วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 13:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 00:41
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะเริ่มต้นศึกษา และปฏิบัติควรเริ่มจากไหนครับ ? สมาธิ?,วิปัสสนา?,สติ คือ อะไรกันแน่ ทำอย่างไรจึกเรียกได้ว่ามีสติ


แก้ไขล่าสุดโดย tangzgz เมื่อ 17 ก.ย. 2010, 14:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


[280] บุพนิมิตแห่งมรรค 7 (ธรรมที่เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าว่า มรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐจะเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น ดุจแสงอรุณเป็นบุพนิมิตของการที่ดวงอาทิตย์จะอุทัย, แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดี, รุ่งอรุณของการศึกษา - a foregoing sign for the arising of the Noble Eightfold Path; precursor of the Noble Path; harbinger of a good life or of the life of learning)


1. กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร, มีมิตรดี, คบหาคนที่เป็นแหล่งแห่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี - good company; having a good friend; association with a good and wise person)

2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล, การทำศีลให้ถึงพร้อม, ตั้งตนอยู่ในวินัยและมีความประพฤติทั่วไปดีงาม - perfection of morality; accomplishment in discipline and moral conduct)

3. ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ, การทำฉันทะให้ถึงพร้อม, ความใฝ่ใจอยากจะทำกิจหน้าที่และสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ดีงาม, ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ - perfection of aspiration; accomplishment in constructive desire)

4. อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยตนที่ฝึกดีแล้ว, การทำตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของผู้ที่พัฒนาแล้วให้สมบูรณ์ ทั้งด้านกาย ศีล จิต และปัญญา [ที่จะเป็น ภาวิตัตต์ คือผู้มีตนอันได้พัฒนาแล้ว] - perfection of oneself; accomplishment in self that has been well trained; dedicating oneself to training for the realization one's full human potential; self-actualization)

5. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ, การทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม, การตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ถูกต้องดีงามมีเหตุผล เช่น ถือหลักความเป็นไปตามเหตุปัจจัย - perfection of view; accomplishment in view; to be established in good and reasoned principles of thought and belief)

6. อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท, การทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม - perfection of heedfulness; accomplishment in diligence)

7. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ, การทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม, ความฉลาดคิดแยบคายให้เห็นความจริงและหาประโยชน์ได้ - perfection of wise reflection; accomplishment in systematic attention)

เมื่อใดธรรมที่เป็นบุพนิมิต 7 ประการนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดมีในบุคคลแล้ว เมื่อนั้นย่อมเป็นอันหวังได้ว่าเขาจักเจริญ พัฒนา ทำให้มาก ซึ่งมรรคมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ คือจักดำเนินก้าวไปในมัชฌิมาปฏิปทา


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=280

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 16:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


tangzgz เขียน:
ถ้าจะเริ่มต้นศึกษา และปฏิบัติควรเริ่มจากไหนครับ ?

เริ่มจากคำถามแบบนี้แหละครับท่าน :b32: :b32:
เพราะถ้าหากมีความสนใจจะปฏิบัติแล้ว ก็เรียกได้ว่ามีศรัทธาแล้ว ก็เริ่มทำความเพียรได้เลย(หมายถึงทำความดี ละเว้นความชั่ว) :b13: :b13:

อ้างคำพูด:
สมาธิ?,วิปัสสนา?,สติ คือ อะไรกันแน่

คือวิธีการปฏิบัติ :b13: :b13:

อ้างคำพูด:
ทำอย่างไรจึกเรียกได้ว่ามีสติ

รู้สึกตัวอยู่ตลอด ในทุกๆอิริยาบท ก็เรียกได้ว่ามีสติ :b13: :b13:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง่ายที่สุดคือเริ่มรักษาศีลครับ...^^


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 16:49
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


tangzgz เขียน:
ถ้าจะเริ่มต้นศึกษา และปฏิบัติควรเริ่มจากไหนครับ ?


เริ่มจากที่ตัวเรา
เรียนรู้ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในตัวเองให้ได้มากที่สุด
หาเพื่อนที่สนใจในธรรม
อ่านหนังสือธรรมมะที่เหมาะสมกับตัวเรา
มีเวลา ค่อยออกไปปฏิบัติเข้มบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tangzgz เขียน:
ถ้าจะเริ่มต้นศึกษา และปฏิบัติควรเริ่มจากไหนครับ ? สมาธิ?,วิปัสสนา?,สติ คือ อะไรกันแน่ ทำอย่างไรจึกเรียกได้ว่ามีสติ


สวัสดี คุณtangzgz

อ้างคำพูด:
ถ้าเริ่มต้นศึกษา และปฏิบัติควรเริ่มจากไหน?

เริ่มจาก

ศรัทธา...
ปลูกศรัทธาให้เกิดขึ้นเสียก่อนครับ.
การปลูกศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตในใจเรา ด้วยการศึกษาก็ได้ครับ.
ศึกษา อย่างไร....

1.ศึกษาผล หรือสามัญญผลของการประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ ครับ. เช่นในสามัญผลสูตรครับ. หากผลที่บังเกิดขึ้นเป็นไปดังที่พระพุทธองค์แสดงไว้ บังเกิดขึ้นแก่ตัวท่านเจ้าของกระทู้ ท่านเจ้าของกระทู้ คิดว่า พระธรรมนั้นคู่ควรแก่การศรัทธา และคู่ควรแก่การน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติหรือไม่.
การพิจารณาพระสูตรแบบนี้ เป็นการปลูกศรัทธาเสียก่อนครับ. หากท่านคิดว่าไม่ใช่ ก็ไม่ต้องปฏิบัติต่อไป. หากท่านคิดว่าใช่ มูลศรัทธาท่านก็หยั่งลงสู่พระธรรมได้ครับ.

2. ท่านต้องศรัทธาในตัวของท่านเองด้วยครับ. พระพุทธองค์ ทรงแสดงว่า "ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน"
นั่นหมายความว่า ทุกคนในโลกนี้ต่างก็มีความสามารถที่จะตรัสรู้บรรลุคุณธรรมอันเป็นที่สุดได้. ศรัทธาตัวนี้ ก็เป็นสิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งในพระศาสนานี้ด้วยครับ. เพราะเมื่อขาดศรัทธา ในตนเองก็ไม่มีใครที่จะช่วยท่านได้เช่นกันครับ.

เมื่อมีศรัทธาแล้ว ต่อไปจะทำอย่างไรต่อล่ะครับ....

เมื่อศรัทธาเกิดขึ้นเต็มเปี่ยม ฉันทะความพอใจในธรรมย่อมเกิดขึ้นครับ ในอิทธิบาท 4 ความพอใจคือฉันทะ จะนำหน้าทำให้ท่านสามารถทำความเพียร ประคองความเพียรในโอกาส ต่อไปครับ

ด้วยศรัทธา และฉันทะนี้เองครับ
ท่านย่อมตามศึกษา ด้วยการเข้าหาครูอาจารย์บ้าง เข้าสนทนากับกัลยาณมิตรบ้าง เพื่อแก้ข้อสงสัย เพื่อฟังคำแนะนำ เพื่อศึกษา เพื่อกำหนดรู้ครับ

และด้วยศรัทธา และฉันทะนี้อีกเช่นกันครับ
ท่านย่อมคิดพิจารณาตามวิธีการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ครับ
ท่านย่อมคิดด้วยเหตุด้วยผล ตามเหตุตามปัจจัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เช่นกันครับ
ท่านย่อมคิดย่อมเร้ากุศลที่ยังไม่มีให้มีขึ้น ที่มีอยู่ก็ให้เจริญยิ่งขึ้นไปครับ
ซึ่งนั่นก็คือโยนิโสมนสิการครับ

ศรัทธา ฉันทะ กัลยาณมิตร โยนิโสมนสิการ.....คือการเริ่มต้นของการศึกษาครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ tangzgz ...

การปฏิบัติ ... หรือจรณะ เป็นธัมมจริยา ครับ
ในการปฏิบัติ นั้น เราปฏิบัติด้วยไตรสิกขาครับ
คือ ศีลภาวนา จิตตภาวนา ปัญญาภาวนาครับ

การเริ่มปฏิบัติ ก็คงต้องเริ่มจาก ศีลภาวนาครับ
คือการพัฒนาตนเอง ให้มีความประพฤติสะอาด ทางกาย และทางวาจาด้วยครับ
เพื่อความผาสุก ในการดำรงชีวิตประจำวัน และต่อสังคมส่วนรวมครับ

ท่านต้องรักษาศีล
สำรวมระวังกิริยาทางกาย ทางวาจา
เว้นจากอกุศลกรรมบถอันชั่วหยาบ
ควบคุมความประพฤติอันเคยชินต่อรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันนำไปสู่ความเบียดเบียนทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่นครับ

ถัดจากนั้นท่านค่อยปฏิบัติจิตตภาวนา ครับ
คือการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อความสงบรำงับความเร่าร้อนแห่งจิตอันเกิดจากกิเลสตัณหา และเพื่อให้เกิดปัญญายิ่งขึ้นไปครับ
ในการปฏิบัติจิตตภาวนา หรือการพัฒนาจิตใจนี้ เช่นนั้นแนะนำ อานาปานสติจิตตภาวนาครับ เป็นการจิตตภาวนาที่ใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องศึกษา ครับ

เมื่อศึกษาดำรงมั่นอยู่ในจิตตภาวนาจนดีแล้ว ปัญญาภาวนาก็จะตามมาเองครับ
เพราะในอานาปานสติภาวนา จะทำการศึกษาปัญญาภาวนาได้ด้วยครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมาธิ?,วิปัสสนา?,สติ คือ อะไรกันแน่ ทำอย่างไรจึกเรียกได้ว่ามีสติ


สมาธิ เป็นคำกลางๆ นะครับ มิจฉาสมาธิก็มี สัมมาสมาธิก็มีครับ
สมะ+อธิ คือสมาธิ
สมะ คือความสม่ำเสมอ ของกาย ความสม่ำเสมอของจิต ครับ
อธิ คือ ยิ่ง ครับ
ดังนั้น สมาธิคือ การทำให้ยิ่งซึ่งความสม่ำเสมอของกาย และจิตครับ
จะสม่ำเสมอยิ่งทางไหน ทางที่อยู่กับวัฏฏะ หรือวิวัฏฏะ ครับ
ถ้า อยู่กับวัฏฏะไม่สนับสนุนทางพ้นวัฏฏะ ก็เป็นมิจฉาสมาธิครับ
ถ้า วิวัฏฏะ หรือสนับสนุนเพื่อวิวัฏฏะ ก็เป็นสัมมาสมาธิครับ

วิปัสสนา คือทำความเห็นแจ้งครับ เป็นการพัฒนาทางปัญญาครับ

สติ เป็นเจตสิกธรรมครับ เป็นความระลึกที่ต้องมีสัมปชัญญะ ความรู้พร้อมรู้เฉพาะ ไปอันไม่ข้องเกี่ยวกับอกุศลกรรมบถ 10 ครับ ถึงจะเรียกว่า เป็นผู้มีสติครับ
ความระลึกอื่นใดนอกจากนี้แล้ว ไม่ใช่สติครับ สติจะต้องเกิดร่วมเกิดพร้อมกับสัมปชัญญะในกุศลจิตขึ้นไปเท่านั้นครับ และนี่คือบัญญัติที่ไม่เปลี่ยนแปลงในพระอภิธรรมครับ ใครสอนอื่นใดจากนี้เป็นคำสอนนอกพระศาสนาครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำอย่างไรจึงเรียกว่า เป็นผู้มีสติ

มีหิริ โอตตัปปะขึ้นมา ก็เป็นผู้มีสติแล้วครับ

ความละอาย และความเกรงกลัวต่อบาปกรรมไงครับ

เพียงเท่านี้ ความชั่วบาปทั้งหลายก็ลดได้มากแล้วครับ

นั่นคือ ทำความระลึกได้ใน หิริ ในโอตตัปปะ ครับ

เจริญในธรรม และมีความสุขต่อการปฏิบัติธรรม ยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 00:41
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับทุกๆท่าน จะนำไปปฏิบัติครับ :b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย tangzgz เมื่อ 17 ก.ย. 2010, 22:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2010, 00:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 13:31
โพสต์: 12

ชื่อเล่น: เบสท์
อายุ: 0
ที่อยู่: เจริญนคร

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางการเจริญสติของหลวงพ่อคำเขียน-สุวณฺโณ

http://board.palungjit.com/f4/แนวทางการเจริญสติของหลวงพ่อคำเขียน-สุวณฺโณ-257669.html


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2010, 01:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การงานใดก็ตาม จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีใจรักในงานนั้นเสียก่อน

อยากจะศึกษาธรรมะ ต้องมีความฉันทะพอใจในการศึกษาธรรมะ

เพื่อมีความพอใจแล้ว ก็ต้องมีวิริยะ คือความพยาม
มีความหมั่นเพียรอุตสาหะ ในการพากเพียรศึกษา ไม่ย่อท้อ
เพราะพุทธธรรมนั้น เปรียบเหมือน jig zaw ขนาดใหญ่ ที่แตกระจายเป็นพันๆชิ้น
เมื่อจะต้องประติดประต่อภาพ ก็เลยเป็นงานที่จะอาศัยความชอบอย่างเดียวไม่ได้
ต้องมีความเพียร ขันติ มีศรัทธา ในอันที่จะไม่ลดละในการประติดประต่อความรู้
ถ้าขาดตรงนี้ ก็จะทำให้หนีหายยุบเลิกการต่อภาพไป
กลายเป็นการบั่นทอนกำลังใจของตนในการศึกษาธรรมะ
เมื่อไม่เพียรอย่างเพียงพอ ก้ทำให้ไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจก็ทำให้ท้อ

ต่อเมื่อได้พอเห็นภาพรางๆของ jigzaw แล้ว
อันนี้จะเริ่มสนุก ที่จะได้ค่อยๆแต่งแต้มความสมบูรณ์ให้ความรู้ไปเรื่อยๆ
ความสุขนี่แหละ เป็นเครื่องสนับสนุนฉันทะ ให้มีความพอใจที่จะทำต่อไป
และความสุขนี่แหละ เป้นเหตุของสมาธิ
ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น เป็นธรรมะที่สำเร็จได้ด้วยความสุข

ความสุขคือส่วนประกอบของสมาธิ กล่าวคือเวลาเราทำอะไรแล้วเพลิน มีความสุจ
เราก็จะมีจิตใจจดจ่อหวลหาแต่สิ่งนั้น ทำให้เกิดความใส่ใจ เอาใจใส่ ซึ่งเป้นคุณธรรมที่ชื่อว่า จิตตะ

เมื่อมีความสุขที่ได้พากเพียรประติดประต่อความรู้ ก้จะนำไปสู้การพัฒนาความรู้ของตน
เช่นได้เรียนรู้ว่าจิ๊กซอชิ้นนี้ ไม่เข้าสีในแถบนี้ แต่ไปเข้ากับมุมนั้น ก็กันเอาไว้ใช้กับมุมดน้น
เรียกว่าเกิดความชำนิชำนาญ เกิดกระบวนการพัฒนาความรู้ของตนให้ตรงต้องตามที่ควรจะเป้น
ซึ่งเป้นคุณธรรมที่ชื่อว่า วิมังสา

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรือที่เรียกรวมว่า อิทธิบาท 4 นี้
จึงเป็นวัฏฏะของความสำเร็จ เป็นสูตรสำเร็จของความสำเร็จ
ในการศึกษาธรรมะ(และแม้แต่กิจการงานใดก้ตาม)


การศึกษาธรรมะนั้น ต้องสอบทานจิตใจตนเองว่าต้องการศึกษาธรรมะเพื่ออะไร
หากเป็นความชอบ ความพอใจ อย่างแท้จริง ในอันที่จะแก้ไขปรับปรุง "ตนเอง" แล้ว
ก็นับว่าเริ่มเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์แล้ว
เวลาสวดมนต์ ในส่วนบทพระธรรมคุณ หรือคุณสมบัติของธรรมะ
จะพบคำว่า "โอปนยิโก" หมายความว่า พระธรรมนั้น ต้องหวนกลับเข้ามาที่ตนเอง แก้ไขตนเอง ปรับปรุงตนเอง ด้วยตน ของตน

แต่หากต้องการเอาไว้ใช้"นอกเหนือไปจากการปรับปรุงแก้ไขตนเองแล้ว"
ไม่โอปนยิโกให้ดี ก็อาจจะนับว่าเริ่มเห็นแสงปลายอุโมงค์เหมือนกัน แต่เป็นแสงไฟจากนรก
กล่าวคือความยุ่งยากวุ่นวาย ก็เป็นอนาคตอันใกล้ที่เดาได้ไม่ยาก
เพราะธรรมะนั้น ถ้าเอาไปใช้เป็นคุณ ก็เป้นคุณประโยชน์สุดประมาณ
ตรงกันข้าม ถ้าเอาไปใช้เป็นโทษประทุษร้ายแล้ว ก็สุดประมาณเหมือนกัน


ขออวยพรและอนุโมทนาผู้ที่สนใจธรรมะ
นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายิ้มให้เป็นอย่างยิ่ง
:b13: (ยิ้มฟันหลอให้นะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 21:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 00:41
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วการภาวนา นั้น คือการสอนจิตสอนใจตัวเองให้รู้ ว่าทุกอย่างมัน เป็นไตรลักษณ์ อย่างนี้เรียกได้ว่า ภาวนาใช่ไหมครับ :b23: :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tangzgz เขียน:
แล้วการภาวนา นั้น คือการสอนจิตสอนใจตัวเองให้รู้ ว่าทุกอย่างมัน เป็นไตรลักษณ์ อย่างนี้เรียกได้ว่า ภาวนาใช่ไหมครับ :b23: :b23:


สวัสดี คุณ Tangzgz
อนุโมทนา ในความตั้งใจศึกษาครับ

ภาวนา คือทำให้เจริญขึ้น พัฒนาขึ้นครับ
ศีลภาวนา คือการพัฒนาความประพฤติทางกาย ทางวาจา ให้สะอาดไม่ล่วงอกุศลกรรมบถ เป็นการพัฒนาความเป็นคน และเพื่อการอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุขครับ

จิตตภาวนา คือการพัฒนาทางจิตครับ ซึ่งสมาธิภาวนา ก็คือจิตตภาวนานั่นเองครับ เป็นการพัฒนาให้จิตสงบสงัดจากกิเลส ความเศร้าหมอง และอกุศลธรรมอันทำให้จิตเศร้าหมอง เพื่อความบริสุทธิ์แห่งจิตครับ

ปัญญาภาวนา คือการพัฒนาความรู้ชัดของตัวปัญญาเองครับ เป็นการพัฒนาเพื่อความรู้ เพื่อความละวาง เพื่อการก้าวล่วงทิฏฐิตัณหา และทำนิพพานให้แจ้งครับ

การอบรมจิตให้รู้ว่าทุกอย่างเป็นไตรลักษณ์ ไม่ค่อยมีประโยชน์มากเท่าไหร่ครับ เพราะไตรลักษณ์ นั้นตอบปัญหา ตอบโจทย์หรือข้อสงสัยของชีวิตไม่ได้หมดหรอกครับ เป็นความรู้ที่มีประโยชน์เล็กน้อยครับ
การอบรมจิตให้รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจจธรรม ครับเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงประกาศมาโดยตลอดหลังจากพระพุทธองค์ท่านบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณครับ

เจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป ด้วยความเพียรอันตั้งมั่นไว้ดีแล้ว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2015, 22:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 00:41
โพสต์: 9


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นแท้จริงของการปฏิบัติภาวนาของผมเลยนะครับเนี่ย
ขอบคุณทุกท่านมากครับ ปฏิบัติมาเรื่อยๆ มีหลงไปบ้าง
แต่จิตใจลึกๆปักหลักลงแน่น กับพระพุทธ และพระธรรมอย่างเหนียวแน่น


ที่จะมาบอกก็คือขอบคุณทุกคำแนะนำครับทุกท่าน
จาก 2010 - 2015


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร