วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 20:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามเรื่อง สภาวะ มีความหมายอย่างไร? พอจะมีตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ หรือเปล่าค่ะ
สาธุคะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย จัทร์เพ็ญ เมื่อ 26 ต.ค. 2010, 11:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ = ส+ภาว แปลตามพยัญชนะว่า เป็นเอง มีเอง เกิดเอง ตัดมาจาก "สภาวธรรม" สิ่งที่เป็นเอง มันเป็นของมันเอง ยกตัวอย่างเช่น ฝนตก ฝนหยุด ฝนแล้ง แดดออก แดดร่ม เป็นสภาวะของมัน มันเป็นของมันเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูสภาพหรือสภาวะหรือสภาวธรรมหรือธรรมะใกล้ๆบ้าง เช่น


ตอนนี้ฝึกทำสมาธิและสวดมนต์ค่ะ ทำมาได้วันที่ 6 แล้ว แต่ไม่ได้ทำสมาธินานเลยนะ 20 นาที แต่ทำบ่อยค่ะ ทำทั้งวัน ตอนไหนว่างก็ทำ สวดมนต์เช้า กลางวัน เย็น กรวดน้ำทุกครั้ง

ทำไมรู้สึกกล้วผีจังเลยค่ะ รู้สึกเหมือนมีคนอยู่กับเราตลอดเลย กลัวมากๆเลยนะ ตอนเนี้ย ใจมันโหวงเหวง บอกไม่ถูก กลัวเห็น ทั้งๆที่เราก็อยากรู้ว่ากรรมเรามันคืออะไร แต่กลัว โทรไปบอกให้น้องสาวกลับบ้านเร็วๆ

ทำไงจะข่มใจได้ค่ะ


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=14.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกสักตัวอย่างคงพอมองเห็นเค้าคำถาม

นอนสมาธิอยู่ดีๆ รู้สึกเหมือนนอนอยู่กลางแดด เหงื่อท่วมตัวไปหมด ทั้งๆ ที่นอนอยู่ในที่ร่มแท้ๆ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=41.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปล. :ข้อมุล จากมหาสติถาม :ค่ะ อยากให้อาจารย์ได้อธิบายคำว่าบรรลุธรรมค่ะ เพราะเวลาที่เพื่อนๆ
ส่งคำถามขึ้นมาเนี่ย จะทำให้เข้าใจได้ว่าเพื่อน ๆ ยังไม่เข้าใจในเรื่องธรรมะขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นจะมีหลายคำถามเลยคะ ที่ได้ใช้คำว่าบรรลุธรรม
และไม่เข้าใจว่าการบรรลุธรรมนั้นหมายความว่าอะไรคะ

อาจารย์ : ธรรมคือสภาวะแห่งความเป็นจริง ธรรมะทีพระพุทธเจ้าทรงสอนแล้ว
คือสภาวะที่ประเสริฐที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับทุกคน ดังนั้นการบรรลุธรรมคือ

การบรรลุสภาวะที่ประเสริฐที่เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อชีวิตของเราจริง ๆ

การจะบรรลุธรรมนั้น มีอยู่สามอย่างที่เราจะต้องผ่านนะ

หนึ่ง รู้ธรรมในขั้นนี้จริง ๆ พวกเรารู้ธรรมกันมาเยอะแล้ว รู้ใช่ไหมว่าอะไรดี อะไรชั่ว

อะไรควร อะไรไม่ควรก็รู้ สมาธิก็รู้ รู้ว่ามันมีสมาธินะ สมาธินี้มีประโยชน์จริงนะ ถ้าเข้าได้

จึงมาฝึกกันอยู่นี่ ที่สุดของชีวิตคือความตาย ที่สุดของทุกสิ่งคือความบริสุทธิ์ รู้ใช่ไหม

นั้นแสดงว่ารู้ธรรมแล้ว แต่ส่วนใหญ่เราจะรู้แบบด้าน ๆ โดยไม่มีความเข้าใจลึกซึ้ง

เมื่อเข้าใจไม่ลึกซึ้งก็จะไม่สามารถสร้าง know how จากการรู้นั้นได้ เมื่อไม่เข้าใจ

ก็ไม่รู้วิธีการทำให้เกิด ไม่รู้วิธีการทำให้ตั้งอยู่ ไม่รู้วิธีการนำมาใช้เพราะไม่เข้าใจ

ดังนั้นต้องทำให้เข้าใจด้วย การเข้าใจนั้นจะต้องไปเข้าใจองค์ประกอบและกลไก

ในรายละเอียดต่าง ๆ ของสมาธิว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง อย่างถ้าเราจะต้องสร้าง

และเข้าสมาธิขึ้นมาเดี๋ยวนี้ เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง เอาอะไรเป็นองค์ประกอบ

เอาบรรยากาศ เป็นองค์ประกอบไหม เอาความตั้งใจเป็นองค์ประกอบไหม

เอาสัญญาเก่ามาเป็นองค์ประกอบไหม เอาอารมณ์ใดมาเป็นองค์ประกอบ นี้ต้องเข้าใจ

แล้วจะทำให้มันประกอบกันในสัดส่วนใด ตามขั้นตอนอย่างไร สมาธิจึงจะเกิดตาม ปรารถนา

นี้คือความเข้าใจ หลังจากที่เราเข้าใจแล้วปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ก็จะบรรลุธรรมโดยลำดับ

ธรรมะโดยลำดับก็คือว่า เอาระดับหยาบก่อน อย่างเช่นการที่เราจะบรรลุสมาธิหรือ

เข้าสู่สภาวะสมาธิก็คือทำให้สมาธิเป็นสภาวะแห่งเรา ณ ขณะนั้น เราเป็นสมาธิจริง ๆ

ไม่ใช่เพี่ยงแค่เข้าใจสมาธิว่าฉันเข้าใจแล้วสมาธิน่ะ ฌาณหนึ่งมันจะต้องวิตกอยู่กับ

องค์บริกรรมนะ แล้วต้องคอยวิจารณ์ ดูว่ามันเล็ก มันใหญ่ มันเบามันดังแค่ไหน

อันนั้นแค่ความเข้าใจ ซึ่งยังไม่พอ จะต้องอยู่สภาวะนั้นจริง ๆ ทำจริง ๆ ทำจนกระทั่ง

ได้สภาวะนั้นจริง ๆ เราก็จะบรรลุขั้นนั้น

พอเราบรรลุขั้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็ในทำนองเดียวกัน คือเราต้องทำให้เข้าสภาวะนั้นจริง ๆ

เอาอะไรให้เข้าสภาวะ ก็เอาใจของเรานั้นแหละ ดังนั้นสภาวะนั้นมันอยู่ที่ไหน

มันก็อยู่ที่ใจของเรา ในใจของเรานั้นมันมีหลายสภาวะ เจตสิกทั้งหลายนั้นเมื่อมันรวมกัน

โดยส่วนผสมที่ซับซ้อนสามารถเป็นได้กว่าสามหมื่นกว่าสภาวะ ถ้าแบ่งอย่างหยาบ ๆ

ปรากฏได้ 121 สภาวะที่เราเรียกว่าจิต 121 ดวงนั่นเอง ดวงก็คือภาวะ ใจดวงเดียวแต่มี

อาการปรากฎได้ 121 ภาวะใหญ่ ภาวะเหล่านี้มันอยู่ในใจของเราทั้งสิ้น เมื่อเราเข้าไป

เป็นหนึ่งเดียวกับภาวะนั้น แล้วเรียกว่าสภาวะ เมื่อเราคุ้นเคยกับสภาวะจนควบคุมมันได้

บริหารมันได้ ใช้ประโยชน์จากมันได้เต็มที่ตลอดเวลาที่ปรารถนาก็เรียกว่าบรรลุธรรม นั้น ๆ

ดังนั้นเมือทราบว่าสภาวะธรรมใดดีก็ต้องสร้างมันขึ้นมา หรือสภาวะใดมีอยู่แล้วแต่เราละเลยมัน

ก็ต้องเข้าไปหามันใหม่

พอเป็นปัญญานี่ ปัญญามันจะมีอยู่สองขั้นตอน

ขั้นตอนแรกคือ เราเห็นด้วยจิตของเราจริง ๆ หลังจากที่เราฝึกสมาธิของเรามาดี นิ่ง สว่าง

ว่างพอสมควร เราเห็นด้วยจิตของเราจริง ๆ อย่างการเห็นธรรมชาตินั้นคือเห็นตัวธรรมชาติจริง ๆ

ไม่ใช่เห็นแค่ต้นไม้ สายน้ำ ภูเขา แล้วบอกว่านี่คือธรรมชาติ ไม่ใช่นะ นั่นเป็นแค่ปรากฏการณ์

แห่งธรรมชาติ ยังไม่ใช่สภาวะธรรมชาติจริง ๆ หรือว่าธรรมชาติคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ฟ้า อากาศ

ไม่ใช่นะ นั้นไม่ใช่ นั้นมันแค่ระดับความเข้าใจ ไม่ใช่ตัวปัญญา ปัญญาแท้นั้นมันเห็นเมทริกซ์

แห่งความมีอยู่และเป็นไปนะ รู้จักเมทริกซ์กันไหม หนังที่เขาสร้างเรื่องเมทริกซ์นะ

นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่เขาพยายามอธิบาย ก็ดีเหมือนกันแต่ยังไม่สมบูรณ์ เมทริกซ์ก็คือสภาพ

ความสัมพันธ์อันซับซ้อนของความมีอยู่เป็นอยู่ ปัญญมันเห็น แม้ในระดับรากเหง้า และระดับ

องค์ประกอบอันละเอียดอ่อน เห็นโครงสร้างทั้งหมดของธรรมชาติ ซึ่งเห็นด้วยตัวจิตโดยตรง

คือ เอาจิตไปสัมผัสธรรมชาติโดยตรง อันนี้เป็นปัญญขั้นหนึ่ง

ปัญญาขั้นที่สองเกิดขึ้นได้โดยเอาสภาวะแห่งใจไปเป็นสิ่งนั้น หรือเอาสิ่งนั้นมาเป็นใจ

ให้ได้ นั้นคือปัญญาในการสร้างความสัมพันธ์เชิงสัมพัทธ์หรือบริหารธรรมชาติ เราอาจจะ

เอาตัวเองไปเป็นสิ่งนั้น เราเลือกแล้วว่าธรรมชาติแห่งความว่างที่รองรับความมีทังหลายอยู่นั้น

มันสงบล้ำลึก เราเอาตัวเองไปเป็นความว่างให้ได้ นั่นเป็นปัญญาขั้นที่สอง ทำหลังจากเห็น

ด้วยจิตโดยตรง เราก็เอาไปเป็นโดยตรง นั่นคือบรรลุปัญญาขั้นสอง

การบรรลุธรรมสุดยอดนั้นก็คือ หลังจากที่เรารู้เห็นทั้งหมดและเลือกเป็นบางอย่างแล้ว

เราจะประจักษ์แจ้งว่าเป็นอะไรมันก็ไม่ประเสริฐเท่ากับความบริสุทธิ์ แล้วเราก็จะละ

ความเป็นทั้งหมด แม้กระทั่งความว่าง เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้วิเศษ เป็นคนดี เป็นสารพัดเป็น

ละทิ้งหมด จนกระทั่งมันเหมือนกับเกิดอีกสภาวะหนึ่งขึ้นมาซึ่งไม่ใช่อะไรในธรรมชาติเลย

มันเหนือธรรมชาติ ที่เราเรียกกันว่าพุทธะ นั่นแหละคือความบริสุทธิ์

ถ้าเริ่มเข้าเขตนิด ๆ ก็เริ่มเข้าเขตชั้นต้นเรียกว่าโสดาบัน ถ้ามากขึ้นก็จะเข้าเขตสกทาคามี

ถ้ามากขึ้นก็เรียกอนาคามี ถ้าเต็มที่เต็มรอบร้อยเปอร์เซ็น พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่าเต็มรอบ

เมื่อนั้นก็เป็นพระอรหันต์

ตอนที่เข้าเขตความบริสุทธิ์ล้วน ๆ นั้น จะมีปรากฏการณ์เกิดขึ้นในสารบบขันธ์ของเรา

ทั้งร่างกายและจิตใจ เปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ มันจะเกิดอาการซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน

บอกได้แต่เพียงว่าอาการดั่งว่าจะตาย จะบอกตัวอาการไม่ได้ เดี๋ยวจะเกิด mood making

ขึ้นมา แล้วมันจะไม่ใช่ของจริง ดังนั้น เวลาเกิดอาการดั่งว่าจะตาย อย่ากลัวตาย

ยอมตายไปเลย พอทะลุตรงนั้น แล้วจะเข้าเขตการบรรลุธรรมแท้จริง

แต่คนส่วนใหญ่พอเจอตรงนั้น โอ้ยกลัว ถอยกลับ ๆ คือจ่อไปที่ประตูแล้วก็ถอยกลับ

เลยไม่ทะลุธาตุถึงธรรมกันเสียที ฉะนั้น ถ้าใครกลัวตาย ไม่ถึง ไม่ถึงอริยะ แต่สามารถ

บรรลุธรรมในขั้นโลกิยะได้ คือเข้าความว่างได้ เข้าสมาธิได้ มีปัญญยิ่งใหญ่ได้

อันนี้ได้ แต่ถ้าจะเข้าอริยะต้องพร้อมตาย ก็มันไม่ต้องเป็นอะไรแล้ว ถ้ามันจะตาย

แล้วมันจะแปลกอะไร ใช่ไหม ตายก็ตาย ต้องปลงใจตายนะ

ถ้าปลงใจตายสักพักหนึ่งอาการนั้นจะสงบ พอสงบแล้วท่านจะเข้าสู่เขตใหม่เลย

มันเปลี่ยนไปหมด ร่างกายก็จะเปลี่ยน จิตใจ วิสัยทัศน์จะเปลี่ยนหมด

และใน 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะมีอาการต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจชัดเจน

ไม่ต้องห่วงเลยว่าจะ ไม่รู้ จะรู้ชัดเจนมาก และแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มีแน่นอน

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


แก้ไขล่าสุดโดย kokorado เมื่อ 26 ต.ค. 2010, 16:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคิดว่า สภาวะเป็นคำเรียกแทนการประชุมกันของเหตุปัจจัย ณ เงื่อนไขหนึ่งๆ

อย่างกองไฟกองหนึ่ง ก็เป็นสภาวะหนึ่ง
คือเป็นการประชุมกันของเหตุและปัจจัยหลายอย่าง
กล่าวคือ เชื้อเพลิง อุณภูมิ และอ๊อกซิเจน เมื่อประชุมกันอยู่ในเงื่อนไขที่เหมาะสม ก็กลายเป็นกองไฟ
กองไฟก็เรียกว่าเป็นสภาวะหนึ่ง

หรือถ้าจะพูดถึงสภาวะในตัวเรา เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ดีใจ เสียใจ ทั้งหมดนี้ก็เป็นสภาวะ
แต่ละสภาวะเหล่านี้ หากกล่าวโดยย่อแล้ว เมื่อแยกออก ก็ไม่พ้นเป็นการประชุมกันของรูป และ/หรือ นาม
กล่าวได้ว่าเป็นการประชุมกันของขันธ์ 5 ของเรา ในเงื่อนไขต่างๆ

เช่น ตาเห้นภาพ ก็เป็นการประชุมกันของ แสง+วัตถุ+ระบบรับภาพ(ตา)+จิตที่ไปรับรู้ผลผลิตจากระบบตา+ระบบความจำได้หมายรู้ ... รวมกันแล้วก็แปรผลมาเป็นคำว่า "ภาพ"
ดังนั้น ภาพที่เราเห็นอยู่ในเวลานี้ ก็คือสภาวะหนึ่งๆ ในเวลาหนึ่งๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 26 ต.ค. 2010, 20:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2010, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ kokorado พอบอกชื่ออาจารย์ดังกล่าวได้ไหมครับ :b8: :b20: :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนากับทุกท่านนะค่ะ สาธุ :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




41_1758.jpg
41_1758.jpg [ 27.44 KiB | เปิดดู 6591 ครั้ง ]
tongue คุณจันทร์เพ็ญครับ ท่านกรัชกายอธิบายสภาวะไว้แจ่มชัดดีแล้ว

รู้แล้ว คุณจันทร์เพ็ญจะเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง นำมาเล่าต่อสู่กันฟังบ้างนะครับ โมทนา
:b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
tongue คุณจันทร์เพ็ญครับ ท่านกรัชกายอธิบายสภาวะไว้แจ่มชัดดีแล้ว

รู้แล้ว คุณจันทร์เพ็ญจะเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง นำมาเล่าต่อสู่กันฟังบ้างนะครับ โมทนา
:b12:

:b4: :b12:

จันทร์เพ็ญ อยากมีปัญญาเหมือนคนอื่นๆ เขานะค่ะ เคยอ่านเจอท่านบอกว่า "อยากมีปัญญาให้เขาหาท่านผู้รู้สอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจ จะทำให้เป็นคนมีปัญญา" นอกจากนี้ ผู้ถามและผู้ตอบเปรียบได้กับผู้ที่ชี้นำผู้อื่นด้วย คำถามดีคำตอบดี มีประโยชน์ ผู้อื่นก็ได้ปัญญาได้ประโยชน์ด้วย เป็นการให้ธรรมทานที่ถูกต้องคะ

ที่เป็นห่วงคือ หากคำตอบแบบมั่วๆ หรือรู้ไม่จริง ไม่เพียงทำให้ผู้อื่นรู้ผิดตาม
ยังทำให้พระธรรมบิดเบื่อนไปอีกด้วยนะค่ะ

จันทร์เพ็ญคิดอย่างนี้คะ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัทร์เพ็ญ เขียน:
ถามเรื่อง สภาวะ มีความหมายอย่างไร? พอจะมีตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ หรือเปล่าค่ะ
สาธุคะ :b8:

สภาวะ = สภาพความเป็นจริง ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น
สภาวะน้ำท่วมตอนนี้ยังไม่รุนแรงนัก สภาวะของคนไข้ตอนนี้มีแต่ทรงกับทรุด

สภาวะธรรม หมายถึง สภาพความจริงของธรรม เช่น สภาพของรูปกาย คือ ธาตุสี่ ขันธ์ห้า
สภาวะของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง คือ ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น

แหะ..ความเห็นส่วนตัว..ขอรับ :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2010, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

อ่านความเห็นคุณวิริยะข้างบนแล้ว นึกถึงคำศัพท์ "รูปนาม" "รูปธรรมนามธรรม" ส่วนตัวคุณวิริยะ

เห็นยังไงครับ :b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2010, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

อ่านความเห็นคุณวิริยะข้างบนแล้ว นึกถึงคำศัพท์ "รูปนาม" "รูปธรรมนามธรรม" ส่วนตัวคุณวิริยะ

เห็นยังไงครับ :b8:

แหะ..แหะ..เล่นถามปัญหาใหญ่ๆ อย่างนี้ คนปัญญาน้อยอย่างกระผม คงอธิบายได้ไม่มาก พอจะกล้อมแกล้ม ดังนี้ ..

รูป สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา จับต้องได้ เช่น:--- กายหรือร่างกาย ไม่ว่าคนหรือสัตว์ แบ่งเป็น ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
นาม สิ่งที่ไม่มีรูป เช่น จิตใจ สิ่งที่รับรู้ไม่ได้ด้วยตาหรือเป็นชื่อที่ใช้เรียก คนสัตว์สิ่งของ เช่น:--- นายแมว โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ

รูปธรรม สิ่งที่รู้เห็นได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น:-- รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสได้ด้วยกาย
นามธรรม คือ จิตใจ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ

ท่านพระอาจารย์บางท่าน แบ่งเป็น

ทางวัตถุ = รูปธรรม
ทางจิตใจ = นามธรรม

รูปธรรมและนามธรรมนี้ ต้องประกอบด้วยกัน รูปธรรมหากขาดนามธรรมท่านก็เรียกว่า "ตาย" ..ขอรับ

ผิดถูกอย่างไร ขอท่านผู้รู้โปรดติชมได้อย่าเกรงใจเลย ..ขอรับ :b13:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2010, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
แหะ..แหะ..เล่นถามปัญหาใหญ่ๆ อย่างนี้ คนปัญญาน้อยอย่างกระผม คงอธิบายได้ไม่มาก พอจะกล้อมแกล้ม ดังนี้ ..

รูป สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา จับต้องได้ เช่น:--- กายหรือร่างกาย ไม่ว่าคนหรือสัตว์ แบ่งเป็น ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
นาม สิ่งที่ไม่มีรูป เช่น จิตใจ สิ่งที่รับรู้ไม่ได้ด้วยตาหรือเป็นชื่อที่ใช้เรียก คนสัตว์สิ่งของ เช่น:--- นายแมว โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ

รูปธรรม สิ่งที่รู้เห็นได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น:-- รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสได้ด้วยกาย
นามธรรม คือ จิตใจ เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ

ท่านพระอาจารย์บางท่าน แบ่งเป็น
ทางวัตถุ = รูปธรรม
ทางจิตใจ = นามธรรม


ขอบคุณนะครับที่ช่วยชี้นำ

ตามที่คุณวิริยะอธิบายนั้นหเมือนประหนึ่งคำว่า รูป-นามก็ดี รูปธรรม-นามธรรมก็ตาม ความหมาย

เหมือนไม่ต่างกัน

ทีนี้เราจะใช้คำพูดสั้นๆว่า รูป-นาม ไม่ใช้คำเต็มๆว่า รูปธรรม-นามธรรม จะมีอะไรผิดพลาดไหมครับ

หรือบางคราวขยันพูดขยันเขียนหน่อยจะใช้คำเต็มๆว่า รูปธรรม-นามธรรม มีอะไรเสียหายไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากแยกเป็นสองฝ่าย คือ ทางโลกและทางธรรม

ทางโลก = ใช้คำว่า รูป-นาม เพื่ออธิบายให้เกิดความเข้าใจ
ทางธรรม = ใช้คำว่า รูปธรรม-นามธรรม ใช้เรียกและอธิบายกัน

ทางธรรมท่านอธิบายและมีรายละอียดมากว่า เท่านั้นเอง
ถ้าเข้าใจอย่างนี้ จะใช้แบบสั้นหรือแบบยาวก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ..

เป็นความเข้าใจส่วนตัวนะครับ..อาจผิดได้ :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 27 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร