วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 22:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 17:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

เรารู้มั๊ย ว่าสิ่งใด เรื่องใด มันบีบคั้นใจเราอยู่

อาจจะเป็นคำถามที่แปลก
เพราะ เอกอนตั้งขึ้นมาแบบลอย ๆ

คือ ถ้ามันไม่มี สิ่งที่มาบีบคั้นจิตใจ
เราก็ไม่มีอะไรต้องดิ้นรนเปลี่ยนแปลง ใช่มั๊ย

เอกอนคนหนึ่งล่ะ ตอบว่า ใช่

อย่างเช่น
การที่เราเคยคิดว่า เราเป็นคนไม่ดี
สิ่งนั้น มันก็บีบคั้นให้เราต้องเปลี่ยนแปลง

อย่างถ้าเราเป็นคนที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบอยู่แล้ว
แต่มัน....ก็มีอะไรบางอย่างที่มาคอยบีบคั้นเราให้ ทำยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ซึ่งบางครั้ง การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็เป็นสิ่งที่บีบคั้นจิตใจเช่นกัน ใช่มั๊ย
ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เราทำ

มีใครพอจะมีแง่มุมที่ งาม ๆ ในเรื่องนี้ อิอิ smiley

:b1: :b27: :b27: :b1:


โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


การตั้งคำถามแบบเลื่นลอยจะทำให้เราเลื่อนลอย นี่คือสิ่งอันตราย เมื่อเราจะตั้งคำถามกับตนเองทุกครั้ง ขอให้ระลึกได้ว่า ณ ขณะนั้นเรากำลังคิดอะไรอยู่ คิดไปทำไม มีประโยชน์อะไร ให้รับรู้ถึงสิ่งกระทบที่เข้ามาทางอาตายนะด้วยสติรู้ตื่น จะทำให้เราไม่เลื่อนลอย

การบีบคั้นของคุณนั้นคงหมายถึงสัญญาหรือการสั่งสมของประสพการณ์ หากคุณเคยมีประสพการณที่ดี
สิ่งนั้นจะถูกยึดเป็นสัญญา เมื่อใดที่ทำไม่ดีก็จะรู้สึกไม่ดี รู้สึกผิด หากปฏิบัติดี ก็จะรู้สึกปลื้มปิติ เมื่อปฏิบัติ
ดีอยู่แล้วจะไม่มีสิ่งใดมาบีบคั้นเราได้ หากเรารู้สึกเช่นนั้นแสดงว่าการปฏิบัตินั้นเริ่มไม่ถูกทางและกำลังจะ
กลายเป็นกิเลส กลายเป็นการยึด เรียกว่าอารมณ์หลง หากเกิดอาการเช่นนั้น ขอให้เรารีบดึงตัวเราให้มีสติ อย่าหลงไปกับอารมณ์ยึด เพราะจะกลายเป็นหลงทางได้

.....................................................
รูปภาพ


โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาที่คุณถามนั้นไม่ใช่เป็นคำถามที่เลื่อนลอยอะไรหรอก
แต่คุณยังอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของตัณหา เจ้าตัวตัณหานี่แหละมันจะเกิดกับเรา
แทบจะตลอดเวลา ถ้าเรายังขาดสติคอยปิดกั้นหรือคอยกำหนดรู้
เมื่อนั้นเราย่อมเป็นทาสของตัณหาทันที เพราะตัณหานั้นจะไม่จักคำว่าอิ่ม มีความพอใจ
และไม่พอใจไปเรื่อยๆ ตัณหานั้นยังแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5
ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง
วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ

ตัณหาที่เกิดทางทวารทั้ง 6 นั้นเราเรียกว่าตัณหา 6 ได้แก่
รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
รสตัณหา คือ อยากได้รส
โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิดเรื่องราวต่างๆ)
(ลองค้นคว้าหาอ่านในบทความในเรื่องของตัณหาดูนะครับอาจจะได้ความรู้ความเข้าใจได้ดีขึ้น)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่ารู้ไหมอะไรบีบคั้นจิตใจอยู่บ้าง สำหรับผมก็รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ที่แน่ๆ ผมพยายามที่จะรู้ให้มากที่สุดว่ามีอะไรที่ทำแบบนี้กับใจได้บ้าง แต่รู้แล้วทำอะไรกับมันได้แค่ไหน อันนั้นอีกเรื่องนึง

บางทีก็ปล่อยให้บีบคั้นต่อไป เพราะยังติดใจยังชอบในรสของมันบ้าง บางอันก็พยายามจะเอาออกเสียเพราะเห็นว่าได้ไม่คุ้มเสียบ้าง

ที่คุณเอกอนว่า "คือถ้ามันไม่มีสิ่งที่มาบีบคั้นจิตใจ เราก็ไม่มีอะไรต้องดิ้นรนเปลี่ยนแปลง" ผมเห็นด้วยทุกประการ ผมว่าเรื่องบีบคั้นกับความรู้สึกว่าถูกบีบคั้นนี่ก็เหมือนกับเรื่องของใจอื่นๆ หากเราเข้าใจมันดีแล้วเราเอามาใช้เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาตัวเองได้ ส่วนตัวผมใช้อันนี้เองเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่อยากให้เกิดขึ้น บางทีก็ตั้งใจสร้างเรื่องขึ้นมาให้บีบคั้นใจส่วนที่มีนิสัยเสีย เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ตัวเองเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น

ตราบใดที่ตัวเรายังมีอะไรต้องพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปน่ะนะ

ที่คุณเอกอนว่า "การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็เป็นสิ่งที่บีบคั้นจิตใจเช่นกันถ้าเรายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เราทำ"

ผมว่าถ้าบีบคั้นแล้วทำให้ใจมีกำลังทำดียิ่งๆขึ้นไป ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ทำต่อไปได้ เครื่องมืออะไรเราจะใช้งานก็ต้องยึดถือกันทุกคน เพียงแต่ว่าระวังใจไว้ให้คิดถึงมันว่าเป็นเครื่องมือเสมอไป อย่าให้มันคิดไปได้ว่าเป็นของสะสมของมัน คือยึดไว้ถือไว้แค่พอใช้งานไม่ใช่เพื่อยึดมั่นถือมั่น และพอใช้เสร็จจบประโยชน์แล้วก็ปล่อยไปให้ได้ก็แล้วกัน แต่ถ้าบีบคั้นเพราะว่าเกิดการขัดใจเมื่อเห็นผู้อื่นการปฏิบัติไม่ดี ปฏิบัติไม่ชอบ อันนี้เกินพอดีแล้ว จำเป็นต้องแก้ไขโดยด่วน

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 23:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธคุณ เขียน:
การบีบคั้นของคุณนั้นคงหมายถึงสัญญาหรือการสั่งสมของประสพการณ์ หากคุณเคยมีประสพการณที่ดี
สิ่งนั้นจะถูกยึดเป็นสัญญา เมื่อใดที่ทำไม่ดีก็จะรู้สึกไม่ดี รู้สึกผิด หากปฏิบัติดี ก็จะรู้สึกปลื้มปิติ เมื่อปฏิบัติ
ดีอยู่แล้วจะไม่มีสิ่งใดมาบีบคั้นเราได้ หากเรารู้สึกเช่นนั้นแสดงว่าการปฏิบัตินั้นเริ่มไม่ถูกทางและกำลังจะ
กลายเป็นกิเลส กลายเป็นการยึด เรียกว่าอารมณ์หลง หากเกิดอาการเช่นนั้น ขอให้เรารีบดึงตัวเราให้มีสติ อย่าหลงไปกับอารมณ์ยึด เพราะจะกลายเป็นหลงทางได้


นี่คือ ความเห็นหนึ่งต่อคำถาม ... :b12:

พุทธคุณ เขียน:
การตั้งคำถามแบบเลื่นลอยจะทำให้เราเลื่อนลอย นี่คือสิ่งอันตราย เมื่อเราจะตั้งคำถามกับตนเองทุกครั้ง ขอให้ระลึกได้ว่า ณ ขณะนั้นเรากำลังคิดอะไรอยู่ คิดไปทำไม มีประโยชน์อะไร ให้รับรู้ถึงสิ่งกระทบที่เข้ามาทางอาตายนะด้วยสติรู้ตื่น จะทำให้เราไม่เลื่อนลอย


ตั้งคำถามแบบลอย ๆ
ก็คือ เพื่อให้มีผู้ที่เข้าใจในแง่มุมนี้ ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

:b16:

smiley


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 28 ธ.ค. 2012, 00:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 23:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ปัญหาที่คุณถามนั้นไม่ใช่เป็นคำถามที่เลื่อนลอยอะไรหรอก
แต่คุณยังอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของตัณหา


ใช่ ตัณหา เป็นปัจจัยที่ชักใยพวกเรากันอยู่
ลุงหมาน พอจะยกตัวอย่างเป็นลักษณะตัวละคร ให้ได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นได้มั๊ย

โดยเฉพาะ
ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิดเรื่องราวต่างๆ)

smiley

จริง ๆ เอกอนมองในแง่นี้อยู่
แต่เอกอนความรู้น้อย ก็ไม่รู้จะนำเสนอยังไง
จึงได้ตั้งคำถาม หาผู้ที่จะสามารถ .. :b12:

smiley


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 27 ธ.ค. 2012, 23:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 27 ธ.ค. 2012, 23:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาๆ เขียน:
ถามว่ารู้ไหมอะไรบีบคั้นจิตใจอยู่บ้าง สำหรับผมก็รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง แต่ที่แน่ๆ ผมพยายามที่จะรู้ให้มากที่สุดว่ามีอะไรที่ทำแบบนี้กับใจได้บ้าง แต่รู้แล้วทำอะไรกับมันได้แค่ไหน อันนั้นอีกเรื่องนึง

เช่นกัน :b8:

อ้างคำพูด:
ที่คุณเอกอนว่า "คือถ้ามันไม่มีสิ่งที่มาบีบคั้นจิตใจ เราก็ไม่มีอะไรต้องดิ้นรนเปลี่ยนแปลง" ผมเห็นด้วยทุกประการ ผมว่าเรื่องบีบคั้นกับความรู้สึกว่าถูกบีบคั้นนี่ก็เหมือนกับเรื่องของใจอื่นๆ หากเราเข้าใจมันดีแล้วเราเอามาใช้เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาตัวเองได้ ส่วนตัวผมใช้อันนี้เองเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่อยากให้เกิดขึ้น บางทีก็ตั้งใจสร้างเรื่องขึ้นมาให้บีบคั้นใจส่วนที่มีนิสัยเสีย เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ตัวเองเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น

ตราบใดที่ตัวเรายังมีอะไรต้องพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปน่ะนะ

เช่นกัน :b8:

อ้างคำพูด:
ที่คุณเอกอนว่า "การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็เป็นสิ่งที่บีบคั้นจิตใจเช่นกันถ้าเรายึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เราทำ"

ผมว่าถ้าบีบคั้นแล้วทำให้ใจมีกำลังทำดียิ่งๆขึ้นไป ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ทำต่อไปได้ เครื่องมืออะไรเราจะใช้งานก็ต้องยึดถือกันทุกคน เพียงแต่ว่าระวังใจไว้ให้คิดถึงมันว่าเป็นเครื่องมือเสมอไป อย่าให้มันคิดไปได้ว่าเป็นของสะสมของมัน คือยึดไว้ถือไว้แค่พอใช้งานไม่ใช่เพื่อยึดมั่นถือมั่น และพอใช้เสร็จจบประโยชน์แล้วก็ปล่อยไปให้ได้ก็แล้วกัน แต่ถ้าบีบคั้นเพราะว่าเกิดการขัดใจเมื่อเห็นผู้อื่นการปฏิบัติไม่ดี ปฏิบัติไม่ชอบ อันนี้เกินพอดีแล้ว จำเป็นต้องแก้ไขโดยด่วน

เช่นกัน :b8:

smiley


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 00:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างเวลาที่เอกอน อ่านตำรา(ธรรม)
บางทีเอกอนก็จะเห็นความรู้สึกที่ว่า "ยิ่งอ่าน ก็ยิ่งอยากอ่าน"

อย่างการทำสมาธิ "ยิ่งละเอียด ก็ยิ่งอยากให้มันละเอียด"

:b1:

ตัณหา

คือ ราวกับว่า แม้แต่ในทางกุศล ตัณหา ก็ไม่มีที่จะ อิ่ม

:b20:


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
อย่างเวลาที่เอกอน อ่านตำรา(ธรรม)
บางทีเอกอนก็จะเห็นความรู้สึกที่ว่า "ยิ่งอ่าน ก็ยิ่งอยากอ่าน"

อย่างการทำสมาธิ "ยิ่งละเอียด ก็ยิ่งอยากให้มันละเอียด"

:b1:


คุณเอกอนเป็นเหมือนผมเลย วันนึงผมต้องอ่านธรรมะสั้นๆก่อนทำงาน มันทำให้รู้สึกมีกำลัง ตื่นตัวดี

ผมว่าถ้าพิจารณาแล้วว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ร้อยทั้งร้อยมันก็ต้องอยากทำเป็นธรรมดา ผมว่าประเด็นที่แท้จริงคือเราจะบริหารความอยากอย่างไรมันพอดี เพื่อให้เกิดผลตามต้องการมากกว่า

เช่น อยากในอะไร เหตุหรือผล อยากเมื่อไร กระทบกับภาระหน้าที่หรืองานอื่นหรือเปล่า

ผมเข้าใจว่าความต่างของความอยากที่เป็นฉันทะ กับความอยากที่เป็นโลภะอยู่ในประเด็นเหล่านี้

คุณเอกอนและท่านอื่นๆคิดเห็นอย่างไรครับ?

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 02:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้ว่าผมเข้าใจคำถามของเอกอนแบบนี้หรือปล่าว คือ ผมเข้าใจคำถามแต่ยังไม่รู้คำศัพย์ เปิดหนังสือ ก็ได้คำตอบว่า อารัมภธาตุครับ เป็นการเริ่มต้นให้เกิดการทำงาน

อยู่ในหมวด วิริยสัมโพชฌงค์ คือ เป็นไปทั้งกาย และเป็นไปทั้งจิต

ถ้าทำดีแล้ว แต่เหมือนมีอะไรบางอย่างมาบีบคั้นให้ทำยิ่งๆขึ้น เรียกว่า

นิกกมธาตุ คือ ความเพียรที่ออกไปจากความเกียจคร้าน และสุดท้ายคือ

ปรักกมธาตุ คือ ความเพียรที่แรงกล้า ก้าวไปข้างหน้าไม่ถอยหลัง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 04:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ปัญหาที่คุณถามนั้นไม่ใช่เป็นคำถามที่เลื่อนลอยอะไรหรอก
แต่คุณยังอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของตัณหา เจ้าตัวตัณหานี่แหละมันจะเกิดกับเรา
แทบจะตลอดเวลา ถ้าเรายังขาดสติคอยปิดกั้นหรือคอยกำหนดรู้
เมื่อนั้นเราย่อมเป็นทาสของตัณหาทันที เพราะตัณหานั้นจะไม่จักคำว่าอิ่ม มีความพอใจ
และไม่พอใจไปเรื่อยๆ ตัณหานั้นยังแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

ใช่ครับคำถามของ น.ส.เอกอนไม่ได้เลื่อนลอย...แต่คำตอบลุงหมานนั้นแหล่ะเลื่อนลอย
ลุงหมานนี่ไม่ไหว จำบัญญัติต้วไหนได้ก็เอามาใส่มั่ว ดูแล้วเหมือน จิ๊กโก๋ตั้งวงกินเหล้าร้องเพลง
พอเมาเนื้อเพลงเริ่มมั่วดำน้ำหน้าตาเฉย

ที่เอกอนเขาถามถึงเรื่องการบีบคั้นจิตใจน่ะ มันเกิดจากเอกอนยังไม่รู้เห็น
สภาวะของไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของสังขาร
ไม่รู้ตามความจริงว่า(ไม่ใช่อ่านเอา) สังขารเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง)
เมื่อไม่รู้ทำให้เอกอนพยายามบังคับให้สิ่งนั้นอยู่กับตนนานๆ
มันเลยเกิดการบีบคั้นทางใจ มันเป็นทุกข์
:b13:

มันเป็นแบบนี้ เข้าใจมั้ยลุงหมาน :b32:


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ใช่ ตัณหา เป็นปัจจัยที่ชักใยพวกเรากันอยู่
ลุงหมาน พอจะยกตัวอย่างเป็นลักษณะตัวละคร ให้ได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นได้มั๊ย

โดยเฉพาะ
ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิดเรื่องราวต่างๆ)

ธัมมตัณหา คือ อยากได้ในธรรมารมณ์ (คือนึกคิดเรื่องราวต่างๆ) นั้น
ธัมมตัณหานั้นเป็นอารมณ์ทางใจ เช่น เมื่อว่าเรายังไม่เคยเห็นก็อยากเห็น ไม่เคยได้ยินก็อยากได้ยิน ไม่เคยได้กลิ่นก็อยากได้กลิ่น เป็นต้น อันที่น่ายินดีพอใจ จึงได้แก่ธัมมตัณหาที่เป็นกามตัณหา

ธัมมตัณหา ที่เป็นภวตัณหา คือความอยากในภพ ถ้าเป็นภวตัณหา ทั่วไปหมายถึงความอยากมีอยากเป็น คืออยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
ภวตัณหา ใจความสูงสุดหมายถึงความกำหนัดยินดีในรูปภพและอรูปภพ คือความพอใจติดใจในฌานด้วยความปรารถนาภพ อันเป็นความยินดีที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิ คือความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเบญจขันธ์เป็นของเที่ยงแท้ ยั่งยืน มีติดต่อกันไปไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคืออยากเกิดอยากเป็นเช่นที่เป็นอยู่ตลอดไป

วิภวตัณหา แปลตรงตัวตามศัพท์บาลีว่า "ความไม่อยากมี" สามารถตีความได้หลายความหมาย
โดยทั่วไป วิภวตัณหา หมายถึงความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น คืออยากจะพ้นจากภาวะที่ตนไม่ต้องการไม่อยากได้ เช่น อยากพ้นจากความยากจนจากความเจ็บไข้ พ้นจากความยากจน หรือ ไม่อยากเจอหน้าคนที่เราไม่ชอบใจ เป็นต้น
วิภวตัณหา อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ความคิดที่ผิด (อุจเฉททิฐิ) คือ เห็นว่าภพชาติไม่มี อันเป็นความความเห็นผิดที่ทำให้ไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ เพราะความเห็นชนิดนี้เชื่อว่าชาติหน้าไม่มี คนเราตายแล้วสูญ จึงทำให้ปฏิบัติตนไปตามใจปรารถนาด้วยอำนาจของตัณหา โดยไม่กังวลถึงผลที่จะตามมาภายหลัง
ธัมมตัณหาเหล่านี้จะนึกคิดอยากได้ที่เป็นไปใน อนาคตบ้าง อดีตบ้าง เป็นส่วนมาก

ปล. ถ้าผิดหรือถูกหรือยังไม่เข้าใจถามโฮฮับดูเขาเป็นผู้มีปัญญาเลิศในเว็บนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ปัญหาที่คุณถามนั้นไม่ใช่เป็นคำถามที่เลื่อนลอยอะไรหรอก
แต่คุณยังอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของตัณหา เจ้าตัวตัณหานี่แหละมันจะเกิดกับเรา
แทบจะตลอดเวลา ถ้าเรายังขาดสติคอยปิดกั้นหรือคอยกำหนดรู้
เมื่อนั้นเราย่อมเป็นทาสของตัณหาทันที เพราะตัณหานั้นจะไม่จักคำว่าอิ่ม มีความพอใจ
และไม่พอใจไปเรื่อยๆ ตัณหานั้นยังแบ่งออกเป็น 3 อย่าง

ใช่ครับคำถามของ น.ส.เอกอนไม่ได้เลื่อนลอย...แต่คำตอบลุงหมานนั้นแหล่ะเลื่อนลอย
ลุงหมานนี่ไม่ไหว จำบัญญัติต้วไหนได้ก็เอามาใส่มั่ว ดูแล้วเหมือน จิ๊กโก๋ตั้งวงกินเหล้าร้องเพลง
พอเมาเนื้อเพลงเริ่มมั่วดำน้ำหน้าตาเฉย

ที่เอกอนเขาถามถึงเรื่องการบีบคั้นจิตใจน่ะ มันเกิดจากเอกอนยังไม่รู้เห็น
สภาวะของไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของสังขาร
ไม่รู้ตามความจริงว่า(ไม่ใช่อ่านเอา) สังขารเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง)
เมื่อไม่รู้ทำให้เอกอนพยายามบังคับให้สิ่งนั้นอยู่กับตนนานๆ
มันเลยเกิดการบีบคั้นทางใจ มันเป็นทุกข์
:b13:

มันเป็นแบบนี้ เข้าใจมั้ยลุงหมาน :b32:



เห็นสภาวะของไตรลักษณ์ เคยเห็นการเกิดขึ้นแล้วเหรอ เล่าให้อ่านบ้างซิคะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




1-7-2.gif
1-7-2.gif [ 76.95 KiB | เปิดดู 5206 ครั้ง ]
[Quote-Tipitaka][ใช่ครับคำถามของ น.ส.เอกอนไม่ได้เลื่อนลอย...แต่คำตอบลุงหมานนั้นแหล่ะเลื่อนลอย
ลุงหมานนี่ไม่ไหว จำบัญญัติต้วไหนได้ก็เอามาใส่มั่ว ดูแล้วเหมือน จิ๊กโก๋ตั้งวงกินเหล้าร้องเพลง
พอเมาเนื้อเพลงเริ่มมั่วดำน้ำหน้าตาเฉย

ที่เอกอนเขาถามถึงเรื่องการบีบคั้นจิตใจน่ะ มันเกิดจากเอกอนยังไม่รู้เห็น
สภาวะของไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของสังขาร
ไม่รู้ตามความจริงว่า(ไม่ใช่อ่านเอา) สังขารเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง)
เมื่อไม่รู้ทำให้เอกอนพยายามบังคับให้สิ่งนั้นอยู่กับตนนานๆ
มันเลยเกิดการบีบคั้นทางใจ มันเป็นทุกข์

มันเป็นแบบนี้ เข้าใจมั้ยลุงหมาน

/Quote-Tipitaka]

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 11:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ที่เอกอนเขาถามถึงเรื่องการบีบคั้นจิตใจน่ะ มันเกิดจากเอกอนยังไม่รู้เห็น
สภาวะของไตรลักษณ์ ยังไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของสังขาร
ไม่รู้ตามความจริงว่า(ไม่ใช่อ่านเอา) สังขารเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง)
เมื่อไม่รู้ทำให้เอกอนพยายามบังคับให้สิ่งนั้นอยู่กับตนนานๆ
มันเลยเกิดการบีบคั้นทางใจ มันเป็นทุกข์ :b13:

มันเป็นแบบนี้


:b6: :b6: :b6:

:b32: :b32: :b32:

ห้วย... :b32: :b32:

ใครจะเข้าใจนู๋เอกอนเท่าพี่โฮล่ะนี่...

smiley smiley smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร