วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 23:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 08:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


จำได้ว่าเคยได้ยินคำสอนของครูบาอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ จะขอแสดงความคิดเห็นตามที่เข้าใจ ทุกท่านโปรดระวังพิจารณาดีๆ ผิดพลาดอย่างไรขออภัยล่วงหน้าครับ

.............................................................................................................

การพิจารณากายต้องดูที่กาย การพิจารณาจิต ก็ต้องดูที่จิต

จะรู้ทันจิตได้ ก็ต้องคอยเพ่งมองที่ตัวจิต พิจารณาจิต คอยเฝ้าสังเกตจิตว่าจิตแสดงอาการอะไรออกมาบ้าง เมื่อจิตมีอาการอย่างไร ก็รู้ได้ทันที ก็คือรู้ทันจิต ถ้าเข้าใจการทำงานของจิตทุกแง่มุม ก็รู้เท่าทัน รู้จักจิตโดยสมบูรณ์

แต่จะเริ่มรู้ทัน หรือรู้ที่ตัวจิตได้ ก็ต้องเคยเห็นจิตมาก่อน

เหมือนกับเราเป็นนายพรานจะตามสัตว์ประหลาดที่เราไม่เคยเห็นซักตัวหนึ่ง เราจะตามยังไง

นายพรานส่วนใหญ่ก็จะเริ่มจากการแกะรอย ตามรอยเท้าสัตว์นั้นไป

อารมณ์ต่างๆของเรา และความคิด ล้วนเกิดขึ้นมาจากจิต จิตเราปรุงขึ้นมาเองทั้งหมด ก็คงเปรียบได้กับรอยเท้า

หากเรามัวแต่ตามไล่ดูอารมณ์ ไล่ดูความคิด ก็คือเราเอาแต่ตามไล่ดูรอยเท้า เห็นแต่รอยเท้าสัตว์ประหลาดอยู่เรื่อยไป ผมเข้าใจว่าแบบนี้คือรู้ตาม ถ้ามัวแต่ทำแบบนี้ เมื่อไรจะเห็นตัวสัตว์ประหลาด คือจิตเราได้

แต่การรู้แบบนี้ก็มีข้อดี การดูอารมณ์ถึงจะไม่ใช่การดูจิต แต่ก็เป็นการดูเวทนา เป็น 1 ใน 4 สติปัฏฐานเช่นกัน (เวทนามีทั้งทางกายและใจ)

แต่หากเราเห็นอารมณ์ เห็นความคิดแล้ว ตั้งใจให้มากขึ้นๆ มองไล่ย้อนไปให้ไวเข้าๆจนเห็นขณะที่นามธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ก็จะเห็นว่ามันเกิดมายังไง มันเกิดมาจากไหน เมื่อเห็นที่เกิดของนามธรรมเหล่านี้ ก็คือเจอตัวสัตว์ประหลาดที่ตามหาแล้ว เจอจิตแล้ว คืออาการ"รู้"ของเราจากเดิมที่ช้ากว่าจิต ทำให้"ตาม"เห็นได้แค่รอยเท้าจิต มาตอนนี้อาการรู้ของเราเร็ว"ทัน"พอดีกับจิตแล้ว และเมื่อเห็นว่านามธรรมเหล่านี้เกิดมายังไง ก็คือเห็นกิริยาอาการของจิตนั่นเอง

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006


จิต เป็นวิญญาณธาตุ ที่มีธรรมชาติ "รู้"
การ "รู้" ของธาตุนี้ มีลักษณะ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย
โดยมีลักษณะ
---รู้เสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข
---รู้ จำ อารมณ์ ต่างๆ
---รู้ คิด ตริ ตรึก ปรุงแต่งต่างๆ
ลักษณะ ทั้งสามนี้ เป็นการรู้ตามจิต

อะไรเป็นตัว รู้ที่ จะทำให้เห็นอาการรู้ตามจิตเหล่านี้ได้
ก็ต้องอาศัย รู้ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ ลักษณะรู้ ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "สติ"
เพราะ ธรรมชาติ ของสติ จะเป็นตัวระลึก ตัวกำหนดได้
ร่วมกับการปรุงแต่งอื่นๆ เข้าไปกำหนด ตัวลักษณะต่างๆ ของจิตที่ปรากฏในขณะนั้นๆ

ในพุทธศาสนา เรา ให้ความสำคัญกับ กุศลจิต คือจิตที่ฉลาดจากความชั่ว ตรงต่อความดี ความหลุดพ้น
จึงจำกัด ลักษณะอาการกำหนดรู้ ไว้เฉพาะจิตอันเป็นกุศลเท่านั้น

สติที่กำหนดรู้ ลักษณะอาการต่างๆ ของวิญญาณธาตุได้ในแต่ละขณะๆ ถ้ากำหนดได้ ก็เรียกว่ารู้ทันจิต
ด้วยเหตุที่เรียกว่าจิต ก็เพราะ ว่า จิต มีธรรมชาติและลักษณะและอาการประกอบกันอยู่

กำหนดได้ ก็รู้ทัน กำหนดไม่ได้ ก็คือหลงอารมณ์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2012, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006

สติตามรู้จิต ...
พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันทีเรียกว่า "รู้ทันจิต"
ถ้าจิตคิดนึก ปรุงแต่งแล้ว สติจึงรู้ เรียกว่า "รู้ตามจิต"

เหมือน คนสองคน ...
เดินคู่กัน ขนานกันไป เปรียบได้กับ "รู้ทันจิต"
เดินตามกัน แถวเรียงหนึ่ง เปรียบได้กับ "รู้ตามจิต"

ท่านว่าไว้ "รู้ทันจิต" หมายถึง "สติควบคุมจิต"
เป็นยอดปรารถนาของผู้ปฏิบัติกรรมฐานทุกคน ...

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 11:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32:

เห็นแล้วคันมือ.. :b32:

จะเอาดีมั๊ยน๊อออออ....


:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 12:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อยู่ในอารมณ์ขี่เกียจ..ใช่ม่าย?

:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006


จิต เป็นวิญญาณธาตุ ที่มีธรรมชาติ "รู้"
การ "รู้" ของธาตุนี้ มีลักษณะ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย
โดยมีลักษณะ
---รู้เสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข
---รู้ จำ อารมณ์ ต่างๆ
---รู้ คิด ตริ ตรึก ปรุงแต่งต่างๆ
ลักษณะ ทั้งสามนี้ เป็นการรู้ตามจิต

อะไรเป็นตัว รู้ที่ จะทำให้เห็นอาการรู้ตามจิตเหล่านี้ได้
ก็ต้องอาศัย รู้ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ ลักษณะรู้ ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "สติ"
เพราะ ธรรมชาติ ของสติ จะเป็นตัวระลึก ตัวกำหนดได้
ร่วมกับการปรุงแต่งอื่นๆ เข้าไปกำหนด ตัวลักษณะต่างๆ ของจิตที่ปรากฏในขณะนั้นๆ

ในพุทธศาสนา เรา ให้ความสำคัญกับ กุศลจิต คือจิตที่ฉลาดจากความชั่ว ตรงต่อความดี ความหลุดพ้น
จึงจำกัด ลักษณะอาการกำหนดรู้ ไว้เฉพาะจิตอันเป็นกุศลเท่านั้น

สติที่กำหนดรู้ ลักษณะอาการต่างๆ ของวิญญาณธาตุได้ในแต่ละขณะๆ ถ้ากำหนดได้ ก็เรียกว่ารู้ทันจิต
ด้วยเหตุที่เรียกว่าจิต ก็เพราะ ว่า จิต มีธรรมชาติและลักษณะและอาการประกอบกันอยู่

กำหนดได้ ก็รู้ทัน กำหนดไม่ได้ ก็คือหลงอารมณ์

เป๊ะ rolleyes
ช่วงนี้ฟุ้งซ่านหลงบ่อยมาก อยู่แต่กับผัสสะรุนแรงๆ 555กำหนดไม่ทัน อุปทานขันธ์ทุกทีเลย :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


มีใครเคยเป็นแบบคุนน้องมั้ย เวลาเกิดผัสสะแบบได้ยินคนพูดถึงเราในทางไม่ดีแล้วเราก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เค้าพูด เอาละเว้ยนางพญากิเลศมารกำเริบ จิตอกุศลมาละคืออยากจะตอกกลับไปให้หน้าหงายแต่กำหนดทันมันก็จะดับไปเองอารมณ์นั้น จิตคุนน้องมันก็ผุดขึ้นมาว่า ถ้าเราไม่ได้เป็นอย่างที่เค้าพูดพวกเค้านั่นแหละที่จะบาป เพราะมันเป็นวจีกรรมให้ร้ายผู้อื่นที่เค้าบริสุทธิ์พวกนี้จิตคิดแต่อกุศลกับผู้อื่น แต่ถ้ากำหนดทันจิตอีกตัวก็จะผุดขึ้นมาสกัดกั้นว่า อย่าไปเอาอะไรเลยกับปากคน อยากจะพูดไรก็ให้เค้าพูดไป เราไม่ได้เป็นแบบนั้นเราอย่าไปโกรธไปแค้นเค้าเลย มันจะเป็นการจองเวรจองกรรมกันป่าวๆ ให้อภัยเค้า จิตเราจะได้ไม่สร้างวิบากกรรมเพิ่ม จะได้เป็นการยุติอโหสิกรรมกันชาตินี้ คือตอนนี้คุนน้องกำลังต่อสู้กับกรรมใหม่ ที่มันอาศัยทวารทั้ง6มาเล่นงานเราอยู่ ถ้าเราพลาดเราก็จะสร้างกรรมใหม่เพิ่ม คุนน้องเลยต้องมีสติ มีสมาธิให้มากๆ บางทีเจอผัสสะรุนแรงแบบทิ่มเราลงไปในก้นบึ้งทิ่มลงไปให้เรารู้สึกปรี๊ดแตก เราก็เกิดสังขารจิตปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ สุดท้ายก็เกิดทุกข์ตามมา เฮ้ออะไรกันนี่ชาวโลก แต่คุนน้องจะไม่ยอมให้กรรมมาเล่นงานคุนน้องแบบนี้ เราต้องสู้กับมันสักตั้ง onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 12:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006

รู้ทันจิต หมายถึง รู้ว่า จิตมีอะไร หรือไม่มีอะไร ปรุงเอง หรือมีเหตุปัจจัยให้ปรุง
รู้ตามจิต หมายถึง ปล่อยรู้ ให้ดูให้เห็นจิตสังขารในจิต ด้วยความเพียรประกอบด้วยสติ มิใช่ปล่อยทิ้งไม่สนใจอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2012, 16:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006


cool
รู้ทันจิต.....นี่เป็นงานของสติ

รู้ตามจิต.....นี่เป็นอาการของปัญญา

อาการรู้ทันและรู้ตามนั้น เปรียบอุปมาเหมือนเอาลูกบอลมาวางเรียงกันเป็นแถวเรียงหนึ่ง


OOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOOO

บอลลูกที่ 1 เป็นจิตรู้...บอลลูกที่ 2 ตามติดมาทันทีเป็น จิต+สตินทรีย์เจตสิก = สติ....รู้ทัน

บอลลูกที่ 3 - 4 - 5 เป็นอารมณ์ของจิต.....บอลลูกที่ 6 เป็น จิต+ปัญญินทรีย์เจตสิก=ปัญญา.....รู้ตาม

ลองพิจารณากันดูนะครับ

:b8:
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:

จิต เป็นวิญญาณธาตุ ที่มีธรรมชาติ "รู้"
การ "รู้" ของธาตุนี้ มีลักษณะ แปรปรวนเปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย
โดยมีลักษณะ
---รู้เสวยอารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข
---รู้ จำ อารมณ์ ต่างๆ
---รู้ คิด ตริ ตรึก ปรุงแต่งต่างๆ
ลักษณะ ทั้งสามนี้ เป็นการรู้ตามจิต

อะไรเป็นตัว รู้ที่ จะทำให้เห็นอาการรู้ตามจิตเหล่านี้ได้
ก็ต้องอาศัย รู้ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ ลักษณะรู้ ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "สติ"
เพราะ ธรรมชาติ ของสติ จะเป็นตัวระลึก ตัวกำหนดได้
ร่วมกับการปรุงแต่งอื่นๆ เข้าไปกำหนด ตัวลักษณะต่างๆ ของจิตที่ปรากฏในขณะนั้นๆ

สงสัยเจ้าของความเห็น จะไม่รู้จัก "รู้"กับ"ระลึกรู้"มั้ง

การรู้อารมณ์ต้องอาศัย....ปัญญา
การ"ระลึกรู้"หรือสติต้องอาศัย...สัญญา

การรู้ด้วยปัญญา คือการรู้ตามจิต....เพราะการรู้ตามจิต จะเกิดได้ต้องอาศัยสติและปัญญา
เป็นตัวนำ

ส่วนการรู้ทันจิต คือ มีสติตามหลัง นั้นก็คือจะต้องเกิดเวทนาและสัญญาเสียก่อน
และสติเป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร
เช่นนั้น เขียน:
อะไรเป็นตัว รู้ที่ จะทำให้เห็นอาการรู้ตามจิตเหล่านี้ได้
ก็ต้องอาศัย รู้ที่สำคัญตัวหนึ่ง คือ ลักษณะรู้ ปรุงแต่ง ที่เรียกว่า "สติ"
เพราะ ธรรมชาติ ของสติ จะเป็นตัวระลึก ตัวกำหนดได้
ร่วมกับการปรุงแต่งอื่นๆ เข้าไปกำหนด ตัวลักษณะต่างๆ ของจิตที่ปรากฏในขณะนั้นๆ

ในพุทธศาสนา เรา ให้ความสำคัญกับ กุศลจิต คือจิตที่ฉลาดจากความชั่ว ตรงต่อความดี ความหลุดพ้น
จึงจำกัด ลักษณะอาการกำหนดรู้ ไว้เฉพาะจิตอันเป็นกุศลเท่านั้น

สติที่กำหนดรู้ ลักษณะอาการต่างๆ ของวิญญาณธาตุได้ในแต่ละขณะๆ ถ้ากำหนดได้ ก็เรียกว่ารู้ทันจิต
ด้วยเหตุที่เรียกว่าจิต ก็เพราะ ว่า จิต มีธรรมชาติและลักษณะและอาการประกอบกันอยู่

เละแล้วล่ะ "เช่นนั้น" การกำหนดรู้เป็นสัญญาไม่ใช่สติ ความหมายก็คือ จำได้หมายรู้กุศลธรรมไว้
เมื่อจิตไประลึกรู้สัญญา คือตัวกุศลธรรมนั้น จึงเกิดเป็นอาการของจิตที่เรียกว่าสติขี้น เข้าใจมั้ย
เช่นนั้น เขียน:
กำหนดได้ ก็รู้ทัน กำหนดไม่ได้ ก็คือหลงอารมณ์

คนละเรื่องเลย "เช่นนั้น" การรู้ทันมันต้องอาศัยสติ และการจะมีสติได้
มันต้องมีการกำหนดไว้ก่อนหน้า เช่นการรู้ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างไร
จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา สติจะเกิดต่อเมื่อ
จิตนั้นขณะนั้นเป็นอกุศล จิตจะไประลึกรู้ธรรมหรือสัญญาที่เป็นกุศล
เพื่อมาดับความเป็นอกุศลนั้น แบบนี้เรียกว่า...
รู้ทันจิต ความหมายก็คือรู้ทันอกุศลจิตนั้นเอง

จิตที่เป็นอกุศล ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็ต้องเกิด เพราะจิตปุถุชนย่อมมีกิเลส
แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถดับมันได้ด้วยสติ
สติไม่ใช่การไม่ให้อกุศลจิตเกิด แต่เป็นการรู้ทันอกุศลจิต
นั้นคือเมื่อเกิดอกุศลจิต จึงเกิดสติเพื่อมาดับอกุศลจิตนั้น
ไม่ให้เกิดการปรุงแต่งกายและวาจา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
การรู้อารมณ์ต้องอาศัย....ปัญญา
การ"ระลึกรู้"หรือสติต้องอาศัย...สัญญา

การรู้ด้วยปัญญา คือการรู้ตามจิต....เพราะการรู้ตามจิต จะเกิดได้ต้องอาศัยสติและปัญญา
เป็นตัวนำ

ส่วนการรู้ทันจิต คือ มีสติตามหลัง นั้นก็คือจะต้องเกิดเวทนาและสัญญาเสียก่อน
และสติเป็นอาการของจิต ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดกายสังขารและวจีสังขาร

จิต เป็นธรรมชาติ รู้ อารมณ์ ...ไม่มีปัญญา ก็รู้อารมณ์ได้
สติ เป็นสังขารขันธ์
สัญญา เป็นสัญญาขันธ์
การระลึก จึงต้องอาศัย สังขารขันธ์ อื่นๆ ด้วยกัน จึงเกิดขึ้นได้ และจึงระลึกต่อสัญญา
การรู้ด้วยปัญญา หรือเห็นแจ้ง เป็นการรู้ตามจิตอย่างหนึ่ง ที่สำเร็จด้วยการภาวนา ด้วยการอบรม
การรู้ทันจิต คือความกำหนดได้ เมื่อเวทนา และสัญญาปรากฏพร้อมกันกับ สติ

เพราะความปรากฏ พร้อมกัน จึงรู้ทัน

สติเป็น อาการของจิต ในสังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพื่อไม่ให้เกิดกายสังขาร หรือ วจีสังขาร
ถ้าเป็นดั่งที่ โฮฮับ อธิบายจริง ขณะมีสติ ก็คงกลายเป็นก้อนหินไปแล้ว :p

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คนละเรื่องเลย "เช่นนั้น" การรู้ทันมันต้องอาศัยสติ และการจะมีสติได้
มันต้องมีการกำหนดไว้ก่อนหน้า เช่นการรู้ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างไร
จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา สติจะเกิดต่อเมื่อ
จิตนั้นขณะนั้นเป็นอกุศล จิตจะไประลึกรู้ธรรมหรือสัญญาที่เป็นกุศล
เพื่อมาดับความเป็นอกุศลนั้น แบบนี้เรียกว่า...
รู้ทันจิต ความหมายก็คือรู้ทันอกุศลจิตนั้นเอง

จิตที่เป็นอกุศล ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็ต้องเกิด เพราะจิตปุถุชนย่อมมีกิเลส
แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถดับมันได้ด้วยสติ
สติไม่ใช่การไม่ให้อกุศลจิตเกิด แต่เป็นการรู้ทันอกุศลจิต
นั้นคือเมื่อเกิดอกุศลจิต จึงเกิดสติเพื่อมาดับอกุศลจิตนั้น
ไม่ให้เกิดการปรุงแต่งกายและวาจา

โฮฮับ...
ขณะที่พิมพ์ แสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้
โฮฮับ มีสติ หรือไม่
จิตขณะดังกล่าวนี้ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
แล้ว นิ้วของโฮฮับ ยังสามารถเคาะแป้นพิมพ์ ได้หรือไม่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คนละเรื่องเลย "เช่นนั้น" การรู้ทันมันต้องอาศัยสติ และการจะมีสติได้
มันต้องมีการกำหนดไว้ก่อนหน้า เช่นการรู้ว่าจิตที่เป็นกุศลเป็นอย่างไร
จิตที่เป็นอกุศลเป็นอย่างไร เมื่อรู้แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา สติจะเกิดต่อเมื่อ
จิตนั้นขณะนั้นเป็นอกุศล จิตจะไประลึกรู้ธรรมหรือสัญญาที่เป็นกุศล
เพื่อมาดับความเป็นอกุศลนั้น แบบนี้เรียกว่า...
รู้ทันจิต ความหมายก็คือรู้ทันอกุศลจิตนั้นเอง

จิตที่เป็นอกุศล ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็ต้องเกิด เพราะจิตปุถุชนย่อมมีกิเลส
แต่เมื่อเกิดแล้วสามารถดับมันได้ด้วยสติ
สติไม่ใช่การไม่ให้อกุศลจิตเกิด แต่เป็นการรู้ทันอกุศลจิต
นั้นคือเมื่อเกิดอกุศลจิต จึงเกิดสติเพื่อมาดับอกุศลจิตนั้น
ไม่ให้เกิดการปรุงแต่งกายและวาจา

โฮฮับ...
ขณะที่พิมพ์ แสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้
โฮฮับ มีสติ หรือไม่
จิตขณะดังกล่าวนี้ เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล
แล้ว นิ้วของโฮฮับ ยังสามารถเคาะแป้นพิมพ์ ได้หรือไม่

มีสติแต่ไม่เป็นกุศลเจ้าค่่ะ เพราะไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว แล้วพี่โฮก็ไม่มีสัมมาทิฏฐิเพราะพี่โฮคิดว่าธรรมของท่านเช่นนั้นมั่วเละ การแสดงความเห็นของพี่โฮไม่มีการสำรวมในทิฏงิของตน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ต.ค. 2012, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาครับ เขียน:
เรียนถามว่า รู้ทันจิต กับ รู้ตามจิต ต่างกันอย่างไรครับ

s006


รู้ทัน...ในปัจจุบันขณะ

รู้ตาม...ในทุกขณะ

ทำจนรู้ทัน รู้ถึง รู้จริง ก็ถึงรู้ :b16:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร