วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2012, 15:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 พ.ค. 2012, 02:09
โพสต์: 456


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมะ.. ในใจ

..คำสุดท้าย..

..กับเทศกาลกินเจ หรือการไม่กินเนื้อสัตว์ ยังคงเป็นข้อถกเถียงว่า เนื้อสัตว์ต่างๆ นี้ กินได้ หรือกินไม่

ได้ กินแล้วผิดศีล ๕ หรือไม่ อย่างไร บ้างก็ว่ากินได้ เพราะพระอรหันต์ และพระพุทธเจ้าก็ฉันเนื้อสัตว์

ทั้งนั้น หากผิดศีลข้อห้าแล้ว พระอรหันต์และพระพุทธเจ้าก็ผิดศีล ๕ ข้อด้วยหรือ อย่างไร..คำถามต่างๆ

เหล่านี้ ยังคงอยู่ในใจของเหล่าพุทธศาสนิกชนมากมาย..

หากพิจารณาถึงศีลข้อ ที่ ๑ แล้วจะพบว่า การฆ่าสัตว์นั้นเป็นบาป หากรู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต เจตนาจะฆ่า

และได้ฆ่าให้สัตว์นั้นตายลง จึงผิดศีลข้อนี้ และผู้กระทำย่อมได้รับผลนั้นอย่างแน่นอน ในขณะเดียวกัน

ในพระวินัยนั้น พระภิกษุสงฆ์จะไม่ต้องอาบัติ ถ้าหากว่าไม่รู้ว่าเนื้อนั้นมาอย่างไร และฆ่าเพื่อใคร สองข้อ

นี้จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ได้มีผู้นำมาหักล้างเพื่อยืนยันว่า การฆ่าสัตว์เพื่อกินเป็นอาหารนั้นไม

บาป เพราะจะกินเนื้อสัตว์ด้วยอาการอย่างพระภิกษุสงฆ์นั่นเอง..

อย่างไรก็ดี.. หากพิจารณาอรรถธรรมเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งว่า เมื่อเราไม่ทำบาปแล้ว เราย่อมไม่

กระทำให้ผู้อื่นทำบาปด้วย ข้อนี้น่าสนใจมากขึ้น เพราะเมื่อเรากินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร สัตว์ต้องตายลง

เพราะการฆ่าโดยเจตนาของผู้ทำหน้าที่ฆ่า แล้วจะยกภาระบาปนั้นให้กับผู้ทำหน้าที่ฆ่าสัตว์หรือไร.. น่า

คิดมากขึ้นใช่หรือไม่ ..สำหรับผู้ยังหาเหตุผลตอบตัวเองไม่ได้ว่า ควรกินเนื้อสัตว์ หรือไม่ควรกินกันแน่..

ในทางการปฏิบัติธรรมด้วยเพศสมณะนั้น พระพุทธองค์ได้หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ผู้กำลังปฏิบัติธรรม ที่

ฉันอาหารเพื่อเพียงพอกับการกระทำกิจที่ควรทำของการปฏิบัติเท่านั้น พระองค์ไม่สรรเสริญเหล่าพระ

ภิกษุที่สะสมอาหาร บริโภคมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย พระองค์ยังได้ทรงตรัสบอกถึงกุศโล

บายอันแยบยลสำหรับพระภิกษุสงฆ์ไว้ว่า เมื่อเวลาฉันอาหารนั้น ควรบริโภคเผื่อไว้สำหรับดื่มน้ำด้วย นี่

เป็นเพียงกุศโลบายเล็กน้อยเบื้องต้นของการปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนาให้ก้าวหน้าเท่านั้น ตามความเป็น

จริงร่างกายมนุษย์นี้นั้น แม้กินอาหารเพียงแค่หนึ่งมื้อ ร่างกายสามารถอดอาหารอยู่ไปได้อีกหลายวันที

เดียว แต่ที่รู้สึกว่าหิวนั้น เป็นด้วยเหตุ ปัจจัยหลายอย่าง เช่นการทำงานหนักเกินไป อารมณ์ไม่คงที่ เช่น

สุขมาก ทุกข์มาก สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุหลักใหญ่ที่ทำให้ร่างกายต้องการอาหารเสมอๆ แต่เมื่อกิน

อาหารเข้าไปแล้ว ระบบเผาผลาญในร่างกายก็ทำงานหนักขึ้นตามแต่อายุ ตามแต่บุคคลที่ก็แตกต่างกัน

ไปอีก ลองคิดเล่นๆ ว่าหากเราติดเตาแก๊สไว้ตลอดเวลา ผลจะเป็นอย่างไร นั่นคือกะเพาะอาหารของ

มนุษย์ดีๆ นี่เอง เตาแก็สก็เสื่อมสภาพเร็ว เสียเร็ว แก็สก็หมดเร็ว มนุษย์จึงแก่เร็ว อายุสั้น เพราะความ

เสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง เมื่อระบบเผาผลาญในร่างกายเสื่อมลง

แต่ความอยากกินอาหารโดยไม่รู้ ก็จะทำให้อาหารเหล่านั้นไปสะสมกันไว้ เปรียบเหมือนถังขยะที่เต็มไป

ด้วยเศษเนื้อ เศษผักที่ผสมปะปนกันอยู่ หนึ่งวันบ้าง สองวันบ้าง ก่อให้เกิดปฏิกิริยากลายสภาพเป็นกรด

เน่าเสียอยู่ในกะเพาะอาหาร และร่างกายก็ต้องทำหน้าที่เดิมๆ คือนำอาหารที่เน่าเสียอย่างนั้นไปใช้บ้าง

ถ้าหากระบบย่อยทำงานใม่ทันกับปริมาณอาหารที่กินเข้าไป ผิวหนัง กลิ่นตัวจึงเป็นสิ่งที่แสดงออกใน

เบื้องต้น และแสดงออกไปตามแต่สภาพร่างกายของแต่ละคน พระพุทธองค์จึงทรงสั่งสอนเหล่าพระภิกษุ

ว่า ให้ฉันอาหารที่เหลือกะเพาะไว้สำหรับน้ำดื่มด้วย และควรฉันอาหารเพียง ๑ หรือ ๒ มื้อเท่านั้น การ

บริโภคอาหารในยามวิกาลจึงต้องอาบัติ เพราะพระองค์มุ่งหวังไว้เฉพาะผู้กำลังปฏิบัติธรรมในสมณเพศ

จะได้เห็นผลของการปฏิบัติจึงทรงให้วินัยในการฉันอาหารอย่างนี้ ซึ่งหากผู้ไม่ได้ปฏิบัติธรรมลองใช้วิธีนี้

เพื่อความสวยงาม หรือสุขภาพ โดยไม่ได้ศึกษา และปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเจริญวิปัสสนา

แล้ว ย่อมให้ผลร้ายมากกว่าผลดีอย่างไม่ต้องสงสัย

อาหาร ยังเป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า มนุษย์นี้มีแต่เรื่องกิน เกียรติ และ

เรื่องกาม ก็เป็นนัยให้เห็นว่า เรื่องกินนี้เป็นหนึ่งในเหตุขัดขวางทางการปฏิบัติ เพราะมนุษย์นี้แสวงหาแต่

ของอร่อยลิ้นและเป็นโลภะอย่างสำคัญหากหยุดเรื่องความพอใจเรื่องการกินเมื่อไร การกำหนดความ

อยากก็คงจะแน่นอนมากขึ้นในทางวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติเมื่อพิจารณาก่อนการกินเนื้อนั้นย่อมเกิดความ

เวทนาว่าเนื้อนี้ตายลงอย่างไรตายลงเพื่อใคร และผู้จะกิน กินเนื้อที่ตายลงด้วยอาการนั้นอย่างไร และผู้

ใดอีกจะได้ก่อกรรมนี้จนมองไม่เห็นต้นและไม่เห็นปลายนี้สืบต่อไป ดังนั้นผู้บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยความ

ชอบแล้ว กล่าวอ้างว่าพระภิกษุยังฉันเนื้อสัตว์ได้ตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการ

บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยอาการที่ต่างกัน ด้วยเหตุว่ามนุษย์ปุถุชนธรรมดาบริโภคแล้ว สิ่งที่เกิดสืบไปก็ไม่อาจ

ดับ วัฏฏะที่ยังไกลอยู่ ก็ยังไกลอยู่อย่างนั้น ความเวียนมาฆ่ากันและกัน ย่อมไม่อาจหลีกได้ แต่หาก

บริโภคดังผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว สิ่งที่เกิดแล้วย่อมอาจดับ วัฏฏะที่ว่าไกล ยังตัดให้สั้นลงด้วยเมตตาที่แผ่ออก

ไปแล้ว ด้วยเพราะเหตุแห่งการพิจารณาถึงเนื้อนั้น ความเข้าใจจึงเกิดขึ้น ปัญญาเพื่อการออกไปจากการ

เวียนไปมาเพื่อเหตุอย่างนี้จึงมีที่เริ่มต้น ความสุขจากความรู้จึงเกิดขึ้น ความเพียรเพื่อดับเหตุอื่นๆ จึงเกิด

ยิ่งๆ ขึ้นไป เมื่ออาการอย่างนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง..ไม่ช้า.. ปลายทางก็ใกล้แล้ว..ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ต.ค. 2012, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


คำถามคือ เหตุของการกินเจนั้น มีเหตุเพราะอะไร ขอยกตัวอย่าง
เช่น ได้ถวายตัวเป็นลูกของเทพ นี่ก็เป็นเหตุ ถามว่าการที่ถวาย
ตัวเป็นลูกของเทพ เพราะสืบเนื่องมาจากเหตุอะไร อาจจะเป็น
เพราะว่าเคยเจ็บป่วยหนัก ก็เลยอธิฐานว่า หากอาการดีขึ้น
ก็จะงดกินเนื้อตลอดชีวิต นี่ก็เป็นเหตุ ถามว่า เมื่อเลิกกินเนื้อสัตว์
แล้ว แน่ใจได้แค่ไหนว่าตัวเองมีเมตตาต่อสัตว์ จะไม่ทำร้ายสัตว์เลย
ดังนั้น ความเชื่อและความศรัทธาจึงยังอาจเป็นเหตุผลหลัก
ของการกินเจก็เป็นได้ ดังนั้นจึงยังเป็นลักษณะของการข้องแวะกับ
อาสวะ4(คิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ห่วงอนาคตว่าจะตกอุบายภูมิ) โดยไม่ได้เกี่ยวกับปัญญา หรือ วิปัสสนาเลย
แต่หากคนที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารอยู่ แต่พิจารณาอาหารที่กินเข้าไป
อย่างมีสติ ทุกคำของอาหารนั้นตามรู้ พิจารณาถึงโทษของอาหาร
ที่กินเข้าไปว่า แม้ไปบำรุงขันธ์ไม่ให้แตกดับลงแต่ไม่ได้หมาย
ความว่าจะไม่มีโทษอย่างอื่น เพราะรูปขันธ์เป็นทุกข์ อาจจะเจ็บป่วยเพราะ
อาหารที่กินเข้าไป ดังนั้นการพิจารณาอาหารที่กินเข้าไปเฉพาะหน้า
ไม่หวังว่าจะรักษารูปขันธ์ให้อายุยืนยาวเพิ่มขึ้น แต่หวังเพราะการดำรงอยู่วันนี้ให้ผ่านพ้นไป
จึงเป็นคำถามว่า ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์
ย่อมมีเหตุจากความเห็นที่น้อมลง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา นั่นเอง โดยไม่มี สังขารขันธ์ (ขันธ์5)เข้ามามีอำนาจมากเกินไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร