วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อ "ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน" นี้จะไปเชื่อมกับลิงค์

viewtopic.php?f=1&t=47798&start=30

ตรงนี้จะลงตั้งแต่ต้นเลยแล้วไปชนกัน ซึ่งได้แรงใจจากอโศกพูดถึงศัพท์แปร่งๆ "ภาวิตกาย"

อ้างคำพูด:
อโศกะเขียน

มาแล้วแรงจูงใจ

ทำไมพักนี้กรัชกายมีแต่เรื่องบัญญัติยาวๆ ศัพท์แปร่งๆ อย่างเช่น
ภาวิตกาย เป็นต้น





ท่านอโศกคงไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยิน แต่ก็ชอบนิพพานเหลือเกิน คิกๆๆ :b32: มาดูกันว่ามีที่มายังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน



เนื่องด้วยคำสอนในพระพุทธศาสนา เน้นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และการลงมือทำให้รู้เห็นประจักษ์บังเกิดผลเป็นประโยชน์แก่ชีวิต หรือเน้นสิ่งที่ใช้ประโยชน์ได้ และการนำสิ่งนั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่สนับการคิดวาดภาพ และการถกเถียงหาเหตุผลในสิ่งที่พึงรู้เห็นได้ด้วยการลงมือทำนั้นให้เกินเพียงพอแก่ความเข้าใจที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับการลงมือปฏิบัติ


ดังนั้น ในการพิจารณาเรื่องนิพพาน การศึกษาเกี่ยวกับภาวะของบุคคลผู้บรรลุนิพพาน รวมทั้งประโยชน์ที่เป็นผลของการบรรลุนิพพาน ซึ่งเห็นได้ที่ชีวิต หรือบุคลิกภาพของผู้บรรลุ จึงน่าจะมีคุณค่าในทางปฏิบัติ และสอดคล้องกับหลักการของพระพุทธศาสนา มากกว่าการอภิปรายเรื่องภาวะของนิพพานโดยตรง

ภาวะของผู้บรรลุนิพพาน อาจศึกษาได้จากคำเรียกชื่อ และคำแสดงคุณลักษณะของผู้บรรลุนิพพานนั่นเอง ซึ่งมีทั้งความหมายแง่บวก และแง่ลบ


คำเรียกจำนวนมาก เป็นคำแสดงความยกย่องนับถือว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติดีงาม บริสุทธิ์ ประเสริฐหรือได้บรรลุจุดหมายสูงสุดแล้ว เช่น
อรหันต์ (ผู้ควร หรือผู้ไกลกิเลส)
ขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะแล้ว)
อเสขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษาผู้จบการศึกษาแล้ว)
ปริกขีณภวสังโยชน์ (ผู้หมดสังโยชน์ที่เป็นเครื่องผูกมัดไว้ในภพ)
อนุปปัตตสทัตถ์ (ผู้เข้าถึงประโยชน์ตนแล้ว)
อุตมบุรุษ (คนสูงสุด คนยอดเยี่ยม)
มหาบุรุษ (คนยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของพหูชนและมีอำนาจเหนือจิตของตน)
สัมปันนกุศล (ผู้มีกุศลสมบูรณ์)
บรมกุศล (ผู้มีกุศลธรรมอย่างยิ่ง)


คำเรียกอีกไม่น้อย เป็นคำที่ใช้กันมาในลัทธิศาสนาสืบจากเดิม แต่นำมาใช้ในพุทธศาสนาโดยเน้นให้ปรับแก้ความหมายให้ถูกตรงตามสาระของพระธรรมวินัย เช่น
พราหมณ์ -แท้ (ผู้ลอยบาปโดยละเลิกอกุศลธรรมทิ้งไปหมดแล้ว เดิม = คำเรียกคนวรรณะเลิศประเสริฐเหนือวรรณะอื่น)
ทักขิไณย์ (ผู้ควรแก่ทักษิณา เดิม = คำเรียกพราหมณ์ในฐานะผู้ควรรับค่าตอบแทนในการประกอบพิธีบูชายัญ)
นหาตก์ (ผู้สนานแล้ว ผู้อาบน้ำธรรม ทำกรรมสะอาด สร้างความเกษมแก่สรรพสัตว์ เดิม = คำเรียกพราหมณ์ผู้ได้ประกอบพิธีสนานขึ้นสู่สถานะเป็นพราหมณ์มีระดับ)
เวทคู (ผู้ถึงเวท คือ เจนจบวิชชาล่วงพ้นความติดในสรรพเวทนา เดิม = คำเรียกพราหมณ์ผู้จบไตรเพท)
สมณะ (ผู้สงบ ผู้ระงับกิเลส เดิม = คำเรียกนักบวช)
อริยะ หรือ อารยชน (คนเจริญ ผู้ประเสริฐ ผู้เจริญอหิงสาต่อสรรพสัตว์ เดิม = คำเรียกคนสามวรรณะแรก หรืออารยันโดยกำเนิด)


การศึกษาตามแนวนี้ ต้องพิจารณาภาวะของผู้บรรลุนิพพาน โดยสัมพันธ์กับหลักธรรมที่กล่าวถึงในคำนั้นๆ เช่น อาสวะ ๓ สิกขา ๓ อเสขธรรม ๑๐ สังโยชน์ ๑๐ พรหมจรรย์ คือ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น ซึ่งในที่นี้ไม่มีเนื้อที่เพียงที่จะแสดงให้ครบถ้วน และเห็นว่าจะเป็นเหตุให้ฟั่นเฝือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในหมู่ชาวพุทธจำนวนมากทีเดียวนิยมพูดถึงคุณสมบัติของพระอรหันต์ และพระอริยบุคคลอื่นๆในเชิงละ หรือเชิงลบโดยกำหนดด้วยกิเลสที่ละได้หรือหมดไปแล้ว เช่นว่า พระโสดาบันละสังโยชน์ได้ ๓ พระสกทาคามีละสังโยชน์ได้ ๓ นั้นได้ และทำราคะโทสะโมหะให้เบาบางลงไปอีกพระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องต่ำได้หมดทั้ง ๕ และพระอรหันต์ละสังโยชน์ได้หมดสิ้นทั้ง ๑๐ หรือพูดถึงคุณสมบัติของพระอรหันต์ได้สั้นๆ เพียงว่า คือ ท่านผู้สิ้นราคะ โทสะ โมหะ หรือว่าหมดกิเลส หรือว่าไม่มีโลภ โกรธ หลง วิธีพูดแบบนี้ก็ดีในแง่ที่ว่า พูดได้ชัดวัดได้ง่าย แต่มองได้แคบไม่เห็นชัดออกมา และกว้างออกไปว่า พระอรหันต์ และอริยชนนั้น มีคุณสมบัติพิเศษมีคุณลักษณะเด่น ดำเนินชีวิตที่ดีงามมีคุณค่าและทำคุณประโยชน์แก่โลกอย่างไร


ที่จริง คำและข้อความที่กล่าวถึงคุณสมบัติของพระอรหันต์ในเชิงบวกก็มีไม่น้อย แต่ถ้าเป็นคำบรรยายหรือพรรณนา ก็มักมีเนื้อความกว้างขวางยากที่จะสรุปมาวางให้จับใจความได้อย่างมีลำดับเป็นชั้นๆหรือเป็นข้อๆ หรือไม่ก็แสดงไว้เป็นเรื่องเฉพาะกรณี ไม่ใช่คุณสมบัติร่วมที่เสมอเหมือนทั่วกันแก่ทุกท่าน


ในที่นี้ จะเลือกคำที่เป็นคุณบท คือคำที่ใช้เป็นคุณนาม ซึ่งแสดงคุณสมบัติ และคุณลักษณะของพระอรหันต์ได้กว้างขวางครอบคลุมอย่างเป็นระบบ สรุปก็ง่ายขยายความก็ชัด ขอนำมาบอกไว้เป็นตัวแทนของคำอื่นทั้งหมด และเป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เองบ่อยด้วย


คำที่ว่านี้คือภาวิตัตต์ ซึ่งแปลได้ตรงตัวว่า ผู้มีตนที่พัฒนาแล้ว หรือผู้ได้พัฒนาตนแล้ว เป็นคำที่ใช้แก่พระอรหันต์ทั้งหมด ทั้งพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า และเหล่าพระอรหันตสาวก ดังในมหาปรินิพพานสูตร เล่าความระหว่างเสด็จสู่สถานที่ปรินิพพาน เรียกพระพุทธเจ้าว่า องค์พระภาวิตัตต์ ดังนี้


“พระพุทธเจ้า...เสด็จถึงแม่น้ำกกุธานที อันมีน้ำใส จืด สะอาดเสด็จลงทรงสรงและเสวยแล้ว อันหมู่ภิกษุแวดล้อม เสด็จไปในท่ามกลาง...เสด็จเข้าสู่อัมพวันแล้ว รับสั่งกะภิกษุนามจุนทกะว่า เธอจงช่วยปูผ้าสังฆาฏิซ้อนสี่ชั้น ให้เป็นที่เราจะนอนพระจุนทกะนั้น อันองค์พระภาวิตัตต์ ทรงเตือนแล้ว ได้ปูผ้าสังฆาฏิพับเป็นสี่ชั้นถวายโดยพลัน”


แม้ที่เมตตคูมาณพทูลถามปัญหาก็ทำนองเดียวกันว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ขอทูลถาม ขอจงตรัสบอกความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าพระองค์ย่อมสำคัญพระองค์ว่าทรงเป็นพระเวทคู (ผู้เจนจบวิชชา) ทรงเป็นพระภาวิตัตต์ (จึงขอทูลถามว่า) ประดาความทุกข์เหล่านี้ ที่ประดังพรั่งพรูขึ้นมาในโลก มากมายหลากหลาย เกิดมาจากไหนกันหนอ”


พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบท่านผู้พัฒนาตนแล้ว คือพระอรหันต์ ที่เป็นพหูสูตว่า เหมือนนายเรือผู้ฉลาดสามารถพาคนจำนวนมากข้ามน้ำไปให้ลุถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย ดังพุทธพจน์ในนาวาสูตรว่า


“เหมือนดังว่า บุคคลขึ้นสู่เรือที่มั่นคง มีพายมีถ่อพร้อมมูล เขามีความรู้คิด เป็นผู้ฉลาด รู้วิธีจัดดำเนินการในเรือนั้น พึงช่วยผู้อื่นแม้จำนวนมากในเรือนั้นให้ข้ามน้ำไปได้ แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นเวทคู เป็นภาวิตัตต์ เป็นพหูสูต มั่นคงอย่างที่โลกธรรมจะให้หวั่นไหวไม่ได้ บุคคลผู้นั้นมีปัญญารู้ชัด ก็พึงช่วยผู้อื่นที่มีพื้นอุปนิสัยตั้งใจสดับ ให้พินิจธรรมสำเร็จได้ ฉันนั้น”

ฯลฯ


พระศาสดาแล ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ เป็นบุคคลที่ ๑ ในโลก ตามต่อมา คือ พระสาวก ผู้ภาวิตัตต์ ถัดจากนั้นไป คือเสขสาวก ผู้ยังปฏิบัติอยู่ ที่เป็นพหูสูต ประกอบด้วยศีลพรต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า "ภาวิตัตต์" นี้ นิยมใช้เฉพาะในคาถา คือในคำร้อยกรองเท่านั้น ไม่นิยมใช้ในความร้อยแก้ว ทั้งนี้คงเพราะเป็นคำสั้นๆ ใช้ในคาถาได้สะดวก และสามารถแทนคำยาวๆที่ลงในคาถาได้ยาก


ในทางตรงข้าม ภาวิตัตต์ที่ เป็นคำสั้นนี้ ไม่นิยมใช้ในความร้อยแก้ว คงเพราะให้ความหมายได้ไม่ชัดนัก เมื่อในความร้อยแก้ว ไม่มีข้อจำกัดเชิงฉันทลักษณ์ ก็จึงนิยมใช้คำแม้ที่ยาวสักหน่อย แต่ให้ได้ความชัดไปเลย


เมื่อเรื่องเป็นอย่างนี้ ก็ถามต่อว่า ถ้าอย่างนั้น ในความร้อยแก้ว ท่านใช้ หรือนิยมใช้คำอะไร แทนคำว่า "ภาวิตัตต์"


ตรงนี้ ขอยกคำอธิบายในพระไตรปิฎกมาให้ดู และพิจารณาเอง คือ ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ (จูฬนิเทส) ซึ่งถือกันมาว่าเป็นนิพนธ์ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรอัครสาวก อันอธิบายความในพระสูตรของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่งในสุตตนิบาต พอดีว่าก็มีข้อความที่ท่านอธิบาย คำว่าภาวิตตัตต์ ที่มาในคาถาในสุตตนิบาตนั้น (คือในคำทูลถามของเมตตคูมาณพ ที่อ้างถึงแล้วข้างต้น) จึงขอยกมาให้ดูดังนี้ (เพื่อให้ชัด ขอยกคำบาลีเดิมให้ดูด้วย)

“กถํ ภควา ภาวิตตฺโต ฯ ภควา ภาวิตกาโย ภาวิตสีโล ภาวิตจิตฺโต ภาวิตปญฺโญ

ภาวิตสติปฏฺฐาโน ภาวิตสมฺมปฺปธาโน ภาวิตอิทฺธิปาโท ภาวิตินฺทฺริโย ภาวิตพโล ภาวิตโพชฺฌงฺโค ภาวิตมคฺโค ปหีนกิเลโส ปฏิวิทฺธากุปฺโป สจฺฉิกตนิโรโธ ฯ


พึงดูคำแปลที่รักษาศัพท์ ดังนี้


“พระผู้มีพระภาค ทรงเป็น "ภาวิตัตต์" อย่างไร ? คือพระผู้มีพระภาคทรงเป็น "ภาวิตกาย" (ทรงเจริญกายแล้ว/มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว) "ภาวิตศีล"" (เจริญศีลแล้ว/มีศีลที่ได้พัฒนาแล้ว) "ภาวิตจิตต์" (เจริญจิตแล้ว/มีจิตที่ได้เจริญแล้ว) ภาวิตปัญญา (เจริญปัญญาแล้ว/มีปัญญาที่ได้พัฒนาแล้ว)

มีสติปัฏฐาน มีสัมมัปปธาน มีอิทธิบาท มีอินทรีย์ มีพละ มีโพชฌงค์ มีมรรค ที่ได้เจริญ/พัฒนาแล้ว ทรงละกิเลสแล้ว ทรงแทงตลอดอกุปปธรรมแล้ว มีนิโรธ อันทรงทำให้แจ้งแล้ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ก็มาดูพุทธพจน์ คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าเอง ในข้อความร้อยแก้ว ที่ตรัสถึง ภาวิต ๔ ที่ถือว่าขยายกระจายออกไปจาก ภาวิตัตต์ นั้น ยกมาพอเป็นตัวอย่าง

"ภิกษุทั้งหลาย อนาคตภัย (ภัยในอนาคต) ๕ ประการนี้ ยังมิได้เกิดขึ้น ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึง ตระหนักทันการไว้ ครั้นตระหนักทันการแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยเหล่านั้น อนาคตภัย ๕ ประการเป็นไฉน ?



“กล่าวคือ ในกาลอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา) ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญาก็จักเป็น (อุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถแนะนำผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนาปัญญา)



“เหล่า ผู้ได้รับอุปสมบทนั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักเป็น (อุปัชฌาย์) ให้อุปสมบทคนอื่นๆ แลจักไม่สามารถแนะนำ ผู้ที่ได้รับอุปสมบทเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าคนที่ได้รับอุปสมบทนั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา



“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน


“ภิกษุ ทั้งหลาย อนาคตภัย ข้อที่ ๑ นี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนั้น อันเธอทั้งหลาย พึงตระหนักรู้ไว้ ครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยนั้นเสีย


“อีกประการหนึ่ง ในกาลอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย ผู้มิใช่ภาวิตกาย (มิได้พัฒนากาย) มิใช่ภาวิตศีล (มิได้พัฒนาศีล) มิใช่ภาวิตจิต (มิได้พัฒนาจิต) มิใช่ภาวิตปัญญา (มิ ได้พัฒนาปัญญา) ภิกษุเหล่านั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักให้นิสสัย (รับเป็นอาจารย์) แก่เหล่าภิกษุอื่น แลจักไม่สามารถแนะนำเหล่าภิกษุ ที่ถือนิสสัย (เป็นศิษย์) นั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าภิกษุที่ถือนิสสัย (เป็นศิษย์) นั้น ก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา



“เหล่า ภิกษุ ที่ได้ถือนิสสัยนั้น ทั้งที่ตนมิได้พัฒนากาย มิได้พัฒนาศีล มิได้พัฒนาจิต มิได้พัฒนาปัญญา ก็จักให้นิสสัย (รับเป็นอาจารย์) แก่ภิกษุเหล่านั้น แลจักไม่สามารถแนะนำภิกษุเหล่านั้น ในอธิศีล (ศีล) ในอธิจิต (สมาธิ) ในอธิปัญญา (ปัญญา) แม้เหล่าคนที่ได้นิสสัยนั้นก็จักเป็นผู้มิใช่ภาวิตกาย มิใช่ภาวิตศีล มิใช่ภาวิตจิต มิใช่ภาวิตปัญญา



“ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล เพราะธรรมเลอะเลือน วินัยก็เลอะเลือน เพราะวินัยเลอะเลือน ธรรมก็เลอะเลือน


“ภิกษุ ทั้งหลาย อนาคตภัย ข้อที่ ๒ นี้ ยังมิได้เกิดขึ้นในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนั้น อันเธอทั้งหลายพึงตระหนักรู้ไว้ ครั้นรู้ตระหนักแล้ว พึงพยายามเพื่อป้องกันภัยนั้นเสีย"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพุทธพจน์ที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ^ มีข้อสังเกตที่โยงไปสู่ความรู้เข้าใจหลักธรรมใหญ่ที่สำคัญมาก เช่น

ก. คุณบท คือคำแสดงพระคุณหรือคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายว่า เป็นภาวิตัตต์ คือ ผู้ได้พัฒนาตนแล้ว จบการฝึกอบรมตนแล้ว เมื่อกระจายความหมายออกไปเป็น ภาวิตกาย (มีกายที่พัฒนาแล้ว) ภาวิตศีล (มีศีลที่พัฒนาแล้ว) ภาวิตจิตต์ (มีจิตที่พัฒนาแล้ว) และ ภาวิตปัญญา (มีปํญญาที่พัฒนาแล้ว) ก็โยง หรือบ่งถึงหลักธรรมชุด ภาวนา ๔ อัน ได้แก่ กายภาวนา (การพัฒนากาย) ศีลภาวนา (การพัฒนาศีล) จิตตภาวนา (การพัฒนาจิต) และปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา)


ขอทำความเข้าใจว่า ที่พูดนี้เป็นเรื่องของหลักภาษาบาลี คือ "ภาวิต-" เป็นคุณศัพท์ หรือคำวิเศษณ์ แสดงคุณสมบัติของบุคคล ส่วนภาวนา เป็นคำนาม บอกถึงการกระทำ หลัก หรือข้อปฏิบัติ จึงได้ความสอดคล้องกันว่า ภาวิต - ก็คือผู้ที่ได้ทำภาวนาแล้ว และดังนั้น ภาวิตกาย ก็คือผู้ที่ได้ทำกายภาวนาแล้ว ภาวิตศีล คือผู้ที่ได้ทำศีลภาวนาแล้ว ภาวิตจิต ก็คือ ผู้ที่ได้ทำจิตตภาวนาแล้ว และ ภาวิตปัญญา คือผู้ที่ได้ทำปัญญาภาวนาแล้ว

นี่เท่ากับบอกว่า พระอรหันต์ คือ ท่านผู้ที่ได้ทำภาวนา ๔ เสร็จแล้ว คือ จบทั้งกายภาวนา ศีลภาวนา จิตตภาวนา และปัญญาภาวนา


เชื่อมกับหัวข้อดังกล่วาข้างต้น viewtopic.php?f=1&t=47798&start=15

ซึ่งอธิบายภาวนา ๔ ภาวิต ๔ ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2014, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยความเป็นกัลยาณมิตร
กรัชกาย อย่าได้ อธิบาย ตติยอนาคตสูตรที่ ๙ ให้เน่าเกินไปกว่านี้ เลยครับ

พระสูตรนี้ กำหนดคุณลักษณะของอุปปัชฌาย์ที่ดี ที่ให้นิสสัย แก่อุปปสัมบัน หรืออนุปสัมบัน
โดยเพิ่มโดยกล่าวถึง ผู้ที่มีกายอบรมแล้ว ซึ่งมุ่งที่รู้จักพระวินัย ตั้งอยู่ในพระวินัย

คือความรู้ความกำหนดได้ ซึ่งข้อประพฤติข้อปฏิบัติทางกายใจ และพระธรรมคำสอนต่างๆ ของพระพุทธองค์ที่ได้ทรงบัญญัติไว้

นี่คือภาวิตกาย

กลับไปอ่านพระสูตรดีๆ และอรรถกถาให้ดี

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=2397&Z=2459&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 04:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อสะดวกแก่ผู้ศึกษาจึงนำมาเรียงต่อกันที่นี่อีกด้วย ดูต่อเนื่องจากข้างบน


ถึงตอนนี้ก็จึงต้องรู้ว่าภาวนา 4 นั้น คืออะไร แสดงความหมายสั้นๆ ดังนี้

1. กายภาวนา การเจริญกาย หรือพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

ทางวัตถุ หรือทางกายภาพ โดยเฉพาะรับรู้สิ่งทั้งหลาย ทางอินทรีย์ 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)

ด้วยดี โดยปฏิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นในทางที่เป็นคุณ มิให้มีโทษ ให้กุศลธรรมงอกงาม ให้อกุศลธรรม

เสื่อมสูญ


2. ศีลภาวนา การเจริญศีล หรือพัฒนาศีล คือ พัฒนาความประพฤติ พัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนหรือก่อความเดือดร้อนเสียหาย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เกื้อกูลกัน


3. จิตตภาวนา การเจริญจิต หรือพัฒนาจิต คือ ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม เช่น มีเมตตา กรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทน มีสมาธิ และสดชื่น เป็นสุข ผ่องใส เป็นต้น


4. ปัญญาภาวนา การเจริญปัญญา หรือพัฒนาปัญญา คือ ฝึกอบรมพัฒนาปัญญา ให้เจริญงอกงาม จนเกิดความรู้แจ้งชัดตามเป็นจริง โดยรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เท่าทัน เห็นแจ้งโลกและชีวิตตามสภาวะ สามารถทำจิตใจให้เป็น อิสระ ทำตนให้บริสุทธิ์ จากกิเลสและปลอดพ้นจากความทุกข์ มีชีวิตเป็นอยู่ แก้ไขปัญหาและทำการทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้ถึงเหตุ ปัจจัย

เมื่อรู้ความหมายของหลักธรรม คือ ภาวนา ที่เป็นเนื้อตัวของการปฏิบัติทั้ง 4 แล้ว ก็เข้าใจภาวิตที่เป็นคุณสมบัติของท่านผู้จบการปฏิบัติ ผู้มีธรรมทั้ง 4 ข้อนั้นแล้ว ดังนี้



1. ภาวิตกาย ผู้ได้เจริญกาย หรือมีกายที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกอบรมพัฒนาความ

สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือ ทางกายภาพ โดยรู้จักอยู่ดีมีสุขอย่างเกื้อกูลกันกับสิ่งสรรค์และ

ธรรมชาติโดย เฉพาะให้การรับรู้ทางอินทรีย์ 5 เช่น ดู ฟัง เป็นไปด้วยสติ และเพื่อปัญญา และให้

การใช้สอยเสพบริโภคต่างๆ เป็นไปอย่างพอดี ที่จะได้คุณค่าแท้ที่เป็นประโยชน์จริง ไม่หลงใหล

เตลิดเพริดไปตามอิทธิพลของความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ไม่ลุ่มหลงมัวเมา มิให้เกิดโทษ แต่ให้

เป็นคุณ มิให้ถูกบาปอกุศลครอบงำ แต่หนุนให้กุศลธรรมงอกงาม



2. ภาวิตศีล ผู้ได้เจริญศีล หรือมีศีลที่พัฒนาแล้ว คือได้พัฒนาความประพฤติมีพฤติกรรมดีงามในความสัมพันธ์ทางสังคม โดยตั้งอยู่ในระเบียบวินัย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี ไม่ใช้กายวาจาและอาชีพในทางที่เบียดเบียน หรือก่อความเดือดร้อนเสียหายแก่ใครๆ แต่ใช้เป็นเครื่องพัฒนาชีวิตของตน และช่วยเหลือเกื้อกูลกันสร้างสรรค์สังคม



3. ภาวิตจิต ผู้ได้เจริญจิต หรือมีจิตใจพัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาจิตใจให้สดใส เบิกบานร่าเริง ผ่องใสโปร่งโล่งเป็นสุขเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย เช่น มีน้ำใจเมตตา กรุณา ศรัทธากตัญญูกตเวทิตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน สงบมั่นคง มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น



4. ภาวิตปัญญา ผู้ได้เจริญปัญญา หรือมีปัญญาที่พัฒนาแล้ว คือได้ฝึกฝนอบรมพัฒนาปัญญา ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นแจ้งโลก และชีวิตตามสภาวะ ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา และดับทุกข์ได้ปลดเปลื้องตนให้บริสุทธิ์ปลอดพ้นจากกิเลส มีชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญาโดยมีจิตใจเป็นอิสระสุขเกษมไร้ทุกข์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 04:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข) ข้อที่น่าสังเกตอย่างยิ่งในพุทธพจน์นั้น อยู่ตรงที่ ตรัสว่า เหล่าภิกษุ ผู้มิใช่ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต ภาวิตปัญญา (มิได้พัฒนากาย - ศีล –จิต- ปัญญา) จะเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ผู้ฝึกสอนผู้อื่น และจักไม่สามารถแนะนำ ภิกษุทั้งหลายที่เป็นศิษย์ ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา (ศีล สมาธิ ปัญญา)


ที่น่าสังเกตก็คือ เวลาตรัสถึงคุณสมบัติของผู้สอน ทรงใช้คำในชุด ภาวิต ๔ ทางกาย ศีล จิต และปัญญา แต่เวลาตรัสถึงสิ่งที่จะสอน คือหลักธรรม หรือตัวข้อปฏิบัติ ทรงใช้คำในชุด สิกขา ๓ ที่เราเรียกกันได้สะดวกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (เรียกเต็มว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขาอธิปัญญาสิกขา)


จุด น่าสังเกตนั้น มากับข้อสงสัยหลายอย่าง เริ่มแต่ข้อที่ง่ายที่สุด คือ เหตุใดไม่ทรงใช้คำให้ตรงหรือสอดคล้องกัน เช่น น่าจะตรัสว่า ผู้ ไม่เป็นภาวิต ๔ ด้าน จักไม่สามารถแนะนำในภาวนา ๔ อย่าง หรือตรงข้ามจากนั้นอาจจะตรัสว่า ผู้ไม่จบสิกขา ๓ จักไม่สามารถแนะนำใน ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนี้เป็นต้น


แล้วก็มีข้อที่สนับสนุนซ้ำ ถึงอีกว่า ทั้งในชุดภาวิตและภาวนา ๔ ก็ดี ในชุดสิกขา ๓ ก็ ดี หัวข้อย่อยก็เหมือนๆกัน ชุดแรกว่า กาย ศีล จิตใจ และปัญญาส่วนชุดหลังก็มี ศีล สมาธิคือจิตใจ และปัญญา แทบตรงกัน เพราะฉะนั้น ทั้งตอนต้นและตอนหลังก็น่าจะทรงใช้ชุดใดชุดหนึ่งอย่างเดียวกัน จะได้ง่ายหน่อย ไม่ชวนให้งง


พร้อมกันนั้น ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ตามปกติ ในการปฏิบัติ ก็ได้ยินกันมา เป็นธรรมดาว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรืออธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และถือกันว่าครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว นี่มี "กาย" เพิ่มเข้ามาอีกข้อหนึ่ง ข้อนี้ไม่คุ้นเลย ทำไมจึงเพิ่มเข้ามา มีกายอะไรอีก หมายถึงอะไรกัน


ในข้อนี้ จับแง่กันแค่นี้ก่อน ว่า พระพุทธเจ้าตรัสแสดงหลักแยกเป็น ๒ ชุด หลักที่แสดงคุณสมบัติ ของผู้สอน ทรงใช้ "ภาวิต ๔" ส่วนหลักการสอนทรง ใช้ "สิกขา ๓"


ตอนนี้ ยังไม่พูดถึงเหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงทรงแยกใช้หลักต่างกันเป็น ๒ ชุด อันนั้นยกไปดูกันในข้อต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2014, 04:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 04:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค) ทีนี้ก็มาถึงข้อสำคัญที่ว่า เหตุใดจึงตรัสแสดงคุณสมบัติของผู้ สอน โดยทรงใช้หลัก "ภาวิต ๔" แต่ทรงใช้แสดงหลักธรรมที่จะสอนหรือตัวระบบการศึกษา โดยใช้หลัก " สิกขา ๓" แยกต่างหากเป็น ๒ ชุด


ข้อสงสัยนี้ ตอบง่ายๆ สั้นๆ ว่า เพราะมีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ต่างกัน คือ ด้านคุณสมบัติของผู้ สอนนั้น มุ่งแจกแจงคุณสมบัติของบุคคลผู้สอนที่แสดงตัวปรากฎออกมา ทำนอง วัดผลว่าเขาได้ศึกษาแล้วและพร้อมที่จะสอนผู้อื่นได้หรือไม่ แต่ด้านหลัก การสอนหรือตัวหลักการศึกษา มุ่งระบบการศึกษาและสิ่งที่จะศึกษาว่าจะต้อง เรียนอะไรและเรียนอย่างไร จึงจะได้ผลที่ต้องการ


เฉพาะอย่าง ยิ่ง การศึกษาที่แท้จริงนั้น เป็นกระบวนการพัฒนาชีวิต ซึ่งเป็นระบบของ ธรรมชาติ ที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ จึงต้องจัดให้เป็นไปอย่างถูกต้องตาม กระบวนการของเหตุปัจจัยในธรรมชาติ


ดูที่หลักการศึกษาหรือหลักธรรมที่จะสอน ทำไมจึงต้องมี ๓ ข้อเท่านั้น เป็นชุด ๓ (ไตรสิกขา) ก็ตอบสั้นๆว่า เพราะเป็นเรื่องของชีวิตคน ซึ่งมีแค่ ๓ ด้าน หรือ ๓ แดน เป็นองค์ประกอบหรือองค์ร่วม ๓ อย่าง ที่รวมกันเป็นชีวิต ซึ่งพากันดำเนินเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน


ชีวิต 3 ด้าน ของคนเรานี้ ที่พัฒนาไปด้วยกัน มีอะไรบ้าง? ก็แยกเป็น


1. ด้านสื่อกับโลก ได้แก่ การรับรู้ติดต่อสื่อสารสัมพันธ์ พฤติกรรม ความประพฤติ และการ แสดงออกต่อหรือกับเพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆผ่านทวาร (ช่องทาง ประตู) 2 ชุด คือ

ก. ผัสสทวาร (ทางรับรู้) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (รวมทั้งชุมทาง คือ ใจ เป็น 6)

ข. กรรมทวาร (ทางทำกรรม) คือ กาย วาจา (รวมชุมทาง คือ ใจ ด้วย เป็น 3)

ด้านนี้ พูดง่ายๆว่า แดนหรือด้านที่สื่อกับโลก เรียกสั้นๆคำเดียวว่า ศีล


2. ด้านจิตใจ ได้แก่ การทำงานของจิตใจ ซึ่งมีองค์ประกอบและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องมากมาย เริ่มแต่ต้องมีเจตนา หรือ เจต จำนง ความจงใจ ตั้งใจ มีแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความดี-ความชั่ว ความสามารถหรือความอ่อนด้อย พร้อมทั้งความรู้สึก สุข-ทุกข์ สบาย-ไม่สบาย หรือเฉยๆ เพลินๆและปฏิกิริยาต่อจากสุข-ทุกข์นั้น เช่น ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ อยากจะได้ อยากจะเอา หรืออยากจะหนี หรืออยาก จะทำลาย ที่ควบคุมชักนำการรับรู้และพฤติกรรมทั้งหลาย เช่น ว่า จะให้ดูอะไร หรือไม่ดูอะไร จะพูดอะไร จะพูดกับใครว่าอย่างไร ด้านนี้ เรียกสั้นๆว่า จิต หรือแดนของ สมาธิ


3. ด้านปัญญา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่สุตะ คือ ความรู้ที่ได้เรียนสดับ หรือ ข่าวสารข้อมูล จนถึงการพัฒนาทุกอยาง ในจินตาวิสัย และญาณ วิสัย เช่น แนวคิด ทิฏฐิ ความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยม ความยึดถือตามความรู้ ความ คิด ความเข้าใจ แง่มุมในการมอง ในการพิจารณา อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้านนี้ เรียกสั้นๆตรงๆว่า ปัญญา


องค์ประกอบ ของชีวิต 3 ด้านนี้ ทำงานไปด้วยกัน ประสานกันไป และเป็นเหตุ ปัจจัยแก่กัน ไม่แยกต่างหากจากกัน ขออธิยายเพียงสั้นๆ พอให้เห็นเป็นแนว

การสัมพันธ์กับโลกด้วยอินทรีย์ คือ ผัสสทวาร และด้วยพฤติกรรมทางกายวาจา (ด้านที่ 1) จะเป็นไปอย่างไรก็ขึ้นต่อเจตนา ขึ้นต่อสภาพความรู้สึกภาวะและคุณสมบัติต่างๆของจิตใจ (ด้านที่ 2) และทั้งหมดนั้น ทำได้เท่าที่ปัญญาชี้ช่องส่องทางให้รู้แค่ไหน ก็คิดและทำได้แค่นั้นคือภายในขอบเขตของปัญญา (ด้านที่ 3)


ความตั้งใจ และความต้องการ เป็นต้น ของจิตใจ (ด้านที่ 2) ต้องอาศัยการสื่อทางอินทรีย์ และพฤติกรรมกายวาจาเป็น เครื่องสนอง (ด้านที่ 1) ต้องถูกกำหนด และจำกัดขอบเขตตลอดจนปรับเปลี่ยนโดยความเชื่อถือความคิดเห็นและความรู้ความ เข้าใจที่มีอยู่และที่เพิ่มหรือเปลี่ยนไป (ด้านที่ 3)


ปัญญาจะทำ งานและจะพัฒนาได้ดีหรือไม่ (ด้านที่ 3) ต้องอาศัยอินทรีย์ เช่น ดู ฟัง อาศัยกายเคลื่อนไหว เช่น เดินไป จับจัดค้น ฯลฯใช้วาจาสื่อสารไถ่ถามตามทักษะเท่าที่มี (ด้านที่ 1) ต้องอาศัยภาวะและคุณสมบัติของจิตใจ เช่น ความสนใจใฝ่ใจความมีใจเข้มแข็งสู้ปัญหาความขยันอดทน ความรอบคอบ มีสติความมีใจสงบแน่วแน่ มีสมาธิหรือไม่เพียงใด เป็นต้น (ด้านที่ 2)


นี่ คือการดำเนินไปของชีวิตที่องค์ประกอบ 3 ด้านทำงานไปด้วยกัน อาศัยกันประสานกันเป็นปัจจัยแก่กัน ซึ่งเป็นความจริงของชีวิตนั้น ตามธรรมดาของมันเป็นเรื่องของธรรมชาติ และจึงเป็นเหตุผลที่บอกอยู่ในตัวว่า ทำไมจะต้องแยกชีวิตหรือการดำเนินชีวิตเป็น 3 ด้านจะแบ่งมากหรือน้อยกว่านี้ไม่ได้


เมื่อชีวิตดำเนินไปมี 3 ด้านนี้ การศึกษาที่ฝึกคนให้ดำเนินชีวิตได้ดี ก็ต้องฝึกฝนพัฒนาที่ 3 ด้านของชีวิตนั้น

ดังนั้น การฝึกหรือศึกษา คือ สิกขา จึงแยกเป็น 3 ส่วน ดังที่เรียกว่า ไตรสิกขา เพื่อฝีกฝนพัฒนา 3 ด้านของชีวิตนั้น ให้ตรงให้ครบตามธรรมดาแห่งธรรมชาติของมัน โดยเป็นการ พัฒนาพร้อมไปด้วยกัน อย่างประสานเป็นระบบสัมพันธ์อันหนึ่งอันเดียว

เวลา ดูอย่างกว้างๆหยาบ ๆ ก็จะมองเห็นเหมือนอย่างที่บางทีท่านพูดแยกออกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ว่า ขั้นศีล ขั้นสมาธิ และขั้นปัญญา เหมือนจะให้ฝึกอบรมพัฒนาเป็นคนละ ส่วนคนละตอน ทีละขั้น ตามลำดับ คือ ฝึกอบรมศีลดีแล้ว จึงเจริญสมาธิ แล้วจึงพัฒนาปัญญา


เมื่อมอง ไตรสิกขาแบบนี้ ก็จะเห็นเป็นภาพรวมที่เป็นระบบใหญ่ของการฝึก ซึ่งมีองค์ 3 นั้นเด่นขึ้นมาทีละอย่าง จากหยาบแล้วละเอียดประณีตขึ้นไปเป็นช่วงๆ หรือ เป็นขั้นๆตามลำดับ คือ


ช่วงแรก เด่นออกมาข้างนอก ที่อินทรีย์ (ผัสสทวาร) และกายวาจา ก็เป็นขั้น ศีล

ช่วงที่สอง เด่นด้านภายใน ที่จิตใจ ก็เป็นขั้น สมาธิ

ช่วงที่สาม เด่นที่ความรู้ความคิดเข้าใจ ก็เป็นขั้น ปัญญา

แต่ในทุกขั้นนั้นเอง องค์อีก 2 อย่าง ก็ทำงานร่วมอยู่ด้วยโดยตลอด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


เป็นอันว่า นั่นคือการมองอย่างภาพรวม จับเอางานส่วนที่เด่นในขั้นนั้น ขึ้นมาเน้นทีละอย่างๆ เขยิบสูงขึ้นไปในการฝึกอบรมพัฒนาตามลำดับ เพื่อให้ส่วนที่หยาบกว่าพร้อม ที่จะรองรับเป็นฐานให้แก่การเจริญงอกงาม หรือทำงานออกผลของส่วนที่ประณีตละเอียดอ่อน


เหมือนที่พูดว่า อ๋อ จะตัดไม้ใหญ่ต้นนี้หรือ ก็ หนึ่ง ต้องจัดบริเวณทำพื้นที่เหยีอบยันให้สะดวกขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คล่อง ปลอดภัย และแน่นหนามั่นคง (ศีล) + สอง ต้องเตรียมกำลังให้แข็งแรง ใจสู้ เอาจริง จับมีดหรือขวานให้ถนัดมั่น มีสติดี ใจมุ่งแน่ว ไม่วอกแวก (สมาธิ) + แล้วก็สาม ต้อง มีอุปกรณ์ คือ มีดหรือขวานที่ใช้ตัดที่ได้ขนาด มีคุณภาพดี และลับไว้คม กริบ (ปัญญา) จึงจะสัมฤทธิ์ผล คือ ตัดไม้ได้สำเร็จสมปรารถนา



แต่ ในชีวิตที่เป็นอยู่ดำเนินไปอยู่ตลอดเวลานี้ เมื่อวิเคราะห์ละเอียดลงไป ก็จะเห็นว่าองค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านของชีวิต ทำงานประสานสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยเกื้อกูลหนุนเสริมกันและกันอยู่ทุกเมื่อ ทุกเวลา ดังจะเห็นว่า ในการศึกษาเมือจะให้คนพัฒนาฝึกตนได้ผลจริง ก็ควรให้เขาฝึกด้วยความตระหนักรู้องค์ประกอบทั้ง ๓ ด้านนั้น ที่จะให้พัฒนาพร้อมไปด้วยกัน โดยเอาโยนิโสมนสิการมาโยงให้เกิดความตระหนักรู้และมีสติที่จะช่วยให้การฝีก ฝนพัฒนาได้ผลสมบูรณ์ตามที่มันควรจะเป็น


พูดในเชิงปฏิบัติว่า ในการกระทำทุกครั้งทุกอย่าง ไม่ว่าจะแสดงพฤติกรรมอะไร หรือมีกิจกรรมใดๆ ก็ตาม เราสามารถ ฝึกฝนพัฒนาตนและสำรวจตรวจสอบตนเองตามหลักไตรสิกขานี้ ให้มีการศึกษาครบ ทั้ง ๓ อย่าง ทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา พร้อมกันไปทุกครั้งทุกคราว คือ


เมื่อ ทำอะไร ก็พิจารณาดูว่า พฤติกรรม หรือการกระทำของเราครั้งนี้ จะเป็นการ เบียดเบียน ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ใครหรือไม่ จะก่อให้เกิดความ เสื่อมโทรมเสียหายอะไรๆ บ้างไหม หรือว่าเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล ช่วยเหลือ ส่ง เสริม และสร้างสรรค์ (ศีล)


ในเวลาที่จะทำการนี้ จิตใจของ เราเป็นอย่างไร เราทำด้วยจิตใจที่เห็นแก่ตัว มุ่งร้ายต่อใคร ทำ ด้วยความโลภ โกรธ หลง หรือไม่ หรือทำด้วยเมตตา มีความปรารถนา ดี ทำด้วยศรัทธา ทำด้วยสติ มีความเพียร มีความรับผิดชอบ เป็นต้น และในขณะที่ทำ สภาพจิตใจของเราเป็น อย่างไร เร่าร้อน กระวนกระวาย ขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือว่ามีจิต ใจที่สงบ ร่าเริง เบิกบาน เป็นสุข เอิบอิ่ม ผ่องใส (สมาธิ)


เรื่อง ที่ทำครั้งนี้ เราทำด้วยความรู้ความเข้าใจชัดเจนดีแล้วหรือไม่ เรามองเห็นเหตุผล รู้เข้าใจหลักเกณฑ์และความมุ่งหมาย มองเห็นผลดีผลเสียที่อาจจะเกิด ขึ้น และหนทางแก้ไขปรับปรุงพร้อมดีแล้วหรือไม่ (ปัญญา)


ด้วย วิธีปฏิบัติอย่างนี้ คนที่ฉลาดจึงสามารถฝึกศึกษาพัฒนาตน และสำรวจตรวจสอบวัดผลการพัฒนาตนได้เสมอตลอดทุกครั้งทุกเวลา เป็นการ บำเพ็ญไตรสิกขาในระดับรอบเล็ก (คือ ครบสิกขาทั้งสาม ในพฤติกรรม เดียว หรือ กิจกรรมเดียว)


พร้อมกันนั้น การศึกษาของไตรสิกขาใน ระดับขั้นตอนใหญ่ ก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นไปทีละส่วนอย่างเป็นไปเองด้วย ซึ่งเมื่อมองดูภายนอก ก็เหมือน ศึกษาไปตามลำดับทีละอย่างทีละขั้น โดยที่ในเวลาเดียวกัน นั้น ไตรสิกขาในระดับรอบเล็กนี้ก็จะช่วยให้การฝีกศึกษาไตรสิกขาในระดับ ขั้นตอนใหญ่ยิ่งก้าวหน้าไปด้วยดีมากขึ้น


ผู้ที่ศึกษาลงไปในราย ละเอียดของการปฏิบัติ ก็จะรู้ถึงหลักความจริงที่ว่า ในขณะแห่งการ ตรัสรู้ หรือ ในขณะบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น องค์มรรคทั้งหมด ที่ จัดเป็นกลุ่ม คือ ศีล สมาธิ และปัญญานี้ จะพัฒนาบริบูรณ์ และทำงานพร้อมเป็นหนึ่งเดียวกันในการกำจัดกิเลสและให้สำเร็จผล


ที่พูดนี้ คือสิกขา หรือ การศึกษา ซึ่งเป็นระบบการพัฒนาชีวิตของมนุษย์ตามเงื่อนไขแห่งความจริงของธรรมชาติ เป็นไปตามระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ตามกฎธรรมดาของธรรมชาตินั้น ซึ่งชีวิตเป็นองค์รวม ที่มีองค์ประกอบ หรือ องค์ รวม ๓ อย่าง คือ ศีล จิต และปัญญา ซึ่งทำงานประสานเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน ในการที่ชีวิตนั้นดำเนินอยู่ หรือ พัฒนายิ่งขึ้นไป ดังที่เรียกว่าหลัก ไตรสิกขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ทีนี้ก็มาถึงข้อสงสัยลำดับต่อไปที่ว่า พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงหลักการศึกษา หรือหลักธรรมที่เป็นตัวระบบการศึกษา โดยใช้หลัก สิกขา ๓ แล้ว เหตุใด เมื่อจะแสดงคุณสมบัติของผู้สอน จึงทรงเปลี่ยนไปใช้หลัก ภาวิต ๔


ข้อสงสัยนี้ ก็ตอบง่ายๆ อย่างที่บอกแล้วว่า มีวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายในการตรัสแสดงต่างออกไปเป็นคนละอย่าง หลักสิกขา ๓ นั้น สำหรับนำไปใช้ในการปฏิบัติ คือ ใช้กับชีวิตจริง ก็ให้เป็นไปตามระบบของธรรมชาติอย่างที่ว่าแล้ว


ส่วนคุณสมบัติของผู้สอน เป็นเรื่องของคนที่จะมาดูหรือตรวจสอบกันเอง ตอน นี้ไม่ต้องไปห่วงเรื่องการทำงานของธรรมชาติแล้ว เอาที่ความประสงค์ของ เราว่าดูหรือตรวจสอบตรงไหนอย่างไร จึงจะเห็นได้ชัดเจนดี และถ้าจับจุด ถูก ก็จะถึงกันกับหลักความจริงของธรรมชาติ ไม่เหินห่างไปไหน


ที่จริงก็ดูไม่ยาก ขอให้ดูในสิกขาข้อแรก คือ "ศีล" ที่ว่าเป็นการสื่อกับ โลก ติดต่อกับโลก ทั้งรับจากโลก และกระทำต่อโลก ตรงนี้ แหละ เห็นได้ชัดทันที


ในสิกขาข้อศีลนั้น บอกแล้วว่า เราสื่อกับโลกทางประตูหรือช่องทาง (ทวาร) ๒ ชุด ได้แก่ ชุดแรก คือ ผัสสทวาร ที่นิยมเรียกว่าอินทรีย์ ซึ่งเราสื่อด้วยการรับรู้เข้ามา ทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย และ ชุดที่ ๒ คือ กรรมทวาร ซึ่งเราสื่อด้วยการกระทำต่อและต่อกันกับโลก (ต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ) ด้วยการ แสดงออกทางกาย และทางวาจา


จุดสังเกตและความต่างอยู่ตรงนี้ เอง คือ ในแดนของการสื่อกับโลกนั้น ในขณะใดขณะหนึ่ง (แยกละเอียด เป็นขณะจิตหนึ่งๆ) เราสื่อกับโลกทางทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น และจึงใช้ ทวารชุดใดชุดหนึ่งใน ๒ ชุดนั้น


เพราะฉะนั้น ตามหลักสิกขา ๓ เมื่อ ศีล สมาธิ ปัญญา ทำงานในระบบองค์รวม สิกขาข้อ ศีล จึงเป็นการติดต่อหรือสื่อกับโลกด้วยทวารใดทวารหนึ่ง เป็นหนึ่งข้อ แล้วก็ สมาธิ และปัญญา เป็น ข้อ ๒ และ ๓ ด้วยเหตุนี้ การสื่อกับโลกทางทวารทั้ง ๒ ชุด จึงต้องรวมอยู่ด้วยกันในข้อ ศีล (สำหรับให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ระบบสิกขาจึงต้องเป็น ๓ หรือได้แค่ ๓

ทีนี้ พอถึงชุดคุณสมบัติของผู้สอน ตอนนี้ ไม่ต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกันของสิกขา ๓ นั้นแล้ว คราวนี้จะแยกดู หรือตรวจสอบที่ตัวคน แยกต่างหากออกมาดูทีละอย่าง และจุดต่างก็อยู่ในข้อศีลนี่แหละ คือตรงที่แยกการสื่อสารสัมพันธ์กับโลกด้วยทวารต่างกันเป็น ๒ ชุด คือ

ก) ผัสส ทวาร (ทางรับรู้ นิยมเรียกว่า อินทรีย์) คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (รวมทั้งชุม ทาง คือ ใจ เป็น ๖) เป็นการ เห็น/ดู ได้ยิน/ฟัง ได้/ดมกลิ่น รู้/ลิ้มรส ถูกแตะต้อง กาย (จบที่ใจว่า รู้ธรรมารมณ์)

ข) กรรมทวาร (ทางทำ กรรม) คือ กาย วาจา (รวมชุมทางคือ ใจ ด้วยเป็น ๓) เป็นการทำ การพูด (ตั้งจุดเริ่มที่ใจ คือ คิด)


จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงแยก ๒ แดนย่อยในข้อศีลนี้เอง เป็น ๒ ข้อ แรก ในชุดภาวิต ๔ และทรงตั้งชื่อภาวิตข้อแรก ที่แยกการสื่อกับโลกทางผัสสทวาร หรืออินทรีย์ออกมาจากศีล เรียกเป็น "ภาวิตกาย" (กาย ในที่นี้ คือ ปัญจทวาริกกาย) แสดงว่า พระพุทธเจ้า ทรงเน้นความสำคัญของการสื่อกับโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการสื่อด้านการรับรู้ ทางตา หู ฯลฯ ในข้อแรกนี้ คนมักจะมองข้าม แต่ในพระพุทธศาสนา ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ในระบบการพัฒนามนุษย์ เฉพาะอย่างยิ่งในการวัดผลของการพัฒนาคน ซึ่งควรจะเอาใจใส่กัน ให้มากขึ้น




ส่วนแดนที่ ๒ ซึ่งจับเอาการสื่อทางกรรมทวาร ขึ้นมาตั้งเป็นคุณสมบัติสำหรับตรวจสอบหรือวัดผลของการพัฒนาคน เรียกว่าภาวิตศีล กับ แดนที่ ๓ และ ๔ คือ ภาวิตจิต และภาวิตปัญญา ก็ตรงกับสิกขาข้อ ๑ (ท่อนที่สอง) และข้อ ๒ และ ๓ จึงขอผ่านไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2014, 05:26, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 05:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเพิ่มเกร็ดความรู้ปลีกย่อยอีกเล็กน้อยว่า ภาวิตกาย คือ ผู้ มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว (หรือผู้มีกายภาวนา) นี้ ที่ได้อธิบายว่า ได้พัฒนากายด้าน การสื่อกับโลกทางอินทรีย์ ๕ หรือด้านการรับรู้ทาง ตา หู ฯลฯ นั้น บางทีอธิบายได้อีกนัยหนึ่ง โดยขยายความหมาย ของกายในข้อนี้ออกไป หมายถึงการสื่อสัมพันธ์กับโลกด้านกายภาพ หรือด้านวัตถุทั้งหมด


ถ้าขยายความหมายของภาวิตกายออก ไปอย่างนี้ ก็ปรับความหมายของภาวิตข้อที่ ๒ คือ ภาวิตศีล ให้เข้าคู่กันเป็น ว่า ภาวิตศีล คือ ผู้มีศีลที่พัฒนาแล้ว (หรือผู้มีศีลภาวนา) หมายความว่า ได้พัฒนาการสื่อสารสัมพันธ์กับ เพื่อนมนุษย์ หรือการติดต่อเกี่ยวข้องแสดงออกทางสังคม ให้อยู่ร่วมกัน ด้วยดี ร่วมมือ สามัคคี และเกื้อกูลกัน


การให้ความหมายภาวิตกาย และ ภาวิตศีลอย่างนี้ โยงไปถึงหลักการจำแนกคิด เป็น ๔ หมวด หรือ ๔ ประเภท ที่เรียกว่า ปาริสุทธิศีล (ความ ประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล) ๔ คือ


๑. ปาติโมกขสังวรศีล ศีลคือการสำรวมระวังตั้งอยู่ในปาติโมกข์ อันเป็นวินัยแม่บทของสงฆ์

๒. อินทรียสังวรศีล ศีลคือการสำรวมอินทรีย์ รับ รู้ เช่น ดู ฟัง อย่างมีสติ ให้ได้ปัญญา ให้ได้ประโยชน์ ไม่ถูกอกุศลครอบงำ

๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยสุจริตชอบธรรม

๔. ปัจจัยปฏิเสวนศีล (หรือปัจจยสันนิสิตศีล) คือการเสพใช้สอยปัจจัยสี่ด้วยปัญญาที่รู้ ความมุ่งหมายให้ได้ประโยชน์ตาม ความหมายและคุณค่าที่แท้ของสิ่งนั้น รู้จักประมาณ บริโภคแต่พอดี ไม่ บริโภคด้วยตัณหา


ส่วนที่เป็นความสัมพันธ์ทางกายภาพ หรือกับวัตถุ กับ ธรรมชาติ ก็อยู่ในภาวิตกาย ส่วนที่เป็นความสัมพันธ์ทาง สังคม ก็อยู่ในภาวิตศีล


เมื่อได้ทำความเข้าใจกันไว้เป็นพื้นอย่างนี้แล้ว ก็จะสรุปคุณลักษณะของท่านผู้ เข้าถึงนิพพานหรือพระอรหันต์ตามแนวแห่งหลัก ภาวิต ๔ ประการ คือ ภาวิตกาย ภาวิตศีล ภาวิตจิต และภาวิตปัญญา ดังได้กล่าวมา


ทั้งนี้ มีข้อพึงตระหนักว่า คุณลักษณะและคุณสมบัติต่อไปนี้ แม้จะจัดแยก ไว้ต่างหากกันเป็นด้านนั้น ด้านนี้ แต่แท้จริงแล้ว มิใช่แยกขาดจากกัน เพียงแต่จัดแยกออกไปตาม ด้านที่ปรากฏเด่น เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ส่วนในการพัฒนา คุณเหล่านี้เนื่องกัน พัฒนามาด้วยกัน โดยเฉพาะไม่ขาดอิสรภาพของปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบท่อนทำความเข้าใจเท่านี้ ต่อไปจะนำหัวข้อ "ภาวิตาย: มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว" โดยเฉพาะมาตั้งอีกหัวข้อต่างหากเพื่อให้ได้ศึกษากัน คิกๆๆ :b32: :b9:

จะดูที่นี้ก่อนก็เอา http://group.wunjun.com/whatisnippana/t ... 4031-22881

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2014, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อให้เขียนวิริศมาหรา แค่ไหน
ตามความรู้ที่ได้เรียน ได้ศึกษามา ของผู้เขียน

ก็เป็นเพียง ใบไม้นอกกำมือ
เพราะไม่สามารถนำไปกระทำ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

อุปมา น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

เหตุของ การสร้างความหลงให้แก่ผู้อื่น
เหตุของไม่รู้ชัดในสัญญา หลงกกกอด คิดว่าเป็น ปัญญา

ลาภ ยศ สรรเสริญ กิเลสบดบังสภาพธรรมตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
จึงเป็นที่มาของ ใบไม้นอกกำมือ เพราะเหตุนี้(มีแต่สัญญา)

ผู้ที่มีเหตุปัจจัยต่อกัน(เคยกระทำมาร่วมกัน)
เป็นเหตุปัจจัยให้ มาเชื่อกัน จึงกอดคอกันหลง
จมแม่น้ำตัณหา ตามกันไปด้วย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 33 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร