วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 10:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ตถาคตคืออะไร หรือว่าคือใคร ใครรู้บอกทีนะครับ ขอบคุณ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




monk_jpg.jpg
monk_jpg.jpg [ 24 KiB | เปิดดู 10505 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

ขอยกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต...มาให้ครับ

๓. สังฆาฏิสูตร
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้
ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌา
เป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริ
แห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่
สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกล
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม
ย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐
โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าใน
กามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว
มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่
ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา ฯ


บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา
ดับความเร่าร้อนไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้
ผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่ไกลเท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญา
เป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบ ระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำ
ที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว
ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับ
ความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้ ฯ


จบสูตรที่ ๓


จากพระไตรปิฏกที่ยกมา คุณเสียงธรรมคิดว่าตถาคตคือใคร คืออะไรครับ :b16: :b16:

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


แก้ไขล่าสุดโดย ningnong เมื่อ 09 มิ.ย. 2010, 01:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตถาคต อาจจะเป็นได้ทั้งสรรพนาม ที่พระพุทธองค์ใช้ตรัสเรียกพระองค์เอง

แต่ ก็มีนัยยะที่ลึกกว่านั้นด้วย เช่น จาก ปัจจัยสูตร



ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนญฺญถตา อิทปฺปจฺจยตา
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท

ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตถตา เป็นคำสรุปรวมของเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตาซึ่งครอบโลกให้เหลืออยู่เพียงว่า ตถตา-เป็นอย่างนั้น ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็นดังนี้

อวิตถตา - ไม่ผิด ไปจากความเป็นอย่างนั้น
อนัญญถตา - ไม่เป็นไปโดยประการอื่นจากความเป็นอย่างนั้น
ธัมมัฏฐิตตา - เป็นความตั้งอยู่โดยความเป็นธรรมดาของธรรมชาติ
ธัมมนิยามตา - เป็นกฎตายตัวของธรรมดา

ทั้งหมดนี้มันยุ่งยากลำบากมากเรื่อง ไม่ต้องจำก็ได้ จำคำว่า "ตถตา" ไว้คำเดียวพอ แปลว่า เป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนั้นเอง การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือเห็นเช่นนั้นเอง หรือจะแยกออกไปเป็นว่า มันปรุงแต่งกันออกไปเป็นสายยาว เป็นปฏิจจสมุปบาท กระทั่งว่ามีอายตนะ มีผัสสะ มีเวทนา มีตัณหา มีอุปาทาน มีทุกข์ มันก็คือเช่นนั้นเอง ที่ต้องทุกข์ก็เพราะว่าเป็นเช่นนั้นเองอย่างนั้น ขณะใดไม่ต้องทุกข์ เพราะว่า มันเป็นเช่นนั้นเองอย่างนั้น ฉะนั้น เรามีเช่นนั้นเองไว้เป็นเครื่องดับทุกข์เถอะ อะไรเกิดขึ้นมาก็เห็นเป็นเช่นนั้นเองไว้ก่อน แล้วก็จะไม่รัก จะไม่เกลียด จะไม่โกรธ จะไม่กลัว ไม่วิตกกังวลอะไรหมด เพราะมันเช่นนั้นเอง

ถ้ามันเกิดทุกข์ขึ้นมา เราก็เห็นเช่นนั้นเองของความทุกข์ แล้วก็หาเช่นนั้นเองของความดับทุกข์ที่มันเป็นคู่ปรปักษ์กัน เข้ามาซี่ "เช่นนั้นเอง" อย่างนี้มันเป็นทุกข์ "เช่นนั้นเอง" ที่มันดับทุกข์ก็เอาเข้ามา มาฟัดกันกับ "เช่นนั้นเอง" เช่นนั้นเองกับเช่นนั้นเองมันก็ฆ่ากันเอง ในที่สุดความทุกข์มันก็ดับไป เพราะเรามีเช่นนั้นเอง ฝ่ายดับทุกข์หรือฝ่ายพระนิพพาน พุทธศาสนาเรียนได้ในพริบตาเดียวก็ด้วยคำว่า "เช่นนั้นเอง" หัวใจของปฏิจจสมุปบาท สรุปอยู่ที่คำว่าเช่นนั้นเอง ปฏิจจสมุปบาทคือคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนา คือสอนว่าทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรและดับไปอย่างไร สมตามที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ฉันไม่พูดเรื่องอื่น ฉันพูดแต่เรื่องความทุกข์ และความดับทุกข์เท่านั้น เดี๋ยวนี้ก็ดี ต่อไปข้างหน้าก็ดี" คือให้ความทุกข์และความดับทุกข์นี้ มันรวมอยู่ในคำว่า "เช่นนั้นเอง" เรียกว่า "ตถตา" ก็ได้ "ตถาตา" ก็ได้ "ตถา" เฉยๆ ก็ได้ หมายถึงสิ่งทั้งปวงเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัย ไม่มีใครสร้าง ใครบันดาล ให้มีให้เกิดขึ้น แต่เป็นเช่นนั้นขึ้นมาเอง

ในพระไตรปิฎกมีอยู่ทั้ง 3 คำ : ทั้งตถา ทั้งตถตา ทั้งตถาตา ฉะนั้นใครถึงตถา คนนั้นคือตถาคต ตถา + คตะ, ตถา แปลว่า เช่นนั้นเอง, คตะแปลว่า ถึง. ผู้ใดถึง ตถา ผู้นั้นชื่อว่า ตถาคต คือว่า ถึงความสูงสุดของสิ่งที่มนุษย์ควรจะได้จะถึง คือ ถึงเช่นนั้นเอง และ "เช่นนั้นเอง" ตัวใหญ่ที่สุด คือ พระนิพพาน"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นก็คือ เห็น ไม่ใช่ คำคารม Onion_L
เห็นก็คือเห็น แบบหลวงปู่มั่น หลวงพ่อสด

ไอ้ที่ยังไม่เห็น แล้วบอกไม่มีบ้าง อย่างโน้นอย่างนี้ คิดว่ายังไม่ถึงขั้น

แก้ ยังไม่ถึงขั้น

การเห็นไม่ได้เห็นด้วยตาเนื้อแน่นอน
เพราะตาเนื้อเรา เชื้อโรคบนพื้นบ้าง บนร่างกายเราบ้าง ๆลๆ เรายังมองไม่เห็นกันเลย

ปุถุชนบางคนอาจจะเห็นเพียงสัมภเวสีได้บ้างเป็นครั้งๆคราวๆไป


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 09 มิ.ย. 2010, 09:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 13:53
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เสียงธรรม เขียน:
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ตถาคตคืออะไร หรือว่าคือใคร ใครรู้บอกทีนะครับ ขอบคุณ


" ขอบคุณ "!!! ห้วนไปมั้ยครับ " ขอบคุณครับ " ดูเพราะกว่า สุภาพอ่อนโยนกว่า มั้ยครับ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:
:b41: :b41: :b41:
:b45: :b46: :b47: :b51: :b53: :b54:
:b55: :b55:
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b20:
...ตถาคตคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า...ไงเจ้าค่ะ...
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
tongue
:b20:
...ตถาคตคือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า...ไงเจ้าค่ะ...
:b8:

คือธรรมกายด้วย
และตัวพระตถาคตก็ไม่ใช่พระนิพพาน ไม่ใช่อายตนนิพพาน
มันเลยเถียง อัตตา อนัตตา กันมานาน
และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้มีพระองค์เดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝากอีกนิด เพียงแค่ ธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นในภายใน ในระดับสภาวะธรรมต่างๆ มันยังไม่เห็นกันเลย จะเอาปัญญาที่ไหนไปเห็นพระตถาคต ล่ะ???
Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
อ้างคำพูด:
หลับอยุ่ / เขียน
และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้มีพระองค์เดียว

:b16:
...พระธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัวมีว่าถ้านับน้ำ1หยดเท่ากับพระพุทธเจ้า 1 พระองค์...
...พระพุทธเจ้ามีเท่าน้ำในมหาสมุทรคิดดูสิว่าพระพุทธเจ้าที่อุบัติผ่านมาแล้วมีน้อยเมื่อไหร่...
:b20:
...ก็เวลามีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแต่ละครั้งมีได้เพียงครั้งละ 1 พระองค์ไม่ได้มาทีละหลายพระองค์อ่ะค่ะ...
:b8:
และเฉพาะพระพุทธเจ้าสมณโคดมพระองค์เดียวก่อนจะมาตรัสรู้ พบพระพุทธเจ้ามา 512,027 พระองค์...

อ้างคำพูด:
จากกระทู้ 26751 …สรุปแล้วการตั้งปณิธานเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโคดมนั้น...
...สิ้นเวลาถึง 20 อสงไขย 100,000 กัป...โดยแบ่งเป็นช่วงมโนปณิธาน 7 อสงไขย ...
...ช่วงวจีปณิธาน 9 อสงไขย และช่วงกายวจีปณิธาน 4 อสงไขย กับ 100,000 กัป…
…และได้พบพระพุทธเจ้ามากถึง 512,027 พระองค์...

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=26&t=26751

:b4: :b4:
:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี...
...ปัญญามิได้เกิดทันทีในวันเดียว...
...ต้องอาศัยการสั่งสมยาวนาน...
...ตามวาระกรรมของแต่ละดวงจิต...
:b43:
...ความเจริญด้วยปัญญาเจริญกว่าความเจริญทั้งหลาย...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=1078
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่ม

การที่มีผู้ปฏิบัติแล้วเห็นพระธรรมกายเห็นพระตถาคตเห็นองค์พระปฐม (ไม่บรรลุจริงแล้วบอกว่าเห็นเพื่อลาภสักการะไม่นับละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

พวกปุถุชนดันมองไปว่า ผิด เลิกศึกษาธรรมะได้แล้วแบบนี้ Onion_L


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 15:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตถาคต
ผู้ไม่ต้องเกิดดับตามปัจจัย, ผู้ปล่อยวาง ผู้เข้าถึงหรือเห็น ตถตา(ความเป็นไปตามธรรมชาติ)
โดยถูกต้องสมบูรณ์ ย่อมเป็นตถาคต(พระอรหันต์)
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ ตกลงตถาคตแปลว่าพระพุทธเจ้าใช่มั้ยครับ ความรู้ใหม่ๆ เพิ่งรู้นะนี่ว่า
พระพุทธเจ้ามี 500,000 กว่าองค์

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ningnong เขียน:
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

ขอยกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต...มาให้ครับ

๓. สังฆาฏิสูตร
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้
ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌา
เป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริ
แห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่
สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกล
ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม
ย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐
โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าใน
กามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว
มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่
ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา ฯ


บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา
ดับความเร่าร้อนไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้
ผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่ไกลเท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญา
เป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบ ระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำ
ที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว
ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับ
ความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้ ฯ


จบสูตรที่ ๓


จากพระไตรปิฏกที่ยกมา คุณเสียงธรรมคิดว่าตถาคตคือใคร คืออะไรครับ :b16: :b16:

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:


ธรรมคืออะไรครับ รู้ธรรมด้วยปัญญาคืออะไรครับ แล้วลักษณะของบัณทิตนี่ คงไม่ใช่เปรียญ9นะครับ
:b16: :b16: :b16: :b16:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร