วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 23:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 04:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




GEDC1762_resize.JPG
GEDC1762_resize.JPG [ 75.36 KiB | เปิดดู 10213 ครั้ง ]
ปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งหมดทั้งปวง
ผู้ใดปารถนาจะรู้ธรรมและได้วิธีการปฏิบัติธรรมที่ง่าย ลัดสั้น ไม่มีเรื่องต้องศึกษา จดจำมาก ไม่ยุ่งยากด้วยคำศัพท์ บาลี สันสกฤต ไม่มีอะไรให้ต้องขบคิดและสงสัย ก็จงได้มาปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยเอาปัจจุบันธรรมเป็นอารมณ์ก็อาจสามารถทำพระนิพพานให้แจ้ง พาตนให้พ้นทุกข์เข้าถึงมรรค ผล พ้นวัฏฏะสงสารได้ทันในปัจจุบันชาตินี้

วิธีภาวนากับปัจจุบันอารมณ์
ให้ทำภาวนาในอิริยาบถ 3 คือ นั่ง ยืน นอน ท่าใดท่าหนึ่งก็ได้
เริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าจะเอาสติ ปัญญามาตั้งรู้ ตั้งสังเกตอยู่เฉพาะที่ปัจจุบันอารมณ์ แล้วหลับตา ลงมือทำภาวนา
สติ จะทำหน้าที่รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม
ปัญญาสัมมาทิฐิ จะทำหน้าที่ รู้ ตามปัจจุบันอารมณ์
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะทำหน้าที่ สังเกต ปัจจุบันอารมณ์

ความรู้ทัน รู้ และสังเกตปัจจุบันอารมณ์นี้ จะต้องไม่มีความคิดนึกมาเกี่ยวข้องด้วย เฝ้ารู้ และสังเกตสภาวธรรมที่เกิดขึ้นแต่ละอารมณ์ไปจนอารมณ์นั้นดับไปต่อหน้าต่อตา รักษาการภาวนาตามหลักนี้ไปให้ได้นานๆ ในการภาวนาแต่ละรอบ แล้วผู้ภาวนาจะได้รู้ว่า ธรรมต่างๆตามหลักโพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการเขาจะเกิดขึ้นมาเองเป็นลำดับๆโดยอัตโนมติ เริ่มต้นจาก สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปทาน ๔ อิทธิบาท ๔ ต่อขึ้นไปถึง อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชงค์ ๗ และ มรรค ๘ ซึ่งมีรายละเอียดที่จะแสดงให้ทราบต่อไป เชิญศึกษาและทำความเข้าใจกันด้วยตนเองทุกท่านเทอญ
.....
:b36:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


อิริยาบถ เป็นเรื่องของ กาย
ภาวนา เป็นเรื่องของ ใจ นะเจ้าข๊ะ

แม้จะอยู่ใน อิริยาบถ ใดก็ ภาวนา ได้ตลอดเวลา
ไม่จำกัด ท่าใดท่าหนึ่ง จะ ห้อยหัว ตีลังกา ก็ ภาวนา ได้เหมือนกัน

ถ้าเริ่มต้นด้วยการ ไหล ไปกับความ ตั้งใจ
นั่นก็ ไม่รู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ เสียแล้ว

"เริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าจะเอาสติ ปัญญามาตั้งรู้"
นั่นก็คือ คิดนึก ไปโดย ไม่รู้ตัว เสียแล้ว

การ ภาวนา เป็นเรื่องของ ใจ
ถ้ายังไม่รู้จัก ใจ การปฏิบัตินั้น ก็ยัง ไม่ใช่ ภาวนา

หา ใจ ให้เจอเสียก่อน นะเจ้าข๊ะ

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 13:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


ฮานะ เอามาฝาก ขะ
อ้างคำพูด:
อุบายจับตัว ใจ

ท่าน ให้ใช้คำบริกรรม จะเป็นพุทโธ หรืออานาปานสติก็ได้ ล่อให้ใจมันมาอยู่ตรงนั้นเท่านั้น ถ้าใจไม่อยู่ก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย บริกรรมให้จิตมันอยู่ในคำบริกรรมนั้น เพื่อจะจับมันให้ได้

บางคนถึงจะภาวนาพุทโธ หรืออานาปานสติ ตัวจิตมันก็ไม่อยู่ในพุทโธ จิตมันไปไหนก็ไม่ทราบแม้แต่พุทโธก็หายไปด้วยกัน นี่คือขาดสติแล้ว จงตั้งสติคุมจิตให้อยู่ในพุทโธใหม่ ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยไป ทำบ่อยเข้าจิตก็อยู่เอง เมื่อสติคุมจิตมาอยู่ในคำบริกรรมว่า พุทโธ ๆ อันเดียวแล้ว

ให้พิจารณาดูว่าใครเป็นผู้ว่าพุทโธ ก็จิตนั่นแหละเป็นผู้ว่า พุทโธเกิดจากอะไร ก็เกิดจากจิต ผู้คิด ผู้นึก ผู้รู้สึก จึงว่าจิตมันมาอยู่กับพุทโธแล้วคราวนี้ อย่าไปจับเอาพุทโธ จับเอาที่ความรู้สึกนั่นน่ะ อันที่นึกคิดว่าพุทโธ พอจับจิตได้แล้ว คำบริกรรมว่าพุทโธ ก็จะหายไปหมด หรือถ้าไม่หายก็จงวางเสีย จับเอาแต่ผู้รู้ หรือ ธาตุรู้ อันเดียว

เราจะไปดูแต่รูปนามเกิด ดับ อยู่ จิตจะไม่รวม เวลาจิตจะรวมแล้ว รูปนามหรือเกิดดับ จะไม่มี ถ้ายังมีอยู่ จิตก็ไม่รวม จิตมันอยู่ที่ ใจ มันเกิดขึ้นมา แล้วดับไป เกิดขึ้นมา ดับไป มันอยู่เฉพาะใจอย่างเดียว จะไปเอาอะไรที่ปลายเท้า จิตใจ มันอันเดียว พอนึกว่าพุทโธเท่านั้น มันก็เข้ามาอยู่กับความนึก ความรู้สึกว่าพุทโธหรือ อานาปานสติ มันเข้ามาอยู่ในที่นั้นเลย จิตดูเหมือนมีมากดวง เพราะจิตมันเร็วที่สุด จนจับไม่ได้ทัน แต่ถ้าจับได้แล้ว จิตนี้มันช้า ไม่เร็วหรอก พูดไปมันยากเหมือนกัน จิตมันของไม่มีตัว ไม่มีตน มีแต่ความรู้สึก ผู้รู้สึกมีอยู่มันมีตัวมีตนตรงนั้นแหละ ความรู้สึกนี่เห็นชัดขึ้นมาก็กลายเป็นตัวขึ้นมาทีเดียว ถ้าฝึกภาวนา นึกถึงพุทโธหรืออานาปานสติอยู่บ่อย ๆ นาน ๆ เข้าจิตจะค่อยเพลาลง อ่อนลง เย็นลง สงบ เยือกเย็น มันจะเข้าถึงใจละคราวนี้

ความคิด ความนึก ความปรุง ความแต่ง สารพัด ทุกอย่างเป็นจิต ผู้ที่นึกคำบริกรรมอยู่ก็เป็นจิต ครั้นผู้นั้นไม่คิดไม่นึกเสียแล้ว มีแต่ความรู้สึกเฉย ๆ อยู่ เรียกว่า ใจ จิตกับใจ มันต่างกันอย่างนี้

บางคนก็เข้าใจ เอาจิตมาเป็นใจ ที่จริงท่านก็พูดเหมือนกันว่า จิตอันใด ใจอันนั้น ใจอันใด จิตอันนั้น แต่ทำไมจึงพูดสองคำ มันต้องมีแปลกกันน่ะซี มันมีที่แตกต่างกันอยู่เท่านี้แหละ เหมือนเราทำน้ำแข็ง ก็น้ำธรรมดา ๆนี่แหละ ถูกความเย็นเข้าจนแข็ง เขาก็เรียกว่าน้ำแข็ง มันก็น้ำอันเดียวกันนั่นแหละ เหตุนั้นจึงว่า จับจิตตัวนั้นให้ได้เสียก่อนอย่าเพิ่งเอา ใจ เลย

พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์
แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ. ศรีเชียงใหม่ จ. หนองคาย
วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ. ศ. ๒๕๒๕

http://agaligohome.com/index.php?topic=4546.msg12016#msg12016


บริกรรม เป็นเรื่องของ กาย ภาวนา เป็นเรื่องของ ใจ

บริกรรม พุทโธ ด้วยความเข้าใจ จึงถึงพร้อมด้วย สติ สมาธิ ปัญญา

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


Hana เขียน:
อิริยาบถ เป็นเรื่องของ กาย
ภาวนา เป็นเรื่องของ ใจ นะเจ้าข๊ะ

แม้จะอยู่ใน อิริยาบถ ใดก็ ภาวนา ได้ตลอดเวลา
ไม่จำกัด ท่าใดท่าหนึ่ง จะ ห้อยหัว ตีลังกา ก็ ภาวนา ได้เหมือนกัน

ถ้าเริ่มต้นด้วยการ ไหล ไปกับความ ตั้งใจ
นั่นก็ ไม่รู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ เสียแล้ว

"เริ่มต้นด้วยความตั้งใจว่าจะเอาสติ ปัญญามาตั้งรู้"
นั่นก็คือ คิดนึก ไปโดย ไม่รู้ตัว เสียแล้ว

การ ภาวนา เป็นเรื่องของ ใจ
ถ้ายังไม่รู้จัก ใจ การปฏิบัตินั้น ก็ยัง ไม่ใช่ ภาวนา

หา ใจ ให้เจอเสียก่อน นะเจ้าข๊ะ

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

:b10:
[b]อนัตตาธรรม........
ขอบคุณและอนุโมทนากับคุณ ฮานะ ที่มาร่วมแจมแสดงความเห็น ใครชอบสำนวนธรรมแบบคุณฮานะก็เชิญนะครับ

ในกระทู้นี้เราจะมาทำความละเอียดเจาะลึกกันลงไปในเรื่องของปัจจุบันอารมณ์ หากคุณฮานะ มีประสบการณ์เรื่องปัจจุบันอารมณ์ดีๆก็เอามาคุยกันนะครับ

ส่วนเรื่องการภาวนาพุทโธ พุทโธ ใจรู้ พุทโธ รู้ใจ ทั้งหลายนี่เราสนทนากันมานานแสนนาน เต็มเกลื่อนลานธรรมจักรและลานธรรมอื่นๆแล้วครับ

เรื่องของ จิต กับ ใจก็ถกเถียงกันมานานแล้วนะครับ

จิต เป็น นามธรรม
ใจเป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ถ้าเป็นรูปธรรมหมายถึง หทัยวัตถุ ถ้าเป็นนามธรรมก็เป็นภาษานิยมที่เรียกชื่อของจิตอีกชื่อหนึ่งเท่านั้นเอง

ในปรมัตถธรรมพระพุทธเจ้าทรงสรุปไว้แล้วว่า มี จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน 4 อย่างเท่านี้

บัญญัติ ชี้ ปรมัตถ์ การจะเริ่มต้นภาคปฏิบัติ เบื้องแรกก็ต้องใช้บัญญัติ ความรู้ที่เรียนมา นำเสียก่อน

อย่างเช่นการบอกว่า ให้ตั้งสติ ตั้งปัญญาขึ้นมาเฝ้ารู้และสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ นี่เป็นหลักที่เกาะยึดไว้เป็นเบื้องต้นเพื่อทำให้การปฏิบัติเดินไปได้ จนถึง ปรมัตถ์

ยึดหลักเพื่อจะทำให้ไปถึงความหมดสิ้นหลักและวิธีการหรือความไร้รูปแบบในที่สุด[/b]


คงต้องแวะข้างทาง สนทนากับคุณ ฮานะกันสักนิดหน่อยแล้วค่อยกลับมาเจาะลึกเรื่องปัจจุบันอารมณ์ต่อไปนะครับ มิตรสหายผู้ใฝ่ใจในธรรมทุกๆท่าน

เจริญสุข เจริญธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b10:
[b]อนัตตาธรรม........
ขอบคุณและอนุโมทนากับคุณ ฮานะ ที่มาร่วมแจมแสดงความเห็น ใครชอบสำนวนธรรมแบบคุณฮานะก็เชิญนะครับ

ในกระทู้นี้เราจะมาทำความละเอียดเจาะลึกกันลงไปในเรื่องของปัจจุบันอารมณ์ หากคุณฮานะ มีประสบการณ์เรื่องปัจจุบันอารมณ์ดีๆก็เอามาคุยกันนะครับ

ส่วนเรื่องการภาวนาพุทโธ พุทโธ ใจรู้ พุทโธ รู้ใจ ทั้งหลายนี่เราสนทนากันมานานแสนนาน เต็มเกลื่อนลานธรรมจักรและลานธรรมอื่นๆแล้วครับ

เรื่องของ จิต กับ ใจก็ถกเถียงกันมานานแล้วนะครับ

จิต เป็น นามธรรม
ใจเป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ถ้าเป็นรูปธรรมหมายถึง หทัยวัตถุ ถ้าเป็นนามธรรมก็เป็นภาษานิยมที่เรียกชื่อของจิตอีกชื่อหนึ่งเท่านั้นเอง

ในปรมัตถธรรมพระพุทธเจ้าทรงสรุปไว้แล้วว่า มี จิต เจตสิก รูป และ นิพพาน 4 อย่างเท่านี้

บัญญัติ ชี้ ปรมัตถ์ การจะเริ่มต้นภาคปฏิบัติ เบื้องแรกก็ต้องใช้บัญญัติ ความรู้ที่เรียนมา นำเสียก่อน

อย่างเช่นการบอกว่า ให้ตั้งสติ ตั้งปัญญาขึ้นมาเฝ้ารู้และสังเกต ปัจจุบันอารมณ์ นี่เป็นหลักที่เกาะยึดไว้เป็นเบื้องต้นเพื่อทำให้การปฏิบัติเดินไปได้ จนถึง ปรมัตถ์

ยึดหลักเพื่อจะทำให้ไปถึงความหมดสิ้นหลักและวิธีการหรือความไร้รูปแบบในที่สุด[/b]


คงต้องแวะข้างทาง สนทนากับคุณ ฮานะกันสักนิดหน่อยแล้วค่อยกลับมาเจาะลึกเรื่องปัจจุบันอารมณ์ต่อไปนะครับ มิตรสหายผู้ใฝ่ใจในธรรมทุกๆท่าน

เจริญสุข เจริญธรรมครับ


:b13: ฮานะ อธิบาย สติ ปัจจุบัน ให้ ชัดๆ แล้วนะเจ้าข๊ะ

การภาวนา พุทโธ ด้วยความเข้าใจ นั่นแหละ เป็น มหาสติปัฏฐาน

แต่ เห็นได้ชัดว่า ท่านอนัตตาธรรม ยังไม่สามารถจะ เข้าใจ ได้
จึงต้อง หลับหูหลับตา้ เจาะลึก ต่อไป ตามยถากรรม

ยังไง ฮานะ ก็ อนุโมทนา ขะ :b8:

rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 13:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:

เรื่องของ จิต กับ ใจก็ถกเถียงกันมานานแล้วนะครับ

จิต เป็น นามธรรม
ใจเป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ถ้าเป็นรูปธรรมหมายถึง หทัยวัตถุ ถ้าเป็นนามธรรมก็เป็นภาษานิยมที่เรียกชื่อของจิตอีกชื่อหนึ่งเท่านั้นเอง



:b6: ท่านอนัตตาธรรม เจ้าข๊ะ

เห็นได้ชัดว่า แม้ท่านจะได้ ถกเถียงเรื่องของจิตกับใจ มาเป็นเวลานานแล้ว
แต่ ท่านอนัตตาธรรม ก็ยังไม่มีความ เข้าใจ ในเรื่องนี้ เลยแม้แต่นิดเดียว

การอธิบาย เรื่อง จิต กับ ใจ ของท่านอนัตตาธรรม เช่นนี้
ก็แสดงให้เห็นได้อย่าง ชัดเจน แล้วว่า ท่านรู้จักเพียงแค่ เจตสิก
แต่กลับคิดเอาเอง เข้าใจเอาเองว่า เจตสิก นั้นคือ จิต

:b13: ปล่อยไก่ออกมา ตัวเบ้อเริ่มขนาดนี้
ถ้าเป็น ฮานะ คงอับอาย แทบแทรก แผ่นดินหนี เลยละเจ้าข่ะ :b32:

ละวางความ เชื่อมั่น ผิดๆ ของท่านเอง แล้วไปศึกษา ปฏิบัติ ใหม่เถอะ นะเจ้าข๊ะ
ตำราอภิธรรม หรือ คำสอนคณาจารย์ ที่รู้จัก จิต ใจ อย่างถ่องแท้ ได้ถ่ายทอดไว้ก็มีอยู่ ไม่น้อย

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2011, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขอบพระคุณในการวิตกวิจารณ์ของท่าน ฮานะ นะครับ

เรามาศึกษาเรื่องปัจจุบันอารมณ์กันต่อไปนะครับ

ก่อนจะสนทนากันต่อไป ท่านที่อยากจะเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องปัจจุบันอารมณ์ ให้ลองทำอุปกรณ์ช่วยฝึกขึ้นมาด้วยตัวเองสักชิ้นหนึ่งนะครับ

หากระดาษแข็งขนาดประมาณ 50 X 50 เซนติเมตร มาเจาะรูตรงกลางขนาดประมาณเท่าเหรียญ 10 เสร็จแล้ว เอามาใช้ในการทดลอง

การทดลอง ให้ท่านไปนั่งแถวข้างทางหลวงที่มีรถวิ่งผ่านเยอะๆ หรือริมแม่น้ำที่มีเรือหรือของไหลผ่านเยอะๆ
ยกกระดาษที่เจาะรูไว้แล้วบังหน้าของท่านให้รูที่เจาะอยู่ในระดับสายตา แล้วให้สนใจมองดู รับรู้เฉพาะสิ่งที่ผ่านมาให้เห็นที่รูที่เจาะ
ลองสังเกตดูสักระยะหนึ่งท่านจะเห็นความผ่านมาผ่านไปของรูปต่างๆ ซึ่ง จะเกิดขึ้นให้เห็นแล้วผ่านไป ดับไป อยู่ตลอดเวลา
ตอนที่ไม่มีอะไรเคลื่อนที่ผ่าน ก็จะรู้อยู่ที่รูเท่าเหรียญ 10 บาทอยู่เฉยๆ

หลังจากนั้นให้ลองนึกเปรียบเทียบดูกับการรับรู้อารมณ์ต่างๆของสติและปัญญา ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ จะคล้ายกันมาก ความเข้าใจคำว่าปัจจุบันอารมณ์ อดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ จะซึ้งขึ้นมาในใจของท่าน

ทำการบ้านกันดูแล้วมาสนทนากันต่อ ภายหลัง ดีไหมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 13:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8: ขอบพระคุณในการวิตกวิจารณ์ของท่าน ฮานะ นะครับ

เรามาศึกษาเรื่องปัจจุบันอารมณ์กันต่อไปนะครับ

ก่อนจะสนทนากันต่อไป ท่านที่อยากจะเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องปัจจุบันอารมณ์ ให้ลองทำอุปกรณ์ช่วยฝึกขึ้นมาด้วยตัวเองสักชิ้นหนึ่งนะครับ

หากระดาษแข็งขนาดประมาณ 50 X 50 เซนติเมตร มาเจาะรูตรงกลางขนาดประมาณเท่าเหรียญ 10 เสร็จแล้ว เอามาใช้ในการทดลอง

การทดลอง ให้ท่านไปนั่งแถวข้างทางหลวงที่มีรถวิ่งผ่านเยอะๆ หรือริมแม่น้ำที่มีเรือหรือของไหลผ่านเยอะๆ
ยกกระดาษที่เจาะรูไว้แล้วบังหน้าของท่านให้รูที่เจาะอยู่ในระดับสายตา แล้วให้สนใจมองดู รับรู้เฉพาะสิ่งที่ผ่านมาให้เห็นที่รูที่เจาะ
ลองสังเกตดูสักระยะหนึ่งท่านจะเห็นความผ่านมาผ่านไปของรูปต่างๆ ซึ่ง จะเกิดขึ้นให้เห็นแล้วผ่านไป ดับไป อยู่ตลอดเวลา
ตอนที่ไม่มีอะไรเคลื่อนที่ผ่าน ก็จะรู้อยู่ที่รูเท่าเหรียญ 10 บาทอยู่เฉยๆ

หลังจากนั้นให้ลองนึกเปรียบเทียบดูกับการรับรู้อารมณ์ต่างๆของสติและปัญญา ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ จะคล้ายกันมาก ความเข้าใจคำว่าปัจจุบันอารมณ์ อดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ จะซึ้งขึ้นมาในใจของท่าน

ทำการบ้านกันดูแล้วมาสนทนากันต่อ ภายหลัง ดีไหมครับ


:b12: ฮ๊าฮา ตอนที่ อยากจะเข้าใจ เกิดขึ้น รู้ทันไหม ?
ตอนที่ คิดหาวิธีฝึก เกิดขึ้น รู้ทันไหม ?

นั่นแหละ ปัจจุบันอารมณ์ ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ที่เห็นๆ ได้ ด้วย ใจ
โดยไม่ต้อง อาศัย อุปกรณ์ภายนอก อะไรเลย ละเจ้าข่ะ

:b13: จิตส่งออกนอก เป็น สมุทัย นะเจ้าข๊ะ

จะรู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ ได้ก็ต้องหา ใจ ให้เจอเสียก่อน
เมื่อรู้จัก ใจ หรือ ฐาน ที่แท้จริงแล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่ ฐานจิต นั้น
อะไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็รู้ได้ ด้วย ใจ นี่แหละ เจ้าข่ะ

การ เปรียบเทียบ นั่นก็เป็น วิตกวิจารณ์ ไปแล้ว โดย ไม่รู้สึกตัว เสียด้วย นะเจ้าข๊ะ
เรียกง่ายๆ ว่า ขาดสติ จึงไม่รู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ เอาเสียเลย
มีแต่ไหลไปตาม อารมณ์ ความคิด ความนึก ความรู้สึก ต่างๆ นา นา

เจาะลึก ไปตาม ยถากรรม เข้าถ้ำถลำลึก ไปเรื่อยๆ โดย ไม่รู้ตัว
ไม่ต่างอะไร กับ ผู้ไม่ปฏิบัติ เลย :b13: :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 13:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


:b22: ฮานะ ว่าแทนที่จะเจาะ กระดาษ ไปเจาะ ห้องน้ำ หรือ ฝาหอพัก เจ๋งกว่า นะเจ้าข๊ะ

จะได้ เห็น อารมณ์ กันชัดๆ :b22: :b13:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 20:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ ท่านอนัตตาธรรมกล่าวถูกต้อง :b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขอบคุณและอนุโมทนากับคุณ ขณะจิต ที่เข้าใจข้อธรรมครับ

สำหรับคุณฮานะ ตามข้อความที่ยกมาต่อไปนี้
จะรู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ ได้ก็ต้องหา ใจ ให้เจอเสียก่อน
เมื่อรู้จัก ใจ หรือ ฐาน ที่แท้จริงแล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่ ฐานจิต นั้น
อะไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็รู้ได้ ด้วย ใจ นี่แหละ เจ้าข่ะ

อนัตตาธรรม.........
หาใจให้เจอ
รู้ที่ใจ
เป็นมรรคข้อใดในมรรคทั้ง 8 ข้อ หรือเป็นวิธีที่คุณฮานะคิดขึ้นมาเองครับ
มีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ตรงไหนว่าต้องหาใจให้เจอก่อน กรุณายกมาชี้แนะด้วยครับ

ส่วนเรื่องปัจจุบันอารมณ์นั้น ผมมีที่มาจาก ภัทเทกรัตคาถา ดังยกมาให้ได้อ่านทบทวนกันดังต่อไปนี้ครับ


ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด
อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ
มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"
Onion_L
กระทู้นี้กำลังจะพยายามนำประเด็นสำคัญของภัทเทกรัตคาถา มาแจกแจง สู่กันฟัง
แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง หวังว่าคุณฮานะจะได้มาอนุโมทนาตามและช่วยเสริมให้เป็นไปตามประเด็น
ไม่ใช่เอาวิธีหรือเรื่องใหม่มาขยายความแทรกนะครับ

เรื่องการหาใจให้เจอ เสียก่อนนั้น คุณฮานะจะกรุณาตั้งเป็นกระทู้ใหม่อีก 1 กระทู้แล้วว่ากันให้ละเอียดถี่ถ้วนไปเลย อาจเป็นการเพิ่มทางเลือกสำหรับการปฏิบัติธรรมให้แก่กัลยาณมิตรที่สนใจได้อีกวิธีหนึ่ง
จะได้บุญกุศลเยอะนะครับ

สำหรับเรื่องปัจจุบันอารมณ์ขอให้อดทนอ่านและศึกษาไปอีกสักพัก คงจะจับประเด็นเพื่อการปฏิบัติจริงออกมาใช้ประโยชน์ได้นะครับ

:b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 22:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8:
จากแบบฝึกหัดเฝ้าดูและสังเกตที่ รูกระดาษขนาดเท่าเหรียญ 10 บาทนั้น ถ้ามีสติกำหนดรู้และจิตตั้งมั่นอยู่กับการ ดู รู้ และ สังเกต สิ่งต่างๆที่เคลื่อนที่ผ่าน รู เท่าเหรียญ 10 นั้นตลอดเวลา ไม่ไปสนใจรับรู้สิ่งอื่นๆ มันจะมีลักษณะคล้ายการเจริญสมถะภาวนา แต่เป็นการไป นิ่งรู้ อยู่กับสิ่งที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันอารมณ์ก็เป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ความที่สติและปัญญาไป นิงรู้ นิ่งสังเกต อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา

อารมณ์สมถะภาวนานั้น คือการเอาสติไปกำหนดรู้ หรือ นิ่งอยู่ กับสิ่งที่ นิ่ง หรือซ้ำ ๆ อยู่นานๆ เช่นการเพ่งกสิณ ดิน น้ำ แส่งสว่าง ความว่าง สีเขียว สีแดง การเพ่งอสุภะ ต่างๆ 10 อย่าง ซึ่งเป็นของนิ่ง
ถ้าเป็นสิ่งที่ซ้ำ ๆ กันอยู่ตลอดเวลา ก็เช่น คำบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ธัมโม ๆ ๆ ๆ ลมหายใจ ที่ เข้า ออก ๆ ๆ ความพัดไหวของลม ความสะบัดพลิ้วของเปลวไฟ

แบบฝึกหัด สติ ให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์วิธีที่ 2 คือการเดินจงกรม โดยเอาสติไปกำหนดรู้ไว้ที่ฝ่าเท้า โดยให้รู้ทันการกระทบหรือการพ้นพื้นของฝ่าเท้า
ถ้ารู้ ก่อน การกระทบหรือพ้นพื้น เป็นอนาคตอารมณ์ ถ้ารู้หลังการกระทบหรือพ้นพื้น เป็นอดีตอารมณ์ ถ้ารู้พร้อมการกระทบหรือพ้นพื้น เป็น ปัจจุบันอารมณ์

ลองฝึกหัดดูนะครับ

เมื่อผ่านแบบฝึกหัดที่ 2 แล้ว ก็ลองลงมือภาวนาปัจจุบันอารมณ์ตามข้อแนะนำต่อไปนี้

นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง หลังตรง คอและหัวตั้งตรง หลับตา ตั้งใจ วาจะเอา สติ ปัญญา มาเฝ้าตามรู้ ตามสังเกต ที่ปัจจุบันอารมณ์
จากนั้นก็ให้นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องกำหนด หรือบริกรรมอะไร ในเวลาไม่ถึงครึ่งนาที ท่านจะได้พบว่า มีการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 เกิดขึ้น สับเปลี่ยนกันไปมาตลอดเวลา และดึงจิต คือ สติและปัญญา ไปรับรู้การสัมผัส(วิญาณ +สติ) จนเกิดเป็นความ รู้สึก(เวทนาทางกายและจิต) เกิดเป็นอารมณ์หรือธัมมารมณ์ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลา สิ่งใดที่รู้ขึ้นในจิต ชัดที่สุดในจิต แรงและดึงจิตไปรู้ได้มากที่สุด สิ่งนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ แต่ปัจจุบันอารมณ์นี้จะเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว ต้องมีความ สังเกต ให้ดีๆ จึงจะมีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ที่เปลี่ยนไป

ลำดับการเกิดของอารมณ์คือ สัมผัส(ผัสสะ).......รู้ (วิญญาณ)......รู้สึก(เวทนา)....อยาก ...ไม่อยาก... หรือเฉย .........นึกคิด(สังขาร มโนกรรม).......พูด(วจีกรรม).........ทำ(กายกรรม).......รับผล(วิบาก)

ลำดับการเกิดของอารมณ์ถ้าพิจารณาตามขันธ์ 5

รูปกายตั้งอยู่......ผัสสะ.......วิญญาณ....เวทนา.....สัญญา......สังขาร...มโนกรรม.....วจีกรรม.....กายกรรม...
วิบาก.....ส่งกลับวนไปให้เกิดผัสสะใหม่ หมุนวนไปไม่รู้จบ

แต่ตอนที่นั่งภาวนาปัจจุบันอารมณ์นั้นเราจะใช้สติหยุดอารมณ์ให้ถึงแค่ มโนกรรมและวจีกรรมที่พูดกับตัวเอง ไม่ลืมตา ไม่เปลี่ยนท่า ไม่ทำกายกรรม
ถ้ามีอารมณ์หรือความต้องการของจิตเกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม ก็ให้เกิดอยู่แค่ในจิต โดยให้มีสติรู้ทัน ปัญญารู้และสังเกตปัจจุบันอารมณ์แต่ละอารมณ์ ไปจนกว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นในกายแลจิตนั้นจะดับไปต่อหน้าต่อตา

การภาวนาปัจจุบันอารมณ์นี้ ก็คือ การทำวิปัสสนาภาวนานั่นเอง
onion


.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 23:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8: ขอบคุณและอนุโมทนากับคุณ ขณะจิต ที่เข้าใจข้อธรรมครับ

สำหรับคุณฮานะ ตามข้อความที่ยกมาต่อไปนี้
จะรู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ ได้ก็ต้องหา ใจ ให้เจอเสียก่อน
เมื่อรู้จัก ใจ หรือ ฐาน ที่แท้จริงแล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่ ฐานจิต นั้น
อะไร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ก็รู้ได้ ด้วย ใจ นี่แหละ เจ้าข่ะ

อนัตตาธรรม.........
หาใจให้เจอ
รู้ที่ใจ
เป็นมรรคข้อใดในมรรคทั้ง 8 ข้อ หรือเป็นวิธีที่คุณฮานะคิดขึ้นมาเองครับ
มีหลักฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ตรงไหนว่าต้องหาใจให้เจอก่อน กรุณายกมาชี้แนะด้วยครับ

ส่วนเรื่องปัจจุบันอารมณ์นั้น ผมมีที่มาจาก ภัทเทกรัตคาถา ดังยกมาให้ได้อ่านทบทวนกันดังต่อไปนี้ครับ


ภัทเทกรัตตคาถา
(หันทะ มะยัง ภัทเทกะรัตตะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงผู้มีราตรีเดียวเจริญเถิด
อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง
บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วด้วยอาลัย, และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง
ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง
สิ่งเป็นอดีตก็ละไปแล้ว, สิ่งเป็นอนาคตก็ยังไม่มา
ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ,
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย
ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง,
ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน, เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามากย่อมไม่มีสำหรับเรา
เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง,
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ
มุนีผู้สงบย่อมกล่าวเรียกผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น,
ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืนว่า, "ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม"
Onion_L
กระทู้นี้กำลังจะพยายามนำประเด็นสำคัญของภัทเทกรัตคาถา มาแจกแจง สู่กันฟัง
แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริง หวังว่าคุณฮานะจะได้มาอนุโมทนาตามและช่วยเสริมให้เป็นไปตามประเด็น
ไม่ใช่เอาวิธีหรือเรื่องใหม่มาขยายความแทรกนะครับ

เรื่องการหาใจให้เจอ เสียก่อนนั้น คุณฮานะจะกรุณาตั้งเป็นกระทู้ใหม่อีก 1 กระทู้แล้วว่ากันให้ละเอียดถี่ถ้วนไปเลย อาจเป็นการเพิ่มทางเลือกสำหรับการปฏิบัติธรรมให้แก่กัลยาณมิตรที่สนใจได้อีกวิธีหนึ่ง
จะได้บุญกุศลเยอะนะครับ

สำหรับเรื่องปัจจุบันอารมณ์ขอให้อดทนอ่านและศึกษาไปอีกสักพัก คงจะจับประเด็นเพื่อการปฏิบัติจริงออกมาใช้ประโยชน์ได้นะครับ

:b4:


:b13: ฮานะ ไม่ต้องไปตั้ง กระทู้ใหม่ หรอกเจ้าข่ะ
เพราะว่า มัน เป็น เรื่อง เดียวกัน อยู่แล้ว นะเจ้าข๊ะ

เพียงแต่ ท่านอนัตตาธรรม ยังอ่านหนังสือไม่แตก
ปฏิบัติก็ยังไม่ฉาน จึงอ่าน ไม่เข้าใจ เอง :b13:

สัมมากัมมันตะ เรียกว่า เรียกว่า สมุฐาน เป็น มรรค เบื้องต้น

ชื่อว่า มนสิการ เพราะอรรถว่าเป็น สมุฏฐาน แห่ง อริยมรรค
ถ้าอยากเข้าใจ ว่าเบื้องต้น ที่จะเข้าสู่อริยมรรค ต้องหาใจให้ได้ก่อนอย่างไร

ก็ไปหาอ่าน เอานะเจ้าข๊ะ

มนสิการสูตร อันเป็นสมุฐานเบื้องต้น ของการปฎิบัติ ที่ พึงกระทำ ไว้ใน ใจ

เพราะฉะนั้นจึงต้อง หาใจให้เจอ เสียก่อน จึงจะรู้ทัน ปัจจุบันอารมณ์ นะเจ้าข๊ะ

ถ้าไม่รู้จัก ใจ ซึ่งเป็นแค่สมุฐาน ที่จะ เรื่มหัดปฎิบัติ แค่เบื้องต้น ก็ ล้มเหลว ซะแล้วละ เจ้าข่ะ
Onion_R

:b8: แต่ยังไง ฮานะ ก็ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 23:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


ขณะจิต เขียน:
สาธุ สาธุ สาธุ ท่านอนัตตาธรรมกล่าวถูกต้อง :b8: :b8: :b8:


:b4: ฮ๊าฮานะ ท่านขณะจิต ยังอ่านหนังสือ หลวงพ่อเทียน ไม่แตก
ปฏิบัติตาม ก็ยังไม่ฉาน เลยนะ เจ้าข๊ะ
จึงได้กล่าวว่า ท่านอนัตตาธรรมกล่าวถูกต้อง แล้ว

บุรุษกระจอก ย่อมอาศัยรูกระดาษ เพื่อเพ่งหา ปัจจุบันอารมณ์ :b22:

Quote Tipitaka:
บุรุษกระจอกนั้น ย่อมอาศัยปฐวีธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอาโปธาตุเพ่งบ้าง ย่อม
อาศัยเตโชธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวาโยธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากาสานัญจายตนะ
เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่งบ้าง
ย่อมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง ย่อมอาศัย
โลกหน้าเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้
แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ เพ่งบ้าง ดูกรสันธะ
การเพ่งของบุรุษกระจอกย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


Quote Tipitaka:
ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งอยู่อย่างนี้แล จึงไม่อาศัยปฐวี
ธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ไม่อาศัยวาโยธาตุเพ่ง
ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยอากิญ-
*จัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่
อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรม
ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง
ดูกรสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษ
อาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน
ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง
ของท่าน ฯ

อเสขสูตร


ใคร เชื่อตาม ปฏิบัติตาม บุรุษกระจอก อาศัยเพ่งรูกระดาษ อย่าง ท่านอนัตตาธรรม
ก็ได้รับ การยืนยัน จาก พระพุทธองค์ ชัดเจนแล้ว นะเจ้าข๊ะ :b13:

:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2011, 23:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8:
จากแบบฝึกหัดเฝ้าดูและสังเกตที่ รูกระดาษขนาดเท่าเหรียญ 10 บาทนั้น ถ้ามีสติกำหนดรู้และจิตตั้งมั่นอยู่กับการ ดู รู้ และ สังเกต สิ่งต่างๆที่เคลื่อนที่ผ่าน รู เท่าเหรียญ 10 นั้นตลอดเวลา ไม่ไปสนใจรับรู้สิ่งอื่นๆ มันจะมีลักษณะคล้ายการเจริญสมถะภาวนา แต่เป็นการไป นิ่งรู้ อยู่กับสิ่งที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันอารมณ์ก็เป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ความที่สติและปัญญาไป นิงรู้ นิ่งสังเกต อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาภาวนา

อารมณ์สมถะภาวนานั้น คือการเอาสติไปกำหนดรู้ หรือ นิ่งอยู่ กับสิ่งที่ นิ่ง หรือซ้ำ ๆ อยู่นานๆ เช่นการเพ่งกสิณ ดิน น้ำ แส่งสว่าง ความว่าง สีเขียว สีแดง การเพ่งอสุภะ ต่างๆ 10 อย่าง ซึ่งเป็นของนิ่ง
ถ้าเป็นสิ่งที่ซ้ำ ๆ กันอยู่ตลอดเวลา ก็เช่น คำบริกรรม พุทโธ ๆ ๆ ๆ ๆ ธัมโม ๆ ๆ ๆ ลมหายใจ ที่ เข้า ออก ๆ ๆ ความพัดไหวของลม ความสะบัดพลิ้วของเปลวไฟ

แบบฝึกหัด สติ ให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์วิธีที่ 2 คือการเดินจงกรม โดยเอาสติไปกำหนดรู้ไว้ที่ฝ่าเท้า โดยให้รู้ทันการกระทบหรือการพ้นพื้นของฝ่าเท้า
ถ้ารู้ ก่อน การกระทบหรือพ้นพื้น เป็นอนาคตอารมณ์ ถ้ารู้หลังการกระทบหรือพ้นพื้น เป็นอดีตอารมณ์ ถ้ารู้พร้อมการกระทบหรือพ้นพื้น เป็น ปัจจุบันอารมณ์

ลองฝึกหัดดูนะครับ

เมื่อผ่านแบบฝึกหัดที่ 2 แล้ว ก็ลองลงมือภาวนาปัจจุบันอารมณ์ตามข้อแนะนำต่อไปนี้

นั่งขัดสมาธิ ตัวตรง หลังตรง คอและหัวตั้งตรง หลับตา ตั้งใจ วาจะเอา สติ ปัญญา มาเฝ้าตามรู้ ตามสังเกต ที่ปัจจุบันอารมณ์
จากนั้นก็ให้นั่งนิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องกำหนด หรือบริกรรมอะไร ในเวลาไม่ถึงครึ่งนาที ท่านจะได้พบว่า มีการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 เกิดขึ้น สับเปลี่ยนกันไปมาตลอดเวลา และดึงจิต คือ สติและปัญญา ไปรับรู้การสัมผัส(วิญาณ +สติ) จนเกิดเป็นความ รู้สึก(เวทนาทางกายและจิต) เกิดเป็นอารมณ์หรือธัมมารมณ์ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ตลอดเวลา สิ่งใดที่รู้ขึ้นในจิต ชัดที่สุดในจิต แรงและดึงจิตไปรู้ได้มากที่สุด สิ่งนั้นเป็นปัจจุบันอารมณ์ แต่ปัจจุบันอารมณ์นี้จะเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว ต้องมีความ สังเกต ให้ดีๆ จึงจะมีสติรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ที่เปลี่ยนไป

ลำดับการเกิดของอารมณ์คือ สัมผัส(ผัสสะ).......รู้ (วิญญาณ)......รู้สึก(เวทนา)....อยาก ...ไม่อยาก... หรือเฉย .........นึกคิด(สังขาร มโนกรรม).......พูด(วจีกรรม).........ทำ(กายกรรม).......รับผล(วิบาก)

ลำดับการเกิดของอารมณ์ถ้าพิจารณาตามขันธ์ 5

รูปกายตั้งอยู่......ผัสสะ.......วิญญาณ....เวทนา.....สัญญา......สังขาร...มโนกรรม.....วจีกรรม.....กายกรรม...
วิบาก.....ส่งกลับวนไปให้เกิดผัสสะใหม่ หมุนวนไปไม่รู้จบ

แต่ตอนที่นั่งภาวนาปัจจุบันอารมณ์นั้นเราจะใช้สติหยุดอารมณ์ให้ถึงแค่ มโนกรรมและวจีกรรมที่พูดกับตัวเอง ไม่ลืมตา ไม่เปลี่ยนท่า ไม่ทำกายกรรม
ถ้ามีอารมณ์หรือความต้องการของจิตเกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใดก็ตาม ก็ให้เกิดอยู่แค่ในจิต โดยให้มีสติรู้ทัน ปัญญารู้และสังเกตปัจจุบันอารมณ์แต่ละอารมณ์ ไปจนกว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้นในกายแลจิตนั้นจะดับไปต่อหน้าต่อตา

การภาวนาปัจจุบันอารมณ์นี้ ก็คือ การทำวิปัสสนาภาวนานั่นเอง
onion


.


:b12: ฮานะ วิธีการเหล่านี้ เป็นเพียง จิตส่งออก อันเป็น สมุทัย เท่านั้นเอง ละเจ้าข่ะ
ไม่ใช่ การทำวิปัสนาภาวนา ตามที่ บุรุษกระจอก นำมา อวดอ้าง แต่อย่างใด Onion_R

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 126 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร