วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 03:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2014, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5334


 ข้อมูลส่วนตัว


ตัณหาไม่ใช่ความคิด แต่อาศัยความคิดแสดงอาการ ตัณหาไม่ใช่ความรู้สึก แต่ตัณหาทำให้เกิดความรู้สึกที่ร้อนรน ทรมาน หน้าตาแท้ๆ ของตัณหา แสดงตัวอยู่ในรูปของเจตนาที่เข้มข้น เป็นธรรมชาติเกิด-ดับ แฝงเร้นกลมกลืนอยู่ กับความคิดและความรู้สึก

พุทธศาสนาไม่ได้ต้องการให้คนมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่สวรรค์นะ ถ้ายังไม่เคยฟังก็ฟังเสียสิว่าจุดปลายทางของมนุษย์ในพุทธศาสนานั้นไม่ใช่สวรรค์ คือต้องเลยสวรรค์ไปที่เรียกว่านิพพานน่ะ คือเย็นโดยแท้จริง ฉะนั้น ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์ไม่ควรมีสำหรับพุทธบริษัท เพราะว่าพุทธบริษัทไม่ได้ต้องการเพียงสวรรค์ นั้นมันคำสอนก่อนพุทธกาล สอนเรื่องสวรรค์ให้หลงใหลเพื่อไปสวรรค์ ให้ศีลธรรมมันดี นั้นมันยังไม่จบนะ มีสวรรค์แล้วรู้จักไอ้ความหลอกลวงของสวรรค์

พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง กามาทีนวก คือโทษของกามหรือโทษของสวรรค์ เพื่อจะออกไปจากกามเป็นเนกขัมมะ งั้นเราจะไปมัวเสียเวลากับนรกสวรรค์ทำไม เราไม่ต้องการนรกเพราะมันทนไม่ไหวก็ไม่เอา เราก็ไม่เสียเวลาไปหลงอยู่ในสวรรค์ซึ่งมันช่วยอะไรไม่ได้นัก มันมีแต่ทำให้หลงติด ไม่เอา ฉะนั้นไม่เสียเวลากับสวรรค์ชนิดนั้นนะ

พุทธทาสภิกขุ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
โดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

...ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑

...ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑

...ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑
.
..ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑

...ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด
พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า
ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆตน เป็นทายาทแห่งกรรม
มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นทายาท (ผู้รับผล)
ของกรรมนั้น ดังนี้ ๑
ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นด้วยประการฉะนี้ ฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่าง ไร อกุศลธรรม
จึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักพูด
เท็จ คือไปในสภาก็ดี ไปในที่ประชุมก็ดี ไปใน ท่ามกลางญาติก็ดี ไปในท่ามกลางขุนนางก็ดี
ไปในท่ามกลางราชสกุลก็ดี อันเขา นำไปเป็นพยาน ถูกถามว่า พ่อมหาจำเริญ เชิญเถิด ท่านรู้
อย่างใด ก็จงพูดอย่างนั้น เขาไม่รู้ บอกว่ารู้บ้าง รู้อยู่ บอกว่าไม่รู้บ้าง ไม่เห็น บอกว่าเห็น
บ้างเห็นอยู่ บอกว่าไม่เห็นบ้าง พูดเท็จทั้งรู้ๆ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุคนอื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง เป็นผู้พูดส่อเสียด ได้ยินจากฝ่าย
นี้แล้วบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น
ทั้งนี้ เมื่อเขาพร้อมเพรียงกัน ก็ยุให้แตกกันเสีย หรือเมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็ช่วยส่งเสริม
ชอบเป็นพรรคเป็นพวก ยินดีความเป็นพรรคเป็นพวก ชื่นชมความเป็นพรรคเป็นพวก เป็นผู้
กล่าวคำทำให้ เป็นพรรคเป็นพวก อนึ่ง เป็นผู้กล่าวคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่มีโทษ หยาบคาย
เผ็ดร้อน ขัดใจผู้อื่น ใกล้เคียงความโกรธ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสมาธิ อนึ่ง เป็นผู้เจรจาเพ้อเจ้อ
กล่าวไม่ถูกกาละ กล่าวไม่จริง กล่าวไม่เป็นประโยชน์ กล่าวไม่เป็นธรรม กล่าวไม่เป็นวินัย
เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเมื่อเสพความประพฤติทางวาจามีรูปอย่างนี้ อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศล
ธรรมจึงเสื่อมไป ฯ




เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2014, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: สาธุค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2014, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ตัณหาไม่ใช่ความคิด แต่อาศัยความคิดแสดงอาการ ตัณหาไม่ใช่ความรู้สึก แต่ตัณหาทำให้เกิดความรู้สึกที่ร้อนรน ทรมาน หน้าตาแท้ๆ ของตัณหา แสดงตัวอยู่ในรูปของเจตนาที่เข้มข้น เป็นธรรมชาติเกิด-ดับ แฝงเร้นกลมกลืนอยู่ กับความคิดและความรู้สึก

พุทธศาสนาไม่ได้ต้องการให้คนมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่สวรรค์นะ ถ้ายังไม่เคยฟังก็ฟังเสียสิว่าจุดปลายทางของมนุษย์ในพุทธศาสนานั้นไม่ใช่สวรรค์ คือต้องเลยสวรรค์ไปที่เรียกว่านิพพานน่ะ คือเย็นโดยแท้จริง ฉะนั้น ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์ไม่ควรมีสำหรับพุทธบริษัท เพราะว่าพุทธบริษัทไม่ได้ต้องการเพียงสวรรค์ นั้นมันคำสอนก่อนพุทธกาล สอนเรื่องสวรรค์ให้หลงใหลเพื่อไปสวรรค์ ให้ศีลธรรมมันดี นั้นมันยังไม่จบนะ มีสวรรค์แล้วรู้จักไอ้ความหลอกลวงของสวรรค์

พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง กามาทีนวก คือโทษของกามหรือโทษของสวรรค์ เพื่อจะออกไปจากกามเป็นเนกขัมมะ งั้นเราจะไปมัวเสียเวลากับนรกสวรรค์ทำไม เราไม่ต้องการนรกเพราะมันทนไม่ไหวก็ไม่เอา เราก็ไม่เสียเวลาไปหลงอยู่ในสวรรค์ซึ่งมันช่วยอะไรไม่ได้นัก มันมีแต่ทำให้หลงติด ไม่เอา ฉะนั้นไม่เสียเวลากับสวรรค์ชนิดนั้นนะ

พุทธทาสภิกขุ



ตัณหา เป็นตัวอยากที่เป็นตัวกิเลส คือเป็นตัวสมุทัยซึ่งเป็นเหตุของความเกิดอีก
กล่าวคือในสัจจะ ๔ พระองค์ตรัสไว้ว่าต้องละที่เหตุคือตัวสมุทัย คือเหตุนั่นเอง

ฉะนั้นการละสมุทัยเสียได้ การเข้าพระนิพพานก็สำเร็จด้วย :b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2014, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5334


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2014, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขสมุทยอริยสัจ


บางพระสูตร พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา
บางพระสูตร ทรงตรัสไว้ว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ อวิชชา

พระองค์ ทรงให้ธรรมะแต่ละคน ตามเหตุปัจจัยของคนๆนั้น
เพราะ ทรงหยั่งรู้ว่า ควรให้ธรรมะข้อใด จึงจะทำให้ ผู้นั้น รู้แจ้งในสภาวะข้อธรรมนั้นๆได้
เป็นเหตุให้ การละอาสวะ จึงมีหลากหลายรูปแบบ เพราะเหตุนี้

ว่าด้วย การละอาสวะ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =238&Z=384





ความแตกต่างเกี่ยวกับทุขสมุัทยอริยสัจ ที่มีตัณหาเป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)

และ ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีอวิชชา เป็นเหตุปัจจัย(ทำให้เกิดขึ้น)




เวลาพระองค์ทรงแสดงธรรม จะทรงแสดงความแตกต่างของสภาวะนั้นๆไว้ เมื่อทรงแสดง ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่มีเหตุปัจจัยจาก อวิชชา จะทรงแสดงแบบนี้

ภิกษุ ท. ! ทุกขสมุทยอริสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?

เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกอง
ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.



หมายเหตุ:

ตรงนี้ ทรงแสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาท ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่เกิดจาก อวิชชา เป็นเหตุปัจจัย
เป็นเรื่องของ เหตุของการเวียนว่าย ตายเกิด ในวัฏฏสงสาร

กล่าวคือ ในปฏิจจสมุปบาท ความเกิดขึ้นแห่ง กองทุกข์ทั้งปวง

ทรงหมายเอา ตัณหา ที่เป็นเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน(ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย)
และอวิชชา ที่เป็นเหตุของการทำให้เกิด การเวียว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร รวมเข้าด้วยกัน




เมื่อทรงแสดง ทุกขสมุทัยอริยสัจ ที่มีเหตุปัจจัยจาก ตัณหา จะทรงแสดงแบบนี้

ภิกษุ ท. ! ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?

ตัณหานี้ใด ทำความเกิดอีก เป็นปกติ เป็นไปกับด้วยความกำหนัด
เพราะอำนาจ แห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,

นี้คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
(ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น)

ภิกษุ ท. ! ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ?

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่ไหน ?

สิ่งใดในโลกมีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดี (ปิยรูปสาตรูป) ;
ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในสิ่งนั้น,

เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในสิ่งนั้น.
ก็อะไรเล่า มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ?

ตา…หู…จมูก…ลิ้น…กาย…ใจ… มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะ เป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

รูปทั้งหลาย… เสียงทั้งหลาย…. กลิ่นทั้งหลาย…. รสทั้งหลาย…. โผฏฐัพพะ
ทั้งหลาย….ธรรมารมณ์ทั้งหลาย….

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไป ตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้แจ้งทางตา….ความรู้แจ้งทางหู….ความรู้แจ้งทางจมูก….ความรู้แจ้ง
ทางลิ้น….ความรู้แจ้งทางกาย….ความรู้แจ้งทางใจ….

มีภาวะ เป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ; ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น, เมื่อจะ
เข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

การกระทบทางตา…การกระทบทางหู… การกระทบทางจมูก…การกระทบ
ทางลิ้น…การกระทบทางกาย…การกระทบทางใจ…

มีภาวะ เป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางตา… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางหู…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางจมูก… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางลิ้น…
ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางกาย… ความรู้สึกเกิดแต่การกระทบทางใจ…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความจำหมายในรูป… ความจำหมายในเสียง… ความจำหมายในกลิ่น…
ความจำหมายในรส… ความจำหมายในโผฏฐัพพะ… ความจำหมายในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความนึกถึงรูป…ความนึกถึงเสียง… ความนึกถึงกลิ่น… ความนึกถึงรส…
ความนึกถึงโผฏฐัพพะ….ความนึกถึงธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความอยากในรูป…ความอยากในเสียง… ความอยากในกลิ่น…. ความอยาก
ในรส…. ความอยากในโผฏฐัพพะ… ความอยากในธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความตริหารูป…ความตริหาเสียง… ความตริหากลิ่น… ความตริหารส…
ความตริหาโผฏฐัพพะ… ความตริหาธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รัก มีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น,
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ความไตร่ตรองต่อรูป (ที่ตริหาได้แล้ว)…ความไตร่ตรองต่อเสียง…
ความไตร่ตรองต่อกลิ่น… ความไตร่ตรองต่อรส… ความไตร่ตรองต่อโผฏฐัพพะ..
ความไตร่ตรองต่อธรรมารมณ์…

มีภาวะเป็นที่รักมีภาวะเป็นที่ยินดีในโลก ;
ตัณหานี้เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น.
เมื่อจะเข้าไปตั้งอยู่ ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ในที่นั้น.

ภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่าอริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์.


หรือ แบบนี้

[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน?
ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน?

ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก?

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.




หมายเหตุ:

เหตุของอวิชชา ที่มีอยู่

ตรงนี้ ทรงแสดงเรื่อง ทุกขสมุทยอริยสัจ ที่เกิดจาก ตัณหา เป็นเหตุปัจจัย
โดยมีเวทนา และ ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

กล่าวคือ หมายถึง เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดการ สร้างเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน ให้บังเกิดขึ้น
ตามแรงผลักดันของกิเลส ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ(ผัสสะ)

เหตุเนื่องจาก อวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น
โดยที่สิ่งที่เกิดขึ้น สิ่งๆนั้น(ผัสะ)ทำให้เกิด ความรู้สึกนึกคิด

เพราะ ความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป(ชาติ หมายถึง การเกิด กำเนิด การปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทาง วจีกรรม กายกรรม)

ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ(เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)

จึงเป็นเหตุให้ เหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน เกิดขึ้นทันที
เหตุจากตัณหา เป็นเหตุปัจจัย และ จากอวิชชา ที่มีอยู่

สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆๆๆ มีบังเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้


คำสอน ที่พระองค์ทรงสอน จึงมีหลากหลายเพราะเหตุนี้
มีทั้งเหตุของฝ่ายเกิด และเหตุของฝ่ายดับ
เพียงแต่ จะรู้ชัดในสภาวะที่พระองค์ ทรงตรัสไว้ไหม

การที่จะรู้ชัด ในสภาวะต่างๆเหล่านี้
ต้องแจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(แบบหยาบ)

เป็นเหตุปัจจัยให้ แจ้งใน สภาวะนิพพาน ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุปัจจัยให้ แจ้งใน สภาวะปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง

เป็นเหตุให้ แจ้งในสภาวะอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง(ที่ละเอียดมากขึ้น)

และสามารถนำความรู้ชัด ในสภาวะเหล่านี้ มากระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุด แห่งทุกข์ได้(นิพพาน)

กล่าวคือ กระทำเพื่อ ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ คือ การกระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิด ภพชาติปัจจุบัน

และการกระทำเพื่อ ดับเหตุของการเกิด เวียนว่าย ในวัฏฏสงสาร
สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเฉพาะ จิตภาวนาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดจาก การน้อมเอา คิดเอาเอง

ส่วนผู้ที่รู้บางจำพวก(รู้จากการได้ศึกษา หรือ ฟังมา) ล้วนเกิดจาก สัญญา
เพราะ ยังไม่สามารถ นำสิ่งที่รู้ มากระทำเพื่อ ให้เกิดการ หยุดสร้างเหตุนอกตัวได้

และมีผู้รู้ บางจำพวก(รู้จากการได้ศึกษา หรือ ฟังมา)
ถึงแม้จะเกิดจาก สัญญา แต่ได้มีการสร้างเหตุมาดังนี้

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้
โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหารมิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร ของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แมสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหารก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหาสัปบุรุษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรม
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ”

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0



เมื่อสร้างเหตุมาดังนี้ ย่อมสามารถนำสิ่งที่รู้(ถึงแม้ไม่ได้รู้ด้วยตนเอง)
ที่เกิดจาก การศึกษา หรือ ได้ฟังมาก็ตาม

ก็สามารถนำสิ่งที่รู้(สัญญา) นำมากระทำเพื่อ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2014, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5334


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร