วันเวลาปัจจุบัน 21 พ.ค. 2025, 09:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2016, 05:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
ฝากถามคนที่ยึดคัมภีร์อย่างแน่นแฟ้นจนไม่ยอมให้แก้ไขอะไรได้ ว่า นี่คืออะไร?

ในบทสวดมนต์แปลเรื่องการพิจารณาสังขารประโยคที่ว่า

"อวัสสังมะยามะริตัพพัง" ที่ท่านแปลว่า อันเราจะพึงตายเป็น แท้"

ผมไปค้นดูหนังสือสวดมนต์แปลหลายที่หลายแห่งก็แปลกันอย่างนี้ เหมือนแปลผิดแล้วก็ยังไม่ยอมแก้ไขกันสักที อาจเพราะกลัวผิดไปจากต้นฉบับ กลัวผิดธรรมคล้ายคนที่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การแปลความจากพระไตรปิฎก

คำแปลที่ถูกต้องสละสลวยตามสำนวนภาษาไทย แล้วเวลาสวดมนต์แปลพร้อมๆกันในหมู่คนจำนวนมากก็จะทำให้ราบรื่นโล่งใจดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้น่าจะเป็น

"อันเราจะพึงตาย เป็นแน่แท้"

เติมคำว่า "แน่" ซึ่งคนเรียงพิมพ์ทำตกหล่นไว้ในการพิมพ์ต้นฉบับครั้งแรกที่สวนโมกข์หรือที่ไหนสักแห่งหนึ่ง

มาวิเคราะห์แก้ไขสิ่งที่ฟังดูไม่เข้าท่า ทำภาษาให้วิบัติกันหน่อย ดีไหมครับ?

s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2016, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



มีเรื่องเล่าสู่กันฟังครับ .. มีหนังสือเรื่องธุดงควัตร พิมพ์ตกไม้โท คือ

- ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร พิมพ์เป็น ฉันมือเดียวเป็นวัตร

พระภิกษุสองรูปไปธุดงค์ด้วยกัน องค์หนึ่งเวลาฉันก็ใช้สองมือ อีกองค์ก็ตำหนิว่า เรียนมายังไงเรื่องธุดงค์
ยังปฏิบัติผิดอีก กลายเป็นพระทั้งสององค์ก็ทะเลาะกันเรื่อง "ฉันมื้อเดียว กับฉันมือเดียว" ..

ในกาลามสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสไว้

- อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

พระอาจารย์ท่านว่า .. อย่าเชื่อตำรา แต่ไม่ให้ทิ้งตำรา
ให้ใช้ปัญญาพิจารณาก่อน จึงค่อยเชื่อ ..


:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2016, 21:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันสองมือ...คงมูมมามน่าดู..เน๊าะ.. :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2016, 05:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุกับคุณวิริยะ ครับ

เป็นตัวอย่างที่ดีมากแค่ตกไม้โทตัวเดียวความหมายก็เปลี่ยนไป

ดังอีกตัวอย่างหนึ่ง แค่อ่านผิดวรรคตอนความหมายก็กลับตาลปัดไปเป็นคนละเรื่อง

"ยานี้ดี กินแล้วทำให้แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน"

แต่เมื่ออ่านวรรคตอนผิด

"ยานี้ดี กินแล้วทำให้แข็ง แรงไม่มี โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน"


การแปลความหมาย การตีความพระธรรมจากคัมภีร์ จากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย ยิ่งมีสิ่งต้องสังเกตพิจารณากันให้ดีและละเอียดถี่ถ้วนโดยจะต้องมีหลักยึดที่ดีและถูกต้องในการวินิจฉัยตัดสินใจอีกด้วยจึงจะได้ความหมายที่ถูกต้องตามธรรม ทั้งอรรถะและธรรม

กระทู้นี้จึงเป็นสนามให้สหายในธรรมทั้งหลายนำเอาข้อสังเกตจากการแปลและตีความหมายของธรรมจากที่ต่างๆมาวิตกวิจารณ์สนทนากัน เพื่อให้เกิดความรู้ถูกต้องและถ่ายทอดธรรมะที่ถูกต้องตามคำสอนและพระประสงค์ของพระบรมศาสดาสู่เพื่อนชาวโลกต่อไป

:b8:
:b27:
s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2016, 05:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ฉันสองมือ...คงมูมมามน่าดู..เน๊าะ.. :b32: :b32:

:b12: :b12:
คุณกบตีความอย่างไรในเรื่องการฉันสองมือครับ?

จริงๆการขบฉันมันก็ต้องใช้สองมือช่วยกันอยู่แล้ว จึงจะทำให้การฉันเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สะดวกสบาย

ยกตัวอย่างจะฉันผักกับน้ำพริกซึ่งคงต้องจับผักที่ยาวๆอย่างผักบุ้งผักตำลึงด้วยมือข้างหนึ่งแล้วเอามืออีกข้างหนึ่งมาช่วยม้วนผักให้เป็นคำกลมๆให้ใส่เข้าปากง่ายๆแล้วจึงป้อนเข้าปากเพื่อฉัน

ถ้าฉันมือเดียวจะทำยังไงจึงจะดูดีและถูกต้องตามธรรม(มะดา)ครับคุณกบ

s004
s006
:b13: :b17: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2016, 06:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ฉันสองมือ...คงมูมมามน่าดู..เน๊าะ.. :b32: :b32:


กำลังคิดถึงว่า..มือหนึงถือน่องไก่..มือหนึงถือหมูทอด

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2016, 06:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


การกินมูมมาม..นี้..แม้กินมือเดียว..ก็มูมมามได้

หยาบ ๆ ..เห็นจากอาการภายนอก

ละเอียด...ก็อาการภายใน...ตักเข้าปากช้อนหนึง..ยังไม่กลืนเลย...ก็ตักช้อนใหม่รอซะแล้ว...

:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2016, 06:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ฉันสองมือ...คงมูมมามน่าดู..เน๊าะ.. :b32: :b32:


กำลังคิดถึงว่า..มือหนึงถือน่องไก่..มือหนึงถือหมูทอด

:b32: :b32: :b32:

:b13:
55555555
ก็คงเป็นภาพที่ไม่งามอย่างคุณกบคิด นั่นเป็นมุมลบ ผมนึกถึงภาพพระถืออาหารสองมือชูไว้ทำท่าจะกิน แต่คนที่จะมาบวชเป็นพระได้ มรรยาทในการกินอย่างนั้นน่าจะไม่เกิดนะครับ

แต่พอมองทางมุมบวก ก็จะเป็นอย่างเช่นที่ผมยกตัวอย่างมานะครับ

สองมือช่วยกันเตรียมคำข้าวและอาหารป้อนสู่ปาก ในท่าทางที่สำรวมระวัง

:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2016, 07:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
ฝากถามคนที่ยึดคัมภีร์อย่างแน่นแฟ้นจนไม่ยอมให้แก้ไขอะไรได้ ว่า นี่คืออะไร?

ในบทสวดมนต์แปลเรื่องการพิจารณาสังขารประโยคที่ว่า

"อวัสสังมะยามะริตัพพัง" ที่ท่านแปลว่า อันเราจะพึงตายเป็น แท้"

ผมไปค้นดูหนังสือสวดมนต์แปลหลายที่หลายแห่งก็แปลกันอย่างนี้ เหมือนแปลผิดแล้วก็ยังไม่ยอมแก้ไขกันสักที อาจเพราะกลัวผิดไปจากต้นฉบับ กลัวผิดธรรมคล้ายคนที่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การแปลความจากพระไตรปิฎก

คำแปลที่ถูกต้องสละสลวยตามสำนวนภาษาไทย แล้วเวลาสวดมนต์แปลพร้อมๆกันในหมู่คนจำนวนมากก็จะทำให้ราบรื่นโล่งใจดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้น่าจะเป็น

"อันเราจะพึงตาย เป็นแน่แท้"

เติมคำว่า "แน่" ซึ่งคนเรียงพิมพ์ทำตกหล่นไว้ในการพิมพ์ต้นฉบับครั้งแรกที่สวนโมกข์หรือที่ไหนสักแห่งหนึ่ง

มาวิเคราะห์แก้ไขสิ่งที่ฟังดูไม่เข้าท่า ทำภาษาให้วิบัติกันหน่อย ดีไหมครับ?

s004


เป็นแท้..หรือจะเป็นแน่แท้...ไม่ได้ทำให้วิบัติหรอก...

แต่พวกที่บิดเบือนพระธรรม...ไม่ใช่ธรรมบอกว่าเป็นธรรม...ธรรมบอกว่าไม่เป็นธรรม...อย่างที่บางคนชอบกล่าว...นี้ซิ....วิบัติของแท้...หรือจะพูดว่า..วิบัติเป็นแน่แท้..ก็ได้...ตามสะดวก

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 05:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b34:
กบมีหลักหรือยังที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวินิจฉัยตัดสินใจว่าอันใดเป็นธรรม ไม่ใช่ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

จึงได้กล้ามาตัดสินว่ากล่าวใครต่อใครตามใจตนเอง

??????
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 06:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อโสกะ...นี้ชอบร้อนตัว...กลัวแต่เขาว่า..นะนี้

อโสกะ..เสนอให้แก้คำแปล...จาก.."เป็นแท้"...เป็น.."เป็นแน่แท้"..เพื่อไม่ให้ภาษาวิบัติ

asoka เขียน:
s004
ฝากถามคนที่ยึดคัมภีร์อย่างแน่นแฟ้นจนไม่ยอมให้แก้ไขอะไรได้ ว่า นี่คืออะไร?

ในบทสวดมนต์แปลเรื่องการพิจารณาสังขารประโยคที่ว่า

"อวัสสังมะยามะริตัพพัง" ที่ท่านแปลว่า อันเราจะพึงตายเป็น แท้"

ผมไปค้นดูหนังสือสวดมนต์แปลหลายที่หลายแห่งก็แปลกันอย่างนี้ เหมือนแปลผิดแล้วก็ยังไม่ยอมแก้ไขกันสักที อาจเพราะกลัวผิดไปจากต้นฉบับ กลัวผิดธรรมคล้ายคนที่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การแปลความจากพระไตรปิฎก

คำแปลที่ถูกต้องสละสลวยตามสำนวนภาษาไทย แล้วเวลาสวดมนต์แปลพร้อมๆกันในหมู่คนจำนวนมากก็จะทำให้ราบรื่นโล่งใจดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้น่าจะเป็น

"อันเราจะพึงตาย เป็นแน่แท้"

เติมคำว่า "แน่" ซึ่งคนเรียงพิมพ์ทำตกหล่นไว้ในการพิมพ์ต้นฉบับครั้งแรกที่สวนโมกข์หรือที่ไหนสักแห่งหนึ่ง

มาวิเคราะห์แก้ไขสิ่งที่ฟังดูไม่เข้าท่า ทำภาษาให้วิบัติกันหน่อย ดีไหมครับ?

s004


กระผมก็ว่า...ไม่ว่าจะ...เป็นแท้..หรือ..เป็นแน่แท้...ไม่ได้ทำให้วิบัติหรอก (เพราะสื่อความหมายของธรรมได้ออกมาเหมือนกัน..ไม่ได้เพี้ยนไปไหน)

กบนอกกะลา เขียน:
เป็นแท้..หรือจะเป็นแน่แท้...ไม่ได้ทำให้วิบัติหรอก...

แต่พวกที่บิดเบือนพระธรรม...ไม่ใช่ธรรมบอกว่าเป็นธรรม...ธรรมบอกว่าไม่เป็นธรรม...อย่างที่บางคนชอบกล่าว...นี้ซิ....วิบัติของแท้...หรือจะพูดว่า..วิบัติเป็นแน่แท้..ก็ได้...ตามสะดวก

:b16: :b16: :b16:


แต่พวกบิดเบือนพระธรรมนี้ซิ...วิบัติของแท้...หรือจะพูดว่า..วิบัติเป็นแน่แท้..ก็ได้

เล่นคำให้อโสกะดู..ว่า..ไม่ว่าจะ..แท้..หรือ..แน่แท้...ก็สื่อความหมายออกมาได้อย่างเดียวกัน...

กระผมจะตั้งข้อสงสัย...ใยอโสกะ...จึงมาวุ่นวายกับคำ...ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2016, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"ยานี้ดี กินแล้วทำให้แข็ง แรงไม่มี โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน"


ข้อความนี้ ใช้มาทุกสมัยจริงๆ

ได้ยินตั้งแต่เป็นเด็ก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 19:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b7:
อ้างคำพูด:
แต่พวกบิดเบือนพระธรรมนี้ซิ...วิบัติของแท้...หรือจะพูดว่า..วิบัติเป็นแน่แท้..ก็ได้

เล่นคำให้อโสกะดู..ว่า..ไม่ว่าจะ..แท้..หรือ..แน่แท้...ก็สื่อความหมายออกมาได้อย่างเดียวกัน...

กระผมจะตั้งข้อสงสัย...ใยอโสกะ...จึงมาวุ่นวายกับคำ...ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเลย

:b7:
เฮ้อ ! มีคนอย่างกบนี้มากๆ ภาษาไทยที่มีความหมายลึกซึ้งดีๆสละสลวย คงวิบัติหมด

ที่ต้องมาวุ่นวายกับคำก็เพราะ การตีความหมายของคำไม่ถูกต้องตามธรรมที่พึงเป็นแล้วมันจะทำให้เกิดการกลับตาละปัดผิดทางไปหมด เดี๋ยวจะยกตัวอย่างมาให้ดู

คำว่าแท้ กับ "แน่แท้" นี้เป็นเพียงแซมเปิ้ลเบาๆเพื่อเรียกน้ำย่อยเท่านั้น แต่กบกลับหลงงับแน่นไม่ปล่อยเลยล่าช้าในการเดินกระทู้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงที่ซ่อนลึกรออยู่

สมแล้วสำหรับที่จะเรียกกบว่า "คนคอยชักใบให้เรือเสีย" อดทนดูต่อไปอีกสักหน่อยซิ อย่าเพิ่งขวางสิ.....
.

onion
อ้อ ขอบคุณคุณ student ที่มาชี้เน้นให้เห็นสัจจะของการใช้บัญญัติผิดคำผิดที่ผิดทาง ผิดวรรคผิดตอน

"ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน"
:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 20:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b7:
อ้างคำพูด:
แต่พวกบิดเบือนพระธรรมนี้ซิ...วิบัติของแท้...หรือจะพูดว่า..วิบัติเป็นแน่แท้..ก็ได้

เล่นคำให้อโสกะดู..ว่า..ไม่ว่าจะ..แท้..หรือ..แน่แท้...ก็สื่อความหมายออกมาได้อย่างเดียวกัน...

กระผมจะตั้งข้อสงสัย...ใยอโสกะ...จึงมาวุ่นวายกับคำ...ทั้งที่ไม่ได้ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปเลย

:b7:
เฮ้อ ! มีคนอย่างกบนี้มากๆ ภาษาไทยที่มีความหมายลึกซึ้งดีๆสละสลวย คงวิบัติหมด

ที่ต้องมาวุ่นวายกับคำก็เพราะ การตีความหมายของคำไม่ถูกต้องตามธรรมที่พึงเป็นแล้วมันจะทำให้เกิดการกลับตาละปัดผิดทางไปหมด เดี๋ยวจะยกตัวอย่างมาให้ดู

คำว่าแท้ กับ "แน่แท้" นี้เป็นเพียงแซมเปิ้ลเบาๆเพื่อเรียกน้ำย่อยเท่านั้น แต่กบกลับหลงงับแน่นไม่ปล่อยเลยล่าช้าในการเดินกระทู้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่แท้จริงที่ซ่อนลึกรออยู่

สมแล้วสำหรับที่จะเรียกกบว่า "คนคอยชักใบให้เรือเสีย" อดทนดูต่อไปอีกสักหน่อยซิ อย่าเพิ่งขวางสิ.....
.

onion
อ้อ ขอบคุณคุณ student ที่มาชี้เน้นให้เห็นสัจจะของการใช้บัญญัติผิดคำผิดที่ผิดทาง ผิดวรรคผิดตอน

"ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน"
:b4:


asoka เขียน:
:b11:

จะจริงอะไรมากนักกับมายาการของชีวิตอันมีอายุอยู่เพียงแค่พยับแดด และน้ำค้างในยามเช้า เดี๋ยวๆก็ตายจากกัน

สนุกสุขไปวันๆกับงานโลกและงานธรรมไปจนกว่าอายุขัยจะสิ้นตามเหตุปัจจัยของมัน
:b47: :b48: :b53: :b51:


:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2016, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าน..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร