วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยถากรรม "ตามกรรม" ตามปกติใช้ในข้อความที่กล่าวถึงคติหลังสิ้นชีวิต เมื่อเล่าเรื่องอย่างรวบรัด ทำนองเป็นสำนวนแบบในการสอนให้คำนึงถึงการทำกรรม ส่วนมากใช้คัมภีร์อรรถกถาลงมา เช่นว่า "กุลบุตรนั้น เมื่อเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐีในเมืองนั้น ดำรงอยู่ตลอดอายุแล้ว ก็ไปตามยถากรรม" (คือ ไปเกิดตามกรรมดีและชั่วที่ตัวได้ทำไว้) "พระราชาตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทำบุญทั้งหลายแล้วไปตามยถากรรม" (คือไปเกิดตามกรรมดีที่ได้ทำ)

ข้อความว่า "ไปตามยถากรรม" นี้ เฉพาะในอรรถกถาชาดกอย่างเดียวก็มีเกือบร้อยแห่ง, ในพระไตรปิฎก คำนี้แทบไม่ปรากฎที่ใช้ แต่ก็พบบ้างสัก ๒ แห่ง คือในรัฐปาลสูตร (ม.ม.13/449/409) และเฉพาะอย่างยิ่งในอัยยิกาสูตร (สํ.ส.15/401/142) ที่ว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและกราบทูลว่า พระอัยยิกาซึ่งเป็นที่รักมากของพระองค์ มีพระชนม์ได้ ๑๒๐ พรรษา ได้ทิวงคตเสียแล้ว ถ้าสามารถเอาสิ่งที่มีค่าสูงใดๆแลกเอาพระชนม์คืนมาได้ ก็จะทำ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเกี่ยวกับความจริงของชีวิต และทรงสรุปว่า "สรรพสัตว์ จักม้วยมรณ์ เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ทุกคนจักไปตามกรรม (ยถากรรม) เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป คนมีกรรมชั่วไปนรก คนมีกรรมดีไปสุคติ เพราะฉะนั้น พึงทำกรรมดี..." มีบ้างน้อยแห่ง ที่ใช้ยถากรรมในความหมายอื่น เช่น ในข้อความว่า "ได้เงินค่าจ้างทุกวันตามยถากรรม" (คือตามงานที่ตนทำ) ในภาษาไทย ยถากรรม ได้มีความหมายเพี้ยนไปมาก กลายเป็นว่า "แล้วแต่จะเป็นไป เรื่อยเปื่อย เลื่อนลอยไร้จุดหมาย ตามลมตามแล้ง" ซึ่งตรงข้ามกับความหมายที่แท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยถาภูตญาณ ความรู้ตามความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น


ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง


ยินร้าย ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ


ยุติ ความถูกต้องลงตัวตามเหตุผล, ความเหมาะควรโดยเหตุผล, ความมีเหตุผลลงกันได้ (บาลี ยุตฺติ)


ยุติธรรม "ธรรมโดยยุติ" ความเป็นธรรมโดยความถูกต้องลงตัวตามเหตุผลและหลักฐาน, ในภาษาไทย มักแปลกันว่า ความเที่ยงธรรม


ยศ ความเป็นใหญ่และความยกย่องนับถือ, ในภาษาไทย มักได้ยินว่า เกียรติยศ ซึ่งบางครั้งมาคู่กับอิสริยยศ และอาจจะมี ปริวารยศ หรือ บริวารยศ มาเข้าชุดด้วย รวมเป็น ยศ ๓ ประเภท


โยนิ กำเนิดของสัตว์ มี ๔ จำพวก คือ

๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว

๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก ไก่

๓. สังเสทชะ เกิดในไคล คือ ที่ชื้นและสกปรก เช่น หนอนบางอย่าง

๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โยนิโส โดยแยบคาย, โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด


โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย, กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย, การพิจาณาโดยแยบคาย คือพิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่ว ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา ความรู้จักคิด คิดถูกวิธี, เทียบ อโยนิโสมนสิการ


โยคะ (๑) กิเลสเครื่องประกอบ คือ ประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ ๑. กาม ๒. ภพ ๓. ทิฏฐิ ๔. อวิชชา (๒) ความเพียร


โยคเกษม, โยคเกษมธรรม "ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ" ความหมาย สามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัวมาถึงสถานที่ปลอดภัย, ในความหมาย ขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก


โยคธรรม ธรรมคือกิเลสเครื่องประกอบ ในข้อความว่า "เกษมจากโยคเกษม" คือ ความพ้นภัยจากกิเลส


โยคาวจร ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน เขียน โยคาพจร ก็มี


เหตุ สิ่งที่ให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่องราว, สิ่งที่ก่อเรื่อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ค. 2014, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยม พญายม, เทพผู้เป็นใหญ่แห่งโลกของคนตาย และเป็นเจ้านรก, ยมราช ก็เรียก


ยมทูต ทูตของพญายม, สื่อแจ้งข่าวของความตาย หรือสภาวะที่เตือนให้นึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาททำความดีเตรียมไว้ เช่น ความแก่หง่อม (ธ.อ.7/4)


ยมบาล ผู้คุมนรก, ผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก, ในคัมภีร์ภาษาบาลี ใช้คำว่า นิรยบาล


ยมบุรุษ คนของพญายม (บาลี ยมปุริสา) ผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก, นิรยบาล, บางทีใช้เชิงบุคลาธิษฐาน หมายถึงสภาวะที่เตือนให้นึกถึงความตายเพื่อจะได้ไม่ประมาททำความดีเตรียมไว้ เช่น ความแก่หง่อม (ขุ.ธ. 25/28/46)


ยมโลก โลกของพญายม, โลกของคนตาย, ในบางแห่ง ซึ่งกล่าว ถึงคู่กับเทวโลก อรรถกถาอธิบายว่า ยมโลกหมายถึงอบายภูมิ ๔ (ธ.อ.3/2) โดยเฉพาะในคัมภีร์เปตวัตถุ มักหมายถึงแดนเปรต (เช่น ขุ.เปต. 26/92/111)


ยุค คราว, สมัย, ระยะกาลที่จัดแบ่งขึ้นตามเหตุการณ์หรือสภาพความเป็นไปของโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2014, 13:48 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2876


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาคะ :b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 145 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร