วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2024, 12:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นเพื่อนสมาชิกสนใจเรื่องการอ่านพระไตรปิฎกกันมาก หลายๆท่านก็ยกคำหรือข้อความในพระไตรปิฎกมาอ้างอิงและตีความกัน

ต้องออกตัวก่อน ไม่ได้มาลองภูมิ หรือบังอาจชี้ผิดชี้ถูก เพียงแต่ว่า อ่านๆแล้ว มีข้อสังเกตบางอย่างมาให้ขบคิดกัน ทุกความเห็นชี้ผิดถูกไม่ได้ด้วยสติปัญญาของพวกเราเองครับ

ครั้งนี้ครั้งแรก เริ่มเลย

สุตฺต ม. มชฺฌิมปณฺณาสกํ - ข้อ ๒๘๗ มีข้อความ ว่า

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

สุข เป็นเวทนา จัดในเวทนาขันธ์

ขันธ์ นับเนื้องในสังขตะธรรม แต่ นิพพานจัดเป็นอสังขตะธรรม

หรือข้อที่ว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง จะเป็นแค่อุปมาว่า ไม่มีอะไรดีกว่านิพพาน

เชิญสาธกความเห็นได้ตามอัธยาศัยครับ

เพื่อธัมมคารวตา โปรดสุภาพ งดถ้อยคำส่อเสียด

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
เจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ ฯ

ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปธิสุขํ ได้แก่ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓.
บทว่า นิรูปธิสุขํ ได้แก่ สุขที่เป็นโลกุตระ.




[๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
มีอาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ ฯ


ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาสวสุขํ ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะทั้งหลาย.
บทว่า อนาสวสุขํ ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.



[๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
อิงอามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ ฯ


ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๑๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส.
บทว่า นิรามิสํ ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส.




[๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข
ของพระอริยเจ้า ๑ สุขของปุถุชน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ ฯ

ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๑๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยสุขํ ได้แก่ สุขของอริยบุคคล.
บทว่า อนริยสุขํ ได้แก่ สุขของปุถุชน.
-------------------------------------------------------------------------------
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=20&i=309

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า สุขัง ในพระคาถาว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง ตามความเข้าใจของผมเห็นว่า พระพุทธองค์คงมีพุทธประสงค์ตรัสอธิบายถึง นิพพาน ให้สาวกเข้าใจว่า ลักษณะของนิพพานเป็นอย่างไร ถึงแล้วจะดีกว่าอะไรอย่างอื่นที่ทั้งสามโลกเห็น พบว่า เป็น สุขที่สุด คำว่า สุขที่สุดนี้ เป็นความหมายดี เป็นสิ่งดี เพราะไม่มีอะไรจะมาดีกว่านี้ แต่ด้วยนิพพานเป็นอะไรที่พ้นจากที่สุดอย่างที่สาวก(หมายความถึงยังไม่เป็นขีณาสพ) เคยรู้เห็น ได้ดื่มรสแห่งความสุขตามภาวะแต่ละท่านที่ทำได้มากน้อย พระองค์จึงตรัสว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนะ ผมอธิบายอีกว่า สุขที่พวกเธอได้อยู่วิหารธรรมเพียงใดนั้นน่ะ เป็นสุขมากไม่ใช่ประมาณน้อย มีคุณมากมายนะ แต่นิพพานก็ยังเป็นอย่างยิ่งกว่านั้นอีกนะ คือทรงชี้ให้เพื่อให้รู้เห็นเข้าใจตามภาวะของแต่ละท่าน คำว่า สุขัง นี้ จึงไม่น่าจัดเป็นเวทนาขันธุ์ซึ่งยังจัดว่าเป็นประเภท สัจจทุกข์ smiley แต่ผมก็ยังไม่นิพพานนะครับ อย่าเข้าใจว่า ผมชี้ถุกชี้ผิดล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพานสูตร

"สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายนิพพานนี้เป็นสุข ดูกรอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้วท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร ฯ

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโส นิพพานนี้ไม่มีเวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูกรอาวุโส
กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ........................

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 870&Z=8945

๗. คุตตาเถรีคาถา

" ดูกรนางคุตตา การที่ท่านละบุตร หมู่ญาติและกองแห่งโภคะอันเป็นที่รักแล้ว ออกบวชเพื่อประโยชน์แก่นิพพานใด ท่านจงพอกพูนนิพพานนั้นเนืองๆ เถิด ท่านอย่าตกอยู่ในอำนาจของจิต สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้แจ้งถูกจิตหลอกลวงแล้ว ยินดีในสิ่งอันเป็นวิสัยของมาร ย่อมพากันท่องเที่ยวไปสู่ชาติสงสารมิใช่น้อย
ดูกรนางภิกษุณี ท่านจงละขาดซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำเหล่านี้ คือกามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ สัก
กายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาสอันเป็นข้อที่ห้า ๑ แล้วอย่ากลับมาสู่กามภพอีก ท่านจงละเว้นราคะ มานะ อวิชชา อุทธัจจะ และตัดสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ท่านยังชาติสงสารให้สิ้นไปแล้ว กำหนดรู้ภพใหม่ หมดความทะยานอยาก จักเป็นผู้สงบระงับ เที่ยวไปในปัจจุบัน."


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 02 ก.ย. 2011, 21:13, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


มาคัณฑิยสูตร
.............

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม.
................
ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

ดูกรมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้เห็นรูปดำและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์. แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่งกล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด.

เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอำมาตย์ญาติสายโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียร ยาถ่ายให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ชำระตาให้ใสได้ เขาย่อมละความรักด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่าโน้นได้พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็นศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่งเขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิตเสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดดังนี้ มานานหนอ ฉันใด

ดูกรมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดงธรรมแก่ท่านว่าความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้. ท่านนั้นพึงรู้ ความไม่มีโรคพึงเห็นนิพพานได้ท่านนั้นก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น

อนึ่ง ท่านพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานานแล้วหนอ

เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่เวทนาเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น
เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมีแก่เรานั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

http://www.jitsabuy.com/index.php?optio ... Itemid=272

สิวกเถรคาถา

" เรือนคืออัตภาพที่เกิดในภพนั้นๆ บ่อยๆ เป็นของไม่เที่ยง เราแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสารสิ้นชาติมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ร่ำไป ดูกรนายช่างผู้สร้างเรือน บัดนี้ เราพบท่านแล้ว ท่านจักไม่ต้องสร้างเรือนให้เราอีก ซี่โครงคือกิเลส ของท่าน เราหักเสียหมดแล้ว และช่อฟ้าคืออวิชชาแห่งเรือนท่านเราทำลายแล้ว จิตของเราไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดาแล้ว จักดับอยู่ในภพนี้เอง "


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 02 ก.ย. 2011, 21:12, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับสำหรับความเห็นของคุณพุทธฎีกา คุณเวิลด์ คุณเฟลม

ตามความเห็นทั้ง ๓ ท่านให้มา น่าสนใจทุกอันเลย มีแง่มุมที่น่าวินิฉัยเรื่อยๆ

ที่คุณพุทธฎีกายกมานั้น เหมือนกับว่าเป็นความสุขในทิฏฐธรรม คล้ายกับว่าเป็นความสุขของพระอริยบุคคล
ที่ยังไม่ได้ละสังขาร คือท่านจะมีความสุขจากธรรมที่ท่านบรรลุแล้ว หรือจากสภาวะนิพพานที่ท่านสามารถรับ
รู้ได้ด้วยสมาบัติหรือนิโรธสมาบัติ

ของคุณเวิลด์ ผมอนุมานว่า คล้ายกับของคุณพุทธฎีกา เพียงแต่ไม่ยกวจนะมาด้วย น่านับถือครับ ตรงคำว่า
ผมอธิบายอีกว่า สุขที่พวกเธอได้อยู่วิหารธรรมเพียงใดนั้นน่ะ เป็นสุขมากไม่ใช่ประมาณน้อย

ส่วนของคุณเฟลม ชัดเจนเลยครับ บอกได้ทั้งทิฏฐธรรมสมัยพระอริยบุคคลยังไม่ละสังขาร และ หลังจากละ
สังขารแล้ว ในคำตอบของพระสารีบุตร

ขอบคุณอีกครั้งครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2011, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนความเห็นผมเอง ผมแยกเป็นสองอย่างครับ

๑.ทิฏฐวิหารธรรม หมายถึงสุขในพระนิพพานที่ท่านผู้บรรลุเห็นแล้ว เพราะท่านเหล่านั้นไม่ต้องอนาทรร้อนใจ
อะไรทั้งสิ้นเลย ในสมัยที่ท่านยังไม่ละสังขาร

๒.ส่วนอีกสุข ก็คือ อุปมาว่าสุขบรม หมายความว่า ไม่มีอะไรจะดีเลิศกว่าพระนิพพานแล้ว

ใน คห.ของผม จะหนีจากสุขเวทนา เพราะผมเห็นว่า สุขเวทนายังนับเนื่องในขันธ์อยู่ คำตอบของพระสารีบุตร
ก็บอกไว้ชัดเจนว่าไม่มีสุขเวทนา

ข้อนี้มีนัยยะอีกนิดหน่อย เด๋วมาต่อครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2011, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


นัยยะที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ที่ต้องคำนึงถึงการอธิบายเรื่องสุขของพระนิพพาน
ในความเห็นผม ไม่ควรที่จะอธิบาย หรือแสดงออกไปในแนวทางที่เจือสมด้วยเวทนา เพราะสุ่มเสียงอย่าง
มากกับหลักการบางอย่าง

ถ้าพระนิพพานเป็นสุข (มีความรู้สึกเป็นสุข เจือสมในลักษณะสุขเวทนา)

เวทนาจัดเป็นธรรมที่นับเนื่องในขันธ์ ๕
เวทนา อนิจฺจา เวทนาไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะเอียงไปกับฝ่ายที่เห็นว่าพระนิพพานเป็นอนัตตาทันที ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ทั้งฝ่ายที่เห็นว่า
พระนิพพานไปเป็นอัตตาหรืออนัตตาเลย

ในที่นี้ ประเด็นเรื่อง สุข ในคำว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ก่อนดีกว่า

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 02:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือ นิพพาน คือการปฏิบัติตนตามสายดับของปฏิจจสมุปบาทจนกระทั่งความดับไม่เหลือของอวิชชา

นิพพานเป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ยากที่จะพิจารณารู้ตามได้ ต้องอาศัยปัญญาตามหลักมรรคมีองค์8 ครบองค์บรรลุเป็นพระอริยบุคคล

ปฏิบัติตนในศีล สมาธิ ปัญญา แม้ไม่ถึงนิพพาน ก็มีความสุขสงบตามอัตภาพ ปฏิบัติสมาธิบ้าง มีอารมณ์ทางโลกมั่งแต่เราก็มีจุดยืน จุดยืนเราคือความสุขใจที่ได้อยู่ใกล้พระพุทธเจ้า 2500ปีของเวลาก็ไม่ทำให้เรารู้สึกห่างไกลจากท่าน ทำอย่างไรล่ะ ก็อ่านพระไตรปิฏกมั่ง เข้าเวปธรรมจักรมั่ง เราชื่นชมคนที่ค้นหาตัวเองด้วยการวางหนังสือพระไตรปิฏกแล้วตั้งหน้าปฏิบัติ แต่เราก็บอกแล้วว่าเรามีจุดยืนครูคนที่สำคัญทางธรรมของเราคือพระพุทธเจ้า และพระอนุพุทธะทั้งอดีตและปัจจุบัน เจริญในธรรมครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2011, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆครับคุณ student :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร