วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 18:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีประเด็น จากเพื่อนทางธรรมท่านหนึ่ง ที่น่าสนใจ

มานำเสนอครับ


อ้างคำพูด:
หลวงพ่อท่านหมายเอาเฉพาะสมถะในสี่สิบแนวทางกระมัง ตรงๆก็คือพวกที่ยึดการบริกรรมรึเปล่า(ยุบหนอขพองหนอ พุทโธ สัมมาอะระหัง ฯลฯ)
จากประสพการณ์ตรง การเจริญกัมมฐาน ก็เป็นดังที่หลวงพ่อท่านว่าไว้จินๆ (ทั้งไม่ได้คล้อยตามคำพูดของท่านนะครับ ประสพเอง) สังเกตเห็นว่าหลังจากเจริญภาวนามักมีอารมณ์โกรธเร็ว

แต่ขณะเดียวกันที่เจริญปัญญาภาวนานั้น อารมณ์ที่พลุ่งพล่านเร็วนั้นก็ผ่อนลงเร็วไปด้วย แต่ไม่ใช่ผ่อนแบบค่อยๆหายโกรธนะครับ ผ่อนแบบเหนื่อยหน่ายหรือไม่เห็นความเป็นแก่นสารของความโกรธ ๆลๆ




ความเห็น;

ถ้าเป็นลักษณะ ที่บางท่านประสบพบมา เป็นประสบการณ์ส่วนบุคคล ผมก็ขอน้อมรับฟัง



แต่ ถ้า เป็นการใช้ "ลักษณะที่ปรากฏต่อ บุคคลหนึ่ง หรือ กลุ่มหนึ่ง " มาตัดสินว่า " ทุกๆคนที่ถ้า เจริญสมถะแล้วจะโกรธเร็ว ..... ผมไม่เห็นด้วยครับ.
เพราะ เป็นลักษณะเหมารวม...

พื้นฐานจริต ตลอดจน ความแยบคายในการปฏิบัติ ของแต่ล่ะคนย่อมแตกต่างกันไป... จึง ไม่ควรใช้ "ลักษณะที่ปรากฏต่อ บุคคลหนึ่ง หรือ กลุ่มหนึ่ง " มาตัดสินว่า "ทุกๆคนต้องเป็นเช่นนี้ทั้งหมด"

และ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้า และ ครูบาอาจารย์พระสุปฏิปันโนทั้งหลาย(นอกเหนือจากบางองค์) ...ท่าน คงเตือนเอาไว้แล้ว ว่า "ระวังน่ะ เจริญสมถะ แล้วจะโกรธเร็ว"


เอาง่ายๆ คงได้ยินที่ชาวพุทธรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่นิยมกล่าวว่า เจริญสมถะแล้วเป็นเหตุให้ เฉยเมย เซื่องซึม จมแช่ ๆลๆ(กำลังบรรยายถึง ถีนะมิทธะนิวรณ์) .
ลองพิจารณาดูความหมายของคำเหล่านี้ดีๆ... คำเหล่านี้ ตรงกันข้ามกับคำว่า โกรธง่าย เลย...


ผมเห็นว่า สาเหตุที่ โกรธเร็ว นั้นคือ ขาดสติ .....คือ ตอนภาวนาก็มีสติอยู่หรอก แต่ พอเลิกภาวนาก็โยนสติทิ้งไปเลย ไม่ได้เพียรรักษาสติให้สืบเนื่อง.
มันเลยระเบิดอารมณ์ง่าย.


หรืออาจจะไปเจริญ มิจฉาสมาธิ เข้า โดยไม่รู้ตัว น่ะครับ

อ้างคำพูด:
จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตผิด ได้แก่ ตั้งจิตเพ่งเล็ง จดจ่อปักใจแน่วแน่ในกามราคะ พยาบาท เป็นต้น หรือเจริญสมาธิแล้ว หลงเพลิน ติดหมกมุ่น ตลอดจนนำไปใช้ผิดทาง ไม่เป็นไปเพื่อญาณทัสสนะ และความหลุดพ้น — wrong concentration)




ถ้า เป็นสมถะชนิดที่เป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรคแล้ว จะไม่มีทางเป็นเหตุให้โกรธเร็วหรอกครับ

เป็นไปไม่ได้เลย!!!



ลักษณะของจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ จะบรรยายไว้ว่า
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

และ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิระดับสูงจะบรรยายด้วยว่า
มีสติบริสุทธิ์



จึงขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับ บทสรุป ที่ว่า "เจริญสมถะ แล้ว โกรธเร็ว" ครับ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เสนอ พิจารณา


สมถะ ที่เจริญแล้ว เป็นเหตุให้โกรธเร็ว.... ว่า เป็น สมถะ แบบไหน ใน ความหมายของ สมถะ ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก


จากพระไตรปิฎก สมถะ มีความหมาย ครอบคลุมทั้ง

1.มิจฉาสมาธิ

Quote Tipitaka:
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่34

อกุศลธรรม
อกุศลจิต ๑๒
----------
จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย
[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?


[๓๐๕] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.


2.สัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ เช่น บรรยาย ในรูปาวจรกุศลจิต(รูปฌานที่เป็นโลกียะ) ในอรูปาวจรกุศลจิต(อรูปฌานที่เป็นโลกียะ)

3.สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

Quote Tipitaka:
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่34

โลกุตตรกุศลจิต
มรรคจิตดวงที่ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?

[๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต
ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ
สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.





สมถะ ที่เจริญแล้วเป็นเหตุให้โกรธเร็ว ..... ผมเห็นว่าอาจจะเป็น

1.ไปเจริญมิจฉาสมาธิเข้า

หรือ

2.เจริญเป็นสัมมาสมาธิที่ยังคงเป็นโลกียะอยู่.โดยที่ ในตอนตั้งใจภาวนานั้น ก็มีสติสืบเนื่องดี แต่ พอครั้นเวลาเลิกภาวนาแล้ว ก็ ไม่มีสัมมัปทาน คือ ไม่เพียรรักษาสติให้สืบเนื่องต่อไป.มีอารมณ์ที่รุนแรงมากระทบ ก็ตอบสนองไปแบบฉับพลันทันใดเลย(ปราศจากทมะ) เป็นลักษณะ เลิกภาวนาแล้วก็ปล่อยสติทิ้งไปเลย.... มันจึงอาจจะเป็นลักษณะเหมือน เจริญสมถะแล้ว แต่ กลับเหมือนยังโกรธง่ายอยู่




ส่วน สมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิที่เป็นองค์มรรค เป็นโลกุตระ) นั้น... ไม่มีทางเลย ที่เจริญแล้ว จะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น มันจึงอยู่ที่ การเข้าใจในขอบเขตของคำว่า สมถะ ไม่ตรงกัน


...............................


# ถ้า จำกัดความหมายของ สมถะ เอาไว้ที่เพียง

1.มิจฉาสมาธิ

และ/หรือ

2.การไปติดตันยินดีอยู่เพียงสุขในสมาธิที่เป็นโลกียะจนเป็นเหตุไม่ใช้ความสงบของจิตมาเอื้อต่อการเจริญปัญญา(ความหมายของ ศิลาทับหญ้า)

โดยที่ ไม่ถือว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ นับว่าเป็น สมถะ ด้วย

ก็อาจจะเข้าใจได้ว่า การเจริญสมถะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว


...............................


# แต่ ถ้า ถือตามพระไตรปิฎก ว่า

1.มี สมถะที่แม้นยังเป็นโลกียะอยู่แต่สามารถนำมาสนับสนุนการเจริญปัญญาได้จริง(เช่น ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงใน ปาสาทิกสูตร) คือ ไม่จำกัดความหมายของสมถะ อยู่เพียง สมถะศิลาทับหญ้า

และ/ หรือ

2.สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็นับว่าเป็น สมถะ เช่นกัน(อ้างอิง จาก พระไตรปิฎกเล่มที่๓๔ หัวข้อ ๒๕๓ ใน คห.ก่อนนี้)


การเจริญสมถะ ในความหมายเช่นนี้ ย่อมไม่มีทางจะเป็นเหตุให้โกรธเร็ว ได้เลย!!!


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบัน


ผลการวิจัย คลื่นไฟฟ้าสมองในผู้ที่เจริญสมาธิภาวนา(เช่น เมตตาภาวนา;เป็นสมถะกรรมฐานเช่นกัน)

ช่วยเฉลยปัญหาที่ว่า

เจริญสมถะแล้วโกรธเร็ว???


....................



มีผลการวิจัยที่ชัดเจน อีกชิ้นหนึ่ง ทำในอเมริกา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา

นักวิจัยอเมริกาเคยศึกษาในพระภิกษุทิเบต เกี่ยวกับเรื่องนี้เคยลงใน


อ้างคำพูด:
Meditation Gives Brain a Charge, Study Finds

By Marc Kaufman
Washington Post Staff Writer
Monday, January 3, 2005; Page A05

washingtonpost.com/wp-dyn...-2005Jan2.html




ใครสนใจไปอ่านฉบับเต็มเอาเองเพราะยาวมาก....เขาใช้วิธี เมตตาภาวนา(สมถะ)....

นักวิจัยท่านนี้ท่านวิเคราะห์ว่า การฝึกเมตตาภาวนา(สมถะ)อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างถาวรกับสมองด้วย.....

เพราะเขาพบว่าในกลุ่มพระทิเบตที่ฝึกสมาธิมานานจะมีระดับเบสไลน์ของแกมม่าเวฟสูงกว่าปกติมากแม้นแต่ในขณะที่ไม่ได้อยู่ในอารมณ์สมาธิ.....



(Davidson concludes from the research that meditation not only changes the workings of the brain in the short term, but also quite possibly produces permanent changes. That finding, he said, is based on the fact that the monks had considerably more gamma wave activity than the control group even before they started meditating. A researcher at the University of Massachusetts, Jon Kabat-Zinn, came to a similar conclusion several years ago. )

ตรงนี้อธิบายได้ว่าทำไมผู้ที่มีเมตตาจิตจากการภาวนา....จะมองโลกในแง่ดี....หลับก็ฝันดี

คลื่นแกมม่า เป็นคลื่นสมองที่มีความถี่อยู่ในช่วงสูงสุด ....สูงกว่า เบต้าเวฟขึ้นไป(ผมไม่ได้กล่าวถึง ใน คห ก่อนหน้านี้ ) ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของสมองที่กำลังหลับ.....

คลื่นแกมม่าเป็นคลื่นที่แสดงถึงทางบวกในการทำงานของสมอง
คลื่นแกมม่าบ่งบอกการมองโลกในแง่ดี การมีเมตตา


(ส่วน คลื่นอัลฟ่าบ่งบอกการผ่อนคลายแต่ตื่นตัว มีประโยชน์ในการเรียนรู้)

สมองในขณะต่างๆจะมีคลื่นที่แตกต่างกัน เช่น คนตื่นจะเป็นแบบหนึ่ง คนนอนหลับตื้นจะเป็นแบบหนึ่ง คนนอนหลับลึกจะเป็นแบบหนึ่ง คนโคม่าจะเป็นแบบหนึ่ง ......

ทีนี้ผลการวิจัยนี้มันออกมาน่าสนใจว่า คลื่นสมองของผู้เจริญเมตตาภาวนาต่อเนื่องจะมีคลื่นแกมม่าเวฟ(ความถี่สูงสุด)สูงกว่าคนปกติ ทั้งในขณะที่ไม่ได้เจริญสมาธิ ในขณะเจริญสมาธิ และภายหลังออกจากสมาธิแล้ว..... คลื่นแกมม่าเวฟนี้จะบ่งบอกถึง การทำงานเชิงบวกของสมอง เช่น ความสงบ ความอิ่มเอิบ การมองโลกในแง่ดี(โกรธยาก)....... เลยแปรได้ว่าคนที่ฝึกสมาธิเมตตาภาวนาต่อเนื่องจะมีการเปลี่ยนแปลงของสมองแบบถาวรในเชิงบวก

นี่เป็นจุดอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้ว่าทำไมสมาธิเมตตาภาวนาจึงทำให้ผู้ฝึกเป็นประจำมีสุขภาพจิตที่ดี......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 22:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จึงขออนุญาตไม่เห็นด้วยกับ บทสรุป ที่ว่า "เจริญสมถะ แล้ว โกรธเร็ว" ครับ.


ครับ..เห็นด้วยครับ..กับการไม่เห็นด้วยกับบทสรุปที่ว่า...."เจริญสมถะ แล้ว โกรธเร็ว"..

อ้างคำพูด:
สมถะ ที่เจริญแล้วเป็นเหตุให้โกรธเร็ว ..... ผมเห็นว่าอาจจะเป็น


กบฯ ก็เป็นนะครับ..ที่รู้โกรธเร็วขึ้น..จนตัวเองก็รำคราญเหมือนกัน..จนต้องไปปรึกษาผู้รู้

แต่..กบฯ..คิดว่า..อาจเป็นเพราะ..เรารู้สึก..ได้ดีขึ้น..มั้ง??

โกรธก็รู้ว่าโกรธ..จากที่แต่ก่อน..ไม่ได้นึกว่าเป็นอะไร..ปล่อยใจตามกระแสโกรธไปซะอย่างนั้น

แต่แปลกอยู่อย่างนะครับ..

แม้..รู้โกรธ..มีมากขึ้น..แต่..เวลาที่โกรธมันสั้นลง..


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 01 มิ.ย. 2010, 22:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เจริญอัปปมัญญาภาวนา

นอกจากจะเป็นคนโกรธยากแล้ว

ยังเป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา.....อีกต่างหาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 23:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:
ขนาดนั้นเลยซึ..
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

กบฯ ก็เป็นนะครับ..ที่รู้โกรธเร็วขึ้น..จนตัวเองก็รำคราญเหมือนกัน..จนต้องไปปรึกษาผู้รู้

แต่..กบฯ..คิดว่า..อาจเป็นเพราะ..เรารู้สึก..ได้ดีขึ้น..มั้ง??

โกรธก็รู้ว่าโกรธ..จากที่แต่ก่อน..ไม่ได้นึกว่าเป็นอะไร..ปล่อยใจตามกระแสโกรธไปซะอย่างนั้น

แต่แปลกอยู่อย่างนะครับ..

แม้..รู้โกรธ..มีมากขึ้น..แต่..เวลาที่โกรธมันสั้นลง..



เป็นไปได้ครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คงหมายถึงโกรธง่าย

เกิดจากอุปาทานครับ

ไม่ใช่ปฏิบัติสมถะหรือปริยัติ แต่เกิดกับตัวบุคคล

เกิดจากอัสมิมานะ

รู้ลึกตนดีกว่า เก่งกว่า รู้มากกว่า วิเศษกว่า ผู้อื่น

คือยึดตนเป็นศูนย์กลางความถูกต้อง

เมื่อรอบข้างมีสิ่งที่เกิดขึ้นแตกต่างจากทัศนะตนก็ไม่ถูกใจจึงโกรธ

เรียกว่า

กุศลกรรมก่อให้เกิดอกุศลกรรม



มาในกรณีที่คุณตรงประเด็นกล่าวถึงเป็นตังอย่างนั้น

ผมเดาเอาว่า

นำมาจากอัตตโนมัติของคนที่ต่อต้านสมถะโดยมีอคติ

แต่ยกย่องสำนัก ท่านแนบ ท่านบุญมี

เป็นนักลิงค์มืออาชีพ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...การเจริญสมถะ...ถ้าหมายถึงการเจริญสมาธิจนจิตสงบแล้ว...
...สำหรับตัวข้าพเจ้าเองใจสงบจากความฟุ้งซ่านรำคาญได้ค่ะ...
...ไม่เดือดร้อน รำคาญกับหมู่คนที่ส่งเสียงอันดังรบกวนอยู่รอบข้าง...
...คือปล่อยให้สิ่งแวดล้อมดำเนินไปโดยไม่รบกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวค่ะ...
...การทำสมาธิแม้ไม่ได้หลับตาจิตก็มีความสงบและแผ่เมตตาจิตได้ตลอดเวลา...
:b8:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นกุศล ให้ผลเป็นสุข เสมอ

สมถะ มีอยู่ในจิต แทบทุกประเภท ยกเว้น อกุศลจิตที่มีความลังเลสงสัยเกิดร่วมเกิดพร้อม

ดังนั้น สมถะ ไม่ต้องเจริญ สมถะก็มีอยู่แล้ว

สัมมาสมาธิ ควรเจริญ

จิตโกรธ เพราะถูก ความโกรธครอบงำ แม้จิตโกรธนั้น ก็สมถะในความโกรธ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y9296500-34.jpg
Y9296500-34.jpg [ 37.14 KiB | เปิดดู 4455 ครั้ง ]
คลื่นแกมม่า รังสี ออร่า เกี่ยวกับฉัพพรรณรังสีไหม???
อ้างคำพูด:
ฉัพพรรณรังสี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ฉัพพรรณรังสี คือสีที่แผ่ออกจากพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี ๖ สี คือ 1 โอตาทะกัง ขาว 2 ปีตัง เหลือง 3 โลหิตัง แดง 4 นีลัง เขียว 5 มัญเญถ ชมพู 6 ปภัสสร สีม่วงฟ้า (อัญชัน) แสงเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า วรรณรังสี (แสงออร่า) ซึ่งทั้ง ๖ สีถือว่า เป็นสีมงคลของชาวพุทธ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 02 มิ.ย. 2010, 12:33, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลวงพ่อท่านหมายเอาเฉพาะสมถะในสี่สิบแนวทางกระมัง ตรงๆก็คือพวกที่ยึดการบริกรรมรึเปล่า(ยุบหนอขพองหนอ พุทโธ สัมมาอะระหัง ฯลฯ)
จากประสพการณ์ตรง การเจริญกัมมฐาน ก็เป็นดังที่หลวงพ่อท่านว่าไว้จินๆ (ทั้งไม่ได้คล้อยตามคำพูดของท่านนะครับ ประสพเอง) สังเกตเห็นว่าหลังจากเจริญภาวนามักมีอารมณ์โกรธเร็ว

แต่ขณะเดียวกันที่เจริญปัญญาภาวนานั้น อารมณ์ที่พลุ่งพล่านเร็วนั้นก็ผ่อนลงเร็วไปด้วย แต่ไม่ใช่ผ่อนแบบค่อยๆหายโกรธนะครับ ผ่อนแบบเหนื่อยหน่ายหรือไม่เห็นความเป็นแก่นสารของความโกรธ ๆลๆ





น่าเสียดาย เจอสภาวะ แต่ไม่รู้จักสภาวะ
การปฏิบัติ แล้วมีคนเจอกิเลสของตัวเอง แต่ความที่ว่า ไม่รู้จักกิเลสที่เป็น สภาวะกิเลส
จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ยิ่งทำ ทำไมอารมณ์โกรธจึงเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

ตรงนี้ถ้าจะให้การแนะนำ ควรถามว่า เวลาเดินจงกรม รู้อยู่กับกายที่เคลื่อนไหว รู้ที่เท้าชัดไหม
เวลานั่ง มีเคลิ้ม มีง่วง มีงูบ มีหลับ มีดิ่งคือขาดความรู้สึกตัวไปมั่งไหม
เพราะส่วนมากเท่าที่ถามๆมา คำตอบคือ ชอบนั่ง ไม่ชอบเดินจงกรม

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร