วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 03:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต ชื่อว่า สมาธิ เป็นสภาวะที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดี๋ยว
ไม่สัดส่ายไปในอารมณ์อื่น สมาธิจึงจำแนกออกเป็น ๓ อย่าง คือ
ขณิกสมาธิ. อุปจารสมาธิ. อัปปนาสมาธิ
องค์ธรรมของสมาธิทั้ง ๓ นี้มีองค์ธรรมเดียวกัน ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก

๑) ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่จัดอยู่ในอารมณ์เดียวชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง
คือขณะที่เพ่งอารมณ์แต่ละครั้งชั่วเวลาที่เพ่งพิจารณาอยู่ จิตย่อมสัดส่ายไปหาอารมณ์อื่น
ก็จะทิ้งอารมณ์เก่าไปรับรู้อารมณ์ใหม่แทน เมื่อไปพิจารณาอารมณ์ใหม่
ก็จะสัดส่ายไปหาอารมณ์ใหม่อีก เป็นการโยกย้ายอารมณ์ไปเรื่อยๆตามสมควรแก่โอกาส
สมาธินี้เรียกว่า"ขณิกสมาธิ"

๒) อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่กำลังมากกว่าขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่ใกล้ฌาน
ทำให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวได้นาน แต่ก็ไม่มีกำลังมากพอที่จะแนบแนตั้งมั่นในอารมณ์เดียวได้
เหมือนอย่างอัปปนาสมาธิ มีการโยกย้ายอารมณ์บ้างเป็นบางครั้งแล้วก็กลับมาในอารมณ์เก่า
เพราะอาจมีความฟุ้งซ่านเกิดแทรกได้ แต่ว่านานๆครั้ง เป็นอารมณ์ที่เฉียดฌานหรือใกล้ฌาน
ก็คำว่า อุปจารสมาธิ แปลว่า สมาธิที่เที่ยวไปใกล้ อัปปนาสมาธิ คือ เฉียดเป็นอัปปนาสมาธิ

๓) อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่ทำให้จิตแนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น
จะไม่มีการโยกย้ายอารมณ์ใดๆเลย ไม่มีการตกจากอารมณ์ที่เพ่งอยู่ตลอดเวลา
ที่พึงประสงค์ เช่น อย่างสมาธิของพวกฤษี ดาบส ที่เข้าฌานนั่นแล
ในขณะที่เข้าอัปปนาสมาธินั่นแม้จะมีเสียงอึกกระทึกครึกโครมอยู่นั้ก็จะไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทราบบรรดาสมาธิทั้ง ๓ อย่างนั้น ขณิกสมาธิ
สามารถเจริญได้ทั่วไปและทุกโอกาส เช่นประกอบกับการงานทั่วไปที่หาโทษมิได้
หรือขณะฟังธรรม เป็นต้น การงานนั้นก็จะต้องประกอบไปด้วยสมาธิ
ไม่ให้เกิดการฟุ้งซ่าน นึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้วุ่นวายไม่หยุดหย่อน
ถ้าเกิดขึ้นดังนั้นทำการงานก็ย่อมผิดพลาด แม้การฟังธรรมก็จะไม่รู้เรื่อง
หรือรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง อย่างนี้เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีสมาธิอันสมควรแก่การนี้
นี้แหละคือขณิกสมาธิ
ส่วนอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ
ไม่สามารถจะทำให้เกิดได้ในทุกโอกาสทั่วๆ ไป
ทำให้เกิดได้ก็เฉพาะในคราวที่หลีกเร้นไปอยู่ในสถานที่ที่สงัดวิเวก สงบ อันสมควร
เพื่อการบำเพ็ญภาวนาเท่านั้น หรือเรียกว่าเจริญสมถะ
ก็คำว่าสมถะ แปลว่า ความสงบ เป็นชื่อของสมาธินั่นเอง
โดยอาศัยอุปกรณ์เพื่อการบำเพ็ญ อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ก็คืออารมณ์พิเศษ
เพื่อช่วยให้เกิดสมาธิได้เร็วและตั้งมั่นมีกำลัง อารมณ์ที่ตั้งมั่นนี้ท่านเรียกว่า "กรรมฐาน"
คำว่ากรรมฐานก็คือที่ตั้งแห่งการงาน คือการงานที่ทำห้สมาธิเกิดเพื่องอกงาม
อารมณ์พิเศษนั้นได้แก่ กณณมฐาน ๔๐
มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ อรูปกรรมฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูล ๑ ธาตุ ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2013, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
พึงทราบบรรดาสมาธิทั้ง ๓ อย่างนั้น

ขณิกสมาธิ
สามารถเจริญได้ทั่วไปและทุกโอกาส เช่นประกอบกับการงานทั่วไปที่หาโทษมิได้
หรือขณะฟังธรรม เป็นต้น การงานนั้นก็จะต้องประกอบไปด้วยสมาธิ
ไม่ให้เกิดการฟุ้งซ่าน นึกถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้วุ่นวายไม่หยุดหย่อน
ถ้าเกิดขึ้นดังนั้นทำการงานก็ย่อมผิดพลาด แม้การฟังธรรมก็จะไม่รู้เรื่อง
หรือรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง อย่างนี้เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีสมาธิอันสมควรแก่การนี้
นี้แหละคือขณิกสมาธิ


เขาเรียกว่า...สติ...หรือเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

เขาเรียกว่า...สติ...หรือเปล่า

สติ กับ สมาธิ มีความหมายต่างกันนะครับ
สติ นั้นเป็นการระลึกรู้ ส่วน สมาธินั้นเป็นการตั้งมั่น
สติกับสมาธิจะเกิดพร้อมกันก็ไม่ขัดกันเลย
การนำเสนอนั้นผมเพียงยกเรื่องสมาธิอย่างเดียวเพื่อการไม่ปะปนกัน
เพื่อง่ายแก่การเข้าใจ ส่วนจะว่าสตินั้นก็ไม่ผิดแต่ไม่ได้พูด ถ้าเอามาพูดรวมกัน
มันจะหาที่สรุปไม่ได้ เหมือนคนในครอบครัวประกอบไปด้วยคนหลายคน มีพ่อแม่ เป็นต้น
ถ้าเราพูดถึงคนใดคนหนึ่งในครอบนั้น ที่เหลือเราก็ไม่พูดถึง ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2013, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ ๒ อย่างนั้น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ท่านเรียกว่า ฌาน
แต่คำว่า ฌาน ซึ่งก็แปลว่าเพ่งหรือเผา เพ่งอะไร? เผาอะไร? ที่ว่าเพ่งก็คือเพ่งอารมณ์ของตน
มีกสิณเป็นต้นนั้นนั่นแหละ และที่ว่าเผานั้นก็คือเผาธรรมที่เป็นข้าศึกของตน คือธรรมที่เป็นกิเลส
อย่างหยาบที่เรียกว่าปริยุฏฐานกิเลส ที่เป็นเครื่องกั้นสมาธิ ได้แก่ นิวรณ์ธรรม

ก็แลการที่พูดว่าเข้าฌาน ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง หรือมากกว่านั้น
ท่านหมายเอาอัปปนาฌานเท่านั้น ท่านเรียกว่าฌานสมาบัติ แปลว่า เข้าฌาน
และในอัปปนาฌานนี้เอง บุคคลใดได้มาแล้วไม่เสื่อม รักษาไว้อย่างมั่นคง
ตายไปก็จะได้ไปเกิดในพรหมโลก แล้วแต่ฐานะของฌานนั้น และคำว่า ไม่เสื่อม นั้น
ได้แก่ยังไม่อันตรธานเลือนหายไป พร้อมที่จะเข้าฌานได้ทุกเมื่อตามใจที่ปรารถนาที่จะเข้า

สมาธิแม้ทั้ง ๓ อย่างนั้นก็เป็นธรรมชาติที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว
และก็เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสอย่างหยาบ เมื่อจิตถูกกำลังของสมาธิ
ทำให้สำรวมอยู่ในอารมณ์เดียว ก็ย่อมตัดความฟุ้งซ่าน อันเป็นความพอใจไม่พอใจ

สมาธิที่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน เพื่อสิ้นวัฏฏะ อันจะนับได้ว่าเป็น อธิจิตตสิกขานั้น
จะต้องเป็นสมาธิที่บุคคลเจริญเพราะเห็นแก่ความสิ้นทุกข์ สิ้นกิเลสเป็นสำคัญ
ไม่ใช่เพื่อเห็นประโยชน์แก่อย่างอื่น มีความสุข ความเข้าถึงพรหมโลก
หรือความเข้าถึงอภิญญา เป็นต้น ความว่าสมาธิเหล่านั้นก็เพื่อเป็นบาทฐาแห่งการวิปัสสนา
เพื่อเป็นประโยชน์แก่ความเกิดขึ้นแห่งวิปัสสนา เท่านั้น จึงขอเพียงทำความเข้าใจกันไว้เพียงเท่านี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร