วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 19:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2011, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๑๔
ตามที่ข้าพเจ้าได้กล่าวอรรถาธิบาย ในเรื่องของ การสำรอก ในมนุษย์ทั่วไป เพื่อขจัดเอา ทุกข์,สมุทัย ออกจากร่างกาย โดยสามารถใช้ ความคิดขจัดออก,ใช้ตามองขจัดออก,ใช้จมูกขจัดออก(กำหนดลมหายใจหรือสูดดมสิ่งที่ดี),ใช้ปากขจัดออก,หรือใช้พฤติกรรมทางร่างกายขจัดออก เมื่อบุคคลใดใด ได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก คือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง,แสงสี,โผฎฐัพพะ,ธรรมารมณ์ ด้วยอายตนะภายใน ได้แก่ หู,ตา,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ซึ่งเป็นอวัยวะต่างๆแห่ง ขันธ์ ๕ แต่ข้าพเจ้ายังไม่ได้กล่าวถึง การขจัดออกหรือสำรอกออกโดยอวัยวะอย่างหนึ่ง คือ "หู"
"หู" ของมนุษย์นั้น ในแง่ความเป็นมนุษย์โดยทั่วๆไปแล้ว อาจจะไม่รู้สึกว่าสามารถขจัดได้ เพราะหูเป็นอวัยวะที่แปลกกว่าอวัยวะที่รับสัมผัสจากอายตนะภายนอกอื่นๆ เพราะหู เป็นอวัยวะที่ทุกคนคงรับรู้ว่า รับสัมผัสเพียงอย่างเดียว ได้ยินหรือไม่ขึ้นอยู่กับอวัยวะส่วนประกอบภายในหู รวมถึงน้ำในอวัยวะส่วนในหูเหล่านั้นด้วย ถ้าหากอวัยวะภายในหู ครบถ้วนไม่บกพร่องก็ย่อมสามารถรับคลื่นเสียงได้ แต่การที่สามารถจำแนกหรือจดจำ หรือได้ยินเสียงนั้น จะขึ้นอยู่กับระบบเส้นประสาทที่เชื่อมโยงไปสู่สมองและหัวใจอีกทีหนึ่ง จะได้ยินแล้วเกิดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็ขึ้นอยู่กับความจำที่ได้รับการขัดเกลาจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังรวมไปถึง สภาพสภาวะจิตใจอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ๒ อย่างคือ พรหมวิหารสี่ และ อิทธิบาทสี่ มนุษย์ทั่วไปบางคนอาจจะสามารถขจัดคลื่นเสียงที่จะเข้ามาอันทำให้เกิดความคิดหรือสภาพอารมณ์ที่เป็นทุกข์,สมุทัยได้ ก่อนที่คลื่นเสียงเหล่านั้นจะเข้าไปสู่สมองและหัวใจ แต่ส่วนใหญ่อาจจะทำไม่ได้ แต่มนุษย์สามารถใช้หู เป็นเครื่องขจัด ทุกข์,สมุทัย ให้ออกจากความคิดและจิตใจหรือร่างกายได้ ด้วยการฟังเสียงที่ตัวเองชอบ,ด้วยการอยู่ในที่เงียบสงัดและไม่คิดสิ่งใด อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้น หู จึงเป็นส่วนที่ค่อนข้างจะพิเศษกว่าอวัยวะรับการสัมผัสอื่นๆของร่างกายมนุษย์
เมื่อท่านทั้งหลายได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ การไม่ติดอยู่ โดยการสำรอก ไปแล้ว ท่านทั้งหลายก็ควรได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ "ทุกข์ นิโรธ อริยสัจ" ต่อไปอีกว่า หากท่านทั้งหลายจะยึดถือในหลักธรรมตามพระไตรปิฎก ซึ่งได้ให้ความหมายของ "ทุกข์ นิโรธ อริยสัจ" นั้นคือ ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ,ความปล่อยวาง,ความส่งคืน,ความพ้น,ความไม่ติดอยู่ ในสิ่งที่เรียกว่า ตัณหา ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว "ตัณหา" เป็นผลที่เกิดจาก "ขันธ์๕" และเป็นผลที่เกิดจากการที่"ขันธ์๕"ทั้งหลายเหล่านั้น ได้มีการปฎิสัมพันธ์ เกี่ยวข้องสังคม เพื่อการดำรงชีวิต เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดอันเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอื่นๆ เช่น สภาพลมฟ้าอากาศ ป่าไม้ พืชผักผลไม้ รวมไปถึงสัตว์ต่างๆ ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญขึ้น ก็เพิ่มความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับ วัตถุนิยม หรือ นวัตกรรมต่างๆที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์เพื่อการใช้สอยในชีวิตประจำวัน
ดังนั้น "ตัณหา" จึงเป็นผลจากการดำรงชีวิตของมนุษย์
การดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นผลมาจาก "ขันธ์๕"
หรือ "ขันธ์๕" ทำให้เกิดการดำรงชีวิตของมนุษย์ อันเกี่ยวข้อง ปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อมด้านอื่นๆดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
จากการที่มนุษย์ต้องดำรงชีวิต เพื่อเสาะแสวงหาให้ได้มาซึ่ง ปัจจัยพื้นฐานทางสังคมอันได้แก่ "อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม,ยารักษาโรค,ที่อยู่อาศัย ย่อมเป็นผลทำให้เกิด "ชาติ,ชรา, มรณ, โสกะ,ปริเทวะ,โทมนัสส,อุปายาส, อัปปิเยหิสัมปโยค, ปิเยหิวิปปโยค, ยัมปิจฉังนลภติตัมปิ, โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ (การยึดมั่น ถือมั่นใน รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ) อีกทั้งยังก่อให้เกิดเป็นมรรคหรือหนทางทำให้เกิดผล ๔ ประการอันเป็นการยึดมั่นถือมั่น ได้แก่
๑) กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
๒) ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
๓) สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต
๔) อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน
อีกทั้งยังก่อให้เกิด "ตัณหา ๓ ประการ"คือ
๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย

จบตอนที่ ๑๔
จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๔


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร