วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 06:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

แตกต่างแต่ไม่เคยแตกแยก สัมพันธ์ "พระป่า-พระบ้าน"


"อยู่เรียบง่าย แต่จิตใจสูงส่ง" เป็นอุดมคติที่เราใช้มองรูปแบบของวิถีชีวิตพระสงฆ์ขั้นสูงสุด หรือเราเรียกว่า "พระอริยะเจ้า" สถานภาพพระสงฆ์จากทัศนะอันนี้ ทำให้พระสงฆ์ได้รับการปฏิบัติเหมือนบุคคลชั้นสูงในสังคม พระสงฆ์จึงได้รับการดูแลอย่างดี ได้รับความเคารพกราบไหว้ นับถือ บูชาสักการะ ได้รับการอุปถัมภ์ทางด้านวัตถุและปัจจัย 4 อันประณีต

ทั้งนี้เนื่องมาจากบุคลิกภาพที่น่าประทับใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป อันได้แก่ ความเป็นอยู่เรียบง่ายในรูปแบบชีวิต (Life Style) ด้วยพระวินัย และสภาพจิตใจที่ประเสริฐและสูงส่งด้วยธรรมะ ที่เหนือกว่าสามัญชนทั่วไป

พระวินัย-สิ่งที่สร้างรูปแบบชีวิตของพระสงฆ์
ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายอันประกอบไปด้วยสาระที่เรียกว่า "พระวินัย" เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของพระ พระภิกษุ เมื่อเข้ามาบวชพระอุปัชฌาย์ได้แนะนำในสิ่งที่ปฏิบัติได้และปฏิบัติไม่ได้

- สิ่งที่ปฏิบัติได้ เรียกว่า "นิสัย" มี 4 ประการคือ
1. บิณฑบาต
2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
3. อยู่โคนไม้
4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า
นิสัยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อความเป็นพระที่สมบูรณ์ แต่เป็นทางเลือก มิได้บังคับ

- สิ่งปฏิบัติไม่ได้เรียกว่า "อกรณียกิจ" มี 4 ประการเช่นกัน คือ
1. เสพเมถุน
2. ลักขโมย
3. ฆ่ามนุษย์
4. อวดอุตริมนุษยธรรม

การล่วงละเมิดใน 4 ประการกนี้ ทำให้ชีวิตความเป็นพระสิ้นสุดลงทันที
ทั้ง 2 ประการนี้ เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตของความเป็นพระแบบพุทธดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
ศาสนกิจแบ่งพระสงฆ์ตามความถนัด แต่จุดหมายเดียวกัน
ศาสนกิจคือ สิ่งที่พระภิกษุต้องปฏิบัติหลังจากบวชแล้ว ท่านเรียกว่า "ธุระ" มี 2 อย่างคือ

1. คันถธุระ = ธุระฝ่ายคัมภีร์ กิจด้านการเล่าเรียน, ศึกษาพระธรรมวินัย = คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด

2. วิปัสสนาธุระ = ธุระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน = กิจด้านการบำเพ็ญภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน

ตามระบบในพระวินัย พระภิกษุต้องอยู่ในสำนักเดียวกับอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยอย่างน้อย 5 พรรษา (นวกภูมิ) จึงจะพ้นจากนิสัย (นิสัยมุตตกะ) ไปอยู่ที่อื่นได้และในระหว่างนั้นก็ต้องศึกษาด้านคันถธุระเป็นพื้นฐาน อาจจะมีการปฏิบัติที่หลังหรือควบคู่ไปกับการศึกษาก็ได้ตามความเหมาะสม ปริยัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิเวธ

มีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งชอบและถนัดในด้านปริยัติ จึงมีหน้าที่รวบรวม ประมวล ถ่ายทอด เผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ไปสู่ผู้อื่น และบริหารดูแลกิจการคณะสงฆ์ พระสงฆ์กลุ่มนี้เรียกว่า "พระสายปริยัติ" พระสายนี้มักจะอยู่กับที่ อยู่ในสำนัก ในวัดและอยู่ใกล้กับบ้าน ต่อมาก็อยู่ใกล้เคียงกับชาวบ้าน จึงมักถูกเรียกว่า "พระบ้าน" (คามวาสี)

ธุดงควัตร-จุดกำเนิดของพระป่า
ในการปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระภิกษุไปอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ที่ที่ทรงแนะนำ เช่น สุญญาคาร (เรือนว่าง) ป่าช้า ป่า โคนไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่สัปปายะ (สะดวกและเหมาะสม) สำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง

ในสมัยพุทธกาลพระมหากัสสปเถระนิยมชมชอบการปฏิบัติธรรมในลักษณะเช่นนี้ เท่านั้นยังไม่พอท่านยังปฏิบัติให้เคร่งครัดเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีกโดยการปฏิบัติธุดงควัตร(ธรรมอันเป็นอุบายดับกิเลส และช่วยส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ) จนพระบรมศาสดาสรรเสริญท่านให้เป็นเอตทัคคะในด้านนี้ ซึ่งมีพระอีกจำนวนมากที่ชอบและถนัดในการปฏิบัติในสายนี้

ต่อมาพระในสายนี้ได้เป็นตัวแทนพระภิกษุที่ปฏิบัติเคร่งครัด ที่เราเรียกว่า "พระป่า" (อรัญวาสี)
ข้อสังเกตประการหนึ่งต่อสายพระป่า ได้แก่ พระพุทธองค์ไม่ทรงบังคับให้พระภิกษุทุกรูปปฏิบัติเช่นนี้ตลอดเวลา หลักฐานที่ปรากฏชัด เช่น ข้อเสนอของพระเทวทัต 5 ประการ เช่น การอยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร เป็นต้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต โดยให้ถือเป็นทางเลือกก็พอ

ปฏิเวธ คือ จุดมุ่งหมายของพระทั้ง 2 สาย
การบรรลุธรรม (วิมุตติ) เป็นจุดหมายสูงสุดของการบวชในพระพุทธศาสนา การบรรลุธรรมต้องอาศัยทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็จะทำให้การบรรลุธรรมเป็นไปได้ยาก พระสงฆ์ที่เก่งด้านปริยัติอย่างเดียวไม่ปฏิบัติก็มืดบอด ปฏิบัติอย่างเดียวไม่มีปริยัติก็หลงทาง ทั้งสองฝ่ายต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่หนทางเดียวกันคือปฏิเวธ

อีกประการหนึ่ง ในการธำรงและสืบทอดพระศาสนา ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันพระศาสนาไม่เสื่อมลง เมื่อไม่มีปริยัติ ปฏิบัติก็ไม่มี ปฏิเวธไม่ต้องพูดถึง เพราะปริยัติ (พุทธธรรม) เป็นผลมาจากการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซึ่งได้แก่ ปฏิเวธนั่นเอง
พระป่า-พระบ้านในเมืองไทยกับริบทที่แปรเปลี่ยน

เมื่อประเทศไทยรับพระพุทธศาสนาเข้ามา เราไม่ได้รับเข้ามาเพียงหลักธรรมเท่านั้น แต่ยังได้รับวัฒนธรรมของสงฆ์เข้ามาอีกด้วย ในสมัยสุโขทัย มีการแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายเช่นกัน คือ
1. คามวาสี คือ คณะของพระภิกษุที่ศึกษาเน้นหนักในด้านพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ต่างๆ รวมทั้งวิทยาการต่างๆ อาศัยอยู่ในเขตเมืองหรือใกล้ชุมชน

2. อรัญวาสี คือ คณะของพระภิกษุที่เน้นหนักในด้านการปฏิบัติ มุ่งบำเพ็ญภาวนา อยู่ในป่าและสถานที่ห่างไกลจากบ้านและชุมชนออกไป

การแบ่งคณะสงฆ์ในลักษณะนี้ เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมเปลี่ยนไปจากเรื่องศาสนามาเป็นเรื่องสังคมและการเมือง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม จนมาถึงรัตนโกสินทร์ คณะสงฆ์ได้แบ่งออกไปเป็น 2 นิกาย คือ

1. มหานิกาย - พระสงฆ์จำนวนมากที่เป็นฝ่ายดั้งเดิม
2. ธรรมยุต - พระสงฆ์คณะใหม่ มีระเบียบวิธีปฏิบัติและความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนจากเดิม


ทั้งมหานิกายและธรรมยุต มีพระทั้ง 2 แบบ คือ มีทั้งพระป่าและพระบ้านทั้ง 2 นิกาย ต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระเถระที่ชาวบ้านนับถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโน มีศีลาจารวัตรงดงามและเป็นต้นแบบพระสายป่าในเมืองไทย ท่านได้นำการธุดงค์และอยู่ป่าเป็นวัตร มาเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับในคณะสงฆ์และสร้างศรัทธาในหมู่ญาติโยม ข้อสังเกตจากพระภิกษุสายอาจารย์มั่น คือ เป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักจะคิดว่าพระสายป่าที่ปฏิบัติเคร่งครัดเป็นพระสายธรรมยุตไปด้วย
เก่งกับเคร่ง-จุดแข็งและจุดอ่อนของพระทั้ง 2 สาย

ดังกล่าวแล้วพระสายปริยัติ (พระบ้าน) มีความมุ่งมั่นและเชี่ยวชาญในพระปริยัติ รวมทั้งด้านการบริหารคณะสงฆ์ด้วย พระสงฆ์สายบ้านจึงมีความรู้ในพระปริยัติอย่างดี มีความสามารถในด้านบริหาร ซึ่งเห็นได้จากระบบการศึกษาสงฆ์และการปกครองคณะสงฆ์ทั้งหมดอยู่ในกำมือของพระสายบ้าน และพระสายนี้ถือเป็นรากฐานที่แท้จริงของคณะสงฆ์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของคณะสงฆ์ทั้งหมด อีกอย่างหนึ่งคณะสงฆ์สายนี้ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์การของรัฐ และมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความเป็นปึกแผ่นต่อชาติ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาคุ้มครองปกป้องพระศาสนาในคราวมีภัยในนามของพระสงฆ์ทุกฝ่าย เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับบ้านเมืองและประชาชน นี้เป็นจุดแข็ง

จุดอ่อนของคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี คือ มักจะถูกชาวบ้านและคณะสงฆ์สายอื่นมองว่า "ไม่เคร่งครัด" ประพฤติย่อหย่อนในด้านพระวินัย ทั้งที่ความจริงอาจจะตรงกันข้ามก็เป็นได้ ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากกว่า การที่พระสายบ้านถูกมองอย่างนี้อาจจะเป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของพระสายบ้านใกล้ชิดและไม่แตกต่างกับชาวบ้านเท่าไร เช่น การปกครอง การศึกษา การใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการ ฯลฯ และความเก่งในสายปริยัติเอง ในบางครั้งอาจมองว่าพระสายอื่นว่ารู้น้อยกว่า จนเกิดการเปรียบเทียบได้
ความเคร่งครัด สร้างศรัทธาให้พระป่า

ค่านิยมทำบุญกุศลกับพระสายป่า มาจากการปฏิบัติที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรของแต่ละท่าน พระป่าเป็นที่นิยมของชาวบ้านในการทำบุญกุศล ชาวบ้านญาติโยมบางส่วนอาจจะคิดว่าทำบุญกับพระป่าได้บุญมากกว่าพระสายบ้าน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่มีพุทธพจน์รับรอง อันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราสังเกตได้ ความเป็นอยู่เรียบง่าย วิถีชีวิตที่สันโดษ กอปรกับการปฏิบัติเคร่งครัดในด้านธุดงควัตร ทำให้พระป่าเป็นที่เคารพและนับถือยิ่งกว่าพระทุกสายในประเทศและยังเป็นที่เล่าลือและเชื่อถือกันว่า "วิธีแบบพระป่าคือวิถีแห่งพระอริยะ" จึงมีพระสายนี้หลายรูปได้รับการเล่าลือว่าบรรลุธรรมในระดับต่างๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนศรัทธามากยิ่งขึ้น นี่เป็นจุดแข็งของพระป่า

จุดอ่อนของพระป่า คือ ความรู้ในด้านวิชาการ การถ่ายทอด การเผยแพร่พุทธธรรม ที่ไม่เป็นระบบ สิ่งปรากฏออกมาจากท่านเหล่านั้นล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าถูกต้องก็เป็นสิ่งที่ดีไป แต่ถ้าผิดพลาดก็ยากจะแก้ไข เพราะมีความเชื่อเคารพศรัทธาอยู่เต็มไปหมดและสีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นในศีลพรต) โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบพระสายอื่น จะก่อให้เกิดทิฐิมานะถือตัวและเปรียบเทียบได้เช่นกัน
สุดท้ายคือ เมื่อพระป่าเป็นที่เคารพของชาวบ้าน จึงเต็มไปด้วยอดิเรกลาภ ซึ่งอาจจะเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดี ได้ใช้โอกาสเลียนรูปแบบแล้วแต่แสวงผลประโยชน์จากความเคร่งครัดของท่านเหล่านั้นได้ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่เนืองๆ

ความแตกแยกไม่ได้อยู่ที่สายพระป่า-พระบ้าน
ดังกล่าวแล้วข้างต้น พระสายป่าและพระบ้านล้วนเป็นทางเลือกในวิถีความเป็นพระ ตามถนัดของแต่ละบุคคล แต่ความเป็นพระภิกษุ

(สมณภาวะ) คือมี 227 ข้อ และถือไตรสรณคมน์สมบูรณ์เท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างกัน
ในสมัยพุทธกาล ในคราวพุทธปรินิพพานพระพุทธเจ้า พระป่าสายพระมหากัสสปะเถระ ออกจากป่ามาร่วมศาสนกิจและช่วยสังคายนากับพระสายบ้าน เช่น พระอานนท์ พระอุบาลี อนุรุทธะ เป็นต้น อย่างไม่มีข้อรังเกียจเดียดฉันท์ จนเป็นตันติ (แบบแผน) ที่ดีงามของคณะสงฆ์ตลอดมา
ความแตกแยกของคณะสงฆ์ไม่เคยมีปรากฏในเรื่องสายที่ตนสังกัด แต่จะแตกแยกกันด้วย 2 ประการคือ

1. สีลสามัญญตา = ศีลเสมอกันหรือไม่
2. ทิฏฐิสามัญญตา = ความเห็นชอบร่วมกันมีหรือไม่

ประวัติศาสตร์ในคณะสงฆ์ไทย พระสายป่าที่เราถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโน ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในการนำพระป่ามาทะเลาะกับพระบ้านสักครั้งเดียว พระเดชพระคุณเจ้าเหล่านั้นเข้าใจในสถานะที่เป็นอยู่และจุดมุ่งหมายของชีวิตของกันและกัน เราจะเห็นพระสายบ้านทั้งธรรมยุตและมหานิกายไปกราบเคารพสักการะ สนับสนุนพระสายป่าอยู่เป็นประจำ พระสายป่าก็สนับสนุนส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์และให้ความร่วมมือกับพระสายบ้านเสมอมา

ความแตกแยกที่เคยปรากฏในคณะสงฆ์ไทยเป็นเรื่องนิกายเสียส่วนใหญ่ เช่น ธรรมยุตกับมหานิกาย ปัจจุบันเรื่องนี้มีปรากฏอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรงเหมือนแต่ก่อน

การพยายามโยงพระสายป่ามาทะเลาะกับพระสายบ้าน ในปัจจุบันซึ่งไม่น่าจะเข้ากับได้กับคติที่วิญญูชนทั้งหลายในพระพุทธศาสนาจะยอมรับได้ และการประกาศว่าพระป่าเป็นผู้ประท้วงก็มิสมควรอย่างยิ่ง เพราะพระป่าที่แท้ย่อมไม่ประท้วงมีแต่ประสานประโยชน์และสร้างสันติสุขแก่สังคม เราชาวพุทธไม่น่าสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในคณะสงฆ์ (สังฆเภท) ซึ่งเป็นไปความเสื่อมพระศาสนาโดยรวม และเป็นบาปที่สุดในพระพุทธศาสนา ถ้าฝ่ายใดที่จะเอาชนะให้ได้ ก็ให้ชนะไป
เราชาวพุทธแท้ทุกคนขอเป็นผู้แพ้ เพื่อเป็นพระที่แท้จริงตลอดไป

โดย : ดร.มงคล นาฏกระสูตร, ข่าวสด
วันที่ : 5/08/47

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2009, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใจเป็นพระเหมือนกันใช่ป่ะครับ

อนุโมทนาครับ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
สาธุค่ะ แตกต่างแต่ไม่แตกแยก

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การพยายามโยงพระสายป่ามาทะเลาะกับพระ สายบ้าน ในปัจจุบันซึ่งไม่น่าจะเข้ากับได้กับคติที่วิญญูชนทั้งหลายในพระพุทธศาสนาจะ ยอมรับได้ และการประกาศว่าพระป่าเป็นผู้ประท้วงก็มิสมควรอย่างยิ่ง เพราะพระป่าที่แท้ย่อมไม่ประท้วงมีแต่ประสานประโยชน์และสร้างสันติสุขแก่ สังคม เราชาวพุทธไม่น่าสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในคณะสงฆ์ (สังฆเภท) ซึ่งเป็นไปความเสื่อมพระศาสนาโดยรวม และเป็นบาปที่สุดในพระพุทธศาสนา ถ้าฝ่ายใดที่จะเอาชนะให้ได้ ก็ให้ชนะไป
เราชาวพุทธแท้ทุกคนขอเป็นผู้แพ้ เพื่อเป็นพระที่แท้จริงตลอดไป



ดร. มงคล คับที่ท่านอธิบายก่อนสรุปดังที่ผมอ้างอิงนั้น เป็นเรื่องข้อวัตร กับศีล ล้วนๆ คับ ไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์จิงในปัจจุบันเลย ที่เกิดกรณีขัดแย้งในเรื่องปฏิบัติ ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในพุทธศาสนา
กรุณาอย่าใช้จิตมยปัญญา กับสุตมยปัญญา ที่ทำให้ได้สมมุติบัญญัติ ดร. มาใช้กับภาวนามยปัญญา เลยนะครับ
จะกี่นิกาย กี่รูปแบบการปฏิบัติก็ว่ากันไป แต่สุดท้าย ธรรมมะต้องเป็นหนึ่งเหมือนกัน ถ้าสุดท้ายไม่เหมือนกัน แสดงว่าต้องมีเจ้าหนึ่งเจ้าใดผิดแน่นอน
ในกรณีนี้ก็อาจมีคนแย้งว่าก็ไม่เป็นไรก็เข้าวัด ทำดีเหมือนกัน ที่ว่ากันไปอย่างนั้นก็เพราะเลือกเอา เฉพาะทาน กับ ศีล แต่สุดยอดของพุทธศาสนาก็คือปัญญาที่ศาสนาอื่นไม่มี คือ ปิดอบาย และไม่ต้องเกิด อีตอนปฏิบัติก็นึกว่าตัวรอดแล้ว กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนใกล้้ตาย ปวดแท้หนอ เศร้าหมองแท้หนอ อ้าวแย่ละอาจมีอบายเป็นที่หวังได้หนอ อ้าวแล้วเราจะไปอบายหรือไม่หนอ อย่างนี้มันอันตรายไหมคับ ดร.

ดร. ไม่ต้องกลัวชาวพุทธแตกแยกหรอกคับ มันเป็นหน้าที่ของพระท่าน ที่ท่านสงสารญาติโยม ถ้า ดร.จะวิจารณ์ควรยกธรรมปฏิบัติมาวิจารณ์ก็น่าจะพอฟังได้ ดร. ลองตอบมาซิคับ

เพ่งผิดไหม
เวลาฟุ้งมากทำได้หรือไม่ได้
จงใจได้หรือไม่ได้
ปฏิบัติแบบไหนลัดสั้นที่สุด
ปฏิบัติแบบไหนเหมาะกับคนเมืองที่สุด ปฏิบัติแบบไหนเหมาะกับคนบ้านนอกที่สุด
ดูปรมัตถ์ไปได้เลยหรือไม่ อยากทิ้งบัญญัติจะทิ้้งก็ทิ้งได้เลยหรือไม่
สมาธิจำเป็นต้องทำไหมเพราะอะไร
สติเกิดต่อเนื่องจำเป็นไหม หรือสติเกิดแบบเป็นช่วงๆ ดีกว่า
เวทนาเกิด ก็ขยับ เพราะจะเป็นการทรมานตนให้ลำบาก เอาแบบชิวๆ พอ อย่างนี้ถูกไหม





ของเทียมมันอยู่ไม่ได้นานหรอกคับ ถ้าไม่เชื่อ ไปถามท่านยันตระ ดูได้

ท่านว่าจริงไหมคับ ดร.มงคล


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 00:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้สึกว่า ดร. ที่เขาเอามาลงนี่มันเป้น NEWS CLIP
คุณอายะคุยกับเขาราวกับว่า ดร. เขามาเอง

:b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b6:
...ไม่ว่าจะเป็นพระบ้านหรือพระป่าก็ถือศาสดาองค์เดียวกัน...ธรรมอันเดียวกัน...
...ที่พยามแบ่งกันเยี่ย...ก็เพื่อบอกว่าวิธีที่ทำถึงต่างกัน...ก็เข้าถึงธรรมพระพุทธเจ้า...
...แบ่งกันทำหน้าที่เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน...การโจมตีกันล้วนผิดจากคำสอนอ่ะนะ...
:b13:
:b9: :b32:
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
รู้สึกว่า ดร. ที่เขาเอามาลงนี่มันเป้น NEWS CLIP
คุณอายะคุยกับเขาราวกับว่า ดร. เขามาเอง


รู้คับว่าเขาเอามาแปะ แต่พออ่านจบแล้วงง ก็เลยขอวิจารณ์ ดร. ท่านนี้ซักหน่อย
เพราะท่านอธิบายความแตกต่างในเรื่องข้อวัตร แล้วก็มาสรุปว่าสาเหตุของความแตกแยกคือเรื่องข้อวัตร
กลัวหลายๆ ท่านจะอ่านแล้วเคลิ้มตามก็เท่านั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างลัทธิสมานฉันท์

ติ่งต่างว่า

หากเผอิญมีพระญี่ปุ่นแอดแทดเอาภรรยาตัวเองมาด้วย เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในไทย ด้วยวิธีแอดวาด และอะแดปแบบออกทะเล ประมาณว่าคนติดอกติดใจ แต่ไม่สามารถละทุกข์ที่แท้จริงได้

พระไทยที่ยึดคำสอนพระพุทธองค์ก็ค้านว่าคำสอนผิด การประพฤติก็ผิด พระจะไปมีเมียได้อย่างไร ถ้าเป็นพระไทยก็คงต้องอาบัติปราชิก เป็นโมฆะบุรุษไม่สามารถบวชได้อีก ผิดพระวินัยร้ายแรง

ลัทธิสมานฉันท์ก็จะออกมาทำหน้าที่ ประมาณว่า
(พระญี่ปุ่น + พระไทย) /2 = พระมีหรือไม่มีเมียก็ได้ ไม่ผิด เพราะเป็นพุทธเหมือนกัน เหอะๆๆ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 23:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร