วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 20:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2012, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย ในเรื่องของ เจตสิก
เจตสิก ตามความนัยที่แท้จริงแล้ว ถึงแม้ว่า ตามพระไตรปิฎกจะกล่าวเพียงว่า
เจตสิก คือ ธรรมที่ประกอบอยู่ในจิต แต่คำว่า ธรรม นั้น มิได้มีความหมายเพียง หลักธรรมคำสอนเท่านั้น คำว่า "ธรรม"ที่ปรากฏอยู่ หมายรวมถึง ความรู้ต่างๆ ที่เคยได้ประสบ สัมผัส ทางอายตนะทั้งหลาย ดังนั้น เจตสิก จึงมีความหมายที่กว้าง และเป็นไปตามหลักความจริงแห่งระบบสรีรร่างกายของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
ส่วน คำว่า "จิตประภัสสร" นั้น หมายถึง จิตที่บริสุทธิ์ ใสสะอาด แต่ไม่ได้มีความหมายว่าเป็น จิตที่ไม่มี อกุศล หรือ กุศล หรือ อัพยากตะ
"จิตประภัสสร" หมายถึง จิตที่ฝึกดีแล้ว ปราศจาก อาสวะทั้งปวงแล้ว และจิตประภัสสร ก็มีทั้ง ความเป็น อกุศล กุศล และ อัพยากตะ เพราะ จิต คือ ตัวรับรู้อารมณ์ หรือ ธรรมชาติสำหรับการรับรู้อารมณ์ ดังนั้น จิต จึงรับรู้ ทั้ง อกุศล กุศล และ อัพยากตะ แต่ จิต สามารถขจัดสิ่งที่เป็น อกุศล กุศล และ อัพยากตะ เหลือเพียง อุเบกขา เอกัคคตา ตามสภาพสภาวะแห่งความเป็นจริงตามธรรมชาติ นั่นก็คือ ความเป็นธรรมดา ตามหลักไตรลักษณ์ ก็ได้อย่างหนึ่ง หรือ ตามสภาพสภาวะแห่งความจริงตามหลัก วิชชา ๓ วิชชา ๘ ก็ได้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
เมื่อ จิต เป็น ตัวรับรู้อารมณ์ หรือ ธรรมชาติสำหรับการรับรู้อารมณ์ หากได้รับการสัมผัสจากอายตนะทั้งหลาย ก็จะเกิดเป็น เจตสิก ขึ้น เจตสิก ทั้งหลายเหล่านั้น บ้างก็จะแปรเปลี่ยนเป็น สัญญา หรือ ความจำ อาจจะเป็นสัญญาเพียงระยะสั้นๆ หรือจะเป็นสัญญาที่ติดยืนยาว ก็ตามแต่ ซึ่งล้วนเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีรร่างกายมนุษย์
เมื่อมีสัญญา คือ ความจำต่างๆ บุคคลก็จะเกิดมี สติ สัมปชัญญะ ซึ่งความจริงแล้วเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่แล้ว ในอันที่จะนำเอา เจตสิก ทั้งหลายที่ประกอบอยู่ในจิต นำออกมาใช้ นำออกมาเป็นปัจจัยในการประกอบกิจกรรม พฤติกรรม ทั้งทาง กาย วาจาใจ หรือ อาจเกิดเป็นความคิด ในด้านต่างๆ
ความมี สติ หรือ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้ (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก) จึงไม่ได้มีความหมายเพียงแคบๆ แต่มีความหมายในทางที่กว้างขวาง ครอบคลุม
โดยสรุปแล้ว สติ จึง หมายถึง การมี่บุคคลสามารถ ระลึกได้ นึกได้ ความไม่เผลอ ฯ โดยอาศัยปัจจัยคือ เจตสิก ที่ประกอบอยู่ในจิต เป็นเครื่องช่วยยับยั้ง หรือส่งเสริมเพิ่มพูน
ส่วนการที่จะใช้ปัจจัย หรือมี สติ ระลึกได้ ถึง ปัจจัย อันเป็น เจตสิกที่ประกอบอยู่ในจิตได้ นั้น ก็ย่อมเกิดจาก เหตุ ซึ่ง เหตุก็ย่อมเกิดจาก ผัสสะ หรือ การได้รับการสัมผัส จากอายตนะ ทั้งหลาย อีกประการที่สำคัญที่สุดในการที่จะมี สติ ในอันที่จะใช้เจตสิกที่ประกอบอยู่ในจิต หรือจะไม่ใช้เจตสิกที่ประกอบอยู่ในจิต ก็คือ สมาธิ อันเป็นเหตุทำให้เกิด สติสัมปชัญญะ และยังรวมไปถึง สภาพสภาวะของสรีระร่างกายแห่งบุคคลนั้นๆด้วย ที่กล่าวไป ล้วนมีการเกิดเป็น วัฏฏะ

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๕
ผู้เขียน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต)

ก. อัญญสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว)

1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง)

1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์)
3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์)
4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์)
5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)
6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง)
7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)

2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง)

8. วิตก (ความตรึกอารมณ์)
9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์)
10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์)
11. วิริยะ (ความเพียร)
12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ)
13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล)

1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง)

14. โมหะ (ความหลง)
15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป)
16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป)
17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต)

18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์)
19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
20. มานะ (ความถือตัว)
21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
22. อิสสา (ความริษยา)
23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ)
25. ถีนะ (ความหดหู่)
26. มิทธะ (ความง่วงเหงา)
27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย)

ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม)
1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง)

28. สัทธา (ความเชื่อ)
29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่)
30. หิริ (ความละอายต่อบาป)
31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป)
32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์)
33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ)
35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก)
36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต)
37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก)
38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต)
39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก)
40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต)
41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก)
42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต)
43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)
44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต)
45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก)
46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต)

2) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เจตสิกเกิดกับจิตดีงาม เรี่ยรายทั่วๆไป)

- วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น)

47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ )

3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา)

50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์)
51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข)
และ
52. ปัญญา (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง))


เวทนา กับ สัญญา (ที่เน้นสีแดง) แยกไปเป็นอีกขันธ์หนึ่งๆ

เวทนา ไปเป็นเวทนาขันธ์

สัญญาไปเป็นสัญญาขันธ์

ที่เหลืออีก 50 เป็นสังขารขันธ์

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 2#msg13302

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2012, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต)

ก. อัญญสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว)

1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง)

1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์)
2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์)
3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์)
4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์)
5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว)
6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง)
7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ)

2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง)

8. วิตก (ความตรึกอารมณ์)
9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์)
10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์)
11. วิริยะ (ความเพียร)
12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ)
13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)

ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล)

1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง)

14. โมหะ (ความหลง)
15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป)
16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป)
17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต)

18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์)
19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
20. มานะ (ความถือตัว)
21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
22. อิสสา (ความริษยา)
23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ)
25. ถีนะ (ความหดหู่)
26. มิทธะ (ความง่วงเหงา)
27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย)

ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม)
1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง)

28. สัทธา (ความเชื่อ)
29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่)
30. หิริ (ความละอายต่อบาป)
31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป)
32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์)
33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย)
34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ)
35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก)
36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต)
37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก)
38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต)
39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก)
40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต)
41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก)
42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต)
43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)
44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต)
45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก)
46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต)

2) ปกิณณกโสภณเจตสิก (เจตสิกเกิดกับจิตดีงาม เรี่ยรายทั่วๆไป)

- วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น)

47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ )

3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา)

50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์)
51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข)
และ
52. ปัญญา (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง))


เวทนา กับ สัญญา (ที่เน้นสีแดง) แยกไปเป็นอีกขันธ์หนึ่งๆ

เวทนา ไปเป็นเวทนาขันธ์

สัญญาไปเป็นสัญญาขันธ์

ที่เหลืออีก 50 เป็นสังขารขันธ์

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 2#msg13302


ท่านทั้งหลายที่ได้อ่านความในพระไตรปิฏก ในเรื่องของ "เจตสิก" อาจจะมีข้อสงสัย และหรืออาจคิดไปว่า ความในพระไตรปิฏก แตกต่างจากหลักการแพทย หรือหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ความตามพระไตรปิฎกข้างต้นนั้น เป็นเพียงการแจกแจงให้ได้รู้ว่า ภายในร่างกายเรา หรือภายในใจและสมองของมนุษย์นั้น จักมี เจตสิก ซึ่งก็คือ "ความรู้ โดยทั่วไปรวมไปถึง ธรรมะทั้งหลาย" ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับ "รูป(สรีระร่างกาย) ,เวทนา(ความรู้สึกฯ),สัญญา(ความจำ),สังขาร (การปรุงแต่ง)"จักทำให้เกิดเป็น เจตสิก "ธรรมที่ประกอบอยู่ในจิต ๕๒ ประการ ๕๒ รูปแบบ" แต่มิได้หมายความว่า ในร่างกายของคนเรามี "จิต"เพียง ๕๒ ดวง นะขอรับ เพราะ"จิต"ในทางพุทธศาสนานั้น แท้จริง ก็คือ เซลล์ ต่างๆที่ประกอบกันเป็น อวัยวะ ของร่างกาย
ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิด ได้พิจารณาให้ถ่องแท้ขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร