วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิทา ๔

ที่เป็นของอรรถกถาจารย์ หากได้อ่านแล้ว ย่อมคิดว่า ต้องเป็นแบบนี้
คือ เกี่ยวกับสภาวะจิต ที่เป็นสมาธิระดับฌาน

ถ้าเป็นกรณีแบบนี้ ผู้ทำความเพียร(ในรูปแบบ)
หากยังไม่สามารถทำปฐมฌาน ให้มีเกิดขึ้นกับตนได้
ย่อมเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า ปฏิทา ๔ ได้ยาก

แล้วสำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำความเพียร(ในรูปแบบ)
ยิ่งยากจะเข้าใจและเข้าถึง สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงของสิ่งที่เรียกว่า ปฏิทา ๔


http://thaiitteacher.no-ip.info/84000/t ... 419&Z=1449

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิทา ๔

ทีนี้มาดูคำสอน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรียกว่า ปฏิทา ๔

[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ๑

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ๑

สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ๑

สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ

การปฏิบัติไม่อดทน ๑

การปฏิบัติอดทน ๑

การปฏิบัติข่มใจ ๑

การปฏิบัติ ระงับ ๑

ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/84000/tipi ... v5360.html



เวลาหาข้อมูลพระธรรมคำสอน ซึ่งมีหลากหลาย
ถึงเวลาได้มีเหตุปัจจัย ให้ได้รู้ เดี๋ยวเจอเอง

และจากข้อมูลตรงนี้

http://www.polyboon.com/dhumma/21_017.php



หมายเหตุ:

เกี่ยวกับปฏิทา ๒ ในแต่ละหัวข้อ เป็นการขยายรายละเอียดของอีกคำเรียก จะได้อ่านรายละเอียดที่เกิดขึ้นของคำเรียกนั้นๆ ว่ามีลักษณะอาการเกิดขึ้นแบบไหน จึงมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง

ตรงนี้ ถ้าถามว่า เกี่ยวกับทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการกระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ไหม

คำตอบคือ ไม่ใช่โดยตรง แต่เกี่ยวเนื่องกันกับ ผลของเหตุ ในการทำความเพียรต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบและการเจริญอิทธิบาท ๔

ทั้งประกอบด้วย ใช้หลักปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ได้แก่
การหยุดสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจากผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

เป็นการเรียนรู้พระธรรมคำสอน ที่ใช้ทั้ง
ปริยัติ(ศึกษาพระธรรมคำสอน)
ปฏิบัติ(ทำความเพียร)
ปฏิเวธ(ผลของการปฏิบัติ)

ทั้ง ๓ สิ่งนี้ ต้องลงรอยเดียวกับพระธรรมคำสอน
คือ เป็นหนึ่งเดียวกับพระธรรมคำสอน

ไม่ว่าจะแยกส่วนไหนออก หรือพลิกแพลงอย่างไรก็ตาม
ต้องลงรอยเดียว หรือ เป็นหนึ่งเดียวกับพระธรรมคำสอน

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้
เป็นการกระทำเพื่อ อนุปาทาปรินิพพาน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 13:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299
ปฏิปทาวรรคที่ ๒

[161-163] [166]
อ้างคำพูด:
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว ๑



[164-165]
อ้างคำพูด:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ

การปฏิบัติไม่อดทน ๑
การปฏิบัติอดทน ๑
การปฏิบัติข่มใจ ๑
การปฏิบัติ ระงับ ๑

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร