วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 14:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน(ชาน) หากจะแปลความหมายในทางพุทธศาสนาแล้ว หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ หรือ ภาวะที่จิตสงบ คือ ความมีสมาธิแน่วแน่ จิตตั้งมั่นสงบสนิท (ผสมความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
ฌาน(ชาน) แบ่งออกเป็น ฌาน ๔ คือ
๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓.ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
๔.จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);
ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ
๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
ข้อ ๓.๔.๕.ตรงกับ ข้อ ๒.๓.๔.ในฌาน ๔ ตามลำดับ(จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎกฯ)
ทุกขั้นของ ฌาน(ชาน)จะมีองค์ คือ ส่วนประกอบตามที่ได้อธิบายด้งกล่าวข้างต้น
คำว่า "องค์ หรือ ส่วนประกอบของฌานในแต่ละขั้นนั้น ไม่ใช่เป็นการให้ท่านทั้งหลายฝึกตามขั้นเหล่านั้น
แต่ท่านทั้งหลาย จะต้องฝึกให้เป็นไปตาม "จตุตถฌาน" เพียงข้อเดียว ส่วนในข้ออื่นๆ เป็นเพียงแสดงให้ท่านทั้งหลายได้รู้ว่า เมื่อเริ่มปฏิบัติสมาธิหรือเริ่มฝึกสมาธิ ก็มักจะเป็นไปตามข้อ ฌาน(ชาน) นับตั้งแต่ "ปฐมฌาน,ทุติยฌาน,ตติยฌาน,และสุดท้าย จตุตถฌาน." ที่ในทางพุทธศาสนาแสดงให้รู้ไว้นั้น ก็เพื่อท่านทั้งหลายผู้ฝึกปฏิบัติสมาธิจะได้รู้จักควบคุมตัวเอง ไม่ให้เกิด "วิตก วิจาร ปีติ สุข" เพราะอาการของ "วิตก วิจาร ปีติ สุข" เป็นสภาพสภาวะจิตใจที่มนุษย์หลงติดตามธรรมชาติ ทำให้จิตใจอันหมายถึง ใจและสมอง อ่อนไหว อ่อนแอ ขาด สติสัมปชัญญะ ไปชั่วขณะ หรืออาจขาดสติสัมปชัญญะบ่อยๆ ดังนั้น ในการฝึกปฏิบัติ เพื่อการอบรม ขัดเกลา ให้รู้จักควบคุมใจและสมอง จึงมีข้อ "ฌาน"แสดงไว้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความเข้าใจเป็นเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม บางท่านเมื่อเริ่มฝึกปฏิบัติสมาธิ บางครั้ง บางท่าน ก็อาจจะได้สมาธิ คือ อุเบกขา เอกัคคตา เลย แต่บางท่านก็อาจจะปรากฎอาการ เริ่มตั้งแต่ "ปฐมฌาน" เป็นต้นมา
หลายๆท่านที่อวดรู้อวดฉลาด อาจมีข้อโต้แย้ง จึงขออธิบายว่า ในองค์หรือส่วนประกอบของ ฌาน(ชาน)ทุกขั้นตอน เป็นไปตามหลักธรรมชาติ เช่น ใน ปฐมฌาน มีส่วนประกอบอยู่ ๕ อย่างคือ
วิตก,วิจาร,ปีติ,สุข,เอกัคคตา. นั่นหมายความว่า เมื่อท่านทั้งหลายเริ่มฝึกปฏิบัติสมาธิ แล้วเกิดอาการ วิตก ในเรื่องในเรื่องหนึ่ง สมองของท่านก็จะ "วิจาร"ในเรื่องที่วิตกนั้น โดยอัตโนมัติ เมื่อวิจาร ซึ่งมักจะวิจารไปในทางที่เข้าข้างตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ก็จะเกิด ปีติ คือ ความอิ่มเอม ชุ่มชื่นในใจ และเกิด "สุข"
คือความสบายอก สบายใจ โล่งเบา ตามมา และเมื่อไม่มีเรื่องใดที่จะคิดอีก จิตใจอันหมายถึง ใจและสมอง ก็จะมีแต่ความวางเฉย และเกิดเป็น สมาธิแนบแน่น มีเพียงอารมณ์เดียวต่อจากความวางเฉยอย่างนี้เป็นต้น
เมื่อเป็นดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไป บางคน บางท่าน ก็อาจจะปรากฎอาการ ตาม ปฐมฌาน ก็ได้ หรืออาจจะเกิดปรากฏอาการ ทุติยฌาน ก็ได้ หรืออาจจะเกิดปรากฏอาการ ตติยฌาน ก็ได้ หรือ อาจจะปรากฏอาการ จตุตถฌาน โดยไม่เกิดอาการตาม ฌาน ๓ ข้อแรกเลยก็ได้
ด้วยเหตุที่มีการบิดเบือนหลักของ ฌาน(ชาน)กันอย่างมากมาย ข้าพเจ้าจึงเขียนเรื่องของ"ฌาน"(ชาน)ไว้เป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันในทางพุทธศาสนา
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
๒๒ พ.ย. ๒๕๕๔


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ย. 2011, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
นาน ๆ ที..ไม่รู้ว่านี้เป็นครั้งแรกรึเปล่า?? :b13: :b13:

อาการไล่เรียง....จาก 1..2..3...เป็นเรื่องเด็กหัดสะกดคำ...เด็กหัดอ่านหนังสือ

ที่ต้องใช้จริง ๆ คือ..ต้องอ่านได้เลย...(มีใครยังอ่านไปสะกดไปบ้างละเนี้ย... :b32: )

ต้อง...เข้า..4..ได้เลย...จึงจะเรียกว่าใช้ได้

แต่หากจะออกใช้ทางปัญญา....ก็ใช้ได้เลยตั้งแต่...1...ไป..

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b8: :b8: :b8:
นาน ๆ ที..ไม่รู้ว่านี้เป็นครั้งแรกรึเปล่า?? :b13: :b13:

อาการไล่เรียง....จาก 1..2..3...เป็นเรื่องเด็กหัดสะกดคำ...เด็กหัดอ่านหนังสือ

ที่ต้องใช้จริง ๆ คือ..ต้องอ่านได้เลย...(มีใครยังอ่านไปสะกดไปบ้างละเนี้ย... :b32: )

ต้อง...เข้า..4..ได้เลย...จึงจะเรียกว่าใช้ได้

แต่หากจะออกใช้ทางปัญญา....ก็ใช้ได้เลยตั้งแต่...1...ไป..

:b12:

ที่คุณกล่าวมาว่า "หากจะออกใช้ทางปัญญา..ก็ใช้ได้เลยตั้งแต่..1.. ไป " นั้นไม่ถูกดอกขอรับ คุณกลับไปอ่านแล้วทำความเข้าใจคำว่า"วิตก,วิจาร ปีติ สุข" ให้ดี ทั้ง ๔ คำนั้น จะเรียกว่า เป็นความฟุ้งซ๋าน ติดหลงในอารมณ์ ไม่มีสมาธิ ยกจิตเข้าไปสู่ "การวิตก" และตามฟื้นอารมณ์แห่งการวิตกนั้นด้วยการ "วิจาร" จะเรียกว่า การคิด ก็ไม่ผิดดอกขอรับ
ดังนั้น ข้อ ๑.๒.๓. จึงไม่ใช่การใช้ปัญญาคิดพิจารณา แต่เป็นความฟุ้งซ่าน ไม่สามารถควบคุมจิตใจและอารมณ์ เพราะแทนที่จะวางเฉยจนมีสมาธิที่ดี กลับยกจิตเข้าไปสู่ "การวิตก" และตามฟื้นอารมณ์แห่งการวิตกนั้นด้วยการ "วิจาร" ฉะนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ย. 2011, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้ได้...

แต่ตอนแรกที่วิตก..วิจารณ์...นะ...ยังเป็นปัญญาแบบสัญญา..คือจำเอามาคิดอยู่..เหมือนเป็นตัวล่อ

แต่พอร้องอ้อ..ใช่..มันเป็นอย่างนี้จริง ๆ ...นี้แหละ..ปัญญาตัวจริงเกิดแล้ว

ปัญญาอบรมสมาธิ..แล้วสมาธิก็กลับมาอบรมปัญญา

แต่ตัวปัญญามันก็มีขั้น ๆ จากง่าย ๆ ไปถึงยาก...รึที่เขาว่า..หยาบ..กลาง..ละเอียด..นั้นแหละ

นี้เอาแบบลูกทุ่ง ๆ นะ

หากจะเอาแบบตำรา...ก็มีนะ..แต่จำไม่ได้แล้วละ

ทำนองว่า...

ภิกษุในธรรมวินัยนี้..เมื่อมีวิตก..วิจารณ์..ปิติ..สุข..เอกัคตารมณ์อยู่..ก็ได้พิจารณาว่า.....

ภิกษุในธรรมวินัยนี้..เมื่อละวิตก..วิจารณ์..มีปิติ..สุข..เอกัคตารมณ์อยู่..ก็ได้พิจารณาว่า.....

ฯลฯ...

เป็นต้น :b9: :b9:

ที่เจอ..กับ..ตำรา...อันเดียวกัน..ไปกันได้

ดังนั้น...

ใช้ได้...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณผู้ใช้ชื่อว่า "กบนอกกะลา"
คำว่า "วิตก วิจาร ปีติ สุข " ไม่ได้ทำให้เกิดปัญญา แต่เป็นความฟุ้งซ๋าน ไร้เหตุผล เข้าข้างตัวเอง ไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจดอกนะ
ความจริงแล้ว ถ้าคุณสนใจตัวเอง ข้าพเจ้าก็ไม่ต้องเขียนอะไรให้มากความ แต่ก็อย่างว่า มนุษย์มีสมองสติปัญญา ความเพียร ความขยัน ความอดทน ไม่เท่ากัน
คุณลองนั่งสมาธิดูซิว่า คุณยกจิตเข้าสู่ ความวิตก เรื่องอะไรบ้าง ถ้าคุณยกจิตเข้าสู่เรื่อง ธรรมะ นั่นแหละเกิดปัญญาเกิดความเข้าใจ
แต่ถ้าคุณยกจิต เข้าสู่ ความวิตก เช่น วิตกว่า ไม่น่าเดินข้ามถนนที่ไม่มีม้าลายเลย คุณก็จฟื้นอารมณ์ ไปหา วิจารว่า น่าจะเดินข้ามทางม้าลาย หรือน่าจะเดินบนสพานลอย เดินไปอันตราย ฯลฯ ถ้าคุณจะเถียงว่า ที่ข้าพเจ้ากล่าวไปเป็นการเกิดปัญญา ก็แสดงว่า คุณทั้งโง่ทั้งเขลา เพราะ การข้ามถนน ย่อมต้องเดินข้ามทางม้าลาย หรือสะพานลอยอยู่แล้ว คุณก็รู้อยุ่แล้ว แต่ที่คุณทำไปเพราะความมักง่าย ไร้สติ คุณจะวิตก วิจารอย่างไร ก็ไม่ทำให้คุณเกิดปัญญาโดยเด็ดขาดและแน่นอน เพราะคุณฝึกสมาธิ ปฏิบัติสมาธิ และเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติที่การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธิ มักจะเกิดวิตก วิจาร ทุกคน แต่อาจจะบางครั้ง หรือบ่อยครั้ง ก็เป็นได้
ความหมายว่า ฝึกเพื่อให้เกิดปัญญา แต่ ฝึกหรือปฏิบัติ เพื่อให้มีสมาธิแน่วแน่ จิตสงบ อารมณ์เดียวแน่วแน่
คุณต้องทำความเข้าใจไว้อีกอย่างหนึ่งว่า "ฌาน" "คือการเพ่งอารมณ์แน่วแน่,ภาวะจิตสงบ,หรือสมาธิขั้นแน่วแน่" ไม่ได้มีความหมายว่า "ฝึกแล้วเกิดปัญญา" แต่ฝึกหรือปฏิบัติ เพื่อให้เกิด สมาธิแน่วแน่ จิตสงบ และอารมณ์เดียวแน่วแน่คุณไม่ต้องเอาตำรามาอ้างดอกขอรับ เพราะคุณอ่านอย่างไรก็ไม่เข้าใจ อย่างแน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใด...ที่คุณ...ทำถึง

แม้จุด ๆ เดียว...

คุณจะไม่คัดค้านพระพุทธเจ้า...เลย

ขอให้เจริญในธรรม... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2011, 22:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อใด...ที่คุณ...ทำถึง

แม้จุด ๆ เดียว...

คุณจะไม่คัดค้านพระพุทธเจ้า...เลย

ขอให้เจริญในธรรม... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2011, 20:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่รู้ว่าใครค้านพระพุทธองค์
พวกคุณก็ลองไปอ่านและทำความเข้าใจ ในเรื่องของ "สัมมาสมาธิ" ในมรรคมีองค์ ๘ ให้ดีซิขอรับว่า มีตอนใด ข้อความไหนที่ พระพุทธองค์สอนให้พอนั่งสมาธิ ก็ให้ วิตก วิจาร ปีติ สุข ลองไปนั่งอ่านแล้วพิจารณาให้ดีขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร