วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 23:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 16:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion

โพธิปักขิยธรรม 37 ประการเกิดขึ้นครบ เป็นธรรมที่เกื้อหนุนการตรัสรู้ หรือบรรลุอรหันต์


มรรคมีองค์ 8 (ปัญญา ศีล สมาธิ) เป็นธรรมแรกที่เกิดขึ้นจากการเห็นความจริงว่าสรรพสิ่ง ไม่เที่ยง เกิดดับ ไม่เที่ยง เกิดดับ เป็นคำที่ยิ่งใหญ่ครอบคลุมพระไตรปิฎก 84000
พระธรรมขันธ์ ในพระไตรปิฎกสรุปแล้วพระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์และการดับทุกข์เท่านั้น ทุกข์เกิดจาก ไม่เที่ยง เกิดดับ ต้องดับโดยการวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 ว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เกิดดับ ทำให้เกิดปัญญาดับทุกข์ได้ ก็แก้ปัญหาชีวิตได้ทั้งหมด ส่งผลให้ชีวิตดีขึ้น ไม่สะสมปัญหาพอกพูน
ชีวิตก็เป็นสุขถาวร

ไม่ต้องท่องว่าโพธิปักขิยธรรมมีอะไรบ้างกี่ข้อ แต่ให้เห็นความจริงว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เกิดดับ แค่นี้ก็ครอบคลุมทั้งหมด มีความพยายามท่องไม่เที่ยง เกิดดับ ให้เป็นชีวิตประจำวันพิจารณาเมื่อมีสิ่งมากระทบทางอินทรีย์ 6 ไม่กระทบไม่พิจารณา เปลี่ยนความเชื่อโดยใช้ความจริง (ไม่เที่ยง เกิดดับ)

1.) มรรคมีองค์ 8 คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน (ผลนี่เกิดการการวิปัสสนาว่าไม่เที่ยง เกิดดับ)
1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เกิดดับ)
2. สัมมาสังกัปปะ (คิดว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เกิดดับ)
3. สัมมาวาจา (มีศีลการการเห็นไม่เที่ยง เกิดดับ)
4. สัมมากัมมันตะ (มีศีลการการเห็นไม่เที่ยง เกิดดับ)
5. สัมมาอาชีวะ (มีศีลการการเห็นไม่เที่ยง เกิดดับ)
6. สัมมาวายามะ (มีความพยายามพิจารณาไม่เที่ยง เกิดดับ)
7. สัมมาสติ (มีสติระลึกถึงไม่เที่ยง เกิดดับ)
8. สัมมาสมาธิ (มีความตั้งมั่นคำไม่เที่ยง เกิดดับ)

2.) สติปัฏฐาน 4 คือ การเจริญสติระลึกรู้ (ระลึกไม่เที่ยง เกิดดับ)
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องรูปธรรม
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนความรู้สึกจากสัมผัส
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนของการรับรู้
4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่องทั้งรูปธรรมและนามธรรม

3.) สัมมัปปธาน 4 คือ ความเพียรพยายาม
1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (ระงับโดยการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (ละเว้นโดยการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
3. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (เพียรทำกุศลโดยการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น (รักษาโดยการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)

4.) อิทธิบาท 4 คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล
1. ฉันทะ คือ ความพอใจและเต็มใจ (เต็มใจในการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม (เพียรในการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน (ใส่ใจท่องคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
4. วิมังสา คือ ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
(ปัญญาเกิดจากการพิจารณาไม่เที่ยง เกิดดับ)

5.) อินทรีย์ 5 คือ ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในอารมณ์
1. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่ (ศรัทธาคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
2. วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรเป็นใหญ่ (พากเพียรในการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
3. สตินทรีย์ คือ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นใหญ่ (ระลึกคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
4. สมาธินทรีย์ คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน (จดจ่อคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
5. ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้ง (ปัญญาเกิดจากการรู้ไม่เที่ยง เกิดดับ)

6.) พละ 5 คือ ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค
1. สัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา (เชื่อไม่เที่ยง เกิดดับ)
2. วิริยะพละ คือ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ (พยายามท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
3. สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลังให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
(ระลึกคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
4. สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลังต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน(จดจ่อคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
5. ปัญญาพละ คือ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลง (ปัญญาเกิดจากการรู้แจ้งไม่เที่ยง เกิดดับ)

7.) โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
1. สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง (ระลึกคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม (สอดส่องคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
3. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียร (พากเพียรท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
4. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ (อิ่มใจท่องคำไม่เที่ยง เกิดดับ)
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกายใจ (สบายจากการท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ (ตั้งมั่นท่องไม่เที่ยง เกิดดับ)
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง (รู้ความจริงว่าสรรพสิ่งไม่เที่ยง เกิดดับ)


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 16 พ.ย. 2011, 08:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 00:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


onion onion onion onion
ขอให้ทุกท่านพ้นจากความทุกข์



เจ้าของกระทู้พึงศึกษาพิจารณาให้รอบครอบก่อนแสดง
ความรู้ความเห็นครับ ขอเจริญพร ----- พุทธฏีกา


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


[1]
[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)
------------------------------------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


[๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ใน
ทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ

สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริใน
ความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ

สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อ
เสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า
สัมมาวาจา ฯ

สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือ
เอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมา
กัมมันตะ ฯ
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด
เสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ

สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม
ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่
เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ

สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ

สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะ
วิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
------------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค


[2] สัมมาสติหรือสติปัฏฐาน
มหาสติปัฏฐานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/?10/273-300/325-351

[3] สัมมัปปธาน สัมมาวายามะ
สังวรสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/?21/14/20

[4] อิทธิบาท
[๒๓๑] อิทธิบาท ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท
อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท
อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร ฯ
------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค


[5]-[6]พละ ๕ อินทรีย์ ๕
[228] พละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง — power)
1. สัทธา (ความเชื่อ — confidence)
2. วิริยะ (ความเพียร — energy; effort)
3. สติ (ความระลึกได้ — mindfulness)
4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น — concentration)
5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด — wisdom; understanding)

ธรรม 5 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน — controlling faculty) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้
พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง
------------------------------------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


[7]โพชฌงค์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสติสัมโพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางไพบูลย์จำเริญบริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไปแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ในธรรมเหล่านั้น สตินั้นแหละชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์. โยนิโสมนสิการมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ ในอารมณ์นี้แล้ว สติสัมโพชฌงค์ก็เกิด.

ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ เป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. สติสัมปชัญญะ
๒. การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม
๓. การคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคง
๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.


เหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาในบาลี อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ฯลฯ ธรรมที่เปรียบด้วยธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ
๑. การสอบถาม
๒. การทำวัตถุให้สละสลวย
๓. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกัน
๔. เว้นบุคคลมีปัญญาทราม
๕. คบหาบุคคลผู้มีปัญญา
๖. พิจารณาสอดส่องด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง
๗. ความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น.


วิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารภธาตุ (ธาตุคือความเริ่มความเพียร) นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ (ธาตุคือความเพียรก้าวไปข้างหน้า) มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุทั้ง ๓ นั้น นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นไปเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ คือ
๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย
๒. การเห็นอานิสงส์
๓. การพิจารณาวิถีทางดำเนิน
๔. ความเคารพยำเกรงในบิณฑบาต
๕. การพิจารณาความเป็นใหญ่แห่งการรับทรัพย์มรดก
๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่
๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่
๘. การพิจารณาความมีสพหมจารีเป็นใหญ่
๙. การงดเว้นบุคคลเกียจคร้าน
๑๐. การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร
๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น.

ปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิด โดยนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
ปีตินั้นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ ในบาลีนั้น. มนสิการอันยังปีตินั้นให้เกิด ชื่อว่าโยนิโสมนสิการ.

ธรรมเป็นเหตุเกิดปีติสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นทางเกิด ปีติสัมโพชฌงค์ คือ
๑. พุทธานุสสติ
๒. ธัมมานุสสติ
๓. สังฆานุสสติ
๔. สีลานุสสติ
๕. จาคานุสสติ
๖. เทวตานุสสติ
๗. อุปสมานุสสติ
๘. เว้นบุคคลผู้เศร้าหมอง
๙. คบหาบุคคลผู้หมดจด
๑๐. การพิจารณาความในพระสูตร เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
๑๑. ความน้อมจิตไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น.

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดโดยนัยที่มาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายปัสสัทธิ ความสงบกาย จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการ ในความสงบกาย และความสงบจิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่ แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.

ธรรมเป็นเหตุเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นทางเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ
๑. เสพโภชนะอันประณีต
๒. เสพฤดูเป็นที่สบาย
๓. เสพอิริยาบถเป็นที่สบาย
๔. ประกอบความเป็นกลาง
๕. เว้นบุคคลผู้ไม่สงบกาย
๖. เสพบุคคลผู้สงบกาย
๗. น้อมจิตไปในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น.


สมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (บาลีว่า สมาธินิมิต) อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตทั้งสองนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
ในนิมิตเหล่านั้น สมถะนั่นแล ชื่อว่าสมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.

ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ
๑. ทำวัตถุให้สละสลวย
๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ
๓. ฉลาดในนิมิต
๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย
๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
๑๐. พิจารณาและวิโมกข์
๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.



อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความเจริญไพบูลย์ บริบูรณ์เต็มที่ แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.
ก็ในธรรมเหล่านั้น อุเบกขานั่นแล ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

ธรรมเป็นเหตุเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๕ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ
๑. วางตนเป็นกลางในสัตว์
๒. วางตนเป็นกลางในสังขาร
๓. เว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร
๔. คบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร
๕. น้อมจิตไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น.
------------------------------------------------------------------
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาสติปัฏฐานสูตร




อีกอย่างหนึ่ง ในบาลีว่า โพชฺฌงฺคา๒- นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถอะไร. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะแทงตลอด. (ย่อมเจริญ) สติสัมโพชฌงค์นั้น.
แม้ในบทว่า ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺคํ ดังนี้เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
____________________________
๒- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๕๕๗

ชื่อว่าธรรมวิจัย เพราะคันหาสัจธรรมทั้ง ๔. ก็ธรรมวิจัยนั้นมีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีความแจ่มแจ้งเป็นรส มีความไม่หลงลืมเป็นปัจจุปัฏฐาน (เครื่องปรากฏ).
ชื่อว่าวิริยะ เพราะภาวะกล้าหาญและเพราะดำเนินไปตามวิธี. ก็วิริยะนั้นมีการประคองไว้เป็นลักษณะ มีการค้ำจุนไว้เป็นรส มีการไม่ย่อหย่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ชื่อว่าปีติ เพราะอิ่มเอิบ. ปีตินั้นมีการแผ่ซ่านเป็นลักษณะ หรือมีความยินดีเป็นลักษณะ มีการทำกายและจิตให้เอิบอิ่มเป็นรส มีการทำกายและจิตนั้นแหละให้ฟูขึ้นเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ชื่อว่าปัสสัทธิ เพราะระงับความกระวนกระวายแห่งกายและจิต. ปัสสัทธินั้นมีความสงบเป็นลักษณะ มีการย่ำยีความกระวนกระวายแห่งกายและจิตเป็นรส มีความเย็นอันเกิดจากความไม่ดิ้นรนเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ชื่อว่าสมาธิ เพราะความตั้งมั่น. ก็สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ หรือมีการไม่ซ่านออกเป็นลักษณะ มีการประมวลจิตและเจตสิกไว้เป็นรส มีความตั้งอยู่แห่งจิตเป็นปัจจุปัฏฐาน.
ชื่อว่าอุเบกขา เพราะความเพ่งเฉย. อุเบกขานั้นมีการพิจารณาเป็นลักษณะ หรือมีการนำไปอย่างสม่ำเสมอเป็นลักษณะ มีการห้ามความหย่อนไปและความเกินไปเป็นรส หรือมีการตัดขาดในการเข้าเป็นฝักฝ่ายเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน.
บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวไว้แล้วนั่นแล.
บทว่า ภาเวติ ความว่า พอกพูน คือให้เพิ่มขึ้น. อธิบายว่า ให้เกิดขึ้น.
ในสัมโพชฌงค์นั้น ธรรม ๔ ประการ คือ
สติสัมปชัญญะ ๑
ความเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑
ความเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ๑
ความเป็นผู้น้อมใจไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์.
ก็ในฐานะทั้ง ๗ แม้มีการก้าวไปเป็นต้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยการเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืมดุจกาซ่อนเหยื่อ ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตโอนน้อมโน้มไปเพื่อให้สติตั้งขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น.
เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ แล้วกระทำสติสัมโพชฌงค์นั้นอย่างเดียวให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ.
กุลบุตรนั้นนั่นแล ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ในพระอรหัตมรรค. เมื่อกุลบุตรนั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ
ความสอบถาม ๑
ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑
ความทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑
ความเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑
ความเสพบุคคลผู้มีปัญญา ๑
ความพิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง ๑
ความน้อมใจไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์.
-------------------------------------------------------------------
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต
ปสาทกรธัมมาทิบาลี


แก้ไขล่าสุดโดย นายฏีกาน้อย เมื่อ 16 พ.ย. 2011, 12:28, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
เจ้าของกระทู้แสดงความเห็นไม่สอดคล้องกับนัยยะของพุทธพจน์ในเรื่อง โพธิปักขิยธรรมหลายประการ จึงขอยกแสดงนัยยะที่ถูกต้องในเรื่องโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เอาไว้ขอเจริญพร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2011, 13:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

ขอกราบขอบพระคุณท่าน พุทธฏีกา

:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

viewtopic.php?f=1&t=40121

ทรงทราบพราหมณสัจจ์๒
(พุทธประวัติจากพระโอษฐ์)


ปริพพาชกทั้งหลาย! พราหมณสัจจ์ ๔ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทั่วกัน. พราหมณสัจจ์ ๔ คืออะไรเล่า

ปริพพาชก ท.! ในธรรมวินัยนี้ พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า
“สัตว์ทั้งปวง ไม่ควรฆ่า” พราหมณ์ที่พูดอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่
กล่าวมุสา. และพราหมณ์นั้น ไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้นเป็นเหตุสำคัญตัวว่า
“เราเป็นสมณะ, เราเป็นพราหมณ์, เราดีกว่าเขา, เราเสมอกับเขา, เราเลว
กว่าเขา”. เป็นแต่ว่าความจริงอันใดมีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเอ็นดูสงสารสัตว์ทั้งหลาย
เท่านั้นเอง.

ปริพพาชก ท.! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูกันอย่างนี้ว่า “กาม
ทุกชนิด ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา”. พราหมณ์
ที่พูดอยู่อย่างนี้ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา. และพราหมณ์นั้นไม่ถือเอา
การที่พูดคำสัจจ์นั้นขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัวว่า “เราเป็นสมณะ, เราเป็นพราหมณ์,
เราดีกว่าเขา,เราเสมอกับเขา, เราเลวกว่าเขา”. เป็นแต่ว่าความจริงอันใด
มีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
หน่ายกาม เพื่อคลายกำหนัดในกาม เพื่อดับกามทั้งหลายเสียเท่านั้นเอง.

ปริพพาชก ท.! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า “ภพทุก
ภพ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันแปรปรวนเป็นธรรมดา”. พราหมณ์ที่กล่าว
อยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา. และพราหมณ์นั้น ไม่ถือเอาการ
ที่พูดคำสัจจ์นั้นขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัว ว่า “เราเป็นสมณะ, เราเป็นพราหมณ์,
เราดีกว่าเขา, เราเสมอกับเขา, เราเลวกว่าเขา". เป็นแต่ว่าความจริงอันใด
มีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ
หน่ายภพ เพื่อคลายกำหนัดในภพ เพื่อดับภพเสียเท่านั้นเอง.

ปริพพาชก ท.! อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ได้พูดกันอย่างนี้ว่า “เราไม่
เป็นความกังวลแก่สิ่งใดๆ แก่ใครๆ. และความกังวลของเราในสิ่งใหน ๆ
ในใครๆ ก็ไม่มี.” พราหมณ์ที่พูดอย่างนี้ ชื่อว่าพูดคำสัจจ์ ไม่ใช่กล่าวมุสา.
และพราหมณ์นั้น ก็ไม่ถือเอาการที่พูดคำสัจจ์นั้น ขึ้นเป็นเหตุสำคัญตัวว่า
“เราเป็นสมณะ, เราเป็นพราหมณ์, เราดีกว่าเขา,เราเสมอกับเขา, เราเลว
กว่าเขา”. เป็นแต่ว่าความจริงอันใดมีอยู่ในข้อนั้น ครั้นรู้ความจริงนั้นด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว ก็เป็นผู้ปฏิบัติให้เข้าแนวทางที่ไม่มีกังวลใดๆ เท่านั้นเอง

ปริพาชก ! นี้แล พราหมณ์สัจจ์ ๔ ประการ ที่ทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทันกัน.


:b41: :b42: :b41: :b42: :b41:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร