วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 05:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




4  2.jpg
4 2.jpg [ 103.56 KiB | เปิดดู 3543 ครั้ง ]
tongue
ของฝากก่อนวิสาขะบูชา

อนัตตา เป็นสุดยอดแห่งธรรมและคำบริกรรม ใครพิจารณาเห็นจริงจนใจยอมรับ ความสุข มรรค ผล นิพพาน จักเกิดตามมาทันที

วิธีภาวนา อนัตตา มี 4 ขั้นตอน

1.บริกรรม อนัตตา ตามลมหายใจเข้าออก จนชำนาญและขึ้นใจ (ขั้นชำระนิวรณ์ 5 )

2.บริกรรม อนัตตา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์ เช่นเสียง เป็นปัจจุบัน จิตรู้ที่เสียงแล้วบริกรรม อนัตตา ตามทันที อารมณ์ใหม่เกิดขึ้นเช่น เจ็บ จิตรู้ที่เจ็บ บริกรรม อนัตตา ตามทันที คิด นึก จิตรู้ที่ คิด นึก บริกรรม อนัตตา ตามทันที (ขั้นฝึกสติให้ทันปัจจุบันอารมณ์)

3.บริกรรม อนัตตา ให้ทันปัจจุบันอารมณ์แล้ว สังเกต พิจารณาอารมณ์ปัจจุบันนั้นๆ โดยมีจุดมุ่งหมายของการพิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตา หรือความบังคับไม่ได้ของอารมณ์นั้นๆ จนใจยอมรับความจริง
(ขั้น พิจารณาให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของอารมณ์)

4.ทิ้งคำบริกรรม นั่งเฉยๆ ตั้งสติ ปัญญาขึ้นมาเฝ้าดู เฝ้าสังเกตพิจารณาปัจจุบันอารมณ์ ให้เห็น เข้าใจ ยอมรับความบังคับไม่ได้ หรือความเป็นอนัตตา ของปัจจุบันอารมณ์นั้นๆ สะสมความเข้าใจและยอมรับความบังคับไม่ได้ หรือความเป็นอนัตตา ของปัจจุบันอารมณ์ไว้ ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส


เมื่อใจยอมรับอนัตตาจนถึงที่อันสมควรแล้ว ความสุข มรรคญาณ ผลญาณ จักเกิดขึ้นตามมาเป็นผลด้วยตัวของเขาเองโดยอัตโนมัติ

แม่แบบสำคัญที่จะช่วยให้เราเห็น เข้่าใจ จนจิตยอมรับ อนัตตา คือ ลมหายใจ เข้า - ออก ของเราทุกคน

ถ้าสงสัยวิธีการปฏิบัติ ให้กลับมาลองฝึกหัด สังเกต พิจารณาลมหายใจของตนเองให้ดี เราจะได้พบ รู้จัก เข้าใจ และยอมรับ ความเป็น อนัตตา ได้จากแบบฝึกหัดตัวอย่าง หรือตันแบบอันสำคัญนี้ หลังจากนั้นก็นำความรู้ความเข้าใจที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับ อารมณ์ ความรู้สึก สัมผัส ความนึกคิดต่างๆ ก็จะได้ผลเช่นเดียวกัน


การฝึกหัดภาวนาอนัตตาทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ให้ฝึกหัดไปทีละขั้นตอน จนชำนาญ แล้วจักเกิดผลดีแก่ชีวิต จิตใจ เข้าถึงธรรมได้โดยง่ายและลัดสั้น ขอให้พากันเกิดดวงตาเห็นธรรมเห็นอนัตตา เข้าถึงธรรม เข้าถึง มรรค ผล นิพพาน กัน ทันปิดประตูอบายได้ในชาตินี้ ทุกท่านทุกคนเทอญ

คัดลอกมาจากคำบรรยายวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์วิปัสสนากรรมฐานพระพุทธบาทเนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง

smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




02.jpg
02.jpg [ 23.66 KiB | เปิดดู 3519 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7820

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b20: :b8: ขออนุโมทนาสาธุการด้วยค่ะ ท่านอนัตตาธรรม :b20: :b8:

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




buddha2.gif
buddha2.gif [ 140.37 KiB | เปิดดู 3458 ครั้ง ]
tongue
เหตุผลที่อนัตตาเป็นสุดยอดแห่งธรรม

1.ในวิปัสสนาปัญญาหรือสามัญลักษณะ 3 พระพุทธเจ้าทรงสรุปไว้ว่า
สัพเพสังขารา อนิจจา = สังขารความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

สัพเพสังขารา ทุกขา = สังขารความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ (ต้องเปลี่ยนแปลง)

สัพ เพธัมมา อนัตตา ติ = ธรรมทั้งหมดทั้งปวง(ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขาร) เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา บังคับบัญชาไม่ได้

เมื่อพิจารณาตามสภาวธรรมและการปฏิบัติจริงแล้ว ทั้งอนิจจังและ ทุกขัง ล้วนแล้วไปขมวดรวมยอดลงที่ อนัตตา ทั้งสิ้น

ผู้รู้อนิจจัง อาจไม่รู้ถึง ทุกขังและ อนัตตา
ผู้รู้ ทุกขัง อาจรู้ถึง อนิจจัง แต่ไม่รู้ถึงอนัตตา

ผู้ใดรู้อนัตตา ย่อมจะแทงตลอดถึง อนิจจังและทุกขัง

2.ในธัมมคารวะคาถา เราจะได้สวดกันอยู่เสมอว่า

เยจะ อตีตพุทธา .........เป็นธรรมดาอยู่เองที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทั้งพระพุทธเจ้าในอดีต พระพุทธเจ้าในปัจจุบัน หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าที่จะมีมาในอนาคต
ทุกๆพระองค์ล้วนเคารพพระธรรม

พระธรรมอันเป็นที่สุดที่รวมแห่งธรรมคือ อนัตตาธรรม

ดังนั้นจึงได้กล่าวว่า "อนัตตา" เป็นสุดยอดแห่งธรรม ดังนี้


:b8: :b8: :b8: :b27: :b27: :b27:


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตาธรรม เมื่อ 23 พ.ค. 2010, 17:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




budsta3b.jpg
budsta3b.jpg [ 26.74 KiB | เปิดดู 3448 ครั้ง ]
:b8: :b8:
ธัมมคารวาทิคาถา
(หันทะ มะยัง ธัมมะคาระวาทิคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงความเคารพพระธรรมเถิด

เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย
สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะ ธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นทุกพระองค์เคารพพระธรรม,ได้เป็นมาแล้วด้วย,
กำลังเป็นอยู่ด้วย, และจักเป็นด้วย, เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง
ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ สะรัง พุทธานะ สาสะนัง
เพราะฉะนั้น, บุคคลผู้รักตน, หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง,
เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, จงทำความเคารพพระธรรม
นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ อุโภ สะมะวิปากิโน
ธรรมและอธรรมจะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้
อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติ สุคะติง
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ
ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์
ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ตน
เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ
นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2010, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Image-146.JPG
Image-146.JPG [ 52.91 KiB | เปิดดู 3423 ครั้ง ]
tongue
เหตุผลที่ว่า "อนัตตา" เป็นสุดยอดแห่งคำบริกรรม

เพราะ การบริกรรมคำว่า "อนัตตา" ตามลมหายใจเข้าออกไปจนขึ้นใจดีแล้ว จากนั้นก็สามารถบริกรรมคำว่า
"อนัตตา"ได้จนทันปัจจุบันอารมณ์ทุกอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด สัมผัส สติจะได้รับการฝึกหัดให้รู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ อันเป็นหัวใจสำคัญยิ่งประการที่ 1 ของการทำวิปัสสนาภาวนา

หลังจากนั้นจะมีสักวันหนึ่งที่อินทรีย์เกิดสม่ำเสมอ ได้สมดุลย์ เกิดฉุกใจคิดขึ้นมาด้วยตนเองอย่างเป็นธรรมชาติว่า เอ!

"อนัตตา" นี้มันหมายความว่าอย่างไร มันเป็นอาการอย่างไร?

จากนั้นกระบวนการ สังเกต พิจารณา ค้นหาความจริง โดยธรรมชาติ จักเกิดขึ้น มาค้นหาความหมายและความเป็นจริงของ อนัตตา

หากเป็นโชคดี บุญกุศลของผู้บริกรรม อนัตตา มาถึงเวลาอันสมควรแล้ว เขาจะเข้าใจและยอมรับ อนัตตา หรือเห็น อนัตตา ซาบซึ้งใจใน อนัตตา ด้วยตัวของเขาเอง ดวงตาเห็นธรรม จักเกิดขึ้น เปิดทางเข้าสู่มรรคญาณ ผลญาณ ด้วยตัวของผู้เจริญบริกรรมอนัตตา ผู้นั้น


ขอให้เป็นเช่นนี้ทุกท่าน ทุกคนเถิด สาธุ
:b8: :b8: :b8: :b27: :b27: :b27: :b16: :b12: :b1:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




F_0043_resize_resize.JPG
F_0043_resize_resize.JPG [ 88.8 KiB | เปิดดู 3394 ครั้ง ]
tongue

b]อนัตตา[/b]เป็นธรรมที่คู่ ตรงกันข้าม และเป็นคู่ปรับกับ อัตตา
เราสามารถเข้าถึงสภาวะ อนัตตา ได้โดยการใช้สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา ได้จากทั้ง 2 มุมมอง

การภาวนาอนัตตา ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นการมอง ค้นหาและพิสูจน์ ในมุมหรือด้านของอนัตตา

อีกด้านหนึ่งเราสามารถ สังเกต พิจารณาจากมุมของ อัตตา ได้เช่นกันและให้ผลได้เท่ากัน โดยให้ทุกท่านลองพิจารณาและทำความเข้าใจจาก ข้อท่องจำของผู้ปฏิบัติธรรมที่ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน พระพุทธบาทเนินฆ้อ อ.แกลง จังหวัดระยอง เขามีข้อท่องจำกันไว้ว่า

ก.งานและหน้าที่ของชาวพุทธ
1.ละความเห็นผิดว่าเป็นอัตตา ตัวกู ของกู
2.พอกพูนความเห็นถูกต้องว่าเป็น อนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวกู ของกู
ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส


ข.เมื่อเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยใช้สติ ปัญญา เฝ้าดู เฝ้าสังเกต พิจารณา เข้าไปในกายและจิต ณ ปัจจุบันขณะ ปัจจุบันอารมณ์ เราจะได้พบอุปาทาน ความเห็นผิด หรือความรู้สึกเป็นอัตตา ตัวตน เป็นกู เป็นเรา ผุดขึ้นมาตอบโต้ทุกการกระทบสัมผัสทางทวารทั้ง 6 สังเกตให้ดี เมื่อเห็นหรือรู้สึกถึงความเป็น กู เป็นเรานั้นแล้วจงทำดังต่อไปนี้

ใจปัญญา อย่ายอม ใจเป็น กู นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ ขันติ มิยอมถอย ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย (เหลาะแหละ) กู จะถอย หรือ ตายดับ ไปจากใจ


ลองไปพิสูจน์กันดูทั้งสองด้าน อัตตา หรือ อนัตตา ถนัด พิจารณาง่ายจากมุมไหน ก็เอามุมนั้น จะเห็นผลเร็วครับ
:b27: :b12: :b16: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa004.jpg
Resize of aa004.jpg [ 111.86 KiB | เปิดดู 3371 ครั้ง ]
tongue
เราเคยชินกับกรรมฐานพุทธานุสติ + อานาปานสติกรรมฐาน คือการ ท่อง บริกรรม คำว่า พุทโธ ตามลมหายใจเข้าออก

การท่องบริกรรมอนัตตาตามลมหายใจเข้าออก อาจสงเคราะห์เข้าเป็น ธัมมานุสติกรรมฐาน (นอกเหนือจากการบริกรรมว่าธัมโม ๆ ) เพราะ อนัตตา เป็นสภาวธรรมที่แสดงอยู่ทุกการกระทบสัมผัส ทุกอารมณ์ ดังคำสรุปว่า
"สัพเพธัมมา อนัตตา"
:b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa022.jpg
Resize of aa022.jpg [ 75.89 KiB | เปิดดู 3353 ครั้ง ]
:b27:
อธิบายเพิ่มเติม วิธีภาวนา อนัตตา 4 ขั้นตอน

1.บริกรรม อนัตตา ถี่ๆ ตามลมหายใจเข้าออก จนชำนาญและขึ้นใจ (ขั้นชำระนิวรณ์ 5 )

วิธีภาวนา อนัตตา 4 ขั้นตอนนี้ อุปมาดั่งการศึกษา 4 ระดับ คือ

อนุบาล

ประถม

มัธยม

มหาวิทยาลัย

ขั้นตอนที่ 1 การบริกรรมหรือท่องอนัตตา ถี่ๆ ตามลมหายใจเข้าออก นี้เป็นหัวข้อทฤษฎี แต่การปฏิบัติจริงนั้น มีรายละเอียดและข้อปลีกย่อยที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกสักนิดหน่อยครับ


ขั้นตอนที่ 1 นี้เป็นการวางรากฐานการภาวนา เป็นสมถะล้วนๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกหัดจิตให้รวมและตั้งมั่นอยู่กับ ลมหายใจ เข้า ออก โดยมีคำท่องบริกรรมว่า "อนัตตา" เป็นสิ่งกำกับจิต ถ้าจะเปรียบเทียบกับการภาวนาที่เราเคยชิน เคยรู้และนิยมกัน ก็อย่างเช่น การบริกรรม พุทโธ ตามลมหายใจเข้าออก หรือการบริกรรมคำว่า "หนอ"ตัดท้ายการหายใจเข้าออก อิริยาบถ ความรู้สึก นึกคิดต่างๆ

วิธีปฏิบัติใหม่ๆต้องทำในอิริยาบถนั่งซึ่งมั่นคงและมีโมหะเกิดยากกว่า อิริยาบถอื่น จากนั้นให้ มนสิการ คือตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจะเฝ้าดู เฝ้ารู้ ลมหายใจที่เข้าออก ณ ปัจจุบันขณะ พร้อมกับบริกรรมคำว่า อนัตตา ตามลมหายใจที่กำลังเข้าออก ใหม่ๆให้ท่องถี่ๆ ตอนลมเข้า ตอนหยุดระหว่างลมเข้าลมออก ตอนลมออก
พอนั่งภาวนาไปนานๆเข้า สมาธิเริ่มดีขึ้น ลมหายใจจะค่อยๆช้าลง ถึงตอนนี้การบริกรรมก็จะช้าและห่างไปเองตามธรรมชาติ จนในที่สุด การบริกรรม กับลมหายใจเข้าออกจะได้จังหวะกันเองไปตามธรรม ลองทำจริงๆแล้วสังเกตดู

หากบริกรรมไปนานๆแล้วเกิดความเหน็ดเหนื่อย ก็ให้หยุดคำบริกรรม แล้วให้เหลือแต่จิต คือ สติ รู้อยู่กับลมหายใจที่ เข้า ออก อยู่เฉยๆ พอจิตเริ่มจะฟุ้งหรือมีนิวรณ์อื่นๆเกิดขึ้นมารบกวน ก็ท่องบริกรรม อนัตตา เข้าไปช่วยสติ ให้ตัดนิวรณ์ธรรมเหล่านั้น

หากท่องภาวนาไปนานๆ สมาธิจะเกิด ผลของสมาธิ คือ ปีติ(ความซาบซ่าน ตัวยืดตัวพอง สั่น โงนเงน โยก คลอน ฯลฯ) ปัสสัทธิ(ความสงบกาย สงบใจ ความนิ่งของจิต) นิมิต (ความเห็นภาพและเกิดอาการแปลกๆต่างๆ จะเกิดขึ้น) จงกำหนดรู้แล้วปล่อยวาง ดึงสติให้มาสนใจแต่ลมหายใจเข้าออกและคำบริกรรมว่าอนัตตา เท่านั้น ถ้าผ่านด่านหรือกำแพงเครื่องกางกั้นคือนิวรณ์ 5 และผลของสมาธิที่แปลกปลอมต่างๆได้แล้ว จิตจะตั้งมั่น รวมเป็น 1 สังเกตได้จากความนึกคิดฟุ้งซ่านจะลดน้อยลงจนหยุดทำงานหยุดคิดหยุดนึก คำบริกรรมจะหายไปะเอง ลมหายใจจะสงบ เหลือน้อยไป ๆ จนเหมือนไม่มีลมหายใจแล้วสงบรู้อยู่กับอาการธรรมชาติต่างๆในกายและจิต จนเฉยและเป็นหนึ่ง
:09: :09: :09: :10: :114: :114:

ภาวนาหรือทำให้เข้าถึงความเฉยและเป็นหนึ่งให้คล่องชำนาญแล้วจึงเลื่อนขึ้นไปฝึกหัดขั้นตอนที่ 2
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร