วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 02:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2011, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จะถึงทางแห่งพระนิพพานได้นั้นต้องรู้จักวิปัสสนากรรมฐาน
ศาสนาพุทธนั้นเน้นในเรื่องของการใช้ปัญญาให้พ้นจากทุกข์
คือให้รู้จักหลักของอริยะสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค
การใช้หลักของวิปัสสนากรรมฐานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆสำหรับ
เป็นเครื่องมือในการให้พ้นจากทุกข์นั่นเอง โดยให้รู้จักรูป-นาม
นี่คือหลักของวิปัสนานั่นเอง





เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์กับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน
รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท
สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม
ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา
ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ
และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2011, 14:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




100_5240_resize.JPG
100_5240_resize.JPG [ 79.85 KiB | เปิดดู 5746 ครั้ง ]
:b8:
สาธุอนุโมทนากับคุณรสมน

กรุณาอธิบายความแตกต่างระหว่าง "วิปัสสนากรรมฐาน" กับ "วิปัสสนาภาวนา" ให้ทราบด้วยครับ


:b16: :b1: :b12: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 15:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา คือ เห็นธรรมชาติ รู้เห็นความจริงของโลกและชีวิต สรรพสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกิดขึ้นมา สุดท้ายก็ต้องแตกสลายไปในที่สุด เกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราวเท่านั้น โดยการฝึกพิจารณาว่า ตัวเราเองหนุ่มแก่ตาย คนอื่นหนุ่มแก่ตาย สิ่งของใหม่เก่าแตกสลาย ได้กลิ่นพิจารณากลิ่นไม่เที่ยง เกิดดับ ได้ยินเสียงพิจารณาเสียงไม่เที่ยงเกิดดับ ได้รสพิจารณารสไม่เที่ยง เกิด ดับ ได้สัมผัส ร้อน เย็น ตึง ไหว ไม่เที่ยงเกิด ดับ ใจคิดลึก ใจไม่เที่ยงเกิดดับ ไม่กระทบไม่พิจารณา โดยให้ผู้ปฏิบัติใช้ชีวิตเป็นปกติประจำวัน
เหตุที่ต้องวิปัสสนาเพื่อเอาความจริงของโลกและชีวิต ไปเปลี่ยนข้อมูลสร้างทุกข์หรือความเชื่อที่เราสะสมมาในอดีตของเราให้เป็นข้อมูลสร้างสุข จากนั้นเราก็จะมีปัญญาในการดับทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการรู้ไม่เท่าทัน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเองเราก็จะไม่มีทุกข์เกิดขึ้นใหม่ และทุกข์เดิมก็จะเจือจางลงไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 16:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๑๒]ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

[๑๑๓]จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็น อารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

[๑๑๔] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ
การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง บัณฑิตกำหนดเอาด้วย
สภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์ ความน้อมจิต
ไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ
การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว พิจารณาเห็นความ
แตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ ชื่อว่า
อธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา) พระ-
*โยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่
หวั่นไหวเพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความ ปรากฏ ๓ ประการ ฯ
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็น ความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ

http://agaligohome.com/index.php?topic= ... n#msg13808


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 16:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๘๕]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้
ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้ท่าน
กล่าวว่า สัมมาทิฐิ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริในความ
ออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความไม่เบียดเบียน
นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวาจาเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนา
เป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวาจา ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมากัมมันตะเป็นไฉน เจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ท่านกล่าวว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรม
วินัยนี้ ย่อมละอาชีพที่ผิด สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพที่ชอบ นี้ท่านกล่าวว่า
สัมมาอาชีวะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้
เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละอกุศลธรรมอัน
ลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมยังฉันทะให้
เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาวายามะ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ... พิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้ท่านกล่าวว่า
สัมมาสติ ฯ
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌานอันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่
สมาธิอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะ
ปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข
ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
นี้ท่านกล่าวว่า สัมมาสมาธิ

นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ชื่อว่าญาณ
ด้วยอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่
ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่า
สุตมยญาณอย่างนี้ ฯ



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๙๐๖ - ๙๕๐. หน้าที่ ๓๘ - ๓๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0


http://agaligohome.com/index.php?topic= ... n#msg13809


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔


ช่วยอธิบาย อนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ หน่อยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 16:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เหตุที่ต้องวิปัสสนาเพื่อเอาความจริงของโลกและชีวิต ไปเปลี่ยนข้อมูลสร้างทุกข์หรือความเชื่อที่เราสะสมมาในอดีตของเราให้เป็นข้อมูลสร้างสุข


งั๊น ขอความจริง

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2011, 17:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
Quote Tipitaka:
พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔


ช่วยอธิบาย อนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ หน่อยครับ


ขอโทษนะ เราก็ไม่ได้เป็นผู้รอบรู้ แต่เท่าที่อ่านพระสูตร
และเจอกับคำถามของท่าน ก็ต้องไปอ่านอรรถกถาเพิ่มเติม

:b8: ยังไงท่านอาจจะลองไปอ่านเพิ่มเติมในอรรถกถานะ
ถ้าได้ความเห็นที่แตกต่างก็นำเสนอด้วย :b8:

Tipitaka อนุปัสสนา ๓ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น

ซั่งก็น่าจะเป็น
๑. อนิจจานุปัสสนา
๒. ทุกขานุปัสสนา
๓. อนัตตานุปัสสนา

Tipitaka วิปัสสนา ๔ มีนิพพิทานุปัสสนาเป็นต้น.

ก็จะสอดรับกับท่อนนี้ ในวรรค ๑๑๓

Tipitaka
ภิกษุผู้ประกอบด้วยอนุปัสนานั้น ย่อมบริจาค - สละกิเลสทั้งหลาย โดยนัยดังกล่าวแล้ว และย่อมแล่นไปในนิพพาน. ไม่ยึดถือกิเลสด้วยทำให้เกิดขึ้น, ไม่ยึดถือสังขตะเป็นอารมณ์ด้วยการไม่ชี้ถึงโทษ,.....

คือ ทั้งพระสูตร เรามีความเห็นว่า
วิถีจิตแสดงไปในทางสลัดคืน คลายออก ไปสู่ สุญญตา นะ
หรือ เราเข้าใจด้วยภาษาของเราว่า "พื้นเดิมของจิต"
ไม่ใช่ การกระโจนเข้าไปจับอะไรใหม่ หรือ การเข้าไปจับจิตดวงใหม่ น่ะ

:b8: :b8: :b8:

คล้าย ๆ กับ
เมื่อ ตาเราเห็นรูป และเกิดความคิดเกี่ยวกับรูป มันจะมีการเกิดดับ 2 ส่วน
1 ความคิด
ซึ่งความคิดเกิด-ดับ การเห็นความคิดกระโดดจากเรื่องหนึ่งไปสู่งอีกเรื่องหนึ่ง
ก็อาจจะนับว่าเป็น วิปัสสนา ในระดับหนึ่งได้
2 กริยาจิต คือเห็น วิถีจิตที่เข้าไปจับขันธ์ แล้วคลายออกมาจากขันธ์
ซึ่ง พระสูตรนี้ เรารู้สึกว่า กล่าวถึง กริยาจิต

ดังนั้น อนุปัสสนาในลักษณะนี้ จึงเป็นอนุปัสสนาในระดับจิต

:b7: ซึ่งเราอาจจะคิดมากไปก็ได้ :b14: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2011, 09:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เหตุที่ต้องวิปัสสนาเพื่อเอาความจริงของโลกและชีวิต ไปเปลี่ยนข้อมูลสร้างทุกข์หรือความเชื่อที่เราสะสมมาในอดีตของเราให้เป็นข้อมูลสร้างสุข


งั๊น ขอความจริง

:b1:



ความจริงก็คือ สรรสิ่งในจักรวาลนี้ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตนี้เกิดจากเหตุและปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราว
มีปัจจัยให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ไม่คงทนถาวร สุดท้ายก็ต้องแตกสลายไปเพราะเหตุปัจจัย
*** สิ่งใดมีความเกิด สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา ***
ไม่เที่ยง เกิด ดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2011, 09:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ความจริงก็คือ สรรสิ่งในจักรวาลนี้ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตนี้เกิดจากเหตุและปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราว
มีปัจจัยให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ไม่คงทนถาวร สุดท้ายก็ต้องแตกสลายไปเพราะเหตุปัจจัย
*** สิ่งใดมีความเกิด สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา ***
ไม่เที่ยง เกิด ดับ

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เหตุที่ต้องวิปัสสนาเพื่อเอาความจริงของโลกและชีวิต ไปเปลี่ยนข้อมูลสร้างทุกข์หรือความเชื่อที่เราสะสมมาในอดีตของเราให้เป็นข้อมูลสร้างสุข


ท่านพูด ความจริง

และ ท่านก็ยังกล่าว สุขเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 09:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ความจริงก็คือ สรรสิ่งในจักรวาลนี้ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตนี้เกิดจากเหตุและปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราว
มีปัจจัยให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ไม่คงทนถาวร สุดท้ายก็ต้องแตกสลายไปเพราะเหตุปัจจัย
*** สิ่งใดมีความเกิด สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา ***
ไม่เที่ยง เกิด ดับ

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เหตุที่ต้องวิปัสสนาเพื่อเอาความจริงของโลกและชีวิต ไปเปลี่ยนข้อมูลสร้างทุกข์หรือความเชื่อที่เราสะสมมาในอดีตของเราให้เป็นข้อมูลสร้างสุข


ท่านพูด ความจริง

และ ท่านก็ยังกล่าว สุขเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 09:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ความจริงก็คือ สรรสิ่งในจักรวาลนี้ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตนี้เกิดจากเหตุและปัจจัยมารวมตัวกันชั่วคราว
มีปัจจัยให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ไม่คงทนถาวร สุดท้ายก็ต้องแตกสลายไปเพราะเหตุปัจจัย
*** สิ่งใดมีความเกิด สิ่งนั้นย่อมมีความดับเป็นธรรมดา ***
ไม่เที่ยง เกิด ดับ

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เหตุที่ต้องวิปัสสนาเพื่อเอาความจริงของโลกและชีวิต ไปเปลี่ยนข้อมูลสร้างทุกข์หรือความเชื่อที่เราสะสมมาในอดีตของเราให้เป็นข้อมูลสร้างสุข


ท่านพูด ความจริง

และ ท่านก็ยังกล่าว สุขเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง


สุขนี้คือสุขถาวร ก็คือความสงบ ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2011, 10:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านช่วยอธิบาย สุขถาวร ที่ท่านบรรลุ ว่าเป็นลักษณะเช่นไร

เพราะข้าพเจ้ายังไม่เคยได้พบสุขที่ถาวร

พอดีเห็นท่านกล่าวในส่วนนี้ด้วย

ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
สมาธิคือผลของการบรรลุมรรคผล คือ ความสงบ หรือสุขถาวรปราศจากความโลภ โกรธ หลง


สิ่งที่ถาวร คือ สุข
หรือ คือ สมาธิ
หรือ คือ การบรรลุ
หรือ คือ ปราศจากความโลภ โกรธ หลง

ก้อนหิน มี โลภ โกรธ หลง มั๊ย s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 01:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุปัสนา ๓ ใน วัปัสสนา ๔

อนุปัสนา ๓ น่าจะหมายถึง
อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา

ส่วนวิปัสสนา ๔ น่าจะหมายถึง
นิพพิทานุปัสสนา
วิราคานุปัสสนา
นิโรธานุปัสสนา
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา


พิจารณาแล้วจะเห็นมีข้อความที่สอดคล้องกัน ในข้อความที่คุณ เอกอนยกมา

ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

[๑๑๒]ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ

จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น

ย่อมพิจารณาเห็น อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข
ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน
ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด
ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด
ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้
เมื่อให้ดับ ย่อมละสมุทัยได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ


เป็นเพียงความเห็นหนึ่งครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ว่ากันตามความเป็นจริง

แม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ยังไม่พ้นไปจากทุกข์

เรามาดูกัน


อ้างคำพูด:
[112] เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)

เวทนา 5 นี้ เรียกเต็มมี อินทรีย์ ต่อท้ายทุกคำ เป็น สุขินทรีย์ เป็นต้น


ความทุกข์ ในข้อ 2 ไม่มีใครละได้เลย ตราบใดที่ยังมีกาย
แม้แต่สัตว์นรก ก็มีกาย ซึ่งต้องโอดครวญรับทุกขเวทนา จากการถูกทรมานในนรก
นั่นคือ ตอนเป็นก็มีกาย ตายไปแล้วก็ยังมีกาย
และตราบใดที่มีกาย ....................... ไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร