วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอคำอธิบายขันธ์ทั้ง5 เป็นมารด้วยค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เบญจขันธ์เป็นมาร เพราะเป็นผู้ตาย และเป็นผู้ทำให้ตาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอคำอธิบายขันธ์ทั้ง5 เป็นมารด้วยค่ะ :b8:



คุณเต้

ขันธ์ ๕ ไม่ได้เป็นมาร

เหตุที่กล่าวว่า ขันธ์ ๕ เป็นมาร เกิดจาก อุปทานที่มีอยู่ จึงเป็น อุปทานขันธ์ ๕


ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัย อุปทานขันธ์ ๕ เกิดจากความไม่รู้ที่มีอยู่ มีเหตุดังนี้ค่ะ

เมื่อชาติดับ ชรามรณะ จึงไม่มี
เมื่อไม่มีการเกิด ชรามรณะ จึงเกิดขึ้นไม่ได้


การเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม ล้วนมีเหตุปัจจัย

แม้กระทั่ง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ล้วนมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ได้แก่ ภพ



ภพ ได้แก่ คิด พูด ทำ

เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น(ผัสสะ) เป็นเหตุให้เกิด ความรู้สึกยินดี ยินร้ายหรือเฉยๆ ล้วนมีเหตุปัจจัยให้เกิด ได้แก่ อุปทานขันธ์ ๕



“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และ อุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง”

“ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕”

“อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕”
(สํ.ข. 17/95-96/58-60)

“ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลาย
จงฟัง”

“รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ฉันทราคะ ใน รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้น คือ อุปาทานใน (สิ่ง) นั้นๆ”
(สํ.ข. 17/309/202)



ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญาณ สังขาร วิญญาณ

อุปทาน ได้แก่ อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่ เกิดจาก ตัณหา ได้แก่ อนุสัยกิเลสที่มีอยู่


รูป ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่เรียกว่า ผัสสะ เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึก ยินดี ยินร้าย เฉยๆ

เวทนา ได้แก่ ความรู้สึก ยินดี ยินร้าย เฉยๆ

สัญญา ได้แก่ ความจำได้ หมายรู้ หมายถึง เมื่อมีสิ่งใดเกิดขึ้น แล้วทำให้เกิดความรู้สึกยินดี ยินร้าย นั่นคือ การมีเหตุปัจจัยร่วมกับสิ่งๆนั้น


สังขาร ได้แก่ ความปรุงแต่ง หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น โดยมีตัวตัณหา ได้แก่ อนุสัยกิเลส เป็นตัวหนุนนำส่ง

วิญญาณ ได้แก่ วิญญาณขันธ์ หมายถึง สเหตุกะ กับ อเหตุกะ


เมื่อมีการสร้างเหตุทางความคิด เรียกว่า มโนกรรม ทางคำพูด เรียกว่า วจีกรรม ทางการกระทำ เรียกว่า กายกรรม

เพราะ อุปทานขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้เกิดภพ ภพเป็นเหตุให้เกิดชาติ ภพชาติปัจจุบัน เกิดขึ้นเนืองๆ เหตุจากอุปทานขันธ์ ๕

ภพชาติการเวียนว่ายตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร ล้วนเกิดจาก อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่

จะทำลายอุปทานขันธ์ ๕ ตัวนี้ลงไปได้ ต้องทำลายตัณหา ได้แก่ อนุสัยกิเลสที่มีอยู่

อุปทานขันธ์ ๕ จึงชื่อว่ามาร เพราะเหตุนี้ เป็นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 18:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 23:55
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใดที่ยึดมั่นในขันธ์ทั้ง 5

ด้วยอำนาจแห่งอวิชชาที่มีในตน

ชื่อว่าเป็นมาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 19:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: :b55: :b55: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 28 ส.ค. 2012, 19:41, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 19:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


รูป เป็นที่ให้เกิดมีการมาการไป
เวทนา เป็นที่ให้เกิดมีการมาการไป
สัญญา เป็นที่ให้เกิดมีการมาการไป
สังขาร เป็นที่ให้เกิดมีการมาการไป
วิญญาณ เป็นที่ให้เกิดมีการมาการไป

ภพ ก็มีได้ด้วยมีสิ่งให้ได้มีการเข้าไปอาศัยต้้งอยู่
ทำให้มีการหย่อนลง ทำให้มีการมาการไป
เมื่อมีการหย่อนลง และมีการมาการไปอยู่
การที่จะหลงไปใน ภพ ก็ย่อมปรากฎ

:b32: :b9: :b9: :b32:


:b12: :b12: :b12:

อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 19:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอคำอธิบายขันธ์ทั้ง5 เป็นมารด้วยค่ะ :b8:


ขันธ์ 5 เป็นมาร นั่น เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

แต่ต้องเรียกว่า "ขันธมาร" นะครับ

ผมจะอธิบายตามที่ผมเข้าใจนะครับ ผิดพลาดประการโดก็ขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

:b41:

ขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

เมื่อเราเกิดทุกข์ ในใจ หรือ เกิดจากทุกข์กายก็ดี ---- ขันธ์ 5 จะทำงานครับ

แต่สิ่งที่เป็นทุกข์ในขันธ์ สามารถเห็นได้เด่นชัดที่สุด ก็คือ สังขาร กับ รูป - เวทนา

เพราะสังขาร คือความคิดนึกปรุงแต่ง ไปต่างๆ นา ๆ ความคิดนึกนี่แหละ ทำให้เราเกิด

โสกะ ปริเทวะ ทุขะ โทมนัส อุปายาส
ความโศก ความร่ำไร รำพัน ความไม่สบายใจกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ(ทั้งหลาย)

ที่กล่าวมานี่ ส่วนใหญ่ ก็เกิดจากความคิดแทบทั้งนั้น

:b8: เหมือนที่หลวงปู่ ดูลย์ อตุโล กล่าวไว้ไม่มีผิดครับ ว่า :b8:

:b8: คนเราทุกข์เพราะความคิด :b8:

จึงสรุปสั้นๆ ได้ว่า ขันธ์เป็นมาร เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์นั่นเอง

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณในความรู้ที่ทุกๆท่านให้ด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:

ขอถามอีกข้อหนึ่งน่ะค่ะ คือบางครั้งก่อนที่เราจะทำสมาธิ
เรามักจะนึกถึงการเวียนว่ายตายเกิด

การเกิดนี่มันทุกข์น่ะ แล้วทีนี้บางครั้งเราจะไปนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นๆ
อย่างนี้เรียกว่าจิตของเราไปปรุงแต่งหรือปล่าวค่ะ

คือเวลาที่เรานึกถึงเรื่องทุกข์แล้ว ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้นาน
บางครั้งเป็นถึงชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทีนี้สิ่งที่เราอยากจะรู้คือ
สิ่งที่เราไปมองทุกข์ของคนอื่นแล้ว.......(พูดไม่ถูก)
อย่างนี้เราผิดหรือปล่าวค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ส.ค. 2012, 22:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ไม่ผิดหรอกครับ....มันถูกต้องดีแล้วต่างหาก...

แต่ไม่รู้ว่า...ทั้งหมดที่คุณเต้พิจารณา...มีเท่านี้หรือมีมากกว่าที่เล่ามานี้หรือเปล่า

ขอเอามะพร้าวมาขายสวน..นะครับ..

การพิจารณาให้เห็นภัยของวัฏฏะ...นั้นคือเห็นทุกข์...นั้นดี...แต่อยากให้ทำให้สุด

คือ...พิจารณาต่อว่าอะไรหนอ..ทำให้เกิด...ใช่เพราะใจมีเจตจำนงที่จะเกิดหรือไม่?

อะไรหนอคือต้นเหตุให้เกิดเจตจำนงนี้...ใช่เพราะความเข้าใจว่าเราคือรูป....มีรูปก็มีเราหรือไม่

รูปนี้ใช้เราจริงหรือไม่....มันเกิดแล้วก็ตายเอาไปไม่ได้...แต่เราก็ไปเกิดอีก...เกิดแล้วก็รอตาย...ก่อนตายความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ นานา...ก็เกิดกับเราไม่มีช่องว่าง..

พิจารณา...จนใจเห็นความจริงว่า...รูปนี้ไม่ใช่เรา...ไม่ใช่บ่อเกิดของความสุข...มันมีแต่ทุกข์...ควรหรือที่เราจะเอามันอีก..

กระทั้งคิดได้ว่า.....ความไม่เกิดอีกต่างหาก...เป็นการแก้ปัญหาทั้งมวลนี้...

จนมีจิตเจตจำนงต่อความไม่เกิด...

กระทำให้จิต..เกิดเจตจำนงใหม่นี้...เรื่อย ๆ

สรุปรวบยอด..คือ...ให้เห็นทุกข์....เห็นเหตุให้เกิดทุกข์...เห็นความดับทุกข์...เห็นทางที่ทำให้ทุกข์ดับ

คือ..ให้เห็น...อริยะสัจ 4 ก่อนนั้นเอง...แล้วจึงลงมือทำสมาธิ...

สมาธิที่ทำ....ก็กลายเป็นสัมมาสมาธิ...เพราะได้มีสัมมาทิฏฐิเป็นฐานเรียบร้อยแล้วนั้นเอง...

หากทำบ่อย ๆ แล้ว....จะเริ่มพิจารณาที่..ความตาย...อาการ 32 เลยก็ได้...

อิอิ....ขายไปเยอะ...ไม่รู้ว่าขายหน้าไปด้วยรึเปล่านะ...หุหุ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 08:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอบคุณในความรู้ที่ทุกๆท่านให้ด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:

ขอถามอีกข้อหนึ่งน่ะค่ะ คือบางครั้งก่อนที่เราจะทำสมาธิ
เรามักจะนึกถึงการเวียนว่ายตายเกิด

ตรงนี้เค้าเรียก การพิจารณาจากภายนอกครับ เป็นโยนิโสมนสิการ อย่างหนึ่ง

การเกิดนี่มันทุกข์น่ะ แล้วทีนี้บางครั้งเราจะไปนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นๆ
อย่างนี้เรียกว่าจิตของเราไปปรุงแต่งหรือปล่าวค่ะ

ก็ปรุงซิครับ แต่เป็นในฝ่ายดี คือ ฝ่ายปัญญา พิจารณาทุกข์ แต่ยังเป็นภายนอกอยู่

คือเวลาที่เรานึกถึงเรื่องทุกข์แล้ว ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้นาน
บางครั้งเป็นถึงชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทีนี้สิ่งที่เราอยากจะรู้คือ
สิ่งที่เราไปมองทุกข์ของคนอื่นแล้ว.......(พูดไม่ถูก)
อย่างนี้เราผิดหรือปล่าวค่ะ :b8:


ก็ไม่ผิดหรอกครับที่มองทุกข์คนอื่น แต่ต้องน้อมเข้ามาใส่ตัว ว่า คนเราก็เป็นทุกข์ด้วยกันทุกคน

จะมากจะน้อย ต่างกรรม ต่างวาระ เท่านั้นเอง

ขออนุโมทนาด้วยนะครับ ที่พิจารณา ทุกข์ เป็นอารมณ์ แล้วนั่งสมาธิได้นาน แบบนี้ เรียกว่า การใช้ ปัญญาอบรมสมาธิ ครับ ปัญญา 3 ส่วน สมาธิเพียงส่วนเดียว เป็นลักษณะของ ปัญญาวิมุต

นั่นแสดงถึง จริตของเราแล้วครับ ต้องปัญญานำในการทำสมาธิ แต่ต้องสังเกตให้ดี ๆนะครับ

เพราะปัญญามากไป จะฟุ้งครับ


:b8: ขอแสดงความคิดเห็นเท่านี้นะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


potikul เขียน:
bbby เขียน:
ขอบคุณในความรู้ที่ทุกๆท่านให้ด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:

ขอถามอีกข้อหนึ่งน่ะค่ะ คือบางครั้งก่อนที่เราจะทำสมาธิ
เรามักจะนึกถึงการเวียนว่ายตายเกิด

ตรงนี้เค้าเรียก การพิจารณาจากภายนอกครับ เป็นโยนิโสมนสิการ อย่างหนึ่ง

การเกิดนี่มันทุกข์น่ะ แล้วทีนี้บางครั้งเราจะไปนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นๆ
อย่างนี้เรียกว่าจิตของเราไปปรุงแต่งหรือปล่าวค่ะ

ก็ปรุงซิครับ แต่เป็นในฝ่ายดี คือ ฝ่ายปัญญา พิจารณาทุกข์ แต่ยังเป็นภายนอกอยู่

คือเวลาที่เรานึกถึงเรื่องทุกข์แล้ว ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้นาน
บางครั้งเป็นถึงชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทีนี้สิ่งที่เราอยากจะรู้คือ
สิ่งที่เราไปมองทุกข์ของคนอื่นแล้ว.......(พูดไม่ถูก)
อย่างนี้เราผิดหรือปล่าวค่ะ :b8:


ก็ไม่ผิดหรอกครับที่มองทุกข์คนอื่น แต่ต้องน้อมเข้ามาใส่ตัว ว่า คนเราก็เป็นทุกข์ด้วยกันทุกคน

จะมากจะน้อย ต่างกรรม ต่างวาระ เท่านั้นเอง

ขออนุโมทนาด้วยนะครับ ที่พิจารณา ทุกข์ เป็นอารมณ์ แล้วนั่งสมาธิได้นาน แบบนี้ เรียกว่า การใช้ ปัญญาอบรมสมาธิ ครับ ปัญญา 3 ส่วน สมาธิเพียงส่วนเดียว เป็นลักษณะของ ปัญญาวิมุต

นั่นแสดงถึง จริตของเราแล้วครับ ต้องปัญญานำในการทำสมาธิ แต่ต้องสังเกตให้ดี ๆนะครับ

เพราะปัญญามากไป จะฟุ้งครับ


:b8: ขอแสดงความคิดเห็นเท่านี้นะครับ :b8:

:b4: :b4: ขอโมทนา .. :b8:

ธรรมดาของ "จิต" คือ ชอบคิดนึก เรียกว่า เสวยอารมณ์
คิดนึก ไปในทางธรรม คือ คิดหาทางพ้นทุกข์ หาเหตุแห่งทุกข์ เรียกว่า "ปัญญา"
คิดนึก ไปในทาง กิเลส ตัณหา คือ หาเหาใส่หัว หาชั่วใส่ตน เรียกว่า "สังขาร การปรุงแต่ง"

เมื่อเห็นผู้อื่นทุกข์ นำมาคิด มาพิจารณาแล้วน้อมเข้ามาหาตนว่า ตนก็ต้องทุกข์
ตนก็ต้องประสบเช่นกัน เรียกว่า "โยนิโสมนสิการ"


คิดนึกอย่างนี้แหละ จึงจะถูกต้องเที่ยงแท้ ...

:b1:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


bbby เขียน:
ขอบคุณในความรู้ที่ทุกๆท่านให้ด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:

ขอถามอีกข้อหนึ่งน่ะค่ะ คือบางครั้งก่อนที่เราจะทำสมาธิ
เรามักจะนึกถึงการเวียนว่ายตายเกิด

การเกิดนี่มันทุกข์น่ะ แล้วทีนี้บางครั้งเราจะไปนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นๆ
อย่างนี้เรียกว่าจิตของเราไปปรุงแต่งหรือปล่าวค่ะ

คือเวลาที่เรานึกถึงเรื่องทุกข์แล้ว ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้นาน
บางครั้งเป็นถึงชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทีนี้สิ่งที่เราอยากจะรู้คือ
สิ่งที่เราไปมองทุกข์ของคนอื่นแล้ว.......(พูดไม่ถูก)
อย่างนี้เราผิดหรือปล่าวค่ะ :b8:

มาร ๕
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=234

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ (ฐานะ ๕)
http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/57/81

-----------------------------------------------------------
เห็นแล้วสงสัยว่าจริงไม่จริงสินะครับ ความจริงสมาธิทำให้สุขสงบ
ปัญญาทำให้รู้แจ้ง ปัญญาในโลกียะ ที่อาศัยกำลังสมาธิีที่สงบดีแล้ว
น้อมไปก็จะได้รู้ได้เห็นในสิ่งที่ เกินสามัญปกติธรรมดา มันเลยเพลิน
สุขบ้างทุกข์บ้างที่ได้รู้ได้เห็น นั่นก็เป็นไปตาม กรรมของเขานะครับ
เป็นแค่ปัญญาโลกๆ ส่วนปัญญาที่มีสมาธิที่สงบดีแล้ว แต่เป็นปัญญา
ที่ไม่เนื่องไม่เกี่ยวด้วยโลก พิจารณาเรื่องรูปนาม กำหนดเหตุกำหนด
ปัจจัย เห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปจริง นั่นแหละได้กำหนดทุกข์จริง
ถ้าเห็นทุกข์ในการเป็นไปตามกระแสกรรม เรียกว่า ยถากัมมูปคญาณ
(รู้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม). ถามว่าปรุงแต่งไหม ก็ปรุง แต่ปรุงด้วย
ปัญญาครับ เห็นโลกก็เห็นทุกข์ในบัญญัติสัตว์บุคคล เห็นความเกิด
ความเสื่อมความดับในกรรมของบุคคล แต่ถ้าเห็นทุกข์แท้ๆ โดยปรมัตถ์
จะเห็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของเพียงนามรูป มาร ๕ เจริญพร ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:


ขอถามอีกข้อหนึ่งน่ะค่ะ คือบางครั้งก่อนที่เราจะทำสมาธิ
เรามักจะนึกถึงการเวียนว่ายตายเกิด การเกิดนี่มันทุกข์น่ะ

แล้วทีนี้บางครั้งเราจะไปนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นๆ
อย่างนี้เรียกว่าจิตของเราไปปรุงแต่งหรือปล่าวค่ะ อย่างนี้เราผิดหรือปล่าวค่ะ




วิธีการคิดพิจรณาของแต่ละคน แตกต่างกันไป

ไม่ว่าจะเป็นการนำสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก(เหตุของผู้อื่น) มาพิจรณา หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของตนเอง มาพิจรณา ไม่ใช่เรื่องถูกหรือผิดหรอกค่ะ แต่เกิดจากเหตุปัจจัยของแต่ละคนค่ะ


ขึ้นชื่อว่า การพิจรณาแล้วเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ เห็นความดับทุกข์ เป็นเหตุให้หยุดสร้างเหตุนอกตัว หรือทำให้เกิดการทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง ใช้ได้ทั้งนั้นแหละค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 29 ส.ค. 2012, 10:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.ย. 2009, 21:22
โพสต์: 29

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอคำอธิบายขันธ์ทั้ง5

อ้างอิงจากคำตอบ คุณwilaiporn :b8:

ส่วนความทุกข์ที่ถาม(ความเห็นส่วนตัว)
ทุกข์ นั้นอยู่ใน กายนี้ใจนี้ ไปเห็นทุกข์จากภายนอก แล้วน้อมนำกับมาพิจารณา กายใจ อนุโมทนาด้วยครับ

พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ขันธ์๕ นั่นแหละเป็นทุกข์ ลองพิจารณาดูดีๆๆนะครับ
สิ่งที่น้อมพิจารณาจะเห็นทุกข์แต่ไม่เห็นว่าขันธ์เป็นทุกข์(ทุกขังไม่ใช่ทุกขเวทนา)
ไม่ว่าจะมีเจ้าของ(เรา)หรือไม่มีเจ้าของ(เรา)
ขันธ์๕มันเป็นทุกข์(ทุกขัง)อยู่ในตัวมันอยู่แล้ว

เมื่อเห็นขันธ์๕ ตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์บ่อยๆๆจะเห็นขึ้นมาเองหล่ะครับว่า
ความจริงขันธ์๕นั่แหละตัวทุกข์ เมื่อไปยึดถือขันธ์๕ มันก็ทุกข์ตามขันธ์ที่ยึดถือ

องค์ธรรมที่ชี้ชัดระหว่างความปรุงแต่งกับความจริงที่ไม่ใช่ปรุงแต่ง ธรรมนั้นเรียกว่า สติสัมปชัญญะ

มีสติใช่ว่าจะมีสัมปชัญญะเสมอไป แต่มีสัมปชัญญะย่อมมีสติเสมอ
มีสมาธิใช่ว่าจะต้องมีสติเสมอไป แต่สติต้องอาศัยสมาธิ

ความเห็นส่วนตัวนะครับ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2012, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ขอบคุณในความรู้ที่ทุกๆท่านให้ด้วยค่ะ :b8: :b8: :b8:

ขอถามอีกข้อหนึ่งน่ะค่ะ คือบางครั้งก่อนที่เราจะทำสมาธิ
เรามักจะนึกถึงการเวียนว่ายตายเกิด
การเกิดนี่มันทุกข์น่ะ แล้วทีนี้บางครั้งเราจะไปนึกถึงความทุกข์ของคนอื่นๆ
อย่างนี้เรียกว่าจิตของเราไปปรุงแต่งหรือปล่าวค่ะ

สงสัยคุณ 3บีกับหนึ่งY จะคงยังไม่เข้าใจหลักการทำสมาธิ
การนึกถีงการเวียนว่ายตายเกิด มันเป็นสติเอาไว้ดับนิวรณ์
บางครั้งบางคราวก่อนจะทำสมาธิ จิตของเราจะมีความสับสนวุ่นวาย
ที่เรียกว่านิวรณ์ เลยต้องหาหลักในการทำให้จิตสงบ เพื่อการทำสมาธิในขั้นต่อไป
แต่การจะดับนิวรณ์ได้ต้องเลือกใช้สติให้ถูกหลักด้วย

การไประลึกนึกถึงความทุกข์ของคนอื่น ถามหน่อย คุณไปรู้เรื่องทุกข์
เรื่องในใจของคนอื่นได้อย่างไร ตัวเรายังไม่รู้ทุกข์ของเราเลย
ดันไปรู้ทุกข์คน มันเป็นการปรุงแต่งครับ
bbby เขียน:
คือเวลาที่เรานึกถึงเรื่องทุกข์แล้ว ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้นาน
บางครั้งเป็นถึงชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ทีนี้สิ่งที่เราอยากจะรู้คือ
สิ่งที่เราไปมองทุกข์ของคนอื่นแล้ว.......(พูดไม่ถูก)
อย่างนี้เราผิดหรือปล่าวค่ะ :b8:

การไปรู้ทุกข์ของคนอื่นมันผิดครับ มันเป็นการปรุงแต่งของจิตตัวเอง
การทำกรรมฐาน หลักการสำคัญมันคือการ ปฏิบัติเพื่อรู้กายใจตนเองครับ
มันเหมือนกับที่ครูบาอาจารย์ท่านบอกครับว่า "อย่าส่งจิตออกนอก"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 61 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 55 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร