วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 03:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ส.ค. 2015, 00:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติมรรค


โสตาปัตติยังคสูตร

โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน? คือ

การคบสัตบุรุษ ๑

การฟังธรรม ๑

การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล








สาริปุตตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา


[๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ๑-ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน?
@๑. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา

[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ คือ
สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑
สัทธรรมสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑
โยนิโสมนสิการกระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

[๑๔๒๙] พ. ถูกละๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ
สัปปุริสสังเสวะ ๑
สัทธรรมสวนะ ๑
โยนิโสมนสิการ ๑
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.


[๑๔๓๐] ดูกรสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแสๆ ดังนี้
ก็ธรรมเพียงดังกระแสเป็นไฉน?

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.

[๑๔๓๑] พ. ถูกละๆ สารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.



[๑๔๓๒] ดูกรสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบันๆ ดังนี้ โสดาบันเป็นไฉน?

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้
ผู้นี้เรียกว่า พระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.

[๑๔๓๓] พ. ถูกละๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรค ๘ นี้
เรียกว่า โสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้.



http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 316&Z=8337

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ส.ค. 2015, 00:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติผล


๘. โกสัมพิยสูตร
ทรงโปรดภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
[๕๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารโฆสิตารามเขตพระนครโกสัมพี.
สมัยนั้น พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกัน
ด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้
ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน.
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกภิกษุในเมืองโกสัมพี
เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ
ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมา
เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำของเราว่า พระศาสดาของพวกเรารับสั่งให้หาพวกท่านผู้มีอายุ.
ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว
เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้ว บอกว่า พระศาสดารับสั่งให้หาท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำภิกษุนั้นว่า อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ ดังนี้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๕๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายได้ยินว่า พวกเธอ
เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ
ไม่ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน
จริงหรือ?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใด
พวกเธอ เกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ สมัยนั้น พวกเธอ
เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรม ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง บ้างหรือหนอ?
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เช่นนี้ก็เป็นอันว่า สมัยใด พวกเธอ เกิด
ขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ สมัยนั้นพวกเธอมิได้เข้าไปตั้ง
เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม และเมตตามโนกรรมในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย เมื่อเป็นดังนั้น พวกเธอรู้อะไร เห็นอะไร จึงเกิดขัดใจ
ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่ยังกันและกันให้เข้าใจ ไม่
ปรารถนาความเข้าใจกัน ไม่ยังกันและกันให้ปรองดอง ไม่ปรารถนาความปรองดองกัน
ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ข้อนั้นนั่นแหละ จักมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ แก่เธอทั้งหลายตลอด
กาลนาน.


ว่าด้วยสาราณิยธรรม ๖
[๕๔๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๖ ประการนี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน ๖
ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วย
เมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อ
ความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรัก
กัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อม
เพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน
สพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ธรรมแม้นี้เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน
ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียง
กัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีลาภเกิดขึ้นโดยธรรม ได้มาโดยธรรม ที่สุดเป็น
ลาภสักว่าอาหารที่เนื่องในบาตร ก็บริโภคโดยไม่เกียดกันไว้เพื่อตน บริโภคเป็นสาธารณะกับ
เพื่อนสพรหมจารีผู้มีศีล ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน
เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็น
พวกเดียวกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีศีลไม่ขาด ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็น
ไท อันท่านผู้รู้สรรเสริญ อันตัณหาทิธรรมไม่ครอบงำ เป็นไปเพื่อสมาธิ ถึงความเป็นผู้มีศีล
เสมอกันในศีลเช่นนั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็น
เหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อ
ความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันไกลจากข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม อันนำ
ออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ถึงความเป็นผู้เสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเช่น
นั้นกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับอยู่ ธรรมแม้นี้ เป็นเหตุให้ระลึกถึง
กัน ทำความรักกัน ทำความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันเพื่อความไม่วิวาทกัน
เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ทำความรักกัน ทำ
ความเคารพกัน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน
เพื่อความเป็นพวกเดียวกัน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิก-
*ธรรม นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖
ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไว้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนยอดเป็นที่สูงสุด
เป็นที่ยึดคุมของเรือนยอด ฉันใด ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำออก
ซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นยอดยึดคุมธรรม ๖
ประการนี้ ที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน.


ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม


[๕๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม
นำออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว
ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือหนอ?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว
และเกิดขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส กลุ้มรุมแล้วเทียว

ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง
ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว มิได้มีเลย จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย.
นี้ญาณที่ ๑ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว.




[๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
เราเสพเจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ?
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้
ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตน.
นี้ญาณที่ ๒ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.



[๕๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด
สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือหนอ?
อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด
สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี.
นี้ญาณที่ ๓ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.


[๕๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อมต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัตินั้น
ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป.
เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย
ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น.

อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๔ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ
ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.



[๕๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดานี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไรของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ความเพ่งเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่
เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย ชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น.
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.




[๕๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่
ทำให้มีประโยชน์ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตฟังธรรม. อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้
ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๖ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.




[๕๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่
ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม.
อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น.
นี้ญาณที่ ๗ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว.




[๕๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้
ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ฉะนี้แล.

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 92&Z=10133

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉิคคฬสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก



[๑๗๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้มีน้ำเป็นอันเดียวกัน
บุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น
ลมทิศบูรพาพัดเอาแอกนั้นไปทางทิศประจิม
ลมทิศประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา
ลมทิศอุดรพัดเอาไปทางทิศทักษิณ
ลมทิศทักษิณพัดเอาไปทางทิศอุดร
เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ
เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ
จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ?

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ
จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นเป็นของยาก.

พ. ฉันนั้นภิกษุทั้งหลาย
การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก
ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลก ก็เป็นของยาก

ความเป็นมนุษย์นี้เขาได้แล้ว
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก
และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=1

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 09:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2015, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ


๓. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [๑๕๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดาทรงอาศัยนครพาราณสี ประทับอยู่ที่โคนไม้ซีก ๗ ต้น ทรงปรารภพระยานาคชื่อเอรกปัตตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ" เป็นต้น.

อาบัติเล็กน้อยที่ไม่แสดงเสียก่อนให้โทษ
ทราบว่า ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลก่อน พระยานาคนั้นเป็นภิกษุหนุ่ม ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา ยึดใบตะไคร้น้ำกอหนึ่ง เมื่อเรือแม้แล่นไปโดยเร็ว ก็ไม่ปล่อย. ใบตะไคร้น้ำขาดไปแล้ว.
ภิกษุหนุ่มนั้นไม่แสดงอาบัติ ด้วยคิดเสียว่า "นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อย" แม้ทำสมณธรรมในป่าสิ้น ๒ หมื่นปี ในกาลมรณภาพ เป็นประดุจใบตะไคร้น้ำผูกคอ
แม้อยากจะแสดงอาบัติ เมื่อไม่เห็นภิกษุอื่น ก็เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า "เรามีศีลไม่บริสุทธิ์"
จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็นพระยานาค มีร่างกายประมาณเท่าเรือโกลน.
เขาได้มีชื่อว่า "เอรกปัตตะ" นั่นแล.


ในขณะที่เกิดแล้วนั่นเอง พระยานาคนั้นแลดูอัตภาพแล้ว ได้มีความเดือดร้อนว่า "เราทำสมณธรรมตลอดกาลชื่อมีประมาณเท่านี้ เป็นผู้บังเกิดในที่มีกบเป็นอาหาร ในกำเนิดแห่งอเหตุกสัตว์."

ในกาลต่อมา เขาได้ธิดาคนหนึ่งแผ่พังพานใหญ่บนหลังน้ำในแม่น้ำคงคา วางธิดาไว้บนพังพานนั้น ให้ฟ้อนรำขับร้องแล้ว.

พระยานาคออกอุบายเพื่อทราบการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า
ทราบว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น เราจักได้ยินความที่พระพุทธเจ้านั้นบังเกิดขึ้น ด้วยอุบายนี้แน่ละ ผู้ใดนำเพลงขับ แก้เพลงขับของเราได้ เราจักให้ธิดากับด้วยนาคพิภพอันใหญ่แก่ผู้นั้น" วางธิดานั้นไว้บนพังพาน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน.
ธิดานั้นยืนฟ้อนอยู่บนพังพานนั้น ขับเพลงขับนี้ว่า :-
ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า ชื่อว่าพระราชา?
อย่างไรเล่า พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร?
อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี, อย่างไร? ท่าน
จึงเรียกว่า ‘คนพาล.’

ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นพากันมาด้วยหวังว่า "เราจักพาเอานางนาคมาณวิกา" แล้วทำเพลงขับแก้ ขับไปโดยกำลังปัญญาของตนๆ. นางย่อมห้ามเพลงขับตอบนั้น. เมื่อนางยืนอยู่บนพังพานทุกกึ่งเดือน ขับเพลงอยู่อย่างนี้เท่านั้น พุทธันดรหนึ่งล่วงไปแล้ว.

พระศาสดาทรงผูกเพลงขับแก้
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูโลก ทำเอรกปัตตนาคราชให้เป็นต้น ทรงเห็นมาณพชื่ออุตตระ ผู้เข้าไปภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญดูว่า "จักมีเหตุอะไร?"

ได้ทรงเห็นแล้วว่า "วันนี้เป็นวันที่เอรกปัตตนาคราชทำธิดาไว้บนพังพานแล้วให้ฟ้อน อุตตรมาณพนี้เรียนเอาเพลงขับแก้ที่เราให้แล้วจักเป็นโสดาบัน เรียนเอาเพลงขับนั้นไปสู่สำนักของนาคราชนั้น,

นาคราชนั้นฟังเพลงขับแก้นั้นแล้ว จักทราบว่า ‘พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว’ จักมาสู่สำนักของเรา, เมื่อนาคราชนั้นมาแล้ว เราจักกล่าวคาถาในสมาคมอันใหญ่ ในกาลจบคาถา สัตว์ประมาณ ๘ หมื่น ๔ พันจักตรัสรู้ธรรม."


พระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ โคนต้นซึกต้นหนึ่ง บรรดาต้นซึก ๗ ต้นที่มีอยู่ในที่ไม่ไกลแต่เมืองพาราณสี. ชาวชมพูทวีปพาเอาเพลงขับแก้เพลงขับไปประชุมกันแล้ว. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอุตตรมาณพกำลังไปในที่ไม่ไกล จึงตรัสว่า "อุตตระ."
อุตตระ. อะไร? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอจงมานี่ก่อน.
ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะอุตตรมาณพนั้นผู้มาถวายบังคมนั่งลงแล้ว ถามว่า "เธอจะไปไหน?"
อุตตรมาณพ. จักไปยังที่ที่ธิดาของเอรกปัตตนาคราช ขับเพลง.
พระศาสดา. ก็เธอรู้เพลงขับแก้เพลงขับหรือ?
อุตตรมาณพ. ข้าพระองค์ทราบ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. เธอจงกล่าวเพลงเหล่านั้นดูก่อน.
ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะอุตตรมาณพผู้กล่าวตามธรรมดาความรู้ของตนเท่านั้นว่า "แน่ะอุตตระ นั่นไม่ใช่เพลงขับแก้ เราจักให้เพลงขับแก้แก่เธอ เธอต้องเรียนเพลงขับแก้นั้นให้ได้."
อุตตรมาณพ. ดีละ พระเจ้าข้า.

อุตตรมาณพเรียนเพลงแก้จากพระศาสดา
ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "อุตตระ ในกาลที่นางนาคมาณวิกาขับเพลง เธอพึงขับเพลงแก้นี้ว่า :-
ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา,
พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร, ผู้
ไม่กำหนัดอยู่ ชื่อว่าปราศจากธุลี, ผู้กำหนัดอยู่
ท่านเรียกว่า คนพาล.


ก็เพลงขับของนางนาคมาณวิกา มีอธิบายว่า :-
บาทคาถาว่า กึสุ อธิปตี ราชา ความว่า ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า จึงชื่อว่าพระราชา?
บาทคาถาว่า กึสุ ราชา รชสฺสิโร ความว่า อย่างไรพระราชา ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร?
บทว่า กถํ สุ ความว่า อย่างไรกันเอ่ย พระราชานั้นเป็นผู้ชื่อว่า ปราศจากธุลี?


ส่วนเพลงขับแก้ มีอธิบายว่า:-
บาทคาถาว่า ฉทฺวาราธิปตี ราชา ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ใหญ่แห่งทวาร ๖ อันอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปเป็นต้นครอบงำไม่ได้ แม้ในทวารหนึ่ง ผู้นี้ชื่อว่าเป็นพระราชา. บาทคาถาว่า รชมาโน รชสฺสิโร ความว่า ก็พระราชาใดกำหนัด อยู่ในอารมณ์เหล่านั้น, พระราชาผู้กำหนัดอยู่นั้น ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร.


บทว่า อรชํ ความว่า ส่วนพระราชาผู้ไม่กำหนัดอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากธุลี.
บทว่า รชํ ความว่า พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ท่านเรียกว่า "เป็นคนพาล."


พระศาสดา ครั้นประทานเพลงขับแก้แก่อุตตรมาณพนั้นอย่างนี้แล้ว ตรัสว่า "อุตตระ เมื่อเธอขับเพลงขับนี้ (นาง) จักขับเพลงขับแก้ เพลงขับของเธออย่างนี้ว่า :-


‘คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป, บัณฑิตย่อม
บรรเทาอย่างไร, อย่างไร จึงเป็นผู้มีความเกษมจาก
โยคะ, ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา’
ทีนั้น ท่านพึงขับเพลงขับแก้นี้แก่นางว่า :-


‘คนพาลอันห้วงน้ำ (คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อม
พัดไป, บัณฑิตย่อมบรรเทา (โอฆะนั้น) เสียด้วยความ
เพียร, บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง ท่านเรียก
ว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ’


เพลงขับแก้นั้น มีเนื้อความว่า :-
‘คนพาลอันโอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) ๔ อย่าง มี
โอฆะคือกามเป็นต้น ย่อมพัดไป, บัณฑิตย่อมบรรเทา
โอฆะนั้น ด้วยความเพียร กล่าวคือสัมมัปปธาน (ความ
เพียรอันตั้งไว้ชอบ), บัณฑิตนั้นไม่ประกอบด้วยโยคะ
ทั้งปวง มีโยคะคือกามเป็นต้น ท่านเรียกชื่อว่า
‘ผู้มีความเกษมจากโยคะ."


อุตตรมาณพ เมื่อกำลังเรียนเพลงขับแก้นี้เทียว ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. เขาเป็นโสดาบันเรียนเอาคาถานั้นไปแล้ว กล่าวว่า "ผู้เจริญ ฉันนำเพลงขับแก้เพลงขับมาแล้ว, พวกท่านจงให้โอกาสแก่ฉัน" ได้คุกเข่าไปในท่ามกลางมหาชนที่ยืนยัดเยียดกันอยู่แล้ว. นางนาคมาณวิกายืนฟ้อนอยู่บนพังพานของพระบิดา แล้วขับเพลงขับว่า

"ผู้เป็นใหญ่ อย่างไรเล่า ชื่อว่าเป็นพระราชา ?" เป็นต้น.
อุตตรมาณพ ขับเพลงแก้ว่า
"ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา" เป็นอาทิ. นางนาคมาณวิกา ขับเพลงโต้แก่อุตตรมาณพนั้นอีกว่า
"คนพาล อันอะไรเอ่ย ย่อมพัดไป?" เป็นต้น.
ทีนั้น อุตตรมาณพ เมื่อจะขับเพลงแก้แก่นาง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
"คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป" ดังนี้เป็นต้น.

นาคราชทราบว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว
นาคราชพอฟังคาถานั้น ทราบความที่พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ดีใจว่า "เราไม่เคยฟังชื่อบทเห็นปานนี้ ตลอดพุทธันดรหนึ่ง "ผู้เจริญ พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลกแล้วหนอ" จึงเอาหางฟาดน้ำ. คลื่นใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ฝั่งทั้งสองพังลงแล้ว. พวกมนุษย์ในที่ประมาณอุสภะหนึ่ง แต่ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้น จมลงไปในน้ำ. นาคราชนั้นยกมหาชนมีประมาณเท่านั้นวางไว้บนพังพาน แล้วตั้งไว้บนบก.

นาคราชนั้นเข้าไปหาอุตตรมาณพ แล้วถามว่า "แน่ะนาย พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน?"
อุตตระ. ประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง มหาราช.
นาคราชนั้นกล่าวว่า "มาเถิดนาย พวกเราจะพากันไป" แล้วได้ไปกับอุตตรมาณพ. ฝ่ายมหาชนก็ได้ไปกับเขาเหมือนกัน. นาคราชนั้นไปถึง เข้าไปสู่ระหว่างพระรัศมีมีพรรณะ ๖ ถวายบังคัมพระศาสดาแล้ว ได้ยืนร้องไห้อยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนาคราชนั้นว่า "นี่อะไรกัน? มหาบพิตร."

นาคราช. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับด้วยพระองค์ ได้ทำสมณธรรมสิ้น ๒ หมื่นปี แม้สมณธรรมนั้นก็ไม่อาจเพื่อจะช่วยข้าพระองค์ได้.

ข้าพระองค์อาศัยเหตุสักว่าให้ใบตะไคร้น้ำขาดไปมีประมาณเล็กน้อย ถือปฏิสนธิในอเหตุกสัตว์ เกิดในที่ที่ต้องเลื้อยไปด้วยอก ย่อมไม่ได้ความเป็นมนุษย์เลย ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยพระองค์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง.


พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้ว ตรัสว่า "มหาบพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก การฟังพระสัทธรรม ก็อย่างนั้น การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน เพราะว่าทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น"


เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๓. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.
ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย
เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก, การอุบัติขึ้นแห่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก.

แก้อรรถ
เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ว่า
"ก็ขึ้นชื่อว่า ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นการยาก คือหาได้ยากเพราะความเป็นมนุษย์ บุคคลต้องได้ด้วยความพยายามมาก ด้วยกุศลมาก, ถึงชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ยาก เพราะทำกรรมมีกสิกรรมเป็นต้นเนืองๆ แล้วสืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิตบ้าง เพราะชีวิตเป็นของน้อยบ้าง, แม้การฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก เพราะค่าที่บุคคลผู้แสดงธรรมหาได้ยาก ในกัปแม้มิใช่น้อย
อนึ่ง ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นการยากเหมือนกัน คือได้ยากยิ่งนัก เพราะอภินิหารสำเร็จด้วยความพยายามมาก และเพราะการอุบัติขึ้นแห่งท่านผู้มีอภินิหารอันสำเร็จแล้ว เป็นการได้โดยยาก ด้วยพันแห่งโกฎิกัป แม้มิใช่น้อย."

นาคราชไม่บรรลุโสดาบัน
ในกาลจบเทศนา เหล่าสัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว. ฝ่ายนาคราชควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตนเป็นสัตว์เดรัจฉาน.

นาคราชนั้นถึงภาวะคือความไม่ลำบากในฐานะทั้ง ๕ กล่าวคือการถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ การเสพเมถุนกับด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติ ที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่งนาคนั่นแหละ แล้วลำบากอยู่ ย่อมได้เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่งมาณพนั่นแล ดังนี้แล.

เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ จบ.



http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=3




หมายเหตุ;

จิตขณะสุดท้าย ที่กำลังจะหมดลมหายใจ


เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ
ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2015, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังธรรมจาก พระพุทธเจ้า

รวมพระสูตร จากพระไตรปิฎก เกี่ยวกับ “พระโสดาบัน”

https://archive.org/details/SohDaaBanSootFromTripitaka

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2015, 09:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


http://archive.org/search.php?query=cre ... hiyalai%22

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2015, 11:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ม.ค. 2015, 21:55
โพสต์: 1240

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติมรรค คือ การเข้าประหารกิเลสครั้งแรก
โสดาปัตติผล คือ การเสวยอารมณ์แห่งความหลุดพ้น 1 ขณะจิตบ้าง 2 ขณะจิตบ้าง
จะคิดดับๆจากสายสืบนิสัยศาตร์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2015, 06:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยครับว่า....บุคคลที่เจริญในมรรค 8 คือโสดาปัตติมรรค

การกระทำใดๆจะเรียกว่า..กำลังในเจริญมรรค 8 ..อยู่หรือไม่นั้น....ก็ดูที่..สัมมาทิฏฐิ

อย่างไรจึงเป็นสัมมาทิฎฐิ...สั้นๆที่สุดคือ...มีนิพพาน..เป็นจุดประสงค์...จุดเดียว

จะมีนิพพานเป็นจุดประสงค์เดียวในใจ...ได้อย่างไร?....รู้ทุกข์ว่าเป็นทุกข์ วิปัสสนาญาณ 9 ..1 ถึง 7..คือรู้ก้อนทุกข์อันเดียวนี้..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2015, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธวจนะ คู่มือโสดาบัน


http://cste.sut.ac.th/cste/web1/web/mai ... les280.pdf






สารบัญพระไตรปิฎก

http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_18


http://www.84000.org/tipitaka/read/?%CA ... %E8_%F2%F4

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2015, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนถ้วยดื่มสำริด
มีเครื่องดื่มใส่อยู่แล้วชนิดหนึ่ง
สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส
แต่ว่า มียาพิษปนติดอยู่
ครั้งนั้น มีบุรุษผู้หนึ่งซึ่งกำลังร้อนจัด
มีความร้อนระอุไปทั้งตัว
เหน็ดเหนื่อย คอแห้งกระหายน้ำ มาถึงเข้า
คนทั้งหลาย บอกแก่บุรุษนั้นว่า
นี่แน่ะท่านผู้เจริญ !
ถ้วยดื่มสำริดใบนี้มีเครื่องดื่ม
สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส สำหรับท่าน
แต่ว่ามียาพิษปนติดอยู่
ถ้าหากท่านต้องการดื่ม ก็ดื่มได้
เมื่อท่านกำลังดื่ม
จักติดใจมันด้วยสีของมันบ้าง
ด้วยกลิ่นของมันบ้าง
ด้วยรสของมันบ้าง
แต่ว่าครั้นดื่มเข้าไปแล้ว ท่านจักถึงความตาย
หรือรับทุกข์เจียนตายเพราะเหตุนั้น ดังนี้
บุรุษนั้นไม่ทันจะพิจารณาถ้วยดื่มสำริดอันนั้น
รีบดื่มเอา ๆ ไม่ยอมวาง
บุรุษนั้นก็ถึงความตาย
หรือรับทุกข์เจียนตายเพราะเหตุนั้น ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย !
สมณะหรือพราหมณ์พวกใด
ในกาลอดีตก็ตาม
ในกาลอนาคตก็ตาม
ในกาลบัดนี้ก็ตาม
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมเห็นสิ่งอันเป็นที่รักที่สนิทใจในโลก
โดยความเป็นของเที่ยง
โดยความเป็นสุข
โดยความเป็นตัวตน
โดยความเป็นของไม่เสียบแทง
โดยความเป็นของเกษม
สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมทำตัณหาให้เจริญ
เมื่อทำตัณหาให้เจริญอยู่
ก็ทำอุปธิให้เจริญ
เมื่อทำอุปธิให้เจริญอยู่
ก็ทำทุกข์ให้เจริญ
เมื่อทำทุกข์ให้เจริญอยู่
สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมไม่หลุดพ้นจาก
ความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ
เราตถาคตย่อมกล่าวว่า
พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย !
สมณะหรือพราหมณ์พวกใดก็ตาม
ยังไม่รู้ตามที่เป็นจริงว่า
ทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆ
เหตุให้เกิดทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆ
ความดับสนิทแห่งทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆ
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นเช่นนี้ ๆ
สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมยินดีอย่างยิ่งในเหตุปัจจัย
เครื่องปรุงแต่งชนิดที่เป็นไปเพื่อ
ความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ
เขาผู้ยินดีในเหตุปัจจัย
เครื่องปรุงแต่งชนิดนั้น ๆ แล้ว
ย่อมก่อสร้างเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
ชนิดที่เป็นไปเพื่อความเกิดเป็นต้นนั้น ๆ
ครั้นเขาก่อสร้างเหตุปัจจัยนั้น ๆ แล้ว
เขาก็ตกลงไป
ในเหวแห่งความเกิดบ้าง
ในเหวแห่งความแก่บ้าง
ในเหวแห่งความตายบ้าง
ในเหวแห่งความโศกบ้าง
ในเหวแห่งความร่ำไรรำพันบ้าง
ในเหวแห่งความทุกข์กายบ้าง
ในเหวแห่งความทุกข์ใจบ้าง
ในเหวแห่งความคับแค้นใจบ้าง อยู่นั้นเอง
สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมไม่หลุดพ้นจาก
ความเกิด ความแก่ ความตาย
ความโศก ความร่ำไรรำพัน
ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ
เราตถาคตย่อมกล่าวว่า
พวกเหล่านั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ ดังนี้




ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
ยาพิษในโลก, ผู้ตกเหว – ( หน้า ๑๕๕ – ๑๕๖ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2015, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
กาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้


๘ ประการเป็นไฉน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงกำเนิดเดรัจฉานเสีย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงเปรตวิสัยเสีย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึง
เทพนิกายผู้มีอายุยืนชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลผู้นี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท
และอยู่ในพวกมิลักขะไม่รู้ดีรู้ชอบ
อันเป็นสถานที่
ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปมา


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
แต่เขาเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
การบวงสรวงไม่มีผล
ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี
สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี


สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท
แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้
ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗





อีกประการหนึ่ง
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


แต่พระตถาคตมิได้แสดง
ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบท
และมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
กาลอันมิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๘ ประการนี้แล





ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนขณะและสมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีประการเดียว


ประการเดียวเป็นไฉน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า


เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม


และธรรมอันพระผู้มีพระภาคย่อมทรงแสดง
นำความสงบมาให้
เป็นไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้
อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว


และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท
ทั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้
สามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
นี้เป็นขณะและสมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ประการเดียว





ชนเหล่าใด
เกิดในมนุษยโลกแล้ว
เมื่อพระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม
ไม่เข้าถึงขณะ
ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ
ชนเป็นอันมากกล่าวเวลาที่เสียไปว่า
กระทำอันตรายแก่ตน


พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลบางครั้งบางคราว การที่พระตถาคตเจ้า


เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑
ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากในโลก


ชนผู้ใคร่ต่อประโยชน์
จึงควรพยายามในกาลดังกล่าวมานั้น
ที่ตนพอจะรู้ จะเข้าใจสัทธรรมได้
ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย


เพราะบุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไป
พากันยัดเยียดในนรก ย่อมเศร้าโศกอยู่
หากเขาจะไม่สำเร็จอริยมรรค
อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้


เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว
จักเดือดร้อนสิ้นกาลนาน
เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์ล่วงไป
เดือดร้อนอยู่


ฉะนั้น คนผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร คือ
ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน


ส่วนชนเหล่าใด
ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว
เมื่อพระตถาคตประกาศสัทธรรม
ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือกระทำอยู่
ตามพระดำรัสของพระศาสดา
ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ
การประพฤติพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก


ชนเหล่าใดดำเนินไปตามมรรคา
ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า
ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
ทรงแสดงแล้ว


คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ
ไม่ชุ่มด้วยกิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวง
อันแล่นไปตามกระแสบ่วงมาร


ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะ
ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง
เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก
( ข้อที่ ๑๑๙ หน้าที่ ๑๗๓ – ๑๗๖

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2015, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธนสูตรที่ ๒

[๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ
ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้
เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูกต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า
ทรัพย์คือโอตตัปปะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้
คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย-
*สาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่
ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ
ยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย-
*สาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่กำหนดความเกิด
และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า
ทรัพย์คือปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ฯ

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ
และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือ
ชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของ
ผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ
ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบศรัทธา
ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๖

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2015, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


โสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก


ก. สัทธานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย ! ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เป็นปกติ.

ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใด มีความเชื่อ น้อมจิตไปในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี


หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (สัมมาทิฏฐิ )
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)

ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.




ข. ธัมมานุสารี

ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ทนต่อ การเพ่งโดยประมาณอันยิ่งแห่งปัญญา
ของบุคคลใด ด้วยอาการอย่างนี้;

บุคคลนี้เราเรียกว่า ธัมมานุสารี


หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (สัมมาทิฏฐิ )

หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)

ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้วจะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือเปรตวิสัย
และไม่ควรที่จะทำกาละก่อนแต่ ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๗๘/๔๖๙.


ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใดย่อมรู้ ย่อมเห็นซึ่งธรรม ๖ อย่างเหล่านี้
ด้วยอาการอย่างนี้ ในโสดาปัตติมรรค ๒ จำพวก

บุคคลนี้เราเรียกว่า โสดาบัน


ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน
มีการตรัสรู้พร้อมเป็นเบื้องหน้า.

สารีบุตร !
อริยอัฏฐังคิกมรรค นี้นั่นแหละ ชื่อว่า กระแส

ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๔-๔๓๕/๑๔๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร