วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไว้เป็นข้อมูล ถ้าจะพิจารณาเวทนาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผลกรรมเก่า>ผัสสะ> เวทนา> ตัณหา> อุปาทาน> สร้างกรรมใหม่

ผัสสะ 6 ทางคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบว่า จิตมันไปเสวยอย่างไรแล้วเกิดเวทนาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองนั่งภาวนาซัก 2-3 ชม.
พอเวทนาเกิดก็กำหนดรู้ตามไป
อย่าขยับ อย่าเลิก เด๋วก็รู้จักเวทนาเองแหละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
ลองนั่งภาวนาซัก 2-3 ชม.
พอเวทนาเกิดก็กำหนดรู้ตามไป
อย่าขยับ อย่าเลิก เด๋วก็รู้จักเวทนาเองแหละครับ


ขอบคุณค่ะ รู้จักเวทนาแล้วค่ะ แต่อยากทราบขบวนการของจิต ที่มันไปยึดเวทนาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 11:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ
จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ

ที่ใดมีจิตเกิดขึ้น ย่อมประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร ร่วมด้วยเสมอ

เมื่อ จักขุวิญญาณจิต เกิดขึ้น ขณะนั้น ก็มีอุเบกขาเวทนา เกิดขึ้นร่วมด้วย

จิตเกิดขึ้น โดยปราศจาก เวทนา ไม่ได้เลย

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา...เจตสิก
ธรรมชาติที่ไปเสวยอารมณ์
จิตเข้าไปรู้เวทนาที่เกิด..เพื่อที่จะให้รู้ชัดว่า
เวทนา..สักแต่ว่า..เวทนา ..มันเกิดขึ้น..แล้วก็ดับไป...
เหมือน เรามีเวทนา ความ เจ็บปวดร่างกาย..จริงๆเวทนา มันไม่ได้เกิดตลอดเวลา
จิต จะรับทีละอามรมณ์...เช่น จิตไปรับเสียง...ความเจ็บปวดก็จะไม่เกิด
จิตไปรับภาพทางตา...ความไหวๆ ที่อื่น...
จิตไปคิดเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ..มันกลับไปกลับมา อยู่
สติระลึก..ปัญญาเกิด...เพราะเห็นความไม่เที่ยงของเวทนา เห็น อนัตตา
ถ้าเราสังเกตุ และพิจารณา ดู..เวทนามันมีการขาดตอนอยู่ มันไม่ได้เกิดไปพร้อมๆติดๆ กัน
ความเจ็บ ความปวด ความสบาย..ไม่สบาย เพราะจิต มันไม่ใช่รู้ตลอดเวลา
มันมีการรับอย่างอื่น.ฯลฯ สลับสับเปลี่ยน มีสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นก็เกิด มีสิ่งนี้เกิด...สิ่งนี้จึงเกิด
มันจะเห็นการ เกิด-ดับได้...เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัย...เห็นความไม่เที่ยงของเวทนา..แล้วก็เห็น อนัตตา...ปัญญาก็เกิดขึ้น..ว่า เวทนาเหล่านี้มันก็เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่ง ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา
แต่ถ้าไม่รู้ ไม่พิจารณา...อุปาทาน มันก็มายึดทันที...ยึดว่าเป็นเรา ของเรา เจ็บ ปวดเป็นของเรา..

ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
เวทนา...เจตสิก
ธรรมชาติที่ไปเสวยอารมณ์
จิตเข้าไปรู้เวทนาที่เกิด..เพื่อที่จะให้รู้ชัดว่า
เวทนา..สักแต่ว่า..เวทนา ..มันเกิดขึ้น..แล้วก็ดับไป...
เหมือน เรามีเวทนา ความ เจ็บปวดร่างกาย..จริงๆเวทนา มันไม่ได้เกิดตลอดเวลา
จิต จะรับทีละอามรมณ์...เช่น จิตไปรับเสียง...ความเจ็บปวดก็จะไม่เกิด
จิตไปรับภาพทางตา...ความไหวๆ ที่อื่น...
จิตไปคิดเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ..มันกลับไปกลับมา อยู่
สติระลึก..ปัญญาเกิด...เพราะเห็นความไม่เที่ยงของเวทนา เห็น อนัตตา
ถ้าเราสังเกตุ และพิจารณา ดู..เวทนามันมีการขาดตอนอยู่ มันไม่ได้เกิดไปพร้อมๆติดๆ กัน
ความเจ็บ ความปวด ความสบาย..ไม่สบาย เพราะจิต มันไม่ใช่รู้ตลอดเวลา
มันมีการรับอย่างอื่น.ฯลฯ สลับสับเปลี่ยน มีสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นก็เกิด มีสิ่งนี้เกิด...สิ่งนี้จึงเกิด
มันจะเห็นการ เกิด-ดับได้...เห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัย...เห็นความไม่เที่ยงของเวทนา..แล้วก็เห็น อนัตตา...ปัญญาก็เกิดขึ้น..ว่า เวทนาเหล่านี้มันก็เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่ง ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา
แต่ถ้าไม่รู้ ไม่พิจารณา...อุปาทาน มันก็มายึดทันที...ยึดว่าเป็นเรา ของเรา เจ็บ ปวดเป็นของเรา..

ขอเจริญในธรรม :b8:


มันก็เหมือนกับการที่เราให้จิตมารู้อยู่กับคำว่าพุทโธ จิตไม่ไปรู้เวทนามันก็ไม่ปวด
ถ้าเพียงเท่านี้ จิตมันปล่อยเวทนาเพียงชั่วคราวเท่านั้น เอง มันยังปล่อยถาวรไม่ได้
จิตจะปล่อยอย่างถาวร ต้องเข้าใจมากกว่านี้ จึงอยากทราบขบวนการของเวทนา ว่า อะไรทำให้จิตไปยึด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทราบว่าการจะปล่อยเวทนาอย่างถาวรต้องอาศัยการวิปัสสนา

หัวข้อนี้อยากถามเพื่อไว้เป็นปัญญาอบรมสมาธิค่ะ เพื่อฝึกปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมร เขียน:
มันก็เหมือนกับการที่เราให้จิตมารู้อยู่กับคำว่าพุทโธ จิตไม่ไปรู้เวทนามันก็ไม่ปวด
ถ้าเพียงเท่านี้ จิตมันปล่อยเวทนาเพียงชั่วคราวเท่านั้น เอง มันยังปล่อยถาวรไม่ได้
จิตจะปล่อยอย่างถาวร ต้องเข้าใจมากกว่านี้ จึงอยากทราบขบวนการของเวทนา ว่า อะไรทำให้จิตไปยึด

เข้าใจถูกต้องแล้วครับ...เพราะจิตมันรับรู้ทีละอารมณ์..มันกลับไปกลับมา...อยู่ เดี๋ยวก็นึก เรื่องโน่น เดี๋ยวก็กลับมาเจ็บอีก...
แต่ถ้า...จิตจะปล่อยเวทนา อย่างถาวร ..อันนี้ อย่างเราๆ คงจะตอบได้ยากล่ะครับ...เพราะปุถุชนคนธรรมดาสามัญ อย่างเรา แม้ปฏิบัติก็ยังงูๆ ปลาๆ อยู่..คงต้อง พิสูจน์ครับ....โดยการปฏิบัติให้ถึงที่สุด...ถ้าถึงปัญญาแล้ว...สติมันระลึก รู้..เข้าสู่ ปรมัตถ์แล้ว..มันจะตัดอุปาทาน ขันธ์ เหล่านี้ออกไปได้....เราต้องพิสูจน์ด้วยตัวเองครับ...อุปาทาน...ความยึดมั่น ถือมั่นว่าตัวตน ของเรา มันทำให้จิตเข้าไป ยึด..ความไม่รู้ ไม่สังเกตุ ไม่พิจารณา อวิชชา...ทำให้จิตไปยึด


....มีความเห็นผิด ยึดถือว่า...เวทนา เป็นตัวเรา
....มีความเห็นผิดยึดผิดว่า...เรามีเวทนา
....มีความเห็นผิดว่า....เวทนาอยู่ในเรา
....มีความเห็นผิดยึดผิดว่า..เราอยู่ในเวทนา

....ต้องใช้ปัญญา จัดการกับ อุปาทาน.ขันธ์เหล่านี้ โดยการเจริญ สมถะ-วิปัสสนา...เข้าสู่
ปรมัตถธรรม..เพิกสมมุติบัญญัติออก...สู่ปรมัตถธรรม...เพราะว่าธรรมเหล่านี้ก็เป็นเพียงสิ่งๆ หนึ่ง ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ...ซึ่งมันไม่ใช่เรา..และไม่มีเราเข้าไปอยู่ในมัน..มันมีของมันมาอยู่อย่างนั้น
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 16:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีท่านเจ้าของกระทู้....

สติปัฏฐาน 4 เป็นการอบรมจิตด้วยมรรคภาวนา เพื่อปหานทิฏฐิและกิเลสตัณหา เพื่อความนำออกจากวัฏฏะ มีวิราคะเป็นอารมณ์ คือมีนิพพานเป็นอารมณ์ อนุโลมตามอริยสัจจ์

ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตระลึกกับผัสสะ ย่อมเจริญเวทนานุปัสสนา โดยอาศัยเวทนาเป็นวัตถุเพื่อเจริญมรรคภาวนาอันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก

การตามระลึกในเวทนาจึง เป็นการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาตามความเป็นจริง คือเห็นเวทนาที่ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าคล้อยตามอริยสัจจ์ จึงจะกล่าวได้ว่า "ตามความเป็นจริง" โดยไม่ตามตรึกเวทนาที่ปรากฏเฉพาะหน้านั้นไปตาม ความยินดี ความกระทบกระทั่ง ที่เกิดขึ้น

สมกับพุทธดำรัสว่า
"..ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ๑
ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่ดับ
แห่งเวทนา และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนา ภิกษุ
หายหิวแล้ว ดับรอบแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งเวทนา ทั้งหลาย ฯ
"

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม ด้วยเวทนานุปัสสนา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา จึงไม่ใช่การไปดับความเจ็บปวดทางกาย ความสุขทางกาย หรือโทมนัส โสมนัสอันปรากฏทางใจ
แต่เป็นการพิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ด้วยการโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นการพิจารณาโดยอุบาย หรือวิธีอันแยบคาย

อุบายหรือวิธีอันแยบคาย ก็คือถือเอาพระพุทธดำรัสอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เป็นปทัฏฐานในการพิจารณา คืออริยะสัจจ์ 4 และพระธรรมเทศนา. โดยพิจารณาเห็นอย่างไรตามพุทธดำรัสว่าเวทนานี้เป็นทุกข์ โดยเป็นเหตุที่เมื่อยังยินดีพอใจ หรือไม่พอใจกับเวทนานั้นแล้ว ย่อมนำไปสู่การประกอบอกุศลกรรม หรือนำไปสู่ชาติ ชรามรณะ.

การปฏิบัติธรรมจึงไม่ใช่เพื่อเป็นการดับความเจ็บปวด หรือการดับความสุขที่ปรากฏอันเนื่องด้วยขันธ์ 5 แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นการปฏิบัติโดยอาศัยเวทนา เพื่อการขจัดออกซึ่งธรรมอันนำไปสู่ความโลภ ความโกรธ และความหลง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 17:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างนางวิสาขา ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ถูกโทมนัสเวทนากลุ้มรุมอยู่เพราะเสียใจต่อการจากไปของหลานสาว

พระพุทธองค์จึงทรง ตรัสสอนให้นางวิสาขามีสติ ด้วยพระธรรมเทศนาอันกำจัดทุกขเวทนา. และนางวิสาขาก็โยนิโสมนสิการตามพระพุทธดำรัสนั้น เวทนาของนางจึงคลายไป.

๘. วิสาขาสูตร
[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล หลานของนางวิสาขามิคารมารดา
เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมารดามีผ้าเปียก ผมเปียก
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนาง-
*วิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง
นางวิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่
พอใจ ทำกาละเสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียกมีผมเปียก เข้ามา ณ
ที่นี้ในเวลาเที่ยง เจ้าค่ะ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์ในพระนคร
สาวัตถีหรือ ฯ
วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรและหลาน
เท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำกาละอยู่
ทุกวันๆ ฯ
วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัตถี ๑๐ คนบ้าง ๙ คน
บ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คนบ้าง ๒ คนบ้าง
๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวันๆ ฯ
พ. ดูกรนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึงเป็นผู้มี
ผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบางคราวหรือหนอ ฯ
วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วยบุตร
และหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน ฯ

พ. ดูกรนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘
ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖ ผู้นั้นก็มี
ทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔
ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่ง
ที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ส.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


นิโรธสมาบัติ คือ การดับสัญญา ความจำได้หมายรู้และเวทนาการเสวยอารมณ์ เรียก

ชื่อเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ, ซึ่งพระพระอรหันต์ และ พระอนาคามี ที่ได้ฌาน

สมาบัติ ๘ เท่านั้น ที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้

พระบาลีหลายแห่งยังระบุอานิสงส์ของ

การเข้าฌานสมาบัติไว้อีกว่า "เป็นการพักผ่อนของพระอริยเจ้า" สามารถระงับทุกข-

เวทนาทางกาย ฌานสมาบัตินี้สามารถเข้าได้นานสุดเพียง 7 วัน เพราะร่างกายของคน

เราจะทนอดทนกลั้นไม่กินข้าว ไม่หายใจ ไม่รับรู้อะไรเลยนั้น ฝืนธรรมชาติได้เพียง 7

วัน และเมื่อพระอริยบุคคลท่านนั้นออกจากฌานสมาบัติแล้ว ก็จะเกิดความหิวขึ้นมา

(เพราะว่าอดข้าวมาหลายวัน) บุคคลผู้ใดได้ให้อาหารแก่พระอริยบุคคลผู้แรกออกจาก

ฌานสมาบัติเช่นนี้ จะได้รับอานิสงส์ใหญ่หลวง เทียบเท่าระดับจักรพรรดิสมบัติ มี

สวรรค์และพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2010, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เวทนา เป็นอย่างไร
คือ เวทนา ๖ ประการนี้ ได้แก่
๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา
นี้เรียกว่า เวทนา

เพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาจึงมี เพราะความดับ
แห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาจึงมี
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ
สภาพที่สุขโสมนัสอาศัยเวทนาเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งเวทนา สภาพที่เวทนา
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ธรรมเป็นที่
กำจัดฉันทราคะ ธรรมเป็นที่ละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นเครื่องสลัดออกจากเวทนา
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา คุณแห่งเวทนา โทษ
แห่งเวทนา และเครื่องสลัดออกจากเวทนาอย่างนี้แล้วปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเวทนา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าปฏิบัติดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่า
มั่นคงในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้ชัดเวทนา ฯลฯ
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร