วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 11:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 07:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นพร้อมกันได้หลายๆ พระองค์
แต่สัตว์โลกก็ไม่สามารถได้บรรลุตามได้
และท่านก็ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้สัตว์เดินตามรอยได้
แต่ละพระองค์ก็ต้องสร้างบารมีมา ๒ อสงไขยกับแสนกัปป์
จึงจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ ก็นับว่านานมาก

ท่านเคยสงสัยไหมว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเพื่ออะไร
ท่านมีคุณกับสัตว์โลกบ้างไหม

ใคร่ขอความกรุณาชี้แจงจากผู้รู้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 08:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอาจจะเกิดมา เพียงเพื่อประโยชน์ตัวท่าน ก็เป็นได้

ทำกิจของท่านให้เสร็จ แล้วก็จบ

เช่นเดียวกับเรา ทำกิจของเราให้เสร็จซะก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นพร้อมกันได้หลายๆ พระองค์
แต่สัตว์โลกก็ไม่สามารถได้บรรลุตามได้
และท่านก็ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้สัตว์เดินตามรอยได้
แต่ละพระองค์ก็ต้องสร้างบารมีมา ๒ อสงไขยกับแสนกัปป์
จึงจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ ก็นับว่านานมาก

ท่านเคยสงสัยไหมว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเพื่ออะไร
ท่านมีคุณกับสัตว์โลกบ้างไหม

ใคร่ขอความกรุณาชี้แจงจากผู้รู้ครับ


ธรรมมา เขียน:
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเพื่ออะไร


เพื่ออะไรล่ะ

ธรรมมา เขียน:
ท่านมีคุณกับสัตว์โลกบ้างไหม


นั่นสิ่ ไหนลองบอกมาซิ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นส่วนตัว ถ้าบอกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มีคุนกับสัตว์โลก อันนี้เป็นความเห็นผิด ท่านบำเพ็ญบารมี 10 ท่านย่อมมีคุณต่อสัตว์โลก แต่ท่านเป็นคนชอบสันโดษ เหมือนในพระไตรปิฎกบอกว่า ท่องไปเช่นเดียวกับนอแรด หมายถึงนอแรดมีนอเดียว ท่องไปเพียงลำพัง ท่านไม่ต้องการเป็นอาจารย์ผู้ใดไม่ต้องการให้ใครนับถือท่านเลย แต่ท่านมีเมตตาจิตต่อสัตว์โลกเช่นกันค่ะ smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


บทว่า เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหา.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากราคะแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโทสะแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะปราศจากโมหะแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะหมดกิเลสแน่นอน.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ดำเนินไปผู้เดียว.
ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะการบรรพชา อย่างไร?
คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตัดปลิโพธกังวลในการครองเรือนเสียทั้งหมด ตัดปลิโพธกังวลในลูกเมีย ตัดปลิโพธกังวลในญาติมิตร อำมาตย์ และการสั่งสม ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เข้าถึงความไม่มีกังวล ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้ไป เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงชื่อว่าผู้เดียวเพราะการบรรพชาด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อน อย่างไร?
คือท่านเป็นผู้บวชอย่างนั้นอยู่ผู้เดียว เสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด อันเป็นอรัญ ป่าและไหล่เขา ไม่มีเสียงอึกทึก ปราศจากลมอันเกิดจากชน อยู่โดดเดี่ยวไกลจากพวกมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น ท่านยืนคนเดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว นอนคนเดียว ผู้เดียวเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ผู้เดียวกลับมา ผู้เดียวนั่งในที่ลับ ผู้เดียวเดินจงกรม ผู้เดียวเที่ยวไป คืออยู่ เป็นอยู่ เป็นไป คุ้มครอง ไป ให้เป็นไป ท่านชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าไม่มีเพื่อนอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหา เป็นอย่างไร?
คือท่านผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีใจสงบอยู่ เริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ กำจัดมารพร้อมทั้งเสนามารแล้วละบรรเทา ทำให้พินาศไป ทำให้ถึงการไม่เกิดอีกต่อไป ซึ่งตัณหาอันมีข่ายคือตัณหาอันฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ.

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาวนาน
ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารซึ่งมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นโดย
ประการอื่น.
ภิกษุรู้โทษข้อนี้ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น มีสติ
พึงเว้นโดยสิ้นเชิง ซึ่งตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะอรรถว่าละตัณหาด้วยประการอย่างนี้.


พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เป็นอย่างไร?
คือพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าปราศจากราคะโดยส่วนเดียว เพราะละราคะได้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว เพราะละโทสะได้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะละโมหะได้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าผู้เดียว. ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะละกิเลสทั้งหลายได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าผู้เดียว.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นชื่อว่าผู้เดียว เพราะปราศจากราคะโดยส่วนเดียวด้วยประการอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ไปสำหรับคนผู้เดียว เป็นอย่างไร?
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ท่านเรียกว่าเอกายนมรรค ทางเป็นที่ไปสำหรับคนผู้เดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความสิ้นชาติและที่สุดแห่ง
ชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ทรงรู้ชัดทางเป็นที่
ไปสำหรับคนผู้เดียว ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามโอฆะไปแล้ว
ด้วยทางนี้ ในอนาคตจักข้ามด้วยทางนี้ และปัจจุบันนี้ก็กำลัง
ข้ามโอฆะด้วยทางนี้.


พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะดำเนินสู่ทางเป็นที่ไปสำหรับคนผู้เดียวด้วยประการอย่างนี้.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว
เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว เป็นอย่างไร?

ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ. ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นตรัสรู้ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
ตรัสรู้ว่าสังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ตรัสรู้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา.

ตรัสรู้ว่าสังขารทั้งหลายมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าวิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่านามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าสฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าเวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าอุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ตรัสรู้ว่าชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย.

ตรัสรู้ว่าสังขารดับเพราะอวิชชาดับ ตรัสรู้ว่าวิญญาณดับเพราะสังขารดับ ฯลฯ ตรัสรู้ว่าชาติดับเพราะภพดับ ตรัสรู้ว่าชรามรณะดับ เพราะชาติดับ.
ตรัสรู้ว่านี้ทุกข์ ตรัสรู้ว่านี้ทุกขสมุทัย ตรัสรู้ว่านี้ทุกขนิโรธ ตรัสรู้ว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ตรัสรู้ว่าเหล่านี้อาสวะ ตรัสรู้ว่านี้อาสวสมุทัย ฯลฯ ตรัสรู้ว่านี้ปฏิปทา.
ตรัสรู้ว่าธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ว่าธรรมเหล่านี้ควรละ ตรัสรู้ว่าธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ว่าธรรมเหล่านี้ควรเจริญ
ตรัสรู้การเกิดการดับไป ความเพลิดเพลิน โทษและการสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตรัสรู้การเกิด ฯลฯ การสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตรัสรู้การเกิด การดับไป ความเพลิดเพลินโทษและการสลัดออกแห่งมหาภูตรูป ๔
ตรัสรู้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา.
อีกอย่างหนึ่ง ตรัสรู้ ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้เฉพาะ ตรัสรู้พร้อม บรรลุ ถูกต้อง กระทำให้แจ้ง ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ ควรรู้ตาม ควรรู้เฉพาะ ควรรู้ พร้อม ควรบรรลุ ควรถูกต้อง ควรทำให้แจ้งทั้งหมดนั้น ด้วยปัจเจกโพธิญาณนั้น.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าผู้เดียว เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระปัจเจกสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมผู้เดียว อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า จเร ความว่า จริยา ๘ คือ อิริยาบถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติจริยา ๑ และโลกัตถจริยา ๑.
จริยาในอิริยาบถทั้ง ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา.
จริยาในอายตนะภายใน ๖ และภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา.
จริยาในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ชื่อว่าสติจริยา.
จริยาในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา.
จริยาในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา.
จริยาในอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยา.
จริยาในสามัญญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา.
จริยาในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าบางส่วน ในพระสาวกทั้งหลายบางส่วน ชื่อว่าโลกัตถจริยา.
---------------------------------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
๒. ปัจเจกพุทธาปทาน
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 32&i=2&p=1

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมมา เขียน:
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเพื่ออะไร
ท่านมีคุณกับสัตว์โลกบ้างไหม

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในกาม. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อปวิเวก เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในการคลุกคลี. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในโลภะ. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในโทสะ. ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่หลง เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโมหะ และผู้มีอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในภพทั้งปวง.

สุเมธบัณฑิตผู้โพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยเหล่านั้น.
ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร?
ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานถึงสองอสงไขยและแสนกัป ต่ำกว่านั้นไม่ควร พึงทราบเหตุในการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อนนั่นแล. ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า โดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ พึงปรารถนาสมบัติ ๕ ประการในการสร้างอภินิหาร.

จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง.
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระสาวกทั้งหลายควรนานเท่าไร.
ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง ควรนานหนึ่งอสงไขยและแสนกัป การปรารถนาเป็นพระอสีติมหาสาวกควรนานแสนกัป ความปรารถนาเป็นพระมารดาพระบิดา อุปัฏฐากและพระโอรสของพระพุทธเจ้า ควรนานแสนกัปเหมือนกัน ต่ำกว่านั้นไม่ควร เหตุในการปรารถนานั้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นเทียว.
ก็พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมดมีอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ ๒ อย่าง คือ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑ เท่านั้น.
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลายตลอดกาลมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยการปรารถนานี้ ด้วยอภินิหารนี้นั้นแลอย่างนี้ เมื่อจะทรงอุบัติในโลก ก็ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลคหบดี ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. ส่วนพระอัครสาวกทั้งหลายย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์เท่านั้น เหมือนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระพุทธเจ้าทั้งปวงย่อมไม่ทรงอุบัติในกัปกำลังเสื่อม ย่อมทรงอุบัติในกัปกำลังเจริญ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในกาลอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น. พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เองด้วย ทรงสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ด้วย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง แต่ไม่อาจสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ ย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ย่อมไม่แทงตลอดธรรมรส เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมไม่สามารถเพื่อจะยกโลกุตรธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้. การบรรลุธรรมย่อมมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน และเหมือนกับรสแห่งกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบรรลุธรรมทั้งหมดอันต่างโดยอิทธิ สมาบัติและปฏิสัมปทา แต่เพราะมีคุณพิเศษจึงต่ำกว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เหนือพระสาวกทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลเหล่าอื่นบรรพชา ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงทำความขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย หรือย่อมทำอุโบสถ ด้วยเหตุเพียงพูดว่า วันนี้ อุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสะ ในภูเขาคันธมาทน์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสการปรารถนาและอภินิหาร อันบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระอานนท์แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นๆ แล ผู้ถึงพร้อมด้วยการปรารถนานี้และอภินิหารนี้ จึงตรัสขัคควิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ.
นี้อุบัติแห่งขัคควิสาณสูตร เพราะอำนาจแห่งคำถาม โดยไม่แปลกกันก่อน.
--------------------------------------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค
ขัคควิสาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... i=296&p=1#คตปัจจาคตวัตร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 10:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนมัสการขอบคุณท่านพุทธฎีกา
ที่ให้ความกระจ่าง แต่ก็รู้สึกว่าจะไม่ค่อยตรงคำถามมากนัก
ท่านบำเพ็ญบารมีมานานท่านจะไม่มีความเมตตาต่อสัตว์โลกบ้างเชียวหรือ
เหมือนที่ท่านพุทธฎีกาว่า ท่านจะบำเพ็ญบารมีเฉพาะตนตามที่ท่านกล่าว
มิให้สัตว์โลกผู้มืดบอดเดินตามได้ จะดูเหมือนว่าท่านยังขาดความเมตตาต่อสัตว์โลกอยู่
สัตว์โลกจะไม่ได้รับประโยชน์จากท่านเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่บารมีนั้นก็ย่อมเปี่ยมล้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมมา เขียน:
ขอนมัสการขอบคุณท่านพุทธฎีกา
ที่ให้ความกระจ่าง แต่ก็รู้สึกว่าจะไม่ค่อยตรงคำถามมากนัก
ท่านบำเพ็ญบารมีมานานท่านจะไม่มีความเมตตาต่อสัตว์โลกบ้างเชียวหรือ
เหมือนที่ท่านพุทธฎีกาว่า ท่านจะบำเพ็ญบารมีเฉพาะตนตามที่ท่านกล่าว
มิให้สัตว์โลกผู้มืดบอดเดินตามได้ จะดูเหมือนว่าท่านยังขาดความเมตตาต่อสัตว์โลกอยู่
สัตว์โลกจะไม่ได้รับประโยชน์จากท่านเลยแม้แต่น้อย ทั้งที่บารมีนั้นก็ย่อมเปี่ยมล้น

[๖๘๙] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายในทิศ ๔
ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ครอบงำ
อันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

[๖๙๐] คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศ ๔ ในอุเทศว่า จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ
ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง
ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจ
ประกอบด้วยเมตตา เป็นจิตกว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน มีใจประกอบด้วย
กรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่
สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจ
ประกอบด้วยอุเบกขา เป็นจิตกว้างขวาง ถึงความเป็นใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน.

คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศ ๔ ไม่มีความขัดเคือง ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา จึงไม่มีความเกลียดชังสัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวัน
ตก ในทิศใต้ ในทิศเหนือ ในทิศอาคเณย์ ในทิศหรดี ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
เบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในทิศใหญ่ ในทิศน้อย เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา เพราะเป็นผู้เจริญ
มุทิตา เพราะเป็นผู้เจริญอุเบกขา จึงไม่มีความเกลียดชังสัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ฯลฯ
ในทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีปกติอยู่ตามสบายในทิศ ๔ ไม่มี
ความขัดเคือง.


[๖๙๑] คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้
สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีความได้ และไม่ถึง
ความแสวงหาผิด อันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง (ไม่ขวนขวาย) เมื่อได้
จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค
ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น. ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ในจีวรสันโดษนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ-
*เจ้านี้ ท่านกล่าวว่า ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่า เป็นวงศ์เลิศอันมีมาแต่โบราณ
สมัย. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ... เป็นผู้สันโดษ
ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ... เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้งกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และไม่ถึงความแสวงหาผิด
อันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เมื่อไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง
เมื่อได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญา
เป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัช-
*บริขารตามมีตามได้นั้น. ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว
มีสติอยู่ ในคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ท่านกล่าวว่าดำรง
อยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศ อันมีมาแต่โบราณสมัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
-------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r ... 1%C3%D1%A1

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 15:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue tongue tongue
กราบๆๆ แจ่มแจ้ง อนุโมทนาสาธุครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2013, 16:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
องค์ธรรมของบุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

เมื่อได้ศึกษาปรมัตถโชติกาแล้ว พบว่า บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องประกอบด้วยองค์ธรรม ซึ่งเรียกว่าธรรมสโมธาน (การประชุมธรรม) ๕ ประการ ๓ คือ:-

๑. ความเป็นมนุษย์ (มนุสฺสตฺตํ) คือ ในชาติที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น เป็นเทวดาไม่ได้ ไม่ต้องกล่าวถึงเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต หรือ อสุรกาย

๒. ความถึงพร้อมด้วยเพศ (ลิงฺคสมฺปตฺติ) คือ เป็นเพศชายเท่านั้น จะเป็นผู้หญิง กะเทยและอุภโตพยัญชนก (บุคคลที่มี ๒ เพศในคนเดียวกัน) ไม่ได้ แต่กระนั้น ผู้หญิงสามารถเป็นมารดาของผู้ที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้

๓. การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวกิเลสทั้งหลาย (วิคตาสวทสฺสนํ) คือ การเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าหรือพระอนุพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

๔. อธิการ (อธิกาโร) คือกระทำอันยิ่ง ต้องบริจาคชีวิตของตนเองแล้วจึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

๕. ความพอใจ (ฉนฺทตา) คือ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อทำให้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แม้ว่าจะยากลำบากประสบพบปัญหาอุปสรรคมากเพียงใดก็ตาม อาทิเช่น มีคนกล่าวว่า ใครก็ตามที่สามารถเหยียบสากลจักรวาล อันเต็มไปด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวไฟได้ ใครก็ตามที่สามารถเหยียบข้ามสากลจักวาลอันเกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวได้ ใครก็ตามที่สามารถลุยข้ามสากลจักรวาลอันเต็มไปด้วยน้ำปริ่มฝั่งได้ ใครก็ตามที่สามารถก้าวล่วงสากลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดรได้ จึงตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ บุคคลที่ตั้งปณิธานเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า "เราสามารถทำเช่นนั้นได้"


:b3: พอดีแอบไปเห็นมา ... อิอิ... :b3: :b3:

http://www.sangdham-songjai.net/index.p ... &Itemid=29


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2013, 06:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2013, 19:24
โพสต์: 300

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลักคำสอนของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ปรมัตถโชติกา ๖ เล่าเรื่องของสุสีมมาณพผู้ปรารถนาจะเห็นเบื้องปลายของศิลปะจึงถูกส่งไปหาฤาษีที่ป่าอิสิปตนะ หลังจากไปป่าอิสิปตนะแล้ว ได้เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วถามว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านรู้เบื้องปลายของศิลปะบ้างไหม?"
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า "เออ เรารู้สิท่าน"

สุสีมมาณพอ้อนวอนว่า "โปรดให้ข้าพเจ้าศึกษาเบื้องปลายของศิลปะนั้นเถิด"
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย "ถ้าอย่างนั้นก็บวชเสียสิ ท่านผู้ไม่ใช่นักบวชศึกษาไม่ได้ดอก"
สุสีมาณพ "ดีละ ขอรับ โปรดให้ข้าพเจ้าบวช แล้วให้ศึกษาเบื้องปลายของศิลปะนั้นเถิด"

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้เขาบวชแล้ว ไม่สามารถให้เขาเจริญกรรมฐานได้ ให้ศึกษาได้แต่อภิสมาจาร (ความประพฤติที่ดีงาม) อาทิเช่น ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ เขาศึกษาอยู่ในข้อนั้น แต่เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ไม่นานนักจึงบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ

ในวรรณกรรมของพระพุทธศาสนา พระปัจเจกพุทธเจ้าสอนแต่เรื่องอภิสมาจารเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งท่านก็สอนธรรมเช่นกัน แต่สอนเพียงสั้นๆ อาทิเช่น จงสิ้นราคะ จงสิ้นโทสะ จงสิ้นโมหะ จงสิ้นคติ จงสิ้นวัฏฏะ จงสิ้นอุปธิ จงสิ้นตัณหา โดยไม่มีหลักคำสอนที่เป็นระบบเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อีกประการหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าคงจะเป็นเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสรู้แล้วทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์ เพราะเหตุที่ว่า "ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่เป็นวิสัยของตรรกวิทยา ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็ถ้าเราพึงจะแสดงธรรม สัตว์อื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหนื่อยเปล่า ความลำบากเปล่าแก่เรา"

ท้าวสหัมบดีพรหมจึงทูลอาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมแก่หมู่สัตว์ โดยให้เหตุผลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระองค์ จงทรงแสดงธรรมเถิด เพราะสัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ เขาจักเสื่อมเสียเพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีโดยแท้"๗

แต่จากนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสลัดทิ้งความท้อพระทัยเสีย แล้วทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมแก่เวไนยสัตว์
จากหลักฐานข้างต้นนี้ อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า การตัดสินใจเช่นนี้ เป็นคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไม่สามารถเอาชนะความคิดที่ว่าธรรมเป็นสิ่งที่บุคคลอื่นรู้ตามได้ยากนั้นได้ จึงไม่ได้เตรียมแสวงหาสาวกและสอนให้รู้แจ้งเช่นเดียวกับตน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นรู้สึกจะสมัครใจช่วยเหลือบุคคลอื่นให้รู้แจ้ง โดยอาศัยความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของผู้นั้นเป็นหลัก ดังนั้น ท่านจึงมิได้ก่อตั้งสถาบันศาสนาอันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2013, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


พระปัจเจกพุทธะ แปลว่า "ผู้รู้เฉพาะตนคนเดียว"

ความว่า ท่านเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมทั้งหลายเอง โดยไม่มีผู้บอกกล่าวสั่งสอน
เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ ท่านเป็นผู้มีปณิธานแน่วแน่มาแต่ครั้งดีต
ในอันที่จะบรรลุพระปัจเจกโพธิญานสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า คือเป็นผู้ที่น้อมใจไปอย่างนี้

จึงสั่งสมบารมีเรื่อยมา ในชาติสุดท้ายนั้นท่านมีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ท่านเพียงอาศัยนิมิตนั้นๆ
เช่นภาพใบไม้แห้งเหี่ยวที่ร่วงหล่นมาจากต้น เสียงขับร้องของหญิงเก็บผัก เป็นต้น
ก็พลันได้บรรลุพระปัจเจกโพธิญาน สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ ไม่ต้องมีครูอาจารย์สอนเลย

ก็แต่ว่าการตรัสรู้ธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น
ไม่เข้าถึงความละเอียดละออในนัยต่างๆ ของธรรมในทุกแง่ทุกมุม เหมืออย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และมิได้เป็นเหตุนำมาซึ่งคุณวิเศษนทั้งหลาย โดยการสั่งบารมีเพียง ๒ อสงไขยแสนกัปป์
ซึ่งมีความเป็นผู้หยั่งรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่งเอง

ท่านเหล่านั้นจึงไม่สามารถจำแนกแจงแจงธรรมที่ลึกซึ้งให้เป็นประเภทต่างๆ เป็นหมวดต่างๆ
เพื่อแสดงแก่ผู้อื่นให้เหมาะสมแก่อินทรีย์เป็นต้น หรือเหมาะสมแก่สภาพจิตใจของผู้นั้นได้
ท่านจึงไม่เป็นศาสดาผู้ประกาศคำสอนให้คนอื่นได้รู้ตาม

ในกาลที่สมัยที่มีพระพุทธเจ้านั้น ย่อมมีพระปัจเจกพุทธเจ้าพร้อมๆ ได้หลายพระองค์
นับจำนวนเป็นพันเป็นหมื่นเลยที่เดียว ข้อนี้เป็ผู้ที่มีบารมีมาเป็นเปี่ยมแล้วเท่านั้น
มีปณิธานและสั่งสมบารมีมาเพื่ออันได้ตรัสรู้เฉพาะตนผู้เดียว ไม่ประสงค์จะเป็นพระศาสดา
เพื่อประกาศคำสอนให้ผู้นรู้ตาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2015, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2015, 22:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b13:
ขุดขึ้นมา....ได้งัยนี้
s002


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 21 ก.พ. 2015, 07:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2015, 22:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมา เขียน:
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นพร้อมกันได้หลายๆ พระองค์
แต่สัตว์โลกก็ไม่สามารถได้บรรลุตามได้
และท่านก็ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้สัตว์เดินตามรอยได้
แต่ละพระองค์ก็ต้องสร้างบารมีมา ๒ อสงไขยกับแสนกัปป์
จึงจะได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ ก็นับว่านานมาก

ท่านเคยสงสัยไหมว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาเพื่ออะไร
ท่านมีคุณกับสัตว์โลกบ้างไหม

ใคร่ขอความกรุณาชี้แจงจากผู้รู้ครับ


ไม่รู้..แต่อยาก...จะได้มั้ยคับ..
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร