วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 18:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2012, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 11:11
โพสต์: 94


 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา การวางเฉย เราจะวางเฉยได้อย่างไร เพราะอะไร :b4:
สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2012, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
อุเบกขา การวางเฉย เราจะวางเฉยได้อย่างไร เพราะอะไร :b4:
สาธุ :b8:

ขออนุญาตสนทนาธรรมตามกาล
อุเบกขาเวทนา ก็เป็นเวทนาอีกเวทนาหนึ่ง คือไม่สุข ไม่ทุกข์
หมายถึงไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้นเอง จึงเรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา=อุเบกเวทนา แต่ก็ยังมีคำว่าตัตตรมัชฌัตตาเจตสิก ซึ่งแปลว่า เฉยๆ หรืออุเบกขา แต่มิได้หมายความว่าอุเบกขาเวทนา คือเป็นคำกลางๆไม่เกี่ยวกับกายและจิต ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักธรรมของพรหมวิหาร ๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2012, 18:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
อุเบกขา การวางเฉย เราจะวางเฉยได้อย่างไร เพราะอะไร :b4:
สาธุ :b8:

สวัสดีครับพี่ให้ทาง :b8:
คำถามนี้ฟังดูสั้นๆง่ายๆ แต่จะตอบให้สั้นๆและอธิบายให้เข้าใจง่ายๆนั้นยากพอดูเลยครับ...ก่อนอื่นผมขอออกตัวก่อนว่าเข้ามาเพียงร่วมเสนอความเห็นส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ...สำหรับผมแล้วอุเบกขาเป็นมากกว่าการวางเฉย คือ "ความเป็นปกติของใจ" เมื่อมีสิ่งภายนอกเข้ามากระทบแล้วใจเรามั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งเหล่านั้น ยังคงความเป็นปกติของใจตั้งอยู่อย่างเดิม...การที่เราจะฝึกใจของเราให้มีความมั่นคงได้นั้น มันก็ต้องอาศัยการพิจารณา กำหนดรู้เวทนา...จากนั้นจึงสาวย้อนไปถึงต้นเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดเวทนาขึ้นมา...หลังจากนั้นก็ยกเอาธรรมเหล่านั้นมาพิจารณาและหาอุบายธรรมเครื่องแก้ จนเป็นที่ลงใจและหายหลง...ในกระบวนการเหล่านี้เราต้องหมั่นทำซ้ำๆอยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอครับ แล้วผลที่ได้มันจะค่อยๆเจริญขึ้นๆเป็นลำดับๆ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2012, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้ทาง เขียน:
อุเบกขา การวางเฉย เราจะวางเฉยได้อย่างไร เพราะอะไร :b4:
สาธุ :b8:


ผมเห็นว่า การวางเฉย คือการที่จิตไม่ไปจับต้องสิ่งนั้น (ธรรมนั้น) อารมณ์นั้น ความรู้สึกนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่แต่ไม่ถือเอาปรุงแต่งจิต

มีสองลักษณะคือ

1.วางเฉยเพราะรู้ คือการรู้จักสิ่ง(ธรรม)นั้นดี ว่าเป็นอย่างนั้น มีอาการอย่างนั้น ต้องเป็นไปอย่างนั้นๆ เกิดจากการสัมผัสสิ่งนั้น ใคร่ครวญเห็นแจ้ง จนปล่อยวาง จึงวางเฉยได้

2.วางเฉยเพราะไม่เข้าไปจับ แค่กำหนดรู้สิ่งนั้นด้วยการวางจิตเป็นกลาง(อุเบกขา)

ผมเห็นอย่างนี้ครับ :b25:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2012, 08:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อุเบกขาที่แท้จริงจะเกิดอย่างไร คุณให้ทางลองพิจารณา ค้นหาดูจากข้อความต่อไปนี้นะครับ
:b27:
..........จากนั้นมาดูตามบาลีของสติปัฎฐาน 4
กาเยกายานุปัสสีวิหารติ = เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ตรงนี้มีมรรคตัวไหนมาทำงานบ้าง?
1.สัมมาสติ คอยรู้ทันอาการของกาย
2.ปัญญาสัมมาสังกัปปะ สังเกต พิจารณาอาการของกาย
3.ปัญญาสัมมาทิฐิ เห็น ดู รู้อาการของกาย
4.สัมมาสมาธิ และวิริยะ คือความ เฝ้า และเนืองๆ คือตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับการรู้ เห็น สังเกต
พิจารณา อาการของกาย

อาตาปี = มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไม่ลดละ เป็น สัมมาสมาธิ และ สัมมาวายามะ ตรงๆเลยทีเดียว

สัมปฌาโณ = ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นตัวปัญญามรรคทั้ง 2 ข้อ ทำงานเฝ้าดู สังเกต พิจารณา วิเคราะห์วิจัยธรรม เพื่อค้นหาสมุทัย เหตุทุกข์ เพื่อจะเอาออกเสียให้ได้ซึ่งเหตุทุกข์

สติมา = สัมมาสติ คอยรู้ทันอาการของกาย ระลึกได้ว่าจะต้องรักษากายใจให้เดินอยู่บนทางแห่งมรรค 8 ไม่ลืมที่จะกำกับกายใจให้เจริญอยู่ในสติปัฏฐานทั้ง 4

วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง = เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ข้อนี้เป็นการร่วมกันทำงานของมรรคทั้ง 8 ตัวโดยมีปัญญานำหน้า ค้นหาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความยินดียินร้าย เมื่อหยุดเหตุหรือทำลายเหตุได้ ความยินดียินร้ายเขาก็จะดับไปเองตามธรรม เกิดเป็น อุเบกขา ๆ เพิ่มมากขึ้นๆ จนถึง "สังขารุเปกขาญาณ ก็จะได้ถึงเหตุใกล้ หรือปัจจัย ที่จะทำให้ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ นิพพาน และปัจจเวกขณญาณเกิดขึ้นในที่สุด
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2012, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
อุเบกขาที่แท้จริงจะเกิดอย่างไร คุณให้ทางลองพิจารณา ค้นหาดูจากข้อความต่อไปนี้นะครับ
:b27:
..........จากนั้นมาดูตามบาลีของสติปัฎฐาน 4
กาเยกายานุปัสสีวิหารติ = เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ตรงนี้มีมรรคตัวไหนมาทำงานบ้าง?
1.สัมมาสติ คอยรู้ทันอาการของกาย
2.ปัญญาสัมมาสังกัปปะ สังเกต พิจารณาอาการของกาย
3.ปัญญาสัมมาทิฐิ เห็น ดู รู้อาการของกาย
4.สัมมาสมาธิ และวิริยะ คือความ เฝ้า และเนืองๆ คือตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับการรู้ เห็น สังเกต
พิจารณา อาการของกาย

อาตาปี = มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไม่ลดละ เป็น สัมมาสมาธิ และ สัมมาวายามะ ตรงๆเลยทีเดียว

สัมปฌาโณ = ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นตัวปัญญามรรคทั้ง 2 ข้อ ทำงานเฝ้าดู สังเกต พิจารณา วิเคราะห์วิจัยธรรม เพื่อค้นหาสมุทัย เหตุทุกข์ เพื่อจะเอาออกเสียให้ได้ซึ่งเหตุทุกข์

สติมา = สัมมาสติ คอยรู้ทันอาการของกาย ระลึกได้ว่าจะต้องรักษากายใจให้เดินอยู่บนทางแห่งมรรค 8 ไม่ลืมที่จะกำกับกายใจให้เจริญอยู่ในสติปัฏฐานทั้ง 4

วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง = เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ข้อนี้เป็นการร่วมกันทำงานของมรรคทั้ง 8 ตัวโดยมีปัญญานำหน้า ค้นหาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความยินดียินร้าย เมื่อหยุดเหตุหรือทำลายเหตุได้ ความยินดียินร้ายเขาก็จะดับไปเองตามธรรม เกิดเป็น อุเบกขา ๆ เพิ่มมากขึ้นๆ จนถึง "สังขารุเปกขาญาณ ก็จะได้ถึงเหตุใกล้ หรือปัจจัย ที่จะทำให้ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ นิพพาน และปัจจเวกขณญาณเกิดขึ้นในที่สุด
:b37:

:b27: rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b8:
อุเบกขาที่แท้จริงจะเกิดอย่างไร คุณให้ทางลองพิจารณา ค้นหาดูจากข้อความต่อไปนี้นะครับ
:b27:
..........จากนั้นมาดูตามบาลีของสติปัฎฐาน 4
กาเยกายานุปัสสีวิหารติ = เธอพึงเฝ้าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ ตรงนี้มีมรรคตัวไหนมาทำงานบ้าง?
1.สัมมาสติ คอยรู้ทันอาการของกาย
2.ปัญญาสัมมาสังกัปปะ สังเกต พิจารณาอาการของกาย
3.ปัญญาสัมมาทิฐิ เห็น ดู รู้อาการของกาย
4.สัมมาสมาธิ และวิริยะ คือความ เฝ้า และเนืองๆ คือตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับการรู้ เห็น สังเกต
พิจารณา อาการของกาย

อาตาปี = มีความเพียรจดจ่อต่อเนื่องไม่ลดละ เป็น สัมมาสมาธิ และ สัมมาวายามะ ตรงๆเลยทีเดียว

สัมปฌาโณ = ความรู้ตัวทั่วพร้อม เป็นตัวปัญญามรรคทั้ง 2 ข้อ ทำงานเฝ้าดู สังเกต พิจารณา วิเคราะห์วิจัยธรรม เพื่อค้นหาสมุทัย เหตุทุกข์ เพื่อจะเอาออกเสียให้ได้ซึ่งเหตุทุกข์

สติมา = สัมมาสติ คอยรู้ทันอาการของกาย ระลึกได้ว่าจะต้องรักษากายใจให้เดินอยู่บนทางแห่งมรรค 8 ไม่ลืมที่จะกำกับกายใจให้เจริญอยู่ในสติปัฏฐานทั้ง 4

วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง = เอาออกเสียให้ได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก ข้อนี้เป็นการร่วมกันทำงานของมรรคทั้ง 8 ตัวโดยมีปัญญานำหน้า ค้นหาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดความยินดียินร้าย เมื่อหยุดเหตุหรือทำลายเหตุได้ ความยินดียินร้ายเขาก็จะดับไปเองตามธรรม เกิดเป็น อุเบกขา ๆ เพิ่มมากขึ้นๆ จนถึง "สังขารุเปกขาญาณ ก็จะได้ถึงเหตุใกล้ หรือปัจจัย ที่จะทำให้ อนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ นิพพาน และปัจจเวกขณญาณเกิดขึ้นในที่สุด
:b37:

เอาอีกแล้วนะครับคุณโสกะ เอาตัวหนังสือมาละเลงเล่นอีกแล้ว ผมอ่านแล้วรู้สีกว่า
คุณท่าจะสับสนวุ่นวายเอาการเลยที่เดียว ....

อริยมรรคมีองค์แปดที่คุณกำลังจ้ออยู่นะ มันเป็นผลอันเกิดจาก อุเบกขา
และอุเบกขาเกิดจากไหน อุเบกขาเกิดจาก การปฏิบัติในเรื่อง โพชฌงค์๗


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 20:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


cool
โฮฮับ.....เอาอีกแล้วนะครับคุณโสกะ เอาตัวหนังสือมาละเลงเล่นอีกแล้ว ผมอ่านแล้วรู้สีกว่า
คุณท่าจะสับสนวุ่นวายเอาการเลยที่เดียว ....

อริยมรรคมีองค์แปดที่คุณกำลังจ้ออยู่นะ มันเป็นผลอันเกิดจาก อุเบกขา
และอุเบกขาเกิดจากไหน อุเบกขาเกิดจาก การปฏิบัติในเรื่อง โพชฌงค์๗
:b34:
เพราะความเห็นผิด ตีความบัญญัติคำสอนมาผิดๆ ยึดอยู่กับความเห็นที่ผิดๆ จึงทำให้คุณโฮ...มีความคิดสวนทางกับปกติธรรม จึงรู้แต่บัญญัติ ไม่เข้าใจเมื่อมีการชี้แจงให้ทราบโดยปรมัตถ์ หรือสภาวะ
:b34:
อุเบกขา เป็นผลจากการเจริญมรรค 8 ไม่ใช่มรรค 8 เป็นผลจากอุเบกขา
ดูจากสติปัฎฐาน 4 ที่วิเคราะห์ให้ดูเป็นสำคัญ

โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการนั้นคือการเจริญมรรค 8 ทั้งสิ้น ลองวิเคราะห์ดูตามธรรมซิ อย่างที่วิเคราะห์เรื่องสติปัฏฐาน 4 ว่าเป็นการเจริญมรรค 8 ได้อย่างไรให้ดูแล้ว

กรณีโพชฌงค์ 7 ก็เช่นกัน ลองวิเคราะห์ดูให้ดีสิครับ ว่าเป็นการเจริญมรรค 8 ข้อใดบ้าง จะวิเคราะห์ให้ดู
โพชฌงค์ 7 เป็นการเจริญ ปัญญามรรค ร่วมกับสมาธิมรรคเพียง 2 อย่าง โดยเป็นส่วนของสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นส่วนของปัญญามรรค 1 ข้อ

:b34:
สมาธิมรรค 6 ข้อ ได้แก่ สติ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ปัญญามรรค 1 ข้อ ได้แก่ ธัมมวิจัยยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกับปะ
ส่วนศีลมรรคอันเป็นฐานรองรับนั้นไม่ได้กล่าวถึงเพราะผู้ที่จะก้าวหน้าในการภาวนามาถึงโพชฌงค์ 7 นั้น ถ้าศีลมรรคไม่เป็นสัมมา จะเข้าไปถึงโพชฌงค์ไม่ได้

:b34:
อธิบายสภาวะอย่างนี้ไม่ทราบจะมีปัญญาเข้าใจได้หรือเปล่านะคุณโฮ.....?
:b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 22:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1: :b1:
นี้......อุเบกขา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 02:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


อุเบกขา ที่ท่านโสกา กล่าวมานั้น คือ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

มีสัมมาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง เป็นอุเบกขาที่ใช้ปัญญา แต่ก็มีอุเบกขาแบบที่ไม่ใช้ปัญญา เป็นแนวปุถุชน คือเฉย ไม่สน ใครจะไปทำอะไรหรือเป็นยังงัยก็ไม่ใช่เรื่องของตน พูดภาษาชาวบ้านก็คือ กุไม่เกี่ยว สรุปการจะได้อุเบกขาที่แท้จริงมา เราก็ต้องอาศัยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้ได้อุเบกขาแห่งปัญญามาเจ้าค่ะ :b1: โดยส่วนตัวดิฉันคิดแบบนี้เจ้าค่ะ tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 04:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
เพราะความเห็นผิด ตีความบัญญัติคำสอนมาผิดๆ ยึดอยู่กับความเห็นที่ผิดๆ จึงทำให้คุณโฮ...มีความคิดสวนทางกับปกติธรรม จึงรู้แต่บัญญัติ ไม่เข้าใจเมื่อมีการชี้แจงให้ทราบโดยปรมัตถ์ หรือสภาวะ
:b34:
อุเบกขา เป็นผลจากการเจริญมรรค 8 ไม่ใช่มรรค 8 เป็นผลจากอุเบกขา
ดูจากสติปัฎฐาน 4 ที่วิเคราะห์ให้ดูเป็นสำคัญ

โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการนั้นคือการเจริญมรรค 8 ทั้งสิ้น ลองวิเคราะห์ดูตามธรรมซิ อย่างที่วิเคราะห์เรื่องสติปัฏฐาน 4 ว่าเป็นการเจริญมรรค 8 ได้อย่างไรให้ดูแล้ว

กรณีโพชฌงค์ 7 ก็เช่นกัน ลองวิเคราะห์ดูให้ดีสิครับ ว่าเป็นการเจริญมรรค 8 ข้อใดบ้าง จะวิเคราะห์ให้ดู
โพชฌงค์ 7 เป็นการเจริญ ปัญญามรรค ร่วมกับสมาธิมรรคเพียง 2 อย่าง โดยเป็นส่วนของสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นส่วนของปัญญามรรค 1 ข้อ

:b34:
สมาธิมรรค 6 ข้อ ได้แก่ สติ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ปัญญามรรค 1 ข้อ ได้แก่ ธัมมวิจัยยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกับปะ
ส่วนศีลมรรคอันเป็นฐานรองรับนั้นไม่ได้กล่าวถึงเพราะผู้ที่จะก้าวหน้าในการภาวนามาถึงโพชฌงค์ 7 นั้น ถ้าศีลมรรคไม่เป็นสัมมา จะเข้าไปถึงโพชฌงค์ไม่ได้

:b34:
อธิบายสภาวะอย่างนี้ไม่ทราบจะมีปัญญาเข้าใจได้หรือเปล่านะคุณโฮ.....?
:b34:

จะให้เข้าใจได้ไง มันมั่วออกอย่างนี้
เอาบัญญัติโน้นมาตีบัญญัตินี้ให้วุ่นไปหมด
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
สมาธิมรรค 6 ข้อ ได้แก่ สติ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ปัญญามรรค 1 ข้อ ได้แก่ ธัมมวิจัยยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกับปะ
ส่วนศีลมรรคอันเป็นฐานรองรับนั้นไม่ได้กล่าวถึงเพราะผู้ที่จะก้าวหน้าในการภาวนามาถึงโพชฌงค์ 7 นั้น ถ้าศีลมรรคไม่เป็นสัมมา จะเข้าไปถึงโพชฌงค์ไม่ได้

:b34:

จะอธิบายความท่อนนี้ให้ฟัง เห็นว่ามั่วจนเลยเถิด
ศีลมรรคที่คุณว่า ถ้าเป็นเรื่อง สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะหรือสัมมาอาชีวะ

เราจะต้องใช้ธัมวิจยะ โดยมีสัมมาทิฐิเป็นตัวนำ ไปพิจารณาว่า
วาจาใด ความประพฤติใดและความเป็นอยู่อย่างไร จึงจะเป็นกลาง
สามารถวาง อุเบกขาได้

ความคิดหรือธัมมวิจยะที่นำมาพิจารณาหาเหตุผลทำให้เกิด
ความเป็นกลางของสัมมาศีล จนวางอุเบกขาได้เราเรียก
ความคิดหรือธัมมวิจยะนี้ว่า สัมมาสังกัปปะ

กระบวนการนี้ยังมีธรรมในโพชฌงค์เป็นตัวประกอบอีก
แต่ขี้เกียจอธิบาย ที่สำคัญอธิบายไปโสกะก็คงไม่เข้าใจ
เดี๋ยวก็โต้อะไรเฉิ่มๆกลับมา กลัวฟันร่วงนี่ก็จะหมดปากอยู่แล้ว
เป็นเพราะหัวเราะโสกะนั้นเอง :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 10:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
เพราะความเห็นผิด ตีความบัญญัติคำสอนมาผิดๆ ยึดอยู่กับความเห็นที่ผิดๆ จึงทำให้คุณโฮ...มีความคิดสวนทางกับปกติธรรม จึงรู้แต่บัญญัติ ไม่เข้าใจเมื่อมีการชี้แจงให้ทราบโดยปรมัตถ์ หรือสภาวะ
:b34:
อุเบกขา เป็นผลจากการเจริญมรรค 8 ไม่ใช่มรรค 8 เป็นผลจากอุเบกขา
ดูจากสติปัฎฐาน 4 ที่วิเคราะห์ให้ดูเป็นสำคัญ

โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการนั้นคือการเจริญมรรค 8 ทั้งสิ้น ลองวิเคราะห์ดูตามธรรมซิ อย่างที่วิเคราะห์เรื่องสติปัฏฐาน 4 ว่าเป็นการเจริญมรรค 8 ได้อย่างไรให้ดูแล้ว

กรณีโพชฌงค์ 7 ก็เช่นกัน ลองวิเคราะห์ดูให้ดีสิครับ ว่าเป็นการเจริญมรรค 8 ข้อใดบ้าง จะวิเคราะห์ให้ดู
โพชฌงค์ 7 เป็นการเจริญ ปัญญามรรค ร่วมกับสมาธิมรรคเพียง 2 อย่าง โดยเป็นส่วนของสมาธิมรรค 6 ข้อ เป็นส่วนของปัญญามรรค 1 ข้อ

:b34:
สมาธิมรรค 6 ข้อ ได้แก่ สติ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ปัญญามรรค 1 ข้อ ได้แก่ ธัมมวิจัยยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกับปะ
ส่วนศีลมรรคอันเป็นฐานรองรับนั้นไม่ได้กล่าวถึงเพราะผู้ที่จะก้าวหน้าในการภาวนามาถึงโพชฌงค์ 7 นั้น ถ้าศีลมรรคไม่เป็นสัมมา จะเข้าไปถึงโพชฌงค์ไม่ได้

:b34:
อธิบายสภาวะอย่างนี้ไม่ทราบจะมีปัญญาเข้าใจได้หรือเปล่านะคุณโฮ.....?
:b34:

จะให้เข้าใจได้ไง มันมั่วออกอย่างนี้
เอาบัญญัติโน้นมาตีบัญญัตินี้ให้วุ่นไปหมด
:b32:

:b12:
จิตใจคุณโฮ...กำลังมั่วและสับสน รู้ตัวหรือเปล่า เพราะคุณโฮ....ยึดอยู่ในความเห็นที่แปลความจากพระสูตรมาผิดธรรม ว่ามรรค 8 เป็นธรรมเฉพาะของพระอริยเจ้า คุณโฮ...กำลังจะทำให้ธรรมวิบัติ ความวิบัติในสมองของคุณโฮ...จึงเริ่มแสดงออกมาเรื่อยๆ อย่างน้อยๆก็ เรื่อง "ขวางโลก ที่คุณโฮ..กำลังมีพฤติกรรมชัดเจนอยู่ในห้วงเวลา 2 - 3 เดือนที่ผ่านมานี้ มีวาทะกับผู้คนไปทั่วทั้งลาน ไปเจอของแข็งของจริงอย่างท่านเช่นนั้นเข้าเสียบ้าง จึงดูพอจะรู้สึกตัวขึ้ันมา แต่นี่กลับจะเพี้ยนไปอีกแล้ว
cool
ดูให้ดี สังเกตให้ดี ฝึกใช้ปัญญาสัมมาสังกัปปะเสียบ้าง ธรรมที่แจงมาให้ฟังข้างต้นนั้นเขาเป็นไปตามลำดับแห่งธรรม ไม่ใช่สวนทางธรรมอย่างที่คุณโฮ...เป็น ที่ว่าเป็นอริยะก่อนได้สัมมาทิฏฐิก่อนแล้วค่อยมาเจริญมรรค 8 นั่นหละ ผิดธรรม

ตื่นได้แล้วนะครับคุณโฮฮับ รู้ถูกต้อง......ตื่น.......แล้วจะได้เบิกบาน
:b27:
:b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 10:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
nongkong เขียน:
อุเบกขา ที่ท่านโสกา กล่าวมานั้น คือ (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

มีสัมมาทิฏฐิเป็นที่ตั้ง เป็นอุเบกขาที่ใช้ปัญญา แต่ก็มีอุเบกขาแบบที่ไม่ใช้ปัญญา เป็นแนวปุถุชน คือเฉย ไม่สน ใครจะไปทำอะไรหรือเป็นยังงัยก็ไม่ใช่เรื่องของตน พูดภาษาชาวบ้านก็คือ กุไม่เกี่ยว สรุปการจะได้อุเบกขาที่แท้จริงมา เราก็ต้องอาศัยการเจริญมรรค 8 เพื่อให้ได้อุเบกขาแห่งปัญญามาเจ้าค่ะ :b1: โดยส่วนตัวดิฉันคิดแบบนี้เจ้าค่ะ tongue

:b8:
สาธุอนุโมทนายิ่งกับน้องคงครับ
:b8:
onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2012, 10:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b34: :b34:
โฮฮับ เขียน:
asoka เขียน:
สมาธิมรรค 6 ข้อ ได้แก่ สติ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา
ปัญญามรรค 1 ข้อ ได้แก่ ธัมมวิจัยยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของสัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกับปะ
ส่วนศีลมรรคอันเป็นฐานรองรับนั้นไม่ได้กล่าวถึงเพราะผู้ที่จะก้าวหน้าในการภาวนามาถึงโพชฌงค์ 7 นั้น ถ้าศีลมรรคไม่เป็นสัมมา จะเข้าไปถึงโพชฌงค์ไม่ได้

:b34:

จะอธิบายความท่อนนี้ให้ฟัง เห็นว่ามั่วจนเลยเถิด
ศีลมรรคที่คุณว่า ถ้าเป็นเรื่อง สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะหรือสัมมาอาชีวะ

เราจะต้องใช้ธัมวิจยะ โดยมีสัมมาทิฐิเป็นตัวนำ ไปพิจารณาว่า
วาจาใด ความประพฤติใดและความเป็นอยู่อย่างไร จึงจะเป็นกลาง
สามารถวาง อุเบกขาได้

ความคิดหรือธัมมวิจยะที่นำมาพิจารณาหาเหตุผลทำให้เกิด
ความเป็นกลางของสัมมาศีล จนวางอุเบกขาได้เราเรียก
ความคิดหรือธัมมวิจยะนี้ว่า สัมมาสังกัปปะ

กระบวนการนี้ยังมีธรรมในโพชฌงค์เป็นตัวประกอบอีก
แต่ขี้เกียจอธิบาย ที่สำคัญอธิบายไปโสกะก็คงไม่เข้าใจ
เดี๋ยวก็โต้อะไรเฉิ่มๆกลับมา กลัวฟันร่วงนี่ก็จะหมดปากอยู่แล้ว
เป็นเพราะหัวเราะโสกะนั้นเอง :b13:

:b12:
อธิบายมาอ่านดูเผินๆดูเหมือนเข้าท่าดี แต่พอพิจารณาให้ถ้วนถี่ เอาเรื่องอุเบกขาเกิดได้เพราะสัมมาศีลของคุณโฮ...มันไกลกับประเด็นธรรมมาก นี่ล่ะมั่วตัวจริง
:b12:
ประเด็นธรรมของอุเบกขา ความวางเฉย ด้วยปัญญา มันต้องไปอธิบายตามสติปัฏฐาน 4 ขนาดน้องคงเธอยังจับประเด็นตีความออกและทำให้แตกฉานไปได้อีกจนถึง อุเบกขาที่ไร้ปัญญาประกอบ คุณโฮ...กลับมองไม่เห็นทั้งๆที่เป็นเรื่องที่เป็นสามัญสำนึก
:b34: :b34:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร