วันเวลาปัจจุบัน 16 มิ.ย. 2024, 10:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 17:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ในการปฏิบัติธรรม

การตั้งใจไว้ตรง เป็นอย่างไร
มีคุณอย่างไร

smiley smiley smiley

เป็นไปได้มั๊ย ว่าการปฏิบัติส่วนหนึ่งที่ได้ผลไม่ตรง
เพราะ เราหลงสำคัญว่า การตั้งคำพูดไว้ตรงนั้นเป็นสิ่งเดียวกับการตั้งใจไว้ตรง
การหลงสำคัญไปเช่นนั้น จริง ๆ แล้วมีโทษหรือไม่ อย่างไร

และผู้ปฏิบัติพึงปฏิบัติเช่นไร เกี่ยวกับการตั้งใจไว้ตรง

smiley smiley smiley

ขอเชิญเพื่อน ๆ ร่วมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะ

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นคำถามที่ดี แต่ยังกำกวม ที่ว่า "การตั้งใจไว้ตรง" ถามนิดว่า ตั้งใจไว้ตรง (กับ) อะไรล่ะ ?




รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2011, 23:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นสิ่ มันตรงกับอะไร และมันไม่ตรงกับอะไร ดีหว๋า s006 s006

เอกอนไม่ได้ขบคิดอะไรซับซ้อนหรอกจร้า จานป้อ
ยังไม่เห็นอะไรในกอไผ่
เป็นประเด็นแบบเปิดครับป๋ม

พอดีกำลังนึกย้อนไปในอดีต
ตอนที่เอกอนเริ่มต้นปฏิบัติ ไม่ได้คิดถึงเรื่องสัจจะธรรม การบรรลุ หรือนิพพานเลย
มีแต่ทัศนะคติที่เป็นปรปักษ์กับหนทางทางศาสนา
ไม่ได้เริ่มต้นที่ศรัทธา ออกจะเป็น โทสะ ด้วยซ้ำ
ซึ่ง เป็นกิเลสที่ไม่น่าจะเป็น คุณ และก็ยังมีทัศนะคติที่เป็นด้านลบอย่างรุนแรง
ซึ่งไม่น่าจะเป็นผู้ศึกษาธรรมที่ดีได้เลย น่ะ
แต่ข้อด้อยนี้กลับเป็นแรงผลักดันที่แข็งแรง

ตอนนั้นออกจะเดือดดาลสุดขีด สุดทนด้วยซ้ำ
เหมือนหมาจนตรอก ที่มักถูกมายาจิตหลอกหลอน
พอเหมือน ความข่มกลั้นมันขาดผึงปุ๊บ
เอกอนก็ คิดว่าเอาไงเอากัน จะลองนั่งสมาธิดู
กะว่าจะเข้าไปควานหาไอ้ตัวอะไรสักตัวที่มันทำมายาหลอกหลอนเรา
ให้เราต้องมีชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นสุข
(ต้องตกอยู่ในความหวาดระแวงคิดถึงแต่เข้าศรีธัญญา)

ราวกับว่า การปฏิบัติธรรม มันมีธรรมที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันอยู่
หากผู้ปฏิบัติรู้พื้นฐานตั้งต้นของตน อย่างไม่พยายามบิดเบือนความคิด
การเลือกใช้การปฏิบัติที่เหมาะสมกับตน

เหมือนจะเข้าข่าย รู้จริตของตน แล้วเลือกใช้ธรรมที่เหมาะสม รึเปล่า s006

จริง ๆ เป็นคำถามเปิดน่ะ
พอดีกำลังนั่งมองเพลิน ๆ แล้วก็เห็นแง่ที่สงสัย ก็เลยถาม คับป๋ม
เผื่อว่าผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติ
ที่แน่นอนว่า บางครั้งการปฏิบัติก็ราบรื่น
และบางครั้งก็ไม่ราบรื่น
ก็เลยเปิดประเด็น เพื่อผู้ปฏิบัติที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติ
กับการเข้าไปติด และการก้าวข้ามแต่ละอุปสรรค์
ได้แสดงทักษะกันคนละนิด คนละหน่อย
เผื่อว่า จะมีคนที่เจออุปสรรค์นั้น ๆ อยู่จะได้แง่มุมในการเอาชนะอุปสรรค์ หง่ะ


smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 04:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนแรกอ่านคำถามคุณเอกอนก็คิดอยู่นะว่าตั้งใจให้ตรงคืออะไร คิดว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องของสมาธิแต่เป็นเรื่องของความศรัทธา คือเราศรัทธาต่อการปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าความมุ่งหวังในการพัฒนาตนเอง มาถึงตรงนี้เรายังต้องอาศัยศรัทธาอยู่ไม่หยุดทำความเพียรและปฏิบัติในไตรสิกขาโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือปัญญาที่ดับอวิชชา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 09:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ตอนแรกอ่านคำถามคุณเอกอนก็คิดอยู่นะว่าตั้งใจให้ตรงคืออะไร คิดว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องของสมาธิแต่เป็นเรื่องของความศรัทธา คือเราศรัทธาต่อการปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าความมุ่งหวังในการพัฒนาตนเอง มาถึงตรงนี้เรายังต้องอาศัยศรัทธาอยู่ไม่หยุดทำความเพียรและปฏิบัติในไตรสิกขาโดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือปัญญาที่ดับอวิชชา


เกี่ยวครับ เกี่ยวหมดเลย เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว โย๊น โย๊น

rolleyes rolleyes


อย่างศรัทธา ก็เกี่ยว แต่เกี่ยวอย่างไร ศรัทธาเป็น เจตสิก
ศรัทธา ไม่ใช่ ศรัทธา(บัญญัติ) แต่เป็นคำที่ใช้เรียก เจตสิก หนึ่ง ๆ
เมื่อ เรื่องราวเกิดประกอบกับ เจตสิก ดังกล่าว
เรื่องราวก็คือ เรื่องราว เจตสิก ก็คือ เจตสิก
สิ่งที่ทำงานกับจิต คือ เจตสิก มิใช่เรื่องราว

ตรงนี้เป็นข้อสังเกตที่เอกอนสังเกตจาก
สิ่งที่ไม่มี คือเริ่มแรกเอกอน ไม่ปรากฎศรัทธาในทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับศาสนา
จนเมื่อเริ่มศึกษา ก็เห็นการปรากฎของ บางสิ่งอันเนื่องด้วยปัจจัยบางอย่างที่ได้กระทำลงไป

และเมื่อ เจตสิก ตัวนี้ปรากฎ มันเป็น โสภณเจตสิกที่มีกำลัง
ซึ่งกับการกล่าวคำ สรรเสริญ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
อย่างว่าตาม ๆ กันมา เขาว่างั๊นก็ว่าตาม การกล่าวอย่างเลื่อนลอย
กับความเป็นไปแห่งเจตสิกนี้ มันคนละเรื่องกัน

เอกอนมองเห็นว่า เรากล่าวในส่วนแห่งศรัทธา แต่ศรัทธานั้นเป็นสังขารจิต(ปรุง)
มิใช่ ศรัทธาที่เป็นเจตสิก
ซึ่ง ศรัทธา(เจตสิก) หากประกอบอยู่กับจิตใด ๆ แล้ว
เรื่องใด ๆ ที่ปรากฎล้วนจะแสดง กำลังแห่งความเป็น โสภณเจตสิก
มีทั้งพลังในแง่ชำแหละอุปสรรค์ และ พลังในความชุ่มชื่น แจ่มใส เบิกบาน

คือ แบบว่ากำลังมองประเด็นในลักษณะของ การขับเคลื่อนแห่งจิต-เจตสิกที่แท้จริง หง่ะท่าน
แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน และจะไปต่อตรงไหนอย่างไร
เพราะเอกอนก็ไม่ค่อยชำนาญในการถ่ายทอดความคิด หง่ะ
ก็ต้องอาศัยสมาชิกท่านอื่น ๆ มาช่วยจุดประกาย :b12: :b12:


ก็เลยตั้งประเด็นขึ้นมา เพื่อผู้ปฏิบัติที่มีความเห็นหลากหลายจากประสบการณ์
เพื่อได้เข้ามาแชร์กัน ปรับวิสัยทัศน์ มุมมองในการปฏิบัติร่วมกัน แบบเบา ๆ
แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า

การแลกเปลี่ยนทัศนะกันในกระทู้นี้จะให้ประหนึ่งเหมือนการเดินเล่นชมสวนดอกไม้ได้ อ๊ะป่าว
เพราะ มีคนเอาเป้ามาเป็นวัสดุประกอบกิจกรรมแล้ว :b14:

อิอิ ใครถนัดอุปกรณ์ประเภทไหน ก็พกมากันเอง ล๊ากานนนน :b9: :b9:

ส่วนเอกอนมักชอบปูเสื่อรอฟัง และมักจะโดนลูกหล๋งงงงง หง๋ง หง๋ง
อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 12:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


มันเป็นอาการแว๊บ ๆ ที่เข้าไปเห็น

การทรงตัวอยู่ในสภาวะทางธรรมหลาย ๆ สภาวะ เช่นว่า
ถูกด่า แล้ว ไม่โกรธ เป็นต้น

เราเห็น ตัวเราที่ไม่โกรธ
หรือ เราเห็นอะไรที่เป็นปัจจัยให้ปรากฎความเป็นเช่นนั้น

ถ้าหากว่า เจตสิก ศรัทธา ปรากฎ ก็ไม่ต้อง พยายามปั่นกระแส เพียงแต่เรียนรู้ที่จะทรงกระแสนั้นไว้
แล้วไปเสริมสร้างโสภณตัวอื่น
ถ้าหากว่า เรามีความหมกมุ่นคิดในเรื่องศรัทธาอยู่ ให้พิจารณาให้เห็น
ว่าสังขารคิดนั้น ปรากฎเคลื่อนภายใต้ เจตสิก กลุ่มใด แล้วตีให้ถูกตัว

แต่การจะเห็น เจตสิก ที่ขับเคลื่อนอยู่ได้นั้น
เราต้อง หยุดคิด แล้วดูลงไปที่ จิต
เพราะ ถ้าเราไม่หยุดเคลื่อนสังขาร
การเคลื่อนสังขารมันเหมือนกับ การเคลื่อนที่ของสิ่งหยาบ
เราย่อมเห็นรถบรรทุกวิ่งได้ชัดกว่า การเห็นมดวิ่ง
จนเมื่อรถหยุดวิ่ง เราก็จะเห็นสิ่งเล็ก ๆ ทียังคงเคลื่อนอยู่

s006 s006

อิอิ กระบวนท่ามั่ว ๆ ซั่ว ๆ ไปเรื่อย อิอิ
อย่างนี้ คงได้ชื่อว่า ตาเถรกวาดลาน อิอิ

อิอิ มั่วดี มั่วดี ใครที่มีความชำนาญในทาง
ช่วยมาปรับให้เข้าที่เข้าทางหน่อยเถอะ

อิอิ เห็นตัวเอง ปล่อยเป็ด ปล่อยไก่ มั่ว ๆ ก็นึกสังเวช อิอิ
เหมือน นักรบอนาถา ชอบก๊ล ชอบกล อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 13:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นักรบอนาถา....รึ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

ตอนนั้นออกจะเดือดดาลสุดขีด สุดทนด้วยซ้ำ เหมือนหมาจนตรอก ที่มักถูกมายาจิตหลอกหลอน
พอเหมือน ความข่มกลั้นมันขาดผึงปุ๊บ
เอกอนก็ คิดว่าเอาไงเอากัน จะลองนั่งสมาธิดู กะว่าจะเข้าไปควานหาไอ้ตัวอะไรสักตัวที่มันทำมายาหลอกหลอนเรา ให้เราต้องมีชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นสุข

(ต้องตกอยู่ในความหวาดระแวงคิดถึงแต่เข้าศรีธัญญา)



ไบกอนจะเข้าไปทำอะไรที่ ศรีธัญญาหรอ :b1: :b9:

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 14:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อิอิ ไปหายาระงับประสาท กิน

:b17: :b17: :b17:

อิอิ ส่งประกายแวววับมาเจียวววว
สงสัยจะมี ปาร์ตี้เป็ดย่าง อิอิ

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มังกรน้อย เอาของดีให้ฟัง
ดีไหม เพื่อ การฝึกจิตตั้งจิตให้ตรงล่ะ


.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 17:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

งามจริง ๆ


สังฆานุสสติ

อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ


›››››

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

วัดบวรนิเวศวิหาร

คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์

อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ


บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟัง เพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม

จะแสดงพระสังฆคุณนำสติปัฏฐานในบทว่า อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ สงฆ์คือหมู่แห่งสาวกผู้ฟัง คือศิษย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติตรงแล้ว พระสังฆคุณบทนี้แสดงอุชุปฏิปัติ หรืออุชุปฏิบัติ ปฏิบัติตรง คำว่าตรงนั้นมีความหมายที่ใช้ทั่วไป ก็คือตรงไม่คด แต่ว่ามีความหมายจำกัดเข้ามาอีกว่าเป็นตรงดี คือตรงไม่คดนั้นในทางปฏิบัติดำเนิน อาจจะตรงแน่วไปทางชั่วก็ได้ แต่ว่าในที่นี้ต้องเป็นตรงดี คือตรงไปในทางดี และคำว่าตรงเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ก็มีใช้กันอยู่ในทางปฏิบัติทั่วไป กับในทางตรงต่อผลที่ประสงค์

สำหรับประการแรก คือตรงในทางปฏิบัติทั่วไปนั้นก็เช่นซื่อตรง

อันได้แก่ไม่คิดคดหรือปฏิบัติคด ทรยศ รักษาคำพูด รักษาสัญญา และปฏิบัติภายนอกภายในตรงกัน เช่น พูดอย่างใดใจก็อย่างนั้น หรือใจอย่างใดพูดอย่างนั้น ตรงที่เป็นความเที่ยงธรรมก็คือตรงต่อความถูกต้องเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียงไปด้วยอคติทั้ง ๔ คือไม่ลำเอียงไปด้วย ฉันทาคติ คือลำเอียงไปเพราะรักชอบ ไม่ลำเอียงไปเพราะ โทสาคติ คือลำเอียงไปเพราะโกรธชังไม่ชอบ ไม่ลำเอียงไปเพราะ โมหาคติ คือลำเอียงไปด้วยโมหะคือความหลง คือไม่สอบสวนให้รู้จริงถูกต้อง ปฏิบัติไปด้วยความเข้าใจผิด ชั่วเป็นดี ดีเป็นชั่ว เป็นต้น ไม่ลำเอียงไปเพราะ ภยาคติ คือความกลัว การปฏิบัติจึงเที่ยงธรรม

ปฏิบัติตรงต่อประโยชน์ ๓ ประการ

ส่วนตรงต่อผลที่ประสงค์นั้น ก็หมายถึงปฏิบัติตรงต่อผลที่ต้องการ ซึ่งหมายถึงผลที่ถูกชอบ และโดยเฉพาะที่เหมาะที่ควรแก่ภาวะแห่งพระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ใช่หมายความว่าตรงต่อผลที่ไม่เหมาะไม่ควร ดังเช่นปฏิบัติตรงต่อ ปรมัตถประโยชน์ ประโยชน์อย่างยิ่งอันได้แก่มรรคผลนิพพาน ไม่ใช่ตรงต่อ ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์ภายหน้า อันยังเป็น โลกิยะ เกี่ยวอยู่กับโลก

ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงว่าสอนเขา แต่ว่าหมายความถึงว่าปฏิบัติตนเอง คือหมู่แห่งสาวกผู้ฟังของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่าพระสงฆ์ในรัตนะ ๓ นี้ มุ่งถึงอริยสงฆ์ และแม้ผู้ที่บวชเป็นภิกษุสามเณรแต่เดิมมาก็มุ่งต่อ อริยผล ที่เป็นโลกุตรมรรคผลนิพพานดั่งนี้ เพราะสำหรับประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้านั้น ไม่ต้องบวชเป็นคฤหัสถ์ก็ปฏิบัติได้

( เริ่ม ๑๒๖/๒ ) พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนประโยชน์ไว้ทั้ง ๓ เพราะการสอนนั้น ผู้ฟังก็มีทั้งผู้ต้องการบวช และผู้ที่ไม่ต้องการบวช ผู้ต้องการบวชก็ทรงสอนตรงไปยังมรรคผลนิพพาน

ผู้ไม่ต้องการบวชก็ทรงสอนให้ตรงต่อประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภายหน้า สำหรับที่จะดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน โลกภายหน้า เป็นสุข

เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นพระสงฆ์ซึ่งเป็นรัตนะ จึงปฏิบัติตรงต่อปรมัตถประโยชน์มรรคผลนิพพาน จนถึงบรรลุถึงมรรคผลชั้นต้น จึงนับเข้าเป็นสงฆ์ในรัตนะทั้ง ๓ นี้ เมื่อยังปฏิบัติอยู่แม้เพื่อมรรคผลนิพพาน เมื่อยังไม่บรรลุก็ยังไม่นับเข้า แต่เมื่อบวชเป็นภิกษุ เมื่อประชุมกันตามองค์กำหนด ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็เรียกว่าสงฆ์ตามพระวินัย เป็นพระสงฆ์ที่บวชกันอยู่

และพระสงฆ์ตามพระวินัยนี้ แม้ท่านผู้ที่ปฏิบัติตรงต่อมรรคผลนิพพาน บรรลุมรรคผลขั้นแรกเป็นโสดาบันบุคคล ซึ่งนับเข้าในพระสงฆ์ในรัตนะทั้ง ๓ เมื่อยังไม่บวชเป็นภิกษุตามพระวินัย ก็ยังไม่เป็นภิกษุตามพระวินัย และเมื่อรวมกันตั้งแต่ ๔ ขึ้นไปก็ยังไม่นับว่าเป็นพระสงฆ์ตามพระวินัย ยังปฏิบัติให้สำเร็จสังฆกรรมต่างๆ ตามพระวินัยไม่ได้ เมื่อบวชเข้ามาแล้วจึงจะเป็นภิกษุซึ่งจะเป็นสงฆ์ตามพระวินัยได้ ปฏิบัติสังฆกรรมต่างๆ ตามพระวินัยได้

ปฏิบัติตรงต่อมรรคมีองค์ ๘

อีกอย่างหนึ่งก็กล่าวได้ว่าตรงต่อมรรคมีองค์ ๘ เพราะมรรคมีองค์ ๘ นั้นเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน ย่อเข้าก็คือตรงต่อศีล ต่อสมาธิ ต่อปัญญา รวมเข้าคำเดียวก็คือว่าตรงต่อธรรมที่เป็นธรรมาธิไตย คือมีธรรมะเป็นใหญ่ ไม่ใช่มีโลกเป็นใหญ่ ไม่ใช่มีตนเป็นใหญ่ แต่มีธรรมะเป็นใหญ่เป็นธรรมาธิปไตย พระพุทธเจ้าเองแม้จะได้ตรัสรู้เองชอบ ทรงแสดงธรรมทรงบัญญัติวินัยด้วยพระองค์เอง

ไม่ได้ปรึกษาหารือใคร ทรงสอนทรงสั่งด้วยพระองค์เอง แต่ก็ด้วยทรงมีธรรมะเป็นใหญ่ เป็นธรรมาธิปไตย และทรงมีธรรมะเป็นที่เคารพ คือทรงเคารพพระธรรม เพราะเมื่อมีธรรมะเป็นใหญ่ ก็เคารพสิ่งที่เป็นใหญ่นั้นคือพระธรรม ฉะนั้นแม้ผู้ปฏิบัติธรรมทั่วไป ซึ่งปฏิบัติตามหลักอธิปไตยทั้ง ๓ ในพุทธศาสนานี้ คือปฏิบัติมีธรรมะเป็นใหญ่ เป็นธรรมาธิปไตย ก็ย่อมจะมีความเคารพธรรมซึ่งเป็นใหญ่นั้น และปฏิบัติตามธรรม

ฉะนั้นเมื่อมีธรรมเป็นใหญ่มีความเคารพธรรมด้วยจิตใจ อันประกอบด้วยศีลสมาธิปัญญาหรือมรรคมีองค์ ๘ จึงเป็นผู้ที่มีจิตใจตรง คือตรงต่อธรรมที่เป็นใหญ่ที่เคารพนั้น มีเจตนาตรง มีกรรมคือการงานที่กระทำทางกายทางวาจาทางใจตรง จึงชื่อว่ามีกายตรงมีวาจาตรงและมีใจตรง ดั่งนี้จึงเป็น อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรงแล้ว เมื่อกำลังปฏิบัติอยู่ ก็ชื่อว่ากำลังปฏิบัติอยู่ใน อุชุปฏิปัติ คือปฏิบัติตรง คือตรงต่อธรรม จะยกเอามรรคมีองค์ ๘ ยกเอาไตรสิกขาศีลสมาธิปัญญา หรือยกเอาข้อธรรมาธิปไตยก็ได้ ซึ่งเป็นหลักของการปฏิบัติ

การปฏิบัติที่ไม่เนิ่นช้า

และการที่ปฏิบัติตรงดั่งนี้จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่เนิ่นช้า แต่ถ้าปฏิบัติไม่ตรงก็ย่อมจะเนิ่นช้า การปฏิบัติที่เนิ่นช้านั้นก็คือการที่ไม่ปฏิบัติตรงต่อธรรม ที่เป็นธรรมาธิปไตย เป็นมรรคมีองค์ ๘ เป็นไตรสิกขาคือศีลสมาธิปัญญา แต่ว่ายังแวะเวียนไปใน กามสุขัลลิกานุโยค คือประกอบตนพัวพันด้วยความสุขในกาม คือสิ่งที่รักใคร่ปรารถนาพอใจ หรือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะสิ่งถูกต้องที่น่าปรารถนาพอใจ ด้วยอำนาจของกิเลสกาม กิเลสที่เป็นเหตุให้ใคร่ปรารถนาต่างๆ หรือไม่เช่นนั้นก็ปฏิบัติไปในทางที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค คือปฏิบัติประกอบตนให้พัวพันในการทรมานกายให้ลำบาก ดังที่เรียกว่า ทุกรกิริยา

เมื่อปฏิบัติแวะเวียนมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยกาม หรือว่าด้วยการทรมานกายดังกล่าวนั้น ก็ทำให้เนิ่นช้าไม่บรรลุถึงผลที่มุ่งหมาย จะเนิ่นช้าเท่าไรนั้นก็สุดแต่ความแวะเวียนนั้นจะเนิ่นช้าเพียงไร ถ้ายังแวะเวียนอยู่นานเท่าไร ก็ไม่บรรลุถึงผลที่มุ่งหมายนานเท่านั้น ต่อเมื่อละการแวะเวียนนั้นได้ ปฏิบัติเข้าทางตรง คือทางมรรคมีองค์ ๘ ทางไตรสิกขา หรือทางธรรมาธิปไตยดังกล่าวนั้น ก็จะบรรลุถึงผลที่มุ่งหมายได้ไม่เนิ่นช้า

ปฏิบัตินานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์

เพราะฉะนั้นในพระสูตรหนึ่งจึงได้มีกล่าวไว้ว่า พราหมณ์ท่านหนึ่งที่ได้ถามท่านพระสารีบุตร ว่าเมื่อปฏิบัติธรรมะสมควรแก่ธรรม อันเรียกว่าธรรมานุธรรมปฏิปัติ ได้แล้ว นานเท่าไหร่จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้ ท่านพระสารีบุตรก็ตอบว่าไม่นาน ดั่งนี้ เพราะปฏิบัติไม่แวะเวียน ปฏิบัติให้เป็นธรรมานุธรรมปฏิปัติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็คือปฏิบัติดีปฏิบัติตรงนั้นเอง ตรงเพื่อนิพพิทาความหน่าย วิราคะความสิ้นติดใจยินดี นิโรธะ ความดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย

การปฏิบัติแวะเวียนนั้นเป็นการปฏิบัติเพื่อรักษา เพิ่มพูนความเพลิดเพลิน ความติดใจ ความดิ้นรนทะยานอยากในกามทั้งหลาย และแม้ใน ทุกรกิริยา คือการทรมานกายอันตรงกันข้าม อันเรียกว่าเป็นสุดโต่งสองข้าง ยังไม่เข้าทางที่เรียกว่า มัชฌิมา คือทางกลาง อันไม่ข้องแวะกับทางสุดโต่งทั้งสองข้างนั้น เพราะฉะนั้นจะชื่อว่าปฏิบัติตรง หรือปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็คือปฏิบัติเพื่อนิพพิทา คือหน่ายจากความเพลิดเพลิน เพื่อสิ้นติดใจยินดีคือไม่ติดใจไม่ยินดี และเพื่อดับตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก ปล่อยวางกามทั้งหลาย ปล่อยวางการทรมานกายให้ลำบากทั้งหลาย พ้นได้จากกามทั้งหลาย จากการทรมานกายให้ลำบากทั้งหลาย

ซึ่งการทรมานกายให้ลำบากนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมบางท่าน ท่านก็รวมเอาโทสะเข้าด้วย เพราะว่าโทสะคือความโกรธนั้นตรงกันข้ามกับกามหรือราคะ กามหรือราคะนั้นไปในทางชอบ โทสะไปในทางชัง หรือกามราคะนั้นไปในทางที่เรียกว่ายินดี โทสะนั้นไปในทางที่เรียกว่ายินร้าย

และกามนั้นที่โลกยังติดใจยินดีก็เพราะว่ากามให้ผลเป็นความสุข แต่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่าให้ความสุขความพอใจน้อย แต่ให้ทุกข์มาก ถ้าหากว่ากามไม่ให้ความสุขความเพลิดเพลินเสียเลยแล้วคนก็จะไม่ติดในกามไม่ติดในโลก แต่เพราะกามนั้นให้ความสุขให้ความเพลิดเพลิน คนจึงติดจึงยินดีไม่เหนื่อยหน่าย

แต่เมื่อได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่าให้ความยินดีน้อยให้ความสุขน้อย แต่ว่าให้ทุกข์มาก และเมื่อพิจารณาเห็นตามที่ทรงสั่งสอนไว้ ก็คือทรงสั่งสอนให้เห็นอนิจจะ ไม่เที่ยง ทุกขะ เป็นทุกข์ คือไม่ตั้งอยู่คงที่ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรที่จะยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา คือเป็นอนัตตา และเมื่อเห็นตามที่ทรงสั่งสอนนั้นจึงจะได้นิพพิทาคือความหน่าย และเมื่อหน่ายก็จะได้วิราคะคือความสิ้นติดใจยินดี และได้ความดับ ดับความดิ้นรนทะยานอยาก จึงจะดับทุกข์ร้อน หรือดับกิเลสและกองทุกข์ทั้งปวงได้

ข้อว่าปฏิบัติตรง

เพราะฉะนั้น การปฏิบัติที่ไม่แวะเวียน แต่ปฏิบัติให้เกิด นิพพิทา วิราคะ นิโรธะ ดังกล่าว จึงจะเป็นการปฏิบัติตรง และการปฏิบัติตรงดั่งนี้ก็ชื่อว่าธรรมานุธรรมปฏิปัติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือสมควรแก่มรรคมีองค์ ๘ หรือไตรสิกขา หรือว่าธรรมาธิปไตยดังที่กล่าวนั้น ท่านที่ปฏิบัติตรงได้แล้ว บรรลุถึงมรรคผลนิพพานในขั้นต้นได้แล้ว และตั้งแต่ขั้นต้นนั้นขึ้นไปจึงจะได้ชื่อว่า อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรงแล้ว

เมื่อกำลังปฏิบัติอยู่ก็เรียกว่ายังไม่แล้ว คือยังต้องทำอยู่ปฏิบัติอยู่ และแม้พระอริยสงฆ์ทุกท่านก่อนจะเป็นพระอริยสงฆ์ท่านก็ต้องปฏิบัติอยู่ เหมือนอย่างที่นักปฏิบัติทั้งหลาย หรือเราทั้งหลายที่กำลังปฏิบัติกันอยู่นี้ และเมื่อปฏิบัติให้เป็น อุชุปฏิปัติ ปฏิบัติตรงแล้ว ก็จะบรรลุถึงภูมิชั้นที่สูงขึ้น ไม่นาน แต่จะสูงแค่ไหนนั้นก็สุดแต่กำลังของการปฏิบัติตรงจะเป็นไปได้

จิตตภาวนา

การปฏิบัติจิตตภาวนาข้อปฏิบัตินั้นก็เป็นการปฏิบัติตรง เป็นการปฏิบัติดีด้วย แม้ผู้ปฏิบัติจะยังไม่มุ่งมรรคผลนิพพาน แต่ว่าข้อปฏิบัตินั้นก็เป็นการปฏิบัติตรง เพราะฉะนั้นในเบื้องต้นของสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้เป็นไป สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อก้าวล่วงโสกะความโศก ความแห้งใจ ปริเทวะความคร่ำครวญใจ จนถึงคร่ำครวญออกมาทางกาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่อดับทุกข์โทมนัส ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุญายะธรรม คือธรรมะที่พึงบรรลุยิ่งๆ ขึ้นไป นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งพระนิพพาน ดั่งนี้

เหมือนอย่างว่าเมื่อปฏิบัติเดินทาง เช่นเมื่อหันหน้าเดินทางมาสู่วัดนี้ แม้จะไม่อยากมาวัดนี้ ไม่ประสงค์จะมาวัดนี้ แต่เมื่อทางที่เดินมานั้นมาสู่วัดนี้ ก็ย่อมจะต้องถึงวัดนี้ หรือใกล้วัดนี้เข้ามา ทีแรกจะอยู่ไกลแสนไกลก็ตาม แต่เมื่อหันหน้ามาสู่วัดนี้แล้ว ถึงแม้จะไม่อยากมาถึง ก็ถึงเองหรือใกล้เข้ามาเอง

การปฏิบัติในสติปัฏฐานของพระพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ให้ตั้งใจปฏิบัติไปตามที่ตรัสสอนคือปฏิบัติทำสติ ตั้งสติคือตั้งใจกำหนด ดังที่ได้เริ่มแสดงมาแล้วในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ตรัสสอนไว้

ยกเอาข้ออานาปานปัพพะ คือข้อที่ว่าด้วยลมหายใจเข้าออกเป็นข้อต้น และยกภิกษุเป็นที่ตั้งว่า เข้าสู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง อันหมายความว่าปลีกตนออก ให้ได้กายวิเวกคือความสงัดกาย อาศัยสถานที่ที่สงบสงัด และแม้การที่มาประชุมกันปฏิบัติในที่นี้มากคนด้วยกัน แต่ว่าต่างก็ตั้งอยู่ในความสงบ ก็ชื่อว่าสงบสงัดด้วยกัน และก็อยู่ในที่สงบสงัดด้วยกัน

และให้นั่งขัดบัลลังก์คือขัดสมาธิ ตั้งกายตรงดำรงสติจำเพาะหน้า คือตั้งใจกำหนดเข้ามาจำเพาะหน้าคือที่ตนเอง หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ หายใจเข้ายาวออกยาว ก็ให้รู้ว่าเราหายใจเข้ายาวออกยาว หายเข้าสั้นออกสั้น ก็ให้รู้ว่าหายใจเข้าสั้นออกสั้น และหัดทำความรู้ตัวทั้งหมดหายใจเข้าหายใจออก และหัดที่จะสงบตัวทั้งหมดนี้ หายใจเข้าหายใจออก นี้เป็นการกล่าวถอดความมาอย่างสั้นๆ ในหัวข้อที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้เอง อันเป็นหลักสำคัญเพราะเป็นพระพุทธพจน์ การที่จะอธิบายนั้นจะได้ทำต่อไป

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจฟังสวดตั้งใจทำความสงบสืบต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:

ตอนนั้นออกจะเดือดดาลสุดขีด สุดทนด้วยซ้ำ
เหมือนหมาจนตรอก ที่มักถูกมายาจิตหลอกหลอน
พอเหมือน ความข่มกลั้นมันขาดผึงปุ๊บ
เอกอนก็ คิดว่าเอาไงเอากัน จะลองนั่งสมาธิดู
กะว่าจะเข้าไปควานหาไอ้ตัวอะไรสักตัวที่มันทำมายาหลอกหลอนเรา
ให้เราต้องมีชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นสุข
(ต้องตกอยู่ในความหวาดระแวงคิดถึงแต่เข้าศรีธัญญา)

"ผมว่าน่าจะเป็นการเริ่มที่ถูกจุดนะ เริ่มต้นที่ทุกข์ เห็นทุกข์ ต้องการออกจากทุกข์
ส่วนการตั้งใจไว้ตรง ถ้าตรงในที่นี้หมายถึงถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมทำให้การปฏิบัติก้าวหน้าและถูกต้องแน่นอน แต่ถ้าตั้งใจผิดเพราะหลงคิดเองว่าตรงย่อมไม่เกิดความก้าวหน้าในการดับทุกข์แน่นอน
วิธีการแก้ไขปฏิบัตินั้นถ้าเป็นผมจะไช้วิธีศึกษาเพิ่มเติมจากตำรา จากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยเทียบเคียงจากผลแห่งจิตใจของเราและหลักกาลามสูตรน่ะ" :b12:

smiley smiley smiley

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ส.ค. 2011, 22:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


:b4: ฮานะ พุทโธ ใจรู้ พุทโธ รู้ใจ

ไม่หลงไปตั้งอะไรๆ ใจ ก็ อิสระ นะเจ้าข๊า

ผลสุดท้ายก็ได้ตรัสรู้ว่า องค์ของการตรัสรู้เป็นเพียงเจตสิก

ฮ๊าฮา ฮ๊าฮา rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 10:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณ eragon_joe
เมื่อตั้งใจตรง เกิดสัมมาทิฎฐิ รู้แนวทางแล้ว การปฏิบัติที่ได้ผลรวดเร็ว เกิดจากการเชื่อมต่อองค์ความรู้ในปัจจุบันกับเหตุปัจจัยในอดีต ซึ่งก็คืออุปนิสัย บ่งบอกถึงอินทรีย์ 5 พละ 5 สะท้อนออกมาเป็นสภาวธรรมที่ปรากฏไม่ว่าในปัจจุบันจะเคยปฎิบัติหรือไม่ก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเงื่อนใข ที่นำมาพิจารณาร่วมกับการปฏิบัติ

เวลาเป็นสิ่งมีค่า เป็นความจริงที่การเดินชมสวนดอกไม้จะนานเท่าไรเป็นเพียงเห็นสี ได้กลิ่น ต่างจากเจ้าของสวนที่รู้นัยยะ” ดอกไม้” เข้าใจและประจักษ์ชัดถึงรายละเอียดทุกขั้นตอนกว่าจะเป็น” ดอกไม้” เจ้าของสวนบางรายมีความปารถนาดีจึงบอกวิธีปลูก แต่ในทางปฏิบัติที่ได้ผลต้องร่วมวิจัยลักษณะของดิน เพื่อใส่ปุ๋ยปรับสภาพแวดล้อม และปัจจัยอื่นที่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้เจ้าของสวนบางรายมีประสบการณ์ตรงแต่ไม่ได้จบโทวิชาพืชสวนมา ก็อาจเป็นอุปสรรคในการสื่อสารทางวิชาการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2011, 18:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


การตั้งใจไว้ตรง ก็เริ่มมาจากการตั้งใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเกิดมาจากการรู้อันเป็นสัมมาทิฏฐิ คือเห็นข้ามแล้วจากการรู้ที่ผ่านมา การตั้งใจไว้ตรงตามความหมายนี้น่าจะหมายถึง การตกลงใจทำตามความรู้เห็นนั้นเพื่อให้เป็นผลมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ด้วยกำลังศรัทธาประกอบปัญญา การตกลงใจเช่นนี้จึงต้องมีความสละ สละกับสิ่งนอกนั้นทั้งหมดอันได้เห็นข้ามมาแล้ว ส่งใจตั้งไว้ด้วยความเพียรมุ่งตรงต่อหนทางอันจะพึงคาดหวังได้ ความมุ่งตรงสู่หนทางนั้นแล้วทำให้เกิดมีสติ มีความแน่วแน่ รู้พร้อมในขณะนั้น เกิดเป็นพลังอันเป็นผลจากการตั้งใจไว้ตรง สงบจากความฟุ้งซ่าน สงบจากส่วนสุดทั้งหลาย ดื่มเสวยความสุขสงบในขณะนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร