วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 06:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2011, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี
การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องแบ่งแยกออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท ที่เป็นเช่นนั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มบุคคล ในทุกกลุ่มเชื้อชาติ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา จึงแบ่งกลุ่มบุคคลออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลทั่วไป เพื่อการปฏิสัมพันธ์ ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
๒. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลที่มีความต้องการที่จะปฏิบัติธรรมให้ได้ถึงชั้นอริยบุคคลหรือปฏิบัติธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ในที่นี้หมายรวมตั้งแต่กลุ่มบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรมเพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อต้องการขจัดความเศร้าหมองตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของเขาทั้งหลายเหล่านั้น
เมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบแล้วว่า การปฏิบัติธรรมจำต้องแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ผลดี ก็ย่อมต้องแบ่งการปฏิบัติเป้น ๒ รูปแบบ เพื่อให้ได้ผลดี ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของกลุ่มบุคคลทั่วไปนั้น ถ้าจะเอาแบบง่ายๆสั้น ก็ย่อมต้องนำเอาหลักการของ "อริยมรรค อันมีองค์๘ "มาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดี และการดำรงชีวิตในสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน เป็นไปอย่างราบรื่น มีแต่ความสมัครสมานสามัคคี แทบจะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย นั่นก็คือ "
๑. มีความเห็นในทางที่ดี,
๒.คิดในทางที่ดี,
๓.เจรจาติดต่อสื่อสารในทางที่ดี,
๔.ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี,
๕.เลี้ยงชีพเลี้ยงตัวเองในทางทีดี,
๖.มีความขยันหมั่นเพียรในทางที่ดี,
๗.ความหวนนึกถึงในทางที่ดี,
๘.ความตั้งใจสำรวมจิตในทางที่ดี
(ขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
ทั้ง ๘ ข้อ ย่อมเป็นเครื่องมือที่จะช่วยหรือจะทำจะนำให้บุคคลที่ยึดถือสามารถปฏิบัติธรรมได้ผลดียิ่ง เพราะธรรมทั้งหลายล้วนย่อมมีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ถ้าใช้หลักการของ อริยมรรคอันมีองค์๘ เป็นเครื่องช่วยในการปฏิบัติ ซึ่ง ตัวของ อริยมรรค อันมีองค์๘ ก็เป็นหลักธรรมอย่างหนึ่ง เช่นกัน ถ้านำไปปฏิบัติ ก็คือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอันจักทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเกิดธรรมทั้งหลายในจิตใจอยู่เสมอ นั่นหมายความว่า ทั้งผู้ปฏิบัติ และผู้ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์ ย่อมเกิดธรรมอย่างดีเยี่ยมทั้งสองฝ่าย
ส่วนการปฏิบัติธรรมในอย่างที่ ๒ เป็นการปฏิบัติธรรมของผู้ที่มีความต้องการใคร่จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จนถึงบุคคลที่ต้องจะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสู่ชั้นอริยบุคคล และหมายรวมถึงบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรม เพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อขจัดความเศร้าหมองในจิตใจตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของพวกเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมต้องมีเครื่องมือ หรือหลักวิธีที่จะทำให้การปฏิบัติได้ผลดี เป็นขั้นเป็นตอน ตามหลักพุทธศาสนา อันได้แก่
๑.เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง
๒.ฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
เพราะการปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองนั้น แท้จริงแล้ว ก็คือการฝึกปฏิบัติ ตามหลัก "สติปัฏฐาน ๔ "นั่นเอง เพียงแต่แยกออกมาอธิบายหรือจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นหลักการหรือเครื่องมือที่ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้หรือง่ายต่อการปฏิบัติ
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี สำหรับบุคคลประเภทที่ ๒ จึงจำต้อง เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง และฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
การปฏิบัตินั้น ในทางพุทธศาสนาจะแนะนำไว้ว่า "ไม่ตึง ไม่หย่อน" นั่นหมายความว่า ให้บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมรู้จักจัดแบ่งเวลาที่เหมาะสม ให้รู้จักว่า เวลาไหนควรฝึก เวลาไหนความปฏิบัติ เวลาไหนความคิด หรือเวลาไหนไม่ควรคิด ถ้ารู้จักจัดแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวันของบุคคล แต่ละบุคคลย่อมสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ผลอย่างดียิ่ง และย่อมใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างปกติสุข ไม่หนีโลก หนีปัญหา ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ส.ค. 2011, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


sriariya เขียน:
การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี
การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องแบ่งแยกออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท ที่เป็นเช่นนั้น ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ครอบคลุมในทุกกลุ่มบุคคล ในทุกกลุ่มเชื้อชาติ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามหลักพุทธศาสนา จึงแบ่งกลุ่มบุคคลออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลทั่วไป เพื่อการปฏิสัมพันธ์ ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
๒. การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของบุคคลที่มีความต้องการที่จะปฏิบัติธรรมให้ได้ถึงชั้นอริยบุคคลหรือปฏิบัติธรรมเพื่อจุดมุ่งหมายจะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ในที่นี้หมายรวมตั้งแต่กลุ่มบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรมเพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อต้องการขจัดความเศร้าหมองตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของเขาทั้งหลายเหล่านั้น
เมื่อท่านทั้งหลายได้ทราบแล้วว่า การปฏิบัติธรรมจำต้องแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง ๒ ประเภท การปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ผลดี ก็ย่อมต้องแบ่งการปฏิบัติเป้น ๒ รูปแบบ เพื่อให้ได้ผลดี ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ของกลุ่มบุคคลทั่วไปนั้น ถ้าจะเอาแบบง่ายๆสั้น ก็ย่อมต้องนำเอาหลักการของ "อริยมรรค อันมีองค์๘ "มาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดี และการดำรงชีวิตในสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน เป็นไปอย่างราบรื่น มีแต่ความสมัครสมานสามัคคี แทบจะไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย นั่นก็คือ "
๑. มีความเห็นในทางที่ดี,
๒.คิดในทางที่ดี,
๓.เจรจาติดต่อสื่อสารในทางที่ดี,
๔.ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดี,
๕.เลี้ยงชีพเลี้ยงตัวเองในทางทีดี,
๖.มีความขยันหมั่นเพียรในทางที่ดี,
๗.ความหวนนึกถึงในทางที่ดี,
๘.ความตั้งใจสำรวมจิตในทางที่ดี
(ขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
ทั้ง ๘ ข้อ ย่อมเป็นเครื่องมือที่จะช่วยหรือจะทำจะนำให้บุคคลที่ยึดถือสามารถปฏิบัติธรรมได้ผลดียิ่ง เพราะธรรมทั้งหลายล้วนย่อมมีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคลอยู่แล้ว ถ้าใช้หลักการของ อริยมรรคอันมีองค์๘ เป็นเครื่องช่วยในการปฏิบัติ ซึ่ง ตัวของ อริยมรรค อันมีองค์๘ ก็เป็นหลักธรรมอย่างหนึ่ง เช่นกัน ถ้านำไปปฏิบัติ ก็คือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมอันจักทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้นเกิดธรรมทั้งหลายในจิตใจอยู่เสมอ นั่นหมายความว่า ทั้งผู้ปฏิบัติ และผู้ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์ ย่อมเกิดธรรมอย่างดีเยี่ยมทั้งสองฝ่าย
ส่วนการปฏิบัติธรรมในอย่างที่ ๒ เป็นการปฏิบัติธรรมของผู้ที่มีความต้องการใคร่จะหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย จนถึงบุคคลที่ต้องจะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุสู่ชั้นอริยบุคคล และหมายรวมถึงบุคคลที่เข้ามาพึ่งทางธรรม เพื่อต้องการขัดเกลาความเศร้าหมองในจิตใจ หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเศร้าหมองในจิตใจอยู่แล้วและเข้ามาปฏิบัติธรรม เพื่อขจัดความเศร้าหมองในจิตใจตามความเข้าใจของพวกเขา หรือความหลงผิดในจิตใจของพวกเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็ย่อมต้องมีเครื่องมือ หรือหลักวิธีที่จะทำให้การปฏิบัติได้ผลดี เป็นขั้นเป็นตอน ตามหลักพุทธศาสนา อันได้แก่
๑.เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง
๒.ฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
เพราะการปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กองนั้น แท้จริงแล้ว ก็คือการฝึกปฏิบัติ ตามหลัก "สติปัฏฐาน ๔ "นั่นเอง เพียงแต่แยกออกมาอธิบายหรือจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เป็นหลักการหรือเครื่องมือที่ทำให้ง่ายต่อการเรียกใช้หรือง่ายต่อการปฏิบัติ
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี สำหรับบุคคลประเภทที่ ๒ จึงจำต้อง เรียนรู้หลักกัมมัฏฐาน ๔๐ กอง และฝึกปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐานไปตามลำดับ
การปฏิบัตินั้น ในทางพุทธศาสนาจะแนะนำไว้ว่า "ไม่ตึง ไม่หย่อน" นั่นหมายความว่า ให้บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมรู้จักจัดแบ่งเวลาที่เหมาะสม ให้รู้จักว่า เวลาไหนควรฝึก เวลาไหนความปฏิบัติ เวลาไหนความคิด หรือเวลาไหนไม่ควรคิด ถ้ารู้จักจัดแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวันของบุคคล แต่ละบุคคลย่อมสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ผลอย่างดียิ่ง และย่อมใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างปกติสุข ไม่หนีโลก หนีปัญหา ฉะนี้
จ่าสิบตรี เทวฤทธ์ ทูลพันธ์
๑ สิงหาคม ๒๕๕๔


คงมีหลายท่านที่่มีความคิดคัดค้าน ซึ่งก็คงเป็นเพราะได้รับการขัดเกลากันมาทำให้เกิดความเข้าใจในทางที่ไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการนำเอา กรรมฐาน ๔๐ กอง มาสอนกันเพียง ๑ ข้อบ้าง ๒ ข้อบ้าง
ในทางที่เป็นจริงนั้น กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง เป็นการนำเอาหัวข้อ หลักการ หรือวิธีการในการสร้างความรู้ หรือสร้างปัญญาให้กับผู้ปฏิบัติ คัดแยกออกมาเป็นหัวข้อเอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปฝึกปฏิบัติ ที่สำคัญ ถ้าผู้ใดปฏิบัติกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองได้อย่างครบถ้วน ก็จะเกิดปัญญาหยั่งรู้หลายๆอย่างตามมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกเกี่ยวกับ "ภวังค์" หรือ "ระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์"
ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิสูจน์ด้วยตัวของท่านทั้งหลายเถิดขอรับ
ขอให้เจริญยิ่งในปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 17:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2007, 07:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การปฏิบัตินั้น ในทางพุทธศาสนาจะแนะนำไว้ว่า "ไม่ตึง ไม่หย่อน" นั่นหมายความว่า ให้บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมรู้จักจัดแบ่งเวลาที่เหมาะสม ให้รู้จักว่า เวลาไหนควรฝึก เวลาไหนความปฏิบัติ เวลาไหนความคิด หรือเวลาไหนไม่ควรคิด ถ้ารู้จักจัดแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวันของบุคคล แต่ละบุคคลย่อมสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ผลอย่างดียิ่ง และย่อมใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างปกติสุข ไม่หนีโลก หนีปัญหา ฉะนี้


:b8: อนุโมทนาครับ

อ้างคำพูด:
ที่สำคัญ ถ้าผู้ใดปฏิบัติกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองได้อย่างครบถ้วน ก็จะเกิดปัญญาหยั่งรู้หลายๆอย่างตามมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกเกี่ยวกับ "ภวังค์" หรือ "ระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์"


แสดงว่าเจ้าของกระทู้ได้รู้ประจักษ์แล้ว สาธุด้วยครับ :b8:

.....................................................
ค้นหาอะไรก็ได้อย่างนั้นแล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Ya เขียน:
อ้างคำพูด:
การปฏิบัตินั้น ในทางพุทธศาสนาจะแนะนำไว้ว่า "ไม่ตึง ไม่หย่อน" นั่นหมายความว่า ให้บุคคลทั้งหลายที่ปฏิบัติธรรมรู้จักจัดแบ่งเวลาที่เหมาะสม ให้รู้จักว่า เวลาไหนควรฝึก เวลาไหนความปฏิบัติ เวลาไหนความคิด หรือเวลาไหนไม่ควรคิด ถ้ารู้จักจัดแบ่งเวลา ในชีวิตประจำวันของบุคคล แต่ละบุคคลย่อมสามารถประพฤติปฏิบัติธรรมได้ผลอย่างดียิ่ง และย่อมใช้ชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างปกติสุข ไม่หนีโลก หนีปัญหา ฉะนี้


:b8: อนุโมทนาครับ

อ้างคำพูด:
ที่สำคัญ ถ้าผู้ใดปฏิบัติกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองได้อย่างครบถ้วน ก็จะเกิดปัญญาหยั่งรู้หลายๆอย่างตามมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกเกี่ยวกับ "ภวังค์" หรือ "ระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์"


แสดงว่าเจ้าของกระทู้ได้รู้ประจักษ์แล้ว สาธุด้วยครับ :b8:



ขอตอบตามตรงเลยนะขอรับว่า ในเรื่องของ กัมมัฏฐาน ๔๐ กองนั้น ข้าพเจ้าเอง ยังมีข้อสงสัยอยู่เกี่ยวกับ อรูป ๔ และไม่มีเวลาคิดพิจารณา และที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า การปฏิบัติ กัมมัฏฐาน ต้องปฏิบัติทั้ง ๔๐ กองนั้น ก็ด้วยเหตุที่ว่า หลักธรรมตามพระไตรปิฎกนี้ ตรงกับการปฏิบัติธรรมของข้าพเจ้า แตกต่างกันตรง เนื้อหา แต่โดยรวมแล้ว คล้ายคลึงกัน และข้าพเจ้าก็ไม่ได้ยึดเอา กัมมัฏฐาน ๔๐ กองมาเป็นแบบฝึก ข้าพเจ้าฝึกตามหลักวิชาของข้าพเจ้า เมื่อข้าพเจ้าจะส่งเสริมศาสนา จึงได้ศึกษาพระไตรปิฎกเพียงเล็กน้อย จึงยังไม่เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในบางเรื่อง อย่าหลงคิดว่าข้าพเจ้ารู้ประจักษ์ในทุกเรื่องนะขอรับ สำหรับเรื่องของกัมมัฏฐาน ๔๐ กองนี้ ยังมี หมวด อรูป ๔ ที่ข้าพเจ้ายังสงสัยว่าทำไมจึงต้องกำหนดอย่างนั้น แต่ก็พอรู้อยู่ลางเลือน และไม่ค่อยได้พิจารณา เพราะต้องฝึกวิชชาของตัวเอง ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 11:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2007, 07:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


รูป ...> วิญญาณยึดเกาะที่รูป
อรูป...> วิญญาณปล่อยรูป มายึดเกาะอรูปแทน
ทำให้ชำนาญ...แล้ว..ปล่อยวิญญาณ (...หยุด ในกายใน...)

ปล่อยวิญญาณ...> ... :b21:


(โปรดใช้วิจารณญาณ)

.....................................................
ค้นหาอะไรก็ได้อย่างนั้นแล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


Ya เขียน:
รูป ...> วิญญาณยึดเกาะที่รูป
อรูป...> วิญญาณปล่อยรูป มายึดเกาะอรูปแทน
ทำให้ชำนาญ...แล้ว..ปล่อยวิญญาณ (...หยุด ในกายใน...)

ปล่อยวิญญาณ...> ... :b21:


(โปรดใช้วิจารณญาณ)


ไม่อย่างที่คุณกล่าวมาดอกขอรับ อรูป ๔ มีดังนี้
๑) อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๒) วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๓) อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
๔) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)
ส่วนความหมายของ อรูป หมายถึง ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม
ความจริงแล้วข้าพเจ้าเคยพิจารณาและเขียนเป็นกระทู้ไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ยังมีข้อสงสัยว่า
ทำไมต้องกำหนดที่ว่าง,วิญญาณ,ภาวะที่ไม่มีอะไรๆ,ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ไช่ เป็นอารมณ์ กำหนดแล้วได้อะไร
ข้อที่สี่ ธรรมดาของมนษย์ มักมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ อยู่บ่อยครั้ง ก็เลยสงสัย และไม่ได้พิจารณาว่าเป็นด้วยเหตุผลใด จึงมี อรูป ธรรมดา ธรรมทั้งปวงก็ไม่มีรูป แต่เป็นสภาพสภาวะจิตใจ ความคิด เท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2011, 06:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2007, 07:13
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


จากคำตอบข้างบนที่ผมตอบไว้ เป็นการพิจารณาจากตนเองครับ

ผมไปอ่านเจอจากพระไตรปิฎกมาพอดีครับ นำมาฝากท่านครับ

อรูปฌาน ๔
[๒๒] ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการ
ว่า อากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น
สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความ
ยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรม
ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มี
พระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ
หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้
ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนะสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึง
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น
เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.


ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อัน
พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้
อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุ
ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา
ดังนี้ เธอตั้งอยู่
ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะ
ความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน
ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูกรคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่
จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึง
ธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ
อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0

.....................................................
ค้นหาอะไรก็ได้อย่างนั้นแล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่เอามาให้อ่านขอรับ
แต่ดูเหมือนว่าข้าพเจ้าจะเคยอ่านแล้วนะ เพราะข้าพเจ้าได้ ก๊อบปี้ ดาวน์โหลด พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย มาจาก เวบ 84000.
คุณนำมาให้ข้าพเจ้าได้อ่าน แล้วคุณอ่านรู้เรื่องไหมละ
ข้าพเจ้าคิดพิจารณาอย่างไรก็ไม่เหมือนกับที่ข้าพเจ้าปฏิบัติอยู่ เพราะการ ขจัดอาสวะให้สิ้นนั้น จำเป็นต้องใช้หลักวิทยาศาสตร์เข้าช่วยจึงจะสามารถขจัดอาสวะได้ กล่าวอย่างเข้าใจง่าย ต้องรู้จัก การทำงานของนิวเคลียสภายในร่างกายเรา
ความจริงข้าพเจ้าเคยบอกว่า ข้าพเจ้าเคยเขียน เรื่อง "อรูปฌาน" แต่จริงๆแล้วไม่เคยเขียน เคยแต่พิจารณาและว่าจะเขียน แต่ดันลืมไปซะ ก็เลยไม่ได้เขียน
ขอบคุณอีกครั้งในความหวังดีขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2011, 21:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ...ทำให้มาก
แล้วจะสิ้นสงสัย" ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นไปได้
ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน
... หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆ
ไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้
อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการ
พัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น

การปฏิบัติทางจิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น
ตรงกันข้ามกับหนทางของโลกอย่างสิ้นเชิง
คำสั่งสอนของพระองค์มาจากพระทัยอันบริสุทธิ์
ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับกิเลสอาสวะทั้งหลาย
นี่คือแนวทางของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์

เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม
ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา ถ้าปฏิบัติอย่างนี้
ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้น
จากทุกข์ไปได้ พอเริ่มปฏิบัติ ทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว
หน้าที่ของผู้ปฏิบัตินั้นจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ
สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชิน
ที่เคยทำมาแต่เก่าก่อนทำไมถึงต้องทำอย่างนี้
ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้ว
มันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

ธรรมชาติของใจนี้มันฝึกกันได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้
เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ
ของมัน เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้
จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้ หรือทำอะไรอย่างอื่น
ที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้ แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการ
ไม้ไปสร้างบ้าน เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้
และตัดต้นไม้ในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์
ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย

การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้
ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึกเหมือนไม้ในป่านี่แหละ
มาฝึกมัน จนมันละเอียดประณีตขึ้น รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น
ทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมัน
เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ เราก็เปลี่ยนมันได้
ทิ้งมันก็ได้ ปล่อยมันไปก็ได้ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

ธรรมะ หลวงพ่อชา สุภัทโท

ขอขอบคุณเว็บธรรมะสาธุที่ได้คัดลอกมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2011, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัตในทางธรรมะของศาสนาทุกศาสนา เกี่ยวข้องกับโลกทั้งสิ้น อย่าเข้าใจผิดคิดว่าตรงกันข้ามกับทางโลก พระพุทธเจ้า สมณะโคดม ไม่ได้สอนให้ปฏิบัติไปในทางตรงกันข้ามกับทางโลก และให้ใช้ทางโลกเป็นเครื่องช่วย เป็นปัจจัยเพื่อให้ได้รู้ได้เข้าใจว่า กิเลส เป็นอย่างไร ประพฤติปฏิบัติ อย่างไร จึงจะหลุดพ้นจากทางโลก นั่นก็หมายความว่า ต้องรู้ว่า ทางโลกเป็นอย่างไร จึงจะรู้จักวิธีการหลุดพ้นได้
การเสวนาศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่ไม่รู้อะไร ก็คิดเอาเองว่า ข้าคิดอย่างนี้ ข้าเข้าใจอย่างนี้ถูกต้อง ถ้าคิดแบบนั้น มันคนมีทิฎฐิมากกว่า
ผู้ใฝ่ทางธรรม ไม่ใช่ว่าพอรู้ธรรมแล้วจะเกิดความเข้าใจทุกอย่างทุกด้าน ถ้าไม่เข้าใจ ปฏิบัติไปก็ไม่ได้ผลอะไรดอกขอรับ อาจเป็นผลร้ายต่อตัวเอง ด้วยซ้ำไป ดังนั้นการเสวนาศึกษาหาความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเห็นเป็นแนวทางเดียวกัน ตามหลักความจริง แล้วค่อยปฏิบัติ นั่นแหละเขาเรียกว่า "สัพพัญญู "ไม่ใช่ไม่รู้แต่อวดรู้ ไม่เข้าใจแต่คิดเอาเองว่าอย่างนี้ถูก อย่างนั้นถูก ปฏิบัติอย่างไรก็ไม่ได้ผลอะไรขอรับ ที่กล่าวไปทั้งหมดข้างต้น สามารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ ตั้งแต่ เด็ก ถึง ผู้ใหญ่ (เด็กที่โตแล้วนะขอรับ)

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ ผู้เขียน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร