วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 19:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 21:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไตรสิกขา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่ผู้รู้ทั้งหลายแปล หรือให้ความหมายไว้ แล้วนำมาวางเป็นไตรสิกขาให้พระสงฆ์และฆราวาสปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้ ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับเป้าหมาย ความหมายที่ถูกต้อง
อธิศีล คือ ศีลใหญ่ มี 4 ข้อไม่ฆ่ามนุษย์ ไม่เสพเมถุน ไม่ถวดอุตตริมนุสสธรรม ไมลักทรัพย์เกิน 5 มาสก หรือ 1 บาท ศีล 4 ข้อนี้ ถ้าพระสงฆ์องค์ไหนผิดข้อใดข้อหนึ่ง พระสงฆ์องค์นั้นจะหมดสภาพเป็นพระสงฆ์ทันทีที่ผิด เรียกว่าพระสงฆ์ปาราชิก พระสงฆ์ที่ผิดศีล 4 ข้อนี้ ข้อใดข้อหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสจะว่าเป็นโมฆบุรุษเป็นตาลยอดด้วน ถ้าอยู่ในสภาพพระสงฆ์ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าโจรปล้นเขากิน ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานชาตินี้ ไม่สามารถจะบวชเป็นภิกษุต่อไปได้

อธิจิต หมายถึง จิตที่ยิ่งใหญ่ คือ จิตที่ไม่ประมาท รู้เท่าทันสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง เกิดจากเหตุและปัจจัย ว่างจากตนและของตนจนเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ไปหลงพอใจ และไม่พอใจกับสิ่งที่มากระทบสัมผัสตัวเราขณะปัจจุบัน อธิจิต ไม่ใช่สมาธิ

อธิปัญญา หมายถึง ความรู้ที่ดับได้ ความรู้ที่ดับทุกข์ได้ได้จากการวิปัสสนาภาวนา พิจารณาขันธ์ 5
และอินทรีย์ 6 ให้รู้เห็นสิ่งทั้งปวงที่มากระทบสัมผัสตัวเราในขณะปัจจุบันตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต ความรู้อย่างนี้เรียกสัมมาทิฏทิ หรือปัญญาสามารถดับความพอใจ และไม่พอใจที่เป็นอวิชชาได้ทันทีเรียกว่า อธิปัญญา ปัญญาที่ยิ่งใหญ่

อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นไตรสิกขาของพระสงฆ์ หรือเป็นข้อปฏิบัติของพระสงฆ์ไม่ใช่สำหรับฆราวาส
ไตรสิกขาสำหรับฆราวาสนั้น พระพุทธเจ้าได้วางไว้เป็นหลักข้อปฏิบัติไว้ว่า
ทาน ศีล วิปัสสนาภาวนา


แก้ไขล่าสุดโดย ไม่เที่ยง เกิดดับ เมื่อ 17 พ.ย. 2011, 14:06, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สิกขาสูตรที่ ๑

[๕๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน
คือ อธิศีลสิกขา ๑
อธิจิตตสิกขา ๑
อธิปัญญาสิกขา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ

อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิศีลสิกขาเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อม ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่ตั้ง เป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน แห่งความถึงพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา.

อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ ตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา.

อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา อันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา.

ขุททกนิกาย มหานิทเทส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 23:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 23:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ใช่ไปรักษาศีล 5 ข้อหรือ 8 ข้อให้ครบ แล้วไปนั่งทำสมาธิ สมาธิจะเป็นมิจฉาสมาธิ คือไม่มีปัญญาประกอบ แล้วจะทำให้เกิดปัญญา แล้วนำปัญญานั้นไปดับทุกข์ ทำแบบนี้ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถดับทุกข์ได้เลย

- วิธีดับทุกข์ต้องวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ 5 และอินทรีย์ 6 เท่านั้นเพื่อให้เกิดปัญญาที่สามารถดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ ศีล และ สมาธิ จะตามมาทันที นี่คือผลการตรัสรู้เห็นความจริงของพระพุทธเจ้า หรือ มรรคมีองค์ 8
วัสสนา เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ปัญญา
ปัญญา เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ศีล
ศีล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด สมาธิ
สมาธิ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ความสงบสุข (พ้นทุกข์)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดทุกข์
ยึดมั่นถือมั่นในทิฎฐิ ในความเห็น คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดทุกข์


ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งธรรมใดๆ ซึ่งทิฏฐิใดๆ
วิญญาณก็ไม่เป็นธรรมชาติอาศัยซึ่งธรรมนั้นๆ ทิฏฐินั้นๆ
ไม่มีธรรมนั้นๆ ทิฏฐินั้นๆ เป็นอุปาทาน....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 09:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ปล่อยรู้ เขียน:
อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดทุกข์
ยึดมั่นถือมั่นในทิฎฐิ ในความเห็น คือเหตุปัจจัยทำให้เกิดทุกข์


ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ซึ่งธรรมใดๆ ซึ่งทิฏฐิใดๆ
วิญญาณก็ไม่เป็นธรรมชาติอาศัยซึ่งธรรมนั้นๆ ทิฏฐินั้นๆ
ไม่มีธรรมนั้นๆ ทิฏฐินั้นๆ เป็นอุปาทาน....


สัมมาทิฏฐิ คือเห็นชอบ รู้ผิดชอบ ชั่วดี ความเห็นที่ถูกคลองธรรม ทิฏฐิที่ประกอบด้วยปัญญา
ไม่ใช่ทิฎฐิ ทางโลกที่ทุกคนเข้าใจกัน แปลว่า ความเห็น ความคิดเห็น มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า ทัศนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2011, 11:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ คือรู้ความเป็นจริงของโลกและชีิวิต ว่าไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดจากเหตุและปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวแล้วแตกสลายหายไป
ถ้ารู้เห็นอย่างนี้ มรรคมีองค์ 8 เกิดขึ้นทันที
สัมมาทิฏฐิ(ปัญญา) หรือปัญญาเกิดขึ้นทันที และองค์ธรรมของมรรคมีองค์ 8 เกิดขึ้น ตามมาคือ สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา) สัมมาวาจา(ศีล) สัมมมกัมมันตะ(ศีล) สัมมาอาชีวะ(ศีล) สัมมาวายามะ(สมาธิ) สัมมสติ(สมาธิ) สัมมาสมาธิ(สมาธิ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร