วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 04:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




100_3941_resize_resize.JPG
100_3941_resize_resize.JPG [ 43.59 KiB | เปิดดู 7666 ครั้ง ]
:b27:
กระทู้เกี่ยวกับการเจริญ สติ สมาธิ เราได้อ่านได้ศึกษาสนทนากันมามากแล้วแล้วจะมากอยู่อย่างนี้ คู่ลาน...ไปตลอด เราลองมาต่อยอด เน้นสนทนากันเรื่องวิปัสสนาภาวนา อันเป็นวิชาและเอกลัษณ์ของพุทธศาสนากันให้มากๆเสมอกับเรื่อง สติ สมาธิ ดีไหมครับ

:b8:
วิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา เป็นวิชาที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน
เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของการ การ ดู เห็น รู้ การสังเกต พิจารณา ศึกษาเข้าไปในกายและจิตเพื่อให้เห็นความจริงจนใจยอมรับและเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
วิปัสสนาภาวนา มาจากคำว่า “วิ” + “ปัสสนา” + “ภาวนา”
วิ มาจากคำว่า “วิเศษ” สิ่งวิเศษ ที่เกิดขึ้นในกายในใจของมนุษย์นั้น ไม่สามารถเห็นหรือรู้ได้ด้วยเครื่องมืออื่นๆ นอกจากตาปัญญา ตาสติ ของมนุษย์ สิ่งวิเศษนั้นคือ ความรู้สึก นึก คิด อารมณ์ธรรมหรือ สภาวธรรมต่างที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตนั่นเอง เช่น ความสุข ทุกข์ เจ็บ สบาย ร้อน หนาว หนัก เบา แข็ง อ่อน ดีใจ เสียใจ โลภ โกรธ หลง ต่างๆ
ปัสสนา มาจากคำว่า “ทัศนา” แปลว่า ดู เห็น หรือ รู้ ในทางปฏิบัติหมายถึงตาปัญญาสัมมาทิฐินั้นเลยทีเดียว
ภาวนา แปลว่า เจริญ หรือทำให้มีขึ้น แต่คำว่าภาวนา เมื่อมาตามท้าย วิปัสสนาแล้วจะมีความหมายไปถึง การ สังเกต พิจารณา อันเป็นความหมายของตาปัญญาสัมมาสังกัปปะนั้นเอง
ดังนั้นคำว่า “วิปัสสนาภาวนา” จึงมีความหมายว่า การเฝ้า ดู เห็น รู้
และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต จนเห็นสิ่งวิเศษคือสภาวธรรมความจริงทั้งหลายที่กำลังแสดงอยู่
เมื่อเห็น รู้ และสังเกต พิจารณาอยู่กับสภาวธรรมทั้งหลายไปไม่นานก็จะได้เข้าใจถึงธรรมดาของการทำงานของกายและจิตว่า จะมีการกระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือทวารทั้ง ๖ นี้ตลอดเวลา โดยจะรู้ชัดเจนตรงปัจจุบันขณะหรือปัจจุบันอารมณ์ อารมณ์ต่างๆ จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เป็นอนิจจัง เป็นทุกขังเพราะทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา เพราะบังคับบัญชาไม่ได้
ชีวิตมีความจริงเฉพาะตรงปัจจุบันอารมณ์เท่านั้น ก่อนหรือหลังจากนั้นเป็น อนาคตและอดีตซึ่งทำอะไรแก้ไขอะไรไม่ได้เลย
การกระทำหรือกรรมต่างๆจึงสำคัญที่ปัจจุบันอารมณ์เท่านั้นทั้งยังเป็นสิ่งที่จะชี้อนาคตและอดีตของจิตหรือบุคคลผู้นั้นด้วย
วิปัสสนาภาวนาจึงมีจุดรวมของงานที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ “ปัจจุบันอารมณ์”
การทำวิปัสสนาภาวนามีคำสรุปว่า
“การเฝ้า ดู เห็น รู้ และ สังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ
ปัจจุบันอารมณ์”
ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วก็จะเห็นว่าเป็นการนำเอาปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะมาทำงานร่วมกันกับสัมมาสติ หรือเอาปัญญากับสติมาทำงานร่วมกัน
ปัญญาทำหน้าที่ ดู สังเกต สติมีหน้าที่กำกับจิตให้อยู่กับปัจจุบัน
สัมมาสมาธิเล่าอยู่ที่ใด
สมาธิ เป็นผลของการเจริญสติ เพราะถ้าสติระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์ได้ดี สมาธิเขาจะเกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ

การเจริญปัญญา สติ สมาธิ ร่วมกันอย่างนี้ก็คือการเจริญมรรคนั่นเองโดยมีสัมมาทิฐิปัญญามรรคเป็นประธานเป็นหัวหน้านำไป ถ้าสัมมาทิฐินำหน้าแล้ว มรรคที่เหลืออีก 7 ตัวเขาจะถูกดึงมาประชุมร่วมกันทำงานเองโดยธรรมชาติ
สิ่งสำคัญที่จะต้องเพิ่มเติมเข้าไปในการทำวิปัสสนาเพื่อให้เกิดความสำเร็จคือ “โยนิโสมนสิการ”อันแปลว่าความมีสติปัญญาทำงานด้วยความตั้งใจจริง
มนสิการ แปลว่า ตั้งใจ
โยนิโส แปลว่า ฉลาดแยบคายซึ่งหมายถึงการตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาทำงาน
การทำวิปัสสนาภาวนาจึงมีคำสรุปสุดท้ายไว้ว่า
วิปัสสนาภาวนา คือการตั้งใจ ตั้งสติปัญญา ขึ้นมาเฝ้าดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์
งานหลักของวิปัสสนาภาวนามีเพียงเท่านี้
สิ่งที่จะต้องรู้เสริมเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อให้การทำวิปัสสนาภาวนาเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ
๑.เริ่มต้นจากท่านั่ง สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ควรเริ่มทำวิปัสสนาภาวนาจากท่านั่งก่อน เมื่อชำนาญในการ ดู เห็น รู้ สังเกต พิจารณาแล้วจึงค่อยขยายไปทำในท่า ยืน เดิน นอน ให้ครบและทำ
วิปัสสนาภาวนาได้ในอิริยาบถทั้ง ๔ และทำได้ทุกเวลาทุกโอกาสในชีวิตประจำวัน
๒.เฉยและสงบนิ่ง ในการทำภาวนาแต่ละรอบ ให้มีสติกำหนดไว้ในใจว่า ข้าพเจ้าจะนั่งสงบนิ่งเฉยๆโดยไม่ทำงานอื่น นอกจากการเอาสติ ปัญญา มาเฝ้าตามดูตามรู้ ตามสังเกต พิจารณาเข้าไปในกายและจิต ที่ปัจจุบันอารมณ์จนตลอดรอบการภาวนา จะเป็นรอบละ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมงหรือมากกว่าก็แล้วแต่ความสามารถที่จะทำได้ จะไม่พูด จะไม่ขยับเปลี่ยนท่าหรือทำอาการใดๆ
๓.เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดี การเฝ้าดูเฝ้าสังเกตปัจจุบันอารมณ์นั้นข้าพเจ้าจะกระทำตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ดีอันอุปมาเหมือนบุรุษที่ยืนนิ่งเฉยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเฝ้าดูเฝ้าสังเกตสิ่งของต่างๆที่ไหลผ่านมาและผ่านไปในแม่น้ำ เท่านั้น โดยจะไม่กระทำการอื่นใดอีก
ถ้าทำได้ดีตามที่กำหนดใจไว้ข้างต้นนี้ท่านจะได้พบกับความก้าวหน้าในการเจริญวิปัสสนาภาวนาอย่างรวดเร็ว
ถ้าการภาวนาวิปัสสนาเป็นไปด้วยดีจะมีอะไรเกิดขึ้น
จะได้รู้ ได้เห็น กระบวนการทำงานของกายและจิต ว่า
เมื่อมีผัสสะ การกระทบของทวารทั้ง ๖ กับสิ่งที่มากระทบ จะเกิดเวทนา ความรู้สึก ตัณหาความอยากขึ้นมาแทบทุกทุกครั้งไป เป็นอารมณ์ธรรม ๑ สัมผัส ๑ อารมณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นอดีต แล้วก็เกิดผัสสะและอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ ให้ได้ ดู ได้เห็น ได้รู้ ได้สังเกต พิจารณา สืบต่อหนุนเนื่อง หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงกันไปไม่หยุดยั้ง ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลานอนหลับในตอนค่ำจิต
เข้าภวังค์หมดความรับรู้สัมผัส พอตื่นเช้าขึ้นมา มีสติ สัมปชัญญะรู้ตัว มีการรับรู้สัมผัส


ของทวารทั้ง ๖ ขึ้นมาอีก กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของจิตก็จะดำเนินการต่อไปเหมือนเช่นเคย
ถ้ารู้ทันปัจจุบันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ความสังเกต พิจารณา มีกำลัง คม ละเอียด เฉียบแหลม ก็จะได้เห็นถึงความจริงอันสำคัญว่า วันทั้งวันจะมีแต่ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของอารมณ์ เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไปมา และบังคับบัญชาไม่ได้ เป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ตลอดเวลา นี่คือปกติธรรมดาของชีวิตทุกชีวิต
ถ้าวิปัสสนาปัญญาเจริญขึ้นไปจนเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ในทุกอารมณ์จนเป็นปกติดีแล้วหลังจากนั้น ปัญญา จะสรุปตัวของเขาเองโดยธรรมชาติ โดยรู้ชัดอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายจาง ละวาง และเข้าไปสลายความเห็นผิดยึดผิดว่าเป็นอัตตา ตัวตน ทำลายมิจฉาทิฐิ อันเป็นความมืดบอดไม่รู้บดบังใจ ให้มลายหายไป เกิดความสลัดคืนความมืดมิดหรืออวิชชา และแล้วแสงสว่าง แห่งปัญญา หรือวิชชา ก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่โดยธรรม ทำให้เห็นชัดอนัตตา ดวงตาเห็นธรรมอันแท้จริงเกิดขึ้น เป็นแรงส่งให้ เกิดอนุโลมญาณ โคตรภูญาณ โสดาปัตติมรรคญาณ ผลญาณและนิพพาน ปรากฏชัดขึ้นมาในจิต จิตเสวยนิพจพาน ๒ - ๓ ขณะแล้วดับไป เมื่อคลายออกมาแล้วก็จะเกิดการปัจเวก คือพิจารณาย้อนหลังว่ามีอะไรเกิดขึ้น มีอะไรหมดสิ้นไป มีอะไรคงเหลือ ชีวิตใหม่หลังจากนั้นจะทำอย่างไร
คำตอบจะเกิดขึ้นมาเองในจิตจนหมดความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กรรม เวร วิบาก อริยสัจ ๔ มรรค ๘ อนัตตา ปฏิจจสมุปบาทเป็นอย่างไร ก็จะรู้ซึ้งขึ้นมาในจิตของเจ้าของผู้ภาวนา

อุปสรรคที่จะมากั้นขวางการทำวิปัสสนาภาวนา
๑.นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ มี
๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส
๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส
๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความหงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ
๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน
๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง
นิวรณ์ทั้ง ๕ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นในจิต ถ้าผู้ภาวนาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีจริงๆ ไม่หวั่นไหวหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้เมื่อถูกนิวรณ์อารมณ์แต่ละอย่างรบกวน นิ่งดู นิ่งสังเกต รู้ชัดตลอดสายตั้งแต่อารมณ์นั้น
เกิดขึ้น ตั้งอยู่จนดับไปต่อหน้าต่อตา นิวรณ์และอารมณ์นั้นๆจะ เบาบาจางไปเรื่อยๆ จนดับไป หรือหมดไปจากจิตใจ
นี่คือเคล็ดลับสำคัญในการขุดถอนกิเลส ตัณหา อัตตาและนิวรณ์ธรรมทั้งปวง
๒.ความยึดติดอยู่กับวิชาความรู้และรูปแบบ วิธีการเก่าๆที่เคยเชื่อถือศรัทธาหรือปฏิบัติมาก่อน
ข้อนี้ก็จะมาเป็นวิจิกิจฉานิวรณ์ในข้อ 1 นั่นแหละ แต่ต้องยกออกมาแสดงให้ชัดขึ้น การขุดถอนความติดยึดในความเห็นเช่นนี้ก็ต้องขุดถอนออกด้วยวิปัสสนาภาวนาวิปัสสนาปัญญาตามที่สรุปไว้เช่นกัน
๓.ผู้ที่ห่วงเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ขอให้สบายใจได้เลยว่า ถ้าท่านสามารถรักษาสติปัญญาให้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดีนั่นคือการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ โดยธรรมชาติ เพราะปัจจุบันอารมณ์ เป็นที่รวมแห่ง

ธรรมทั้งปวง ทั้งสติปัฏฐาน ๔ หรือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการล้วนมารวมลงที่ปัจจุบันอารมณ์ ถ้าท่านอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดี ไม่ช้าท่านจะเข้าใจและรู้ซึ้งอริยสัจ ๔ โดยสมบูรณ์
๔.ผู้ที่ห่วงเรื่องการเจริญอานาปานสติ ก็สบายใจได้เลยเพราะตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติ ลมหายใจเขาจะมาเป็นปัจจุบันอารมณ์ปรากฏให้ต้องรู้ ต้องสังเกต พิจารณาสลับกับอารมณ์อื่นๆ อยู่ตลอดทางและที่สุดเมื่อความนึกคิดฟุ้งซ่านระงับไปนิวรณ์ทั้ง ๕ สงบรำงับลงไปแล้ว ท่านก็จะได้ลมหายใจนี่แหละเป็นอารมณ์ที่เด่นชัดสุดท้ายก่อนที่จิตจะเข้าถึงความสงบระดับฌาน

การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำวิปัสสนาภาวนา
ผู้ที่ประสงค์จะเจริญวิปัสสนาภาวนาจะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าดังต่อไปนี้
๑.ตรวจสอบชำระศีล และอธิษฐานศีล จะเป็นศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ก็ได้ สำหรับอุบาสก อุบาสิกา
๒.ตรวจสอบความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องและจำเป็นใช้สำหรับการทำวิปัสสนาภาวนา เช่นเรื่อง อริยสัจ ๔ มรรค ๘ อนัตตา ปัจจุบัน ฯลฯ
๓.ตรวจสอบความสามารถและต้นทุนเดิมที่ตนเองมีอยู่หรือเคยสร้างสมมาด้วย ลมหายใจ หัวใจเต้น ชีพจรและความสั่นสะเทือนในกาย
๔.เตรียมเครื่องแต่งกาย เครื่องใช้และอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ ตลอดจนประสานงานเรื่องกำหนดเวลาอบรม อาหารและที่พักให้เรียบร้อยก่อนการฝึกอบรมหรือเจริญวิปัสสนาภาวนา
เรื่องการตรวจสอบทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติต้องได้รับการอธิบายชี้แนะโดยตรงกับกัลยาณมิตรผู้ทำหน้าที่สอนหรือเป็นที่ปรึกษา
การทำวิปัสสนาภาวนานั้นจะต้องศึกษาควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริงจึงจะเข้าใจและสามารถศึกษาต่อไปจนจบได้ จึงขอให้ท่านที่ต้องการจะประสบความสำเร็จในการทำวิปัสสนาภาวนาไปเข้ารับการอบรมโดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนจึงจะได้ผลดี
หากปารถนาจะมาปฏิบัติด้วยตนเอง ก็ขอให้ได้เริ่มต้นด้วยการไปเข้ารับการอบรมจากกัลยาณมิตรหรืออาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจหลักการภาวนาและสามารถทำวิปัสสนาภาวนาได้ดีด้วยตนเองต่อหน้าผู้สอน

เสียก่อน อุปมาเหมือนนักเรียนที่ไปเรียนตัวแม่อักษร สระ พยัญชนะ จนรู้วิธีผสมอักษร วิธีสะกด จนอ่านหนังสือได้ดีด้วยตนเองแล้วจึงค่อยกลับมาอ่านหนังสือ เล่าเรียนเอาด้วยตนเองที่บ้าน
ขอให้ประสบความสำเร็จในการศึกษา ฝึกหัดและปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากันทุกๆคนเทอญ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ผมก็พยายามพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ครับ คุณอนัตตาธรรม
รู้สึกเหมือนว่าเริ่มฝึกปฏิบัติธรรมใหม่เลย
รู้สึกราวกับว่าตนไม่ได้รู้ธรรมอะไรเลย

แต่ก็เพียงรู้สึก ความรู้สึก ในอดีต ปัจจุบัน และที่จะผ่านเข้ามาในอนาคตไม่ยังยืน ไม่คงทน ย่อมเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 02:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรลักษณ์เป็นธรรมที่นักวิปัสสนาภาวนายกย่องมากเพราะเป็นธรรมชั้นสูง เมื่อเป็นธรรมชั้นสูงจึงมีพระนำหน้า เช่นพระนิพพาน ส่วนพระไตรลักษณ์นั้นแล้วคนเราทั่วไปจะปฏิบัติได้หรือเพราะมันสูง ธรรมที่พระพุทธเจ้าเอามาแสดงนั้นก็เพื่อมนุษย์ได้ศึกษาปฏิบัติ ดังนั้นแล้วทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จึงเป็นหนทางสู่การปฏิบัติวิปัสสนาที่เราสามารถจะพิจารณาได้ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ทั้งมีสมาธิหรือไม่มีสมาธิก็สามารถพิจารณาได้ เพราะการหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ต้องอาศัยการพิจารณาพระไตรลักษณ์

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 04:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ต.ค. 2008, 18:05
โพสต์: 136


 ข้อมูลส่วนตัว


...วิปัสสนา...

:b8: วิปัสสนา ภาวนา กรรมฐาน
เรียนรู้ขันธ์ นั้นไม่ใช่ ใครที่ไหน
ทุกๆขันธ์ ล้วนอาศัย เหตุปัจจัย
เกิดแล้วตาย หมุนเวียน เปลี่ยนไปมา

ฉันทะ คือมูลราก ลากพาไป
เกิดเจ็บตาย ไม่เบื่อหน่าย คลายแสวงหา
ความไม่รู้ ทำให้เห็น เป็นอัตตา
วิปัสสนา พาให้รู้ สู่ความจริง

ทุกๆสิ่ง ที่ได้รู้ ดูสัมผัส
เห็นเด่นชัด ทั้งในนอก ล้วนกลอกกลิ้ง
ขันธ์ทั้งห้า ไม่น่าคบ ซบแอบอิง
สมควรทิ้ง ไม่อิงอ้าง ปล่อยวางไป

มองเห็นธรรม ทกๆภพ ที่พบผ่าน
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น สำคัญหมาย
"ธรรมทุกธรรม เมื่อมีเกิด ต้องมีตาย"
วิปัสสนา ภาวนาไว้ พ้นภัยเอย :b8:


7/6/54


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มิ.ย. 2011, 04:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
ตอนนี้ผมก็พยายามพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ครับ คุณอนัตตาธรรม
รู้สึกเหมือนว่าเริ่มฝึกปฏิบัติธรรมใหม่เลย
รู้สึกราวกับว่าตนไม่ได้รู้ธรรมอะไรเลย

แต่ก็เพียงรู้สึก ความรู้สึก ในอดีต ปัจจุบัน และที่จะผ่านเข้ามาในอนาคตไม่ยังยืน ไม่คงทน ย่อมเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

student เขียน:
พระไตรลักษณ์เป็นธรรมที่นักวิปัสสนาภาวนายกย่องมากเพราะเป็นธรรมชั้นสูง เมื่อเป็นธรรมชั้นสูงจึงมีพระนำหน้า เช่นพระนิพพาน ส่วนพระไตรลักษณ์นั้นแล้วคนเราทั่วไปจะปฏิบัติได้หรือเพราะมันสูง ธรรมที่พระพุทธเจ้าเอามาแสดงนั้นก็เพื่อมนุษย์ได้ศึกษาปฏิบัติ ดังนั้นแล้วทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จึงเป็นหนทางสู่การปฏิบัติวิปัสสนาที่เราสามารถจะพิจารณาได้ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ทั้งมีสมาธิหรือไม่มีสมาธิก็สามารถพิจารณาได้ เพราะการหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ต้องอาศัยการพิจารณาพระไตรลักษณ์

ส่วนใหญ่ที่มักทำให้นักปฏิบัติ เกิดความสับสนนั้นก็มาจากสมมุติบัญญัติครับ
การใช้สมมุติบัญญัตินั้นมีความสำคัญเหมือนกัน ถ้าใครใช้ผิดมันก็เป็นเหตุให้ธรรมแท้
คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวอย่างเช่นคำว่า พิจารณาธรรม

การเอาคำว่าพิจารณาธรรมมาใช้กับสภาวะไตรลักษณ์ ในความเป็นจริงมันทำไม่ได้ครับ
ไตรลักษณ์เป็นสภาวะที่มีอยู่จริงเป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ผลที่เกิดจากความคิดจึงไม่สามารถใช้คำ
ว่าพิจารณากับคำว่าไตรลักษณ์ได้ การจะเห็นไตรลักษณ์ได้นั้น แค่รับรู้ผัสสะเมื่อรับรู้แล้วห้าม
พิจาณาต่อ เพราะการพิจารณาต่อ มันเป็นการปรุงแต่ง สิ่งนี้มันเป็นสิ่งกีดขวางไตรลักษณ์
ปิดบังธรรมชาติที่แท้จริง สิ่งที่จะทำเมื่อได้รับผัสสะก็คือ รู้เฉยๆ

การพิจารณาธรรมสามารถใช้กับไตรลักษณ์ได้ ก็เพืยงแต่ในแง่
การใช้ไตรลักษณ์เป็นหลักในการพิจารณาธรรมตัวอื่นๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


FLAME เขียน:
ตอนนี้ผมก็พยายามพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ครับ คุณอนัตตาธรรม
รู้สึกเหมือนว่าเริ่มฝึกปฏิบัติธรรมใหม่เลย
รู้สึกราวกับว่าตนไม่ได้รู้ธรรมอะไรเลย

แต่ก็เพียงรู้สึก ความรู้สึก ในอดีต ปัจจุบัน และที่จะผ่านเข้ามาในอนาคตไม่ยังยืน ไม่คงทน ย่อมเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

:b27:
อนัตตาธรรม........
คุณ FLAME พยายามทำความรู้ชัดในเรื่อง อนิจจัง ความไม่เที่ยงอยู่นับเป็นสิ่งที่ดีมากครับ แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นจนถึงที่สุดก็ต้องมาปรับฐานความรู้เรื่องวิปัสสนาภาวนาเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่งนะครับ

การที่คุณ FLAME กล่าวว่า "ผมก็พยายามพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงอยู่ครับ " นี่เป็นการกำหนด ผู้กำหนดคือ อัตตา ตัวฉัน ตัวกู ตัวเรานี่เอง ผลที่ได้จึงจะเป็นผลภายใต้อำนาจของอัตตาทั้งสิ้น และเมื่อ อัตตามาออกคำสั่งนำหน้าอย่างนี้แล้ว เราจะสูญเสียสมรรถภาพและความสามารถตามธรรมชาติอันมีอยู่เต็มที่ของเราไป เพราะโดยธรรมชาตินั้น สติ ปัญญา เขาจะทำหน้าที่รู้ทัน รู้เห็น สังเกต พิจารณาสภาวธรรมต่างๆ ณ ปัจจุบันขณะปัจจุบันอารมณ์

ที่ปัจจุบันอารมณ์นั้นบางครั้งชัดอนิจจัง บางโอกาสชัด ทุกขัง บางเวลาชัด อนัตตา ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เป็นไปตามเหตุและปัจจัย การภาวนาวิปัสสนาที่ดีจึงควรเอาปัจจุบันอารมณ์เป็นหลักยึดที่สำคัญในเบื้องต้น "ยึด สิ่งที่ถูกต้องเพื่อจะเป็นเครื่องช่วยพาไปให้ถึงความไม่ยึดในที่สุด"

เมื่อ สติ ปัญญาอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ได้ดี คุณจะได้รู้ชัดทั้ง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไปในคราวเดียวกันครับ


คำพูดอีก 2 ประโยคของคุณ FLAME คือ
“รู้สึกเหมือนว่าเริ่มฝึกปฏิบัติธรรมใหม่เลย
รู้สึกราวกับว่าตนไม่ได้รู้ธรรมอะไรเลย”

นี่เป็นคำพูดที่น่าจะออกมาจากใจ และเป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยขั้นตอนแห่งธรรมเลยนะครับ เพราะผู้ที่ศึกษาปริยัติหรือหลักทฤษฎีมามาก เมื่อจะลงมือปฏิบัติจริง เขาจะต้องทิ้ง ต้องวาง ทฤษฎีหรือความคิดคำนึงทั้งหมดไว้ชั่วคราว แล้วเอาเฉพาะหลักวิปัสสนาภาวนามาใช้ คือเอา สติ ปัญญา มาตั้งดู ตั้งรู้ ตั้ง สังเกต เข้าไปในกายและจิต โดยมิให้มีความคิดนึกใดๆมารบกวน เขาจึงจะได้เห็นหรือรู้กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของกายและจิตได้อย่างถูกต้องตามธรรม กระบวนการทำงานโดยธรรมชาติของสภาวธรรมทั้งหมดจะสรุปรวมลงที่ ความ เกิดขึ้น........ตั้งอยู่........ดับไป........
ความเกิดขึ้นแล้วทนอยู่ไม่ได้ เป็น ......ทุกขัง........
เมื่อทนอยู่ไม่ได้จึงต้องเปลี่ยนแปลงไป เป็น............อนิจจัง.........
ความทุกขังและอนิจจังที่ว่านี้ บังคับบัญชาไม่ได้ เป็น............อนัตตา..........

ธรรมมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นพิสูจน์ได้เสมอและทันทีทุกกาลเวลา สถานที่ ขอแต่ให้ทุกคนมีคุณสมบัติของนักวิปัสสนาภาวนาไว้ประจำจิต

คุณสมบัติที่สำคัญที่จะทำให้เกิด วิปัสสนาอยู่เสมอ คือ ..........ความสังเกต......


เมื่อใดมีความสังเกตเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะเกิด วิปัสสนาภาวนาขึ้นมาทันที ลองไปพิจารณากันดูนะครับ
ความสังเกตเป็นปัญญามรรค คือตัวปัญญา ........สังกัปปะ .......ซึ่งจะเป็นสัมมา เมื่อสังเกตเพื่อค้นหาวิธีที่จะเอาความยินดี ยินร้ายออกเสียให้ได้อันจะเป็นผลให้ได้อยู่ด้วยความไม่เบียดเบียนคือ อุเบกขา

แบบฝึกหัดที่ดีที่สุดคือให้ทุกท่านลองฝึก ......สังเกต.......ลมหายใจที่กำลัง เข้า – ออก ๆ อยู่ตลอดเวลานั้น ถ้าท่านมีความสังเกตดี ท่านจะได้พบว่า ลมหายใจ แสดงความเป็น ....... ทุกขัง.......อนิจจัง........อนัตตา.....อยู่ตลอดเวลา


ท่านที่กำหนดลมหายใจมาหลายปี ได้สมาธิ ได้ความสงบตั้งมั่นของจิต นั่นเป็นเรื่อง ...สมถะภาวนา.....แต่ถ้าทุกท่านจะฉุกคิดสักนิดแล้วเอาหลักวิปัสสนาภาวนามาใส่ใจ สังเกต พิจารณา ลมหายใจ เข้า – ออก ท่านจะได้เห็น ได้รู้ทันที ! ถึง ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ที่ใส่ชื่อให้ขลังว่าพระไตรลักษณ์ที่นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายใฝ่ฝันหา ลองปฏิบัติจริง พิสูจน์ความจริงกันเดี๋ยวนี้ ได้เลยนะครับ แล้วจะได้สนทนากันต่อไปด้วยความสุข สนุกสนานและมีประโยชน์ยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


student เขียน:
พระไตรลักษณ์เป็นธรรมที่นักวิปัสสนาภาวนายกย่องมากเพราะเป็นธรรมชั้นสูง เมื่อเป็นธรรมชั้นสูงจึงมีพระนำหน้า เช่นพระนิพพาน ส่วนพระไตรลักษณ์นั้นแล้วคนเราทั่วไปจะปฏิบัติได้หรือเพราะมันสูง ธรรมที่พระพุทธเจ้าเอามาแสดงนั้นก็เพื่อมนุษย์ได้ศึกษาปฏิบัติ ดังนั้นแล้วทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จึงเป็นหนทางสู่การปฏิบัติวิปัสสนาที่เราสามารถจะพิจารณาได้ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ทั้งมีสมาธิหรือไม่มีสมาธิก็สามารถพิจารณาได้ เพราะการหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ต้องอาศัยการพิจารณาพระไตรลักษณ์

:b16:
อนัตตาธรรม.......
เรียนคุณ student ครับ คำว่า "พระไตรลักษณ์" แปลว่า ลักษณะทั้ง 3 เติมคำว่า "พระ" ลงไปข้างหน้าให้มีความสำคัญมากขึ้น แต่ความหมายของไตรลักษณ์ หรือพระไตรลักษณ์ ก็คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเองครับ คนเราทั่วไปก็ปฏิบัติได้ครับ เพราะไตรลักษณ์ หรือลักษณะ 3 เป็นสัจจะ เป็นปรมัตถธรรม เกิดขึ้นกับทุกชีวิต วิญญาณ ไม่สูง ไม่ต่ำอย่างไรครับ

ปัญญาที่ไปเห็นหรือไปรู้ไตรลักษณ์ เรียกว่า "วิปัสสนาปัญญา"

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ที่สุดต้องเห็นไตรลักษณ์ ถ้าไม่เห็นไตรลักษณ์ไม่ใช่วิปัสสนาภาวนาครับ

:b43:
:b41:
:b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: อนุโมทนา สาธุกับท่านปล่อยรู้ครับ แต่แปลกใจ ทำไมมหาบัณฑิตเช่นท่านปล่อยรู้ กลับไปนับหนึ่งใหม่เป็นสมาชิกระดับ 1
:b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: โฮฮับ........
ส่วนใหญ่ที่มักทำให้นักปฏิบัติ เกิดความสับสนนั้นก็มาจากสมมุติบัญญัติครับ
การใช้สมมุติบัญญัตินั้นมีความสำคัญเหมือนกัน ถ้าใครใช้ผิดมันก็เป็นเหตุให้ธรรมแท้คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวอย่างเช่นคำว่า พิจารณาธรรม

การเอาคำว่าพิจารณาธรรมมาใช้กับสภาวะไตรลักษณ์ ในความเป็นจริงมันทำไม่ได้ครับไตรลักษณ์เป็นสภาวะที่มีอยู่จริงเป็นธรรมชาติ มันไม่ใช่ผลที่เกิดจากความคิดจึงไม่สามารถใช้คำว่าพิจารณากับคำว่าไตรลักษณ์ได้ การจะเห็นไตรลักษณ์ได้นั้น แค่รับรู้ผัสสะเมื่อรับรู้แล้วห้ามพิจาณาต่อ เพราะการพิจารณาต่อ มันเป็นการปรุงแต่ง สิ่งนี้มันเป็นสิ่งกีดขวางไตรลักษณ์ปิดบังธรรมชาติที่แท้จริง สิ่งที่จะทำเมื่อได้รับผัสสะก็คือ รู้เฉยๆ

การพิจารณาธรรมสามารถใช้กับไตรลักษณ์ได้ ก็เพืยงแต่ในแง่
การใช้ไตรลักษณ์เป็นหลักในการพิจารณาธรรมตัวอื่นๆครับ
:b35:
อนัตตาธรรม...........
ถูกต้องเป็นอย่างยิ่งครับคุณโฮ.....ใช้บัญญัติผิด ก็ชี้ไม่ตรงสภาวปรมัตถ์

เรื่องของการพิจารณาธรรมหรือสภาวธรรม เป็นงานของสังกัปปะ มี 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 สังเกต ไม่ใช้ความคิด มีแต่การที่สติและปัญญา ตามเห็น ตามรู้สภาวธรรมตามที่มันเป็นจริง เมื่อเห็นจริง รู้จริงแล้วก็จะส่งให้เกิดปัญญาสัมมาทิฐิในธรรมนั้น มรรคญาณจะเกิดตอนนี้ เพราะเป็นตอนที่ ปรมัตถ์ เห็น ปรมัตถ์ ย่อมมจะได้ปรมัตถ์ เป็นปรมัตถ์ ซึ่งคือเรื่องวิปัสสนาภาวนาทั้งหลาย

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณา ใช้ความคิด นึก วิตกวิจารณ์ เพื่อให้เกิดความแยกแยะ วิจัยใคร่ครวญธรรม เป็นตอนที่บัญญัติพยายามจะชี้ให้รู้ ให้เห็นปรมัตถ์
เอาบัญญัติ หา บัญญัติ ย่อมจะ เห็น บัญญัติ ได้บัญญัติ เป็น บัญญัติ ซึ่งคือเรื่องสมถะภาวนาทั้งหลาย

การห้ามพิจารณาไตรลักษณ์นั้นคงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามธรรมครับ
สัพเพธัมมา อนัตตา ระยะแรกๆ ความพิจารณาด้วยบัญญัติย่อมจะเกิดขึ้นมาก่อนแน่ๆ แล้วจึงจะลึกเข้าไปสังเกตโดยปรมัตถ์ ห้ามพิจารณาไม่ได้หรอกครับ

คุณโฮ..ลองนั่งลงสังเกตลมหายใจของคุณตอนนี้เลย จะได้รู้ชัดปรมัตถธรรมของการ ดู สังเกต พิจารณา รู้ ไตรลักษณ์ของลมหายใจครับ
สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับทุกคำแนะนำครับ

อะไรอะไรก็ไม่ควรเพลินตาม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.kanlayanatam.com/sara/sara130.htm
:b44:
http://www.sati99.com/images/1138964991/01%20mama.pdf
อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2011, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: สวัสดีครับคุณ Rotala ยินดีที่ได้พบลูกศิษย์อาจารย์ประจาก และท่านอูปัญฑิตตะ ครับ
อนุโมทนากับเวบลิ้งค์ที่มีค่ายิ่งครับ
สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 01:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริง..สมาธิ.กับวิปัสสนา...ไม่ได้อยู่ห่างกันขนาด..จบอันหนึ่งแล้วถึงจะขึ้นอันหนึ่งได้..

ทำจริง..มันก็อยู่ที่เดียวกันนั้นแหละ..

แต่ต้องรู้จักทำ..

พอไม่รู้จักนะ...ก็คิดทำแต่สมาธิ..หรือคิดทำแต่วิปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 10:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss Kiss Kiss

:b8: อนุโมทนาคร๊าบบบบบ

ท่านผู้เจริญในธรรม

สาธุ สาธุ สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2011, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
:b8: โฮฮับ........
การห้ามพิจารณาไตรลักษณ์นั้นคงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามธรรมครับ
สัพเพธัมมา อนัตตา ระยะแรกๆ ความพิจารณาด้วยบัญญัติย่อมจะเกิดขึ้นมาก่อนแน่ๆ แล้วจึงจะลึกเข้าไปสังเกตโดยปรมัตถ์ ห้ามพิจารณาไม่ได้หรอกครับ

ประเด็นมันอยู่ที่วิธีการ แล้ววิธีที่คุณทำมันได้เห็นไตรลักษณ์จริงมั้ย
หรือว่าสิ่งที่เห็นเป็นเพียงความคิดปรุงแต่ง ด้วยเหตุปัจจัยแห่งการบังคับอายตนะครับ

การได้เห็นไตรลักษณ์ที่แท้จริง ต้องเกิดจากการรับรู้ผัสสะที่เป็นอิสระ
ปราศจากการบังคับกายให้ทำ ในสิ่งที่ตั้งใจไว้ก่อนครับ
อนัตตาธรรม เขียน:
คุณโฮ..ลองนั่งลงสังเกตลมหายใจของคุณตอนนี้เลย จะได้รู้ชัดปรมัตถธรรมของการ ดู สังเกต พิจารณา รู้ ไตรลักษณ์ของลมหายใจครับ
สาธุ[/b]

ดูแล้วได้อะไรครับ มันก็แค่ความหลงในอารมณ์ครับ
คุณบอกให้ดูลมหายใจ เพียงแค่นี้บอกได้เลยครับว่า กำลังหลงอารมณ์
อารมณ์ที่จริงแท้มันเป็นตัวไหนคุณยังไม่รู้เลย
จะบอกให้ครับ อารมณ์แรกเลยก็คือโลภะครับ มีความต้องการที่จะดูไตรลักษณ์

ที่นี้ก็เกิดการบังคับอายตนะ เมื่อเกิดการบังคับสภาวะที่เกิดจึงเป็นอารมณ์ที่ไม่พอใจ
หรือโทสะ มันหลงกลับไปมาระหว่างกิเลสสามตัวนี้ เลยคิดว่าเห็นไตรลักษณ์
แท้จริงแล้ว อารมณ์หรือกิเลส มันแปรเปลี่ยนสลับกันไปมา เลยนึกว่าเห็นไตรลักษณ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 55 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร