วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2012, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำ "ใจ" ให้รู้จักธรรม ให้เข้าถึงธรรม ทำได้อย่างนี้ ก็เรียกว่า
ทำตนให้เป็นพึ่งของตน อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ .. แล้วละ

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 10:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:


พาตน...ให้ได้มาศึกษาปฏิบัติธรรม....จนบรรลุธรรมที่พระตถาคตตรัสสอน....เรียกว่าเสร็จกิจ....

เมื่อเสร็จกิจ...เมื่อนั้นแหละ....ถึงเรียกว่า..ตนเป็นที่พึ่งของตนแล้ว...

ส่วนผู้ที่กำลังเดินตามมรรค8 ...เป็นผู้กระทำตนให้เป็นที่พึ่งของตน...

อิอิ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุเจ้าข้า .. :b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:



เต็มๆมีดังนี้

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน, บุคคลอื่นใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคล มีตนฝึกฝน ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง อันบุคคลได้โดยยาก.


แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโถ คือ เป็นที่พำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า
"บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน สามารถจะทำกุศลแล้วถึงสวรรค์ หรือเพื่อยังมรรคให้เจริญ หรือทำให้แจ้งซึ่งผลได้ เพราะเหตุนั้นแหละ ตนแลพึงเป็นที่พึ่งของตน. คนอื่นใครเล่า? พึงเป็นที่พึ่งของใครได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกดีแล้ว คือมีความเสพผิดออกแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งบุคคลได้โดยยาก กล่าวคือพระอรหัตผล."

ก็คำว่า "นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ" นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระอรหัต.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.


http://guru.google.co.th/guru/thread?ti ... 8ee83f3bcb

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2012, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:



อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ...

ดูการพึงตนเอง ตามที่แก้อรรถแล้วหมายถึงพระอรหัตโน่น

ถามว่าทำอย่างไร จึงจะได้ชื่อว่า พึ่งตนเองได้อย่างนั้น ท่านวางหลักไว้ให้แล้ว ได้แก่ ปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ดูพุทธพจน์

"ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะ และปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน 4"


ทำอย่างนี้ให้ถูกต้องแล้ว ก็จะพึงตนเองได้ตามนั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2012, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:



เต็มๆมีดังนี้

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน, บุคคลอื่นใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคล มีตนฝึกฝน ดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง อันบุคคลได้โดยยาก.
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=216a2c8ee83f3bcb

:b8: :b8:

ท่านกล่าวไว้ครบถว้นบริบูรณ์แล้ว ความหมายชัดเจน ต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งด้วยการฝึกตน

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2012, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:

ทำตนให้บรรลุภูมิธรรมขั้นต้น คือ พระโสดาปัตติผลขึ้นไป หมายถึง มีตนเป็นที่พึ่งของตนนั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2012, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:


ความสงสัยเป็นจุดเริ่มต้นในการค้นหาคำตอบ
แต่ถ้าสงสัยตลอดเวลานั่นเป็นเพียงความลังเล

ศรัทธาเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว
ตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกเดินทาง
จนจบเส้นทางสุดท้ายแห่งลมหายใจ
แต่ที่ศรัทธาคลอนคลาย
นั่นเป็นเพราะความลังเลสงสัย
นั่นเป็นเพราะกิเลสและอวิชชามากมาย
ซึ่งคอยรุกเร้าทำลายหนทางที่ถูกต้องดีงามในใจเราเอง

ถ้าเราเป็นหนึ่งเดียวกับทุกย่างก้าวของเรา
เราจะเต็มเปี่ยมไปด้วยสติ
เราจะเดินไปบนหนทางที่ถูกต้องถูกธรรม
เราจะพบคำตอบที่รอวาง

สติเท่านั้นแหละ จะเป็นที่พึ่งของเรา
หากเราทำการใดโดยไร้สติยั้งคิด เราจะพึ่งตนเองไม่ได้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2012, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 10:18
โพสต์: 590

โฮมเพจ: www.bhuddhakhun.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ทำอย่างไรค่ะ จึงจะได้ชื่อว่า อัตฺตาหิ อัตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน สาธุเจ้าคะ :b8:


ตนที่ฝึกดีแล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีของตน

ตนที่ฝึกแล้วดี หรือตนที่เป็นคนดี ย่อมเป็นที่พึ่งที่ดีของตนเอง อันที่พึ่งที่ดีนั้น ผู้ใดไม่ยอมรับว่าคือตัวของตัวเองดี ผู้นั้นต้องพยายาแสวงหาอยู่

กล่าวได้ว่าทุกคนปรารถนาจะมีที่พึ่งที่ดี แต่โดยมากพากันไปคิดว่าจะพึ่งคนนั้นคนนี้ที่มีบุญมีวาสนา มีอำนาจราชศักดิ์ใหญ่ ในวงการนั้นวงการนี้ เพื่อว่าตนจะได้มีความสวัสดี มีความปลอดโปร่งเมื่อต้องเข้าไปเกี่ยวข้องพัวพันกับวงการใดวงการหนึ่งดังกล่าว

ความคิดนี้ทำให้คนเป็นอันมากพากันเข้าไปห้อมล้อมผู้มีอำนาจวาสนา เกิดการกีดกันแก่งแย่งกันขึ้นอยู่เนื่องๆ และบางทีการเข้าไปห้อมล้อมก็เป็นการเข้าไปผิดคนผิดที่ คิดนึกว่าเป็นคนที่ดี เป็นที่ที่ดี แต่ก็หาได้เป็นจริงเช่นนั้นไม่ กลับกลายเป็นไปห้อมล้อมคนไม่ดี ไปสู่ที่ไม่ดี ก่อให้เกิดความวุ่นวายยุ่งยากตามมาได้ต่างๆ

นี่ก็เป็นเพราะแสวงหาที่พึ่งภายนอก จึงเป็นอันแน่นอนว่าที่พึ่งภายนอกนั้น ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ไม่ใช่ว่าจะเหมาะสมกับตนเสมอไป ไม่ใช่ว่าจะช่วยตนจะเป็นที่พึ่งของตนได้จริงเสมอไป ที่พึ่งที่สำคัญที่ให้คุณแน่แท้คือ ตนเองของทุกคนที่ฝึกดีแล้วนั่นแล

ถ้าตนเองไม่สามารถเป็นที่พึงของตนได้แล้ว ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะได้ที่พึงภายนอกที่ดี

ผู้ใดไม่ได้ฝึกตนให้เป็นคนดี ใครอื่นไหนเล่าจะสนใจมาให้ความช่วยเหลือมายอมเป็นที่พึ่ง คนดีมีปัญญานั้น จะให้ผู้ใดพึ่งจักต้องพิจารณาเห็นความเหมาะความควรก่อนเสมอ จะไม่ยอมตนให้เป็นที่พึ่งของใคร อย่างไม่พิจารณา

ผู้ที่ฝึกตนให้ดีได้แล้ว ย่อมเป็นที่พึ่งของตนเองได้ ใครรู้ใครเห็นย่อมยินดีจะให้ความอุปการะช่วยเหลือ ความขัดข้องย่อมยากจักเกิดแก่ผู้มีตนที่ฝึกดีแล้ว

ความดีเปรียบได้เหมือนแก้วสารพัดนึก

ความดีมีอานุภาพยิ่งใหญ่ จึงไม่ควรประมาทความดี ควรทำความดีไว้ให้เสมอ ให้มาก ให้เต็มสติปัญญาความสามารถ มีโอกาสใด มีช่องทางใด ที่จะทำความดีได้ พึงอย่าละเลยโอกาสนั้น พึงอย่าละเลยช่องทางนั้น

แต่พึงรีบทำทันที ฝึกตนให้ดีได้เพียงไรจะเห็นด้วยตนเองทันทีว่า ได้มีที่พึ่งที่ดีเพียงนั้น ไม่ต้องว้าเหว่ ไม่ต้องเกรงกลัวอุปสรรคใดๆ เกิดขึ้นได้ในชีวิต

ผู้ใดรักษาตนได้ ผู้อื่นทั้งหลายก็จะรักษาผู้นั้นด้วย

พุทธศาสนสุภาษิต บทหนึ่งกล่าวไว้มีความว่า...
“ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันรักษาด้วย”

ความหมายอีกชั้นหนึ่งของพุทธศาสนสุภาษิตนี้ก็คือ...
“ผู้ใดรักษาตนได้ ผู้อื่นทั้งหลาย ก็จะรักษาผู้นั้นด้วย”

ความหมายชั้นนี้ น่าจะทำให้เกิดความอบอุ่นปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รู้ว่า ตนสามารถรักษาตนได้แล้ว พราะย่อมอบอุ่นว่า จะไม่มีเภทภัยใดเกิดกับตนได้ ด้วยมีผู้อื่นทั้งหลายช่วยรักษาอยู่

แต่การรักษาตนได้นั้นเป็นปัญหาสำคัญ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ง่าย ต้องมีสติมีความตั้งใจจริงจึงจะสามารถทำได้ ดังนั้นแม้ต้องการจะมีความสวัสดีในชีวิต ก็ต้องพยายามรักษาตนให้ได้

ไม่มีผู้ใด จะสามารถรักษาตนได้ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่มีความดี

ผู้ที่รักษาตนได้ คือผู้ที่มีความดี ที่กล่าวว่ารักษาตนได้นั้น พูดให้ยาวออกไปคือ มีความดีรักษาตนอยู่นั้นเอง ไม่ได้หมายความเป็นอย่างอื่น ไม่มีผู้ใดจะสามารถรักษาตนได้ ถ้าไม่มีความดี ถ้าไม่ได้ทำความดีอย่างเพียงพอ

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม คือผู้ประพฤติดีย่อมมีความดีรักษา ย่อมเป็นผู้ที่รักษาตนได้ ดังนั้นสิ่งซึ่งต้องทำที่เป็นความสำคัญสำหรับทุกคนที่ต้องการรักษาตนคือ ความดี

ผู้ทำความดีแม้ขาดลาภขาดยศ แต่มีความสงบสุขทางจิตใจที่สูงกว่ามีลาภยศ

อันการทำความผิดความชั่วนั้น ไม่ว่ามากน้อยหนักเบาเพียงไร แม้ผู้อื่นจะไม่รู้ไม่เห็น แต่ตัวเองต้องรู้ต้องเห็น ต้องรู้สึกในความผิดพลาดความไม่ดีของตนอย่างแน่นอน ความรู้สึกนั่นแหละที่เป็นเครื่องทำให้ไม่เป็นสุข

ตรงกันข้ามกับผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งหลาย บุคคลประเภทหลังนี้แม้จะขาดลาภ ขาดยศ แต่ก็มีความสงบสุขของจิตใจ ที่มีค่าสูงกว่าลาภยศที่ได้มาโดยไม่ชอบ ที่อาจนำอาญาบ้านเมืองให้ติดตามมาได้

เรียกว่าผู้ทำความไม่ดีไม่ชอบไม่สุจริตทั้งหลาย เป็นผู้รักษาตนไม่ได้ ผู้อื่นทั้งหลายก็ไม่ช่วยรักษาด้วย ผลย่อมเป็นความไม่สวัสดี ทั้งทางกายและทางใจ คือใจก็วุ่นวายไม่สงบสุข กายก็อาจไปสู่ที่ชั่วที่เดือดร้อนได้ ในวันหนึ่งอย่างแน่นอน

ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ รักษาใจให้ดีได้เพียงไร ก็เรียกว่ารักษาตัวให้ดีได้เพียงนั้น

จะเป็นคนดีได้ต้องสำคัญที่จิตใจดีก่อน เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธานทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ รักษาใจให้ดีได้เพียงไร ก็เรียกว่ารักษาตัวให้ดีได้เพียงนั้น ใจแว้ดล้อมด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลงมากเพียงไร ตนที่มีใจนั้นครองอยู่ ก็จะเป็นคนที่ดีไม่ได้เพียงนั้น

ความรักตนของผู้มีใจเช่นนั้น ย่อมไม่เป็นความรักที่ถูกแท้ ไม่นำให้เกิดผลดีแก่ตนอย่างไร ทำใจให้ไกลจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้มากเพียงไร แม้ไม่รู้สึกว่ารักตน แต่นั้นก็เป็นความรักตน เป็นการสามารถรักษาตนได้มากเพียงนั้น

ความโลภ ความโกรธ ความหลง นี้สำคัญที่สุด รักษาไว้ใกล้ตนเพียงใด ก็เท่ากับศัตรูผู้ทำลายอยู่ใกล้ตนเพียงนั้น รักษาตนให้ดีไม่ได้เพียงนั้น

กิเลสเป็นสิ่งที่มีเต็มโลก ทุกยุคทุกสมัย ทำลายไม่ได้ แต่สามารถหนีให้ไกลได้

กิเลสเป็นสิ่งที่มีเต็มโลก ทุกยุคทุกสมัย ทำลายไม่ได้ แต่หนีไกลได้ ถ้าทำลายกิเลสได้ พระพุทธเจ้าย่อมจักทรงทำลายให้หมดสิ้นไปแล้ว เพราะทรงเห็นโทษของกิเลสว่า ใหญ่ยิ่งนักกิเลสเป็นศัตรูร้ายนัก

หนีไกลความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้เพียงใด ก็เท่ากับทำลายศัตรูร้ายได้เพียงนั้น รักษาตนได้เพียงนั้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นแหละเป็นความสำคัญเราจะดีหรือเราจะชั่ว ก็ที่กิเลสสามกองนี้นั่นเอง

ฉะนั้น อย่าปล่อยให้กิเลสสามกองนี้ให้เป็นไปตามอำเภอใจ ต้องตั้งใจควบคุมให้อยู่ในอำนาจและต้องพยายามหนีให้ไกลให้จงได้ ตั้งใจให้จริงจังแล้วจะให้ผล เป็นการรักษาตนให้ดีสมกับที่ตนเป็นที่รัก

ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้มีความว่า “ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี” เป็นการเตือนใจด้วยความไพเราะยิ่งนัก ควรยิ่งนักที่จะได้รับความสนใจอย่างยิ่ง ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนให้ดี ขอให้ทบทวนคำเตือนนี้ให้ดีเสมอ แล้วจะรู้สึกซาบซึ้งว่า เป็นคำเตือนที่สุถาพ อ่อนโยนและไพเราะลึกซึ้ง

เมื่อทบทวนคำเตือนนี้แล้ว ก็น่าจะนึกเลยไปว่า ผู้กล่าวคำเตือนได้เช่นนี้ ต้องมีความปรารถนาดีอย่างที่สุดต่อเราทุกคน จึงควรเคารพเทิดทูนท่าน ให้ความสนใจและปฏิบัติให้เป็นไปตามคำของท่าน เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณและน้ำใจที่งดงามซึ่งมีต่อเราทุกคน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=43541

.....................................................
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2012, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณเจ้าคะ ขอบคุณหลาย ๆ :b8: :b53:

tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร