วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: เวลาอ่านประวัติของครูอาจารย์ท่านพูดถึงการปฏิบัติของท่านว่า
"ปฏิบัติยาก รู้เร็ว" หรือ ปฏิบัติง่าย จิตเรียบๆ
หมายถึงอะไรหรือคะ รบกวนพี่ๆ ขยายความให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ
ขอบคุณค่ะ

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านคงอยากให้เรามีความเพียร มั้งครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑ ทุกขาปฏิปทาขิปปา-
*ภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก
แต่รู้ได้ช้า ๑ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑ ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ


[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทา
ทันธาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทา
ทันธาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า
ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นคนมี
โมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕
ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า เพราะ
อินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ โดยปรกติเป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ
เนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่
โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิด
แต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์
ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา
ขิปปาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่
ราคะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส
อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์
โทมนัสอันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์
ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความ
สิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคน
ในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นผู้มีราคะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ
เนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโทสะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่
โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอัน
เกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะ
ได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ


[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ๔ ประการ
เป็นไฉน คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน เธอเข้าไปอาศัยธรรมอันเป็นกำลัง
ของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน
เธอได้บรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ... แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ
เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ
และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ
บริสุทธิ์อยู่ เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา
หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ
ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า
เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา-
*ทันธาภิญญา ฯ



ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ
๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุ
คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ
------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒



ลำบากเพราะ ต้องอาศัยฌานข่ม ราคะโทสะโมหะที่หนามาก รู้แจ้งเร็วเพราะอินทรีย์ ๕ แก่กล้า

ปฏิบัติลำบาก รู้เร็ว อกุศลมูล ๓ มาก แต่อินทรีย์แก่กล้า
ปฏิบัติลำบาก รู้ช้า อกุศลมูล ๓ มาก ทั้งอินทรีย์ไม่แก่กล้า

ปฏิบัติสบาย รู้เร็ว อกุศลมูล ๓ น้อย ทั้งอินทรีย์ก็แก่กล้า
ปฏิบัติสบยย รู้ช้า อกุศลมูล ๓ น้อย แต่อินทรีย์ไม่แก่กล้า


วิปัสสนามีสมถะนำหน้า ได้ฌานจิตก่อนค่อยพิจารณาไตรลักษณ์ ไม่ค่อยฟุ้งซ่าน กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกได้โดยสะดวก จิตเดินเรียบ แต่ยังไม่เห็นรูปนาม ตั้งมั่นเป็นกลางจึงค่อยรู้สภาวะ รู้รูปนามเกิดดับพิจารณาตามความเป็นจริง

สมถะมีวิปัสสนานำหน้า พิจารณาไตรลักษณ์ก่อนค่อยได้ฌาน จิตสงบเป็นพักๆ ตามรู้ตามดู ละเป็นขณะๆ ไป เห็นสภาวะตรงๆ เลย จึงรู้เร็ว คือรู้เห็นสภาวะเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของรูปนามจริง เห็นก่อน เห็นเร็ว แต่ลำบากยาก เพราะจิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง เจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แก้ไขล่าสุดโดย นายฏีกาน้อย เมื่อ 30 มิ.ย. 2011, 13:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ กับพุทธวจนะ ที่พระคุณเจ้านำมาลงครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 30 มิ.ย. 2011, 13:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิปัสสนามีสมถะนำหน้า ได้ฌานจิตก่อนค่อยพิจารณาไตรลักษณ์ ไม่ค่อยฟุ้งซ่าน กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกได้โดยสะดวก จิตเดินเรียบ แต่ยังไม่เห็นรูปนาม ตั้งมั่นเป็นกลางจึงค่อยรู้สภาวะ รู้รูปนามเกิดดับพิจารณาตามความเป็นจริง

สมถะมีวิปัสสนานำหน้า พิจารณาไตรลักษณ์ก่อนค่อยได้ฌาน จิตสงบเป็นพักๆ ตามรู้ตามดู ละเป็นขณะๆ ไป เห็นสภาวะตรงๆ เลย จึงรู้เร็ว คือรู้เห็นสภาวะเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของรูปนามจริง เห็นก่อน เห็นเร็ว แต่ลำบากยาก เพราะจิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นกลาง เจริญพร


แล้วสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไปหล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


[๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ
ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ คือ ด้วย
ความเป็นอารมณ์ ๑ ด้วยความเป็นโคจร ๑ ด้วยความละ ๑ ด้วยความสละ ๑
ด้วยความออก ๑ ด้วยความหลีกไป ๑ ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ๑ ด้วยความ
เป็นธรรมประณีต ๑ ด้วยความหลุดพ้น ๑ ด้วยความไม่มีอาสวะ ๑ ด้วยความ
เป็นเครื่องข้าม ๑ ด้วยความไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ๑ ด้วยความว่าง
เปล่า ๑ ด้วยความเป็นธรรมมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความไม่ล่วงเกินกันและ
กัน ๑ ด้วยความเป็นคู่กัน ๑ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยอารมณ์อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มี
นิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นอารมณ์ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่าน
จึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นอารมณ์ ฯ



ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจรอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน
มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นโคจร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความเป็นโคจร ฯ


[๕๓๙] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยความละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสอัน
ประกอบด้วยอวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็น
โคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่
ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะ
และวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความละ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และขันธ์ สมาธิ คือ ความ
ที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสอันประกอบด้วย
อวิชชา และขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย
ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกัน
และกัน ด้วยความสละ เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความสละ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันด้วยความออกอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุออกจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก
กิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มี
นิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความออก เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความออก ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไปอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุหลีกไปจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ
คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีกไป
จากกิเลสอันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน
เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความหลีกไป เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลีกไป ฯ


[๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
เป็นธรรมละเอียด เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมละเอียด ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและ
วิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็น
ธรรมประณีต เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็น
คู่กัน ด้วยความเป็นธรรมประณีต ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความหลุดพ้นอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสสนาด้วยอรรถว่า
พิจารณาเห็น เป็นหลุดพ้น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุติ
เพราะสำรอกราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุติเพราะสำรอกอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะ
และวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความ
หลุดพ้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน
ด้วยความหลุดพ้น ฯ


[๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีอาสวะ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ ฯ


ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้ามอย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสอันประกอบด้วยอุทธัจจะ และจากขันธ์ สมาธิ คือ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลส
อันประกอบด้วยอวิชชา และจากขันธ์ วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น มีนิโรธ
เป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน
ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นเครื่องข้าม ฯ
---------------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ย. 2010, 20:29
โพสต์: 5112

แนวปฏิบัติ: พิจารณากาย
สิ่งที่ชื่นชอบ: มณีรัตน์,พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ร้วห่อทอง
อายุ: 39

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: พอจะเข้าใจเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้วค่ะ ขอบพระคุณท่านมากๆค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ


:b1:

.....................................................
"เกิดดับ..เกิดแล้วไม่ดับไม่มี"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ ขอบพระคุณมากครับ

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนา ด้วยความไม่มีนิมิตร อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีนิมิตรด้วยนิมิตรทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีนิมิตร เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีนิมิตร ฯ

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา วิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมไม่มีที่ตั้งด้วยที่ตั้งทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจรด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีที่ตั้ง ฯ

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า อย่างไร ฯ
เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชาวิปัสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น เป็นธรรมว่างเปล่าจากความยึดมั่นทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสนาจึงมีกิจเป็นอันเดียวกัน เป็นคู่กันไม่ล่วงเกินกันและกัน ด้วยความว่างเปล่า เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่าเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยความว่างเปล่า ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา
นั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความ
เพียรอันสมควรแก่ธรรมที่ไม่ล่วงเกินกันและอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่าเป็นที่
เสพ ๑ ฯลฯ คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้
ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วย
ความว่างเปล่าอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสนาเป็นคู่กัน ด้วยอาการ ๑๖เหล่านี้ ภิกษุเจริญ
สมถะและวิปัสนาเป็นคู่กันอย่างนี้ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาครับคุณโยม FLAME ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 20:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 21:46
โพสต์: 373

ชื่อเล่น: ฮานะ ธรรมอาสา
อายุ: 28

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ฮานะ อนุโมทนา ขะ

ปฏิบัติยาก รู้เร็ว ก็ลองเอามือไปจับท่อไอเสียร้อนๆ ดูสิเจ้าข๊ะ
ต้องใช้เวลาแค่ไหนจะรู้ว่า ร้อนยังไง :b13:

แต่ถ้าเป็น อุคฆติตัญญู แค่เห็นก็รู้แล้ว ไม่ต้องเอามือไปจับ
:b4: ไม่ต้องให้ใครมาบอกก็ รู้ ว่าไม่ควรไปยุ่งกับมัน

rolleyes :b4:

.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับท่านผู้เจริญทุกท่านครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2011, 23:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: คัดลอกพุทธวจน มาครับ

มรรควิธีที่ง่าย

ปฏิปทา 4 แบบ

ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทา 4 ประการ เหล่านี้ มีอยู่ คือ
( ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า
( ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว
( สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า
( สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว


----------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่

( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร

( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง

( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ

แต่ อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้ ยังอ่อน
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า (ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา) ปฏิบัติลำบาก รู้ได้ช้า

----------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ

( อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ )
เป็นผู้มีปกติ ตามเห็นความไม่งาม ในกาย อยู่

( อาหาเร ปฏิกฺกูลสัญญี )
เป็นผู้มีสำคัญว่าปฏิกูล ในอาหาร

( สพฺพโลเก อนภิรตสัญญี )
เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวง

( สพฺพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี )
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง

( มรณสัญญา โข ปนสฺส อชฺฌตฺตํ สูปฏฺฐิตา )
มรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่

ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ

อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้มีประมาณยิ่ง
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ( ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว

------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ

( วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ
สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

( วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ
อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

( ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ
ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

( สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา
อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ภิกษุนั้นเข้าไปอาศัยธรรม เป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ

แต่ อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ ของเธอนั้น ปรากฏว่าอ่อน คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้ ยังอ่อน
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะ ได้ช้า

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ( สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย รู้ได้ช้า

-------------------------------------------------

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ ( สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ) ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ ภิกษุ

( วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ
สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

( วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ
อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติสุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

( ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ
ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ตติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้

( สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา
อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ )
บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ภิกษุนั้น เข้าไปอาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ 5 ประการเหล่านี้อยู่ คือ
สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ

อินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้ ของเธอนั้น ปรากฏว่ามีประมาณยิ่ง คือ
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้มีประมาณยิ่ง
ภิกษุนั้น จึงบรรลุอนันตริยกิจเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า (สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา)ปฏิบัติสบาย รู้ได้เร็ว

----------------
ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล ปฏิปทา 4 ประการ.

---------------
- จตุกฺก. อํ. 21/202/163.


ขอบคุณที่มา
http://watnapp.com/read/easypath/i035/#content
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=4546.0


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร