วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 11:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ในระยะเวลาสั้นและเห็นผลเร็วที่สุด นั้นจะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ เกิดความสงบ เกิดสันติสุข ลดความขัดแย้งกัน


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 13 พ.ย. 2011, 00:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 14:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าท่านต้องการทราบว่า สิ่งที่ท่านถามมาจริงแค่ไหน ท่านก้นำความจริงมาเปรียบสิ ความจริงไม่จำเป็นต้องอ่านมาจากตำราไหน ความจริงไม่จำเป็นต้องเรียนรู้มาจากใคร ความจริงไม่จำเป็นต้องมีใครสรุป เพราะความจริงก็คือความจริง ใครจะทราบทราบรู้หรือไม่ค้นพบหรือไม่ค้นพบ ความจริงก็คือความจริงอยู่โดยธรรมชาตินั้นแหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 16:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย


สิ่งที่ยากคืออะไร สิ่งที่ง่ายคืออะไร
ท่านใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด

อย่างหน้าที่หลัก หน้าที่รองของอินทรีย์เหร๋อ

อย่างสมาธิที่แท้จริง เหร๋อ

โดยคนที่เรียน สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ กลับกลายมาถูกชี้หน้าว่า ศึกษามาผิดเหร๋อ

คนที่รักษาศีล เพราะมีหิริโอตัปปะ กลับกลายมาถูกชี้หน้าว่า ปฏิบัติผิดเหร๋อ
คนเขารักษาศีล จะด้วยเหตุใดก็ตาม
แต่ผลก็คือ การไม่นอนเนื่องในเวทนา ... เขาก็เห็นผลตามพระสูตรที่ยกมาได้.
viewtopic.php?f=1&t=40062&p=277059#p277059
พระพุทธองค์เห็นแง่นี้อยู่ และนำมาสอน

แต่ท่านกล่าวว่า เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูก

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านอ่านมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านศึกษามาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านเรียนมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสรุปมาถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านมีปัญญาดับทุกข์แล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านบรรลุธรรมแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสงบแล้ว

ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ในระยะเวลาสั้นและเห็นผลเร็วที่สุด นั้นจะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ เกิดความสงบ เกิดสันติสุข ลดความขัดแย้งกัน


ท่านพอจะรู้คำตอบนี้ได้บ้างรึยัง

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 17:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย


สิ่งที่ยากคืออะไร สิ่งที่ง่ายคืออะไร
ท่านใช้อะไรเป็นเกณฑ์วัด

อย่างหน้าที่หลัก หน้าที่รองของอินทรีย์เหร๋อ

อย่างสมาธิที่แท้จริง เหร๋อ

โดยคนที่เรียน สัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ กลับกลายมาถูกชี้หน้าว่า ศึกษามาผิดเหร๋อ

คนที่รักษาศีล เพราะมีหิริโอตัปปะ กลับกลายมาถูกชี้หน้าว่า ปฏิบัติผิดเหร๋อ
คนเขารักษาศีล จะด้วยเหตุใดก็ตาม
แต่ผลก็คือ การไม่นอนเนื่องในเวทนา ... เขาก็เห็นผลตามพระสูตรที่ยกมาได้.
viewtopic.php?f=1&t=40062&p=277059#p277059
พระพุทธองค์เห็นแง่นี้อยู่ และนำมาสอน

แต่ท่านกล่าวว่า เป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูก

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านอ่านมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านศึกษามาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านเรียนมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสรุปมาถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านมีปัญญาดับทุกข์แล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านบรรลุธรรมแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสงบแล้ว

ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ในระยะเวลาสั้นและเห็นผลเร็วที่สุด นั้นจะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ เกิดความสงบ เกิดสันติสุข ลดความขัดแย้งกัน


ท่านพอจะรู้คำตอบนี้ได้บ้างรึยัง

:b8: :b8: :b8:



สิ่งที่ยาก คือ วิธีการที่ทำให้คนทั่วไป ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ไม่สามารถจดจำศีล หลักธรรมคำสอน องค์ธรรมต่างๆ ให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติในระยะเวลาอันสั้นเห็นผลการปฏิบัติเร็ว

สิ่งที่ง่าย คือ วิธีการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา นักปราชญ์ บัณฑิต ขอทาน คนยาก คนรวย เข้าใจได้ง่ายขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 17:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สิ่งที่ยาก คือ วิธีการที่ทำให้คนทั่วไป ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ไม่สามารถจดจำศีล หลักธรรมคำสอน องค์ธรรมต่างๆ ให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติในระยะเวลาอันสั้นเห็นผลการปฏิบัติเร็ว

สิ่งที่ง่าย คือ วิธีการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา นักปราชญ์ บัณฑิต ขอทาน คนยาก คนรวย เข้าใจได้ง่ายขึ้น


อืมมม และนี่ท่านกำลังสนทนาอยู่ในวงคนที่ไม่รู้หนังสือ
อ่านหนังสือไม่ออกอยู่หรือ ... :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:

สิ่งที่ยาก คือ วิธีการที่ทำให้คนทั่วไป ที่ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ ไม่สามารถจดจำศีล หลักธรรมคำสอน องค์ธรรมต่างๆ ให้เข้าใจง่ายและปฏิบัติในระยะเวลาอันสั้นเห็นผลการปฏิบัติเร็ว

สิ่งที่ง่าย คือ วิธีการที่ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งวัยเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา นักปราชญ์ บัณฑิต ขอทาน คนยาก คนรวย เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ท่านจขกทครับ เว็บนี้เขามีกฎห้ามพูดจาเพ้อเจ้อนะครับ
ท่านแน่ใจหรือไม่ครับว่า สามารถอธิบายความในสิ่งที่
จขกทแสดงความเห็นมา ไม่ใช่พูดไปเรื่อยเปื่อย
เอางี้ครับ ท่านสามารถอธิบายความ ประโยคนี้ของท่านให้เพื่อนสมาชิกฟัง
ให้เข้าใจหน่อยครับ แค่ผมอ่านท่อนแรกก็รู้สึกมันไม่ใช่แล้วล่ะครับ

กรุณาตอบด้วยครับไม่งั้น เจอข้อหาพูดจาเพ้อเจ้อนะครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านอ่านมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านศึกษามาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านเรียนมาถูกต้องแล้ว
่่ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสรุปมาถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านมีปัญญาดับทุกข์แล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านปฏิบัติถูกต้องแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านบรรลุธรรมแล้ว
ท่านจะรู้ได้ยังไงว่าท่านสงบแล้ว

ท่านมีความคิดเห็นว่ายังไง หรือมีแนวทางปฏิบัตินำไปสู่การดับทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรื่องที่ยาก เข้าใจยาก ให้ปุถุชนคนทั่วไปเข้าใจง่าย และนำไปปฏิบัติได้ในระยะเวลาสั้นและเห็นผลเร็วที่สุด นั้นจะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากทุกข์ เกิดความสงบ เกิดสันติสุข ลดความขัดแย้งกัน


ดูปัญญามาจากวิธีการของท่านพุทธทาสครับ

แต่ถ่ายทอดด้วยทิฏฐิผมเอง

ถ้าจะผิดก็อยู่ที่สติปัญญาผม



เริ่มต้องใช้อานาปานสติในการทำสมาธิ

เพราะลมหายใจถือเป็นกายาอย่างหนึ่ง

ฝึกไปเรื่อยๆ เป็นกิจวัตร บางวันมีสมาธิบางวันไม่มีสมาธิ ก็ทำต่อไป

และฝึกทำในทุกอริยาบถ คือแม้แต่ทำงาน ยืน เดิน นั่ง นอน ก็พยายามให้มีสมาธิ

แน่นอนมันต้องเผลอ นึกได้ก็ทำต่อ

อย่างนี้ไปเรื่อยๆ


ผลจากการฝึกอย่างนี้จะเกิดปัญญา คือ ธรรมเอกเกิดขึ้นมาในจิต หรือ ในมโนวิญญาณ

คือในจิตมีปัญญาเกิดขึ้น ตัวจิตเป็นตัวรู้ รู้ว่ามีปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว

เป็นความรู้ต่างๆ หลากหลาย

ความรู้นั้นเมื่อรู้แล้วเกิดความทุกข์ก็มี เกิดความสุขความดีใจก็มี เป็นเวทนา

จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้องของการดูปัญญา

ต้องใช้ปัญญา คือ โยนิโสมนสิการ

โดยใช้หลักธรรมที่เป็นปัญญาเดิมที่มีอยู่

อันที่จริงปัญญากับธรรมแยกกันไม่ออก

ปัญญาที่มีมาแต่เกิดก็เป็นธรรมอย่างหนึ่งเป็นธรรมชาติที่ติดตัวมามีในทุกคนมากบ้างน้อยบ้างแต่ต้องมี

ปัญญาทั้งหลายที่เป็นหลักธรรมหรือธรรมเอกที่ผุดขึ้นมาในจิตก็เป็นหลักธรรมเมื่อเราพิจารณาด้วยความแยบคายมากขึ้นจะแตกฉาน

จนในที่สุดเป็นอธิปัณณา กลายเป็นวิชชา

สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งต่างๆมากขึ้น คือสามารถทำลายอวิชชา

สมารถรู้ว่าใหนคือกิเลส ไหนคือนิวรณ์ ใหนคือสังโยชน์

ค่อยๆรู้ ค่อยๆตัด ค่อยๆหลุด ไปทีละนิด

เมือ่ปัญญาเกิดมาก กิเลสน้อย สมาธิจะมีมากขึ้นโดยอัตตโนมัติ

ก็ยิ่งจับกิเลสผู้มีอิทธิพลตัวใหญ่มาประหารใด้ยิ่งขึ้น

จนถึงขั้นเกิดอัปปนาสมาธิ เรียกว่าฌาณ

ใครอย่าคิดว่าฌาณคือการนั่งหลับตาเฉยๆในฌาณนั้นมี

ปิติ วิตก วิจาร อุเบกขา องค์ธรรมอื่นๆ อีกมากมาย ดังที่ท่านบรรยายไว้ในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม)...กล่าวถึงฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมีองค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น



ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ย่อลงตรงที่

ทำสามธิให้เป็นนิจ ทุกโอกาส


สิ่งต่างๆจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ



ข้อสำคัญอย่าไปคิดปรุ่งแต่ง

ปรุ่งแต่งว่า

ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นอนิจังยึดมั่นถือมั่นไม่ได้

จึงยึดมั่นถือมั่น ในความไม่ยึดมั่นถือมั่น

แลัวนำความยึดมั่นนั้นมาวิปัสสน

ผลก็คือ

เกิดปปัญจสัญญา เหมือนพายเรือในอ่าง วันๆนั่งดูแตจิตจนโรคจิตกำเริบคิดปรุ่งแต่งไปว่าตนบรรลุโสดาบัน อรหันต์


การวิปัสสนาต้องอาศัยดวงปัญญาที่เกิดขึ้นมาใช้ละตัญหาด้วยโยนิโสมนสิการ

และใช้โยนิโสมนสิการอีกนั่นแหละเป็นธรรมเพื่อเจริญสมาธิปัญญาสูงยิ่งๆขึ้นไป

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 10 พ.ย. 2011, 11:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาหรือธรรมเอกที่เกิดขึ้นนั้น เป็นลักษณะนิมิต

บางครั้งเหมือนเสียงบอก

บางครั้งมาเป็นมโนภาพเหมือนฝันที่เหมือนจริงมากจนบางครั้งแยกไม่ออก

นิมิตทั้งหลานมีทั้งเป็นจริงและเท็จ จึงยังต้องอาศัยการโยนิโสมนสิการก่อนจึงเชื่อ

บางครั้งเช่น

เกิดนิมิตว่าท้าวมหาพรหมลงมาแสดงธรรมให้แก่ตน หรือมีพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วมาแสดงธรรม

นิมิตพระอรหันต์ต้องเป็นเพียงนิมิตเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาธรรมที่ท่านแสดงกลับเป็นจริง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิตเป็นเครืองหมายที่ทำให้เรารู้

ตัวเครืองอาจจะไม่จริง

แต่ตัวรู้อาจจะจริง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเราใช้สติปัฏฐานสี่ ด้วยวิธีง่าย และสะดวกที่สุดคืออานาปานสติทำสมาธิ ฝึกไปเป็นนิจสิน

ผลที่เราฝึกและทำสมาธิจะเกิดนิมิต

ในนิมิตนั้นก็มีปัญญาอยู่ด้วย แต่ไม่ทั้งหมด

ปัญญาที่ว่านี้คือ ธรรมเอก

ผมมีความรู้เท่านี้ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อัปปนาสมาธิ หรือฌาณ

ผู้ทีเข้าถึงฌาณ สมาธิจะกดทับกิเลสได้ เรียกอนุปาทิเสสนิพานท หรือ นิพพานหินทับหญ้า

หากใช้ปัญญา

สมาธิจับกิเลสกดไว้

ปัญญาประหารกิเลส

ก็บรรลุนิพพาน

อันนี้อนุมานจากพระไตรปิฎกครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
*เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
[๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ
อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก
นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง
โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า
นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เหมือนช่าง
ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน
เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด
ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ
เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล.

[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน
ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง
ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก
เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน
แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป
อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง
อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว
รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน]
แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้
อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้
ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก
เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย
ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ
จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก
เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น
อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ
เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก
อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ
ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ
เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน
ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ
ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ
หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า
เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด
ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ
กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น
ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว
บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ
มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย
ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น
บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ
ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง
อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน
เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ
นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน
นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ
ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก
อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม
ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ
วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม
ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน
ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น
บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด
ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย
สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ
ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ]
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
ผู้มีพระภาค แล้วแล.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 10 พ.ย. 2011, 08:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านใดที่ปฏิบัติธรรมทำสมาธิ วิปัสสนาจริงๆ จะเกิดประสพการณ์เช่นที่ปรากฎในพระไตรปิฎกครับ

แต่ไม่ใช่จะเกิดง่ายๆ

เวลาจะเกิดก็ไม่รู้ต้ว

ในสภาวะเช่นนั้นผู้ที่ประสพจะต้องการความเงียบที่สูงมาก

เกลียดเสียงเพลงเสียงอึกทึกเพราะหนวกหู

อยากคิดพิจารณาแต่วิตกที่เป็นนิมิต

แต่ถ้ามีสมาธิแนบแน่นแล้ว

เสียงต่างๆก็ไม่ได้ยิน


การหลงผิดในนิมิตเป็นเรืองที่ทุกคนต้องเจอ จนกว่าบรรลุอรหันต์กระมั้งครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นที่น่าสนใจคือ

ธรรมเอกที่ผุดขึ้นมา

มีการตีความไปต่างๆมากมาย

สำหรับผม

ธรรมเอกที่ผุดขึ้นมา คือ ดวงปัญญา

ไม่ใช่ดวงแก้วใสใส แต่อย่า่งไร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2011, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปกระทู้ผมคือ

การวิปัสสนา หรือ โยนิโสมนสิการ เกิดขึ้นได้ในสมถะหรือการทำสมาธิให้แนบแน่น

โดยใช้นิมิตปัญญาเป็นวิตก วิจาร

ผลของการทำสมาธิ วิปัสสนา อย่างนี้

ฝึกทั้งสมาธิ และเกิดปัญญาเพิ่มมากขึ้น

ทั้งปัญญาที่เกิดจากการโยนิโสมนสิการหรือคิดออก และปัญญาที่ผุดขึ้นในมโนญวิญาณในรูปของนิมิต

นิมิต บางโอกาส เกิดขึ้นถี่ๆ บางโอกาสเกิดขึ้นห่างๆกัน

ที่ว่าห่าง บางครั้งหลายเดือน หลายปี หลายสิบปี

ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 131 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร