วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 18:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 17:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมสงสัย ว่า นิพพิทาญาณ กับ วิภวตัณหา

สองอันนี้ต่างกันตรงไหน เพราะดูเหมือนมันก็คืออาการเบื่อเหมือนกัน แล้วจะแยกออกได้อย่างไรว่า
สภาวะใดคือนิพพิทา? สภาวะใด คือ วิภว?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพิทา เบื่อเพราะรู้ถึงความไม่มีแก่นสาร เบื่อแล้วหยุด เบื่อแล้วสงบ เบื่อแล้วจบ

วิภวตัณหาเบื่อเพราะไม่รู้ทั่วถึงสังขาร เบื่อแล้วผลัก เบื่อแล้วมั่นหมายในภาวะที่เป็น และหมายมั่นที่จะไม่เป็น ผลักปัจจุบัน เพื่อดิ้นไปสู่ภาวะใหม่

นิพพิทา เบื่อพร้อมอิ่มที่จะดิ้นหาสิ่งใดๆ จิตมีปกติต่อสุข ปกติต่อทุกข์ ไม่ดึงและไม่ผลัก

วิภวตัณหา เบื่อพร้อมดิ้นรนเพื่อผลักไสความเป็นในปัจจุบันด้วยจิตที่ยังหิวกระหายต่อความสุข
และรังเกียจทุกข์

นิพพิทาเป็น ความเบื่อที่มีกระแสสมาธิอันบริสุทธิแฝงกลมกลืนอยู่จนกลั่นความเป็นกลางวางเฉย
ต่ออารมณ์ทั้งปวงด้วยอุเบกขาจิต อันเปี่ยมสมาธิที่แฝงกลมกลืนอยู่

วิภวตัณหา เป็นความเบื่อ ที่แฝงความร้อนรน ความฟุ้งซ่าน และความหมองหม่นของกระแสจิต
เบื่อแล้วเป็นที่ไม่สบาย ไม่สงบ ไม่นิ่ง ไม่บริสุทธิ์

ขอแสดงความคิดส่วนตัวด้วยเท่านี้ครับ สำหรับนิพพิทา

s004


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 20:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วเราจะได้(บรรลุ)นิพพิทาญาณได้อย่างไรอ่ะครับ หมายถึงวิธีอ่(อย่างบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็อาศัยโพธิปักขยธรรม 37 มรรคสมังคี เป็นต้น)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ย. 2011, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงความเห็นว่า นิพพิทาคือเบื่อหน่ายกิเลส เบื่อหน่ายความทุกข์
ส่วนวิภวตัณหาคือความเบื่อหน่ายที่เป็นกิเลส เป็นตัวทุกข์เสียเอง
การบรรลุนิพพิทาโดย การพิจารณาเห็นทุกข์โทษในกิเลสตัณหาต่างๆ :b18:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่จริง น่าจะไม่ใช่เรื่องความต่างแล้ว แต่ เป็นคนละเรื่อง เป็นคนละความหมายครับ

นิพพิทา ความหมายคือ เบื่อหน่าย
วิภวตัณหา ไม่ใช่เบื่อหน่าย แต่ ไม่อยากเป็นไม่อยากมี อย่างนั้นอย่างนี้

วิภวตัณหา เป็นความต้องการอย่างแรงของจิต เป็นอยากชนิดหนึ่ง เพราะอยากจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จึง
ไม่อยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

น่าจะคนละเรื่องคนละความหมายตามเหตุผลใน คห. นี้ครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเข้าใจอย่างนี้นะครับ โปรดพิจารณา

วิภวตัณหา เป็นความเบื่อที่เกิดจากความไม่ชอบ ความไม่อยากได้ ความรังเกียจครับ เบื่อแบบนี้ยังมีความอยากเจือปนครับ คือจะอยากได้สิ่งที่ตรงข้าม เช่น ไม่อยากจน เพราะอยากจะไม่จน เป็นต้น เป็นความเบื่อที่มีแรงผลักแบบที่ท่านอื่นได้ชี้แจงไว้ครับ

นิพพิทา เป็นเบื่อแบบเบื่อแล้ววาง เบื่อแล้วปล่อยครับ เกิดจากการเห็นไตรลักษณ์จนเกิดเป็นระบบความคิดแบบที่ว่าสิ่งนี้ๆไม่ใช่สาระไม่ใช่แก่นสารเลย เพราะรู้ด้วยตัวเองแล้วว่าสิ่งที่เบื่อหน่ายไม่อยู่ในอำนาจที่เราจะบังคับบัญชาอะไรได้ เค้าเกิดของเค้าเอง และเค้าก็จะดับของเค้าเอง เราบังคับให้เค้าเกิด ให้เค้าดับตามใจเราไมได้ จึงได้แต่ดูอยู่เฉยๆ เป็นเบื่อแบบที่ไม่มีความอยากเอา ไม่มีความไม่อยากเอา ไม่เข้าหา ไม่ผลักไสครับ เมื่อเกิดนิพพิทาในสิ่งใด จะเหมือนกับเราวางสิ่งนั้นลง แล้วดูเค้าอยู่เฉยๆครับ เค้าจะเป็นยังไง จะดีขึ้นหรือแย่ลงเราไม่หวั่นไหวตามเลยครับ เราจะไม่ทำอะไรเลยนอกจากดูอยู่อย่างเดียว

ส่วนวิธีให้เกิดนิพพิทา ก็คงไม่พ้นการเจริญสติจนเกิดความรู้แจ้งในขันธ์ 5 ครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:31
โพสต์: 169

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ทำดี
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่มที่ชอบ
ชื่อเล่น: เก็บเกี่ยว
อายุ: 0
ที่อยู่: ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


คนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา rolleyes

.....................................................
รักษาที่ดีไว้ ก่อความดีใหม่ๆ ละๆๆชั่วต่อๆไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 12:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6:

การเกิด วิภวตัณหา ปฏิจจสุมปบาทจะเกิดล่วงไปจนจบสาย
จิต - ประกอบเจตนา อันเนื่องจากเสวยอารมณ์ เวทนา วิญญาณ ... อันมีอวิชาเป็นปัจจัย
นิพพิทา ปฏิจจสมุปบาทจะเกิดการดับสายในระหว่าง ( เพราะจิตไม่ประกอบด้วยเจตนา )
ร่นเข้า ร่นเข้า ตามกำลัง
จิต - ไม่ประกอบด้วยเจตนา เพราะเนื่องจากการเสวยอารมณ์ ที่มีเวทนา วิญญาณ ... อันมีวิชาเป็นปัจจัย


การสังเกต ก็จากการเจริญสติปัฏฐาน นั่นล่ะ
การพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม
รู้ได้ชัด รู้ได้ต่อเนื่อง แค่ไหน
จิตมีความละเอียดว่องไวต่อการรับรู้ แค่ไหน


จิตที่ประกอบด้วยเจตสิก ก็จะแสดงการปรากฎไป เช่นนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 22:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
แล้วเราจะได้(บรรลุ)นิพพิทาญาณได้อย่างไรอ่ะครับ หมายถึงวิธี(อย่างบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็อาศัยโพธิปักขยธรรม 37 มรรคสมังคี เป็นต้น)


:b14: :b14:

ลองอ่านพระสูตรนี้เน๊าะ

๘. สีลสูตร
[๑๖๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมี
อุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมา-
*สมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทา
วิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ
นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็น
ธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้กะเทาะของ
ต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็
ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุ
ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถา
ภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ
ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของ
ภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุ
ผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณ-
*ทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึง
พร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ
ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย
เปรียบเหมือน
ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้
เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิ
สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะมีอยู่
นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรม
เป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะ
สมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 20 ก.ย. 2011, 23:00, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2011, 22:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. นิพพิทาสูตร
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้ง
ปวง ๑ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ใน
ภายใน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อ
เข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
จบสูตรที่ ๙


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 00:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
ที่จริง น่าจะไม่ใช่เรื่องความต่างแล้ว แต่ เป็นคนละเรื่อง เป็นคนละความหมายครับ

นิพพิทา ความหมายคือ เบื่อหน่าย
วิภวตัณหา ไม่ใช่เบื่อหน่าย แต่ ไม่อยากเป็นไม่อยากมี อย่างนั้นอย่างนี้

วิภวตัณหา เป็นความต้องการอย่างแรงของจิต เป็นอยากชนิดหนึ่ง เพราะอยากจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จึง
ไม่อยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

น่าจะคนละเรื่องคนละความหมายตามเหตุผลใน คห. นี้ครับ


:b8: :b8: :b8:

กามตัณหา....พอใจในรูป..รส..กลิ่น..เสียง..สัมผัส..และธรรมารมณ์

เพราะพอใจในกามตัณหา...จึงอยากมีอยากได้...เป็น..ภวตัณหา

เพราะพอใจในกามตัณหา...เมื่อสิ่งนี้สนองไม่ได้...ก็ไม่อยากเอา...เป็น..วิภวตัณหา (เพราะอยากไปเอาอันที่มันสนองตัณหา)

ตัณหา...ทั้งหมด...เป็นการเอาเข้า...
นิพพิทา...เป็นการสละออก...

คิดว่า...เป็นคนละเรื่องก็ด้วยเหตุผลนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2011, 06:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

กามตัณหา....พอใจในรูป..รส..กลิ่น..เสียง..สัมผัส..และธรรมารมณ์

เพราะพอใจในกามตัณหา...จึงอยากมีอยากได้...เป็น..ภวตัณหา

เพราะพอใจในกามตัณหา...เมื่อสิ่งนี้สนองไม่ได้...ก็ไม่อยากเอา...เป็น..วิภวตัณหา (เพราะอยากไปเอาอันที่มันสนองตัณหา)

ตัณหา...ทั้งหมด...เป็นการเอาเข้า...
นิพพิทา...เป็นการสละออก...

คิดว่า...เป็นคนละเรื่องก็ด้วยเหตุผลนี้


คุณกบฯ สวด.ยามเช้า

ผมว่าจะมาขยายต่อดันกระทู้ พอดีท่านกบมาขัดให้ใสขึ้นแจ่มขึ้นอีกหน่อยหนึ่งแล้ว ต้องขอขอบคุณอย่าง
สูง ฉะนั้น ผมต่ออีกนิด

ความไม่อยากมีไม่อยากเป็น ไม่จำเป็นต้องเริ่มที่เบื่อหน่าย ส่วนมากแม้พอเพียงแก่อัตภาพอยู่แล้ว ก็มี
ความไม่อยากมีอยากเป็นได้ เช่น คนสุขภาพดี ก็ไม่ได้เบื่อสุขภาพดีและยังไม่ป่วย ก็ไม่ได้เบื่อหน่าย
สุขภาพตนเอง แต่ก็ไม่อยากเป็นโรคนั้นโรคนี้เป็นต้น

เอ.. อันนี้ก็น่าจะบอกความต่างคนละเรื่องคนละความหมายได้นะ :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2011, 07:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
ผมสงสัย ว่า นิพพิทาญาณ กับ วิภวตัณหา

สองอันนี้ต่างกันตรงไหน เพราะดูเหมือนมันก็คืออาการเบื่อเหมือนกัน แล้วจะแยกออกได้อย่างไรว่า
สภาวะใดคือนิพพิทา? สภาวะใด คือ วิภว?

:b10:
:b27:
ความยินร้าย ไม่พอใจในการกระทบสัมผัสของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิด วิภวตัณหา อันก่อให้เกิดมโนกรรม วจีกรรม กายกรรมตามมา ด้วยอำนาจของวิภวตัณหาหรือความไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเอา ต่างๆเหล่านั้น เป็นความเบื่อเพราะไม่ได้ดั่งใจแต่ทำอะไรไม่ได้

ส่วนนิพพิทาญาณนั้น เกิดขึ้นเมื่อปัญญาได้รู้ เห็นความจริง ชัดเจน ว่าทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
บังคับบัญชาไม่ได้ ไร้แก่นสาร ตัวตน จึงเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ดิ้นรนเพื่อละวางและหลุดพ้นจากสิ่งลวงทั้งหลาย
อุปมาดุจคนที่จับงูพิษไว้ในมือด้วยความไม่รู้ ต่อเมื่อมีผู้อื่นที่รู้จักงูพิษตะโกนบอกว่า สิ่งที่อยู่ในมือนั้นเป็นงูพิษ กัดแล้วตายนะ เขาพิจารณาตามแล้วเกิดความกลัวอยากพ้น จึงขว้างทิ้งงูพิษนั้นไปให้ไกลทันที ดังนี้

cool


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร