วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


:b18: ถ้าหากว่าเรามีความเห็นว่าตายแล้วสูญสิ้นกันไปไม่เกิดอีก
สังสารวัฏฏ์ไม่มีนั้นก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประเภทอุจเฉททิฏฐิ
เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่ตรงกันข้ามก็คือ ตายแล้วต้องเกิดอีก ไม่สูญสังสารวัฎฏ์มีอยู่นี้
ก็ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ กระนั้นหรือ

:b27: จริงอยู่ความเห็นอย่างนั้น แม้ว่าเป็นความเห็นที่ตรงกันข้ามกับอุจเฉททิฏฐิ
ถึงกระนั้นก็ยังเป็นสัมมาทิฏฐิไม่ได้ เพราะมิจฉาทิฏฐิมีหลายประเภทรวมอยู่
ในอุจเฉททิฏฐินี้ พระพุทธองค์ทรงจำแนกไว้ในพรหมชาลสูตรได้ถึง ๖๒ ประเภท
ในบรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น มิจฉาทิฏฐิบางประเภท
มีความเป็นไปตรงกันข้ามกันกับมิจฉาทิฏฐิเลยทีเดียว

:b35: เป็นความจริงว่า ความเห็นว่าตายแล้วต้องเกิดใหม่อีกร่ำไปไม่สูญ
ส่วนจะเกิดเป็นอะไรในชาติต่อไปนั้นก็แล้วแต่จะว่า อย่างนี้หาใช่สัมมาทิฏฐิไม่
ถึงแม้ว่าจะตรงกันข้ามกับอุจเฉททิฏฐิก็ตาม ก็ยังเป็นมิจฉาทิฎฐิคือมีความเห็นผิดอยู่นั่นแหละ
แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิอีกประเภทหนึ่ง ที่ตรัสเรียกว่า สัสสตทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นที่ว่ายั่งยืน

:b30: พึงทราบว่า สัสสตทิฏฐินี้มีการแตกรายละเอียดปลีกย่อยออกไปเกี่ยวกับความเห็นต่างๆกัน
เช่น สมณะหรือพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่าหลังจากตายแล้ว ถ้าหากได้เกิดในภูมิวิเศษ
คือเกิดเป็นเทวดาในชั้นนั้นๆ หรือเกิดเป็นพรหมในชั้นนั้นๆ
แล้วจะเป็นผู้เที่ยงผู้ยั่งยืนย่อมเป็นอมตะไม่ตาย ส่วนอีกพวกหนึ่งมีความเห็นว่า
เวลาตายร่างกายเท่านั้นที่แตกสลายไป ถูกฝัง ถูกเผาเน่าเปื่อยสลายไป

แต่วิญญาณนี้มิได้แตกสลายไปกับร่างกาย วิญญาณนั่นแหละเป็นของเที่ยง
เป็นผู้นำไปเกิดภพใหม่อีก อย่างนี้เป็นต้น ทิฎฐิทำนองดังกล่าวมานี้เป็นสัสสตทิฏฐิทั้งสิ้น
โดยหลักการที่ว่าเป็นความเห็นที่ยอมรับข้างที่ไม่ขาดสูญ

ในทางพระพุทธศาสนาไม่ยอมรับว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความเห็นผิด เช่นเดียวกับคำว่าขาดสูญนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย นายฏีกาน้อย เมื่อ 13 ก.พ. 2013, 11:05, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
แก้ไขหัวข้อกระทู้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


แล้วคิดแบบไหนล่ะ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

ทรงค้นพบ หนทางออกจากวัฏฏสงสาร

ทรงค้นพบ หนทางเลิกการเวียนว่ายตายเกิด

ใครไม่เชื่อ พระองค์ คนนั้น ก็เรียกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ต่อไป

ด้วยตัว(ผู้เห็นผิด)นั้น มีความรู้ มีประสบการณ์สูง(เช่นระลึกชาติได้มากมาย) เชื่อมั่นว่า ตายแล้วต้องเกิดแน่นอน
การออกจากวัฏฏสงสาร เป็นเรื่องที่เป็นไป ไม่ได้

ส่วนอีกพวกหนึ่ง เชื่อมั่น ว่า ตายแล้วก็แล้วกัน เกิดชาติเดียว ตายชาติเดียว(เพราะไม่ระลึกชาติได้)

ไอ้พวกที่ เชื่อว่าตายแล้วสูญ น่าจะเป็นโทษมากกว่า

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพรหมชาลสูตรกล่าวมิจฉาทิฏฐินั้นมี ๖๒ นั้นมันเครื่องยืนยันได้ว่า
ทิฏฐิ ๖๒ เหมือนข่ายดักสัตว์ไม่ให้พ้นไปจาสังสารวัฏฏ์ มีทั้งที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ และทิฏฐิสามัญ

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=09&A=0&Z=1071

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 09:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:

ไอ้พวกที่ เชื่อว่าตายแล้วสูญ น่าจะเป็นโทษมากกว่า

:b12: :b12:
ไม่ค่อยได้เห็นคุณโกวิท..สื่อสารแบบลูกทุ่ง..ๆ...เท่าไร

:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 09:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 09:13
โพสต์: 73


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเห็นส่วนตัวนะครับ (ฟังเป็นนิทาน)

จิตนี้เป็นธรรมธาตุเมื่อตั้งขึ้นมาแล้ว ไม่แตกสลายไป มีแต่อาการของการจุติ เคลื่อนจากภพนี้เข้าภพโน้นตามกรรมของตน เนื่องจากมีกิเลสแทรกอยู่จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป ผู้หมดกิเลสสิ้นเชื้อจึงพบ พระนิพพาน
คืนสู่ธรรมธาตุเดิม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 09:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งใด...มีตั้งขึ้น...เกิดขึ้น...อุบัติขึ้น...จากความเดิมที่ไม่มี....สิ่งนั้นเป็นส่วนเกิน....สิ่งนั้น..ต้องสลายลง...ดับลง....สู่ที่เดิม...ในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 10:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
แล้วคิดแบบไหนล่ะ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

ทรงค้นพบ หนทางออกจากวัฏฏสงสาร

ทรงค้นพบ หนทางเลิกการเวียนว่ายตายเกิด

ใครไม่เชื่อ พระองค์ คนนั้น ก็เรียกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ต่อไป

ด้วยตัว(ผู้เห็นผิด)นั้น มีความรู้ มีประสบการณ์สูง(เช่นระลึกชาติได้มากมาย) เชื่อมั่นว่า ตายแล้วต้องเกิดแน่นอน
การออกจากวัฏฏสงสาร เป็นเรื่องที่เป็นไป ไม่ได้

ส่วนอีกพวกหนึ่ง เชื่อมั่น ว่า ตายแล้วก็แล้วกัน เกิดชาติเดียว ตายชาติเดียว(เพราะไม่ระลึกชาติได้)

ไอ้พวกที่ เชื่อว่าตายแล้วสูญ น่าจะเป็นโทษมากกว่า

คุณโกวิทรู้จักวิชชาสามกับวิชชาแปดหรือเปล่าครับ :b13:


ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
[๑๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
วิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจาก
บ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม
เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น
ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้าน
นั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้
หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
ทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมหาบพิตร
นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ข้อก่อนๆ.
http://www.84000.org/tipitaka/read/?9/131-138/101-112


คุณโกวิทกำลังทำวิชชาให้กลายเป็นอวิชาอยู่นะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
แล้วคิดแบบไหนล่ะ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

ทรงค้นพบ หนทางออกจากวัฏฏสงสาร

ทรงค้นพบ หนทางเลิกการเวียนว่ายตายเกิด

ใครไม่เชื่อ พระองค์ คนนั้น ก็เรียกว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ต่อไป

ด้วยตัว(ผู้เห็นผิด)นั้น มีความรู้ มีประสบการณ์สูง(เช่นระลึกชาติได้มากมาย) เชื่อมั่นว่า ตายแล้วต้องเกิดแน่นอน
การออกจากวัฏฏสงสาร เป็นเรื่องที่เป็นไป ไม่ได้

ส่วนอีกพวกหนึ่ง เชื่อมั่น ว่า ตายแล้วก็แล้วกัน เกิดชาติเดียว ตายชาติเดียว(เพราะไม่ระลึกชาติได้)

ไอ้พวกที่ เชื่อว่าตายแล้วสูญ น่าจะเป็นโทษมากกว่า

คุนน้องเป็นคนนึงที่ศรัธทราต่อพระพุทธองค์ และคุนน้องกล้าพูดเต็มปากว่ามีศรัธทรามาก และก็ยังมีโทสะถ้าใครพูดอะไรกระทบกระเทียบคุนพระรัตนไตร หรือลบหลู่ดูหมิน แต่ที่ท่านบอกว่าคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อพระพุทธองค์ เนื่องจากมีความรู้ประสบการณ์สูง ระลึกชาติได้มากมาย ตายแล้วต้องเกิดแน่นอน ออกจากวัฏฏะสงสารเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ความเห็นนี้ท่านกล้าฟันธงมั้ยค่ะว่าคุนน้องเป็นมิจฉาทิฏฐิถ้าคุนน้องจะบอกว่า คุนน้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้างและตราบใดที่คุนน้องยังไม่ยอมวางในสิ่งนั้นลง คุนน้องก็จะต้องเกิด และก็จะเป็นเช่นนั้น การที่คุนน้องรู้และเข้าใจเช่นนี้จัดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิรึเปล่าค่ะ ถ้าคุนน้องเองรู้ว่าตนเองมีกิเลสแต่ยังก้าวข้ามไม่พ้นและก็ต้องเกิด แต่คุนน้องเลือกที่จะเกิด และจะต้องเกิดแบบนี้จนกว่าจะวางลง(กิเลส)มิจฉาทิฏรึเปล่าค่ะถ้าคุนน้องเข้าใจอย่างนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 13:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 724&Z=3923


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน มหาตัณหาสังขยสูตร
มีเรื่องปรากฏอย่างนี้ว่า พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าพระสาติ เรียนธรรมไว้ไม่ดี ไม่รู้ทั่วถึง
ได้สดับตรับฟังธรรมเกี่ยวกับเรื่องสังสารวัฏฏ์อยู่บ่อยๆ ก็เกิดความเห็นผิดเป็นสัสสตทิฏฐิ
ขึ้นมาอย่างนี้ว่า ร่างกายเท่านั้นที่แตกสลายไปในภพนั้นๆ แต่วิญญาณหาแตกดับไม่
ย่อมละจากโลกนี้แล่นไป ท่องเที่ยวไปยังโลกอื่น ละจากโลกนี้แล้วก็แล่นไปในโลกนี้
หรือโลกอื่นอีก เที่ยวประกาศว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างนี้

ภิกษุทั้งหลายพากันตักเตือนท่านว่าอย่าได้พูดอย่างนี้เลย การพูดอย่างนี้เป็นการกล่าวตู่
พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงสอนอย่างนี้เลย เมื่อพระสาติไม่ยอมเชื่อฟัง
ภิกษุเหล่านั้นก็นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ
พระองค์รับสั่งเรียกหาพระสาติ ตรัสถามพระสาติถึงความข้อนั้น เมื่อพระสาติยอมรับว่าไ
ด้กล่าวอย่างนั้นจริง พระองค์จึงทรงตักเตือนว่า การที่พระสาติกล่าวอย่างนี้
เป็นการกล่าวตู่พระองค์ พระองค์มิได้สอนอย่างนั้น

โดยสำทับว่า "นนุ มยา โมฆปุริส อเนกปริยาเยน ปฏิจจสมุปฺปนฺนนํ วิญญาณํ วุตฺตํ
อญฺญตฺร ปจฺจยา นตฺถิ วิญฺญาณสฺส สมฺภโว"
แปลว่านี่แน่ะ โมฆบุรุษ(คนเหลวเปล่า) เราได้กล่าวว่าโดยปริยายเป็นอันมากแล้วมิใช่หรือ
ว่าวิญญาณก็เป็นสิ่งอาศัยกันเกิดขึ้น เว้นปัจจัยเสียวิญญาณก็หามีการเกิดขึ้นได้ไม่ ดังนี้เป็นต้น
แล้วทรงแสดงภาวะที่วิญญาณทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยอะไรเป็นปัจจัย ก็ถึงความนับว่า
เป็นวิญญาณนั้นๆ ตามปัจจัยนั้นๆ ได้ชื่อว่าตามปัจจัยนั้นนั่นเอง "วิญญาณอาศัยจักขุ(ประสาทตา)
และรูป(ภาพที่เห็น)เกิดขึ้น ย่อมถึงความนับว่าเป็นจักขุวิญญาณ ดังนี้เป็นต้น
รวมความว่า วิญญาณเป็นของอาศัยปัจจัย มีความเกิดขึ้นดับไปตามปัจจัย
ก็ปัจจัยที่ทำให้วิญญาณเกิดขึ้นเป็นไปนั้น ได้แก่ทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้นฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 041&Z=8506

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 20:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน ทุกขนิโรธ
ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

ไม่หยั่งลงในทิฏฐิใดๆนั้นแล จึงไม่มี การไป การมา การตั้งอยู่ การจุติ การอุบัติ มิได้เป็นไป
หาอารมณ์มิได้ ที่สุดแห่ง สัมมาทิฏฐิ

สังขารทั้งหลายดับหมดสิ้น เพราะโลกว่างเปล่าจากตัวตน

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
คุนน้องเป็นคนนึงที่ศรัธทราต่อพระพุทธองค์ และคุนน้องกล้าพูดเต็มปากว่ามีศรัธทรามาก และก็ยังมีโทสะถ้าใครพูดอะไรกระทบกระเทียบคุนพระรัตนไตร หรือลบหลู่ดูหมิน แต่ที่ท่านบอกว่าคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อพระพุทธองค์ เนื่องจากมีความรู้ประสบการณ์สูง ระลึกชาติได้มากมาย ตายแล้วต้องเกิดแน่นอน ออกจากวัฏฏะสงสารเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ความเห็นนี้ท่านกล้าฟันธงมั้ยค่ะว่าคุนน้องเป็นมิจฉาทิฏฐิถ้าคุนน้องจะบอกว่า คุนน้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้างและตราบใดที่คุนน้องยังไม่ยอมวางในสิ่งนั้นลง คุนน้องก็จะต้องเกิด และก็จะเป็นเช่นนั้น การที่คุนน้องรู้และเข้าใจเช่นนี้จัดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิรึเปล่าค่ะ ถ้าคุนน้องเองรู้ว่าตนเองมีกิเลสแต่ยังก้าวข้ามไม่พ้นและก็ต้องเกิด แต่คุนน้องเลือกที่จะเกิด และจะต้องเกิดแบบนี้จนกว่าจะวางลง(กิเลส)มิจฉาทิฏรึเปล่าค่ะถ้าคุนน้องเข้าใจอย่างนี้


คุนน้อง จะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ได้อย่างไร
ก็ในเมื่อ เชื่อว่า การหมดกิเลส จะทำให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร
แสดงว่า เชื่อใน สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ และประกาศเอาไว้

แต่ถ้าหัวแข็ง ว่า ไม่มีวิธีอะไรที่จะทำให้หลุดพ้นได้ คือ ต้องตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด ตลอดไป อันนี้ถึง เป็นมิจฉาทิฏฐิ

โอเค นะครับ

หมายเหตุ คุณพระรัตนตรัย น่าจะดีกว่า คุนพระรัตนไตร นะครับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
คุนน้องเป็นคนนึงที่ศรัธทราต่อพระพุทธองค์ และคุนน้องกล้าพูดเต็มปากว่ามีศรัธทรามาก และก็ยังมีโทสะถ้าใครพูดอะไรกระทบกระเทียบคุนพระรัตนไตร หรือลบหลู่ดูหมิน แต่ที่ท่านบอกว่าคนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เชื่อพระพุทธองค์ เนื่องจากมีความรู้ประสบการณ์สูง ระลึกชาติได้มากมาย ตายแล้วต้องเกิดแน่นอน ออกจากวัฏฏะสงสารเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ ความเห็นนี้ท่านกล้าฟันธงมั้ยค่ะว่าคุนน้องเป็นมิจฉาทิฏฐิถ้าคุนน้องจะบอกว่า คุนน้องรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เคยทำอะไรมาบ้างและตราบใดที่คุนน้องยังไม่ยอมวางในสิ่งนั้นลง คุนน้องก็จะต้องเกิด และก็จะเป็นเช่นนั้น การที่คุนน้องรู้และเข้าใจเช่นนี้จัดว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิรึเปล่าค่ะ ถ้าคุนน้องเองรู้ว่าตนเองมีกิเลสแต่ยังก้าวข้ามไม่พ้นและก็ต้องเกิด แต่คุนน้องเลือกที่จะเกิด และจะต้องเกิดแบบนี้จนกว่าจะวางลง(กิเลส)มิจฉาทิฏรึเปล่าค่ะถ้าคุนน้องเข้าใจอย่างนี้


คุนน้อง จะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ได้อย่างไร
ก็ในเมื่อ เชื่อว่า การหมดกิเลส จะทำให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร
แสดงว่า เชื่อใน สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ และประกาศเอาไว้

แต่ถ้าหัวแข็ง ว่า ไม่มีวิธีอะไรที่จะทำให้หลุดพ้นได้ คือ ต้องตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด ตลอดไป อันนี้ถึง เป็นมิจฉาทิฏฐิ

โอเค นะครับ

หมายเหตุ คุณพระรัตนตรัย น่าจะดีกว่า คุนพระรัตนไตร นะครับ

คุนน้องพิมไม่ถูกตามหลักพจนานุกรมไทย พระพุทธองค์คงไม่คิดตำหนิคุนน้องหรอกนะค่ะ เพราะจะพระรัตนตรัยหรือจะพระรัตนไตร มันก็ออกมาจากใจที่เป็นศรัธทรา ไม่ได้เกี่ยวกับสมติบัญญัติ ไม่ใช่หรอค่ะ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2013, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


govit2552 เขียน:
แล้วคิดแบบไหนล่ะ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

ผู้ใดก็ตาม แม้มีความเห็นแตกต่างไปเท่าที่ยกมากล่าวนี้
แต่ถ้หากยอมรับข้างว่ามีการเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ไม่ยอมรับความขาดสูญความเห็นของคนนั้นเป็นสัสสตทิฏฐิทั้งสิ้น

เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้วบางท่านอาจจะสงสัยจนถึงขั้นอึดอัดใจเอาที่เดียว ว่าความเห็นขาดสูญ
ตายแล้วไม่มีอีกไม่มีอีก ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่แม้ความเห็นว่าไม่ขาดสูญ คือ ยั่งยืน ตายแล้วมีอีก
เกิดอีก ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ในเรื่องนี้จะถือเอาอย่างไรเล่า จึงจะนับว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ

ขอเฉลยปัญหานี้ เพื่อผ่อนคลายความลังเลสงสัยความอึดอัดใจของท่านดังนี้ว่า :-
เป็นความจริงว่า ความเห็นว่าขาดสูญ คือ ตายแล้วไม่เกิดอีก สังสารวัฏฏ์ไม่มี เป็นความเห็นผิดแน่นอน
ถึงกระนั้น ความเห็นว่าไม่ขาดสูญ คือตายแล้วต้องเกิดอีก สังสารวัฏฏ์มีอยู่ ก็ยังมีความเห็นผิดได้
ไม่ใช่จะเป็นความถูกเสียส่วนเดียว ในเรื่องนี้มีเงื่อนไขอยู่ เงื่อนไขนั้นคืออะไร?
คือ ภาวะที่มีเหตุปัจจัยและไม่มีเหตุปัจจัยนั่นเอง ถ้ามีเหตุปัจจัยก็เกิด ไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด

บางท่านอาจพอทราบแล้วว่าในทางพุทธศาสนานั้น
ท่านแสดงไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าสังสารวัฏฏ์นี้ มีธรรม ๓ อย่าง คือ กิเลส กรรม วิบาก
กิเลส ได้แก่ ธรรมชาติที่ทำให้สัตว์เดือดร้อนลำบาก โดยทำให้เกิดทุกข์ มีทุกข์ในอบายเป็นต้น
กรรม ได้แก่ กรรมดีมีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น และกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ได้สะสมไว้
วิบาก ได้แก่ ผลของกรรมดีกรรมชั่ว วิบากนี้มีหลายอย่าง แต่ว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับสังสารวัฏฏ์นี้
ประสงค์เอาความเกิด ความอุบัติ ความบังเกิด การได้ปฏิสนธิ ในภูมิทั้งหลายนั่นเอง

ก็แลธรรม ๓ อย่างนี้ มีความสัมพันธ์สืบต่อกันอย่างนี้ คือ
วิบากอันได้แก่ความเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีเพราะกรรมดีกรรมชั่วที่สัตว์ได้ทำไว้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
กรรมดี ที่สัตว์ทำไว้ ย่อมทำให้สัตว์ไปเกิด ในสุคติ มีมนุษย์ เทวดา เป็นต้น
กรรมชั่วที่ทำไว้ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในทุคติภูม มีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น

แต่การกระทำของบุคคลจะสำเร็จเป็นกรรมดีกรรมชั่ว ก็เพราะเขาอาศัยกิเลสที่เขามี
หากสิ้นกิเลสทั้งปวงแล้วอย่างพระอรหันต์ การกระทำทั้งหลาย จะหาเป็นกรรมดี กรรมชั่วไม่ได้เลย
ถึงความนับเข้าเป็นกิริยา คือสักแต่ว่าทำไปในกิจนั้นๆ ให้สำเร็จไปเท่านั้น
เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า กรรมดีกรรมชั่วย่อมไม่มีกิเลสเป็นปัจจัย ฉะนี้แล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2013, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
govit2552 เขียน:
แล้วคิดแบบไหนล่ะ จึงจะเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว

ผู้ใดก็ตาม แม้มีความเห็นแตกต่างไปเท่าที่ยกมากล่าวนี้
แต่ถ้หากยอมรับข้างว่ามีการเกิดอีก หลังจากตายแล้ว
ไม่ยอมรับความขาดสูญความเห็นของคนนั้นเป็นสัสสตทิฏฐิทั้งสิ้น

เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้วบางท่านอาจจะสงสัยจนถึงขั้นอึดอัดใจเอาที่เดียว ว่าความเห็นขาดสูญ
ตายแล้วไม่มีอีกไม่มีอีก ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่แม้ความเห็นว่าไม่ขาดสูญ คือ ยั่งยืน ตายแล้วมีอีก
เกิดอีก ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ในเรื่องนี้จะถือเอาอย่างไรเล่า จึงจะนับว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ

ขอเฉลยปัญหานี้ เพื่อผ่อนคลายความลังเลสงสัยความอึดอัดใจของท่านดังนี้ว่า :-
เป็นความจริงว่า ความเห็นว่าขาดสูญ คือ ตายแล้วไม่เกิดอีก สังสารวัฏฏ์ไม่มี เป็นความเห็นผิดแน่นอน
ถึงกระนั้น ความเห็นว่าไม่ขาดสูญ คือตายแล้วต้องเกิดอีก สังสารวัฏฏ์มีอยู่ ก็ยังมีความเห็นผิดได้
ไม่ใช่จะเป็นความถูกเสียส่วนเดียว ในเรื่องนี้มีเงื่อนไขอยู่ เงื่อนไขนั้นคืออะไร?
คือ ภาวะที่มีเหตุปัจจัยและไม่มีเหตุปัจจัยนั่นเอง ถ้ามีเหตุปัจจัยก็เกิด ไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด

บางท่านอาจพอทราบแล้วว่าในทางพุทธศาสนานั้น
ท่านแสดงไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าสังสารวัฏฏ์นี้ มีธรรม ๓ อย่าง คือ กิเลส กรรม วิบาก
กิเลส ได้แก่ ธรรมชาติที่ทำให้สัตว์เดือดร้อนลำบาก โดยทำให้เกิดทุกข์ มีทุกข์ในอบายเป็นต้น
กรรม ได้แก่ กรรมดีมีการให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น และกรรมชั่ว มีการฆ่าสัตว์เป็นต้น ได้สะสมไว้
วิบาก ได้แก่ ผลของกรรมดีกรรมชั่ว วิบากนี้มีหลายอย่าง แต่ว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับสังสารวัฏฏ์นี้
ประสงค์เอาความเกิด ความอุบัติ ความบังเกิด การได้ปฏิสนธิ ในภูมิทั้งหลายนั่นเอง

ก็แลธรรม ๓ อย่างนี้ มีความสัมพันธ์สืบต่อกันอย่างนี้ คือ
วิบากอันได้แก่ความเกิดขึ้นนั้น ย่อมมีเพราะกรรมดีกรรมชั่วที่สัตว์ได้ทำไว้ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
กรรมดี ที่สัตว์ทำไว้ ย่อมทำให้สัตว์ไปเกิด ในสุคติ มีมนุษย์ เทวดา เป็นต้น
กรรมชั่วที่ทำไว้ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ไปเกิดในทุคติภูม มีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น

แต่การกระทำของบุคคลจะสำเร็จเป็นกรรมดีกรรมชั่ว ก็เพราะเขาอาศัยกิเลสที่เขามี
หากสิ้นกิเลสทั้งปวงแล้วอย่างพระอรหันต์ การกระทำทั้งหลาย จะหาเป็นกรรมดี กรรมชั่วไม่ได้เลย
ถึงความนับเข้าเป็นกิริยา คือสักแต่ว่าทำไปในกิจนั้นๆ ให้สำเร็จไปเท่านั้น
เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า กรรมดีกรรมชั่วย่อมไม่มีกิเลสเป็นปัจจัย ฉะนี้แล


:b8: ค่ะคุณลุงหมาน

อิทัปปัจจยตา เป็นหัวใจของธรรมทั้งหมดพุทธศาสนาสอนหลักเหตุปัจจัย ไม่มีอัตตาอยู่ที่ไหน
ธรรมทั้งหลายอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นมาประชุมกันและอิงอาศัยกันเกิดขึ้นเราเลยรู้สึกเหมือนเป็นตัวเป็นตน...สิ่งแต่ละสิ่งที่เกิดแต่ความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้..ไฉนเลยเล่าจะเที่ยงแท้ถาวรอยู่เช่นนั้น..
:b41:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร