั้ง หมด (อย่างที่ปัจจุบันจัดเป็น นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รวม ทั้งกระบวนการยุติธรรมทั้งสิ้น) ทางพระเรียกรวมคำเดียวว่า "วินัย"

ถึงตรงนี้ ก็เป็นอันได้มีคำคู่ว่า "ธรรมวินัย" ซึ่งประกอบด้วย

๑. ธรรม คือ ความจริงที่เป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของธรรมชาติ

๒. วินัย คือ ข้อที่มนุษย์บัญญัติขึ้นมาให้พวกตนปฏิบัติให้ถูกต้อง

แต่วินัยในภาษาไทย มีความหมายไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ จึงต้องขอให้ทำความเข้าใจให้ชัด โดยแยกออกจากความหมายในภาษาไทย (ในภาษาไทย วินัยมีความหมายแคบลงไปมาก)

ธรรม เป็นความจริง ที่เป็นอยู่เป็นไปตามธรรมดาของมัน พระพุทธเจ้าจึงทรงเพียงนำมาแสดงตามที่มันเป็น แต่วินัยเป็นเรื่องที่ทรงจัดตั้ง วาง หรือตราขึ้นให้คนปฏิบัติ ศัพท์สำหรับวินัย ก็เลยเรียกว่า บัญญัติ

ใน ธรรมชาติมีธรรมอยู่เอง แต่คนบัญญัติวินัยขึ้นมา และ ๒ อย่าง นี้ ต้องสอดคล้องซึ่งกันและกัน คือ วินัยต้องตั้งอยู่บนฐานของธรรม

หมายความว่า คนต้องรู้ความจริงว่าเป็นอย่างไร แล้วบัญญัติกฎกติกาที่พวกตนจะต้องปฏิบัติให้ตรงตามความเป็นจริง เพื่อจะให้ได้ผลขึ้นมาตามความเป็นจริงนั้น

เมื่อจับหลักธรรม กับ วินัยได้แล้ว ก็จะมองเห็นว่า พระพุทธศาสนาทั้งหมดก็มีเท่านี้เอง

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงใช้คำเรียกพระศาสนาของพระองค์สั้นๆ ซึ่งเป็นคำสรุปพระพุทธศาสนาอยู่ในตัวว่า "ธรรมวินัย"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 10:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:



มันมีความจริงที่ปิดอยู่อีกมากนัก

รูปภาพ

ความจริงรอวันเวลาเปิดอยู่ :b13:

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/954 ... ?s=459x456


เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2016, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
เมื่อรู้อย่างนี้...กรัชกายก็ให้เป็นธรรมบ้างซิ....

เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32: :b32:



มันมีความจริงที่ปิดอยู่อีกมากนัก

รูปภาพ

ความจริงรอวันเวลาเปิดอยู่ :b13:

http://g-picture2.wunjun.com/5/full/954 ... ?s=459x456


เช่นพวกตัวเองบอกให้เผาไปเลยพี่น้อง...กรัชกายก็หัดตักเตือนพวกตัวเองบ้าง...ไม่ใช่มาหาเหตุแก้ตัวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม...พอพวกทำชั่วผิดศีลผิดธรรมก็เฉย...

:b32: :b32:



ถ้าเขาพูดแค่นั้น ผิดก็ไปจับเขาซี่ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร