วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 10:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2015, 23:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิ...
ถึงจุดหนึ่ง..ที่ไอเดียจะเรียกว่าเป็นความสงบ
คือ..เกิดอาการกายเบา..จิตเบา
สว่าง..โปร่ง..โล่ง..
กาย..ลม..ยังไม่ดับ
แต่..เหมือนมีก็ไม่ใช่..ไม่มีก็ไม่ใช่
สุข..สงบ
ส่วนมากที่ทำได้..และทำความเข้าใจมาประมานนี้


s005 ..แต่..
สงสัยมาสักพักละ.. :b9: :b14:
หลายครั้งที่..เหมือนระลึกถึงความสงบ..
ในวันที่เข้าสมาธิง่ายพอสมควร..
มันจะเหมือนจับทางไปได้เลยทันทีที่หลับตาสักแป๊ป
แต่..มันเป็นความสงบ..อีกแบบ :b34:
ติดใจตรงนี้ค่ะ
ตอนนั้นจะรู้สึก..ว่ามีกาย
แต่กายเป็นสภาพใด..อยู่สัดส่วนตรงใดระบุไม่ได้
จะรู้ชัดแค่ตรงกลางอก..
รู้ตรงจุดนี้..และมันจะเคลื่อนไป..ตรงจุดนั้น..(กลางอกนั่นแหละ)
รู้ถึงอาการเคลื่อน..บางทีเร็วๆ..เหมือนควบคุมให้ชะลอ..คงเพราะฝืน
แต่มันเป็นอาการที่..เคลื่อนหมือนไม่มีที่สุด

คือว่า..ไม่เคยตามไปถึงที่สุดด้วยค่ะ..แหะๆ :b9: :b9:
เพราะมันเหมือน..ดิ่ง..อ่ะค่ะ..ดิ่งลึกไปเรื่อยๆ
ไม่มีสว่าง..โล่ง..เบา..
แต่ก็ไม่อึดอัด..คิดว่ามีความรู้ตัวดี
แต่..
มันสงบ..แบบวิเวก..อย่างเดียวเลย
มันวังเวงจนน่าตกใจอยู่นิดๆอ่ะค่ะ
จะถอยออกตลอด..แบบขืนไว้

ใครพอจะอธิบายสภาวะนี้ได้ใหมคะ
มันก็คือความสงบ..แบบหนึ่งใช่ใหม..
สัมมาสมาธิใช่ใหม..
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2015, 02:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นลักษณะของฐานจิต

คือจิตตั้งอยู่ตรงนั้น ที่อธิบายมาคุณideaบอกอยู่กลางอก

คือผมเองไม่ใช่จริตแบบ เจโตวิมุติ คือ จริตที่สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิได้แนบแน่นดิ่งลึก และคิดว่าคุณ idea คือ หนึ่งในกลุ่มเจโตวิมุติ

ที่บอกว่าไม่ใช่เพราะจิตผมจะพิจารณาสลับไปเรื่อยๆ คือปัญญาวิมุติ เดี๋ยวธรรมตัวนี้ เดี๋ยวธรรมตัวนั้น คือแล้วแต่เราถนัดอย่างไร แต่ไม่ใช่ว่ามีปัญญาเหนือใครอะไรไม่ใช่ เป็นแค่ชื่อของจริต หรือกลุ่มที่เราคิดว่าเราเป็นกลุ่มไหน ที่ผมอาจจะผิดก็ได้ ต้องรอผู้รู้ท่านอื่นมาอธิบาย

สมาธิที่คุณidea กล่าวมาคือ การดับไปแห่งอารมณ์วิตก อะไรต่างๆ มีอุเบกขาตั้งอยู่ ตั้งแต่ปฐมญาณไปถึงจตุตถญาณ อาจจะขึ้นลง (เราอาจไม่รู้)


ที่บอกเป็นฐานจิต เพราะจิตมักจะวกกลับมาที่นี่ จริงๆ ระหว่างที่จิตดิ่งลงไปเรื่อยๆ เราสามารถสังเกตุธรรม (คือ เหมือนพระพุทธเจ้าท่านสังเกตุธรรม แล้ว นำมาอธิบายเช่น หายใจเข้าออกอยาบ พอกำหนดไปเรื่อยๆลมหายใจละเอียด พอกำหนดไปเรื่อยๆ ดับลง )

คือเราจะสังเกตุอาการของธรรม ตรงนี้ต้องดูว่าเราเข้าใจว่าอย่างไร บางคนเข้าใจไม่เหมือนกัน แต่พอเทียบกันก็ลงกันสมกัน

อย่างผมเอง ถ้าพูดคำว่ากาย ความหมายผมอัตโนมัติถามกลับว่ากายไหน ไม่ใช่อวัยวะส่วนไหน คำว่ากายไหนคือ มหาภูติ4 ธาตุไหน เข่น ธาตุไฟ ก็คือกายในความหมายของผม แต่ถ้าบอกว่ามือ คืออวัยวะ เป็นสมมุติ เวลานั่งสมาธิ ถ้าเราเห็นมือ แสดงว่า อะไรแสดง ก็คือสัญญาแสดงรูปมือ (ตามบัญญัติขันธ์5) แต่มือก็ไม่เที่ยง คือสัญญาไม่เที่ยง ไม่ใช่มือขยาย กำมือ แบมือ ไม่ใช่ มือก็ไม่เที่ยงคือ สัญญาไม่เที่ยง เพราะเรากำลังกล่าวไตรลักษณ์ ที่มีตัวรู้คือจิต แต่ถ้ามือเด็ก เป็นแก่ คือ สังขารไม่เที่ยง คือ เหตุปัจจัยก็ไม่เที่ยง ชีวิตไม่เที่ยง (การประชุมกันของขันธ์5ไม่เที่ยง)

ที่กล่าวมาก็เป็นเชิงในการใช้แนวคิด ตราบใดที่เรามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เป็นสัมมาสมาธิอยู่แล้วครับ (เพราะอารมณ์เรา)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2015, 15:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
การทำสมาธิ...
ถึงจุดหนึ่ง..ที่ไอเดียจะเรียกว่าเป็นความสงบ
คือ..เกิดอาการกายเบา..จิตเบา
สว่าง..โปร่ง..โล่ง..
กาย..ลม..ยังไม่ดับ
แต่..เหมือนมีก็ไม่ใช่..ไม่มีก็ไม่ใช่
สุข..สงบ
ส่วนมากที่ทำได้..และทำความเข้าใจมาประมานนี้


s005 ..แต่..
สงสัยมาสักพักละ.. :b9: :b14:
หลายครั้งที่..เหมือนระลึกถึงความสงบ..
ในวันที่เข้าสมาธิง่ายพอสมควร..
มันจะเหมือนจับทางไปได้เลยทันทีที่หลับตาสักแป๊ป
แต่..มันเป็นความสงบ..อีกแบบ :b34:
ติดใจตรงนี้ค่ะ
ตอนนั้นจะรู้สึก..ว่ามีกาย
แต่กายเป็นสภาพใด..อยู่สัดส่วนตรงใดระบุไม่ได้
จะรู้ชัดแค่ตรงกลางอก..
รู้ตรงจุดนี้..และมันจะเคลื่อนไป..ตรงจุดนั้น..(กลางอกนั่นแหละ)
รู้ถึงอาการเคลื่อน..บางทีเร็วๆ..เหมือนควบคุมให้ชะลอ..คงเพราะฝืน
แต่มันเป็นอาการที่..เคลื่อนหมือนไม่มีที่สุด

คือว่า..ไม่เคยตามไปถึงที่สุดด้วยค่ะ..แหะๆ :b9: :b9:
เพราะมันเหมือน..ดิ่ง..อ่ะค่ะ..ดิ่งลึกไปเรื่อยๆ
ไม่มีสว่าง..โล่ง..เบา..
แต่ก็ไม่อึดอัด..คิดว่ามีความรู้ตัวดี
แต่..
มันสงบ..แบบวิเวก..อย่างเดียวเลย
มันวังเวงจนน่าตกใจอยู่นิดๆอ่ะค่ะ
จะถอยออกตลอด..แบบขืนไว้

ใครพอจะอธิบายสภาวะนี้ได้ใหมคะ
มันก็คือความสงบ..แบบหนึ่งใช่ใหม..
สัมมาสมาธิใช่ใหม..
:b8:

พอมันไม่สงบ
มันก็เคลื่อน
เคลื่อนไปเคลื่อนมา
เป็นสัมมาสมาธิไหม คงเข้าใจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 12:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจารณาสภาพธรรม ของคุณidea มี ขั้นตอน 2 คือ
1 เริ่มต้นด้วยการรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลา และบางครั้งเพียงหลับตาจินก็รวมตัวกลางหน้าอก พบอาการไหว ณ จุดกลางหน้าอก ซึ่งคือปรากฏการณ์ลมละเอียด ซึ่งหากยังรู้ในลมจะเกิดอาการแน่นๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ต้องเลิกสนใจลมชั่วคราว เพราะรู้ลมหายใจเข้าออก มุ่งหมายเพื่อให้ได้สมาธิ
และใช้สมาธิมารู้ความจริง

2 ให้นำสมาธิมารู้ความจริงของกายใจที่ปรากฏ ซึ่งคุณ idea
จะพบอาการ2 อย่างคือ อาการไหวไปมาและอาการแน่นๆ ที่กลางหน้าอก ให้นำตัวรู้ที่เป็นกลาง คือ รู้แบบคนพักผ่อนรู้ รู้แค่ใหนให้รู้แค่นั้น ไม่ต้องควานหาสภาวะ โดยรู้รวมๆ ในปรากฏการณ์ 2ั อย่างคืออาการไหวและการมีสิ่งทาบปกคลุมหัวใจ โดยรู้ ืืืืพร้อม 2 ปรากฏการณ์ 3ถึง5 วินาที รู้แล้วละ จิตจะค่อยๆดิ่งลง ตามรู้อาการดิ่งลง จนจิตมาหยุด อยุ่ที่ตำแหน่งหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 14:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะเป็นเพียง สมถะนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 15:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่รู้สึกกลางอก ผมเคยเป็นมาก่อนครับ

คือพอรู้สึกตัวมันจะไปอยู่กลางหน้าอกครับ

แท้จริงๆแล้ว คือ ตัวรู้มันไปแนบอยู่กลางอกครับ

พอทำแบบนั้นแล้วใจมันจะนิ่งๆ สงบๆ มันก็มีความสุขดีครับ

แต่มันผิดครับ Onion_R

มันจะกลายเป็นไปเพ่งกลางอกไว้ โดยไม่รู้ตัวนะครับ

แล้วก็จะไม่เห็น ไตรลักษณ์ มันจะไปจับกลางอกไว้ เฉยๆ อยู่อย่างนั้นนะครับ

ต้องถอยออกมา อีก สเต็ปนึงครับ อย่าไปแนบอยู่กับกลางอกนะครับ

แต่ถ้าจะทำสมถะ ถือว่าไม่ผิดครับ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 16:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเปลี่ยนชื่อใหม่
เราไม่ได้เอาตัวรู้ไปแนบกับแรงที่ร้อยรัดกลางอก(แรงตัณหา)
แต่เราเอาต้วรู้ไปแตะรู้แรงที่ร้อยรัดกลางอก(แตะรู้ความรู้สึกเหมือนมีอะไรแนบอยู่)
เมื่อรู้กลางอกหากรู้ต่อเนื่องอย่างที่คุณเปลี่ยนชื่อกล่าว
จิตจะยึดรวมกับแรงที่กลางอก อันนี้เป็นสมถะ ถ้าจะเป็นวิปัสนา
จะต้องแตะรู้แล้วละ รู้แล้วละหมายถึง การรู้ชั่วขณะ 3-5วินาที
แล้วปล่อยรู้
การปล่อยรู้หมายถึง รู้แล้วละ เหมือนทิ้งของที่ไม่ต้องการ เลิกใส่ใจการละก็ไม่ได้นาน
สำหรับบางท่านที่ยึดมาก ไม่สามารถปล่อยรู้ได้ อาจเป็นการยึดที่จะปล่อยรู้ กลุ่มนี้คืออัตตกิลมถานุโยค อาจใช้วิธีการเปลี่ยนรู้ คือขณะรู้แรงกลางหน้าอก 3-5วินาที ต่อจากนั้นหากมีพัดลมเปิดใส่ตัวหรือลมพัดมาโดนตัว ก็มารู้ที่ลมโดนตัว ซึ่งก็คือการเปลี่ยนรู้สิ่งใหม่ ก็คือการละสิ่งเก่า(สำหรับอัตกิลมถานุโยค) หากเป็นกลุ่มวิปัสนายานิกจิตเขาจะละเองโดยธรรมชาติ
สำหรับคุณideaเป็นวิปัสนาที่มีสมถะนำหน้าอาจใชัวิธีนี้หรือไม่ก็ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 18:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สวัสดีครับคุณเปลี่ยนชื่อใหม่
เราไม่ได้เอาตัวรู้ไปแนบกับแรงที่ร้อยรัดกลางอก(แรงตัณหา)
แต่เราเอาต้วรู้ไปแตะรู้แรงที่ร้อยรัดกลางอก(แตะรู้ความรู้สึกเหมือนมีอะไรแนบอยู่)
เมื่อรู้กลางอกหากรู้ต่อเนื่องอย่างที่คุณเปลี่ยนชื่อกล่าว
จิตจะยึดรวมกับแรงที่กลางอก อันนี้เป็นสมถะ ถ้าจะเป็นวิปัสนา
จะต้องแตะรู้แล้วละ รู้แล้วละหมายถึง การรู้ชั่วขณะ 3-5วินาที
แล้วปล่อยรู้
การปล่อยรู้หมายถึง รู้แล้วละ เหมือนทิ้งของที่ไม่ต้องการ เลิกใส่ใจการละก็ไม่ได้นาน
สำหรับบางท่านที่ยึดมาก ไม่สามารถปล่อยรู้ได้ อาจเป็นการยึดที่จะปล่อยรู้ กลุ่มนี้คืออัตตกิลมถานุโยค อาจใช้วิธีการเปลี่ยนรู้ คือขณะรู้แรงกลางหน้าอก 3-5วินาที ต่อจากนั้นหากมีพัดลมเปิดใส่ตัวหรือลมพัดมาโดนตัว ก็มารู้ที่ลมโดนตัว ซึ่งก็คือการเปลี่ยนรู้สิ่งใหม่ ก็คือการละสิ่งเก่า(สำหรับอัตกิลมถานุโยค) หากเป็นกลุ่มวิปัสนายานิกจิตเขาจะละเองโดยธรรมชาติ
สำหรับคุณideaเป็นวิปัสนาที่มีสมถะนำหน้าอาจใชัวิธีนี้หรือไม่ก็ได้


สวัสดีครับ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 20:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านค่ะ
tongue
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote]การพิจารณาสภาพธรรม ของคุณidea มี ขั้นตอน 2 คือ
1 เริ่มต้นด้วยการรู้ลมหายใจเข้าออก ซึ่งบางครั้งต้องใช้เวลา และบางครั้งเพียงหลับตาจินก็รวมตัวกลางหน้าอก พบอาการไหว ณ จุดกลางหน้าอก ซึ่งคือปรากฏการณ์ลมละเอียด ซึ่งหากยังรู้ในลมจะเกิดอาการแน่นๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ต้องเลิกสนใจลมชั่วคราว เพราะรู้ลมหายใจเข้าออก มุ่งหมายเพื่อให้ได้สมาธิ
และใช้สมาธิมารู้ความจริง

2 ให้นำสมาธิมารู้ความจริงของกายใจที่ปรากฏ ซึ่งคุณ idea
จะพบอาการ2 อย่างคือ อาการไหวไปมาและอาการแน่นๆ ที่กลางหน้าอก ให้นำตัวรู้ที่เป็นกลาง คือ รู้แบบคนพักผ่อนรู้ รู้แค่ใหนให้รู้แค่นั้น ไม่ต้องควานหาสภาวะ โดยรู้รวมๆ ในปรากฏการณ์ 2ั อย่างคืออาการไหวและการมีสิ่งทาบปกคลุมหัวใจ โดยรู้ ืืืืพร้อม 2 ปรากฏการณ์ 3ถึง5 วินาที รู้แล้วละ จิตจะค่อยๆดิ่งลง ตามรู้อาการดิ่งลง จนจิตมาหยุด อยุ่ที่ตำแหน่งหนึ่ง /quote]




:b8: :b8:
ประมานนั้นเลยค่ะ..
ติดตามอยู่นะคะ..เพราะเข้าใจง่าย..
ก็พยายามเอามาปรับใช้อยู่ด้วยค่ะ..

พยายามรู้รวมๆ สักพัก(ถ้ามันลงล็อคนะ)

มันก็จะะเกิดอาการแบบที่เล่านี้
จะไม่เห็นลมแล้วตอนนั้น..เหมือนจิตตั้งอยู่ที่กลางอก..แบบกะทันหันเลย
ถ้ายังมีสติจับสภาวะนี้แบบเบาๆได้อยู่..มันจะเหมือนดิ่ง..เหมือนถูกดูดลง
ไปเร็วๆ..เกิดความวิเวกขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อวิเวก..ก็วังเวง :b9: :b9:
มีความคิดแทรกเข้ามาบ้างค่ะเป็นพักๆ..
ว่ามีใครมาอยู่ตรงนั้นตรงนี้..แต่แบบรู้แล้วละ..
มันจะรู้สึกสลดเห็นโทษของการปรุงแต่ง..เวลามันเกิดคิดขึ้นแต่ละที
แต่ก็พยายามรู้ต่อแบบเป็นกลางๆ
แต่สุดท้ายก็ฝืนกลับมาค่ะ
มันรู้สึกหวั่นๆเหมือนยิ่งลึก..ยิ่งจะไม่มีอะไรให้ยึด
ผ่านตรงนี้ไปยังไม่ได้

ถึงสภาวะตรงนี้..แล้วไม่รู้สึกว่า..จิตเป็นของเราค่ะ
มันเลยเคว้งๆ...แต่เป็นตัวสติที่ระลึกได้อยู่..
เหมือนสติเป็นแรงส่งค่ะ..
ไม่ทราบว่าเข้าใจผิดใหมนะ
ก็คงต้องลงมือปฏิบัติไปก่อน..
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2015, 22:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


้สภาพธรรมที่ปรากฏในการปฏิบัติวิปัสนาจำแนกตามอุปนิสัย

1ลักษณะจิตของวิปัสนายานิก เนื่องจากวิปัสนายานิกเป็นผู้มีสมาธิไม่มาก เจตสิกจึงมีความหลากหลาย การกำหนดจิตจึงเป็นการรู้ทันความรู้สึกนึกคิด ความทรงจำที่ผุดออกมา การเคลื่อนของจิตไปตามอายตนะภายนอก เช่น ทางตาเป็นต้น การกำหนดรู้เป็นขณะตามปรากฏการณ์ของจิต นานๆจิตจะดิ่งลง เมื่อดิ่งลงก็กลับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

2 ลักษณะจิตของสมถยานิก เนื่องจากเป็นชอบบำเพ็ญสมาธิมามาก เจตสิกจึงไม่หลากหลาย การกำหนดรู้จึงเป็นการรู้กายในกาย เช่น กรณีสภาวธรรมของคุณ idea ที่กล่าวมา

หลักการปฏิบัติขัันต่อไป คือ การรู้ความสัมพันธ์ของกายใจจากความจริงที่จิตเป็นเหตุสร้างปรากฏการณ์ทางกาย กล่าวคือ หากจิตมีความพอใจเอิบอิ่ม ก็จะไปบงการให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนปรเภทนั้นๆออกมากรณีนี้สมองจะสร้างสารเอ็นโดฟีนออกมาไหลจากโหนกศีรษะาผ่านข้างหูเอิบอาบตามกระแสประสาท สะสมลงสู่ไขสันหลัง เอิบอาบหมักดองตามที่พะพุทองค์ได้กล่าวไว้(อาสวะหมักดอง)

การเกิดกิเลสทางใจหนึ่งครั้งก็สร้างสารทางกายหนึ่งครั้งเกิดดับคิดเป็น1รอบ ใช้ระยะเวลาสั้นๆไม่กี่วินาที ถัาจิตโกรธก็จะสร้างสารโกรธในร่างกาย(อดีนารีน) ลองคิดดูวันหนึ่งๆจะสร้างกีสาร กี่ครั้ง กีรอบ 1เดือน กี่แสน ล้านรอบ สร้างเสร็จก็สะสมที่ใจกายนี้ นี่จึงเป็นเหตุให้เวียนตายเกิดภพชาติไม่หมดสิ้น

เมื่อใจเป็นเหตุ สารเคมีทางกายเป็นผล(ปฏิจสมุปบาทสายเกิด) ถ้าปฏิจสมุปบาทสายดับ จะย้อนปรากฏการณ์ทางกายสมมุติ การเกิดวนขวา การดับก็วนย้อนศร นี่คือความลับที่นำไปสู่การบรรลุธรรมที่ไม่มีการกล่าวถึง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2015, 05:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวถึงการทำงานของกิเลส ตัณหา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดเวทนา(ชอบ ชัง เฉย) ซึ่งเป็นผล เวทนาดังกล่าวก็จะเป็นเหตุให้เกิดสารอินทรีย์เคมีทางกาย(ผล) สารอินทรีย์เคมี(เหตุ)ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว(ผล)เกิดขึนอีก

เกิดลูกโซ่ของความเป็นเหตุ ผลเชื่อมต่อกันไประหว่างปรากฏการณ์ทางใจสัมพันธ์กับกาย จึงสรุปลงที่ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับผลจึงดับตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2015, 05:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลเป็นปรากฏการณ์ทางกายที่หยาบกว่าเห็นง่ายกว่าใจ ที่กล่าวว่าปฏิจสมุปบาทสายดับ เป็นการวนย้อนศรของสภาวธรรมทางกายสู่ใจ กล่าวคือ การกำหนดรู้ปรากฏทางกายเช่น ขณะ
นั่งสมาธิ เมื่อมีอาการปวดเข่า เราลองเอาตัวรู้ไปแตะที่อาการปวดเป็นขณะๆ อาการปวดจะเพิ่มมากแล้วจึงค่อยๆดับลง การกำหนดรู้เช่นนี้จะต้องใช้เวลา มาก เพราะเป็นการรุ้เฉพาะทางกาย แต่ถ้าลองกำหนดรู้ความปวดเข่าเป็นขณะๆ แล้วสังเกตว่า
ณ ตำแหน่งนั่นจะเกิดความรู้สึกทางใจร่วมด้วย คือใจอึดอัดส่ายไปมา ให้เราละการรู้ในอาการปวดเปลี่ยนมารู้ความอึดอัดทางใจ3-5 วินาทีแล้วละ กลับมารู้ความปวด จะพบว่าอาการทางกายและใจจะสลายตัวลงแทบจะพร้อมกันอย่างรวดเร็ว หากการรํู้ในการปวดอย่างเดียวแล้ว (รู้ทางกายอย่างเดียว)หายปวด จะใชัเวลาเป็น3เท่า ของการรู้แบบความสัมพันธ์ของกายกับใจ ผู้ใดสนใจลองทดสอบดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2015, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิมีสอง คือมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ. สัมมาสมาธิเกิดจากจิตที่เป็นกุศลที่ระลึกตรงลักษณะความจริงเกิดติดต่อกันนานจนเกิดสามาธิในระดับปฐมฌานจึงเรียกว่าสัมมาสมาธิ. องค์ของฌานนั้นจะเริ่มด้วยปีติ ปีติมีลักษณะที่พระองค์แสดงไว้คือเหมือนเราทาแป้งทั้งตัว มีใครเอาน้ำมาราดศรีษะแล้วรู้สึกยุบยับๆไปทั้งตัวประมาณนี้ถ้าจำไม่ผิด. ส่วนความสุข ความสงบนั้นก็จะเป็นไปตามฐานะขององค์ฌาน. แต่ต้องมีอาการปีติแบบนี้ก่อนถึงจะเรียกว่าสัมมาสมาธิ ขอรับรอง

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2015, 05:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาต นำข้อความคุณ idea มาไว้ที่กระทู้นี้
idea เขียน:
การทำสมาธิ...
ถึงจุดหนึ่ง..ที่ไอเดียจะเรียกว่าเป็นความสงบ
คือ..เกิดอาการกายเบา..จิตเบา
สว่าง..โปร่ง..โล่ง..
กาย..ลม..ยังไม่ดับ
แต่..เหมือนมีก็ไม่ใช่..ไม่มีก็ไม่ใช่
สุข..สงบ
ส่วนมากที่ทำได้..และทำความเข้าใจมาประมานนี้


s005 ..แต่..
สงสัยมาสักพักละ.. :b9: :b14:
หลายครั้งที่..เหมือนระลึกถึงความสงบ..
ในวันที่เข้าสมาธิง่ายพอสมควร..
มันจะเหมือนจับทางไปได้เลยทันทีที่หลับตาสักแป๊ป
แต่..มันเป็นความสงบ..อีกแบบ :b34:
ติดใจตรงนี้ค่ะ
ตอนนั้นจะรู้สึก..ว่ามีกาย
แต่กายเป็นสภาพใด..อยู่สัดส่วนตรงใดระบุไม่ได้
จะรู้ชัดแค่ตรงกลางอก..
รู้ตรงจุดนี้..และมันจะเคลื่อนไป..ตรงจุดนั้น..(กลางอกนั่นแหละ)
รู้ถึงอาการเคลื่อน..บางทีเร็วๆ..เหมือนควบคุมให้ชะลอ..คงเพราะฝืน
แต่มันเป็นอาการที่..เคลื่อนหมือนไม่มีที่สุด

คือว่า..ไม่เคยตามไปถึงที่สุดด้วยค่ะ..แหะๆ :b9: :b9:
เพราะมันเหมือน..ดิ่ง..อ่ะค่ะ..ดิ่งลึกไปเรื่อยๆ
ไม่มีสว่าง..โล่ง..เบา..
แต่ก็ไม่อึดอัด..คิดว่ามีความรู้ตัวดี
แต่..
มันสงบ..แบบวิเวก..อย่างเดียวเลย
มันวังเวงจนน่าตกใจอยู่นิดๆอ่ะค่ะ
จะถอยออกตลอด..แบบขืนไว้

ใครพอจะอธิบายสภาวะนี้ได้ใหมคะ
มันก็คือความสงบ..แบบหนึ่งใช่ใหม..
สัมมาสมาธิใช่ใหม..
:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร