วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 65 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของหัวใจของมนุษย์ ดูแล้วก็มีประโยชน์สารพัด ช่วยให้มีวิตอยู่ยังไม่พอ
มันยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ เอาไว้เป็นข้ออ้างในการทำมาหากิน อย่างเช่นเพลงเป็นต้น
นั้นเป็นเรื่องของการดำรงชีวิต เป็นเรื่องของโลกียะ

แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเรื่องทางธรรมล้วนๆ หมายความว่า....
แม้กระทั้งในโลกแห่งทางธรรม ก็ยังมีผู้หยิบยกเอาหัวใจมาอ้าง
จะพูดว่า เอามาหากินมันจะเป็นการดูถูกกันเกินไป
เอาแค่อ้างเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในตน

อันที่จริง การเอาหัวใจมาอ้าง มันก็ไม่เห็นจะเป็นไร......
ถ้าการอ้างนั้นไม่ผิดไปจาก สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน


เรื่องของลมหายใจหรือแม้แต่การเต้นของหัวใจ ท่านว่ามันเป็น...กายสังขาร
ในสติปัฏฐานสี่ที่พระพุทธองค์ทรงสอน มีอยู่หนึ่งคือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในหลักนั้นมีความสำคัญอยู่ว่า......ให้รู้ในกายสังขาร เพื่อละการปรุงแต่งกายสังขารนั้น

ลมหายใจหรือแม้กระทั้งการเต้นของหัวใจ เป็นกายสังขาร
นั้นก็คือย่อมต้องรู้ก่อนว่านั้นคือกายสังขาร
เมื่อรู้แล้วจึงใช้ปัญญาละการปรุงแต่งที่เรียก สังขารนั้นเสีย


ประเด็นที่ผมตั้งกระทู้ขึ้นมา ก็เพราะมันมีคนกำลังทำให้คำสอนผิดเพี้ยน
แล้วจะมาอธิบายครับว่า ทำไมจึงผิดเพี้ยน :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2013, 00:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่รู้จังหวะการเต้นของหัวใจนั้น หากผู้กล่าวไม่ได้อธิบายถึงสภาวะธรรมที่ปรากฎก่อนก็คือ ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยวิญญาณขันธ์ที่ตั้งอยู่ตรงนั้น สมมุติว่าวิญญาณขันธ์ตั้งอยู่ที่มือ ธรรมที่มือย่อมปรากฎขึ้นเพราะผัสสะ แต่ผัสสะที่การเต้นของหัวใจย่อมดับลง แต่บางทีธรรมนั้นก็ปรากฎเด่นชัดกว่าเพราะเหตุ เช่น ออกกำลังกาย หรือ อารมณ์โกรธ การเต้นของหัวใจย่อมปรากฎเด่นชัดกว่า หรือ อยู่ๆ รถบีบแตรข้างๆเสียงดัง ธรรมที่โสตย่อมปรากฎเด่นชัด การตั้งอยู่ของวิญญาณขันธ์ก็เปลี่ยนตำแหน่งเพราะผัสสะเกิดขึ้น ทีนี้ ผัสสะที่เกิดขึ้นนั้นผู้ศึกษาธรรมย่อมเห็นความเป็นปรมัตถ์แตกต่างกัน ผัสสะที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจกิเลสมีผลทำให้เกิดการปรุงแต่งของธรรมว่าเป็นเราเป็นเขา ผู้ที่มีญาณวิปัสสนาขั้นต้นก็จะเห็นเป็นการเกิดดับของนามรูป ผู้ที่มีญาณพระไตรลักษณ์ก็จะเห็นว่าผัสสะที่เกิดขึ้นนั่นเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เพราะความปรากฎเป็นอนัตตา ผู้ที่มีญาณวิปัสสนาขั้นสูงก็จะปล่อยวางแตกต่างตามความเป็นปรมัตถธรรม

ส่วนตัวเวลาปฎิบัตินั้น ถ้าเข้าไปเห็นธรรมของหทัย จะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก คือผัสสะอยู่ที่กระบังลมรู้การเข้าและรู้การออกโดยวิญญาณขันธ์ยังคงตั้งอยู่ตรงนั้น

เมื่อหายใจออกจนสุดแล้ว ส่วนตัวยังกำหนดรู้ต่อจากความสุดของลมหายใจว่ามีธรรมอะไรปรากฎขึ้นมาให้เห็นอีก ก็ปรากฎเป็นธรรมที่ส่วนตัวคิดว่าเป็นธรรมที่เป็นส่วนของหทัย เพราะลมหายใจออกหมดแล้ว แต่ไม่ใช่เป็นอาการเต้นตุบๆ เพราะไม่ใช่ผัสสะที่เกี่ยวเนื่องจากลมหายใจเข้าออกครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2013, 21:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




41_1758.jpg
41_1758.jpg [ 27.44 KiB | เปิดดู 5366 ครั้ง ]
โฮฮับ เขียน:
เรื่องของหัวใจของมนุษย์ ดูแล้วก็มีประโยชน์สารพัด ช่วยให้มีวิตอยู่ยังไม่พอ
มันยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ เอาไว้เป็นข้ออ้างในการทำมาหากิน อย่างเช่นเพลงเป็นต้น
นั้นเป็นเรื่องของการดำรงชีวิต เป็นเรื่องของโลกียะ

แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเรื่องทางธรรมล้วนๆ หมายความว่า....
แม้กระทั้งในโลกแห่งทางธรรม ก็ยังมีผู้หยิบยกเอาหัวใจมาอ้าง
จะพูดว่า เอามาหากินมันจะเป็นการดูถูกกันเกินไป
เอาแค่อ้างเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในตน

อันที่จริง การเอาหัวใจมาอ้าง มันก็ไม่เห็นจะเป็นไร......
ถ้าการอ้างนั้นไม่ผิดไปจาก สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน


เรื่องของลมหายใจหรือแม้แต่การเต้นของหัวใจ ท่านว่ามันเป็น...กายสังขาร
ในสติปัฏฐานสี่ที่พระพุทธองค์ทรงสอน มีอยู่หนึ่งคือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในหลักนั้นมีความสำคัญอยู่ว่า......ให้รู้ในกายสังขาร เพื่อละการปรุงแต่งกายสังขารนั้น

ลมหายใจหรือแม้กระทั้งการเต้นของหัวใจ เป็นกายสังขาร
นั้นก็คือย่อมต้องรู้ก่อนว่านั้นคือกายสังขาร
เมื่อรู้แล้วจึงใช้ปัญญาละการปรุงแต่งที่เรียก สังขารนั้นเสีย


ประเด็นที่ผมตั้งกระทู้ขึ้นมา ก็เพราะมันมีคนกำลังทำให้คำสอนผิดเพี้ยน
แล้วจะมาอธิบายครับว่า ทำไมจึงผิดเพี้ยน :b13:

s004
การแนะนำให้ผู้คนหันมาสนใจสังเกตพิจารณาปรากฏการณ์หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงใน รูป - นาม กาย - ใจ
มันจะผิดไปจากธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรงไหน ก็อยากจะทราบเหมือนกัน เร่งพูดไวๆนะโฮฮับ อย่าอ้ำอึ้ง อมภูมิอยู่ให้มันนานนัก

กลับไปศึกษาเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่แปลเป็นไทยอย่างถูกต้อง ให้ลึกซึ้งมากๆหน่อยนะครับแล้วค่อยมาตอบ

ดูตรงนี้ให้มากๆ

กาเยกายานุปัสสีวิหาระติ...........

:b4: :b4:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2013, 21:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เรื่องของหัวใจของมนุษย์ ดูแล้วก็มีประโยชน์สารพัด ช่วยให้มีวิตอยู่ยังไม่พอ
มันยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ เอาไว้เป็นข้ออ้างในการทำมาหากิน อย่างเช่นเพลงเป็นต้น
นั้นเป็นเรื่องของการดำรงชีวิต เป็นเรื่องของโลกียะ

แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นเรื่องทางธรรมล้วนๆ หมายความว่า....
แม้กระทั้งในโลกแห่งทางธรรม ก็ยังมีผู้หยิบยกเอาหัวใจมาอ้าง
จะพูดว่า เอามาหากินมันจะเป็นการดูถูกกันเกินไป
เอาแค่อ้างเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในตน

อันที่จริง การเอาหัวใจมาอ้าง มันก็ไม่เห็นจะเป็นไร......
ถ้าการอ้างนั้นไม่ผิดไปจาก สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน


เรื่องของลมหายใจหรือแม้แต่การเต้นของหัวใจ ท่านว่ามันเป็น...กายสังขาร
ในสติปัฏฐานสี่ที่พระพุทธองค์ทรงสอน มีอยู่หนึ่งคือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในหลักนั้นมีความสำคัญอยู่ว่า......ให้รู้ในกายสังขาร เพื่อละการปรุงแต่งกายสังขารนั้น

ลมหายใจหรือแม้กระทั้งการเต้นของหัวใจ เป็นกายสังขาร
นั้นก็คือย่อมต้องรู้ก่อนว่านั้นคือกายสังขาร
เมื่อรู้แล้วจึงใช้ปัญญาละการปรุงแต่งที่เรียก สังขารนั้นเสีย


ประเด็นที่ผมตั้งกระทู้ขึ้นมา ก็เพราะมันมีคนกำลังทำให้คำสอนผิดเพี้ยน
แล้วจะมาอธิบายครับว่า ทำไมจึงผิดเพี้ยน :b13:

s004
การแนะนำให้ผู้คนหันมาสนใจสังเกตพิจารณาปรากฏการณ์หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงใน รูป - นาม กาย - ใจ
มันจะผิดไปจากธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรงไหน ก็อยากจะทราบเหมือนกัน เร่งพูดไวๆนะโฮฮับ อย่าอ้ำอึ้ง อมภูมิอยู่ให้มันนานนัก

กลับไปศึกษาเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่แปลเป็นไทยอย่างถูกต้อง ให้ลึกซึ้งมากๆหน่อยนะครับแล้วค่อยมาตอบ

ดูตรงนี้ให้มากๆ

กาเยกายานุปัสสีวิหาระติ...........

:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

การแนะนำให้ผู้คนหันมาสนใจสังเกตพิจารณาปรากฏการณ์หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงใน รูป - นาม กาย - ใจ
มันจะผิดไปจากธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรงไหน ก็อยากจะทราบเหมือนกัน เร่งพูดไวๆนะโฮฮับ อย่าอ้ำอึ้ง อมภูมิอยู่ให้มันนานนัก

กลับไปศึกษาเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่แปลเป็นไทยอย่างถูกต้อง ให้ลึกซึ้งมากๆหน่อยนะครับแล้วค่อยมาตอบ

ดูตรงนี้ให้มากๆ

กาเยกายานุปัสสีวิหาระติ...........

:b4: :b4:


การแนะนำให้ผู้คนสนใจพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงในรูปนาม กายใจ....
.การแนะนำนั้นจะต้องเป็นการแนะนำ ที่ถูกต้องตามธรรม
ไม่ใช่การแนะนำที่ผิดเพี้ยน แนะนำอย่างคนเป็นโมฆะบุรุษ
นั้นก็คือแนะนำในสิ่งที่สวนทางกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน

สิ่งที่มันผิดทำนองคลองธรรม เอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาทำปูยี่ปูยำ นั้นก็คือ....

อันดับแรก โมฆะบุรุษมาแนะนำให้ชาวบ้าน นั่งสมาธิจนจิตใจสงบ
แล้วจะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นตอดๆๆ ที่หนักไปกว่านั้นบอกว่า การทำสมาธิจะทำให้
ผู้ทำหยุดหายใจได้เป็นเวลานานๆ
....สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง เพ้อเจ้อนอกลู่นอกธรรม

พระพุทธองค์ทรงสอนในเรื่องของลมหายใจในอานาปานสติ ก็เพื่อให้เข้าใจว่า
ลมหายใจในความเป็นปกติของมัน....ก็คือกายอันมีส่วนประกอบของธาตุสี่และวิญญานธาตุ
เราเรียกว่า มหาภูติรูปสี่

เนื้อหาในอานาปานสติ บอกให้รู้ลักษณะของลมหายใจว่า เหตุใดมันจึงเป็น กายสังขาร
หมายความว่า กายสังขารเกิดขึ้นได้เพราะอะไร และเราจะดับมันได้อย่างไร

ข้อสังเกตุท่านให้ดับกายสังขาร ท่านไม่ได้หมายถึงให้ดับลมหายใจหรือกลั่นลมหายใจ
การกลั่นลมหายใจเป็นเวลานานๆ มันเป็นมิจฉา เป็นอัตตกิลมัลถานุโยค พระพุทธองค์ทรงห้าม


แล้วทำไมลมหายใจจึงเป็นกายสังขาร พระพุทธองค์ได้สอนไว้ในอานาปานสติว่า
เมื่อเราดูลมหายใจในลักษณะของการ หายใจสั้นบ้าง หายใจยาวบ้าง
ลักษณะของการหายใจเดี๋ยวสั้นเดี๋ยวยาว เป็นเพราะจิตเข้าไปปรุงแต่งลมหายใจ

ในความเป็นจริงลมหายใจเป็นส่วนหนึ่งของรูปธรรมหรือกาย กายก็อยู่ส่วนของกาย
จิตซึ่งเป็นนามธรรม ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง เมื่อจิตหรือนามเข้าไปปรุงแต่งรูปธรรมหรือกายเมื่อใด
จะทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในรูปหรือกาย สิ่งที่ตามมาก็คือ....รูปขันธ์

สรุปให้ฟังในส่วนนี้ก็คือ.....วิธีการสอนที่โสกะเอามาบอก มันเป็นการทำ
อัตกิลมัลถานุโยคมันเป็นมิจฉาที่พระพุทธองค์ทรงห้าม อีกทั้งแนวทางปฏิบัติ
เป็นการทำให้เกิดขันธ์๕แทนที่จะดับขันธ์๕


ในอานาปานสติ จะกล่าวไว้ว่า....ลมหายใจ รำงับ
รำงับไม่ได้หมายถึง ไม่หายใจ แต่คำว่ารำงับหมายถึงความสงบทางกาย
อันปราศจากจิตไปปรุงแต่งให้เกิด กายสังขาร

อธิบายเพิ่มเติม สังเกตุลมหายใจเดี๋ยวสั้นเดี๋ยวยาว
ในส่วนที่สั้นยาว มันเกิดจากจิตหรือเกิดจากการที่เราไปบังคับลมหายใจ
มันจึงเกิดระดับความสั้นยาวของลมหายใจขึ้น
นี่แหล่ะเรียกกายสังขาร พระพุทธองค์ให้ทรงละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเต้นของหัวใจก็เช่นกัน โดยธรรมชาติและโดยธรรม การเต้นของหัวใจ
มันเป็นส่วนของ รูปธรรมหรือกาย รวมเรียกว่า...มหาภูติรูปสี่

หัวใจเป็นรูปธรรมหรือกาย ส่วนจิตเป็นนาม ทั้งรูปและนามเป็นคนล่ะส่วนกัน
การที่จิตไปรู้การเต้นของหัวใจแล้วทำให้การเต้นของหัวใจ ผิดแปลกไปจากธรรมชาติ
ท่านเรียกลักษณะนี้ว่า จิตไปปรุงแต่งกาย......มันเป็นกายสังขาร

การปรุงแต่งที่จิตมีต่อกายนั้น มันมีสาเหตุมาจาก กิเลส
กิเลสเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการปรุงแต่งขึ้นที่จิต เรียกว่าจิตสังขาร
และตัวจิตสังขารก็ไปปรุงแต่งกายอีกทอดหนึ่ง
ทุกอย่างที่พูดมาล้วนมีเหตุปัจจัยมาจากกิเลส

เอาตัวอย่างที่น้องคิงคอง แกยกมานั้นก็คือยัยน้องแกบอกว่า..เวลาของขึ้นหัวใจเต้นแรง

นี่ก็คือยัยน้องแกไปกระทบกับสิ่งที่ไม่พอใจ จนเกิดการปรุงแต่งขึ้นเป็นโทสะ
โทสะหรือจิตสังขารตัวนี้ ไปปรุงแต่งจนทำให้เกิดอาการเต้นของหัวใจที่แรงขึ้น
โทสะเป็นจิตสังขาร การเต้นของหัวใจที่แรงขึ้นเป็นกายสังขาร
ทั้งจิตสังขารและกายสังขาร พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้แล้วละมันเสีย

การรู้การเต้นของหัวใจ มันไม่ใช่มรรค แต่มันเป็นอาการที่เกิดจากกิเลส
อย่าหลงเข้าใจผิด เพราะมีคนเอาเรื่องนอกรีตนอกรอยมาพูด
:b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 08:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การรู้การเต้นของหัวใจ มันไม่ใช่มรรค แต่มันเป็นอาการที่เกิดจากกิเลส
อย่าหลงเข้าใจผิด เพราะมีคนเอาเรื่องนอกรีตนอกรอยมาพูด :b6:



มรรคน้อย มรรคมาก ล่ะครับมันคืออะไร?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 10:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปเห็นมานำมาให้ดูเล่นๆ คือเขาได้ยินเสียงหัวใจเต้นเหมือนกัน (ความจริงหัวใจก็เต้นของมันอยู่แล้ว แต่พอไ้ด้พอมีสมาธิเหมือนได้ยินชัด ซึ่งก็เป็นธรรมดา) ผ่านมา 10 ปียังจำได้ ลองอ่านดู


อ้างคำพูด:
เมื่อ10ปีที่แล้ว ได้ไปที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้ ดิฉันไม่เคยรู้วิธีการนั่งสมาธิมาก่อนเลย นี่เป็นครั้งแรกที่มีพระสอนวิธีการนั่งสมาธิให้

ในเวลานั้นสภาพร่างกายและจิตใจของดิฉันแย่มาก ค่ะ มีความรู้สึกอยากตาย เข้าเรื่องเลยนะคะ

เริ่มจากนั่งสมาธิ ดิฉันไม่ได้เพ่งดวงแก้วหรือองค์พระ หรือกสิณใดๆนะคะ

แต่ใช้วิธีเอาจิตมารวมอยู่บริเวณลิ้นปี่ รู้เข้าไปในความว่าง

ไม่ได้บริกรรมอะไรเลยค่ะ รู้เข้าไปในความว่างอย่างเดียว( ตอนนั้นมีกำลังใจในการนั่งสูงมาก รู้สึกไม่สนใจใยดีในร่างกาย เลยทำให้รู้สึกว่ากายกับจิตแยกออกจากกันได้ในไม่ช้า)

รู้ไปเรื่อยๆไม่นาน จิตรวมตัวเข้า รู้สึกว่าแขนขาหายไป ลมหายใจเบาขึ้น ตัวลอยสูงขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกมีความสุขมากๆ ลมหายใจเบามากๆ ความสุขหายไปตอนไหนไม่รู้

รู้แต่ว่าเห็นแสงสว่างสีขาว (ขณะนี้เหมือนกึ่งกลับกึ่งตื่นค่ะ)เป็นวงกลมเล็กๆแล้วก็ขยายใหญ่ขึ้นเป็นวง ซ้อนกันและจ้าขึ้นเรื่อยๆ พอจ้ามากถึงที่สุดแล้ว ก็รู้สึกตัว (แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้กำหนดต่อ ภาวนาต่อ เพราะจำอะไรไม่ได้เลย)

พอออกจากสมาธิ รู้สึกเหมือนความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ว่าที่นี่ที่ไหน เราเป็นใคร มาทำอะไรที่นี่ พอค่อยๆนึก ความจำก็กลับมาเหมือนเดิมค่ะ ที่ผ่านมาไม่กล้าถามใครกลัวบาป เพราะเป็นเรืองที่เชื่อยาก อยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่า สิ่งที่ดิฉันได้ประสบมาคืออะไรเหรอคะ

นั่งสมาธิครั้งต่อมากำหนดจิตที่หัวใจ ได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังมาก เสียงเลือดสูบฉีดดังชัดมากเลยค่ะ รู้ว่าระดับขณิกสมาธิ

นั่งครั้งไหนๆกำลังใจไม่เท่าครั้งแรกเลยค่ะ ช่วงนี้เว้นมานานเลยไม่ค่อยได้นั่งอีก





จิตวิจิตร (ธรรมชาติวิจิตร) ตามธรรมดาของมัน มันเป็นเช่นนั้นเอง แต่เราเพิ่งเคยประสบ พอประสบก็ว่าแปลกประหลาด ยึดติดมัน (สภาวะ) อยู่ คิดวนอยู่แค่นั้น ว่านี่อะไรหนอนี่อะไร จดหมายใครใครส่งถึงเทอ... :b32:

ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ทุกสิ่งอย่างทุกสภาวะที่เกิดขึ้น ที่ประสบ ที่รู้สึก เป็นยังไง รู้สึกยังไง กำหนดยังงั้นตามที่มันเป็น ทุกๆครั้งทุกๆขณะ ....เมื่อถึงที่สุดแล้วก็จะเห็นว่าความรู้สึกนึกคิดจิตใจ (ธรรมชาติ) มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของมันตามธรรมดาของมัน เมื่อพอรู้เห็นความจริงเช่นนั้นแล้ว ก็พอรู้จักวางจิตใจ รู้จักมองชีวิต สภาพแวดล้อมอย่างผู้ศึกษาโลกและชีวิต เป็นอาหารสมอง ดูอย่างผู้ศึกษามันเรียนรู้มัน ไม่ใช่ดูไปๆชอบมั่งชังมั่งเฉยๆมั่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้ชัดในสภาวะ/สิ่งที่เกิดขึ้น

เรื่องราวของสภาวะ หากไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เป็นความปกติ ของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

สภาวะอุปกิเลส ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เหตุจาก ความยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น

การสอนของแต่ละสำนัก แตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย

บางสำนักบอกว่า อาการแบบนี้นะ ถ้ารู้เห็นเนืองๆ เช่น
ขณะหายใจเข้า รู้สึกได้ถึงอาการท้องพองขึ้น ขณะหายใจออก รู้สึกได้ถึง อาการท้องยุบลง

รู้ว่า เกิดคนละขณะกัน รู้เห็นแบบนี้เนืองๆ เป็นจุลโสดาบันนะ คือ ตายไป ไปสู่สุคติอย่างแน่นอน
นี่เป็นอุบายในการสอน ให้เจริญกายาคสติ เมื่อถึงเวลาตาย จะได้ตายแบบมีสติ

หากขณะที่ หายใจเข้าออก แม้อยู่ในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน หรือกระทำกิจอันใดอยู่ก็ตาม เห็นเนืองๆได้แบบนี้

บ่งบอกถึง จิตรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต จะไปทุคติได้อย่างไร ย่อมไปสุคติอย่างแน่นอน

อาการหัวใจเต้น บางสำนักบอกว่า ให้กำหนดรู้ไปตามอาการที่เกิดขึ้น คือ รู้หนอๆๆๆๆ
จนกว่าจะมารู้ชัดในอาการท้องพองยุบ ที่เกิดขึ้นแทน หรือกำหนดรู้ไปตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น



เรื่องอาการหัวใจเต้น หากสภาวะนี้เกิดขึ้นเนืองๆ คือ รู้เห็นเนืองๆ (ไม่ใช่เกิดแบบฟลุ๊คๆ แบบเกิดบางครั้ง เกิดบางขณะ)

เท่าที่วลัยพร ได้พบเจอกับตัวเองมา อาการหัวใจเต้น ที่เกิดขึ้นเนืองๆ
เป็นเสมือนตัวติดเบรค โลภะ โทสะ โมหะ ตัณหาความทะยานอยาก ที่กำลังเกิดขึ้น ให้ทุเลาลง

แทนที่จะทำให้เกิดการสร้างเหตุ ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ทันทีทันใด
เมื่อมารู้สึกที่อาการหัวใจเต้น ที่กำลังเกิดขึ้นแทน

จิตที่กำลังจะถูก โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำ เป็นแรงหนุน ให้เกิดการสร้างเหตุ
อาการหัวใจเต้น จะช่วยลดแรงเสียดทาน จากกิเลส ที่กำลังเกิดขึ้น

เช่น เวลาไปซื้อของ กำลังหยิบของที่จะซื้อ

มีอาการหัวใจเต้นขึ้นมา มือที่กำลังจะหยิบ จะหยุดชะงัก
พร้อมกับเกิดการคิดพิจรณาขึ้นมาว่า ที่จะซื้อนี่ จำเป็นมากไหม

คือ เป็นตัวถ่วง ในการตัดสินใจซื้อ ทำให้แทนที่จะซื้อทันที
กลับมาเป็นการใคร่ครวญถึงความจำเป็นก่อนที่จะซื้อ

แม้กระทั่ง เวลาโกรธ ก็จะรู้ชัดในอาการหัวใจที่เต้นแรง รัว เร็ว
ที่มีเกิดเพิ่มคู่กันกับความรู้สึกโกรธ คือ การสูบฉีดของโลหิต และอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับกาย

เมื่อรู้ชัดอยู่ตามอาการที่เกิดขึ้น ความรู้สึกโกรธ ที่เกิดขึ้น ย่อมถูกลดแรงเสียดทานลง
กลายเป็นแค่ รู้สึกไม่ชอบใจ ไม่มีการปรุงแต่งต่อ

ถ้าเป็นความโกรธ จะมีการปรุงแต่งต่อถึงขั้นกล่าว สาปแช่งอีกฝ่าย

นี่คือ คุณประโยชน์ของ อาการหัวใจเต้น ที่ได้เจอมาด้วยตนเอง

การเต้นของหัวใจ ในแต่ละครั้ง เท่าที่สังเกตุมา สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก

อาการหัวใจเต้น จะเกิดที่หัวใจ ลิ้นปี่ และตามจุดชีพจรต่างๆทั่วร่างกาย
การเต้นแต่ละครั้ง จะไม่เหมือนกัน คือ

ขณะยืน เดิน นั่ง ทำงานอยู่ แรกๆจะสงบเงียบก่อน
สักพัก จะรู้ชัดในอาการเต้นของหัวใจแรง รัว เร็ว เหมือนเด็กแรกเกิด
(เคยลองนับจังหวะการเต้นดู รู้สึกไปตามเสียงที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้นิ้วแตะชีพจร)

บางครั้ง นั่งกินข้าวอยู่ อาการหัวใจเต้นจะเกิดขึ้นเอง แรง รัว เร็ว

เวลาเข้าห้องน้ำก็เป็น จะฉี่ จะถ่าย ก็เกิดขึ้นเอง

เวลานอน จะเกิดขึ้นก่อนสักพัก จนกระทั่ง รู้สึกวูบ คือ กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น จนกระทั่งหลับไป

อาการหัวใจเต้นนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด หรือ ทำกิจอะไรอยู่ก็ตาม
อาการหัวใจเต้นแรง รัว เร็ว จะเกิดสลับกับอาการหัวใจเต้น ที่เต้นปกติ เนิบๆ ไม่มีแรง รัว เร็ว


ซึ่ง วลัยพร มองว่า ก็เกิดเป็นปกติ เมือนสภาวะอื่นๆ
ที่รู้แบบนี้ เพราะ เกิดขึ้นเนืองๆ จนรู้สึกว่า เป็นเรื่องปกติ
ไม่ใช่เกิดแบบฟลุ๊คๆๆ อาจทำให้เกิดความสงสัยได้


วลัยพร ยังเคยคุยกับเจ้านายเลยว่า ดีนะ ยิ่งทำความเพียร การทำงานของหัวใจ ยิ่งเหมือนเด็กแรกเกิด(แข็งแรง)


ที่สำคัญ ช่วยทำให้รู้จักจับจ่าย เพราะมีเบรค(หัวใจเต้นแรง รัว เร็ว) มาช่วยในลดแรง ความทะยานอยาก ในการตัดสินใจซื้อ

และเวลาโกรธ มีตัวช่วยเบรค ทำให้ความรู้สึกโกรธ ลดกำลังลง เหลือแค่ ความรู้สึก ไม่พอใจ เกิดขึ้นแทน

เมื่อรู้สึกแค่ไม่พอใจ การผูกใจเจ็บ หรือ อาฆาต พยาบาทจองเวร อีกฝ่ายจึงไม่มี

เมื่อไม่มี คำกล่าวสาปแช่ง อีกฝ่าย จึงไม่มี



สำหรับอาการหัวใจเต้น ที่แรง รัว เร็ว เกิดขึ้นเนืองๆ แบบนี้

เท่าที่สังเกตุเห็นอยู่อย่างหนึ่งคือ จะรู้สึกถึง ความสงบ ที่เกิดขึ้นก่อน เกิดขึ้นนานบ้าง เร็วบ้าง ไม่แน่นอน

ต่อมา สภาวะหัวใจเต้นแรง รัว เร็ว เกิดขึ้นต่อ เกิดขึ้นนานบ้าง เร็วบ้าง ไม่แน่นอน

แล้วจะรู้สึกถึงอาการจิตเป็นสมาธิ(วูบหรือวาบ แล้วแต่จะเรียก) เกิดขึ้นต่อ จะเป็นแบบนั้น

ตอนนี้รู้แค่นี้ เห็นแต่ละสภาวะ เกิดขึ้นในแต่ละขณะ เป็นแบบนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ไปเห็นมานำมาให้ดูเล่นๆ คือเขาได้ยินเสียงหัวใจเต้นเหมือนกัน (ความจริงหัวใจก็เต้นของมันอยู่แล้ว แต่พอไ้ด้พอมีสมาธิเหมือนได้ยินชัด ซึ่งก็เป็นธรรมดา) ผ่านมา 10 ปียังจำได้ ลองอ่านดู


อ้างคำพูด:
เมื่อ10ปีที่แล้ว ได้ไปที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อนหน้านี้ ดิฉันไม่เคยรู้วิธีการนั่งสมาธิมาก่อนเลย นี่เป็นครั้งแรกที่มีพระสอนวิธีการนั่งสมาธิให้

ในเวลานั้นสภาพร่างกายและจิตใจของดิฉันแย่มาก ค่ะ มีความรู้สึกอยากตายเข้าเรื่องเลยนะคะ

เริ่มจากนั่งสมาธิ ดิฉันไม่ได้เพ่งดวงแก้วหรือองค์พระ หรือกสิณใดๆนะคะ

แต่ใช้วิธีเอาจิตมารวมอยู่บริเวณลิ้นปี่ รู้เข้าไปในความว่าง

ไม่ได้บริกรรมอะไรเลยค่ะ รู้เข้าไปในความว่างอย่างเดียว (ตอนนั้นมีกำลังใจในการนั่งสูงมาก รู้สึกไม่สนใจใยดีในร่างกาย เลยทำให้รู้สึกว่ากายกับจิตแยกออกจากกันได้ในไม่ช้า)

รู้ไปเรื่อยๆไม่นาน จิตรวมตัวเข้า รู้สึกว่าแขนขาหายไป ลมหายใจเบาขึ้น ตัวลอยสูงขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกมีความสุขมากๆ ลมหายใจเบามากๆ ความสุขหายไปตอนไหนไม่รู้

รู้แต่ว่าเห็นแสงสว่างสีขาว (ขณะนี้เหมือนกึ่งกลับกึ่งตื่นค่ะ)เป็นวงกลมเล็กๆแล้วก็ขยายใหญ่ขึ้นเป็นวง ซ้อนกันและจ้าขึ้นเรื่อยๆ พอจ้ามากถึงที่สุดแล้ว ก็รู้สึกตัว (แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้กำหนดต่อ ภาวนาต่อ เพราะจำอะไรไม่ได้เลย)

พอออกจากสมาธิ รู้สึกเหมือนความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ว่าที่นี่ที่ไหน เราเป็นใคร มาทำอะไรที่นี่ พอค่อยๆนึก ความจำก็กลับมาเหมือนเดิมค่ะ ที่ผ่านมาไม่กล้าถามใครกลัวบาป เพราะเป็นเรืองที่เชื่อยาก อยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่า สิ่งที่ดิฉันได้ประสบมาคืออะไรเหรอคะ

นั่งสมาธิครั้งต่อมากำหนดจิตที่หัวใจ ได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังมาก เสียงเลือดสูบฉีดดังชัดมากเลยค่ะ รู้ว่าระดับขณิกสมาธิ

นั่งครั้งไหนๆกำลังใจไม่เท่าครั้งแรกเลยค่ะ ช่วงนี้เว้นมานานเลยไม่ค่อยได้นั่งอีก





จิตวิจิตร (ธรรมชาติวิจิตร) ตามธรรมดาของมัน มันเป็นเช่นนั้นเอง แต่เราเพิ่งเคยประสบ พอประสบก็ว่าแปลกประหลาด ยึดติดมัน (สภาวะ) อยู่ คิดวนอยู่แค่นั้น ว่านี่อะไรหนอนี่อะไร จดหมายใครใครส่งถึงเทอ... :b32:

ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้ทุกสิ่งอย่างทุกสภาวะที่เกิดขึ้น ที่ประสบ ที่รู้สึก เป็นยังไง รู้สึกยังไง กำหนดยังงั้นตามที่มันเป็น ทุกๆครั้งทุกๆขณะ ....เมื่อถึงที่สุดแล้วก็จะเห็นว่าความรู้สึกนึกคิดจิตใจ (ธรรมชาติ) มันเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของมันตามธรรมดาของมัน เมื่อพอรู้เห็นความจริงเช่นนั้นแล้ว ก็พอรู้จักวางจิตใจ รู้จักมองชีวิต สภาพแวดล้อมอย่างผู้ศึกษาโลกและชีวิต เป็นอาหารสมอง ดูอย่างผู้ศึกษามันเรียนรู้มัน ไม่ใช่ดูไปๆชอบมั่งชังมั่งเฉยๆมั่ง


ใช้พูดกันบ่อยๆ "สภาวะ" เรียกเต็มว่า "สภาวธรรม" ตามตัวอักษรแปลว่า สิ่งที่เป็นภาวะของมันเอง คือ มันเป็นของมันเอง ไม่มีผู้ดลบันดาลให้มันเป็น เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน

ตัวอย่างก็ที่เขาประสบด้วยตนเองขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ เช่นที่ว่า

อ้างคำพูด:
รู้สึกว่าแขนขาหายไป ลมหายใจเบาขึ้น ตัวลอยสูงขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกมีความสุขมากๆ ลมหายใจเบามากๆ ความสุขหายไปตอนไหนไม่รู้ .....รู้แต่ว่าเห็นแสงสว่างสีขาว (ขณะนี้เหมือนกึ่งกลับกึ่งตื่นค่ะ) เป็นวงกลมเล็กๆแล้วก็ขยายใหญ่ขึ้นเป็นวง ซ้อนกันและจ้าขึ้นเรื่อยๆ พอจ้ามากถึงที่สุดแล้ว ก็รู้สึกตัว.....ออกจากสมาธิ รู้สึกเหมือนความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ว่าที่นี่ที่ไหน เราเป็นใคร มาทำอะไรที่นี่ พอค่อยๆนึก ความจำก็กลับมาเหมือนเดิม.....


ที่เขาเล่าตรงอ้างอิงมาเนี่ย ผู้ไม่เคยมนสิการ หรือไม่เคยภาวนา หรือไม่เคยปฏิบัติเนี่ย จะมองไม่ออกเลย


นั่นแหละเรียกว่า สภาวธรรม สิ่งที่เป็นภาวะของมันเอง มันเป็นของมันเอง มันเป็นเช่นนั้นเอง ซึ่งไม่มีผู้ดลบันดาล มันเป็นตามเหตุปัจจัยของมัน ซึ่งมันจะเปลี่ยนแปรเรื่อยๆ ไม่่คงที่ ผู้ปฏิบัติต้องตามดูรู้ทันมันทุกๆขณะ


ข้อความสีแดง เขาตามไม่ทันปัจจุบันขณะแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2013, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างหนึ่ง


อ้างคำพูด:
ขอถามสภาวธรรม ที่เกิดหน่อยครับว่าคืออะไร และการเดินทาง วิธีปฏิบัติต่อยอดครับ


1 ลมหายใจ หาย
- หายใจไปๆ ลมเริ่มเบาลงๆ ละเอียดๆ จนลมหายใจหาย
(เลยอุทานในใจว่า อ้าวเฮ้ย ! ลมหายๆ ... - _-' )
แล้วก็หายใจต่อทั้งๆ ที่ไม่มีลม
เป็นช่วงประมาณ 10 วินาทีที่ลมหาย .... ลมก็ค่อยๆ กลับมารับรู้ต่อ


2 กายหายใจได้เอง
- เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกับ ลมหายใจหาย
พอลมละเอียดๆ ก็เริ่มเห็นชัดว่า ร่างกายมันค่อยๆ เคลื่อนขึ้นลงๆ ได้เอง
จนกระทั่งเห็นชัดว่า ร่างกายมันหายใจเองชัดมาก ...... แล้วมีการรับรู้ว่า มันหายใจได้เอง
(อุทานอีกแล้ว ว่า เฮ้ย ! มันหายใจได้เองนี่หว่า )
เห็นมันหายใจได้เองแบบชัดมาก ซัก 10 วิ ก็ค่อยเริ่มหายใจเองแบบเบาๆ


3 สุขภายใน
- เหตุการณ์หลัง ลมหาย และ หายใจได้เอง
ก็ออกมาเดิน ก็รู้สึกว่า มันมีความสุข มีความพอใจในตัวเอง เบิกบาน ไม่ซึม โล่งโปร่งเบา เหมือนจะเดินยิ้มๆ
(มีแวบนึงผ่านกลุ่มผู้ปฏิบัติ ก็คิดว่า "พวกแกดูสิ ชั้นได้สภาวะดี ยิ้มไม่หุบเลย"
.... แวบก็รู้คิดถึงจุดนี้ แล้วก็กลับมาดูตัวเองต่อ)

- พอมานั่งดื่มน้ำ เห็นไอ่เก๋ายนั่งอยู่ข้าง (ไอ่เก๋า นักภาวนาที่เราไม่ชอบ เพราะเค้าเดินเสียงดัง ทำไรพึบพับๆ )
เห็นจิตมันไม่ชอบแค่แวบเดียว แล้วก็กลับมาอยู่กับความพอใจในตัวเอง

- รู้สึกตัวแบบไม่ต้อง รู้สึกเลย เหมือนสติมันทำงานเอง กลับมาดูกายใจได้ไวตลอดเลย

- พอกลับมาที่ห้อง ส่องกระจก เห็นหน้าตัวเองมันยิ้มเอง หุบปากไม่ได้อะ : )


4 น้ำตาตก
- พอเข้าห้องโถงปฏิบัติ เราก็เริ่มนั่งภาวนา
พอมีเสียงสวดนำจากธรรมาจารย์โกเอ็นก้า แค่ 3 - 4 วิ
น้ำตาเราร่วงเผาะๆ นานเป็นนาทีเลย

ก็เลยดูระหว่าง "ความอยากอินในสภาวะ กับ การกลั้นน้ำตาไว้ (เราก็กลัวอายคนอื่นเหมือนกัน) "
เห็นความเป็นกลางๆ แต่ปีติ น้ำตา มันก็ยังทำงานอยู่ครับ




เขาถามว่า สภาวธรรมคืออะไร ถ้าเข้าใจภาษาของเขา (บาลี) บ้างจะไม่ถามอย่างนี้

ก่อนหน้าบอกว่า สภาวธรรม ได้แก่สิ่งที่มีภาวะของมันเอง ก็ที่ตนประสบนั่นๆแหละ เรียกสภาวธรรม

ถามอีกว่า จะปฏิบัติต่อยอดยังไง ตอบ ไม่ต้องไปต่อเติมอะไรมัน เราต่อมันไม่ไ้ด้ ต้องรู้ตามที่มันเป็นของมัน .... ขณะนั้นๆ รู้สึกยังไง เป็นยังไง ก็กำหนดตามที่เป็น ตามที่รู้สึกนั่น ถ้าจะเรียกว่าต่อยอดก็ต่ออย่างนี้ จะเรียกการเดินทาง ก็ต้องเดินอย่างว่านี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 15:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




067dsq_resize.jpg
067dsq_resize.jpg [ 28.99 KiB | เปิดดู 5146 ครั้ง ]
walaiporn เขียน:
ความรู้ชัดในสภาวะ/สิ่งที่เกิดขึ้น

เรื่องราวของสภาวะ หากไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เป็นความปกติ ของเหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

สภาวะอุปกิเลส ย่อมเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เหตุจาก ความยึดมั่นถือมั่น ในสภาวะที่เกิดขึ้น

การสอนของแต่ละสำนัก แตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย

บางสำนักบอกว่า อาการแบบนี้นะ ถ้ารู้เห็นเนืองๆ เช่น
ขณะหายใจเข้า รู้สึกได้ถึงอาการท้องพองขึ้น ขณะหายใจออก รู้สึกได้ถึง อาการท้องยุบลง

รู้ว่า เกิดคนละขณะกัน รู้เห็นแบบนี้เนืองๆ เป็นจุลโสดาบันนะ คือ ตายไป ไปสู่สุคติอย่างแน่นอน
นี่เป็นอุบายในการสอน ให้เจริญกายาคสติ เมื่อถึงเวลาตาย จะได้ตายแบบมีสติ

หากขณะที่ หายใจเข้าออก แม้อยู่ในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน หรือกระทำกิจอันใดอยู่ก็ตาม เห็นเนืองๆได้แบบนี้

บ่งบอกถึง จิตรู้ชัดอยู่ภายในกายและจิต จะไปทุคติได้อย่างไร ย่อมไปสุคติอย่างแน่นอน

อาการหัวใจเต้น บางสำนักบอกว่า ให้กำหนดรู้ไปตามอาการที่เกิดขึ้น คือ รู้หนอๆๆๆๆ
จนกว่าจะมารู้ชัดในอาการท้องพองยุบ ที่เกิดขึ้นแทน หรือกำหนดรู้ไปตามความเป็นจริง ของสิ่งที่เกิดขึ้น



เรื่องอาการหัวใจเต้น หากสภาวะนี้เกิดขึ้นเนืองๆ คือ รู้เห็นเนืองๆ (ไม่ใช่เกิดแบบฟลุ๊คๆ แบบเกิดบางครั้ง เกิดบางขณะ)

เท่าที่วลัยพร ได้พบเจอกับตัวเองมา อาการหัวใจเต้น ที่เกิดขึ้นเนืองๆ
เป็นเสมือนตัวติดเบรค โลภะ โทสะ โมหะ ตัณหาความทะยานอยาก ที่กำลังเกิดขึ้น ให้ทุเลาลง

แทนที่จะทำให้เกิดการสร้างเหตุ ตามความรู้สึกนึกคิด ที่เกิดขึ้น ทันทีทันใด
เมื่อมารู้สึกที่อาการหัวใจเต้น ที่กำลังเกิดขึ้นแทน

จิตที่กำลังจะถูก โลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำ เป็นแรงหนุน ให้เกิดการสร้างเหตุ
อาการหัวใจเต้น จะช่วยลดแรงเสียดทาน จากกิเลส ที่กำลังเกิดขึ้น

เช่น เวลาไปซื้อของ กำลังหยิบของที่จะซื้อ

มีอาการหัวใจเต้นขึ้นมา มือที่กำลังจะหยิบ จะหยุดชะงัก
พร้อมกับเกิดการคิดพิจรณาขึ้นมาว่า ที่จะซื้อนี่ จำเป็นมากไหม

คือ เป็นตัวถ่วง ในการตัดสินใจซื้อ ทำให้แทนที่จะซื้อทันที
กลับมาเป็นการใคร่ครวญถึงความจำเป็นก่อนที่จะซื้อ

แม้กระทั่ง เวลาโกรธ ก็จะรู้ชัดในอาการหัวใจที่เต้นแรง รัว เร็ว
ที่มีเกิดเพิ่มคู่กันกับความรู้สึกโกรธ คือ การสูบฉีดของโลหิต และอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับกาย

เมื่อรู้ชัดอยู่ตามอาการที่เกิดขึ้น ความรู้สึกโกรธ ที่เกิดขึ้น ย่อมถูกลดแรงเสียดทานลง
กลายเป็นแค่ รู้สึกไม่ชอบใจ ไม่มีการปรุงแต่งต่อ

ถ้าเป็นความโกรธ จะมีการปรุงแต่งต่อถึงขั้นกล่าว สาปแช่งอีกฝ่าย

นี่คือ คุณประโยชน์ของ อาการหัวใจเต้น ที่ได้เจอมาด้วยตนเอง

การเต้นของหัวใจ ในแต่ละครั้ง เท่าที่สังเกตุมา สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก

อาการหัวใจเต้น จะเกิดที่หัวใจ ลิ้นปี่ และตามจุดชีพจรต่างๆทั่วร่างกาย
การเต้นแต่ละครั้ง จะไม่เหมือนกัน คือ

ขณะยืน เดิน นั่ง ทำงานอยู่ แรกๆจะสงบเงียบก่อน
สักพัก จะรู้ชัดในอาการเต้นของหัวใจแรง รัว เร็ว เหมือนเด็กแรกเกิด
(เคยลองนับจังหวะการเต้นดู รู้สึกไปตามเสียงที่เกิดขึ้น โดยไม่ต้องใช้นิ้วแตะชีพจร)

บางครั้ง นั่งกินข้าวอยู่ อาการหัวใจเต้นจะเกิดขึ้นเอง แรง รัว เร็ว

เวลาเข้าห้องน้ำก็เป็น จะฉี่ จะถ่าย ก็เกิดขึ้นเอง

เวลานอน จะเกิดขึ้นก่อนสักพัก จนกระทั่ง รู้สึกวูบ คือ กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น จนกระทั่งหลับไป

อาการหัวใจเต้นนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด หรือ ทำกิจอะไรอยู่ก็ตาม
อาการหัวใจเต้นแรง รัว เร็ว จะเกิดสลับกับอาการหัวใจเต้น ที่เต้นปกติ เนิบๆ ไม่มีแรง รัว เร็ว


ซึ่ง วลัยพร มองว่า ก็เกิดเป็นปกติ เมือนสภาวะอื่นๆ
ที่รู้แบบนี้ เพราะ เกิดขึ้นเนืองๆ จนรู้สึกว่า เป็นเรื่องปกติ
ไม่ใช่เกิดแบบฟลุ๊คๆๆ อาจทำให้เกิดความสงสัยได้


วลัยพร ยังเคยคุยกับเจ้านายเลยว่า ดีนะ ยิ่งทำความเพียร การทำงานของหัวใจ ยิ่งเหมือนเด็กแรกเกิด(แข็งแรง)


ที่สำคัญ ช่วยทำให้รู้จักจับจ่าย เพราะมีเบรค(หัวใจเต้นแรง รัว เร็ว) มาช่วยในลดแรง ความทะยานอยาก ในการตัดสินใจซื้อ

และเวลาโกรธ มีตัวช่วยเบรค ทำให้ความรู้สึกโกรธ ลดกำลังลง เหลือแค่ ความรู้สึก ไม่พอใจ เกิดขึ้นแทน

เมื่อรู้สึกแค่ไม่พอใจ การผูกใจเจ็บ หรือ อาฆาต พยาบาทจองเวร อีกฝ่ายจึงไม่มี

เมื่อไม่มี คำกล่าวสาปแช่ง อีกฝ่าย จึงไม่มี



สำหรับอาการหัวใจเต้น ที่แรง รัว เร็ว เกิดขึ้นเนืองๆ แบบนี้

เท่าที่สังเกตุเห็นอยู่อย่างหนึ่งคือ จะรู้สึกถึง ความสงบ ที่เกิดขึ้นก่อน เกิดขึ้นนานบ้าง เร็วบ้าง ไม่แน่นอน

ต่อมา สภาวะหัวใจเต้นแรง รัว เร็ว เกิดขึ้นต่อ เกิดขึ้นนานบ้าง เร็วบ้าง ไม่แน่นอน

แล้วจะรู้สึกถึงอาการจิตเป็นสมาธิ(วูบหรือวาบ แล้วแต่จะเรียก) เกิดขึ้นต่อ จะเป็นแบบนั้น

ตอนนี้รู้แค่นี้ เห็นแต่ละสภาวะ เกิดขึ้นในแต่ละขณะ เป็นแบบนี้

:b8:
อนุโมทนาสาธุกับกรรมดีในอดีตที่ส่งมาให้คุณวลัยพรเป็นผู้สามารถ รู้ชัดลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร ได้อย่างรวดเร็วเป็นปกติ และได้ประโยชน์จากลมหายใจ หัวใจเต้นและชีพจรด้วย

ไม่ได้มายกยอจนทำให้คุณวลัยพรเอียน เป็นการวิจารณ์ไปตามเนื้อผ้า คือเรื่องราวที่คุณวลัยพรเล่าประสบการณ์ให้ฟัง


แต่โปรดอย่าได้คิดว่า การสามารถสัมผัสรู้ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร หรือแม้กระทั้งกระแสสั่นสะเทือนในร่างกายได้อย่างรวดเร็วและยาวนานนี้ จะทำกันได้ทุกๆคน ลองเช็คดูกับเพื่อนฝูงคนข้างเคียงนะครับ

ผมเคยทดสอบกับคนจำนวนมากได้พบว่า ประสิทธิภาพในการทำความสงบจนสามารถเข้าไปรับรู้ เครื่องชี้วัดระดับสมาธิ สติ ปัญญา ทั้ง 5 อย่างนั้นมีแตกต่างกันในผู้คนเหล่านั้น ส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ในทันที ต้องฝึกฝนกันอยู่นานจึงจะสัมผัสรู้ได้ ใน 4 ระดับต้น คือ ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร กระแสสั่นสะเทือนในร่างกายได้เร็วและทรงอยู่ได้นานในแต่ละระดับ ส่วนสังขารุเปกขาญาณนั้นเป็นกรณีพิเศษเป็นเฉพาะรายไป

ในการทดสอบจำนวนหลายๆครั้งได้พบว่า มีบุคคลที่โผล่มามีความสามารพิเศษกว่าเพื่อนคนอื่นๆ คือรู้เร็วทั้ง 4 ระดับต้นภายในเวลาไม่ถึง 3 นาที คนประเภทนี้เวลามาศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเขาจะเข้าใจและรู้ธรรมอย่างรวดเร็วมากเพราะภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเจริญขึ้นไปอย่างสอดคล้องได้สัดได้ส่วนกัน

อนึ่งความรู้ในเรื่องที่ไม่ค่อยได้พบเห็นในคัมภีร์อย่างนี้ ไม่ใช่เป็นวิธีพิเศษอะไร ที่จะให้ถึงมรรคถึงผลอย่างที่คุณโฮฮับและหลายท่านเข้าใจ

มันเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในหลายทางเลือก เป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเจริญมรรค เจริญวิปัสสนาภาวนาของเรา เท่านั้น เป็นประสบการณ์จริงจากผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งได้สังเกต พิจารณา วิเคราะห์ วิจัยออกมา แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง จึงโปรดอย่าได้ตื่นเต้น ตื่นตูมตีความวิตกกังวลออกไปกันมากมายอย่างเช่นที่คุณโฮฮับกำลังเป็นอยู่นะครับ

มันคือ 1 ความรู้ และหนึ่งทางเลือกจากประสบการณ์จริง

การปฏิบัติธรรมดตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายก็คงยังต้องดำเนินไปตามโอวาทปาติโมกข์ อริยสัจ 4 สติปัฏฐาน 4 มรรค 8 ปั่จจุบันอารมณ์ วิปัสสนาภาวนา อันรวมลงในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ นั้นเอง

smiley
onion onion onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 16:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

การแนะนำให้ผู้คนหันมาสนใจสังเกตพิจารณาปรากฏการณ์หรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงใน รูป - นาม กาย - ใจ
มันจะผิดไปจากธรรมะที่พระพุทธเจ้าตรงไหน ก็อยากจะทราบเหมือนกัน เร่งพูดไวๆนะโฮฮับ อย่าอ้ำอึ้ง อมภูมิอยู่ให้มันนานนัก

กลับไปศึกษาเรื่องกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่แปลเป็นไทยอย่างถูกต้อง ให้ลึกซึ้งมากๆหน่อยนะครับแล้วค่อยมาตอบ

ดูตรงนี้ให้มากๆ

กาเยกายานุปัสสีวิหาระติ...........

:b4: :b4:


การแนะนำให้ผู้คนสนใจพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริงในรูปนาม กายใจ....
.การแนะนำนั้นจะต้องเป็นการแนะนำ ที่ถูกต้องตามธรรม
ไม่ใช่การแนะนำที่ผิดเพี้ยน แนะนำอย่างคนเป็นโมฆะบุรุษ
นั้นก็คือแนะนำในสิ่งที่สวนทางกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน


สิ่งที่มันผิดทำนองคลองธรรม เอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาทำปูยี่ปูยำ นั้นก็คือ....

อันดับแรก โมฆะบุรุษมาแนะนำให้ชาวบ้าน นั่งสมาธิจนจิตใจสงบ
แล้วจะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นตอดๆๆ ที่หนักไปกว่านั้นบอกว่า การทำสมาธิจะทำให้
ผู้ทำหยุดหายใจได้เป็นเวลานานๆ....สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่อง เพ้อเจ้อนอกลู่นอกธรรม

:b12: :b12: :b12:
โฮฮับยังไม่ได้ไปดูรายละเอียดและความลึกซึ่งของขอ้ความที่ให้ไปดูมาเลยแล้วมาด่วนตัดสินความด้วยความปฏิฆะค้างคาในใจไม่ยอมแพ้ ไปดูมาหรือยัง พร้อมคำแปล และเข้าใจความหมายไหม?อธิบาย

"กาเยกายานุปัสสีวิหาระติ.........."

ถ้าเข้าใจและอธิบายได้ถูกต้องแล้ว โฮฮับจะไม่สงสัยเห็นผิดในเรื่องที่อโศกะนำมาบอกเล่าเลย และไม่กล้ากล่าวตู่ว่าอโศกะสอนนอกธรรมด้วย

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิจนจิตใจสงบ
แล้วจะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นตอดๆๆ ที่หนักไปกว่านั้นบอกว่า การทำสมาธิจะทำให้
ผู้ทำหยุดหายใจได้เป็นเวลานานๆ..


นี่เป็นคำพูดที่โฮฮับนำมาบิดเบือน เพราะการจะไปสัมผัสรู้ ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร กระแสสั่นสะเทือนในร่างกายนั้น เพียงน้อมจิตให้สงบลงแล้วตั้งสติปัญญา สังเกต พิจารณาเข้าไปในกาย ถ้าสงบถึงระดับก็จะรับรู้ได้ถึงปฏิกิริยาทั้ง 4 นั้น ตามลำดับ

อโศกะได้ชี้เน้นว่า ใครสามารถทำความสงบของจิตไปจนถึงระดับที่รู้ชีพจรได้ชัดและต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็ว เขาผู้นั้นจะมีจิตควรแก่งานเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะ ความรู้ รูป รู้นาม จะแยกออกจากกัน ผู้ไปรู้คือ สติและปัญญา

นี่ก็คือทางเดินของนักภาวนาวิปัสสนาทั้งหลายที่จะต้องได้เดินผ่าน

ด่านแรกของวิปัสสนาปัญญา คือ "นาม - รูป ปริเฉทญาณ การที่รูป นามแยกรู้จากกันเป็นคนละอัน หลังจากนั้น การสังเกต พิจารณา คนคว้า วิจัย พิสูจน์ธรรมสภาวะ ที่เกิดขึ้น ในรูปนาม กาย ใจ จึงจะสามารถเกิดขึ้นได้

เรื่องอย่างนี้มิได้นอกคำสอนของพระพุทธเจ้าเลย แต่ศัพท์บัญญัติที่ใช้อาจฟังแปลกเพราะเป็นคำพูดสมัยใหม่ ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เท่านั้นเอง แต่เมื่อวิเคราะห์ตามธรรมแล้วเป็นสภาวธรรมอันเดียวกัน

ดังนั้นคำพูดที่ว่า เพ้อเจ้อ นอกลู่นอกทางนั้นควรจะคืนมาเป็นของโฮฮับเสียมากว่านะครับ เพราะชอบอธิบายอะไรต่อมิอะไรเสียยืดยาว แทรกปิสุณาวาจา สัปปัปผผลาวาจาหรือแม้กระทั่งผรุสวาจาเป็นระยะๆตลอดทาง ลองย้อนกลับไปดูเรื่องที่ตนเองเขียนทั้งหมดด้วยนะครับ

เรื่องทำสมาธิ หรือเจริญวิปัสสนาถึงที่สุดแล้ว สามารถอยู่ได้โดยไม่หายใจเป็นอย่างไร ได้อธิบายไว้แล้วในกระทู้หลัก

:b34: :b34: :b34:
:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2013, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


เรื่องทำสมาธิ หรือเจริญวิปัสสนาถึงที่สุดแล้ว สามารถอยู่ได้โดยไม่หายใจเป็นอย่างไร ได้อธิบายไว้แล้วในกระทู้หลัก



กระทู้โน้นไม่ได้ถาม ขอถามตรงนี้นิดนึ่ง การทำสมาธิเจริญปัญญาเนี่ย ทำเพื่อไม่หายใจกันหรือครับ :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ธ.ค. 2013, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

โฮฮับยังไม่ได้ไปดูรายละเอียดและความลึกซึ่งของขอ้ความที่ให้ไปดูมาเลยแล้วมาด่วนตัดสินความด้วยความปฏิฆะค้างคาในใจไม่ยอมแพ้ ไปดูมาหรือยัง พร้อมคำแปล และเข้าใจความหมายไหม?อธิบาย

"กาเยกายานุปัสสีวิหาระติ.........."

ถ้าเข้าใจและอธิบายได้ถูกต้องแล้ว โฮฮับจะไม่สงสัยเห็นผิดในเรื่องที่อโศกะนำมาบอกเล่าเลย และไม่กล้ากล่าวตู่ว่าอโศกะสอนนอกธรรมด้วย


คุณนี่ไม่มีสมาธิในการพูดเลยครับ จะให้ผมไปดูคำแปล
ถ้าผมดูผมก็ต้องเข้าใจไปตามทิฐิของผม มันเป็นหน้าที่ของคุณ ที่จะต้องบอกกล่าวว่า
บาลีที่คุณเอามาอ้างหมายถึงอะไร ไม่ใช่มาวางแหม่ะจินตนาการเองหมด แล้วมาบังคับให้ผม
เห็นคล้อยไปตามคุณ สติคุณยังดีอยู่หรือเปล่าครับ

.....คุณโสกะ คุณไม่มีสติในการพิจารณาธรรมเลยครับ หลักการง่ายๆแค่นี้คุณยังไม่รู้ไม่เข้าใจ
คุณโสกะครับคุณรู้หรือเปล่าว่า.....คุณก็ตะเภาเดียวกับอเมชิ่ง(พี่หื่น) ขานั้นชอบอ้าง"พุทธวจน"
แต่่พอขอดูบทพุทธวจนก็หามาอ้างอิงไม่ได้ นี่ขนาดขอแค่พุทธวจน ถ้าขอคำอธิบายด้วยล่ะก็
อเมชิ่งได้เปลี่ยนล็อกอินอีกหนแน่ๆ (นี่สงสัยเปลี่ยนมาแล้วก็ได้) :b32:

asoka เขียน:
อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิจนจิตใจสงบ
แล้วจะได้ยินเสียงของหัวใจเต้นตอดๆๆ ที่หนักไปกว่านั้นบอกว่า การทำสมาธิจะทำให้
ผู้ทำหยุดหายใจได้เป็นเวลานานๆ..


นี่เป็นคำพูดที่โฮฮับนำมาบิดเบือน เพราะการจะไปสัมผัสรู้ ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจร กระแสสั่นสะเทือนในร่างกายนั้น เพียงน้อมจิตให้สงบลงแล้วตั้งสติปัญญา สังเกต พิจารณาเข้าไปในกาย ถ้าสงบถึงระดับก็จะรับรู้ได้ถึงปฏิกิริยาทั้ง 4 นั้น ตามลำดับ

อโศกะได้ชี้เน้นว่า ใครสามารถทำความสงบของจิตไปจนถึงระดับที่รู้ชีพจรได้ชัดและต่อเนื่องได้อย่างรวดเร็ว เขาผู้นั้นจะมีจิตควรแก่งานเจริญวิปัสสนาภาวนา เพราะ ความรู้ รูป รู้นาม จะแยกออกจากกัน ผู้ไปรู้คือ สติและปัญญา

นี่ก็คือทางเดินของนักภาวนาวิปัสสนาทั้งหลายที่จะต้องได้เดินผ่าน


จะบอกให้ครับว่า...มันเลอะเทอะแต่ต้นแล้ว ทุกคำพูดที่คุณเอามาแสดงมันประจานตัวเอง
คุณไม่รู้หรอก ที่คุณบอกว่าเป็นการปฏิบัติ ทั้งหมดมันเป็นเพียง การจินตนาการเอาเอง
เพราะมันไม่มีในหลักคำสอน มิหน่ำซ้ำมันยังเป็นอวิชา มันไปปรุงแต่งกิเลส

สรุปก็คือ มันไม่ใช่หลักการปฏิบัติที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการภาวนาในหลักของ ฌาน
หรือจะเป็นวิปัสสนาญาน

จิตสงบของคุณมันเป็นอย่างไร จิตสงบแล้วทำไม่ถึงได้ยินการเต้นของหัวใจ
เพราะจิตมันยังไม่สงบ มันถึงได้ไปปรุงแต่งให้เกิดการเต้นของหัวใจ ให้เป็นไปในลักษณะต่างๆ
ถ้าจะกล่าวโดยฌาน มันเป็นเพียง วิตก วิจารณ์ กล่าวโดยรวมก็คือกำลังเพ่งหรือบริกรรม
จิตมันยังไม่สงบสักนิด พร่ำเพ้อออกมาได้สาระพัดสาระเพ...................

โสกะผมจะบอกคุณให้ ในหลักของวิปัสสนาญาน
ไม่มีสิ่งที่คุณกล่าว วิปัสสนามีแตก...จิตที่ตั้งมั่น

ถ้าเป็นหลักของการทำฌาน.....จิตสงบหมายถึง เอกัตคตารมณ์
นั้นก็คือ จิตอยู่ในอารมณ์ว่าง ไม่รู้การทำงานของกาย ยิ่งถ้าเป็นการเต้นของหัวใจยิ่งไม่ใช่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 65 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร