วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 20:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย กับ ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต


คนจะตีความว่าอย่างไร ก็เป็นธรรมดาของการกระทำที่จะต้องมีเจตนา การตีความให้ผิดเพี้ยนไป ถ้าไม่เป็นเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ เข้าใจผิด ก็เป็นเพราะตั้งใจทำให้ผิดเพี้ยนเพื่อสนองความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง


แต่จะด้วยเจตนาใดก็ตาม เมื่อตีความผิดเพี้ยนไป และยึดถือตามนั้น ถ้าคนถือตามมากขึ้นๆ ก็จะกลายเป็นหลักธรรมหลักวินัยขึ้นใหม่ ที่ต่าง่ไปจากเดิม นี่คือทำให้ธรรมวินัยวิปริตไป คราวนี้ก็จะเกิดการปฏิบัติที่ผิดเพี้ยนแผ่ขยายออกไป


ดังตัวอย่างง่ายๆ หัวข้อก่อน แม้แต่พูดตีความ "สุราเมรยะ" บอกว่าท่านสอนให้ดื่มสุราเป็นระยะๆ นี่เป็นการแปลผิดชัดๆ แสดงว่าไม่่รู้ภาษา ทั้งที่ผิดพลาดขนาดนี้ แต่เมื่อทำการตีความต่อธรรมวินัยอย่างนี้ ถ้ามีการเชื่อถือ เกิดการยึดถือปฏิบัติตามๆกันไป ก็กลายเป็นหลักใหม่ขึ้นมา จึงเรียกว่า "ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต" คือ ทำให้ธรรมวินัยมีความหมายคลาดเคลื่อน แล้วถูกถือเป็นหลักที่ผิดเพี้ยนไป


การใช้คำว่า "ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต" เป็นการแยกให้เห็นเข้าใจง่าย โดยเอาไว้เทียบกับคำว่า "ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย" คำแรกแสดงถึงการกระทำต่อหลักธรรมวินัย ให้เปลี่ยนแปรเป็นหลักที่วิปริต มีความหมาย และการยึดถือผิดเพี้ยนไป ส่วนคำหลังแสดงการประพฤติปฏิบัติที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักธรรมวินัย


"ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย" เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย เมื่อมีศีลข้อ ๕ ว่าไม่ให้ดื่มสุรา ใครดื่มสุรา ก็คือ "ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย" แต่เมื่อมีศีล ๕ ว่าไม่ให้ดื่มสุรา ใครทำให้ศีลข้อ ๕ นั้นมีความหมายกลายเป็นว่าดื่มสุราได้อย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ผิดศีล นี่คือ เข้าข่าย "ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต"


การประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย เช่น ดื่มเหล้า เป็นเรื่องของคนที่ทำไม่ดีนั้น เฉพาะตัวของเขา เป็นรายๆไป คนทั้งหลายก็รู้ว่าผิด หลักก็อยู่ ส่วนรวมก็ไม่เสีย แต่การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่โตกว้างขวาง เม่อคนพากกันเข้าใจผิดตามนั้น ถือตามนั้น คนที่ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ก็จะมีมากมาย หลักก็ไม่อยู่ ส่วนรวมวิปริตเสียหายไปทั่ว


คำว่า ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย และทำพระธรรมวินัยให้วิปริต อาจจะฟังว่าแรงหน่อย แต่สือความหมายได้ชัด จึงใช้ในการอธิบายเรื่องราวได้ดี และใช้ได้ทั่ว่ไปเป็นกลางๆ ไม่จำกัดเฉพาะในกรณีใด และเมื่ออธิบายด้วยคำนี้ ผู้อ่านผู้ฟังก็จะมองเห็นได้ด้วยตนเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลอกมาจากไหน
มารยาท ลืมไปอีกแล้ว กรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2014, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ลอกมาจากไหน
มารยาท ลืมไปอีกแล้ว กรัชกาย



เช่นนั้นมีอะไรค้านมั้ย ในพระสูตรมีมั้ย :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
ลอกมาจากไหน
มารยาท ลืมไปอีกแล้ว กรัชกาย



เช่นนั้นมีอะไรค้านมั้ย ในพระสูตรมีมั้ย :b10: :b14:


ถามแปลกๆ
แม้ถามก็ถามผิด
ต้องถามว่า ในพระสูตรครอบคลุมบทความอย่างนี้ไหม
คำตอบคือ ครอบคลุมไว้หมดแล้ว

Quote Tipitaka:
[๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขม
ก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน เพื่อไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พืชเลว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑
เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ
ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม
ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร